วันพุธที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

จังหวัดขอนแก่นลงนามความร่วมมือจังหวัดขอนแก่น พัฒนาเป็นไมซ์ ซิตี้ แห่งที่ 5 ของไทย

จังหวัดขอนแก่น ร่วมกับสำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ สสปน. หรือทีเส็บ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จัดงานโครงการ "ประชุมเมืองไทยมั่นใจ ขอนแก่นพร้อม” โดยมีหน่วยงานภาครัฐ ผู้ประกอบการด้านการท่องเที่ยว และโรงแรมเข้าร่วมกิจกรรมมากกว่า 350 ราย ณ โรงแรมเซ็นทารา แอนด์ คอนเวนชั่น เซ็นเตอร์ ขอนแก่น อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น มีการลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือเพื่อการพัฒนา "ขอนแก่น ไมซ์ ซิตี” โดยมีนายสมศักดิ์ สุวรรณสุจริต ผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น ร่วมลงนามกับนายนพรัตน์ เมธาวีกุลชัย ผู้อำนวยการ สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ เพื่อมุ่งพัฒนาจังหวัดขอนแก่นก้าวสู่การเป็นไมซ์ ซิตี แห่งที่ 5 ของประเทศ นายนพรัตน์ เมธาวีกุลชัย ผู้อำนวยการ สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ หรือทีเส็บ กล่าวว่า ความร่วมมือกับจังหวัดขอนแก่นครั้งนี้ เป็นแนวทางหนึ่งในการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมไมซ์ในประเทศแบบองค์รวม พร้อมใจกันขับเคลื่อนจังหวัดขอนแก่นสู่ไมซ์ ซิตี แห่งที่ 5 ของประเทศ ถัดจากกรุงเทพฯ เชียงใหม่ พัทยา และภูเก็ต และถือเป็นประตูสู่ไมซ์ ซิตี ภาคอีสาน และระดับนานาชาติ จะดำเนินงานภายใต้กรอบความร่วมมือ 4 มิติ ประกอบด้วย

1.ร่วมกำหนดแผนงานเพื่อส่งเสริมและประชาสัมพันธ์ให้เกิดการจัดงานไมซ์ใน จ.ขอนแก่นทั้งในระดับประเทศ และนานาชาติ

2.ถ่ายทอด และแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ด้านไมซ์ให้แก่หน่วยงานภาครัฐ และเอกชน

3.แลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารเพื่อใช้พิจารณาวางผังเมือง เส้นทางคมนาคมขนส่งจังหวัดขอนแก่น และ

4.พัฒนาบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมไมซ์เพื่อเพิ่มศักยภาพ และความสามารถในการแข่งขัน


ทีเส็บ ได้ตั้งเป้าถึงการขยายตัวของจังหวัดขอนแก่นจากอุตสาหกรรมไมซ์ จะขยายตัวอย่างน้อย 5-10% ต่อปี โดยจะเร่งดำเนินงานเชิงรุกเพื่อรองรับการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (เออีซี) ในปี 2558 ด้านนายศักดิ์ สุวรรณสุจริต ผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น กล่าวว่า จังหวัดขอนแก่นมีศักยภาพในการส่งเสริมอุตสาหกรรมไมซ์ ในฐานะเป็นเมืองเศรษฐกิจขนาดใหญ่ เป็นศูนย์กลางการค้า การศึกษา คมนาคม การบริการทางแพทย์ที่สำคัญของภาคอีสาน ที่สำคัญยังเป็นศูนย์กลางการพัฒนาอุตสาหกรรมในภูมิภาคตามยุทธศาสตร์ระเบียงเศรษฐกิจตะวันออก-ตะวันตก (East-West Economic Corridor หรือ EWEC) เชื่อมโยง 5 ประเทศคือ จีน เวียดนาม ลาว ไทย และพม่า จึงเป็นประตูสู่อินโดจีน และจีนตอนใต้ พัฒนาให้เป็นศูนย์กลางการค้า การลงทุน และคมนาคมขนส่งของภูมิภาคในอนาคต ขณะเดียวกัน จังหวัดขอนแก่น ยังเป็นศูนย์กลางบริหารราชการ มีหน่วยงานตั้งอยู่กว่า 200 แห่ง ศูนย์รวมสถาบันอุดมศึกษาและการแพทย์ รัฐบาลมีนโยบายส่งเสริมให้นครไอซีที ทั้งมีศูนย์ประชุมมหาวิทยาลัยขอนแก่นที่ใหญ่ที่สุดในภาคอีสาน รองรับผู้สัมมนาได้กว่า 3,000 คน ขณะที่โรงแรมที่พักมีโรงแรม 4-5 ดาว รองรับกว่า 5,000 ห้อง แผนพัฒนาเพื่อรองรับการเป็นไมซ์ ซิตี เบื้องต้นมีแผนยกระดับปรับโฉมงานเทศกาลไหมประเพณีผูกเสี่ยว และงานกาชาดจังหวัดขอนแก่น ซึ่งเป็นงานประจำปี ให้เป็นงานเทศกาลไหมนานาชาติ โดยจะมีทั้งการจัดประชุมนานาชาติ 6 ประเทศลุ่มน้ำโขง เรื่อง Mekhong Silk Road เพื่อจับมือ 6 ประเทศ จีน เวียดนาม ลาว พม่า กัมพูชา และไทย เป็นประเทศคู่ค้าไหม พร้อมจัดเที่ยวชมอำเภอชนบทแหล่งผลิตผ้าไหมที่ขึ้นชื่อของจังหวัดอย่างยิ่งใหญ่ขึ้น ส่วนภายในงานไหมนานาชาติ จะนำผ้าไหม และผลิตภัณฑ์ไหมชั้นนำในพื้นที่ภาคอีสาน และ 6 ประเทศลุ่มน้ำโขง มาออกร้าน และให้นักท่องเที่ยวได้ชอปปิ้งภายในงานเทศกาลดังกล่าว ซึ่งในปี 2557 จะมีการเชื่อมโยงกับผู้ผลิต และออกแบบสินค้าแฟชั่นจากฝรั่งเศสเข้าร่วมในงานไหมนานาชาติอีกด้วย

สภากาชาดไทย นำแพทย์ออกให้บริการผ่าตัด ศัลยกรรมความพิการ ที่จังหวัดชัยภูมิ

นางเครือวัลย์ เจียรณัย นายกเหล่ากาชาดจังหวัดชัยภูมิ เปิดเผยกับ นางธัญญรัตน์ โรจนหัสดิน ประชาสัมพันธ์จังหวัดชัยภูมิ ว่า ด้วยสำนักงานบรรเทาทุกข์และประชานามัยพิทักษ์ สภากาชาดไทย มีกำหนดออกปฏิบัติงานตามโครงการศัลยกรรมตกแต่งแก้ไขปากแหว่ง-เพดานโหว่ และความพิการอื่น ที่จังหวัดชัยภูมิ เพื่อให้บริการรักษาผู้พิการโรคปากแหว่ง เพดานโหว่ นิ้วเกิน นิ้วติด นิ้วล๊อก แผลเป็นจากไฟไหม้ หดรั้ง มือเท้าหรือแขนขาผิดรูป รวมทั้งผู้มีความพิการทางมือต่าง ๆ ในห้วงระหว่างวันที่ ๒๖-๒๙ สิงหาคม ๒๕๕๖ จึงขอเชิญผู้ที่มีความพิการดังกล่าว เข้ารับการรักษาโดยให้ไปลงทะเบียนและพบแพทย์เพื่อตรวจ คัดกรอง ในวันที่ ๒๖ สิงหาคม ๒๕๕๖ ตั้งแต่เวลา ๐๘.๐๐ น. ณ ห้องลีลาวดี โรงแรมสยามริเวอร์ รีสอร์ท ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ และคณะแพทย์จากสำนักงานบรรเทาทุกข์และประชานามัยพิทักษ์ สภากาชาดไทย จะให้บริการรักษาผ่าตัดผู้ป่วยตามที่ได้ลงทะเบียนและนัดหมายไว้ ตั้งแต่วันที่ ๒๗-๒๙ สิงหาคม ๒๕๕๖ ณ โรงพยาบาลชัยภูมิ



เพชรรินทร์ เขียวเขว้า...ข่าว

มทส. เป็นเจ้าภาพจัดประชุมอธิการบดีมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ ครั้งที่ 4/56

มทส. เป็นเจ้าภาพจัดประชุมอธิการบดีมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ ครั้งที่ 4/56 เปิดแผนกลยุทธ์วางระบบติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการปฏิบัติงาน ยกประเด็นหารือร่วมแก้ไขปัญหาการปลอมวุฒิการศึกษา

ศาสตราจารย์ ดร.ประสาท สืบค้า อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี (มทส.) ให้การต้อนรับ ดร.กีร์รัตน์ สงวนไทร อธิการบดีมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ (มวล.) ประธานที่ประชุมอธิการบดีมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ (ทอมก) และคณะผู้บริหารมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ 14 แห่ง ในโอกาสเดินทางเข้าร่วมประชุม ทอมก ครั้งที่ 4/2556 เมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม 2556 ณ อาคารบรรณสาร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี จังหวัดนครราชสีมา

ดร.กีร์รัตน์ สงวนไทร อธิการบดีมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ (มวล.) ในฐานะประธานที่ประชุมอธิการบดีมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ (ทอมก) เปิดเผยว่า "การจัดประชุม ทอมก นับเป็นการประชุมครั้งที่ 4 ประจำปี 2556 โดยมหาวิทยาลัยสมาชิกต่างหมุนเวียนเปลี่ยนกันเป็นเจ้าภาพ ซึ่งครั้งนี้ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี จังหวัดนครราชสีมา รับเป็นมหาวิทยาลัยเจ้าภาพ โดยที่ประชุม ทอมก มุ่งหวังเพื่อดำรงไว้ซึ่งการมีระบบการปฏิบัติงานที่มีประสิทธิภาพสูงสุดตาม หลักการของมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ แม้ว่าทั้ง 14 แห่ง ต่างมีสถานะเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐเช่นเดียวกัน มีแนวทางหรือหลักการในการดำเนินงาน การบริหารงานในภาพรวมที่ไม่ต่างกันนัก แต่ในความเป็นจริงแล้วการดำเนินงานบริหารของแต่ละสถาบัน ย่อมต้องมี กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ แนวปฏิบัติ รวมถึงบริบท สภาพแวดล้อมในด้านต่างๆ ทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย จึงมีความหลากหลายแตกต่างกันไปด้วย

ที่ประชุม ทอมก เป็นเวทีในการรวบรวมประเด็นแนวทาง แลกเปลี่ยนเรียนรู้ หารือร่วมกันเพื่อเป็นการส่งเสริมการดำเนินงานภายใต้หลักการของการเป็น มหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ ที่ผ่านมาได้มีมติแต่งตั้งคณะกรรมการชุดต่างๆ ที่ครอบคลุมระบบบริหารจัดการ ประกอบด้วย ระบบบุคลากร ระบบการเงินและงบประมาณ ระบบประกันคุณภาพการศึกษา ที่ประชุมนักกฎหมาย ความร่วมมือด้านวิชาการและวิจัย เครือข่ายประชาสัมพันธ์และสื่อสารองค์กร และคณะกรรมการระบบติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการปฏิบัติงาน ซึ่งคณะกรรมการชุดต่าง ๆ จะต้องรายงานความคืบหน้าตามภารกิจที่ได้รับมอบหมายต่อที่ประชุมอย่างต่อ เนื่อง

ทั้งนี้ เพื่อรวบรวมประเด็นที่เป็นปัญหาร่วมกันในการติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการปฏิบัติงาน ในกลุ่มมหาวิทยาลัยและสถาบันที่เป็นสมาชิก ด้วยการสร้างระบบ และคู่มือติดตาม และประเมินผล ที่เป็นระบบกลาง และเหมาะสมกับมหาวิทยาลัยในกำกับ ดำเนินการหาแนวทางที่เป็นเลิศ (Best Practice) เพื่อใช้ในการเทียบวัด (Benchmarking) ในการดำเนินการติดตาม ตรวจสอบ และศึกษาวิเคราะห์เพื่อเสนอแนะแนวทางในการแก้ไขปัญหาต่อที่ประชุม ทอมก. คณะกรรมการติดตามฯ ได้วางแผนกลยุทธ์ ปี พ.ศ. 2556 - 2560 ประกอบด้วย แผนกลยุทธ์ที่ 1 สร้างความเข้าใจในบทบาทหน้าที่  และการพัฒนาตนเองของคณะกรรมการฯ อาทิ ผ่านเว็บไซต์ โซเชียลเนตเวิร์ด กลุ่ม ทอมก. เพื่อเป็นอีกหนึ่งช่องทางสื่อสาร ซึ่งจะประโยชน์ต่อการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารไปสู่ผู้ตรวจสอบภายใน มหาวิทยาลัยสมาชิก แผนกลยุทธ์ที่ 2 สร้าง รวบรวม และเผยแพร่องค์ความรู้ด้านระบบติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลฯ โดยการผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนประเด็น

ปัญหาที่วิกฤตของแต่ละมหาวิทยาลัย เข้าเป็นระเบียบวาระที่ประชุมคณะกรรมการฯ เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และจัดทำกรณีศึกษาในประเด็นต่างๆ รวบรวมข้อมูลการบริหารความเสี่ยง การจัดทำคู่มือกลางด้านระบบติดตามฯ เพื่อให้บุคลากรมีคู่มือในการปฏิบัติงานไปในทิศทางเดียวกัน และนำไปประยุกต์ใช้ในหน่วยงานได้อย่างเหมาะสม การจัดสัมมนาทางวิชาการประจำปี และแผนกลยุทธ์ที่ 3 เผยแพร่และให้คำปรึกษาการดำเนินงานด้านระบบติดตามฯ โดยจัดทำ e-Newsletter จัดทำเอกสารประมวลสาระด้านการติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผล สร้างทีมวิทยากร จัดทำชุดฝึกอบรมเพิ่มพูนทักษะและประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน จัดสัมมนาทางวิชาการระดับชาติ ซึ่งโครงการตามแผนกลยุทธ์ที่ได้นำเสนอนั้นจะมอบหมายให้มีผู้รับผิดชอบดำเนิน กิจกรรมให้เป็นรูปธรรมภายใต้กรอบเวลาที่กำหนดไว้”

ศาสตราจารย์ ดร.ประสาท สืบค้า อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี (มทส.) เปิดเผยว่า " ถือเป็นเกียรติอีกวาระหนึ่งที่ มทส. ได้เป็นเจ้าภาพจัดการประชุม ทอมก ครั้งนี้ โดยเป็นธรรมเนียมในฐานะมหาวิทยาลัยเจ้าภาพต้องนำเสนอข้อมูลการดำเนินงานโดย สรุปต่อที่ประชุม และในโอกาสนี้ มหาวิทยาลัยได้นำเสนอระบบการบริหารจัดการเพื่อสนับสนุนงานวิจัยกรณี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ตามที่ได้ประกาศตัวเป็น "มหาวิทยาลัยคู่เคียงสังคม” ผ่านงานวิจัยและพัฒนาของบุคลากร นักวิจัย และนักศึกษาของมหาวิทยาลัย โดยยึดหลักการปรับแปลง ถ่ายทอดเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับชุมชน และในโอกาสนี้ ตนได้เสนอต่อที่ประชุม ทอมก ในการได้ร่วมกันกำหนดแนวทางเพื่อแก้ไขปัญหาการปลอมวุฒิการศึกษาที่ระบาด อย่างต่อเนื่อง ซึ่งถือเป็นปัญหาเรื้อรังของวงการศึกษาไทย กรณีมีขบวนการค้าวุฒิการศึกษาปลอมที่ระบาดหนักทั้งในประเทศและต่างประเทศ ส่งผลกระทบต่อภาพลักษณ์ ชื่อเสียง ความน่าเชื่อถือ และการดำเนินงานของมหาวิทยาลัยเป็นอย่างยิ่ง ดังนั้น ทอมก จึงควรหารือร่วมกันแก้ไขปัญหาดังกล่าวอย่างยั่งยืน โดยหามาตรการร่วมกันเพื่อกำจักมิจฉาชีพให้หมดสิ้น รวมถึงการปลูกฝังความคิด คุณธรรม จริยธรรม และจิตสำนึกของคนในสังคมด้วยว่า การใช้วุฒิการศึกษาปลอมเป็นเรื่องที่ผิดทั้ง คุณธรรม จริยธรรม และผิดกฎหมายด้วย” 

จังหวัดนครราชสีมา คัดเลือกบุคคลต้นแบบพอเพียงวิถีประชาธิปไตยประจำจังหวัด

วันนี้ (31 ก.ค. 56) เวลา 14.30 น. ที่ห้องประชุมสำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดนครราชสีมา นายสุชาติ นพวรรณ รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการคัดเลือกบุคคลต้นแบบพอเพียงวิถีประชาธิปไตย ระดับจังหวัด ตามโครงการต้นแบบคนพอเพียงวิถีประชาธิปไตย เพื่อเข้ารับรางวัลที่รัฐสภาในเดือนสิงหาคม 2556 นี้


คณะอนุกรรมการสื่อสารและมวลชนสัมพันธ์รัฐสภา จัดทำโครงการต้นแบบคนพอเพียงวิถีประชาธิปไตย และได้มอบหมายให้กรมพัฒนาชุมชนเป็นผู้ดำเนินการคัดเลือกบุคคลต้นแบบคนพอ เพียงวิถีประชาธิปไตย 77 จังหวัด 77 คน มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการส่งเสริมให้ประชาชนชาวไทยร่วมกันทำความดีให้เป็น ที่ประจักษ์แก่สังคมและประเทศชาติ สร้างขวัญกำลังใจ ปลูกจิตสำนึกและกระตุ้นให้ทุกภาคส่วนได้มีแบบอย่างที่ดีและมีส่วนร่วมในการ รณรงค์รักษาส่งเสริมความดี ส่งเสริมให้ประชาชนชาวไทยตระหนักถึงความสำคัญของความพอเพียง และการทำความดี ประพฤติ ปฏิบัติดี มีจิตสำนึกสาธารณะ อันเป็นหลักการที่สำคัญของการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ส่งเสริมให้ประชาชนชาวไทยยึดหลักการประชาธิปไตย สำหรับจังหวัดนครราชสีมา มีผู้เสนอประวัติและผลงานเพื่อรับการพิจารณาคัดเลือกบุคคลต้นแบบโครงการต้น แบบคนพอเพียงวิถีประชาธิปไตย จำนวน 14 ราย ซึ่งผลการพิจารณา นางทองพวน แนบกลาง ได้รับการคัดเลือกให้เป็นบุคคลต้นแบบพอเพียงวิถีประชาธิปไตย จังหวัดนครราชสีมา

กาชาดจังหวัดนครราชสีมา จัดประชุมสัมมนาสร้างเครือข่ายชมรมอาสายุวกาชาด 1 อำเภอ 1 ชมรม ตั้งเป้า ปี 57 มีเครือข่ายชมรมอาสายุวกาชาด ครบทั้ง 32 อำเภอ

