วันเสาร์ที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2556

ผวจ.มหาสารคามนำพุทธศาสนิกชนร่วมปฏิบัติธรรมในช่วงเทศกาลเข้าพรรษาเพื่อประกอบกิจกรรมทางพระพุทธศาสนาในวันพระและส่งเสริมกิจกรรมทางพระพุทธศาสนาให้กับวัดในจังหวัดมหาสารคาม

นายนพวัชร สิงห์ศักดา ผู้ว่าราชการจังหวัดนำหัวหน้าส่วนราชการ ข้าราชการและพุทธศาสนิกชนเข้าร่วมกิจกรรมข้าราชการเข้าวัดปฏิบัติธรรมในเทศกาลเข้าพรรษา ที่วัดกลางโกสุม อำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม โดยร่วมปฏิบัติธรรมและฟังพระธรรมเทศนาจากพระอาจารย์

โครงการรณรงค์ข้าราชการเข้าวัดปฏิบัติธรรมในเทศกาลเข้าพรรษา ปี ๒๕๕๖ จัดขึ้นเพื่อเพื่อรณรงค์และเปิดโอกาสให้ส่วนราชการต่างๆ มีโอกาสเข้าวัดเพื่อประกอบกิจกรรมทางพระพุทธศาสนาและส่งเสริมกิจกรรมทางพระพุทธศาสนาให้กับวัดในจังหวัดมหาสารคามโดยเวียนไปตามวัดต่างๆในจังหวัดมหาสารคามตลอดฤดูกาลเข้าพรรษาโดยกิจกรรมดังกล่าวมีพุทธศาสนิกชนให้ความสนใจเข้าร่วมกิจกรรมเป็นจำนวนมาก



ส.ปชส.มหาสารคาม/ข่าว

รมว.กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมอบเงินสมทบกองทุนแม่ของแผ่นดินที่ยโสธร

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มอบเงินสนับสนุนกองทุนแม่ของแผ่นดินที่จังหวัดยโสธร ในโอกาสครบรอบ 10 ปีที่ห้องประชุมวิถีอีสาน หน้าศาลากลางจังหวัดยโสธร  ดร.พีรพันธุ์  พาลุสุข  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  เป็นประธานเปิดงาน "มหกรรม1 ทศวรรษกองทุนแม่ของแผ่นดิน จังหวัดยโสธร ” โดยมีนายประวัติ  ถีถะแก้ว ผู้ว่าราชการจังหวัด พร้อมคณะกรรมการเครือข่ายประสานงานหมู่บ้าน/  ชุมชนกองทุนแม่ของแผ่นดินภาคประชาชน และผู้แทนกองทุนแม่จากทุกหมู่บ้าน จำนวนกว่า  700 คน  ให้การต้อนรับ การจัดงาน " มหกรรม 1 ทศวรรษกองทุนแม่ของแผ่นดิน จังหวัดยโสธร ”  ในครั้งนี้ เพื่อเทิดพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงเจริญพระชนมพรรษา 81 พรรษา  และเป็นการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ผลการดำเนินงานกองทุนแม่ของแผ่นดิน ในโอกาสที่ดำเนินงานมาครบ 10 ปี  และเป็นการสร้างกระแสความร่วมมือของประชาชน ให้เข้ามามีส่วนร่วมในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด  จังหวัดยโสธรมีหมู่บ้านและชุมชนกองทุนแม่ของแผ่นดิน จำนวนทั้งสิ้น 277 แห่ง  พร้อมนี้ ดร.พีรพันธุ์  พาลุสุข  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเป็นตัวแทนของรัฐบาลมอบเงินสนับสนุนกองทุนหมู่บ้านและชุมชนที่จัดตั้งใหม่ จำนวน 34 หมู่บ้าน เป็นเงินทั้งสิ้น (สามแสนสี่หมื่นบาท ) พร้อมมอบโล่ประกาศเกียรติคุณแก่ผู้แทนกองทุนแม่ของแผ่นดินที่มีผลการดำเนินงานดีเด่น คือ กองทุนแม่ของแผ่นดินบ้านคุ้ม ตำบลคูเมือง อำเภอมหาชนะชัย  และมอบใบประกาศเกียรติคุณแก่ผู้แทนศูนย์เรียนรู้กองทุนแม่ของแผ่นดินระดับอำเภอ จาก 9 อำเภอ  ดร.พีรพันธุ์  พาลุสุข  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กล่าวว่า รัฐบาลจะให้การสนับสนุนและส่งเสริมหมู่บ้าน/ ชุมชนให้มีความพร้อมในการที่จะดำเนินการตามโครงการกองทุนแม่ของแผ่นดิน และจะเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับเครือข่าย ต่อไป


วรรณทอง ภูโสภา
สปชส/ยโสธร/ภาพ/ข่าว

รมว.กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทอดผ้าป่าหนังสือที่ยโสธร

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  ดร.พีรพันธุ์ พาลุสุข ทอดผ้าป่าหนังสือ สู่บ้านหนังสืออัจฉริยะ 111 แห่ง ที่จังหวัดยโสธร  ที่วัดป่าหนองไคร้ ตำบลหนองหิน อำเภอเมืองยโสธร จังหวัดยโสธร นายประวัติ  ถีถะแก้ว ผู้ว่าราชการจังหวัด พร้อมหัวหน้าส่วนราชการและประชาชน ให้การต้อนรับ ดร.พีรพันธุ์   พาลุสุขรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  ในโอกาสมาเป็นประธานทอดผ้าป่าหนังสือ สู่บ้านหนังสืออัจฉริยะของจังหวัดยโสธร รัฐบาลได้ประกาศให้  การอ่านเป็นวาระแห่งชาติ  และกำหนดให้ปี  พ.ศ.๒๕๕๒-๒๕๖๑ เป็นทศวรรษแห่งการอ่าน  โดยให้ประชาชนคนไทยทุกคนได้รับการพัฒนาความสามารถและปลูกฝังนิสัยรักการอ่าน สำนักงาน ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอเมืองยโสธร  (กศน.) จึงได้จัดกิจกรรมทอดผ้าป่าหนังสือขึ้น  ซึ่งจะนำหนังสื่อที่ได้ ไปแจกจ่ายให้กับบ้านหนังสืออัจฉริยะในหมู่บ้าน ทั้ง 111 แห่ง  โดยได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานราชการ องค์กรเอกชนและประชาชนทั่วไป บริจาคหนังสือร่วมทั้งสิ้น ๔๓,000  เล่ม หนังที่ได้รับบริจาคส่วนมากเป็นหนังสือประเภททั่วไป  คาดว่าประชาชนชาวจังหวัดยโสธรจะเกิดการ รักการอ่านเพิ่มขึ้น เพื่อสร้างสังคมไทยให้เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต ตามเจตนารมของรัฐบาลต่อไป



วรรณทอง ภูโสภา
ส ปชย/ยโสธร/ภาพ/ข่าว

ธนาคารแห่งประเทศไทย ประชุมชี้แจงด้านการคุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน แก่ สื่อมวลชน ทุกแขนง จ.ร้อยเอ็ด หวังผลให้ ชาวร้อยเอ็ด ไม่โดนหลอกลวง

วันนี้ (20 กันยายน 2556) เวลา 09.30น. ที่ห้องประชุมสเลเต โรงแรมร้อยเอ็ดซิตี้ จังหวัดร้อยเอ็ด ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร่วมกับสำนักงานประชาสัมพันธ์จั งหวัดร้อยเอ็ด จัดประชุมชี้แจงบทบาทหน้าที่ ธปท. ด้านการคุ้มครองผู้ใช้บริ การทางการเงิน ประชาสัมพันธ์สายด่วนอัตโนมัติ 1213 และความรู้ทางการเงิน (Financial Literacy) ให้แก่นักจัดรายการวิทยุกระแสหลัก วิทยุชุมชน กว่า   40 สถานี เคเบิ้ลทีวีและหนังสือพิมพ์  เพื่อเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ งานคุ้มครองผู้ใช้บริ การทางการเงิน ให้ประชาชนในท้องถิ่นได้รับทราบ

นายอดุลย์ ค้ำชู ผู้บริหารส่วนคุ้มครองและให้ ความรู้ผู้ใช้บริการทางการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย กล่าวว่า การจัดงานในครั้งนี้ เพื่อให้นักจัดรายการวิทยุ ทราบถึงบทบาทหน้าที่ ของธนาคารแห่งประเทศไทย ด้านการคุ้มครองผู้ใช้บริ การทางการเงิน ให้ผู้บริโภคมีความเข้มแข็ง รู้สิทธิและหน้าที่ของตน ไม่ถูกเอาเปรียบจากผู้ให้บริ การทางการเงิน ที่ผ่านมา ธนาคารแห่งประเทศไทย ได้ดำเนินการเกี่ยวกับการคุ้ มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน มาอย่างต่อเนื่อง ผ่านงานด้านการกำกั บและตรวจสอบสถาบันการเงิน รวมถึงการให้ความรู้ทางการเงิน และแจ้งเตือนภัยเกี่ยวกับมิ จฉาชีพทางการเงินแก่ประชาชน ธนาคารแห่งประเทศไทย ได้จัดตั้งศูนย์คุ้มครองผู้ใช้ บริการทางการเงิน หรือ ศคง. เมื่อปี 2555 เพื่อให้การทำงานในด้านการคุ้ มครองผู้ใช้บริการทางการเงินเป็ นระบบ มีความต่อเนื่อง สอดประสานกับหน่วยงานอื่นที่เกี ่ยวข้องอย่างมีประสิทธิภาพ สามารถตอบสนองความคาดหวั งของประชาชนที่ต้องการให้ ธนาคารแห่งประเทศไทย เป็นที่พึ่งของประชาชน โดยสามารถติดต่อผ่านทางโทรศัพท์ หมายเลข 1213




