วันจันทร์ที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2556

ศูนย์วิจัยพืชสวนศรีสะเกษ เร่งส่งเสริมให้ความรู้ด้านการย้อมผ้าจากเปลือกไม้มะดันป่า แก่กลุ่มเกษตรกรทอผ้า ย้อมผ้า ในพื้นที่อำเภอศรีสุวรรณ

จังหวัดศรีสะเกษ โดยศูนย์วิจัยพืชสวนศรีสะเกษ จัดการอบรมสาธิตและถ่ายทอดเทคโนโลยีการย้อมสีจากเปลือกไม้มะดันป่า ทีเป็นเศษเหลือใช้จากการเหลาไม้ไปใช้งาน เพิ่มมูลค่าในกับผลิตภัณฑ์ของชุมชจ แก่เกษตรกรผู้มีอาชีพทอผ้า และย้อมผ้าในพื้นที่อำเภอโพธิ์ศรีสุวรรณ ตามโครงการ "อนุรักษ์และใช้ประโยชน์เชื้อพันธุกรรมไม้ผล 4 สกุล”

วันนี้ (2 กันยายน 56) ณ โรงเรียนบ้านอีเซ (คุรุราษฎรวิทยา) ตำบลอีเซ อำเภอโพธิ์ศรีสุวรรณ จังหวัดศรีสะเกษ นายสนิท ขาวสะอาด รองผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ เป็นประธานเปิดการอบรมสาธิตและถ่ายทอดเทคโนโลยีย้อมสีจากเปลือกไม้มะดันป่า โดยมีนายประสิทธิ์ ชัยวัฒน์ นักจัดการทั่วไปชำนาญการ รักษาราชการแทนผู้อำนวยการศูนย์วิจัยพืชสวนศรีสะเกษ พร้อมด้วยหัวหน้าส่วนราชการ และเกษตรกรผู้เข้ารับการอบรม ให้การต้อนรับ โดยศูนย์วิจัยพืชสวนศรีสะเกษ ได้จัดการอบรมสาธิตและถ่ายทอดเทคโนโลยีการย้อมสีจากเปลือกไม้มะดันป่า แก่เกษตรกรผู้ทอผ้า และย้อมผ้าในพื้นที่อำเภอโพธิ์ศรีสุวรรณ ตามโครงการ "อนุรักษ์และใช้ประโยชน์เชื้อพันธุกรรม ไม้ผล 4 สกุล” ซึ่งประกอบด้วย สกุลมะม่วง มังคุด เงาะ และส้ม เป็นความร่วมมือทางวิชาการระหว่างประเทศ วิจัย เกี่ยวกับการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์เชื้อพันธุกรรมไม้ผลอย่างยั่งยืน เพื่อความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ความมั่นคงทางอาหาร และรักษาสภาพความสมดุลของระบบนิเวศน์ เป็นระยะเวลา 5 ปี ตั้งแต่ปี พ.ศ.2553-2557 โดยการสนับสนุนจาก สหประชาชาติว่าด้วยสิ่งแวดล้อม กองทุนสิ่งแวดล้อมโลก และกรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ซึ่ง ประเทศไทยมีกรมวิชาการเกษตรเป็นหน่วยงานหลักในการดำเนินงานร่วมกับอีก 3 ประเทศ ได้แก่ อินเดีย อินโดนีเซีย และมาเลเชีย โดยมีสถาบันวิจัยทรัพยากรพันธุกรรมพืชนานาชาติเป็นผู้ประสานงานโครงการระดับภูมิภาค และโครงการฯนี้ ทีเป้าหมายเพื่อปรับปรุงและพัฒนาคุณภาพชีวิต ความมั่นคงทางอาหารของกลุ่มเป้าหมาย ด้วยการอนุรักษ์ และใช้ประโยชน์จากแหล่งเชื้อพันธุกรรมไม้ผลเมืองร้อน ทั้งนี้ เพื่อพัฒนาวิธีการอนุรักษ์เชื้อพันธุกรรมไม้ผล และการ ใช้ประโยชน์ความหลากหลายเชื้อพันธุกรรมไม้ผลในการเพิ่มรายได้แก่ชุมชน ท้องถิ่น ส่งเสริมรักษาสภาพสิ่งแวดล้อม ความสมดุลของระบบนิเวศน์ เพิ่มสมรรถนะและพัฒนาบุคลากรของชุมชน กลุ่มเกษตรกร กลุ่มผู้ใช้ประโยชน์ และ หน่วยงานที่อย่างยั่งยืนด้วยหลักการปฏิบัติที่ดี และเมื่อปี พ.