วันนี้ (31ก.ค. 56) เวลา 10.00 น.  ที่ห้องประชุมหลวงพ่อคูณ ปริสุทโธ ชั้น 3 ศาลากลางจังหวัดนครราชสีมา นางราตรี บัวประดิษฐ์ นายกเหล่ากาชาดจังหวัดนครราชสีมา เป็นประธานเปิดการประชุมสัมมนาการสร้างเครือข่ายชมรมอาสายุวกาชาด 1 อำเภอ 1 ชมรม ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี รวมทั้ง เพื่อจัดตั้งชมรมอาสายุวกาชาด 1 อำเภอ 1 ชมรม ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ให้ครบภายในปี 2557 อีกทั้งเพื่อสร้างยุวกาชาด ในการสนับสนุนภารกิจของสำนักงานเหล่ากาชาดในแต่ละจังหวัด
 
ด้านนางราตรี บัวประดิษฐ์ นายกเหล่ากาชาดจังหวัดนครราชสีมา กล่าวว่า การประชุมสัมมนาสร้างเครือข่ายชมรมอาสายุวกาชาด จังหวัดนครราชสีมา เพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจในการจัดตั้งชมรมอาสายุวกาชาด เพื่อให้ดำเนินงานไปในทิศทางเดียวกัน และให้ทราบถึงภารกิจของสภากาชาดไทย โดยมีผู้เข้าร่วมประชุมสัมมนา จำนวน 100 คน ประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้รับผิดชอบงานยุวกาชาด และสมาชิกเหล่ากาชาดจังหวัดนครราชสีมา สำหรับชมรมอาสายุวกาชาด มีภารกิจในการเผยแพร่หลักการและอุดมการณ์ของกาชาดไปสู่เยาวชน เป็นการเสริมสร้างและพัฒนาด้านคุณธรรม จริยธรรม ด้วยการปลูกฝังให้เยาวชนมีความเสียสละ มีจิตใจเมตตากรุณาต่อเพื่อนมนุษย์ ทำตนให้เป็นประโยชน์ต่อสังคม รู้จักสร้างสัมพันธภาพที่ดีกับผู้อื่น
 

ดังนั้น สำนักงานยุวกาชาด สภากาดไทย จึงสนับสนุนให้มีการจัดตั้งชมรมอาสายุวกาชาดขึ้นในหน่วยงานพัฒนาเยาวชน เพื่อเปิดโอกาสให้เยาวชนชาย หญิง อายุ 15-25 ปี ได้ร่วมกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์ในรูปแบบงานบริการอาสาสมัคร ให้ครบทุกอำเภอทุกจังหวัดในประเทศในปี 2557 ทั้งนี้ เหล่ากาชาดจังหวัดนครราชสีมา จึงตั้งเป้าที่ขยายเครือข่ายชมรมอาสายุวกาชาด ให้เกิดขึ้น ให้ครบ ทั้ง 32 อำเภอของจังหวัดนครราชสีมา เพื่อสร้างเครือข่ายอาสาสมัครยุวกาชาดที่มีความรู้และทักษะในการให้ความช่วย เหลือประชาชนในพื้นที่ของอำเภอต่างๆ เมื่อเกิดภัยพิบัติจากธรรมชาติหรือการกระทำจากมนุษย์ รวมทั้งการให้ความช่วยเหลือในด้านอื่น ๆอีกด้วย นางราตรี กล่าว

ประปามหาสารคามแจ้งหยุดจ่ายน้ำประปาชั่วคราวคืนนี้ 31 ก.ค. นี้

การประปาส่วนภูมิภาคสาขามหาสารคาม แจ้งหยุดการจ่ายน้ำประปาเป็นการชั่วคราว ในวันที่ 31 กรกฎาคม นี้ เริ่มตั้งแต่เวลา 23.30 น. ถึงเวลา 03.00 น. ส่งผลกระทบต่อผู้ใช้น้ำโดยรอบ มมส. ตำบลท่าขอนยาง ขามเรียง อำเภอกันทรวิชัย

นายศักดา พรรณะ ผู้จัดการการประปาส่วนภูมิภาคสาขามหาสารคาม เปิดเผยว่า การประปาส่วนภูมิภาค สาขามหาสารคาม ได้ดำเนินการตรวจสอบพบว่าท่อเมนในการส่งจ่ายน้ำประปาบางเส้นได้เกิดชำรุด ทำให้ไม่สามารถส่งจ่ายน้ำได้ตามปกติ ทำให้น้ำประปาที่สูบจ่ายไปบ้านผู้ใช้น้ำมีระดับอ่อน ดังนั้น เพื่อให้ผู้ใช้น้ำได้รับการบริการน้ำที่ดีขึ้น การประปาส่วนภูมิภาคสาขามหาสารคาม จึงมีความจำเป็นต้องทำการตรวจสอบท่อเมนจ่ายน้ำประปาเพื่อค้นหาตำแหน่งท่อแดดชำรุดใต้ดิน พร้อมทั้งมีความจำเป็นต้องหยุดจ่ายน้ำประปาเป็นการชั่วคราว ในวันนี้ (31 กรกฏาคม 2556) ตั้งแต่เวลา 23.30 น. ถึงเวลา 03.00 น. ส่งผลกระทบต่อผู้ใช้น้ำประปาโดยรอบมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ตำบลท่าขอนยาง และตำบลขามเรียง อำเภอกันทรวิชัย และเมื่อทำการตรวจสอบท่อเมนการจ่ายประปาเพื่อค้นหาตำแหน่งท่อแตกชำรุดใต้ดินแล้เสร็จ อาจมีผลกระทบตามมา คือทำให้น้ำประปาไหลอ่อนในบางพื้นที่ของตำบลขามเรียง เป็นเวลาประมาณ 3-5 วัน เนื่องจากต้องรอให้ปริมาณน้ำเข้าเต็มระบบท่อเมนจ่ายน้ำทั้งพื้นที่เสียก่อน

ดังนั้น การประปาส่วนภูมิภาคสาขามหาสารคาม จึงขอแจ้งมายังประชาชนได้สำรองรับน้ำเพื่อไว้ใช้ในระหว่างเวลาดังกล่าวด้วย และขออภัยในความไม่สะดวกในการใช้น้ำประปามา ณ โอกาสนี้




ส.ปชส.มหาสารคาม/ข่าว

สำนักงานคุ้มครองผู้บริโภคจังหวัดมหาสารคามจัดสัมมนาเสริมสร้างความรู้การคุ้มครองผู้บริโภค

จังหวัดมหาสารคามโดยสำนักงานคุ้มครองผู้บริโภคจังหวัดมหาสารคามจัดสัมมนาเสริมสร้างความรู้เกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค ประจำปี 2556

 เมื่อเช้าวันนี้ (31 กรกฎาคม 2556) ที่ห้องชื่นชม โรงแรมตักสิลา จังหวัดมหาสารคามโดยสำนักงานคุ้มครองผู้บริโภคจังหวัดมหาสารคามจัดสัมมนาเสริมสร้างความรู้เกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค ประจำปี 2556 มีนายธวัช สุระบาล รองผู้ว่าราชการจังหวัดมหาสารคาม เป็นประธานในพิธีเปิด เพื่อให้ความรู้ความเข้าใจ ให้มีการรวมกลุ่มที่มีความเข็มแข็งสามารถพิทักษ์ปกป้องสิทธิผลประโยชน์ของตนและสังคม โดยเน้นการปฎิบัติงานในเชิงรุก สร้างผลงานให้เด่นชัดเป็นรูปธรรมเพื่อให้เป็นที่ประจักษ์แก่สังคม เพื่อให้การดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคเป็นไปด้วยความเรียบร้อยตามนโยบาลของรัฐบาล โดยคณะอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคประจำจังหวัดมหาสารคาม ได้เล็งเห็นความสำคัญในการปกป้องและแก้ไขปัญหามิให้ผู้บริโภคถูกเอารัดเอาเปรียบ หรือถูกละเมิดสิทธิผู้บริโภคจากผู้ประกอบธุรกิจ นายธวัช สุระบาล รองผู้ว่าราชการจังหวัดมหาสารคาม กล่าวว่า การสัมมนาครั้งนี้ เพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจถึงสิทธิทุกท่าน ในฐานะผู้บริโภคจะได้ระมัดระวังการซื้อสินค้าหรือใช้บริการ ไม่ให้ถูกเอารัดเอาเปรียบจากผู้ประกอบการ หากผู้บริโภคไม่ได้รับความเป็นธรรมในการซื้อสินค้าหรือบริการ ก็สามารถร้องเรียนได้ที่ศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์ในระดับตำบล และอำเภอ เพื่อช่วยเหลือในการแก้ไขปัญหา การสัมมนาครั้งนี้มีผู้เข้าร่วมสัมมนาประกอบด้วย กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน อสม. และประธานชมรมเครือข่ายพิทักษ์สิทธิผู้บริโภค แต่ละอำเภอรวมทั้งสิ้น 120 คน




ภาณุวัชร คนเชี่ยว / ข่าว สปชส.มค. 

มหาสารคามประกาศปิดจุดรับจำนำข้าวชั่วคราว ก่อนเปิดอีกครั้งในเดือนกันยายน

จังหวัดมหาสารคามประกาศปิดจุดรับจำนำชั่วคราว ตามโครงการรับจำนำข้าวเปลือก ปีการผลิต 2555/56 ของบริษัท ยิ่งเจริญค้าข้าวมหาสารคาม จำกัด อำเภอพยัคฆภูมิพิสัย ก่อนเปิดอีกครั้งในเดือนกันยายน 2556

นายยิ่งยศ ธนะจันทร์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดมหาสารคาม ปฏิบัติราชการแทนประธานอนุกรรมการติดตามกำกับดูแลการจำนำระดับจังหวัด เปิดเผยว่า ตามที่บริษัท ยิ่งเจริญค้าข้าวมหาสารคาม จำกัด ซึ่งตั้งอยู่เลขที่ 12 หมู่ที่ 15 ถนนพยัคฆภูมิพิสัย-นาเชือก ตำบลปะหลาน อำเภอพยัคฆภูมิพิสัย จังหวัดมหาสารคาม ได้เข้าร่วมโครงการรับจำนำข้าวเปลือก ปีการผลิต 2555/56 ครั้งที่ 1 และ ครั้งที่ 2 นั้น เนื่องจากในช่วงนี้ ไม่มีเกษตรกรนำข้าวเปลือกมารับจำนำในจุดดังกล่าว ประกอบกับเพื่อเป็นการประหยัดงบประมาณของทางราชการ บริษัท ยิ่งเจริญค้าข้าวมหาสารคาม จำกัด จึงขอแจ้งการปิดจุดรับจำนำชั่วคราว ระหว่างวันที่ 1 กรกฎาคม-31 สิงหาคม 2556 โดยจะเปิดรับจำนำอีกครั้งในเดือนกันยายน 2556

ดังนั้น จึงขอแจ้งให้เกษตรกรได้รับทราบในการปิดจุดรับจำนำชั่วคราวดังกล่าว ทั้งนี้ เกษตรกรสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ฝ่ายเลขานุการคณะอนุกรรมการติดตามกำกับดูแลการรับจำนำระดับจังหวัด โทร/โทรสาร 043 723668 และ 043 740 792




ส.ปชส.มหาสารคาม/ข่าว

จังหวัดมุกดาหารขอรับการสนับสนุนสิ่งของ อาหาร เครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์เพื่อใช้ใน”โครงการน้ำพระทัยพระราชทาน สู่ภูมิภาค ๗๖ จังหวัด เพื่อน้อมเกล้าถวายเป็นพระราชกุศล”

นายสรสิทธิ์ ฤทธิ์สรไกร รองผู้ว่าราชการจังหวัดมุกดาหาร เปิดเผยว่า สภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ขอความร่วมมือจังหวัดมุกดาหารจัดกิจกรรมโครงการน้ำพระทัยพระราชทาน สู่ภูมิภาค ๗๖ จังหวัด เพื่อน้อมเกล้าฯถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ในช่วงเดือนสิงหาคม ๒๕๕๖ ในโอกาสที่โครงการน้ำพระทัยพระราชทาน สภาสังคมสงเคราะห์ฯ ตามพระราชเสาวนีย์ในสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ ดำเนินการมาครบรอบ ๑๕ ปี จังหวัดมุกดาหารได้กำหนดจัดกิจกรรมจัดเลี้ยงอาหารพระราชทานแก่ผู้ต้องขัง หญิง ในวันที่ ๖ สิงหาคม ๒๕๕๖ เวลา ๑๐.๐๐ น.–๑๒.๓๐ น.ณ เรือนจำจังหวัดมุกดาหาร

รองผู้ว่าราชการจังหวัดมุกดาหาร กล่าวเพิ่มเติมว่า จังหวัดมุกดาหารเชิญชวนผู้มีจิตเมตตาให้การส่งเสริมสนับสนุนการจัดกิจกรรม ตามโครงการน้ำพระทัยพระราชทาน สู่ภูมิภาค ๗๖ จังหวัด เพื่อน้อมเกล้าถวายเป็นพระราชกุศล แจ้งความจำนงได้ที่สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด มุกดาหาร ศาลากลางจังหวัดมุกดาหาร โทร.๐๔๒-๖๑๑๔๔๒ หรือจะนำไปร่วมในวันที่ ๖ สิงหาคม ๒๕๕๖ เวลา ๑๐.๐๐ น.ณ เรือนจำจังหวัดมุกดาหาร





สุภาวดี อัมไพพันธ์ ส.ปชส.มุกดาหาร/ข่าว

จังหวัดมุกดาหารจัดระเบียบตลาดนัดถนนข้างศาลากลางจังหวัดมุกดาหาร

นายสกลสฤษฏ์ บุญประดิษฐ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดมุกดาหาร เปิดเผยว่า จังหวัดมุกดาหารได้พิจารณาเห็นว่า ปัจจุบันมีบางส่วนราชการได้อนุญาตให้ภาคเอกชนจำหน่ายสินค้าบนถนนทางหลวงข้างศาลากลางจังหวัดมุกดาหาร ทั้งฝั่งทิศตะวันออกและทิศตะวันตก ทำให้ประชาชนผู้สัญจรไป-มา ได้รับความเดือดร้อน ประกอบกับบริเวณรอบศาลากลางจังหวัดส่วนใหญ่เป็นสถานที่ราชการที่มีประชาขนมาติดต่อราชการเป็นจำนวนมาก การปิดถนนทางหลวงด้านข้างศาลากลางจังหวัดแม้เพียงบางส่วนก็ทำให้ประชาชนผู้มาติดต่อราชการไม่ได้รับความสะดวก จึงมักได้รับการต่อต้านและร้องเรียนจากประชาชนเสมอ ซึ่งจังหวัดมีแนวทางเกี่ยวกับการใช้พื้นที่ศาลากลางจังหวัดและถนนรอบศาลากลางจังหวัดให้มีการอนุญาตใช้ได้เฉพาะการจัดกิจกรรมในเชิงนโยบายที่มีการประสานงานจากส่วนกลาง รัฐบาล หรือกลุ่มจังหวัดฯ เพื่อจัดกิจกรรมที่เป็นประโยชน์แก่ประชาชนโดยตรง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการช่วยเหลือค่าครองชีพของประชาชนหรือการพัฒนาอาชีพและรายได้ของกลุ่มสินค้าโอท๊อป งานประเพณี และงานประจำปีของจังหวัด เช่น งานกาชาดประจำปีของจังหวัด งานประเพณีแข่งเรือออกพรรษาจังหวัดมุกดาหาร โดยเน้นที่จะให้ใช้พื้นที่ในการจัดกิจกรรมภายในบริเวณด้านหน้าศาลากลางจังหวัดมุกดาหารเป็นหลัก

ผู้ว่าราชการจังหวัดมุกดาหาร กล่าวเพิ่มเติมว่า หากส่วนราชการหรือหน่วยงานใดมีความจำเป็นจะจัดจำหน่ายสินค้าเพื่อหารายได้ของกลุ่มต่างๆ ขอให้ประสานเทศบาลเมืองมุกดาหาร ขอใช้พื้นที่บริเวณสวนสาธารณะ หนองนาบึง หรือบริเวณรอบสวนสาธารณะ หนองนาบึงเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาความไม่สะดวก หรือกีดขวางในการสัญจรไป–มาของประชาชน




สุภาวดี อัมไพพันธ์ ส.ปชส.มุกดาหาร/ข่าว

สำนักงานขนส่งจังหวัดมุกดาหารให้บริการรับชำระภาษีประจำปี

นายโอภาส พิเศษสกุลวงศ์ ขนส่งจังหวัดมุกดาหาร เปิดเผยว่า สำนักงานขนส่งจังหวัดมุกดาหารให้บริการรับชำระภาษีประจำปี ๒๕๕๖ ในวันเสาร์ที่ ๓ สิงหาคม ๒๕๕๖ ณ สำนักงานขนส่งจังหวัดมุกดาหาร ตำบลมุกดาหาร อำเภอเมือง จังหวัดมุกดาหาร ที่ให้จะบริการ รับชำระภาษีรถที่จดทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ที่จดทะเบียนในเขตจังหวัด มุกดาหาร จังหวัดใกล้เคียงหรือจังหวัดอื่น เช่น รถเก๋ง รถปิ๊กอัพ รถจักรยานยนต์ รถแทรกเตอร์ รถอีแต๋น โดยขอให้ประชาชนที่มีความประสงค์จะชำระภาษีเตรียม ใบคู่มือจดทะเบียนรถหรือสำเนาคู่มือ หลักฐานแสดงการประกันภัยตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ (พ.ร.บ.)และ ใบรับรองการตรวจสภาพรถจากสถานตรวจสภาพรถเอกชน (ตรอ.) สำหรับรถยนต์ที่จดทะเบียนมาแล้วเกิน ๗ปี และรถจักรยานยนต์ที่จดทะเบียนมาแล้วเกิน ๕ปี หากมีข้อสงสัยติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ฝ่ายทะเบียนรถ สำนักงานขนส่งจังหวัดมุกดาหาร โทร. ๐๔๒-๖๑๓๐๒๘





สุภาวดี อัมไพพันธ์ ส.ปชส.มุกดาหาร/ข่าว

จัดหางานจังหวัดมุกดาหารแนะช่องทางหางาน

นายสมพัฒน์ โพชนิกร จัดหางานจังหวัดมุกดาหาร เปิดเผยว่า ขณะนี้กรมการจัดหางานได้จัดให้มีระบบบริการข้อมูลข่าวสารตำแหน่งว่าง และข้อมูลผู้สมัครงานทางอินเตอร์เน็ต เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกแก่ผู้ที่กำลังหางานทำ และนายจ้างที่ต้องการหาคนงานซึ่งระบบนี้ทั้งผู้สมัครงานและนายจ้าง สามารถใช้บริการได้ตลอด ๒๔ ชั่วโมง โดยไม่มีวันหยุดและเป็นบริการที่ไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น ผู้ที่ต้องการสมัครงาน สามารถลงทะเบียนสมัครงานได้ทันทีและทุกที่ทุกเวลาที่มีอินเตอร์เน็ตโดยเข้าไปที่เว็บไซต์ http://lmi.doe.go.th.และสามารถสมัครงานข้ามจังหวัดได้โดยไม่มีขีดจำกัดแต่อย่างใดซึ่งเมื่อลงทะเบียนสมัครงานไว้แล้ว ระบบจะหางานให้เลือกสมัครและติดต่อกับนายจ้างได้ทันที สำหรับนายจ้าง สถานประกอบการ สามารถรับคนงานข้ามจังหวัดได้โดยไม่มีขีดจำกัดเช่นกันซึ่งเมื่อลงทะเบียนแล้วระบบจะแจ้งรายชื่อผู้สมัครงานให้พิจารณา ซึ่งนายจ้างก็สามารถเลือกและติดต่อกับผู้สมัครงานได้ทันทีเช่นกัน นอกจากนี้ระบบดังกล่าวยังมีข้อมูลนักเรียน นักศึกษา ที่จบใหม่ปีการศึกษา ๒๕๕๖ ไว้ให้นายจ้างได้พิจารณาเลือกอีกทางหนึ่งด้วย