คมกฤช  พวงศรีเคน  ข่าว/ภาพ
กมลพร  คำนึง  บก.ข่าว

สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดร้อยเอ็ด 043-527117

ทอดผ้าป่าเฉลิมพระเกียรติ100 ปี สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชฯ

กองธรรมพระราชวราลังการ ร่วมทอดผ้าป่าเฉลิมพระเกียรติ 100 ปี สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฑราช สกลมหาสังฆปริณายก ได้ยอดผ้าป่ากว่า 399,999 บาท

บ่ายวันนี้ ( 21 ก.ย.56 ) ที่ศาลาหอฉันคณะศรีทอง วัดโพธิสมภรณ์พระอารามหลวง อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี คณะสงฆ์ คณะศิษยานุศิษย์ พุทธศาสนิกชนชาวจังหวัดอุดรธานีกองธรรมพระราชวราลังการ ฉายา สิงห์ อินทปญโญ เจ้าคณะจังหวัดอุดรธานี ร่วมประกอบพิธีทอดผ้าป่าเฉลิมพระเกียรติ 100 ปี สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฑราช สกลมหาสังฆปริณายก โดยมีนายธวัฒชัย ทองสุกนอก รองผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดอุดรธานี นำกล่าวถวายผ้าป่าในครั้งนี้ โดยในเบื้องต้นยอดผ้าป่าซึ่งกองธรรมพระราชวราลังการร่วมทอดในครั้งนี้มียอดเพียง 305,345.75 บาท จากนั้นคณะสงฆ์ และพุธศาสนิกชนร่วมต่อยอด ได้ยอดเพิ่มรวม 350,903.75 บาท และนางปิยวรรณ วีรวรรณ โยมอุปทากวัดป่าภูก้อน ร่วมสมทบเพิ่มเติม 49, 095.25 บาท ซึ่งจำนวนเงินดังกล่าวพระราชวราลังกา จะนำขึ้นถวายสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฑราช สกลมหาสังฆปริณายกต่อไป



ทีมข่าว ส.ปชส.อด. ศรีภูมิ ทองใหญ่ ณ อยุธยา ข่าว/ภาพ

มูลนิธิราชประชานุเคราะห์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ มอบถุงพระราชทานไปช่วยเหลือราษฎรที่ได้รับความเดือดร้อนจากอุทกภัยในท้องที่จังหวัดสุรินทร์

วันนี้ ( 21 ก.ย.) เวลา 15.00 น. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้นายพร อุดมพงษ์ รองประธานกรรมการบริหารมูลนิธิราชประชานุเคราะห์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ พร้อมด้วย นายนิรันดร์ กัลยาณมิตร ผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์ในฐานะกรรมการมูลนิธิราชประชานุเคราะห์ประจำจังหวัดสุรินทร์ เดินทางไปมอบเครื่องอุปโภคบริโภคแก่ราษฎรที่ประสบอุทกภัย จำนวน 1,000 ชุด ณ หอประชุมองค์การบริหารส่วนจังหวัดสุรินทร์ โดยมี หัวหน้าส่วนราชการประจำจังหวัดและอำเภอเมืองสุรินทร์ร่วมแจกถุงพระราชทานช่วยเหลือผู้ประสบภัยในเขตอำเภอเมืองสุรินทร์ สำหรับสภาพปัญหาและความเสียหายในท้องที่จังหวัดสุรินทร์ เกิดขึ้นเนื่องจากอิทธิพลพายุดีเปรสชั่น ทำให้เกิดฝนตกอย่างต่อเนื่องตั้งแต่คืนวันที่ 18 กันยายนจนถึงวันที่ 19 กันยายน 2556 ตลอดทั้งวัน ทำให้มีปริมาณน้ำฝนสูงสุดถึง 281 ม.ม. ซึ่งนับว่าสูงสุดในรอบ 10 ปีของจังหวัดสุรินทร์ ประกอบกับพื้นที่ในอำเภอเมืองเป็นที่ลุ่มต่ำ และในบางพื้นที่มีการถมดินกั้นเส้นทางน้ำ ทำให้ปริมาณน้ำฝนจากอำเภอรอบนอก ไหลมายังพื้นที่ด้านในเมืองสุรินทร์ จึงเกิดน้ำท่วมฉับพลัน และในขณะนี้ระดับน้ำยังคงอยู่ในระดับสูงหลายพื้นที่ โดยเฉพาะในเขตเทศบาลเมืองสุรินทร์ ชาวบ้านต้องเร่งเก็บสิ่งของขึ้นที่สูง บางพื้นที่เก็บไม่ทันทำให้น้ำไหลเข้าท่วมบ้านเรือน ส่งผลให้ทรัพย์สินได้รับความเสียหาย ขณะเดียวกันการสัญจรในเขตเทศบาลเมืองสุรินทร์เป็นไปด้วยความลำบาก โดยมีราษฎรได้รับความเดือดร้อน 15 อำเภอ 98 หมู่บ้าน 1227 ตำบล พื้นที่การเกษตรเสียหายนับแสนไร่ โดยมีอำเภอที่ได้ประกาศเป็นพื้นที่ประสบภัยแล้ว ได้แก่ อำเภอเมือง อำเภอสังขะ อำเภอศรีณรงค์ อำเภอจอมพระ อำเภอเขวาสินรินทร์ อำเภอศีขรภูมิ อำเภอท่าตูม อำเภอรัตนบุรี อำเภอสำโรงทาบ อำเภอสนม อำเภอลำดวน อำเภอบัวเชด อำเภอปราสาท อำเภอกาบเชิง และอำเภอโนนนารายณ์ ส่วนความเสียหายอยู่ในระหว่างการสำรวจ ซึ่งในขณะนี้ นายนิรันดร์ กัลยาณมิตร ผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์ในฐานะนายกเหล่ากาชาดจังหวัดสุรินทร์ ได้นำคณะกรรมการเหล่ากาชาดจังหวัดสุรินทร์ นำสิ่งของที่จำเป็น โดยเฉพาะข้าวสาร อาหารแห้ง เครื่องใช้ต่าง ๆ ไปช่วยเหลือประชาชนที่ประสบภัยในพื้นที่ต่าง ๆและมอบหมายให้รองผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์ จัดหน่วยพร้อมด้วยหัวหน้าส่วนราชการออกเป็น 3 ชุด ออกไปช่วยเหลือ เยี่ยมผู้ประสบภัยยังอำเภอที่ห่างไกลเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนในเบื้องต้นแล้ว 

จังหวัดสุรินทร์ ประชุมแก้ปัญหาสถานการณ์น้ำเร่งด่วน พร้อมลุยน้ำเข้าพื้นที่แจกจ่ายเครื่องอุปโภค - บริโภค

ภาครัฐของจังหวัดสุรินทร์ ประชุมแก้ปัญหาสถานการณ์น้ำเร่งด่วน พร้อมลุยน้ำเข้าพื้นที่แจกจ่ายเครื่องอุปโภค - บริโภค แก่ประชาชนที่ประสบอุทกภัยในพื้นที่ เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนเบื้องต้น

วันนี้ (วันที่ 21 ก.ย. 56) ที่ศูนย์ประสานงานรับแจ้งสถานการณ์และการให้การช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม นายนิรันดร์ กัลยาณมิตร ผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์ พร้อมด้วยรองผู้ว่าราชการจังหวัดทั้ง 3 ท่าน หัวหน้าส่วนราชการ คณะกรรมการศูนย์อำนวยการเฉพาะกิจป้องกันและแก้ไขปัญหาอุทกภัย และ ดินโคลนถล่ม ปี 2556 ได้ประชุมเร่งด่วน เพื่อประเมินข้อมูลและดำเนินการในการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมของจังหวัดสุรินทร์ ที่ได้รับอิทธิพลจากพายุดีเปรสชั่น ตั้งแต่ วันที่ 18 กันยายน ที่ผ่านมา ซึ่งขณะนี้มี 15 อำเภอ จาก 17 อำเภอ ของจังหวัดสุรินทร์ ได้รับผลกระทบ โดยผู้ว่าราชการได้กำชับ ให้ผู้ปฏิบัติหน้าที่ในแต่ละอำเภอได้เฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด และดำเนินการแก้ไขและช่วยเหลือราษฎรในพื้นที่ประสบแล้ว            ในส่วนเขตตัวเทศบาลเมืองสุรินทร์ น้ำได้ลดลงไปบ้างแล้ว เพราะทางสำนักงานเทศบาล ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ชลประทานสุรินทร์ และ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ได้ระดมเครื่องสูบน้ำนับสิบเครื่องมาช่วยในการระบายน้ำแล้ว แต่ด้วยปริมาณน้ำที่หนุนมา ประกอบทางเดินของลำห้วยท้ายเขตเทศบาลเมือง (ห้วยทับพน) เป็นไปด้วยความลำบาก ไม่ใช่เนื่องมาจากการระบายน้ำอ่างเก็บน้ำห้วยเสนงของโครงการชลประทานที่ประชาชนบางส่วนเข้าใจแต่อย่างใด จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้น้ำบางส่วนยังวนอยู่ในเขตเทศบาลเมือง ซึ่งตอนนี้ ทางหน่วยงานที่รับผิดชอบได้เข้าไปจัดการการระบายและทิศทางของน้ำเป็นที่เรียบร้อยแล้ว คาดว่าน่าจะคลี่คลายภายในไม่กี่วัน