ศ.2553 คณะกรรมการระดับภูมิภาค ได้มาสำรวจพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และได้คัดเลือกการใช้ประโยชน์จาพืชสกุลมังคุด จากการนำไม้มะดันไปเพิ่มมูลค่าเป็นผลิตภัณฑ์ "ไก่ย่างไม้มะดัน” ของชุมชนห้วยทับทัน อำเภอห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ ซึ่งเป็น1 ใน 5 โครงการฯ จำนวน 7 ชุมชน มีเกษตรกรในโครงการ จำนวน 75 ราย และพื้นที่ชุมชนอีเซ อำเภอโพธิ์ศรีสุวรรณ มีพื้นที่ดำเนินงานของ โครงการของโครงการ จำนวน 3 ชุมชน มีเกษตรกรในโครงการ 22 ราย รวมทั้งสิ้น 97 ราย โดยศูนย์วิจัยพืชสวนศรีสะเกษเป็นผู้ดำเนินงานและประสานงานในพื้นที่ สำหรับการจัดกิจกรรมในครั้งนี้ มีเกษตรกรที่มีอาชีพทอผ้า ย้อมผ้า และมีความสนใจต้องการทรางเทคโนโลยีและแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ระหว่างกลุ่มทอผ้าด้วยกันเอง ในพื้นที่อำเภอโพธิ์ศรีสุวรร์ จำนวน 100 คน เข้ารับการอบรม โดยมีนักวิชาการจาก ศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ จังหวัดศรีสะเกษ เป็นผู้ให้ความรู้ด้านการย้อมสีจากเปลือกไม้มะดันป่า ที่เป็นเศษเหลือจากการเหลามาใช้งานจำนวนมากในแต่ละวัน เพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์ของชุมชน และพัฒนาให้เป็นผลิตภัณฑ์ที่เป็นเอกลักษณ์ของชุมชนต่อไป ส่วนไม้มะดันป่า เป็นพืชอยู่ในวงศ์เดียวกันกับมังคุด เป็นไม้ยืนตน อายุยืนหรือไม้พุ่มชนาดกลาง มักพบ เจริญเติบโตอยู่บริเวณที่มีน้ำท่วมถึง กิ่งแขนงแตกออกจากลำต้นได้ง่าย เป็นลำยาวขนาดสม่ำเสมอทั้งท่อน มีสีน้ำตาลดำ ทุกส่วนของต้นมียางสีเหลือ ใช้ประโยชน์ โดยลำต้น นำมาทำไม้หนีบไก่ย่าง เผาถ่าน ทำฟืน ใบอ่อนใช้เป็นผักเพื่อเป็นเครื่องประกอบหาร และสามารถนำมารับประทานได้สดๆ มีรสเปรี้ยว ผลนิยมรับประทานสดๆ โดยจิ้มเกลือหรือกะปิ หรือน้ำปาหวาน ฯลฯ ชาวศรีสะเกษนิยมนำส่วนต่างๆของมะดันมาทำอาหารหลายอย่าง เช่น ผลใช้ตำน้ำพริก ต้ม ดอง ใบใช้แกง และไม้นำมาหนีบไก่เพื่อย่าง เพราะลำไม้มีขนาดพอเหมาะ และเมื่อย่างไก่แล้วไม้ไม่ไหม้ อีกทั้งยังมีสีเหลืองสวยงาม รสเปรี้ยว การขยายพันธ์ โดยเมล็ด การใช้ราก การชำกิ่ง และการตอน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น