จัดหางานจังหวัดมุกดาหาร กล่าวเพิ่มเติมว่า ขอประชาสัมพันธ์ไปยังคนหางาน ผู้ว่างงาน ผู้ถูกเลิกจ้าง ผู้ที่ต้องการเปลี่ยนงาน ประชาชนทั่วไป และนายจ้างสถานประกอบการ ได้ใช้บริการเว็บไซต์ http://lmi.doe.go.th.หรือสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ สำนักงานจัดหางานจังหวัดมุกดาหาร ศาลากลาง ชั้น ๑ ถนนวิวิธสุรการ ตำบลมุกดาหาร อำเภอเมือง จังหวัดมุกดาหาร โทร.๐๔๒-๖๑๓๐๓๗-๘ ในวันและเวลาราชการ




สุภาวดี อัมไพพันธ์ ส.ปชส.มุกดาหาร/ข่าว

สำนักงานจัดหางานจังหวัดมุกดาหารให้บริการจัดหางานเคลื่อนที่

นายสมพัฒน์ โพชนิกร จัดหางานจังหวัดมุกดาหาร เปิดเผยว่า สำนักงานจัดหางานจังหวัดมุกดาหาร ได้ออกให้บริการจัดหางานเคลื่อนที่ ตามโครงการบำบัดทุกข์ บำรุงสุข สร้างรอยยิ้มให้ประชาชน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อลดจำนวนคนว่างงาน และเป็นการแก้ไขปัญหาความยากจนของประชาชน โดยนำบริการต่างๆ ของสำนักงานจัดหางานจังหวัดมุกดาหาร เข้าหาประชาชนกลุ่มเป้าหมายในพื้นที่อำเภอ ตำบล หมู่บ้าน ซึ่งได้กำหนดดำเนินการในเดือน สิงหาคม ๒๕๕๖ ในวันที่ ๘ สิงหาคม ๒๕๕๖ ณ วัดบ้านเหล่าดง หมู่ ๔ หมู่ ๕ ตำบลหนองบัว อำเภอดงหลวง จังหวัดมุกดาหาร

จัดหางานจังหวัดมุกดาหาร กล่าวเพิ่มเติมว่า ขอให้ประชาชน คนหางาน ที่ต้องการความช่วยเหลือด้านการส่งเสริมอาชีพและการมีงานทำ ไปรับบริการสมัครงานซึ่งมีตำแหน่งงานว่างในและต่างจังหวัดการแนะแนวอาชีพ ส่งเสริมการประกอบอาชีพ เผยแพร่อาชีพอิสระ และบริการอื่นๆ นอกจากประชาชนในพื้นที่จะไปใช้บริการได้แล้ว หากประชาชน คนหางาน หรือผู้ที่สนใจที่อยู่ในเขตพื้นที่ใกล้เคียง ที่มีความประสงค์จะหางานทำสามารถไปใช้บริการได้ตามวัน เวลาและสถานที่ดังกล่าวโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายๆ ทั้งสิ้น หรือ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ สำนักงานจัดหางานจังหวัดมุกดาหาร ศาลากลาง (ชั้น ๑) ถนนวิวิธสุรการ ตำบลมุกดาหาร อำเภอเมือง จังหวัดมุกดาหาร โทร. ๐๔๒-๖๑๓๐๓๗-๘




สุภาวดี อัมไพพันธ์ ส.ปชส.มุกดาหาร/ข่าว

ปปช.ยโสธรประชุมเตรียมคัดเลือก ปปจ.ยโสธร

สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ  ประจำจังหวัดยโสธรเรียก 9 องค์กรเข้าประชุมหารือ เพื่อสรรหาคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติประจำจังหวัดยโสธร จำนวน 3 คน

หอประชุมอำเภอเมืองยโสธร นายธเนศ  ตระกูลสฤษฎิ์ ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ  ประจำจังหวัดยโสธร ประชุมชี้แจ้งให้ตัวแทน 9 องค์กรได้ทราบถึงหลักการหลักเกณฑ์ การสรรหาคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติประจำจังหวัดยโสธร ซึ่งจังหวัดยโสธรมีได้จำนวน 3 คน นายธเนศ  ตระกูลสฤษฎิ์ ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ  ประจำจังหวัดยโสธร  กล่าวว่า การเชิญตัวแทน 9 องค์กร มาประชุมชี้แจงในวันนี้ เพื่อให้องค์กรทั้ง 9 ได้คัดเลือกกันเองเป็นกรรมการสรรหา จำนวน 9 คน  ซึ่งกรรมการสรรหา ทั้ง 9 คน  จะต้องมีหน้าที่ในการคัดเลือก บุคคล จำนวน 3 คน เป็นคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติประจำจังหวัดยโสธร ( คณะกรรมการ ปปจ.)  เป็นไปตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ มาตรา ๒๔๖ วรรคท้าย   การประชุมวันนี้มีตัวแทนจาก 9 องค์กรเข้าร่วมรับฟัง ประกอบไปด้วยตัวแทนสมาคมหรือชมรมครู /สมาคมทางด้านการศึกษา/ สภาทนายความหรือผู้ประกอบวิชาชีพกฎหมาย /สมาคมชมรมพนักงานรัฐวิสาหกิจ / สภาแรงงานหรือสหภาพแรงงาน/ สภาหอการค้าจังหวัดหรือสภาอุตสาหกรรมจังหวัด / ชมรมธนาคารพาณิชย์จังหวัด /กลุ่มอาสาสมัคร องค์กรเอกชน องค์เกษตรกร สมาคมหรือชมรมสื่อมวลชน และ หัวหน้าส่วนราชการประจำจังหวัด  หลังจากรับฟังการประชุมชี้แจงเสร็จสิ้นแล้ว กลุ่มองค์กรแต่ละกลุ่มจะได้คัดสรรตัวแทนของกลุ่มเข้ามาเป็นคณะกรรมสรรหา ปปจ. จังหวัดต่อไป

รถไฟรางคู่ที่ตัดใหม่สายบ้านไผ่-นครพนม ระยะทาง 347 กม. ผ่านยโสธรแน่นอน

การรถไฟแห่งประเทศไทย และบริษัทที่ปรึกษา,ออกแบบรถไฟรางคู่ ที่จะตัดใหม่ สายบ้านไผ่ – มหาสารคาม – ร้อยเอ็ด – มุกดาหาร – นครพนม ระยะทาง 347 กม. เข้าประชุมร่วมกับผู้ว่าราชการจังหวัดยโสธร และหัวหน้าส่วนราชการ เพื่อชี้แจงภาพรวมโครงการ และข้อรับฟังความคิดเห็นสรุปผ่านยโสธร แน่นอน

วันนี้ (31 ก.ค. 56) เวลา 10.00 น. ที่ห้องประชุมหมอนขิด ศาลากลางจังหวัดยโสธร นายประวัติ ถีถะแก้ว ผู้ว่าราชการจังหวัดยโสธร ได้ประชุมร่วมกับผู้แทนการรถไฟแห่งประเทศไทย และกลุ่มบริษัท ที่ปรึกษา,ออกแบบ โครงการก่อสร้างทางรถไฟ สายบ้านไผ่ – มหาสารคาม – ร้อยเอ็ด – มุกดาหาร – นครพนม ระยะทาง 347 กม. ใช้งบประมาณ 4 หมื่น 2 พันล้านบาท ตามโครงการพัฒนาเส้นทางการคมนาคม งบ 2.2 ล้านล้านบาทของรัฐบาล ทั้งนี้ ตามความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี เมื่อปี 2555 และในปี 2556 การรถไฟแห่งประเทศไทย ได้จัดจ้างบริษัทที่ปรึกษาทำการสำรวจออกแบบทางวิศวกรรม และศึกษาผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม (EIA) การก่อสร้างทางรถไฟรางคู่สายบ้านไผ่ – มหาสารคาม – ร้อยเอ็ด – มุกดาหาร – นครพนม จะเป็นทางรถไฟสร้างใหม่ ระยะทาง 347 กม. ผ่าน 18 อำเภอ มี 14 สถานี จะมีการกันพื้นที่ทางรถไฟไว้กว้างประมาณ 80 เมตร และจะมีรั้วกั้นตลอดแนวเพื่อการขยายตัวเป็นรถไฟความเร็วสูงในอนาคต โดยจะทำช่องทางผ่านเพื่ออำนวยความสะดวกให้กับประชาชนเป็นระยะ ๆ และจะทำทางข้าม ทางลอด เพื่อไม่ให้มีจุดตัดกับทางรถยนต์ เพื่อความปลอดภัย คาดจะทำให้แล้วเสร็จปี พ.ศ.2562 จะนำความเจริญการขยายตัวทางเศรษฐกิจมาสู่ จังหวัดอีสานตอนกลาง เพราะใกล้แหล่งท่องเที่ยว พระมหาเจดีย์ชัยมงคล อ.หนองพอก จ.ร้อยเอ็ด ผ่านสะพานข้ามแม่น้ำโขงแห่งที่ 2 ที่จังหวัดมุกดาหาร และแห่งที่ 3 ที่จังหวัดนครพนม และจะเชื่อมต่อทางรถไฟกับประเทศเพื่อนบ้าน ลาว เวียดนาม และจีน

แต่การสำรวจออกแบบเบื้องต้น ผ่านพื้นที่จังหวัดยโสธร ตรงรอยต่อระหว่างจังหวัดลึกเข้ามาแค่ 3 กม. และไม่มีสถานีรถไฟ จังหวัดยโสธร จึงขอให้พิจารณาตัดเส้นทางรถไฟผ่านจังหวัดยโสธร ลึกเข้ามาประมาณ 10 กม. จะผ่านพื้นที่ ต.ห้องแซง,กุดแห่,เลิงเก่า และให้เพิ่มสถานีรถไฟ 1 แห่ง ที่ ต.ห้องแซง ซึ่งจะเป็นประโยชน์มาก เพราะใกล้แหล่งชุมชน และสอดคล้องกับเส้นทางคมนาคมมาก คณะบริษัทที่ปรึกษาออกแบบ เห็นด้วย รับไว้พิจารณา และจะลงพื้นที่สำรวจอีกครั้งหนึ่ง




ส.ปชส.ยโสธร/ไพชยนต์ 31 ก.ค. 56

กู่กาสิงห์ อำเภอเกษตรวิสัย ได้รับประกาศเกียรติคุณ แหล่งท่องเที่ยวคุณภาพของจังหวัดร้อยเอ็ด

เมื่อช่วงเช้าวันที่ 30 กรกฎาคม 2556 นายสมศักดิ์  ขำทวีพรหม  ผู้ว่าราชการจังหวัดร้อยเอ็ด เป็นประธานมอบประกาศเกียรติคุณ คุณภาพแหล่งท่องเที่ยวของจังหวัดที่ได้มาตรฐาน ให้กับเทศบาลตำบลกู่กาสิงห์ ณ ห้องประชุมพระมหาเจดีย์ชัยมงคล ศาลากลางจังหวัดร้อยเอ็ด โดยมี นายประเวช  นามเขต ที่ปรึกษานายกเทศมนตรีเทศบาลตำบลกู่กาสิงห์ เป็นผู้รับมอบ จากการที่ เทศบาลตำบลกู่กาสิงห์ อำเภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด ได้ส่งโบราณสถานกู่กาสิงห์ สมัครเข้าร่วมการประเมินตนเอง ด้านคุณภาพแหล่งท่องเที่ยวของจังหวัดที่ได้มาตรฐาน แบบออนไลน์

นายประภาส บุญสุข ท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดร้อยเอ็ด กล่าวว่า จังหวัดร้อยเอ็ดร่วมกับกรมท่องเที่ยว กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ได้จัดโครงการประเมินคุณภาพแหล่งท่องเที่ยวระดับจังหวัด (การประเมินตนเองแบบออนไลน์) เพื่ออำนวยความสะดวกแก่เจ้าของแหล่งท่องเที่ยว ได้ตระหนักให้ความสำคัญของการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวให้ได้มาตรฐาน เป็นการรวบรวมแหล่งท่องเที่ยวเพื่อประโยชน์ในการวางแผนพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว และอำนวยความสะดวกในการจัดสรรงบประมาณให้แก่แหล่งท่องเที่ยวต่อไปในอนาคต โดยเทศบาลตำบลกู่กาสิงห์ได้ส่งโบราณสถานกู่กาสิงห์ สมัครเข้าร่วมการประเมินตนเองแบบออนไลน์ ปรากฏว่า โบราณสถานกู่กาสิงห์ อำเภอเกษตรวิสัย ได้ผ่านการประเมินคุณภาพแหล่งท่องเที่ยวระดับจังหวัด ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2555 กรมการท่องเที่ยวได้จัดทำเกียรติบัตร เพื่อมอบแก่ผู้รับผิดชอบแหล่งท่องเที่ยว และเพื่อเป็นการส่งเสริมและประกาศเกียรติคุณ คุณภาพแหล่งท่องเที่ยวของจังหวัด ที่ได้มาตรฐาน ได้การรับรองจากกรมการท่องเที่ยว โดยได้รับเกียรติจาก ผู้ว่าราชการจังหวัดร้อยเอ็ดเป็นผู้มอบในครั้งนี้.





คมกฤช  พวงศรีเคน  ข่าว

กมลพร  คำนึง  บก.ข่าว
สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดร้อยเอ็ด 043-527117
30 ก.ค. 56

ตำรวจร้อยเอ็ด โชว์ จับผู้ต้องหาส่งยาบ้าชาวบึงกาฬ หมื่น เม็ด

เมื่อ เวลา 10.30 น. (31 ก.ค. 56) พล.ต.ต.ณรงค์วิทย์  พ่วงเภตรา ผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดร้อยเอ็ด ร้อยเอ็ด พร้อมด้วย พ.ต.อ.สุทธิชัย  บุนนาค รองผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดร้อยเอ็ด ผู้รับผิดชอบงานปราบปรามยาเสพติดและตำรวจชุดปราบปรามยาเสพติดตำรวจภูธรจังหวัดร้อยเอ็ด ร่วมกันแถลงข่าว ว่าเจ้าพนักงานตำรวจชุดปราบปรามยาเสพติดตำรวจภูธรจังหวัดร้อยเอ็ด นำโดย พ.ต.ท.ประวิทย์  โทหา หัวหน้าชุดปราบปรามยาเสพติดได้การจับกุมตัวนายอนุสรณ์  หรือ นุ จันทร์เต็มดวง อายุ 28 ปี อยู่บ้านเลขที่ 365 หมู่ 1 ต.โพธิ์หมากแข้ง อ.บึงโขงหลง จ.บึงกาฬ พร้อมด้วยของกลาง ยาบ้า จำนวน 10,000 เม็ด  โทรศัพท์มือถือ จำนวน 1 เครื่อง ในความผิดฐาน มียาเสพติดให้โทษประเภท 1 (ยาบ้าหรือเมทแอมเฟตามีน) ไว้ในครอบครอง เพื่อจำหน่ายโดยผิดกฎหมาย เมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม 2556 เวลาประมาณ 16.00 น.

เหตุเกิดที่ริมถนนทางเข้าบ้านหนองจิก หมู่ 9 ต.ดงลาน อ.เมือง จ.ร้อยเอ็ด พฤติการณ์การกระทำความผิดของผู้ต้องหา ก่อนเกิดเหตุ เจ้าหน้าที่ตำรวจชุดปราบปรามยาเสพติดตำรวจภูธรจังหวัดร้อยเอ็ด ได้รับแจ้งจากสายลับว่า ผู้ต้องหาซึ่งเป็นชาว จ.บึงกาฬ มีพฤติการณ์ลักลอบนำยาบ้ามาจำหน่ายในเขต จ.ร้อยเอ็ด โดยเจ้าหน้าที่ตำรวจ ชุดได้สืบสวนหาข่าวมาโดยตลอด และทราบว่าในวันนี้ ผู้ต้องหาได้นั่งรถยนต์โดยสารประจำทางมีที่ จ.ร้อยเอ็ด เพื่อนำยาบ้ามาส่งให้กับลูกค้า และนัดให้ลูกค้าไปรับยาบ้าบริเวณเกิดเหตุ จึงร่วมกันนำกำลังไปตรวจสอบ เมื่อไปถึงพบผู้ต้องหามีตำหนิรูปพรรณตรงตามที่สายลับแจ้งยืนอยู่บริเวณที่เกิดเหตุ จึงแสดงตัวเป็นเจ้าพนักงานขอตรวจค้น ผลการตรวจค้นพบยาบ้าของกลางในกระเป๋าสะพายสีดำที่ผู้ต้องหาสะพายอยู่ สอบถามผู้ต้องหารับว่าเป็นยาบ้าของตนจริง จึงจับกุมตัวส่งพนักงานสอบสวน สภ.เมืองร้อยเอ็ด ดำเนินคดีตามกฎหมาย

จากการสอบถามผู้ต้องหารับว่า ตนรับยาบ้ามาจาก ชาวลาวไม่ทราบชื่อสกุลจริง โดยมี นายวุฒิ ไม่ทราบชื่อสกุลจริง ราษฎรบ้านเดียวกันเป็นคนติดต่อ ผู้ต้องหาได้รับค่าจ้างในการนำยาบ้ามาส่งให้กับลูกค้า จำนวน 30,000 บาท





คมกฤช  พวงศรีเคน  ข่าว/ภาพ

กมลพร  คำนึง  บก.ข่าว
สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดร้อยเอ็ด 043-527117

ผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรี เขตตรวจราชการที่ 12 ตรวจติดตามโครงการตามแผนพัฒนาจังหวัด ที่จังหวัดร้อยเอ็ด

วันนี้ (31 ก.ค. 56) เวลา 09.30 น. นางวนิดา สักการโกศล ผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรี เขตตรวจราชการที่ 12 ได้ประชุมคณะกรรมการธรรมาภิบาลจังหวัดร้อยเอ็ด ครั้งที่ 3/2556 ณ ห้องประชุมพระเวสสันดร ศาลากลางจังหวัดร้อยเอ็ด เพื่อติดตามผลการดำเนินโครงการพัฒนาจังหวัด ประจำปีงบประมาณ2556 ของจังหวัดร้อยเอ็ด จำนวน 3 โครงการ ได้แก่ โครงการพัฒนาแก้มลิงปากบุ่ง,โครงกรปรับปรุงระบบคลอส่งน้ำสาย CL 1L และโครงการเพิ่มศักยภาพการผลิตและสร้างมูลค่าเพิ่มข้าวหอมมะลิ ซึ่งส่วนราชการที่เกี่ยวข้องรายงานผลการดำเนินโครงการว่า โครงการพัฒนาแก้มลิงปากบุ่ง และ โครงกรปรับปรุงระบบคลอส่งน้ำสาย CL 1L ดำเนินการโดยไม่มีปัญหาอุปสรรค สามารถใช้จ่ายงบประมาณได้อย่างคุ้มค่า ประชาชนมีความพึงพอใจต่อโครงการ

โอกาสนี้ นางวนิดา สักการโกศล ผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรี เขตตรวจราชการที่ 12 ให้ความสำคัญด้านการประชาสัมพันธ์ภารกิจ บทบาท อำนาจหน้าที่ และผลการดำเนินงานของคณะกรรมาภิบาลจังหวัด โดยสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีได้อนุมัติให้จังหวัดไปดำเนินการแล้ว 52 จังหวัดๆ ละ 55,000 บาท และได้กำชับให้ดำเนินโครงการแผนพัฒนาจังหวัดให้เป็นไปตามหลักการบริหารกิจการบ้านเองบที่ดี ตามข้อกำหนดของโครงการ และตามมติคณะรัฐมนตรีโดยเคร่งครัด

จากนั้น บ่ายวันเดียวกันคณะได้เดินทางไปตรวจและติดตามผลการดำเนินโครงการปรับปรุงระบบคลอส่งน้ำสาย CL 1L ในพื้นที่ตำบลโพธิ์ใหญ่ อำเภอพนมไพร จังหวัดร้อยเอ็ด เพื่อรับทราบผลการดำเนินงานอย่างใกล้ชิดต่อไป




วิมล เร่งศึก/ข่าว
กมลพร คำนึง/บก.ข่าว
31 ก.ค. 56

ปปช.เลยประชุมชี้แจงกระบวนการสรรหา ปปช.