ในส่วนถนน เส้น 214 ฝั่งขาออกไปยังตัวอำเภอปราสาท ที่น้ำได้เอ่อท่วมพื้นผิวจราจรทั้ง 2 ฝากถนน รถเล็กไม่สามารถสัญจรได้ ทางสำนักงานโครงการชลประทานสุรินทร์ ได้นำรถแบ๊คโฮล์ไปขยายลำรางน้ำ เป็น 5 เมตร แต่ถ้ายังไม่พอจะขยายเป็น 10 เมตร และ ยุบฝายใกล้เคียง เพื่อการไหลของมวลน้ำที่คล่องขึ้นแล้ว

จากนั้นเวลา 14.00 น. นายนิรันดร์ กัลยาณมิตร ผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์ พร้อมด้วยรองผู้ว่าราชการจังหวัด หัวหน้าส่วนราชการ เหล่ากาชาดจังหวัด ได้ลงพื้นที่เขตชุมชนเทศบาลเมืองที่ถูกน้ำท่วมสูงกว่า 50-80 ซ.ม. อาทิ ชุมชนดองกะเม็ด ชุมชนสะพานดาว ชุมชนหมอกวน ที่อยู่ใกล้ลำห้วยที่น้ำท่วมเอ่อในหมู่บ้าน เพื่อแจกจ่ายสิ่งของเครื่องอุปโภค - บริโภค แก่ชาวบ้านที่ได้รับความเดือดร้อน ทั้งนี้ ผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์ ยังกล่าวเพื่อทำความเข้าใจในสถานการณ์ ณ ปัจจุบัน พร้อมทั้งให้กำลังใจแก่ประชาชนที่มารอรับสิ่งของเป็นจำนวนมากในแต่ละจุด โดยผู้ว่าได้กำชับหน่วยงานรัฐในแต่ละพื้นที่ให้เร่งสำรวจ จัดการปัญหาและช่วยเหลือ ประชาชนผู้ได้รับความเดือดร้อนในพื้นที่ประสบอุทกภัยอย่างที่สุดแล้ว เพื่อให้ลดผลกระทบตลอดจนความเสียหายให้น้อยที่สุด

อิทธิพลจากพายุดีเปรสชัน ทำให้จังหวัดสุรินทร์ น้ำท่วม 15 อำเภอ จาก 17 อำเภอ ล่าสุด เร่งให้การช่วยเหลือประชาชนอย่างเต็มที่

นายยุทธนา วิริยะกิตติ รองผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์ กล่าวว่า จังหวัดสุรินทร์ ได้รับอิทธิพลจากพายุดีเปรสชัน ตั้งแต่วันที่ 18 ก.ย. 56 จนถึงขณะนี้ ทำให้หลายพื้นที่ประสบปัญหาน้ำท่วมฉับพลันและน้ำหลาก ราษฏรได้รับความความเดือดร้อนเป็นบริเวณกว้าง รวม 15 อำเภอ จาก 17 อำเภอ ปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำ และฝายชลประทานขนาดกลาง 18 แห่ง ซึ่งปริมาณน้ำวัดได้ 175 ล้าน ลบ.ม. หรือประมาณร้อยละ 120 ของความจุ 145 ล้าน ลบ.ม. ระดมสรรพกำลัง เรือท้องแบน เครื่องสูบน้ำ เครื่องอุปโภคบริโภค เข้าไปให้การช่วยเหลือประชาชนอย่างรวดเร็วและทั่วถึง ตั้งศูนย์ประสานงานรับแจ้งสถานการณ์และการให้การช่วยเหลือตลอด 24 ช.ม. พร้อมตั้งโรงครัวประกอบอาหารเลี้ยงผู้ประสบภัย รวม 4 จุด และได้จัดตั้งศูนย์พักพิงเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัย 2 จุด โดยในเขตอำเภอเมืองสุรินทร์ ตั้งศูนย์พักพิง ณ สโมสรทหารบกสุรินทร์ มีผู้อพยพ จำนวน 100 คน จุดที่ 2 เขตพื้นที่อำเภอสังขะ ตั้งศูนย์พักพิง ณ ที่ว่าการอำเภอสังขะ มีผู้อพยพจำนวน 40 คน ส่วนจังหวัดทหารบกสุรินทร์ ได้นำรถบรรทุกเพื่อขนย้ายผู้ประสบภัยในเขตเทศบาล จำนวน 8 คัน กำลังพล 100 นาย และมูลนิธิเพื่อนพึ่งพายามยาก จะนำถุงยังชีพพระราชทานช่วยเหลือแก่ผู้ประสบภัยในพื้นที่ อำเภอสังขะ จำนวน 2,000 ถุง




สมทรง  เผือกผล  ส.ปชส.สุรินทร์ / ข่าว

ผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์เตรียมมอบของช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม

นายนิรันดร์ กัลยาณมิตร ผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์ เปิดเผยว่า จังหวัดสุรินทร์ ได้รับอิทธิพลจากพายุดีเปรสชั่น ทำให้เกิดฝนตกหนักและเกิดน้ำท่วมฉับพลันครอบคลุมพื้นที่วงกว้าง ราษฎรได้รับความเดือดร้อน จำนวน  15 อำเภอ   98  ตำบล  1,227  หมู่บ้าน  ได้แก่ อ.เมืองสุรินทร์ สังขะ ศรีณรงค์ จอมพระ    เขวาสินรินทร์  ศีขรภูมิ  ท่าตูม   รัตนบุรี  สำโรงทาบ ลำดวน บัวเชด กาบเชิง สนม ปราสาท โนนนารายณ์  ยกเว้น อ.ชุมพลบุรี และพนมดงรัก  แต่ต้องเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด 

ดังนั้น ในวันนี้  (21 กันยายน 2556 )  ผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์  พร้อมเหล่ากาชาดจังหวัดสุรินทร์ และหัวหน้าส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง กำหนดออกไปให้การช่วยเหลือประชาชนผู้ประสบภัยน้ำท่วม ในพื้นที่ชุมชนดองกะเม็ด   เขตเทศบาลเมืองสุรินทร์

จึงขอเชิญสื่อมวลชนและหัวหน้าส่วนราชการพร้อมกัน วันนี้  (21 กันยายน 2556) เวลา 13.30 น. ที่หน้าศาลากลางจังหวัดสุรินทร์  จากนั้น เวลา  15.00 น. มูลนิธิราชประชานุเคราะห์มอบสิ่งของพระราชทานช่วยผู้ประสบภัยน้ำท่วม  จำนวน  400  ราย ที่หอประชุม อบจ.สุรินทร์



สมทรง  เผือกผล  ส.ปชส.สุรินทร์ / ข่าว

ผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์ พร้อมรองผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์และหัวหน้าส่วนราชการประชุมสรุปสถานการณ์น้ำท่วมและการให้การช่วยเหลือ

จากการที่จังหวัดสุรินทร์ได้รับอิทธิจากพายุดีเปรสชั่นทำให้เกิดฝนตกหนักต่อเนื่องมีผลทำให้หลายพื้นที่ได้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำไหลหลากราษฎรได้รับความเดือดร้อน จำนวน 15 อำเภอ 98 ตำบล 1,227 หมู่บ้าน  ได้แก่ อ.เมืองสุรินทร์ สังขะ ศรีณรงค์ จอมพระ  เขวาสินรินทร์  ศีขรภูมิ  ท่าตูม   รัตนบุรี  สำโรงทาบ ลำดวน บัวเชด กาบเชิง สนม ปราสาท โนนนารายณ์  ยกเว้น อ.ชุมพลบุรี และพนมดงรัก  แต่ต้องเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด  สำหรับจำนวนครัวเรือนและประชากรที่ประสบภัยอยู่ระหว่างตรวจสอบ

วันนี้  (21 กันยายน 2556)  เวลา 09.30 น.  นายนิรันดร์ กัลยาณมิตร  ผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์  ได้ประชุมด่วนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง  เพื่อติดตามสถานการณ์น้ำท่วมและการให้ความช่วยเหลือ  โดยรองผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์  3 คน  ได้แก่ นายยุทธนา   วิริยกิตติ , นายวิเชียร  จันทรโณทัย , และนายพิภพ  ดำทองสุข  รองผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์  และหัวหน้าส่วนราชการจังหวัดสุรินทร์เข้าร่วมประชุม  ณ ห้องประชุมศาลากลางจังหวัดสุรินทร์

นายนิรันดร์ กัลยาณมิตร  ผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์  กล่าวว่า ขณะนี้จังหวัดสุรินทร์ได้ให้ความช่วยเหลือประชาชนโดยเร่งด่วน  โดยแจ้งให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องระดมสรรพกำลัง  เรือท้องแบน  เครื่องสูบน้ำ เครื่องอุปโภค-บริโภค  เข้าให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยอย่างรวดเร็ว ทั่วถึง  พร้อมทั้งจัดตั้งศูนย์ประสานงานรับแจ้งสถานการณ์และการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัย ณ ห้องสุรินทร์ภักดี ศาลากลางจังหวัดสุรินทร์  จัดตั้งโรงครัวประกอบเลี้ยง  และแจกจ่ายให้ผู้ประสบภัยในเขตเทศบาลเมืองสุรินทร์ และตำบลนอกเมืองที่ได้รับความเดือดร้อน  จำนวน 4 จุด  ได้แก่   จุดที่ 1 สถานีกาชาดที่ 1 จังหวัดสุรินทร์    จุดที่ 2 อาคารงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย สนง.เทศบาลเมืองสุรินทร์   จุดที่ 3 อบต.นอกเมือง    จุดที่ 4  มูลนิธิจิ้บเต็กเซี่ยงตึ้ง