นายสมพงศ์ อรุณโรจน์ปัญญา ผู้ว่าราชการจังหวัดเลย พร้อมด้วยนายฐานิศร์ น้อยเพ็ง รองผู้ว่าราชการจังหวัดเลย หัวหน้าส่วนราชการ นายกสมาคมฯ ประธานชมรมฯ องค์กรอาสาสมัครฯ และผู้สนใจ เข้าร่วมประชุมชี้แจง กระบวนการสรรหากรรมการ ป.ป.ช. ประจำจังหวัดเลย กับผู้แทนหน่วยงาน หรือองค์กรในจังหวัด เพื่อคัดเลือกกันเองเป็นกรรมการสรรหา จัดโดย สำนักงาน ป.ป.ช.ประจำจังหวัดเลย ที่ห้องประชุมศรีสองรัก ชั้น 5 ศาลากลางจังหวัดเลย นางสมพร สมผดุง ผู้อำนวยการ สำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัดเลย กล่าวว่า สำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัดเลย จัดตั้งเมื่อวันที่ 4 มีนาคม 2556 ที่ผ่านมา โดยภาระกิจของ ป.ป.ช.ประจำจังหวัดเลย ประกอบด้วยงานหลัก 4 ด้าน ด้านแรก เป็นเรื่องการป้องกันการทุจริตในการป้องกันของ ปปช.จังหวัดเลย ด้านที่สอง เป็นเรื่องของการบริการรับแบบการแสดงทรัพย์สินและหนี้ของนักการเมืองท้องถิ่น หรือผู้มีหน้าที่ ยื่นแบบประจำจังหวัดเลย ด้านที่สาม การรับเรื่องร้องเรียน ข้อกล่าวหาเจ้าหน้าที่ของรัฐ และด้านที่สี่สำคัญคือ การสรรหากรรมการ ป.ป.ช.ประจำจังหวัดเลย กำหนดให้มีการสรรหากรรมการ 9 คน มาจากองค์กรต่าง ๆ 9 องค์กรในจังหวัดเลย สมาชิกในแต่ละองค์กรต้องเลือกสมาชิกมา 1 คน ประกอบด้วย องค์กรที่ 1 สมาคม ชมรมครูอาจารย์ สมาคมทางด้านการศึกษา องค์กรที่ 2 สมาคมทางด้านกฎหมาย หรือผู้ประกอบวิชาชีพด้านกฎหมาย องค์กรที่ 3 สมาคม ชมรมพนักงานรัฐวิสาหกิจ สภาแรงงาน หรือสหภาพแรงงาน องค์การที่ 4 สภาหอการค้า สภาอุตสาหกรรม หรือชมรมธนาคารพาณิชย์จังหวัด องค์กรที่ 5 เป็นกลุ่มอาสาสมัคร องค์กรที่ 6 เป็นองค์การเอกชน องค์กรที่ 7 องค์กรภาคการเกษตร องค์กรที่ 8 เป็นสมาคมหรือชมรมสื่อมวลชน องค์กรที่ 9 เป็นหัวหน้าส่วนราชการประจำจังหวัด โดยองค์กรแต่ละองค์กรต้องเลือกตัวแทนขององค์กรให้ได้ 1 คน เพื่อที่จะได้คณะกรรมการสรรหา รวมเป็น 9 คน เข้ามาทำหน้าที่สรรหากรรมการ ป.ป.ช.ประจำจังหวัดเลย กำหนดให้ผู้แทนหน่วยงาน หรือองค์กรในจังหวัดเลย ประสงค์จะส่งผู้แทนเพื่อคัดเลือกกันเองเป็นกรรมการสรรหา มาขึ้นทะเบียน โดยนำเอกสาร หลักฐาน พร้อมใบรับรองจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง หรือสังกัด มาขึ้นทะเบียน ในวันที่ 1- 9 สิงหาคม 2556 ห้องประชุมภูสวนทราย ชั้น 2 ศาลากลางจังหวัดเลย เวลา 08.30-16.30 น. ไม่เว้นวันหยุดราชการ และกำหนดจัดประชุมผู้แทนหน่วยงาน หรือองค์กรคัดเลือกกันเองให้เหลือประเภทละ 1 คน เพื่อเป็นกรรมการสรรหา ป.ป.จ.โดยวิธีลับ ในวันที่ 29 สิงหาคม - 2 กันยายน 2556 ห้องประชุมภูสวนทราย ชั้น 2 ศาลากลางจังหวัดเลย เวลา 08.30-16.30 น. ไม่เว้นวันหยุดราชการ และกำหนดเปิดรับสมัครผู้ประสงค์จะเข้ารับการสรรหาเป็นกรรมการ ป.ป.จ. ในวันที่ 26 กันยายน 2556 - 4 ตุลาคม 2556 เวลา 08.30-16.30 น. ไม่เว้นวันหยุดราชการ ที่สำนักงาน ปปช. ประจำจังหวัดเลย เลขที่ 491 อาคารทดสอบวัสดุ ชั้น 2 สำนักงานโยธาธิการและผังเมืองจังหวัดเลย ถนนเลยเชียงคาน ตำบลเมือง อำเภอเมือง จังหวัดเลย โทร.042-841508-9 ไม่เว้นวันหยุดราชการ

ชาวจังหวัดเลยร่วมกันสักการะพระเถระผู้ใหญ่ในจังหวัด

สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดเลย รายงานว่า ที่ศาลาการเปรียญหลวงปู่ศรีจันทร์ วัณณาโภ วัดศรีสุทธาวาส (วัดเลยหลง) พระอารามหลวง อำเภอเมืองเลย จังหวัดเลย มีคณะสงฆ์ประกอบด้วย เจ้าอาวาสและพระลูกวัดต่าง ๆ ในจังหวัดเลย ร่วมกับพุทธศาสนิกชนในจังหวัดเลย ได้จัดทำพิธีกราบคารวะแสดงมุทิตา ต่อพระผู้ใหญ่ในจังหวัดเลย โดยมีพระและญาติโยมมาร่วมงานครั้งนี้กว่า 300 คน สำหรับพระเถระผู้ใหญ่ฝ่ายธรรมยุต ที่มารับการสักการะจากบรรดาลูกศิษย์ลูกหา และประชาชนชาวจังหวัดเลย ประกอบด้วย พระราชญาณวิสุทธิโสภณ (หลวงปู่ท่อน ญาณวโร ที่ปรึกษาเจ้าคณะจังหวัดเลย (ธ) วัดศรีอภัยวัน บ้านนาอ้อ อำเภอเมืองเลย พระราชสุเมธี ที่ปรึกษาเจ้าคณะจังหวัดเลย (ธ) วัดภูตูมิวนาราม บ้านทรายขาว อำเภอวังสะพุง พระปิยทัสสี (หลวงปู่โกวิท สังฆภาร เจ้าคณะจังหวัดเลย (ธ) ก่อนทำพิธีสักการะ ได้มีการทำพิธีสักการะดวงวิญญาณพระธรรมวราลังการ หรือหลวงพ่อศรีจันทร์ วัณณาโภ อดีตเจ้าอาวาสวัดศรีสุทธาวาส ที่ล่วงลับ ซึ้งประเพณีนี้เป็นประเพณีที่ถือปฏิบัติกันมาทุกปีในช่วงเข้าพรรษา เป็นการกราบคารวะพระผู้ใหญ่ในจังหวัดเลย

อบจ.ศรีสะเกษ ทุ่มงบ 2 ล้าน สกัดการแพร่ระบาดไข้เลือดออกจังหวัดศรีสะเกษ

เมื่อเวลา 11.00 น. วันที่ 31 ก.ค. 56 ที่ศูนย์แสดงและจำหน่ายสินคาหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) องค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ นายวิชิต ไตรสรณกุล นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ เป็นประธานในพิธีมอบทรายทีมีฟอส 1% ขนาด 50 กรัม ตามโครงการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก จังหวัดศรีสะเกษ ประจำปี 2556 โดยมีนายแพทย์ประวิทย์ อ่ำพันธ์ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดศรีสะเกษ นายวิชิต กล่าวว่า เป็นที่ทราบกันดีว่าโรคไข้เลือดออกเป็นโรคที่ร้ายแรง มียุงลายเป็นพาหะนำโรค การป้องกันและควบคุมโดยใช้ทรายที่มีฟอส เป็นวิธีการหนึ่งที่จะตัดวงจรชีวิตของยุงลาย ซึ่งทรายทีมีฟอสมีคุณสมบัติในการกำจัดลูกน้ำยุงลายไม่ให้เจริญเติบโตเป็นยุง ลาย ซึ่งจะทำให้ลดปริมาณยุงลายที่เป็นพาหะนำโรคไข้เลือดออกในพื้นที่หมู่ บ้าน/ชุมชน ได้เป็นอย่างดี และการป้องกันและควบคุมโรคดังกล่าวไม่ให้แพร่ระบาดในพื้นที่นั้น ทุกภาคส่วนต้องร่วมมือกัน ทั้งบุคลากร งบประมาณ และวัสดุอุปกรณ์ เพื่อให้มีความพร้อมที่จะดำเนินการป้องกันและควบคุมโรคนี้ได้ ทั้งนี้ สำหรับการมอบทราบทีมีฟอส 1% ขนาด 50 กรัม ให้กับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดศรีสะเกษ ตามโครงการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก จังหวัดศรีสะเกษ ประจำปี 2556 ในครั้งนี้ จำนวนทั้งสิ้น 2 แสนซอง โดยใช้งบประมาณ 2 ล้านบาท

ประมงศรีสะเกษ ปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำ เนื่องในสัปดาห์แห่งการฟื้นฟูทรัพยากรและการใช้ประโยชน์สัตว์น้ำเพื่อชุมชน

เมื่อเวลา 10.00 น. วันที่ 31 ก.ค. 56 บริเวณแหล่งน้ำสาธารณหนองโสม หมู่ 1 บ้านดวน ตำบลดวนใหญ่ อำเภอวังหิน จังหวัดศรีสะเกษ นายสิริพงษ์ อังคสกุลเกียรติ ประธานหอการค้าจังหวัดศรีสะเกษ เป็นประธานในพิธีปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำ เนื่องในสัปดาห์แห่งการฟื้นฟูทรัพยากร และการใช้ประโยชน์สัตว์น้ำเพื่อชุมชน โดยมีนายกำจัด ราชคำ ประมงจังหวัดศรีสะเกษ และประชาชนชาวตำบลดวนใหญ่ร่วมพิธิปล่อยปลา ในครั้งนี้

นายกำจัด ราชคำ กล่าวว่า จังหวัดศรีสะเกษ โดย สำนักงานประมงจังหวัดศรีสะเกษ ร่วมกับองค์การบริหารส่วนตำบลดวนใหญ่ อำเภอวังหิน ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืดจังหวัดศรีสะเกษ และหอการค้าจังหวัดศรีสะเกษ ได้กำหนดจัดพิธีปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำ เนื่องในสัปดาห์แห่งการฟื้นฟูทรัพยากรและการใช้ประโยชน์สัตว์น้ำเพื่อชุมชน ขึ้น ณ แหล่งน้ำสาธารณหนองโสม หมู่ 1 บ้านดวน ตำบลดวนใหญ่ อำเภอวังหิน ทั้งนี้ กรมประมง กำหนดให้สำนักงานประมงจังหวัด ทุกจังหวัดจัดพิธีปล่อยพันธ์สัตว์น้ำเนื่องในสัปดาห์แห่งการฟื้นฟูทรัพยากร และการใช้ประโยชน์สัตว์น้ำเพื่อชุมชน พร้อมกันทั่วประเทศ เพื่อรณรงค์ให้ประชาชนอนุรักษ์ทรัพยากรประมงและใช้ประโยชน์แหล่งน้ำอย่าง ยั่งยืน สร้างความอุดมสมบูรณ์ของแหล่งน้ำ เพิ่มอาหารโปรตีนของชุมชนในชนบท และเพื่อประชาสัมพันธ์ภารกิจด้านการประมง ให้ประชาชนทั่วไปได้ทราบและเข้าถึงบริการของหน่วยงาน

สำหรับกิจกรรมในครั้งนี้ ประกอบด้วย การปล่อยพันธ์สัตว์น้ำ จำนวนกว่า 1 แสนตัว ได้แก่ ปลาสวาย ปลานิล ปลาตะเพียนขาว และปลายี่สกเทศ, การจัดนิทรรศการด้านการประมง, การสาธิต การแปรรูป การประกอบอาหาร ผลิตภัณฑ์ทางประมง, การให้บริการด้านวิชาการ เอกสาร และคำแนะนำความรู้ทางการประมงแก่เกษตรกร

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เปิดงาน “วันเจ้าหน้าที่พิทักษ์ป่าโลก” หรือ World Ranger Day

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ลงพื้นที่สระแก้วเปิดงาน "วันเจ้าหน้าที่พิทักษ์ป่าโลก”  ที่อุทยานแห่งชาติปางสีดา นายวิเชษฐ์ เกษมทองศรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธ รรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นประธานในพิธีเปิดงาน "วันเจ้าหน้าที่พิทักษ์ป่าโลก” หรือ World Ranger Day

นายวินัย วิทยานุกูล รองผู้ว่าราชการจังหวัดสระแก้ว ไ ด้นำหัวหน้าส่วนราชการและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ให้การต้อนรับ เนื่องด้วยในวันที่ 31 กรกฎาคมของทุกปี เป็นวันเจ้าหน้า ที่พิทักษ์ป่าโลก เพื่อเป็นการยกย่องให้เกียรติ และให้กำลังใจแก่เจ้าหน้าที่ป่าไม้ และทรัพยากรธรรมชาติ พร้อมทั้งระลึกถึงวีรกรรมและความเสียสละทุ่มเทของเจ้าหน้าที่ผู้พิทักษ์ป่าที่เสียชีวิตและบาด เจ็บเป็นจำนวนมากในแต่ละปี ดังนั้น กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่า และพันธุ์พืชได้ร่วมกับ องค์การเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ (IUCN) และมูลนิธิฟรีแลนด์ จึงได้จัดงานขึ้น ณ อุทยานแห่งชาติปางสีดา จังหวัดสระแก้ว กิจกรรมในงานมีการมอบโล่ประกาศเ กียรติคุณให้เจ้าหน้าที่ได้รับบ าดเจ็บและเสียชีวิต 7 ราย จากเจ้าหน้าที่ของกรมอุทยานแห่ง ชาติสัตว์ป่า และ พันธุ์พืช จำนวน 20,490 คน ที่ปฏิบัติหน้าที่ตั้งแต่ปี 2552  จนถึงปัจจุบันได้มีเจ้าหน้าที่เ สียชีวิตในการปฏิบัติหน้าที่ไม่ น้อยกว่า 40 ราย และ บาดเจ็บสาหัส 23 รายและบาดเจ็บ 26 ราย ล่าสุดในพื้นที่มรดกโลกดงพญาเย็น-เขาใหญ่ มีเจ้าหน้าที่พิทักษ์ป่าเสียชีวิต 3 ราย บาดเจ็บ 4 ราย จากการปฏิบัติหน้าที่ และกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่า และ พันธุ์พืช ให้การช่วยเหลือไปแล้ว 89 ราย 1,958,000 บาท

จากนั้น นายวิเชษฐ์ เกษมทองศรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพย์กรธ รรมชาติและสิ่งแวดล้อม เปิดเผยว่า เนื่องในวันเจ้าหน้าที่พิทักษ์ป่าโลก กระทรวงฯ โดยกรมอุทยาน สัตว์ป่า และพรรณพืช ได้ริเริ่มจัดงานวันผู้พิทักษ์ป่า เพื่อเป็นการยกย่องเชิดชู การปฏิบัติงานที่เสียสละ อุทิศตนเพื่อประโยชน์ของส่วนร่วม ของเจ้าหน้าที่พิทักษ์ป่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นรำลึกถึงผู้ปกป้องผืนป่าที่เสียสละชีวิต และ เจ้าหน้าที่พิทักษ์ป่า ที่ต้องทำงานเสี่ยงกับอันตราย และดูแลรักษาผืนป่าในส่วนของกรม อุทยานแห่งชาติ 73 ล้านไร่ แต่ได้รับงบประมาณในการดูแลผืนป่าเฉลี่ยเพียง 13.87 บาท ต่อไร่ ซึ่งถือว่าน้อยมากเมื่อเทียบกับ การป้องกันผู้บุกรุกป่า ประกอบกับภาวะปัจจุบันมีการลักล อบตัดไม้พะยูงเพิ่มขึ้นเป็นจำนว นมาก เนื่องจากมีราคาสูง คุ้มค่ากับการเสี่ยงต่อการถูกจั บกุมดำเนินคดีทำให้งานของผู้พิทักษ์ผืนป่าต้องเผชิญกับอันตรายมาก

ดังนั้น จึงได้ให้จัดตั้ง "กองทุนสวัสดิการกระทรวงทรัพยาก รธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมช่วยเหลือผู้พิทักษ์ป่าของไทย” ขึ้นสำหรับเจ้าหน้าที่พิทักษ์ป่าผู้ดูแลรักษาผืนป่า ทั้งที่เป็นข้าราชการ ลูกจ้างประจำ พนักงานราชการ และพนักงานจ้างเหมา โดยมีการสนับสนุนให้มีการทำประกันชีวิต หรือมีหลักประกันสวัสดิการการรั กษาพยาบาล และค่าใช้จ่ายต่างๆ เพื่อเป็นขวั ญและกำลังใจในการปฏิบัติงานของเ จ้าหน้าที่พิทักษ์ป่า

ประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา "พายุ “เชบี” ฉบับที่ 2 ลงวันที่ 31 กรกฎาคม 2556

เมื่อเวลา 10.00 น. วันนี้ (31 ก.ค. 56) นายวรพัฒน์ ทิวถนอม อธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา แจ้งออกประกาศกรมอุตุนิยมวิทยาพายุโซนร้อน "เชบี” (JEBI) ที่ทวีกำลังแรงขึ้นจากพายุดีเปรสชันบริเวณทะเลจีนใต้ตอนกลาง มีศูนย์กลางอยู่ห่างประมาณ 700 กิโลเมตร ทางตะวันออกเฉียงใต้ ของเกาะไหหลำ ประเทศจีน มีความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลาง ประมาณ 65 กม./ชม. กำลังเคลื่อนที่ทางทิศตะวันตกค่อนทางเหนือเล็กน้อย ด้วยความเร็วประมาณ 15 กม./ชม.

พายุนี้มีแนวโน้มเคลื่อนเข้าสู่อ่าวตังเกี๋ยและขึ้นฝั่งบริเวณประเทศเวียดนามตอนบน ในวันที่ 2-3 สิงหาคม 2556 หลังจากนั้นจะอ่อนกำลังลง ก่อนเคลื่อนเข้าปกคลุมบริเวณประเทศลาวตอนบน และประเทศไทยตอนบนต่อไป ลักษณะเช่นนี้ทำให้ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออก จะมีฝนตกหนาแน่นและมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ขอให้ประชาชนระวังอันตรายจากสภาวะอากาศดังกล่าวในช่วงวันที่ 2-4 สิงหาคม นี้ไว้ด้วย

อนึ่ง มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย มีกำลังค่อนข้างแรง ทำให้บริเวณด้านตะวันตกของภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันตก ทำให้บริเวณดังกล่าว มีฝนเพิ่มมากขึ้นและมีฝนตกหนักได้ร้อยละ 70% ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักได้บางแห่ง ขอให้ประชาชนบริเวณจังหวัดตาก กาญจนบุรี จันทบุรี ตราด ระนอง และพังงา ระวังอันตรายจากฝนตกหนัก ส่วนคลื่นลมในทะเลอันดามันสูงประมาณ 2 เมตร ขอให้ชาวเรือเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือในระยะนี้

จังหวัดสระแก้ว จึงขอประชาสัมพันธ์ เพื่อเตรียมการป้องกันและแก้ไขปัญหาอันเกิดอันเกิดจากสภาวะฝนตกหนักและน้ำท่วมฉับพลันที่อาจสร้างความเสียหายให้แก่ชีวิตและทรัพย์สินบ้านเรือนของประชาชน รวมทั้งพืชผลทางการเกษตร ขอให้ติดตามข้อมูลข่าวสารได้ทางเว็บไซต์ ของกรมอุตุนิยมวิทยา www.tmd.go.th ตลอด 24 ชม. และสามารถแจ้งเหตุด่วนสาธารณภัย สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดสระแก้ว ที่หมายเลขโทรศัพท์ 0-3742-5475-8 ได้ตลอด 24 ชม.

ประกาศ ณ วันที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2556 เวลา 10.30 น.

เสวนายามที่สมาคมวานิชอุบลราชธานี (ศาลเจ้าตลาดใหญ่)

วันที่ 31 กรกฎาคม 2556 เสวนายามเช้าเริ่ม 07.00 น. โดยท่าน ท่านวันชัย สุทธิวรชัย ผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี มีพาณิชย์จังหวัดและหอการค้าจังหวัดเป็นเจ้าภาพจัดที่สมาคมวานิชอุบล ในศาลเจ้าตลาดใหญ่จุดมุ่งหมายคือพบปะพูดคุยปรึกษาหารืองานดูแลบ้านเมืองระหว่างราชการและเอกชน

ผู้ว่าราชจังหวัดอุบราชธานี เริ่มกล่าวบนเวที ขอให้ หัวหน้าส่วนราชการให้ความร่วมมือในการไปร่วมงานที่แต่ละส่วนราชการจัดขึ้นเพื่อความสามัคคีเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวพูดถึงการเข้าเฝ้าสมเด็จพระบรมฯ ในพิธีเปิดศาลปกครองและพระราชทานตู้ยาประจำวันและเข้าเฝ้ารับเทียนพระราชทานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวโดสมเด็จพระเทพฯ ได้กราบบังคมทูลเรื่องข้อมูล โรงเรียนตำรวจชายแดนอุบลฯ เรื่องปัญหาการขาดสารอาหารมาให้พัฒนาการทางสมองอยู่ในเกณฑ์ต่ำ และเรื่องบ้านพักครูไม่เพียงพอ มีผู้ทูลถวายเงินมากพอไม่มีการแจ้งความต้องการขึ้นมาให้ทราบ การแห่เทียนพรรษาปีนี้ถือว่าประสบความสำเร็จระดับหนึ่งมีปัญหาข้อขัดข้องหลายประการต้องแก้ไข บางหน่วยงานมีการปฏิบัติงานทำให้กระขวนแห่เทียนไม่เป็นไปตามที่กำหนดการประสานงานเรื่องการถวายเทียนพระราชทานเกิดความติดขัดและเป็นปีแรกที่มีเทียนพรรษาเป็นเทียนหอมและใหญ่ที่สุดในโลกทีสำคัญทำโดยช่างผู้หญิงและทีมงาน เป็นจุดดึงดูดนักท่องเทียวได้มากปีหน้าต้องส่งเสริมให้มากเพื่อดึงงานประเพณีแห่เทียนพรรษากลับมาที่อุบลราชธานีเป็นปีแรกที่จังหวัดอุบลราชธานีจัดทำหล่อเทียนพรรษาเพื่อนำถวายเจ้าคณะจังหวัดทั้งธรรมยุติ มหานิกายและเจ้าคณะอำเภอ ปีต่อไปต่อไปต้องให้ลงไปถึงเจ้าคณะตำบล ความพร้อมบ้านเราในเรื่อง AEC มีไม่มาก ต้องเร่งปรับทั้งภาคราชการภาคธุรกิจการค้าการค้าชายแดนที่ช่องตาอู ไทย-เขมร อยากให้เป็นส่วนหนึ่งที่หอการค้าอุบลเข้าไปดูแลให้การสนับสนุน มีแผนยกระดับเป็นช่องการค้าระดับสูง งบปีหน้าค่อนข้างแน่นนอนที่จะไปสะพานข้ามแม่น้ำโขงสถานที่ตั้งจะอยู่ที่อำเภอนาตาลซึ่งติดกับแขวงสาระวัน เพื่อสนองการค้าการท่องเที่ยว มีแนวคิดนำกราบเรียนเจ้าคณะจังหวัดทั้งสองนิกายในการนิมนต์พระสงฆ์จาก สปป.ลาวร่วมส่งเสริมกิจกรรมทางพระพุทธศาสนา

จังหวัดอุบลราชธานี เผยผลการจับกุมยาเสพติดในเดือนกรกฎาคม ๒๕๕๖

อุบลราชธานี : ผลการจับกุมยาเสพติดในทุกพื้นที่ ระหว่างวันที่ ๑-๒๕ กรกฎาคม ๒๕๕๖ โดยจับยาบ้า ๔๔,๓๔๖ เม็ด, กัญชา ๒.๕ กก.,พืชกระท่อม ๕.๕ กรัม,ยาไอซ์ ๘๕.๕๘ กรัมและสารระเหย รวมจับกุม ๘๖๑ ราย ผู้ต้องหาทั้งหมด ๘๗๓ คน ขณะเดียวกันหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่างเร่งดำเนินการตามนโยบายของรัฐบาลในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดอย่างเข้มงวด

เมื่อวานนี้ (๓๐ ก.ค.๕๖) นายวันชัย สุทธิวรชัย ผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการศูนย์อำนวยการพลังแผ่นดินเอาชนะยาเสพติดจังหวัดอุบลราชธานี ประจำเดือนกรกฎาคม ๒๕๕๖ ที่ห้องประชุมฟองจันทร์ ชั้น ๔ อาคาร PRESIDENT มหาวิทยาลัยการจัดการและเทคโนโลยีอีสเทิร์น อ.เมืองอุบลราชธานี ซึ่งตำรวจภูธรจังหวัดอุบลราชธานี ได้รายงานผลการจับกุมยาเสพติด ในทุกพื้นที่ในช่วงวันที่ ๑-๒๕ กรกฎาคม ๒๕๕๖ โดยสามารถจับกุมยาบ้าได้ ๘๘๒ ราย ผู้ต้องหา ๘๓๔ คน ของกลางยาบ้า ๔๔,๓๔๖ เม็ด,กัญชา จับกุม ๑๘ ราย ผู้ต้องหา ๑๘ คน ของกลางกัญชา ๒.๕๔ กิโลกรัม,พืชกระท่อม จับกุมได้ ๔ ราย ผู้ต้องหา ๔ คน ของกลางพืชกระท่อม ๕,๕๐ กรัม, ยาไอซ์ จับกุมได้ ๔ ราย ผู้ต้องหา ๕ คน ของกลางยาไอซ์ ๘๕.๕๘ กรัมและสารระเหย จับกุมได้ ๑๒ ราย ผู้ต้องหา ๑๒ คน ของกลางกาว ๖ กระป๋อง ๔ ถุงและทินเนอร์ ๔ ขวด รวมจับกุม๘๖๑ ราย ผู้ต้องหาทั้งหมด ๘๗๓ คน โดยพื้นที่ทีมีการจับกุมได้มาก ๕ อำเภอแรก ประกอบด้วย อำเภอเมืองอุบลราชธานี ๑๖๖ ราย,วารินชำราบ ๗๓ ราย, เดชอุดม ๕๗ ราย,พิบูลมังสาหาร ๕๖ รายและเขมราฐ ๕๔ ราย

ขณะที่ในช่วงวันที่ ๑-๑๙ มิถุนายน ๒๕๕๖ มีผลการจับกุมยาบ้า ๗๗๖ ราย ผู้ต้องหา ๗๘๖ คน ของกลางยาบ้า ๗๘,๕๙๕ เม็ด, จับกุมกัญชา ๑๙ ราย ผู้ต้องหา ๒๐ คน ของกลางกัญชา ๒๕๐,๑๙๙.๓๐ กิโลกรัม,พืชกระท่อม จับกุม ๓ ราย ผู้ต้องหา ๓ คน ของกลางพืชกระท่อม ๑๔ กรัม,ยาไอซ์ จับกุม ๑ ราย ผู้ต้องหา ๑ คน ของกลางยาไอซ์ ๒๐๓.๓๐ กรัมและสารระเหย จับกุม ๑๒ ราย ผู้ต้องหา ๑๒ คน ของกลางกาว ๑๑ กระป๋อง, ทินเนอร์ ๑ ขวด

พร้อมนี้ผู้ว่าราชการจังหวัดได้กำชับให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งดำเนินการตามนโยบายของรัฐบาลในช่วงท้ายของปีงบประมาณ ๒๕๕๖ ทั้งด้านการสร้างพลังสังคมและชุมชน,การแก้ไขปัญหาผู้เสพ/ผู้ติดยาเสพติด,การสร้างภูมิคุ้มกันในสถานศึกษา,การแก้ไขปัญหายาเสพติดในสถานประกอบการ,การปราบปรามและบังคับใช้กฎหมาย,ความร่วมมือระหว่างประเทศ,การสกัดกั้นยาเสพติดและการบริหารจัดการ




พงษ์สถิตย์ อรอินทร์ ส.ปชส.อุบลราชธานี
๐๘๑ – ๙๒๔ ๘๖๐๙ /ข่าว/ ๓๑ ก.ค. ๕๖

ผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี ลงนามความร่วมมือ (MOU) กับ นายอำเภอ และ ผู้กำกับการสถานีตำรวจและส่วนราชการ เพื่อแก้ไขปัญหายาเสพติดในพื้นที่ให้อย่างเป็นรูปธรรม

วันที่ 30 กรกฎาคม 2556 เวลา 13.30 น. ณ ห้องประชุมฟองจันทร์ ชั้น 4 ตึก มหาวิทยาลัยการจัดการและเทคโนโลยีอีสเทิร์น นายวันชัย สุทธิวรชัย ผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี ในฐานะผู้ศูนย์อำนวยการพลังแผ่นดินเอาชนะยาเสพติดจังหวัดอุบลราชธานี ทำพิธีลงนามลงนามความร่วมมือ (MOU) กับ นายอำเภอ และ ผู้กำกับการสถานีตำรวจและส่วนราชการ ผู้บริหารสถานศึกษา ได้ลงนามความร่วมมือ (MOU) เพื่อแสดงถึงเจตนารมณ์อันมุ่งเน้นและความตั้งใจที่จะร่วมกันดำเนินการแก้ไขปัญหายาเสพติดในพื้นที่ ให้ปรากฏผลกาปฏิบัติที่เป็นรูปธรรม ด้วยการบูรณาการการจัดกิจกรรม หรือโครงการเกี่ยวกับการสร้างภูมิคุ้มกันนักเรียน ชั้น ม.1- ม.6 เข้าค่ายคุณธรรม โดยใช้ศาสนสถานเป็นที่ฝึกอบรม วันศุกร์ถึงอาทิตย์ โดยใช้วิทยากรที่มีความรู้ความสามารถ ได้แก่ พระสอนศีลธรรม นักบวชในศาสนาอื่นตามกลุ่มเป้าหมาย เพื่อเป็นการกระตุ้น พัฒนาจิตใจ รวมทั้งให้มีการถ่ายทอดบทสวด ธรรมวัตรเช้า และธรรมวัตรเย็นที่แปลเป็นภาษาที่สามารถเข้าใจได้อย่างลึกซึ่ง ทั้งนี้ ให้มีเงื่อนไขว่าในวัดสุดท้ายของการฝึกอบรมจะต้องมีกิจกรรมที่ผู้ปกครอง บิดา มารดา เข้ามามีส่วนร่วมและนำลูกหลานกลับบ้านด้วยตนเอง.




จักรกฤษณ์ มาลาสาย/ข่าว
ทองปัก ทวีสุข/ภาพ

ชาวนากาฬสินธุ์เจอวิกฤตภัยแล้งเขื่อนลำปาวยังไม่สามารถปล่อยน้ำช่วยเหลือปักดำได้

กาฬสินธุ์วิกฤตภัยแล้ง ผู้ว่าราชการจังหวัดสั่งเกษตรสำรวจผู้ได้รับผลกระทบรายงานด่วนในกลางเดือน สิงหาคม เพื่อปรับแผนหาพืชปลูกทดแทนข้าว ขณะที่เขื่อนลำปาวปริมาณน้ำไหลลงอ่างน้อยกว่าค่าเฉลี่ยรอบ 10 ปีในระยะเวลาเดียวกัน

นายสุวิทย์ สุบงกฎ ผู้ว่าราชการจังหวัดกาฬสินธุ์ ได้เผยว่า ในฤดูการทำนาปีในปีนี้เกษตรกรในพื้นที่จังหวัดกาฬสินธุ์กำลังประสบปัญหาฝน แล้งเป็นจำนวนมาก และขยายบริเวณกว้างไปหลายอำเภอ ในขณะที่เขื่อนลำปาวก็ไม่มีน้ำเพียงพอสำหรับส่งให้เกษตรกรทำนาได้ ถึงแม้ฝนจะตกในช่วงที่ผ่านมาก็มีเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ซึ่งหากเลยกลางเดือนสิงหาคม หากฝนไม่ตกก็ได้สั่งการให้เกษตรจังหวัด เกษตรอำเภอ และส่วนที่เกี่ยวข้องสำรวจพื้นที่ได้รับผลกระทบ เพื่อปรับแผนจัดหาพืชเพาะปลูกทดแทนให้เกษตรกรสามารถอยู่ได้

นายปัญญา ศิลปะ เกษตรจังหวัดกาฬสินธุ์ ได้กล่าวว่า สถานการณ์การทำนาของจังหวัดกาฬสินธุ์ขณะนี้มีพื้นที่ปลูกข้าวไปแล้ว 296,762 ไร่ ส่วนอำเภอที่มีน้ำพอสามารถปักดำได้ ประกอบด้วย อำเภอคำม่วง สมเด็จ ห้วยผึ้ง นาคู เขาวง กุฉินารายณ์ ท่าคันโท อำเภออื่นๆ ก็ได้มีน้ำปักดำในบางส่วนเท่านั้น อำเภอที่ได้รับผลกระทบ คือ อำเภอยางตลาด เมือง ห้วยเม็ก กมลาไสย เป็นต้น โดยเฉพาะพื้นที่ที่เคยได้รับน้ำจากเขื่อนลำปาวกลับไม่มีน้ำปักดำนาเลย

จากข้อมูลของเขื่อนลำปาวพบว่า ตั้งแต่เดือนมกราคมมาจนถึงสิ้นเดือนกรกฎาคม 2556 มีปริมาณน้ำฝนไหลลงอ่างเพียง 165.70 ล้านลูกบาศก์เมตรเท่านั้น เมื่อเทียบกับปริมาณน้ำฝนไหลลงอ่างในระยะเวลาเดียวกันย้อนหลังเฉลี่ยปีละ 685 ล้านลูกบาศก์เมตร จึงถือว่าอยู่ในขั้นวิกฤต




สุรพล คุณภักดี / ข่าว

กาฬสินธุ์เชิญร่วมปล่อยปลาถวายเป็นพระราชกุศลวันแม่แห่งชาติ 12 สิงหาคม 2556

นายปกรณ์ อุ่นประเสริฐ ประมงจังหวัดกาฬสินธุ์ ได้แจ้งว่า เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ 12 สิงหาคม 2556 สำนักงานประมงจังหวัดกาฬสินธุ์ ได้ร่วมกับ อำเภอนามนและ อบต.หลักเหลี่ยม อำเภอนามน จัดพิธีปล่อยพันธุ์ปลาเฉลิมพระเกียรติ เพื่อเป็นการถวายความจงรักภักดีและถวายเป็นพระราชกุศล โดยได้กำหนดปล่อยพันธุ์ปลาในวันที่ 7 สิงหาคม 2556 ณ บริเวณแหล่งน้ำ หนองคอนเตรียม บ้านหลักเหลี่ยม ตำบลหลักเหลี่ยม อำเภอนามน จังหวัดกาฬสินธุ์ ซึ่งพันธุ์ปลาที่ปล่อยทั้งหมด ประกอบด้วย ปลาบึก ปลาสวาย ปลาตะเพียน ประยี่สกเทศและอื่นๆ รวม 1 ล้านตัว โดยปล่อยลง หนองคอนเตรียม จำนวน 300,000 ตัว มอบให้ผู้นำของหมู่บ้านปล่อยตามหนองน้ำสาธารณะในหมู่บ้าน ชุมชน จำนวน 200,000 ตัว และได้ทยอยปล่อยตามหนองน้ำสาธารณะภายในพื้นที่จังหวัด อีก 500,000 ตัว

ฉะนั้น ในการจัดกิจกรรมปล่อยสัตว์น้ำเฉลิมพระเกียรติในครั้งนี้ จึงขอเรียนเชิญข้าราชการ นักเรียน นักศึกษา กำนันผู้ใหญ่บ้าน ผู้นำท้องถิ่น ที่อยู่ใกล้ได้เข้าร่วมกิจกรรมในครั้งนี้ เพื่อร่วมแสดออกถึงความจงรักภักดีและถวายเป็นพระราชกุศล




สุรพล คุณภักดี / ข่าว

งานศพ งานบุญปลอดเหล้ากาฬสินธุ์ เดือนกรกฎาคม ประหยัดเงินได้ 7,070,750 บาท

ผลการดำเนินงานตามโครงการกาฬสินธุ์เมืองคนดี สุขภาพดี รายได้ดี 2556 โดยการรณรงค์การจัดงานบุญ งานศพ ปลอดเหล้า ซึ่งในเดือนกรกฎาคม 2556 สรุปยอดประหยัดค่าใช้จ่ายในการซื้อเหล้าได้ถึง 7,070,750.-บาท โดยมีจำนวนปลอดเหล้างานศพ 100% จำนวน 9 อำเภอ

ตามที่จังหวัดกาฬสินธุ์ ได้ดำเนินโครงการกาฬสินธุ์เมืองคนดี สุขภาพดี รายได้ดี ประจำปี 2556 โดยเป็นการจัดทำบัญชีครัวเรือน เกี่ยวกับรายรับ รายจ่าย การรณรงค์ปลอดเหล้าในงาน บุญงานศพ นั้น