นอกจากนั้นนั้นยังได้จัดตั้งศูนย์พักพิงเพื่อช่วยผู้ประสบภัย 3 แห่ง  ได้แก่  1) ศูนย์พักพิงผู้ประสบภัยกรณีฉุกเฉิน (อุทกภัย) จังหวัดทหารบกสุรินทร์ 0-4451-1844 ต่อ 20043, 20044  โดยมีชาวบ้านจากบ้าน สะโน ต.นอกเมือง หมู่บ้านจัดสรรนีโอแลน แฮฟปี้แลน ซิตี้แลน ต.นอกเมือง  บ้านละเอาะ บ้านหนองเต่า ต.เฉนียงอพยพมาแล้ว   2) อ.สังขะ  ณ ที่ว่าการอำเภอสังขะ  มีผู้อพยพประมาณ 40 คน   3)  อ.ศรีณรงค์ อพยพประชาชนประมาณ 150 คน

ส่วนการจัดเตรียมเครื่องมือ-อุปกรณ์  เครื่องอุปโภค-บริโภค ในการช่วยเหลือผู้ประสบภัย นั้น   จังหวัดสุรินทร์ได้นำเรือท้องแบนเข้าช่วยเหลือผู้ประสบภัยประจำจุดต่างๆ ได้แก่ อบต.คอโค 1 ลำ,อบต.นอกเมือง 2 ลำ ,ทต.ลำดวนสุรพินท์ 1 ลำ,ทต.ระแงง 1 ลำ,บ้านหนองเต่า 1 คัน,ตชด.21   จังหวัดทหารบกนำรถบรรทุกเพื่อขนย้ายผู้ประสบภัยในเขตเทศบาลจำนวน 8 คัน พร้อมกำลังพล 100 นาย   ตชด.21, 214, นพค.54,  กรมทหารราบที่  23 กองพันหารราบที่ 3 ได้นำเรือท้องแบนไปช่วยเหลือราษฎรในพื้นที่ อ.สังขะ  

นอกจากนั้นเทศบาลเมืองสุรินทร์ได้นำเครื่องสูบน้ำอัตโนมัติใต้ดิน 4 เครื่อง เครื่องสูบน้ำขนาด  8 ,10,12 นิ้ว 5 เครื่อง  เร่งระบายน้ำในเขตเทศบาล รถบรรทุก 6 ล้อ 7 คัน รถบรรทุก 4 ล้อ 14 คัน รถบรรทุกน้ำดื่ม 3 คัน พร้อมกำลังพล 200 คน  และตั้งจุดบริการน้ำและอาหารให้แก่ผู้ประสบภัย  และจัดกระสอบทรายเพื่อช่วยเหลือประชาชนจำนวน  3 คัน  โดยประชาชนสามารถไปขอรับได้ที่  ณ สำนักงานเทศบาลเมืองสุรินทร์  ในขณะที่องค์การบริหารส่วนจังหวัดสุรินทร์   ได้นำเครื่องสูบน้ำประจุดโรงพยาบาลในเขตเทศบาล 3 เครื่อง และนำถุงยังชีพไปช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วมที่ชุมชนไตรรงค์สุรินทร์  บ้านโสน หมู่ 13 ต นอกเมือง และหมู่บ้านถาวรนิเวศน์   พร้อมทั้งได้จัดกระสอบทรายเพื่อช่วยเหลือประชาชนโดยประชาชนสามารถไปขอรับได้ที่องค์การบริหารส่วนจังหวัดสุรินทร์   มูลนิธิอาสาเพื่อนพึ่ง(ภาฯ)ยามยาก สภากาชาดไทย  จะนำถุงยังชีพพระราชทานเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยในพื้นที่ อ.สังขะ จำนวน 2,000 ชุด ในวันที่ 22 กันยายน 2556 ณ ที่ว่าการอำเภอสังขะ

ส่วนแขวงการทางจังหวัดสุรินทร์ได้จัดตั้งศูนย์ป้องกันและแก้ไขภัยพิบัติโดยมีศูนย์บัญชาการอยู่ที่สำนักงานแขวงการ ทางสุรินทร์  และศูนย์ย่อยประจำหมวดการทางทุกหมวด  โดยจัดส่งเจ้าหน้าที่ติดตั้งป้ายอำนวยความปลอดภัยบริเวณที่เกิดน้ำท่วม  พร้อมกับให้ความช่วยเหลือแนะนำเส้นทางที่วิกฤติแก่ผู้ใช้ทาง   สำหรับประชาชนที่มีปัญหาการใช้เส้นทาง  ติดต่อได้ที่ผู้อำนวยการแขวงการทางสุรินทร์ หมายเลขโทรศัพท์ 083-288599,044-511381  ถนนที่ต้องปิดเส้นทางการจราจร ดังนี้  ทางหลวงหมายเลข 2077 ตอนสังขะ- บัวเชต กิโลเมตรที่ 49 -50 ระดับน้ำสูง 120  เซนติเมตร การจราจรผ่านไม่ได้  ทางหลวงหมายเลข 226 ตอนสุรินทร์-ศีขรภูมิ กิโลเมตรที่ 2-4 ระดับน้ำสูง 60  เซนติเมตร  การจราจรผ่านไม่ได้  และ กิโลเมตรที่16 คอสะพานขาดการจราจรผ่านไม่ได้  ทางหลวงหมายเลข 277 ตอนสุรินทร์-สังขะ กิโลเมตรที่ 5-6 ระดับน้ำสูง 40 เซนติเมตร  การจราจรผ่านได้ 1 ช่องจราจร 



สมทรง  เผือกผล  ส.ปชส.สุรินทร์ / ข่าว

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มูลนิธิราชประชานุเคราะห์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ มอบถุงยังชีพพระราชทานช่วยเหลือราษฎรที่ได้รับความเดือดร้อนจากอุทกภัย จ.สุรินทร์

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มูลนิธิราชประชานุเคราะห์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ จัดหน่วยสงเคราะห์เคลื่อนที่ออกไปช่วยเหลือราษฎรที่ได้รับความเดือดร้อนจากอุทกภัยในท้องที่จังหวัดสุรินทร์ เพื่อเป็นขวัญและกำลังใจแก่ราษฎรที่กำลังประสบความเดือดร้อนอยู่ในขณะนี้

วันนี้( 21 ก.ย.) เวลา 15.00 น. มูลนิธิราชประชานุเคราะห์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้มอบให้ นายพร อุดมพงษ์ รองประธานกรรมการบริหาร และคณะจากส่วนกลาง พร้อมด้วยกรรมการมูลนิธิราชประชานุเคราะห์ประจำจังหวัดสุรินทร์ เดินทางไปมอบเครื่องอุปโภคบริโภคแก่ราษฎรที่ประสบอุทกภัย ณ ที่ว่าการอำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ จำนวน 1,000 ครัวเรือน

สำหรับสภาพปัญหาและความเสียหายในท้องที่จังหวัดสุรินทร์ เมื่อช่วงเย็นของวันที่ 19 กันยายน ที่ผ่านมา เกิดฝนตกหนักต่อเนื่องจากอิทธิพลพายุดีเปรสชั่น ทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน ระดับน้ำยังคงอยู่ในระดับสูงหลายพื้นที่ โดยเฉพาะในเขตเทศบาลเมืองสุรินทร์ ปริมาณน้ำฝนที่ตกลงมาอย่างต่อเนื่อง และมีน้ำจากพื้นที่อื่นไหลมาสมทบ ทำให้เกิดน้ำท่วมหนัก บางแห่งระดับน้ำสูงเกือบ 2 เมตร ชาวบ้านต้องเร่งเก็บสิ่งของขึ้นที่สูง บางพื้นที่เก็บไม่ทันทำให้น้ำไหลเข้าท่วมบ้านเรือน ส่งผลให้ทรัพย์สินได้รับความเสียหาย ขณะเดียวกันการสัญจรในเขตเทศบาลเมืองสุรินทร์เป็นไปด้วยความลำบาก โดยมีราษฎรได้รับความเดือดร้อน 15 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมือง อำเภอสังขะ อำเภอศรีณรงค์ อำเภอจอมพระ อำเภอเขวาสินรินทร์ อำเภอศีขรภูมิ อำเภอท่าตูม อำเภอรัตนบุรี อำเภอสำโรงทาบ อำเภอสนม อำเภอลำดวน อำเภอบัวเชด อำเภอปราสาท อำเภอกาบเชิง และอำเภอโนนนารายณ์ ส่วนความเสียหายอยู่ในระหว่างการสำรวจ



กิติวรรณ  มณีล้ำ สวท.สุรินทร์ / ข่าว

ผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์ พร้อมรองผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์และหัวหน้าส่วนราชการประชุมสรุปสถานการณ์น้ำท่วมและการให้การช่วยเหลือ

จากการที่จังหวัดสุรินทร์ได้รับอิทธิจากพายุดีเปรสชั่นทำให้เกิดฝนตกหนักต่อเนื่องมีผลทำให้หลายพื้นที่ได้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำไหลหลากราษฎรได้รับความเดือดร้อน จำนวน 15 อำเภอ 98 ตำบล 1,227 หมู่บ้าน ได้แก่ อ.เมืองสุรินทร์ สังขะ ศรีณรงค์ จอมพระ เขวาสินรินทร์  ศีขรภูมิ  ท่าตูม  รัตนบุรี  สำโรงทาบ ลำดวน บัวเชด กาบเชิง สนม ปราสาท โนนนารายณ์  ยกเว้น อ.ชุมพลบุรี และพนมดงรัก  แต่ต้องเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด สำหรับจำนวนครัวเรือนและประชากรที่ประสบภัยอยู่ระหว่างตรวจสอบ