นายสุวิทย์ สุบงกฎ ผู้ว่าราชการจังหวัดกาฬสินธุ์ ได้เผยว่า จากการรายงานของทีมทำงานที่ได้รับมอบหมายปรากฏว่าความก้าวหน้าในเดือนกรกฎาคม 2556 จังหวัดกาฬสินธุ์ ทั้ง 18 อำเภอ มีงานศพ จำนวน 336 งาน ปลอดเหล้า 298 งาน คิดเป็นร้อยละ 88 งานบุญ 136 งาน ปลอดเหล้า 91 งาน คิดเป็นร้อยละ 66.9 และในเดือนกรกฎาคมนี้ ประชาชนสามารถประหยัดค่าใช้จ่ายซื้อเหล้าในงานบุญ งานศพ ได้ถึง 7,070,750.- บาท มีอำเภอที่ปลอดเหล้า 100% ประกอบด้วย อำเภอเมือง, นามน, ร่องคำ, ห้วยเม็ก, ห้วยผึ้ง, นาคู, สมเด็จ, สหัสขันธ์, สามชัย และอำเภอดอนจาน นอกจากนั้นยังต้องรณรงค์และดำเนินการอีกต่อไป

ผู้ว่าราชการจังหวัดกาฬสินธุ์ ได้กล่าวเพิ่มเติมว่า นับตั้งแต่ดำเนินงานตามโครงการนี้ตั้งแต่ต้นปีมาถึงปัจจุบัน จังหวัดกาฬสินธุ์มีงานบุญสะสมจำนวน 638 งาน งานศพ 1,494 งาน สามารถประหยัดค่าใช้จ่ายทั้งหมดประมาณ 40,947,750.-บาท ดังนั้น จึงขอให้ทุกอำเภอ ตำบล ได้รณรงค์ทำความเข้าใจกับเจ้าภาพและแขกที่ไปร่วมงานเพื่อประหยัดค่าใช้จ่ายในส่วนที่ไม่จำเป็นและยังรักษาสุขภาพอีกด้วย




สุรพล คุณภักดี / ข่าว

จ.กาฬสินธุ์ ให้ทุกภาคส่วนร่วมกำจัดลูกน้ำยุงลายป้องกันโรคไข้เลือดออก

นายสุวิทย์ สุบงกฎ ผู้ว่าราชการจังหวัดกาฬสินธุ์ ได้เผยว่า จากสถานการณ์โรคไข้เลือดออกในประเทศไทยปีนี้พบว่ามีความรุนแรงมากเป็นประวัติการณ์ เมื่อเทียบสถิติข้อมูลย้อนหลัง 10 ปี  สำหรับจังหวัดกาฬสินธุ์ ข้อมูล ณ วันที่ 28 กรกฎาคม 2556 พบผู้ป่วยทั้งสิ้น 510 ราย เสียชีวิตแล้ว 2 ราย ช่วงอายุที่พบมากที่สุด 3 อันดับแรก คือ 10-14 ปี ป่วย 169 คน อายุ 15-24 ปี ป่วย 174 คน และอายุ 5-9 ปี ป่วย 84 คน อาชีพที่ป่วยมากที่สุด นักเรียน นักศึกษา 394 คน เกษตรกร 47 ราย อาชีพอื่น ๆ 31 คน อำเภอที่พบมากที่มีอัตราป่วยต่อประชากรแสนคน 5 อันดับแรก คือ อำเภอเขาวง นาคู คำม่วง ร่องคำ และอำเภอสามชัย

ผู้ว่าราชการจังหวัดกาฬสินธุ์ ได้กล่าวอีกว่า การต่อสู้กับโรคไข้เลือดออกนั้น ลำพังเจ้าหน้าที่สาธารณสุข อสม. หรือเจ้าหน้าที่ไม่สามารถชนะได้ จึงขอให้ประชาชนทุกคนได้ให้ความร่วมมือดูแลบ้านตนเองไม่ให้มีลูกน้ำยุงลายด้วยการทำสิ่งแวดล้อมในบ้านไม่ให้มีน้ำขัง ใช้ทรายอะเบทลงตามอ่างน้ำใช้ทำลายลูกน้ำยุงลาย และให้ทุกคนตระหนักไว้ว่า ไม่มีลูกน้ำไม่มียุงลาย ไม่มียุงลาย ไม่มีไข้เลือดออก และการป้องกันดีที่สุดอีกอย่างคือการใช้ยาที่มีส่วนผสมองตะไคร้หอมทากันยุง




สุรพล คุณภักดี / ข่าว

จ.กาฬสินธุ์ จัดอบรมพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ประจำปี 2556

จังหวัดกาฬสินธุ์ จัดอบรมพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (อพม.) ประจำปี 2556 เพื่อให้สามารถปฏิบัติงานตามบทบาท หน้าที่ ภารกิจด้านพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และบูรณาภาพระบบให้ความช่วยเหลือผู้ประสบปัญหาทางสังคมได้อย่างทันท่วงทีโดยมี อพม. จำนวน 150 คน เข้าอบรม

เมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2556 ที่ห้องประชุมสหกรณ์ออมทรัพย์ครูกาฬสินธุ์ จำกัด นายประเสริฐ ลือชา ธนานนท์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดกาฬสินธุ์ เป็นประธานเปิดโครงการพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (อพม.) จังหวัดกาฬสินธุ์ ประจำปี 2556 ซึ่งสำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของจังหวัดกาฬสินธุ์ จัดขึ้นเพื่อให้ อพม. รับทราบนโยบาย แนวทางการดำเนินงานของกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ สามารถปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่ และภารกิจได้อย่างเต็มที่ พัฒนาศักยภาพ ทักษะในการจัดการกับสถานการณ์ทางสังคมได้อย่างทันท่วงทีและจัดทำแผนชุมชนด้านสังคมได้ และเพื่อบูรณาภาพระบบให้ความช่วยเหลือผู้ประสบปัญหาทางสังคมในระดับพื้นที่อย่างมีประสิทธิภาพ โดยมี อพม.ระดับตำบล จำนวน 150 คน เข้ารับการอบรม

นายสุชาติ ต่ายทรัพย์ พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดกาฬสินธุ์ กล่าวว่า กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ดำเนินโครงการอาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ หรือ อพม. เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมให้อาสาสมัครที่มีอยู่อย่างหลากหลายในชุมชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาสังคม เฝ้าระวังและเตือนภัยทางสังคม ส่งเสริม พัฒนาตลอดจนป้องกันและแก้ไขสถานการณ์ทางสังคม ปัจจุบันจังหวัดกาฬสินธุ์ มี อพม.รวมทั้งสิ้น 1,620 คน  ทั้งระดับจังหวัด อำเภอ และหมู่บ้าน ดังนั้น เพื่อให้ อพม.จังหวัดกาฬสินธุ์ มีทิศทางการทำงานเป็นไปในแนวทางเดียวกัน สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดกาฬสินธุ์ จึงได้จัดทำโครงการพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (อพม.) จังหวัดกาฬสินธุ์ ประจำปี 2556 โดยกำหนดจัด 2 รุ่น คือรุ่นที่ 1 วันที่ 30 กรกฎาคม 2556 มี อพม.ระดับตำบลเข้าอบรมจำนวน 150 คน รุ่นที่ 2 วันที่ 31 กรกฎาคม 2556 อพม.ระดับหมู่บ้านจำนวน 150 คน เข้าอบรม ซึ่งคาดหวังว่าผู้ที่ผ่านการอบรมจะร่วมขับเคลื่อนงานด้านพัฒนาสังคมและการจัดสวัสดิการสังคม ในการช่วยเหลือประชาชนในพื้นที่/ชุมชนของตนเองที่ประสบปัญหาทางสังคมได้อย่างเร่งด่วนทันที




ดวงใจ หงษ์จันทร์ / ข่าว

กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เร่งเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจให้แก่กลุ่มสตรีไทย เตรียมพร้อมเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน เพื่อป้องกันการเอารัดเอาเปรียบและการแสวงหาผลประโยชน์จากผู้ไม่หวังดี ติดตามจากรายงาน

นายวิเชียร  ชวลิต ปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กล่าวว่า ในปี 2558 ประเทศไทยจะเข้าสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ซึ่งอาจสร้างผลกระทบต่อทุกมิติในสังคม และกลุ่มสตรีถือเป็นกลุ่มที่อาจจะได้รับผลกระทบทางวัฒนธรรมที่แตกต่างจากกลุ่มอื่น เนื่องจากอยู่ในฐานะที่มีความรับผิดชอบหลากหลายบทบาทในสังคม ทั้งภารกิจในครัวเรือน การทำงานเพื่อชุมชน รวมถึงอาจได้รับผลกระทบในลักษณะการถูกเอารัดเอาเปรียบเพื่อการแสวงหาผลประโยชน์ ดังนั้นการเตรียมความพร้อมเพื่อให้สตรีเข้าใจและยอมรับการเปลี่ยนแปลงของระบบเศรษฐกิจสังคม จึงเป็นภารกิจที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ โดยสำนักงานกิจการสตรีและสถาบันครอบครัวต้องดำเนินการส่งเสริมเรื่องนี้เร่งด่วน โดยใช้กลไกที่มีอยู่ถ่ายทอดความรู้ ความเข้าใจ ไปสู่สตรีในแต่ละชุมชนและองค์กร เพื่อมุ่งหวังให้เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง และเตรียมรับมือกับสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในอนาคตเกี่ยวกับอาเซียน เช่น เสริมสร้างด้านความร่วมมือทางการศึกษาอย่างครอบคลุม การฝึกอบรมและศึกษาดูงาน การสร้างรายได้จากการค้าขาย ด้านสิ่งแวดล้อม การค้ามนุษย์ ความรู้เรื่องกฎหมายของประเทศในอาเซียน และด้านความเครียดของสตรี ที่จะต้องมีการแข่งขันในด้านต่างๆ

ถึงแม้การก้าวเข้าสู่ประชาคมอาเซียน จะเป็นเรื่องใหม่สำหรับสตรีไทย แต่ถ้าทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วมในการปรับเปลี่ยนเจตคติ เชื่อว่า กลุ่มสตรีไทยจะเป็นพลังสำคัญในการขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศชาติอย่างยั่งยืน เพราะสตรีมีศักยภาพในทุกๆด้าน ไม่แพ้ผู้ชาย




สำนักข่าว  กรมประชาสัมพันธ์ / ข่าว

บทความ : สารคดีเทิดพระเกียรติในสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ “ศิลปาชีพ นำชีพชน”

ย้อนไปในอดีตพระราชดำริในการก่อตั้งมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพฯ  เพื่อส่งเสริมอาชีพให้กับราษฎรนั้น มีมาตั้งแต่เมื่อครั้งตามเสด็จพระราชดำเนินไปเยี่ยมเยียนราษฎรในชนบทในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ทรงเห็นชาวบ้านนุ่งซิ่นไหมมัดหมี่กันเป็นส่วนใหญ่ จึงทรงเล็งเห็นว่าชาวบ้านมีฝีมือในงานหัตถกรรมอยู่แล้ว จึงมีพระราชดำริส่งเสริมอาชีพให้แก่ชาวบ้าน เพื่อได้มีรายได้ทดแทนกรณีที่ผลผลิตทางการเกษตรต้องเสียหาย ไม่ได้ผล อันเนื่องจากภัยทางธรรมชาติ

ในช่วงแรกสมเด็จพระบรมราชินีได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ชาวบ้านทอผ้าไหมมัดหมี่  แล้วทรงรับซื้อเอาไว้ เป็นการสนับสนุน  ฟื้นฟู และพัฒนาฝีมือการทอในเบื้องต้น  เมื่อดำเนินการส่งเสริมอาชีพไประยะหนึ่ง ก็ได้มีการจัดตั้งเป็นมูลนิธิขึ้น และได้ พระราชทานชื่อมูลนิธิว่า "มูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพพิเศษในพระบรมราชินูปถัมภ์" โดยมีสำนักงานของมูลนิธิที่สวนจิตรลดา กรุงเทพมหานคร โดยสมเด็จพระบรมราชินีนาถได้พระราชทานทุนเริ่มแรกจำนวนหนึ่งล้านบาทถ้วน

ต่อมาใน พ.ศ.2531 คณะกรรมการบริหารของมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพฯ พิจารณาเห็นว่า สมาชิกของมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพ ยึดศิลปาชีพเป็นอาชีพหลักกันมากมิได้ทำเป็นอาชีพเสริม และองค์ประธานมูลนิธิก็ทรงบริหารกิจการด้วยพระองค์เอง มิได้เป็นเพียงการพระราชทานพระบรมราชินูปถัมภ์ จึงได้มีการเปลี่ยนชื่อของมูลนิธิจาก "มูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพพิเศษในพระบรมราชินูปถัมภ์" เป็น มูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ซึ่งในปัจจุบันมูลนิธิมีศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพกระจายอยู่ทั่วทุกภาค และมีโครงการส่งเสริมศิลปาชีพในหลายจังหวัดทั่วประเทศ โดยศูนย์ศิลปาชีพทั่วประเทศ มีดังนี้ 1.ศูนย์กลางศิลปาชีพ ณ สวนจิตรลดา 2.ศูนย์ศิลปาชีพพิเศษ บางไทร อยุธยา 3.ศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพบ้านกุดนาขาม สกลนคร 4.ศูนย์ศิลปาชีพพิเศษ บ้านจาร สกลนคร 5.ศูนย์ศิลปาชีพพิเศษบ้านทรายทอง สกลนคร 6.ศูนย์ศิลปาชีพบ้านหัวยเดื่อ แม่ฮ่องสอน 7.ศูนย์ศิลปาชีพจังหวัดแม่ฮ่องสอน 8.ศูนย์ศิลปาชีพบ้านแม่ต๋ำ เชียงใหม่ 9.ศูนย์ศิลปาชีพเครื่องปั้นดินเผา ลำปาง 10.ศูนย์ศิลปาชีพบ้านวัดจันทร์ เชียงใหม่ ซึ่งทุกศูนย์ฯสามารถสร้างรายได้ให้กับสมาชิกอย่างต่อเนื่อง

สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงมีความห่วงใยประชาชน ในชนบท พระองค์ทรงมีพระราชดำริ ที่จะช่วยให้พสกนิกรของพระองค์ท่าน มีความเป็นอยู่ และคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น มีรายได้เพียงพอ ต่อการเลี้ยงครอบครัว จึงได้พระราชทานพระราชดำริ การส่งเสริมศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพ เพื่อให้การฝึกอบรมแก่สมาชิก รวมทั้งจัดหางาน ให้สมาชิกดำเนินการ เพื่อนำไปจำหน่าย เป็นรายได้เสริมของสมาชิก สามารถพัฒนาคุณภาพชีวิตของราษฎรตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว





สำนักข่าว  กรมประชาสัมพันธ์ / ข่าว

อบต.ตะเคียน อ.กาบเชิง จ.สุรินทร์ จัดโครงการ “ท้องถิ่นไทย รวมใจภักดิ์ รักษ์พื้นที่สีเขียว” ปีที2

นายกฤษฎา  แก้วสองเมือง นายอำเภอกาบเชิง  จ.สุรินทร์  เปิดเผยว่า  อบต.ตะเคียน อ.กาบเชิง จ.สุรินทร์ กำหนดปลูกต้นไม้ตามโครงการ“ท้องถิ่นไทย รวมใจภักดิ์ รักษ์พื้นที่สีเขียว” ปีที2 เพื่อฟื้นฟูทรัพยากรป่าไม้ที่เสื่อมโทรม  เพื่อปลุกจิตสำนึกเพิ่มพื้นที่สีเขียวให้ประชาชนทุกหมู่เหล่าได้มีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาภาวะโลกร้อน สร้างเมืองน่าอยู่ สวยงาม

นายทองคำ  เฉลิมรัมย์ นายก อบต.ตะเคียน   อ.กาบเชิง กล่าวว่า ปัจจุบันปัญหาสภาวะโลกร้อนเป็นปัญหาสำคัญส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของประชาชนทั้งในระดับท้องถิ่น ภูมิภาค และระดับประเทศ   การเพิ่มพื้นที่สีเขียวจึงเป็นหนทางหนึ่งในการแก้ปัญหาภาวะโลกร้อนโดยตรง  สำหรับพื้นที่ปลูกป่าของตำบลตะเคียนในครั้งนี้ ประกอบด้วย  พื้นที่สองข้างทางบ้านสกล หมู่ที่2  บ้านร่มราษฎร หมู่ที่5 บ้านตะเคียน หมู่ที่9  และบริเวณหน้า อบต.ตะเคียน รวมจำนวน 1,247 ต้น  ซึ่งพันธุ์ไม้ที่ปลูกประกอบด้วย ต้นสะเดา ต้นขี้เหล็ก ต้นมะม่วง ต้นชะอม ต้นฝรั่ง ต้นมะละกอ ต้น ราชพฤกษ์  นอกจากนั้นยังได้แจกพันธุ์ผักให้ประชาชนได้นำไปปลูกที่บ้าน อีกด้วย




นิ่มนวล มานาดี อปม.สุรินทร์  /ข่าว
สมทรง  เผือกผล  ส.ปชส.สุรินทร์ / เรียบเรียงข่าว

พุทธศาสนิกชน ตามแนวชายแดนหมุนเวียนถวายอาหารเพลแด่พระภิกษุสงฆ์ในช่วงเข้าพรรษา

ชาวพุทธศาสนิกชน ตามแนวชายแดน ร่วมผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนถวายอาหารเพลแด่พระภิกษุสงฆ์และสามเณรของตำบลด่าน จำนวน 75 รูป ในช่วงเข้าพรรษา เป็นปีที่2 ได้รับความร่วมมือจาก 17 หมู่บ้าน สร้างความรักความสามัคคีในชุมชน ขณะเดียวกันได้ร่วมฉลองตราตั้งเจ้าคณะตำบลด่าน อีกด้วย

 วันที่27 ก.ค. 2556 ที่ผ่านมา ณ.วัดบ้านโพนทอง หมู่ที่6ตำบลด่าน อ.กาบเชิง จ.สุรินทร์ นายกฤษฎา   แก้วสองเมือง นายอำเภอกาบเชิง ร่วมเป็นประธานในพิธีถวายอาหารเพลแด่ สามเณรและภิกษุสงฆ์ จำนวน 75 รูป  โดยมีพุทธศาสนิกชน และผู้สนใจในพุทธศาสนา ทั้งเด็ก เยาวชนและผู้ใหญ่ ทั้ง17 หมู่บ้านของตำบลด่าน เข้าร่วมในพิธีในครั้งนี้จำนวนมาก  ซึ่งในครั้งนี้มีหมู่บ้านโพนทอง หมู่ที่7 รับเป็นเจ้าภาพ จัดเป็นครั้งที่2 ในฤดูกาลเข้าพรรษา ที่ผ่านมา ทั้งนี้เพื่อเป็นการแสดงออกถึงการสร้างความรัก ความสามัคคีในชุมชน พร้อมทั้งสืบสานประเพณีอันดีงามและยึดมั่นในพุทธศาสนาให้ดำรงอยู่สืบไป

นางบุญมาก  วงศ์ศรีแก้ว ผู้ใหญ่บ้านบ้านโพนทอง หมู่ที่6กล่าวว่า หลังจากเมื่อปีที่ผ่านมา ทางนายก อบต.ด่าน ได้มีดำริ ให้แต่ละหมู่บ้านในตำบลด่าน จำนวน 17 หมู่บ้าน ในช่วงเข้าพรรษา ได้ผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกัน เป็นเจ้าภาพในการทำอาหารทั้งคาว หวาน นำมาถวายเพลแด่สามเณรและภิกษุสงฆ์ ทั้งตำบลด่าน ได้กิจนิมนต์พระเณร มาทั้งตำบล จำนวนทั้งสิ้น 75 รูป นับว่าเป็นสิ่งที่ดี หลังจากพระท่านฉันอาหารเพลแล้ว พี่น้องประชาชนทุกหมู่บ้านจะได้ร่วมรับประทานอาหารร่วมกัน ซึ่งจะทำให้พี่น้องประชาชนเกิดความรัก ความสามัคคีกัน กันในชุมชน ด้วย ขณะเดียวกันได้ผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันไปถวายอาหารเพล ณ.วัดหมู่บ้านต่างๆ จะได้เห็นและสภาพแวดล้อมในแต่ละวัดและหมู่บ้านในการเข้าพรรษาในปีนี้ที่ผ่านมา ได้จัดเลี้ยงอาหารเพลแด่ภิกษุสงฆ์ไปแล้วหนึ่งหมู่บ้าน ในส่วนของหมู่บ้านโพนทอง เป็นหมู่บ้านที่สองและเป็นปีที่2 อีกด้วย

นางบุญมาก  วงศ์ศรีแก้ว ผู้ใหญ่บ้านบ้านโพนทอง หมู่ที่6 กล่าวเสริมว่าในวันนี้มีพิเศษมีการฉลองตราตั้งแสดงความความยินดี ที่ท่าน พระอธิการพิเชษฐพิเชษฐโฐรองเจ้าอาวาสวัดบ้านโพนทอง แห่งนี้ท่านได้รับสมนศักดิ์และได้รับพัดยศ ได้เป็นเจ้าคณะตำบลด่านอ.กาบเชิง เมื่อวันที่14 กรกฎาคม2556 ที่วัดประทุมเมฆ ที่ผ่านมา จึงได้ร่วมแสดงความยินดี โดยมีพุทธสาสนิกชนหลายอำเภอได้แห่หลั่งไหลมาที่วัดโพนทองแห่งนี้เป็นจำนวนมาก





นิ่มนวล มานาดี อปม.สุรินทร์  /ข่าว

อ.กาบเชิง จ.สุรินทร์ ปล่อยพันธุ์ปลาฟื้นฟูทรัพยากรประมงและการใช้ประโยชน์สัตว์น้ำเพื่อชุมชน

นายกฤษฎา  แก้วสองเมือง นายอำเภอกาบเชิง จ.สุรินทร์   เปิดเผยว่า อำเภอกาบเชิง ร่วมกับชาวบ้านโพธิ์ทอง กำหนดดำเนินการตามโครงการ “สัปดาห์ฟื้นฟูทรัพยากรประมงและการใช้ประโยชน์สัตว์น้ำเพื่อชุมชน”  โดยได้ปล่อยพันธุ์ปลากว่า 80,000 ตัว  ณ.บริเวณอ่างเก็บน้ำบ้านโพธิ์ทอง ต.ตะเคียน อ.กาบเชิง จ.สุรินทร์ ทั้งนี้เพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์และรณรงค์ให้ประชาชนอนุรักษ์ทรัพยากร สร้างความอุดมสมบูรณ์ให้แหล่งน้ำ ก่อให้เกิดรายได้ให้แก่ชุมชน พร้อมสนับสนุนโครงการอาหารกลางวันแก่นักเรียนอย่างยั่งยืน

นางอัจฉราวดี  บุญรับ ประมงอำเภอกาบเชิง  จ.สุรินทร์  กล่าวว่า ตามที่กรมประมงได้ถ่ายโอนโครงการประมงหมู่บ้าน ประกอบด้วย ทำนบปลา ประมงโรงเรียน และแหล่งน้ำเพิ่มผลผลิตจากเดิม 400 กิโลกรัมต่อไร่ ให้กับ อบต.ทั่วประเทศ ตั้งแต่ปี 2546 ปัจจุบันพบว่าสภาวะแวดล้อมหลายแห่งเสื่อมโทรมลง  ทำให้กรมประมงตระหนักถึงบทบาทหน้าที่ที่ต้องเร่งสร้างอาหารประเภทสัตว์น้ำให้ประชาชนกลับมาดังเดิม จึงได้จัดโครงการดังกล่าวขึ้น โดยได้ร่วมกับ อบต.ตะเคียน และโรงเรียน ตชด. คัดเลือกแหล่งน้ำบ้านโพธิ์ทอง ซึ่งมีพื้นที่ 40 ไร่ มีน้ำตลอดปี  สำหรับพันธุ์ปลาที่นำมาปล่อย ได้แก่ พันธุ์ปลานิล  ปลาตะเคียน  ปลายี่สก ปลานวลจันทร์   โดยได้รับการสนับสนุนพันธุ์ปลาจากสำนักงานประมงจังหวัดสุรินทร์ ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืดสุรินทร์ และสหกรณ์ประมงจังหวัดสุรินทร์ จำนวนกว่า 80,000 ตัว  นอกจากนี้ยังมีการจัดนิทรรศการด้านการประมง   การสาธิตการแปรรูปสัตว์น้ำ เช่น  การทำปลาส้ม การทำปลาร้า เพื่อเป็นการ ถนอมอาหารและการแปรรูปอาหาร  ที่ถูกสุขลักษณะไว้บริโภคในครัวเรือน





นิ่มนวล มานาดี อปม.สุรินทร์  /ข่าว
สมทรง  เผือกผล  ส.ปชส.สุรินทร์ / เรียบเรียงข่าว

จ.สุรินทร์จับกุมคดียาเสพติด 157 ราย ผู้ต้องหา 201 คน ของกลางยาบ้า 8,616 เม็ด

นายยุทธนา วิริยะกิตติ รองผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์ กล่าวว่า รัฐบาลได้กำหนดให้การแก้ไขปัญหายาเสพติดเป็นวาระแห่งชาติ ที่ทุกภาคส่วนในสังคมจะต้องรวมพลังร่วมแรงร่วมใจ เร่งแก้ไขปัญหายาเสพติดอย่างจริงจังต่อเนื่อง   ซึ่งจังหวัดสุรินทร์ได้ติดตามสถานการณ์ปัญหายาเสพติด และผลการดำเนินการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด  พบว่าในเดือนกรกฎาคม 2556 สถานการณ์ยาเสพติดของจังหวัดสุรินทร์ยังคงปรากฏความเคลื่อนไหวด้านการค้าและการแพร่ระบาดของยาเสพติด   ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มนักค้ารายย่อยในพื้นที่ลักลอบนำเข้ายาเสพติดมาจากจังหวัดใกล้เคียงที่ติดแนวชายแดน   นำเข้ามาจำหน่ายให้กับกลุ่มอาชีพรับจ้าง กลุ่มว่างงาน กลุ่มนักเรียน นักศึกษาในพื้นที่

รองผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์  กล่าวอีกว่า ศูนย์อำนวยการพลังแผ่นดินเอาชนะยาเสพติดจังหวัดสุรินทร์   ติดตามเฝ้าระวังพื้นที่แพร่ระบาดยาเสพติด ได้แก่ ที่สาธารณะ สถานบันเทิง โต๊ะสนุกเกอร์ ห้องพัก/ห้องเช่า โรงแรม รีสอร์ท หน้าโรงเรียนในเขตเทศบาล และเขตพื้นที่อำเภอเมืองสุรินทร์  อำเภอปราสาท อำเภอศีขรภูมิ  อำเภอกาบเชิง  อำเภอรัตนบุรี  อำเภอสังขะ  อำเภอชุมพลบุรี อำเภอท่าตูม และอำเภอจอมพระ  โดยตัวยาที่มีแนวโน้มแพร่ระบาดเพิ่มขึ้นและกำลังเข้ามาทดแทนยาบ้า คือ ไอซ์

สำหรับการจับกุมยาเสพติดในพื้นที่จังหวัดสุรินทร์ในเดือนกรกฎาคม 2556 ที่ผ่านมา มีการจับกุมจำนวน 157 ราย ผู้ต้องหาจำนวน 201 คน โดยจับกุมคดีเกี่ยวกับยาบ้ามากที่สุด 184 ราย ผู้ต้องหา 188 คน ของกลาง   8,616 เม็ด จับกุมได้มากที่สุดที่อำเภอเมืองสุรินทร์  อำเภอปราสาท  อำเภอศีขรภูมิ  อำเภอกาบเชิง  และอำเภอรัตนบุรี  จับกุมผู้ต้องหาได้ 80 ราย 38 ราย  14 ราย  13  ราย  และ 8 ราย  ตามลำดับ




สมทรง เผือกผล / ส.ปชส.สุรินทร์ / ข่าว

จ.สุรินทร์จัดทำแผนแม่บทอนุรักษ์และฟื้นฟูลำห้วยเสนง

นายนิรันดร์ สุรัสวดี  ผู้อำนวยการสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดสุรินทร์  เปิดเผยว่า สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดสุรินทร์  ได้จัดทำแผนแม่บทอนุรักษ์และฟื้นฟูลำห้วยเสนง พื้นที่ตำบลเฉนียง  และตำบลนอกเมือง  อำเภอเมืองสุรินทร์  ระยะทางตั้งแต่ท้ายประตูระบายน้ำห้วยเสนง  ตำบลเฉนียง ถึงบริเวณสะพานแยกเรือนจำจังหวัดสุรินทร์  ตำบลนอกเมือง  อำเภอเมืองสุรินทร์  จังหวัดสุรินทร์  ระยะทางประมาณ 13 กิโลเมตร  โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นกรอบในการจัดทำแผนปฏิบัติ โครงการ/กิจกรรม อนุรักษ์  ฟื้นฟู  พัฒนาลำห้วยเสนงให้เกิดความสมดุลของระบบนิเวศ  เกิดประโยชน์แก่ประชาชนอย่างยั่งยืน ต่อไป

โดยสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดสุรินทร์  กำหนดประชุมคณะทำงานเพื่อหารือแนวทางการดำเนินงานในวันที่ 1 สิงหาคม 2556  เวลา 10.00 น. ณ ห้องประชุม สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดสุรินทร์  ตำบลในเมือง  อำเภอเมืองสุรินทร์  จังหวัดสุรินทร์ จึงขอเชิญผู้เกี่ยวข้องร่วมประชุมโดยพร้อมเพรียงกัน




สมทรง เผือกผล / ส.ปชส.สุรินทร์ / ข่าว

การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคสุรินทร์ ร่วมกับสนง.ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย และวิทยาลัยเทคนิคสุรินทร์ ออกหน่วยให้บริการเกี่ยวกับเรื่องไฟฟ้าให้ชุมชนเทศบาลเมืองสุรินทร์ เพื่อความปลอดภัยในช่วงหน้าฝน จำนวน 3 วัน

วันที่ 24 กรกฎาคม 2556 ที่บริเวณหน้าสำนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคสุรินทร์( PEA) นายธนัญชัย  ภักดีรัตน์  ผู้จัดการการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจังหวัดสุรินทร์ เป็นประธานเปิดโครงการ.ชุมชนปลอดภัยใช้ไฟ PEA ประจำปี 2556   เพื่อความปลอดภัยในด้านการใช้พลังงานไฟฟ้าอย่างถูกวิธี และเป็นการป้องกันทรัพย์สินของประชาชน อันเนื่องมาจากปัญหาการใช้ไฟฟ้าโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์  หรือขาดการตรวจสอบดูแลระบบไฟฟ้า และอุปกรณ์ไฟฟ้าในบ้านเรือนรวมถึงชุมชน ที่อาจสร้างความเสียหายทั้งส่วนบุคคลในวงจำกัดและที่สาธารณะในวงกว้าง อีกด้วย     การจัดออกหน่วยในครั้งนี้ ได้ร่วมมือกับสำนักงานบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดสุรินทร์ และวิทยาลัยจังหวัดสุรินทร์ จำนวน 100 คน

นายธนัญชัย  ภักดีรัตน์  ผู้จัดการการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจังหวัดสุรินทร์  กล่าวว่า การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจังหวัดสุรินทร์ ได้รับความร่วมมือจากหลายภาคส่วน  ที่เห็นความสำคัญในการใช้ไฟฟ้า ยิ่งในช่วงหน้าฝนนั้น  เราจึงได้จักโครงการดังกล่าว โดยมีเจ้าหน้าที่การไฟฟ้า ร่วมกับนักศึกษาออกให้บริการผู้ใช้ไฟฟ้าในแต่ชุมชน ซึ่งหากได้ช่วยการปฎิบัติและดูแล ตามเจ้าที่ออกให้บริการ เชื่อได้เลยว่า ทรัพย์สินและตัวเราเองปลอดภัยจาการเกิดอุบัติเหตุจาการใช้ไฟฟ้า     ซึ่งในครั้งงนี้ ได้แบ่งเจ้าหน้าที่การไฟฟ้าและนักศึก  ออกเป็นหน่วยๆละ 30 คน ออกให้บริการทุกชุมชนในเขตเทศบาลเมืองสุรินทร์    ถือเป็นจุดเริ่มต้น หากทุกภาคส่วนไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบโดยตรง หรือแม้แต่ผู้ใช้ไฟฟ้าเอง ควรมีจิตสำนึกร่วมกันในการสร้างกรอบระเบียบ วิธีปฎิบัติอย่างถูกต้อง ให้แก่ตนเองและครอบครัวและชุมชน จะปลอดภัย

สำหรับการออกหน่วยในครั้งนี้  ออกปฎิบัติงานในเขตเทศบาลเมืองสุรินทร์  ในครั้งนี้มีเจ้าหน้าที่การไฟฟ้าสุรินทร์ PEA ร่วมกับนักศึกษาแผนกช่างไฟฟ้า วิทยาลัยเทคนิคสุรินทร์ จำนวน 100 คน  ในระหว่าง วันที่ 24-26 กรกฎาคม 2556 นี้




นิ่มนวล  มานาดี / อปม.สุรินทร์ /โทร.088-7118549

รองผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์ ขึ้นเครื่องตรวจสภาพภัยแล้ง

รองผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์  ขึ้นเครื่องเฮริคอปเตอร์ของหน่วยปฎิบัติการฝนหลวง  ตรวจดูสภาพอากาศ หลังพบว่าพื้นที่หลายแห่งยังขาดน้ำ  แต่พบว่าช่วงนี้ยังมีพายุเข้ามาทำให้ข้าวในนาชุ่มชื่นขึ้นมา ขณะที่หน่วยปฎิบัติการฝนหลวงยังดำเนินการ ต่อไป

วันที่29 ก.ค.2556 ที่โรงเรียนบ้านยางกระจับ  ตำบลพรมเทพ อำเภอท่าตูม  จังหวัดสุรินทร์ นายุทธนา  วิริยะกิตติ รองผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์  ได้เป็นประธานเปิดการเสวนาขับเคลื่อนแผนยุทธศาสตร์สภาเกษตรกรจังหวัดสุรินทร์สู่การปฎิบัติ และปฏิบัติการฝนหลวงแก้วิกฤตภัยแล้งในพื้นที่จังหวัดสุรินทร์ และบรรยายพิเศษแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านเกษตรกรรม  ทั้งนี้เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนการเรียนรู้ ในภารกิจ อำนาจหน้าที่ นโยบายและผลการดำเนินงาน พร้อมทั้งแนวทางการพัฒนาเกษตรกรขององค์กรเกษตรกรภาคีเครือข่าย  พร้อมกันนี้คณะรองผู้ว่าราชการและคณะได้มอบกล้าพันธุ์ไม้ พันธุ์พืช มอบให้กับผู้นำชุมชน ผู้ใหญ่บ้าน กำนัน ได้นำไปปลูกในช่วงหน้าฝนนี้ อีกด้วย

หลังจากนั้นคณะนายยุทธนา   วิริยะกิติ รองผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์ พร้อมด้วย นายดำรงชัย เนรมิต-ตก-กะพงศ์ นายอำเภอท่าตูม นายปนิธิ  เสมอวงษ์ ผอ.ศูนย์ปฎิบัติการฝนหลวงภาคตะวันออกเฉียงเหนือ นายคุณากร  ปรีชาชนะภัย สส.พรรคเพื่อไทย ได้ขึ้นเฮริคอปเตอร์ ของศูนย์ปฎิบัติการฝนหลวง เพื่อตรวจสภาพวิกฤตภัยแล้งของจังหวัดสุรินทร์ เพื่อจะได้เห็นสภาพและจะได้หาทางช่วยเหลือพี่น้องเกษตรกร   โดยได้ดูเริ่มจากอำเภอท่าตูม แล้วไปยังบินดูพื้นที่อำเภอชุมพลบุรี ปรากฏว่า ขณะนี้มีพื้นที่หลายแห่งยังแห่งยังขาดแคลนน้ำ ในส่วนแม่น้ำมูล ซึ่งเปรียบเสมือนเป็นเส้นเลือดใหญ่นั้น พบว่าเริ่มจะมีน้ำไหลเข้าหากันได้ หลังจากที่พบเห็นสันทรายตลอดหน้าแล้งที่ผ่านมา แต่พื้นนายังมีสภาพความชุ่มชื่น ต้นข้าวเขียวขจี เป็นเพราะว่าในขณะนี้ได้มีพายุพัดผ่านเข้ามา  ทำให้เห็นสภาพความชุ่มชื่นดังกล่าว   ในภาพรวมแล้วน้ำยังไม่เพียงพอ หากพายุยังไม่สลายตัว คาดว่าจะมีน้ำเลี้ยงข้าวกล้าได้อีกระยะหนึ่งเท่านั้น   ในส่วนการทำนานั้น เกษตรกรได้ทำนาเกือบเต็มพื้นที่ทั้งสองอำเภอ

อย่างไรก็ตามหน่วยงานฝนหลวงได้ตั้งศูนย์ปฎิบัติการที่จังหวัดขอนแก่น  ซึ่งควบคุมในเขตจังหวัดสุรินทร์  ได้ขึ้นบินปฎิบัติหน้าที่ทุกวัน  แต่เป็นเพราะที่ผ่านมา  เมฆหมอกมีไม่มากขาดความชุ่มชื่นไม่พอทำให้ไม่เกิดผลเท่าที่ควร แต่โชคดีในช่วงนี้พายุเข้ามาอากาศเป็นใจแล้ว คาดว่าเร็วๆนี้ ฝนคงจะตก เต็มที่                              



นิ่มนวล  มานาดี / อปม.สุรินทร์  / โทร.088-7118549

เกษตรสุรินทร์ ติวเข้ม ศูนย์ข้าวชุมชน เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มและเตรียมตัวสู่อาเซียน

สำนักงานเกษตรจังหวัดสุรินทร์ ติวเข้ม ประธานและเจ้าหน้าที่ศูนย์ส่งเสริมและผลิตพันธุ์ข้าวชุมชน ระดับอำเภอ ระดับจังหวัดกว่า 200 คน  เพื่อลดต้นทุนในการผลิต ถ่ายทอดความรู้ ด้านนวัตกรรมและเทคนิคใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิ์ภาพ