วันนี้  (21 กันยายน 2556)  เวลา 09.30 น.  นายนิรันดร์  กัลยาณมิตร  ผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์  ได้ประชุมด่วนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง  เพื่อติดตามสถานการณ์น้ำท่วมและการให้ความช่วยเหลือ  โดยรองผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์  3 คน  ได้แก่ นายยุทธนา   วิริยกิตติ , นายวิเชียร  จันทรโณทัย , และนายพิภพ  ดำทองสุข  รองผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์  และหัวหน้าส่วนราชการจังหวัดสุรินทร์เข้าร่วมประชุม ณ ห้องประชุมศาลากลางจังหวัดสุรินทร์

นายนิรันดร์ กัลยาณมิตร  ผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์  กล่าวว่า ขณะนี้จังหวัดสุรินทร์ได้ให้ความช่วยเหลือประชาชนโดยเร่งด่วน  โดยแจ้งให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องระดมสรรพกำลัง  เรือท้องแบน  เครื่องสูบน้ำ เครื่องอุปโภค-บริโภค  เข้าให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยอย่างรวดเร็ว ทั่วถึง  พร้อมทั้งจัดตั้งศูนย์ประสานงานรับแจ้งสถานการณ์และการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัย ณ ห้องสุรินทร์ภักดี ศาลากลางจังหวัดสุรินทร์  จัดตั้งโรงครัวประกอบเลี้ยง  และแจกจ่ายให้ผู้ประสบภัยในเขตเทศบาลเมืองสุรินทร์ และตำบลนอกเมืองที่ได้รับความเดือดร้อน  จำนวน 4 จุด ได้แก่  จุดที่ 1 สถานีกาชาดที่ 1 จังหวัดสุรินทร์    จุดที่ 2 อาคารงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย สนง.เทศบาลเมืองสุรินทร์  จุดที่ 3 อบต.นอกเมือง    จุดที่ 4  มูลนิธิจิ้บเต็กเซี่ยงตึ้ง

นอกจากนั้นนั้นยังได้จัดตั้งศูนย์พักพิงเพื่อช่วยผู้ประสบภัย 3 แห่ง ได้แก่  1) ศูนย์พักพิงผู้ประสบภัยกรณีฉุกเฉิน (อุทกภัย) จังหวัดทหารบกสุรินทร์ 0-4451-1844 ต่อ 20043, 20044 โดยมีชาวบ้านจากบ้าน สะโน ต.นอกเมือง หมู่บ้านจัดสรรนีโอแลน แฮฟปี้แลน ซิตี้แลน ต.นอกเมือง  บ้านละเอาะ บ้านหนองเต่า ต.เฉนียงอพยพมาแล้ว   2) อ.สังขะ ณ ที่ว่าการอำเภอสังขะ มีผู้อพยพประมาณ 40 คน   3) อ.ศรีณรงค์ อพยพประชาชนประมาณ 150 คน

ส่วนการจัดเตรียมเครื่องมือ-อุปกรณ์  เครื่องอุปโภค-บริโภค ในการช่วยเหลือผู้ประสบภัย นั้น   จังหวัดสุรินทร์ได้นำเรือท้องแบนเข้าช่วยเหลือผู้ประสบภัยประจำจุดต่างๆ ได้แก่ อบต.คอโค 1 ลำ,อบต.นอกเมือง 2 ลำ ,ทต.ลำดวนสุรพินท์ 1 ลำ,ทต.ระแงง 1 ลำ,บ้านหนองเต่า 1 คัน,ตชด.21   จังหวัดทหารบกนำรถบรรทุกเพื่อขนย้ายผู้ประสบภัยในเขตเทศบาลจำนวน 8 คัน พร้อมกำลังพล 100 นาย  ตชด.21, 214, นพค.54,  กรมทหารราบที่ 23 กองพันหารราบที่ 3 ได้นำเรือท้องแบนไปช่วยเหลือราษฎรในพื้นที่ อ.สังขะ 

นอกจากนั้นเทศบาลเมืองสุรินทร์ได้นำเครื่องสูบน้ำอัตโนมัติใต้ดิน 4 เครื่อง เครื่องสูบน้ำขนาด 8 ,10,12 นิ้ว 5 เครื่อง เร่งระบายน้ำในเขตเทศบาล รถบรรทุก 6 ล้อ 7 คัน รถบรรทุก 4 ล้อ 14 คัน รถบรรทุกน้ำดื่ม 3 คัน พร้อมกำลังพล 200 คน และตั้งจุดบริการน้ำและอาหารให้แก่ผู้ประสบภัย  และจัดกระสอบทรายเพื่อช่วยเหลือประชาชนจำนวน 3 คัน โดยประชาชนสามารถไปขอรับได้ที่ ณ สำนักงานเทศบาลเมืองสุรินทร์  ในขณะที่องค์การบริหารส่วนจังหวัดสุรินทร์   ได้นำเครื่องสูบน้ำประจุดโรงพยาบาลในเขตเทศบาล 3 เครื่อง และนำถุงยังชีพไปช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วมที่ชุมชนไตรรงค์สุรินทร์  บ้านโสน หมู่ 13 ต นอกเมือง และหมู่บ้านถาวรนิเวศน์   พร้อมทั้งได้จัดกระสอบทรายเพื่อช่วยเหลือประชาชนโดยประชาชนสามารถไปขอรับได้ที่องค์การบริหารส่วนจังหวัดสุรินทร์   มูลนิธิอาสาเพื่อนพึ่ง(ภาฯ)ยามยาก สภากาชาดไทย  จะนำถุงยังชีพพระราชทานเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยในพื้นที่ อ.สังขะ จำนวน 2,000 ชุด ในวันที่ 22 กันยายน 2556 ณ ที่ว่าการอำเภอสังขะ

ส่วนแขวงการทางจังหวัดสุรินทร์ได้จัดตั้งศูนย์ป้องกันและแก้ไขภัยพิบัติโดยมีศูนย์บัญชาการอยู่ที่สำนักงานแขวงการ ทางสุรินทร์  และศูนย์ย่อยประจำหมวดการทางทุกหมวด  โดยจัดส่งเจ้าหน้าที่ติดตั้งป้ายอำนวยความปลอดภัยบริเวณที่เกิดน้ำท่วม  พร้อมกับให้ความช่วยเหลือแนะนำเส้นทางที่วิกฤติแก่ผู้ใช้ทาง   สำหรับประชาชนที่มีปัญหาการใช้เส้นทาง  ติดต่อได้ที่ผู้อำนวยการแขวงการทางสุรินทร์ หมายเลขโทรศัพท์ 083-288599,044-511381  ถนนที่ต้องปิดเส้นทางการจราจร ดังนี้  ทางหลวงหมายเลข 2077 ตอนสังขะ- บัวเชต กิโลเมตรที่ 49 -50 ระดับน้ำสูง 120  เซนติเมตร การจราจรผ่านไม่ได้  ทางหลวงหมายเลข 226 ตอนสุรินทร์-ศีขรภูมิ กิโลเมตรที่ 2-4 ระดับน้ำสูง 60  เซนติเมตร  การจราจรผ่านไม่ได้  และ กิโลเมตรที่16 คอสะพานขาดการจราจรผ่านไม่ได้  ทางหลวงหมายเลข 277 ตอนสุรินทร์-สังขะ กิโลเมตรที่ 5-6 ระดับน้ำสูง 40 เซนติเมตร  การจราจรผ่านได้ 1 ช่องจราจร 





สมทรง  เผือกผล  ส.ปชส.สุรินทร์ / ข่าว

มูลนิธิอาสาเพื่อนพึ่ง (ภา ฯ ) ยามยาก สภากาชาดไทย มอบถุงยังชีพพระราชทานช่วยผู้ประสบภัยน้ำท่วมจังหวัดสุรินทร์ 2,000 ชุด

นายนิรันดร์ กัลยาณมิตร ผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์ เปิดเผยว่า จังหวัดสุรินทร์ ได้รับอิทธิพลจากพายุดีเปรสชั่น ตั้งแต่วันที่ 18 กันยายน 2556 เป็นต้นมา ทำให้เกิดฝนตกหนักและเกิดน้ำท่วมฉับพลันครอบคลุมพื้นที่วงกว้าง ราษฎรได้รับความเดือดร้อน จำนวน 15 อำเภอ   98 ตำบล 1,227 หมู่บ้าน  ได้แก่ อ.เมืองสุรินทร์ สังขะ ศรีณรงค์ จอมพระ    เขวาสินรินทร์  ศีขรภูมิ  ท่าตูม   รัตนบุรี  สำโรงทาบ ลำดวน บัวเชด กาบเชิง สนม ปราสาท โนนนารายณ์  ยกเว้น อ.ชุมพลบุรี และพนมดงรัก  แต่ต้องเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด  สำหรับจำนวนครัวเรือนและประชากรที่ประสบภัยอยู่ระหว่างตรวจสอบ สำหรับในเขตชุมชนเมืองที่มีน้ำท่วมสูง ได้แก่  เทศบาลเมืองสุรินทร์ทุกชุมชน  เทศบาลตำบลสังขะ  เทศบาลตำบลระแงง อ.ศีขรภูมิ  เทศบาลตำบลจอมพระ เขตเทศบาลตำบลลำดวนสุรพินท์  ระดับน้ำลดลง และทรงตัวบางแห่ง  ในขณะที่โรงพยาบาลที่เกิดน้ำท่วมขังในเขตเทศบาล ได้แก่ รพ.สุรินทร์ รพ.รวมแพทย์หมออนันต์ รพ.รวมแพทย์หน้าธ.ก.ส. ขณะนี้ระดับน้ำลดลงแล้ว และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลน้ำท่วมหลายแห่ง  ได้แก่ อ.เมืองสุรินทร์ รพ.สต.บ้านโคกปลัด รพ.สต.แสลงพันธุ์  เขตอำเภอสำโรงทาบ 5 แห่ง ได้แก่ รพ.สต.ประดู่  รพ.สต.หนองฮะ รพ.สต.โคกสะอาด รพ.สต.สะโน  และ รพ.สต.เกาะแก้ว ทำให้การให้บริการด้านสุขภาพอนามัยของประชาชนไม่ได้รับความสะดวกเท่าที่ควร   และเพื่อเป็นการบรรเทาความเดือดร้อนเฉพาะหน้าให้กับผู้ประสบอุทกภัย จังหวัดสุรินทร์ได้ขอรับการสนับสนุนถุงยังชีพพระราชทาน จำนวน 2,000 ชุด เพื่อมอบให้ราษฎรที่ประสบอุทกภัยในพื้นที่อำเภอสังขะจังหวัดสุรินทร์ โดยกำหนดให้มีพิธีมอบถุงยังชีพ ในวันอาทิตย์ ที่ 22 กันยายน เวลา 15.00 น. ณ หอประชุมอำเภอสังขะ จังหวัดสุรินทร์