วันที่ 29 ก.ค. 56 ที่โรงแรมเพชรเกษม  อ.เมือง จ. สุรินทร์ นายวันชัย   ทิพย์อักษร เกษตรจังหวัดสุรินทร์  เป็นประธานสัมมนาเชิงปฎิบัติการ เรื่องการพัฒนาคุณภาพข้าวหอมมะลิเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มในการผลิตและแปรรูประดับชุมชนจังหวัดสุรินทร์ โดยได้ร่วมกับสถาบันอาหาร กระทรวงอุตสาหกรรม ทั้งนี้เพื่อช่วยให้บุคลากรมีความรู้ ความสามารถและเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาภาคอุตสาหกรรมอาหารของประเทศ และเป็นการสร้างมูลค่าในการผลิตและแปรรูประดับชุมชน โดยมีประธานชุมชนศูนย์ส่งเสริมและผลิตพันธุ์ข้าวชุมชนเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบงานศูนย์ข้าวระดับอำเภออำเภอ และเจ้าหน้าที่ระดับจังหวัด เข้าร่วมงานกว่า 200 คน

นายวันชัย ทิพย์อักษร  เกษตรจังหวัดสุรินทร์ กล่าวว่า  ข้าวถือเป็นสินค้าที่มีความมั่นคงของประเทศทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคมและการเมือง  ยิ่งเป็นข้าวหอมมะลิด้วยแล้ว แต่อย่างไรก็ตามชาวนาส่วนใหญ่มีฐานะยากจน เนื่องจากผลผลิตต่ำ จากการขาดแคลนเมล็ดพันธุ์ข้าวคุณภาพที่ดี ซึ่งภาครัฐได้ได้แก้ไขปัญหานี้โดยการส่งเสริมให้ชาวนาจัดตั้งศูนย์ข้าวเพื่อผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวและถ่ายทอดเทคโนโลยี่ ซึ่งเมล็ดพันธุ์เป็นปัจจัยพื้นฐานที่สำคัญของการผลิตข้าว การเลือกใช้พันธืที่ดีเป็นวิธีที่จะช่วยเพิ่มผลผลิตของเกษตรกร โดยที่เสียค่าใช้จ่ายน้อยที่สุดและเหมาะสมกับสภาพชาวนาไทย ซึ่งส่วนใหญ่ยังมีข้อจำกัดในการลงทุน นอกจากนี้พันธุ์ข้าวที่ดียังส่งผลถึงคุณภาพของผลผลิตที่ดีขึ้นทำให้ชาวนาจำหน่ายได้ราคาสูงขึ้นด้วย

นายวันชัย   เกษตรจังหวัดสุรินทร์  กล่าวอีกว่า  ขณะปริมาณการผลิตเมล็ดพันธุ์ดีของกรมการข้าว  มีกำลังผลิตประมาณ 100,000 ตัน ยังไม่เพียงพอต่อความต้องการใช้เมล็ดพันธุ์ข้าวคุณภาพดีของชาวนา รัฐบาลจึงให้ความสำคัญของการส่งเสริมการผลิตและกระจายพันธุ์ข้าวในชุมชน การใช้เทคโนโลยี่ที่ถูกต้อง การบริหารจัดการร่วมกันของชาวนา เพื่อให้ชาวนามีรายได้เพิ่มขึ้น สร้างความเข้มแข็งของชุมชน และเป็นศูนย์กลางในการพัฒนาอาชีพและคุณภาพของชาวนาในอนาคต  ที่สำคัญถือเป็นการเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียนในการพัฒนาข้าวทั้งระบบของชุมชนและประเทศ

สำหรับหัวข้อการสัมมนา  อาทิ การพัฒนาระบบเขตกรรมข้าว   แนวทางการผลิตเมล็ดข้าวคุณภาพดี  การตลาดเมล็ดพันธุ์ข้าว  พระราชบัญญัติพันธุ์พืช  การแปรรูปข้าวหอมมะลิ และการสร้างความเข้มแข็งให้กับข้าวชุมชน  โดยมีวิทยากรจากกองส่งเสริมวิศวกรรมการเกษตร กรมส่งเสริมการเกษตร




นิ่มนวล  มานาดี / อปม.สุรินทร์  โทร.088-7118549

ปีนี้ เกษตรกรชาวไร่อ้อย แห่ขึ้นทะเบียน กว่าพันราย ปริมาณอ้อย นับ แสนตัน

สมาคมชาวไร่อ้อยสุรินทร์ เขต24 จังหวัดสุรินทร์ รับรองการจดทะเบียนชาวไร่อ้อยปีฤดูการผลิตปี 2555/2556 มีชาวไร่อ้อย แห่มาจดเพิ่มขึ้นกว่าพัน ปริมาณอ้อยนับแสนตัน  พร้อมกันนี้ได้ตั้งเป้าผลิตและขยายแมลงศัตรูธรรมชาติ (แตนเบียนไขไตรโครแกรมม่า) ให้ได้ 148 ล้านตัว

วันที่29 ก.ค.56 ที่ห้องประชุมสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดสุรินทร์ อ.เมือง จ.สุรินทร์ นายวันชัย  ทิพย์อักษร เกษตรจังหวัดสุรินทร์ นายบรรจง  สุกรีฑา อุตสาหกรรมจังหวัดสุรินทร์  นายสิทธิพร  บางแก้ว พาณิชย์จังหวัดสุรินทร์ พร้อมนายวิจิตร  การนา นายกสมาคมชาวไร่อ้อย คณะกรรมการชาวไร่อ้อยและโรงงานน้ำตาลสุรินทร์ ได้ประชุมร่วมเพื่อรับรองผลการจดทะเบียนเป็นชาวไร่อ้อยและหัวหน้ากลุ่มชาวไร่อ้อย ฤดูการผลิตปี 2555/2556 ครั้งที่1 ณ.โรงงานน้ำตาลสุรินทร์ ในระหว่างวันที่ 1-31 พฤษภาคม 2556 ที่ผ่านมา ปรากฏว่ามีจำนวน  1,438 ราย มีพื้นที่ปลูกอ้อย 9,091 ไร่ ผลผลิต 99,938.890 กิโลกรัม

สำหรับ โรงงานน้ำตาลจังหวัดสุรินทร์ได้ทำการเปิดหีบอ้อยถึงปิดหีบและผลิตน้ำตาลทราย  ฤดูการผลิตปี 2555/2556 ตั้งแต่วันที่  12 ธันวาคม 2555- 2 พฤษภาคม 2556 จำนวน 142 วัน ซึ่งมีปริมาณน้ำตาล  รวมจำนวน 292,0379.80 กก.

นายวิจิตร กานนา นายกสมาคมชาวไร่อ้อยจังหวัดสุรินทร์ กล่าวถึง การตั้งเป้าผลิตและขยายแมลงศัตรูธรรมชาติ (แตนเบียนไขไตรโครแกรมม่า) ให้ได้ 148 ล้านตัว หลังจากได้เปิดอาคารเพาะ ไปแล้ว ว่า สมาคมร่วมกับโรงงานน้ำตาลสุรินทร์ ได้ผลิตและขยายศัตรูธรรมชาติเพื่อควบคุมการระบาดของแมลงศัตรูอ้อย โดยมีเป้าหมาย อยู่ที่184ล้านตัว ในเวลา 9 เดือน ถึงแม้นช่วงนี้จะทำไม่ถึงเป้า แต่คาดว่าจะมีปัญหา เพื่อจะได้แจกจ่ายให้เกษตรกร ต่อไป




นิ่มนวล  มานาดี / อปม.สุรินทร์
โทร.088-7118549

ปี 2556 อําเภอบัวเชดมีรายได้เฉลี่ยสูงสุดของจังหวัดสุรินทร์ 62,959 บาท ต่อคนต่อปี ส่วนอําเภอศรีณรงค์รายได้เฉลี่ยต่ำสุด 48,827 บาทต่อคนต่อปี

นายกสิณ นวลโคกสูง พัฒนาการจังหวัดสุรินทร์  เปิดเผยว่า ข้อมูลความจําเป็นพื้นฐาน ( จปฐ.) เป็นข้อมูลที่แสดงถึงลักษณะของสังคมไทยที่พึงประสงค์ตามเกณฑ์มาตรฐานขั้นต่ำของเครื่องชี้วัดว่าอย่างน้อยคนไทยควรจะมีระดับความเป็นอยู่ไม่ต่ำกว่าระดับไหนในช่วงระยะเวลาหนึ่ง ๆ  และทำให้ประชาชนสามารถทราบได้ด้วยตนเองว่า ในขณะนี้คุณภาพชีวิตของตนเอง ครอบครัว รวมไปถึงหมู่บ้านอยู่ในระดับใด มีปัญหาที่จะต้องแก้ไขในเรื่องใดบ้าง   เป็นการส่งเสริมให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาตนเอง  ครอบครัว และสังคม อันเป็นนโยบายสำคัญในการพัฒนาชนบทของประเทศ

สำหรับจังหวัดสุรินทร์ได้จัดเก็บข้อมูลความจําเป็นพื้นฐานจากทุกครัวเรือนที่อยู่จริง จํานวน  227,825  ครัวเรือน ประชากร  867,901 คน จากพื้นที่ 2,096 หมู่บ้าน 158  ตําบล 17 อําเภอ ซึ่งจากการวิเคราะห์ข้อมูล สรุปคุณภาพชีวิตของคนสุรินทร์ในเขตชนบทจากข้อมูลความจําเป็นพื้นฐาน ปี 2556 จํานวน  5 หมวด 30  ตัวชี้วัด มีประเด็นสำคัญ ดังนี้

ปัญหาที่ควรได้รับการแก้ไข 5 ลำดับแรกของจำนวนข้อที่ตกเกณฑ์ มากที่สุด  5 ลำดับแรกได้แก่

ปัญหาเด็กจบการศึกษาภาคบังคับ  9 ปี ที่ไม่ได้เรียนต่อและยังไม่มีงานทำสำรวจ  274  คน  ตกเกณฑ์ 46  คน  คิดเป็นร้อยละ 16.75

คนในครัวเรือนไม่สูบบุหรี่ สำรวจ  867,901 คน  ตกเกณฑ์ 62,048 คน  คิดเป็นร้อยละ 7.15

คนในครัวเรือนไม่ดื่มสุรา สำรวจ 867,901 คน ตกเกณฑ์ 51,852  คน  คิดเป็นร้อยละ 5.97

เด็กแรกเกิดได้กินนมอย่างเดียว  อย่างน้อย 6  เดือนแรกติดต่อกันสำรวจจำนวน 7,021

คน  ตกเกณฑ์  คิดเป็นร้อยละ 3.20  

คนอายุมากกว่า 60  ปี เต็มขึ้นไปมีอาชีพและมีรายได้ สำรวจ  120,776 คน  ตกเกณฑ์ 2,878  คน  คิดเป็นร้อยละ  2.38

จากการสำรวจจ้อมูล จปฐ  ปี 2556 พบว่า  จ.สุรินทร์มีรายได้เฉลี่ย /คน /ปี 55,906 บาท   โดยอําเภอที่มีรายได้เฉลี่ยต่อคนต่อปีสูงสุด  3  ลำดับแรก ได้แก่ อำเภอบัวเชด 62,959 บาท อําเภอเมืองสุรินทร์ 61,070 บาท และ อำเภอรัตนบุรี 59,293 บาท

ส่วนอำเภอที่มีรายได้เฉลี่ย /คน /ปี ต่ำสุด  3  ลำดับ ได้แก่  อําเภอศรีณรงค์ 48,827  บาท อําเภอสนม 50,640 บาท และอำเภอปราสาท 51,563  บาท

สนใจสืบค้นรายละเอียดได้ทาง ทางเว็บไซด์ สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดสุรินทร์  www3.cdd.go.th/surin




สมทรง เผือกผล / ส.ปชส.สุรินทร์ / ข่าว

จ.สุรินทร์ มอบเกียรติบัตรและประกาศเกียรติคุณยกย่องอำเภอที่มีผลการปฏิบัติงาน ผลอัตราการเสียชีวิตของประชาชนเป็นศูนย์ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ ปี 2556

นายนิรันดร์  บุญสิงห์  หัวหน้าสำนักงานป้องกันและและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดสุรินทร์  แจ้งว่า   ด้วยนายจารุพงศ์   เรืองสุวรรณ  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย  ในฐานะประธานกรรมการและผู้อํานวยการศูนย์อํานวยความปลอดภัยทางถนนได้ลงนามในเกียรติบัตรยกย่องชมเชยอำเภอที่มีผลการปฏิบัติงานผลอัตราการเสียชีวิตของประชาชนเป็นศูนย์ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ปี 2556  ซึ่งผลการดำเนินงานที่ผ่านมามีจังหวัดที่ไม่มีผู้เสียชีวิตในช่วงเทศกาลสงกรานต์ ปี 2556 จํานวน 5 จังหวัด ได้แก่  จังหวัดชัยภูมิ จังหวัดตราด จังหวัดปัตตานี  จังหวัดภูเก็ต และจังหวัดระนอง และมีอําเภอที่ไม่มีผู้เสียชีวิต จำนวน 673 อําเภอ

สำหรับจังหวัดสุรินทร์มีอําเภอที่ไม่มีผู้เสียชีวิตในช่วงเทศกาลสงกรานต์  ปี 2556 จํานวน  13 อําเภอ  ได้แก่ อําเภอศีขรภูมิ อําเภอสนม อําเภอรัตนบุรี อําเภอกาบเชิง อําเภอจอมพระ อําเภอท่าตูม  อําเภอชุมพลบุรี อําเภอเมืองสุรินทร์ อําเภอลำดวน อําเภอบัวเชด  อําเภอสำโรงทาบ อําเภอศรีณรงค ์ และอําเภอเขวาสินรินทร์ สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจ ังหวัดสุรินทร์ จึงได้ทำการมอบเกียรติบัตรยกย่องชมเชยอำเภอที่มีผลการปฏิบัติงานผลอัตราการเสียชีวิตของประชาชนเป็นศูนย์ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ปี 2556  เพื่อเป็นการยกย่องและเชิดชูเกียรติแก่อําเภอที่ไม่มีผู้เสียชีวิตในช่วงเทศกาลสงกรานต์ ปี 2556  โดยมีนายนิรันดร์  กัลยาณมิตร ผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์เป็นประธานในการมอบ ในวันประชุมหัวหน้าส่วนราชการจังหวัดสุรินทร์  ประจำเดือนกรกฎาคม 2556 ณ โรงแรมทองธารินทร์  จังหวัดสุรินทร์



สมทรง เผือกผล / ส.ปชส.สุรินทร์ / ข่าว

จ.สุรินทร์มอบประกาศเกียรติคุณโครงการเชิดชูเกียรติผู้นำเครือข่ายพัฒนาชุมชนดีเด่น ประจำปี 2556

นายนิรันดร์  กัลยาณมิตร  ผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์ เปิดเผยว่า จังหวัดสุรินทร์ได้จัดโครงการเชิดชูเกียรติผู้นำเครือข่ายพัฒนาชุมชนดีเด่น ประจำปี 2556  เพื่อยกย่องเชิดชูเกียรติผู้นำชุมชนที่มีผลงานและกิจกรรมพัฒนาชุมชนดีเด่นระดับจังหวัด ให้เป็นที่ประจักษ์แก่สาธารณชน และเป็นการเทิดทูนและปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์  ซึ่งกิจกรรมชนะเลิศระดับจังหวัดจะได้เข้ารับโล่รางวัลพระราชทานสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี  และโล่รางวัลสิงห์ทอง จำนวน 4  ประเภท  ดังนี้

1) หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง  “อยู่เย็นเป็นสุข ดีเด่นระดับจังหวัด  รังโล่รางวัลพระราชทานสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา  สยามบรมราชกุมารี

2 ) ผู้นำอาสาพัฒนาชุชนดีเด่น  ชายและหญิงระดับจังหวัด  รับโล่รางวัลสิงห์ทอง

3 ) กลุ่มองค์กรแกนหลักสำคัญในการพัฒนาหมู่บ้านดีเด่นระดับจังหวัด  รับโล่รางวัลสิงห์ทอง

4 ) ศูนย์ประสานงานองค์การชุมชนระดับตำบล ดีเด่น  ระดับจังหวัด  รับโล่รางวัลสิงห์ทอง


โดยที่จังหวัดสุรินทร์ได้จัดให้มีการมอบประกาศเกียรติคุณในระดับจังหวัดด้วย  ซึ่งผลการคัดสรรของคณะกรรมการคัดสรรกิจกรรมดีเด่น ระดับจังหวัด ประจำปี 2556 เป็นดังนี้

หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง  “อยู่เย็นเป็นสุข ดีเด่นระดับจังหวัด

ชนะเลิศ  บ้านบะ  หมู่ที่ 1  ตำบลบะ  อำเภอท่าตูม

รองชนะเลิศอันดับ 1  บ้านตระแบก  หมู่ที่ 6  ตําบลโชกเหนือ  อําเภอลำดวน

รองชนะเลิศอันดับ 2  บ้านเกาะ  หมู่ที่ 3 ตําบลแจนแวน  อําเภอศรีณรงค ์

 ประเภทผู้นำอาสาพัฒนาชุมชน ดีเด่น ชายและหญิง  ระดับจังหวัด ได้แก่

ผู้นำอาสาพัฒนาชุมชน ชาย

ชนะเลิศ  นายสมหมาย สุขสำโรง  ผู้นำอาสาพัฒนาชุมชนตําบลบะ  อําเภอท่าตูม

รองชนะเลิศอันดับ 1 นายอดุลย์ โพธิ์งาม ผู้นำอาสาพัฒนาชุมชนตําบลโชกเหนือ  อำเภอลำดวน

รองชนะเลิศอันดับ 2 นายสมยศ  ดวงพร  ผู้นำอาสาพัฒนาชุมชนตําบลแจนแวน  อำเภอศรีณรงค์

ผู้นำอาสาพัฒนาชุมชน หญิง

ชนะเลิศ  นางลําไย ชาญศรี  ผู้นำอาสาพัฒนาชุมชน ตําบลบะ อําเภอท่าตูม

รองชนะเลิศอันดับ  1 นางจันทราภา ใกล้สุข  ผู้นำอาสาพัฒนาชุมชน ตําบลโชกเหนือ  อำเภอลำดวน

รองชนะเลิศอันดับ 2 นางประกาศิต  เดือนขาว ผู้นำอาสาพัฒนาชุมชนตําบลแจนแวน อำเภอศรีณรงค์

ประเภทกลุ่ม/องค์การชุมชนแกนหลักสำคัญในการพัฒนาหมู่บ้าน  ดีเด่นระดับจังหวัด ได้แก่

ชนะเลิศ  กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตบ้านบะ หมู่ที่ 1 ตำบลบะ อำเภอท่าตูม

รองชนะเลิศอันดับ 1 กองทุนหมู่บ้านบ้านเกาะ หมู่ที่ 3 ตําบลแจนแวน อำเภอศรีณรงค์

รองชนะเลิศอันดับ 2 กลุ่มแปรรูปไก่อินทรีย์  หมู่ที่ 6  ตําบลโชกเหนือ อำเภอลำดวน

ประเภทศูนย์ประสานงานองค์การชุมชนระดับตำบล  ดีเด่น ระดับจังหวัด ได้แก่

ชนะเลิศ ศูนย์ประสานงานองค์การชุมชนตำบลโชกเหนือ  อําเภอลำดวน

รองชนะเลิศอันดับ 1 ศูนย์ประสานงานองค์การชุมชนตําบลบะ   อําเภอท่าตูม

รองชนะเลิศอันดับ 2 ศูนย์ประสานงานองค์การชุมชน ตําบลแจนแวน อำเภอศรีณรงค์




สมทรง  เผือกผล  ส.ปชส.สุรินทร์ / ข่าว