จังหวัดสุรินทร์จึงขอเชิญชวนให้ประชาชนที่ประสบอุทกภัย มารับสิ่งของดังกล่าว ในวันและเวลาดังกล่าวโดยทั่วกัน




สมทรง  เผือกผล  ส.ปชส.สุรินทร์ / ข่าว

การไฟฟ้าสุวนภูมิภาคจังหวัดสุรินทร์ แจ้งจุดการดับไฟฟ้าในพื้นที่น้ำท่วมสูง

การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจังหวัดสุรินทร์ ได้มีการดับกระแสไฟฟ้าในพื้นที่น้ำท่วมสูงบางส่วน เนื่องจากระดับน้ำมีความสูงเกือบถึงระดับมิตเตอร์ไฟฟ้า เพื่อเป็นการป้องกันอันตรายจากไฟฟ้าดูด ได้แก่

 1. พื้นที่ชุมชนดองกะเม็ด

2. พื้นที่ชุมชนหมอกวน

3.หมู่บ้านถาวรนิเวศน์

4.โรงสูบน้ำบ้านตาอ๋อง

5.พื้นที่ก่อสร้างห้างโรบินสัน

6.พื้นที่ก่อสร้างห้างโฮมโปร

โดยในแต่ละพื้นที่ เมื่อการไฟฟ้าฯ ตรวจสอบหรือได้รับแจ้งว่าระดับน้ำลดลงอยู่ในระดับที่ปลอดภัยแล้ว จะรีบไปดำเนินการจ่ายกระแสไฟฟ้าให้ทันที ทั้งนี้ สามารถแจ้งโดยตรงได้ที่ Cal Center 1129 หรือ หน่วยแก้กระแสไฟฟ้าขัดข้อง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจังหวัดสุรินทร์ โทร.044-511044 หรือที่ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยสุรินทร์ โทร. 085-4319977



สมทรง  เผือกผล  ส.ปชส.สุรินทร์ / ข่าว

สรุปสถานการณ์อุทกภัยช่วงวันที่ 18-21 กันยายน 2556

ข้อมูล  21  กันยายน 2556  เวลา  09.30  น.

จังหวัดสุรินทร์ได้รับอิทธิจากพายุดีเปรสชั่นตั้งแต่วันที่ 18 กันยายน 2556 เวลา 20.30 น.เป็นต้นมา ทำให้เกิดฝนตกหนักต่อเนื่องมีผลทำให้หลายพื้นที่ได้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำไหลหลาก

พื้นที่ประสบอุทกภัย

1.  ราษฎรได้รับความเดือดร้อน จำนวน 15 อำเภอ 98 ตำบล 1,227 หมู่บ้าน ได้แก่ อ.เมืองสุรินทร์ สังขะ ศรีณรงค์ จอมพระ    เขวาสินรินทร์  ศีขรภูมิ  ท่าตูม  รัตนบุรี  สำโรงทาบ ลำดวน บัวเชด กาบเชิง สนม ปราสาท โนนนารายณ์  ยกเว้น อ.ชุมพลบุรี และพนมดงรัก  แต่ต้องเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด สำหรับจำนวนครัวเรือนและประชากรที่ประสบภัยอยู่ระหว่างตรวจสอบ

2.  เขตชุมชนเมืองที่มีน้ำท่วมสูง ได้แก่ เทศบาลเมืองสุรินทร์ทุกชุมชน  เทศบาลตำบลสังขะ  เทศบาลตำบลระแงง อ.ศีขรภูมิ  เทศบาลตำบลจอมพระ เขตเทศบาลตำบลลำดวนสุรพินท์ ระดับน้ำลดลง และทรงตัวบางแห่ง

3.  รพ.ที่เกิดน้ำท่วมขังในเขตเทศบาล ได้แก่ รพ.สุรินทร์ รพ.รวมแพทย์หมออนันต์ รพ.รวมแพทย์หน้าธ.ก.ส. ขณะนี้ระดับน้ำลดลงแล้ว และ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลน้ำท่วมหลายแห่ง  ได้แก่ อ.เมืองสุรินทร์ รพ.สต.บ้านโคกปลัด รพ.สต.แสลงพันธุ์  เขตอำเภอสำโรงทาบ 5 แห่ง ได้แก่ รพ.สต.ประดู่  รพ.สต.หนองฮะ รพ.สต.โคกสะอาด รพ.สต.สะโน  และ รพ.สต.เกาะแก้ว ทำให้การให้บริการด้านสุขภาพอนามัยของประชาชนไม่ได้รับความสะดวกเท่าที่ควร 




พื้นที่ที่มีระดับน้ำท่วมสูงและต้องเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด

-  เขตเทศบาลเมืองสุรินทร์ บริเวณหลังสถานีรถไฟ หน้าสถานีตำรวจภูธรจังหวัดสุรินทร์ ชุมชนดองกะเม็ด ชุมชนหมอกวน ตลาดสด ชุมชนวัดหนองบัว ชุมชนไตรรงค์ ชุมชนเทศบาลอนุสร ชุมชนทุ่งโพธิ์  ชุมชนศรีดอกจาน  ชุมชนศรีเทพ ชุมชนปัทมานนท์สำหรับถนนที่ยังมีน้ำท่วมสูง ถนนศิริรัฐ  หลักเมือง จิตรบำรุง  สุรินทร์ภักดี เทศบาล 2,3 ธนสาร จิตรอารี สนิทนิคมรัฐ สระโบราณ 1,2,3 จิตรประชา สี่แยกวงเวียนน้ำพุ

****  ขณะนี้ระดับน้ำในเขตเทศบาลได้ลดลงหลายแห่งแล้ว  แต่ยังมีระดับน้ำท่วมบริเวณริมคลองร้านอาหารกูดวิว ชุมชนดองกะเม็ด หนองบัว ปัทมานนท์ เกาะลอย ศรีดอกจาน และทุ่งโพธิ์

- รอบนอกเขตเทศบาลเขตตำบลนอกเมือง  บริเวณบริษัทโตโยต้าสุรินทร์ หมู่บ้านถาวรนิเวศ หมู่บ้านแสนสิริ-โคกปลัด  หมู่บ้านนีโอแลน แฮฟปี้แลน ซิตี้แลน บ้านสะโน ม.13, ม.21 บ้านเฉลิมพระเกียรติ

-  ต.แกใหญ่  หมู่บ้านจัดสรรหลังสถานีทดลองข้าว  และทุกพื้นที่มีปริมาณน้ำมากไหลเอ่อเข้าท่วมบ้านเรือน  ประชาชนอพยพบางส่วน

-  ถนนบายพาสสี่แยกหนองเต่า-สลักได ระดับน้ำประมาณ 30-70 ซม.

-  อำเภอท้ายน้ำ ซึ่งขณะนี้น้ำปริมาณมากได้เข้าพื้นที่ อ.รัตนบุรี ท่าตูม และชุมพลบุรีต่อไป  ราษฎรได้รับความเดือดร้อนแล้ว

*** ขณะนี้โครงการชลประทานสุรินทร์ได้พร่องน้ำออกจากห้วยเสนง (ยกบานระบายน้ำ 3 เมตร) ทำให้เกิดน้ำไหลหลากเข้าท่วมบ้านเรือนของราษฎร ได้แก่

-  ม.2 บ้านทำเนียบ,ม.8 บ้านถนน,ม.13 หนองเต่า,ม.18 บ้านละเอาะ,บ้านโคกเพชร ม.19 และได้อพยพประชาชนจากบ้านละเอาะ บ้านหนองเต่า  ไปอยู่ที่สโมสรนายทหารจังหวัดทหารบกสุรินทร์แล้ว

- ถนนสายสุรินทร์-ช่องจอม ช่วงบริเวณบริษัทโกลบอลเฮาส์ หน้า สนง.ประกันสังคม จ.สุรินทร์

- ต.นอกเมืองที่อยู่บริเวณท้ายอ่างห้วยเสนง

- และขณะนี้ปริมาณน้ำมากกำลังไหลหลากเข้าสู่พื้นที่ ต.คอโค และ ต.ท่าสว่าง





ปริมาณน้ำฝนช่วงวันที่ 18-21 กันยายน 2556

มีฝนตกหนักมาตั้งแต่คืนวันที่ 18 กันยายน เวลา 20.30 เป็นต้นมาและฝนตกหนักมากอย่างต่อเนื่องจนถึงวันที่ 19 กันยายน 2556 สำหรับวันที่ 20-21 กันยายน 256 ปริมาณฝนลดลง ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยช่วงวันที่ 18-21 กันยายน ฝนเฉลี่ยทั้ง 3 วัน (17 อำเภอ 18 สถานี) วัดได้ 499.2 มม.


ปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำและฝายชลประทานขนาดกลางในเขต จ.สุรินทร์ ทั้ง ๑๘  แห่ง

ในภาพรวมขณะนี้มีปริมาณน้ำที่มีอยู่ปัจจุบันวัดได้ 212.74 ล้านลบ.ม. (146.64 %) (ความจุทั้งหมด ๑๔๕.๐๗๙ ล้าน ลบ.ม.)  อ่างฯ ที่ต้องเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิดโดยเฉพาะประชาชนที่อาศัยอยู่บริเวณท้ายอ่างฯ ในช่วงนี้ซึ่งได้ล้นตลิ่งแล้ว ได้แก่ อ่างฯห้วยเสนง , อ่างฯอำปึล อ่างฯ , ห้วยลำพอก , อ่างฯห้วยระหาร , อ่างฯห้วยตาเกาว์ , อ่างห้วยเชิง , อ่างฯ ห้วยบ้านจรัส , อ่างฯ บ้านทำนบ , อ่างฯบ้านเกาะแก้ว , อ่างฯ ห้วยขนาดมอญ , อ่างฯห้วยกะเลงเวก สำหรับปริมาณน้ำในแม่น้ำสายหลักเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง



การดำเนินการให้ความช่วยเหลือ

1.  จังหวัดสุรินทร์ได้ประชุมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อรับทราบสถานการณ์และให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ประสบภัยในวันที่ 20 กันยายน 2556 เวลา 10.30-12.00 น. ณ ศาลากลางจังหวัดสุรินทร์   และแจ้งให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องระดมสรรพกำลัง  เรือท้องแบน เครื่องสูบน้ำ เครื่องอุปโภค-บริโภค  เข้าให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยอย่างรวดเร็ว ทั่วถึง

2.  จังหวัดได้จัดตั้งศูนย์ประสานงานรับแจ้งสถานการณ์และการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัย  ณ ห้องสุรินทร์ภักดี ศาลากลางจังหวัดสุรินทร์   โดยมีเจ้าหน้าที่ สนง.ปภ.สุรินทร์ ประจำศูนย์

3.  จัดตั้งโรงครัวประกอบเลี้ยง  และแจกจ่ายให้ผู้ประสบภัยในเขตเทศบาลเมืองสุรินทร์ และตำบลนอกเมืองที่ได้รับความเดือดร้อน  จำนวน 4 จุด  ได้แก่

-  จุดที่ 1 สถานีกาชาดที่ 1 จังหวัดสุรินทร์

-  จุดที่ 2 อาคารงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย  สนง.เทศบาลเมืองสุรินทร์

-  จุดที่ 3 อบต.นอกเมือง

-  จุดที่ 4  มูลนิธิจิ้บเต็กเซี่ยงตึ้ง

4.  ขณะนี้ได้จัดตั้งศูนย์พักพิงเพื่อช่วยผู้ประสบภัยแล้ว  ดังนี้

-  ศูนย์พักพิงผู้ประสบภัยกรณีฉุกเฉิน (อุทกภัย) จังหวัดทหารบกสุรินทร์ 0-4451-1844 ต่อ 20043, 20044 โดยมีชาวบ้านจากบ้าน สะโน ต.นอกเมือง หมู่บ้านจัดสรรนีโอแลน แฮฟปี้แลน ซิตี้แลน ต.นอกเมือง  บ้านละเอาะ บ้านหนองเต่า ต.เฉนียงอพยพมาแล้ว    

-  อ.สังขะ   ณ ที่ว่าการอำเภอสังขะ   มีผู้อพยพประมาณ 40 คน

-  อ.ศรีณรงค์  อพยพประชาชนประมาณ 150 คน

5.  เครื่องมือ-อุปกรณ์  เครื่องอุปโภค-บริโภค ในการช่วยเหลือผู้ประสบภัย

-  สนง.ปภ.จ.สร  ได้นำเรือท้องแบนเข้าช่วยเหลือผู้ประสบภัยประจำจุดต่างๆ ได้แก่ อบต.คอโค 1 ลำ,อบต.นอกเมือง 2 ลำ ,ทต.ลำดวนสุรพินท์ 1 ลำ,ทต.ระแงง 1 ลำ,บ้านหนองเต่า 1 คัน,ตชด.21

- จังหวัดทหารบกนำรถบรรทุกเพื่อขนย้ายผู้ประสบภัยในเขตเทศบาลจำนวน 8 คัน พร้อมกำลังพล 100 นาย

- ตชด.21,214,นพค.54,กรมทหารราบที่ 23 กองพันหารราบที่ 3 ได้นำเรือท้องแบนไปช่วยเหลือราษฎรในพื้นที่ อ.สังขะ

- เทศบาลเมืองสุรินทร์ได้นำเครื่องสูบน้ำอัตโนมัติใต้ดิน 4 เครื่อง เครื่องสูบน้ำขนาด 8 ,10,12 นิ้ว 5 เครื่อง เร่งระบายน้ำในเขตเทศบาล รถบรรทุก 6 ล้อ 7 คัน รถบรรทุก 4 ล้อ 14 คัน รถบรรทุกน้ำดื่ม 3 คัน พร้อมกำลังพล 200 คน และตั้งจุดบริการน้ำและอาหารให้แก่ผู้ประสบภัย  และจัดกระสอบทรายเพื่อช่วยเหลือประชาชนจำนวน 3 คัน โดยประชาชนสามารถไปขอรับได้ที่ ณ สำนักงานเทศบาลเมืองสุรินทร์ 

-  องค์การบริหารส่วนจังหวัดสุรินทร์   ได้นำเครื่องสูบน้ำประจุดโรงพยาบาลในเขตเทศบาล 3 เครื่อง และนำถุงยังชีพไปช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วมที่ชุมชนไตรรงค์สุรินทร์  บ้านโสน หมู่ 13 ต นอกเมือง และหมู่บ้านถาวรนิเวศน์   พร้อมทั้งได้จัดกระสอบทรายเพื่อช่วยเหลือประชาชนโดยประชาชนสามารถไปขอรับได้ที่องค์การบริหารส่วนจังหวัดสุรินทร์ 

- มูลนิธิอาสาเพื่อนพึ่ง(ภาฯ)ยามยาก สภากาชาดไทย  จะนำถุงยังชีพพระราชทานเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยในพื้นที่ อ.สังขะ จำนวน 2,000 ชุด ในวันที่ 22 กันยายน 2556 ณ ที่ว่าการอำเภอสังขะ

6. แขวงการทางจังหวัดสุรินทร์ได้จัดตั้งศูนย์ป้องกันและแก้ไขภัยพิบัติโดยมีศูนย์บัญชาการอยู่ที่สำนักงานแขวงการ                ทางสุรินทร์  และศูนย์ย่อยประจำหมวดการทางทุกหมวด  โดยจัดส่งเจ้าหน้าที่ติดตั้งป้ายอำนวยความปลอดภัยบริเวณที่เกิดน้ำท่วม  พร้อมกับให้ความช่วยเหลือแนะนำเส้นทางที่วิกฤติแก่ผู้ใช้ทาง   สำหรับประชาชนที่มีปัญหาการใช้เส้นทาง  ติดต่อได้ที่ผู้อำนวยการแขวงการทางสุรินทร์ หมายเลขโทรศัพท์ 083-288599,044-511381  ถนนที่ต้องปิดเส้นทางการจราจร ดังนี้

-  ทางหลวงหมายเลข 2077 ตอนสังขะ- บัวเชต กิโลเมตรที่ 49 -50 ระดับน้ำสูง 120  เซนติเมตร การจราจรผ่านไม่ได้ 

-  ทางหลวงหมายเลข 226 ตอนสุรินทร์-ศีขรภูมิ กิโลเมตรที่ 2-4 ระดับน้ำสูง 60  เซนติเมตร  การจราจรผ่านไม่ได้  และ กิโลเมตรที่16 คอสะพานขาดการจราจรผ่านไม่ได้

-  ทางหลวงหมายเลข 277 ตอนสุรินทร์-สังขะ กิโลเมตรที่ 5-6 ระดับน้ำสูง 40 เซนติเมตร  การจราจรผ่านได้ 1 ช่องจราจร 

สรุปสถานการณ์อุทกภัยช่วงวันที่ 18-20 กันยายน 2556

สถานการณ์อุทกภัย

-  จังหวัดสุรินทร์ได้รับอิทธิพายุดีเปรสชั่นตั้งแต่วันที่ 18 กันยายน 2556 เวลา 20.30 น.เป็นต้นมา ทำให้เกิดฝนตกหนักต่อเนื่องมีผลทำให้หลายพื้นที่ได้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำไหลหลาก ในเบื้องต้นอำเภอที่ได้รับความเสียหายมีราษฎรได้รับความเดือดร้อนเป็นวงกว้าง  จำนวน 12 อำเภอ ได้แก่ อ.เมืองสุรินทร์ สังขะ ศรีณรงค์  อ.จอมพระ  เขวาสินรินทร์  ศีขรภูมิ  ท่าตูม  รัตนบุรี  สำโรงทาบ ลำดวน บัวเชด กาบเชิง สนม และเขตชุมชนเมือง ได้แก่ เทศบาลเมืองสุรินทร์  เกิดน้ำท่วมฉับพลันทุกเขตชุมชน มีระดับน้ำสูงเฉลี่ย 20-50 เซนติเมตร เขตเทศบาลสังขะ อ.สังขะ เขตเทศบาลระแงง  อ.ศีขรภูมิ เขตเทศบาลจอมพระ  อ.จอมพระ เขตเทศบาลอำเภอลำดวน อ.ลำดวน

-  สำหรับด้านปริมาณน้ำฝน  มีฝนตกหนักมาตั้งแต่คืนวันที่ 18 กันยายน เป็นต้นมาและฝนตกหนักมากอย่างต่อเนื่องจนถึงวันที่ 19 กันยายน 2556 ขณะนี้(20 ก.ย.56) สภาพอากาศช่วงเช้ามีฝนตกเล็กน้อย ช่วงบ่ายฝนตกปายกลางถึงหนัก ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยช่วงวันที่ 18-19 กันยายน ฝนเฉลี่ยทั้ง 2 วัน (17 อำเภอ 18 สถานี) วัดได้ 242.5 มม.

-  ปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำและฝายชลประทานขนาดกลางในเขต จ.สุรินทร์ ทั้ง ๑๘  แห่ง ในภาพรวมขณะนี้มีปริมาณน้ำที่มีอยู่ปัจจุบันวัดได้ 175.393 ล้านลบ.ม. (120.89%) (ความจุทั้งหมด  ๑๔๕.๐๗๙ ล้าน ลบ.ม.)  อ่างฯ ที่ต้องเฝ้าระวังในช่วงนี้ซึ่งได้ล้นตลิ่งแล้ว  ได้แก่  อ่างฯห้วยเสนง,อ่างฯอำปึล อ่างฯ,ห้วยลำพอก,อ่างฯห้วยระหาร,อ่างฯห้วยตาเกาว์,อ่างห้วยเชิง,อ่างฯ ห้วยบ้านจรัส,อ่างฯบ้านทำนบ,อ่างฯบ้านเกาะแก้ว,อ่างฯห้วยขนาดมอญ,อ่างฯห้วยกาละเวก สำหรับปริมาณน้ำในแม่น้ำสายหลัก/สายรอง ที่สำคัญได้แก่ แม่น้ำมูล จุดสถานีตรวจวัดน้ำ M 4 (สะพานบ้านพงสวาย ต.ท่าตูม อ.ท่าตูม) ระดับน้ำปัจจุบัน วัดได้ 3.38 เมตร (ระดับตลิ่ง 6.30 เมตร) และลำน้ำชีน้อย จุดสถานีตรวจวัดน้ำ M26A (สะพานสุรินทร์-อ.กระสัง)ระดับน้ำปัจจุบัน 7.90 ม.          (ระดับตลิ่ง 6.90 ม.) ล้นตลิ่ง 1 ม.



การดำเนินการให้ความช่วยเหลือ

1.  จังหวัดสุรินทร์ได้ประชุมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อรับทราบสถานการณ์และให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ประสบภัยในวันที่ 19 กันยายน 2556 เวลา 10.30-12.00 น. ณ ศาลากลางจังหวัดสุรินทร์   และแจ้งให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องระดมสรรพกำลัง  เรือท้องแบน  เครื่องสูบน้ำ เครื่องอุปโภค-บริโภค  เข้าให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยอย่างรวดเร็ว ทั่วถึง

2.  จังหวัดได้จัดตั้งศูนย์ประสานงานรับแจ้งสถานการณ์และการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัย  ณ ห้องสุรินทร์ภักดี ศาลากลางจังหวัดสุรินทร์   โดยมีเจ้าหน้าที่ สนง.ปภ.สุรินทร์ ประจำศูนย์

3.  จัดตั้งโรงครัวประกอบเลี้ยง  และแจกจ่ายให้ผู้ประสบภัยในเขตเทศบาลเมืองสุรินทร์ และตำบลนอกเมืองที่ได้รับความเดือดร้อน  จำนวน 4 จุด  ได้แก่

-  จุดที่ 1 สถานีกาชาดที่  1 จังหวัดสุรินทร์

-  จุดที่ 2 อาคารงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย  สนง.เทศบาลเมืองสุรินทร์

-  จุดที่ 3 อบต.นอกเมือง

-  จุดที่ 4  มูลนิธิจิ้บเต็กเซงตึ้ง

4.  ขณะนี้ได้จัดตั้งศูนย์พักพิงเพื่อช่วยผู้ประสบภัยแล้ว  ดังนี้

-  อ.เมืองสุรินทร์   ณ สโมรสรจังหวัดทหารบกสุรินทร์   โดยมีช่าวบ้านจากบ้าน สะโน  ต.นอกเมือง  หมู่บ้านจัดสรรนีโอแลน  แฮฟปี้แลน ซิตี้แลน ต.นอกเมือง  อพยพมาแล้วจำนวน 100 คน

-  อ.สังขะ   ณ ที่ว่าการอำเภอสังขะ   มีผู้อพยพประมาณ 40 คน

5.  เครื่องมือ-อุปกรณ์  เครื่องอุปโภค-บริโภค ในการช่วยเหลือผู้ประสบภัย

-  สนง.ปภ.จ.สร  ได้นำเรือท้องแบนเข้าช่วยเหลือผู้ประสบภัยประจำจุดต่างๆ ได้แก่ อบต.คอโค 1 ลำ,อบต.นอกเมือง 2 ลำ ,ทต.ลำดวนสุรพินท์ 2 ลำ

- จังหวัดทหารบกนำรถบรรทุกเพื่อขนย้ายผู้ประสบภัยในเขตเทศบาลจำนวน 8 คัน พร้อมกำลังพล 100 นาย

- ตชด.21,214,นพค.54,กรมทหารราบที่ 23 กองพันหารราบที่ 3 ได้นำเรือท้องแบนไปช่วยเหลือราษฎรในพื้นที่ อ.สังขะ

- มูลนิธิเพื่อนพึ่งพายามยาก  จะนำถุงยังชีพพระราชทานช่วยเหลือแก่ผู้ประสบภัยในพื้นที่ อ.สังขะ จำนวน 2,000 ถุง







พื้นที่ประสบอุทกภัยในเบื้องต้น

1.  อ.เมืองสุรินทร์

-  เขตเทศบาลเมืองทุกแห่ง มีระดับน้ำสูง 20-50 เซนติเมตร  หลายๆจุดรถเล็กไม่สามารถผ่านได้

-  เขต  อ.เมืองทุกพื้นที่มีปริมาณน้ำมากและเกิดน้ำไหลหลาก

2.  อ.สังขะ 

-  ม. 1-18  ต.ตาตุ่ม  -  ม.1-13  ต.บ้านจารย์ -  ม.1,3,4,8,14,16 ต.สังขะ   -  ม.1,2,5 ต.บ้านชบ  - ม.1-16 ต.ทับทัน -  ม.5,7,8,9,16  ต.ขอนแตก

3.  อ.ศรีณรงค์

- ม.1-12 ต.ณรงค์  - ม.1-15 ต.ตรวจ  - ม.1-12 ต.ศรีสุข

- ม. 1-12 ต.แจนแวน  - ม.1-11 ต.หนองแวง

4.  อ.จอมพระ

- ม. 1,4,5,6,13 ต.จอมพระ เขตเทศบาลจอมพระ - ม. 1-10 ลุ่มระวี  - ม.8,9,11,12 ต.จอมพระ  - ม.1,4,5,8,9,10 ต.เป็นสุข  - ม.1 ต.บ้านผือ

5.  อ.เขวาสินรินทร์

- ม.1,2,3,7,11 ต.เขวาสินรินทร์  - ม.2,3,4,10 ต.บึง - ม.2,3,4,10 ต.ตากูก    - ม.1,2,4,8 ต.ปราสาททอง  -  ม.3,4 ต.บ้านแร่

6.  อ.ศีขรภูมิ

-  ม. 1,2,3,10,13 ต.ระแงง   (เขตเทศบาลตำบลศีขรภูมิ)- ม.1,3,4,5,6,7,8,9,10,11,12,13,14,15  ต.ระแงง

-  ม.3 ต.ขวาวใหญ่  -  ม.1,2,4,5,9,12,13,14,15 ต.หนองขวาว -  ม.1,3,4,5,9,10 ต.พรมไพร

7.  อ.ท่าตูม

-  ม.4,14,8,9,10,11,13,15  ต.บะ

-  ม.1,2,3,4,5,6,7,8, 10 ต.หนองเมธี

8.  อ.รัตนบุรี

- ม.10 ต.หนองบัวบาน

9.  อ.สำโรงทาบ

- ม.3,4,5,7,8,9,12 ต.สำโรงทาบ   - ม.1-9 ต.หมื่นศรี

- ม.2,5,6,8,10 ต.ประดู่    - ม. 5,6,7,8 หมู่บ้าน ต.เกาะแก้ว

10. อ.ลำดวน

-  ม.1,2,3,10,11 เขตเทศบาลตำบลลำดวนสุรพินท์ ต.ลำดวน  -  ม.1-11 ต.อู่โลก

-  ม.1-4,6-10 ต.ตระเปียงเตีย   -  ม.2-4,6-9 ต.โชกเหนือ

11. อ.บัวเชด

-

12. อำเภอสนม

- 7  ตำบล

13. อำเภอกาบเชิง

-  ต.ด่าน  โคกตะเคียน  แนงมุด กาบเชิง

14.



รวมพื้นที่ประสบภัย  12  อำเภอ 62 หมู่บ้าน






ถนนสายสายสำคัญที่เกิดน้ำท่วมฉับพลัน (แขวงการทางสุรินทร์)

- ถนนแยกเทพธานี   ทางหลวงหมายเลข 214 ตัดกับทางหลวงหมายเลข 226

- ถนนทางหลวงหมายเลข  214 CS.0303 ปราสาท-ช่องจอม.กม. 248+800

- ถนนทางหลวงหมายเลข  214 ตอนปราสาท-ช่องจอม ช่วง  กม. 255+500 กม. 256+000

- ถนนสี่แยกหนองเต่า

- ถนนสาย 2077 ต่อเขตเทศบาล-สังขะ   ช่วงที่เลยแม็คโครไปทางสลักได






ขณะนี้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ลงพื้นที่ตรวจสอบสถานการณ์  และให้ความช่วยเหลือในเบื้องต้นแล้ว