วันจันทร์ที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2557

ผู้ว่าราชการจังหวัดมุกดาหารรับมอบอุปกรณ์กีฬา จากสยามสปอร์ต

ผู้ว่าราชการจังหวัดมุกดาหารรับมอบอุปกรณ์กีฬาและหนังสือ "ฉลองครบรอบ ๔๐ ปี สยามสปอร์ต”จากผู้แทนบริษัท สยามสปอร์ต ซินดิเคท จำกัด (มหาชน) ในโครงการ ๔๐ ปี สยามสปอร์ต พลานุภาพกีฬาโลก ฉลองวาระครบ ๔๐ ปี ของการก่อตั้งบริษัท

วันนี้ (๒๑ เม.ย. ๕๗) เวลา ๑๐.๐๐ น. ณ ห้องประชุม ๒๐๓ ศาลากลางจังหวัดมุกดาหาร นายสกลสฤษฏ์ บุญประดิษฐ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดมุกดาหาร ได้เป็นประธานรับมอบอุปกรณ์กีฬาและหนังสือ จากบริษัท สยามสปอร์ต ซินดิเคท จำกัด (มหาชน)  โดยมีนายพัฒนา กัลยาณลาภ จากร้าน รวมห่อลิ้มกิมจือ ผู้จำหน่ายสิ่งพิมพ์ ในจังหวัดมุกดาหาร เป็นตัวแทนบริษัท สยามสปอร์ต ซินดิเคท จำกัด (มหาชน) เป็นผู้มอบอุปกรณ์กีฬา และหนังสือ ๔๐ ปี ภาพนี้มีเรื่องเล่า

ซึ่งบริษัท สยามสปอร์ต ซินดิเคท จำกัด (มหาชน) ผู้นำสื่อกีฬาครบวงจร จัดกิจกรรมคืนกำไรสู่ชุมชนและสังคม ผ่านกิจกรรมพิเศษที่เชื่อมโยงกับกีฬา ในโครงการ ๔๐ ปี สยามสปอร์ต พลานุภาพกีฬาโลก ฉลองวาระครบ ๔๐ ปี ของการก่อตั้งบริษัท เพื่อสร้างแรงบันดาลใจให้กับเยาชนไทยที่มีฝันและอยากเดินตามรอยนักกีฬาฮีโร่ เติบโตสู่การเป็นนักกีฬาอาชีพที่ประสบความสำเร็จโดยมี บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) เป็นผู้สนับสนุนหลักร่วมด้วย รถยนต์โตโยต้า ไอ-โมบาย รถจักรยานยนต์ฮอนด้า เอสซีจีและเอฟบีที ร่วมสนับสนุนโดยประเดิมจัดกิจกรรมแรกของโครงการด้วย "คนกีฬาเติมฝัน..มอบความสุข ๗๗ จังหวัดทั่วไทย” เดินทางมอบหนังสือ ๔๐ ปี ภาพนี้มีเรื่องเล่า และอุปกรณ์กีฬา อาทิ ลูกฟุตบอล ฟุตซอล บาสเก็ตบอส วอลเลย์บอล ฯลฯ ให้แก่ โรงเรียนและสถานศึกษาใน ๗๗ จังหวัดทั่วประเทศไทยในระหว่างวันที่ ๑ เม.ย. – ๑๒ พ.ค. ๕๗

หลังจากการรับมอบ ผู้ว่าราชการจังหวัดมุกดาหาร ได้กล่าวขอบคุณตัวแทนบริษัท สยามสปอร์ต ซินดิเคท จำกัด (มหาชน) ที่ได้เล็งเห็นและสนับสนุนเยาวชนไทยที่มีฝันอยากเดินตามรอยนักกีฬาฮีโร่รุ่นพี่แต่ยังขาดอุปกรณ์ในการฝึกซ้อม ซึ่งหากได้รับอุปกรณ์ในการฝึกซ้อมในวันนี้ อาจสามารถสร้างแรงบันดาลใจและจะประสบความสำเร็จได้ในวันข้างหน้าต่อไป



พิพัฒน์ เพชรสังหาร ส.ปชส.มุกดาหาร/ข่าว
สุระณรงค์ อ่อนสนิท ส.ปชส.มุกดาหาร/ภาพ

ปศุสัตว์จังหวัดมุกดาหารจัดโครงการวางแผนครอบครัวสุนัขและแมวเพื่อแก้ไขปัญหาสุนัขและแมวจรจัดอย่างยั่งยืน

นายชูยศ  เชาว์ศิริกุล ปศุสัตว์จังหวัดมุกดาหาร เปิดเผยว่า กรมปศุสัตว์ (สำนักควบคุม ป้องกันและบำบัดโรคสัตว์) จัดให้มีโครงการวางแผนครอบครัวสุนัขและแมวเพื่อแก้ไขปัญหาสุนัขและแมวจรจัดอย่างยั่งยืน ประจำปีงบประมาณ ๒๕๕๗ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อควบคุมจำนวนประชากรสัตว์พาหะนำโรคและลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคพิษสุนัขบ้า แก้ไขปัญหาสุนัขที่ผู้เลี้ยงไม่ต้องการ ถูกนำไปซื้อขายแลกเปลี่ยนเพื่อส่งออกไปยังประเทศเพื่อนบ้าน และเพื่อให้เกิดความร่วมมือสร้างเครือข่ายระหว่างกรมปศุสัตว์ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ชมรม สมาคมและผู้เลี้ยงสุนัขและแมวในการวางแผนครอบครัวสุนัขและแมวที่เหมาะสมและผู้เลี้ยงสามารถดูแลได้ไม่เกิดปัญหาการทิ้งให้เป็นสุนัขแมวจรจัด

ทั้งนี้ สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดมุกดาหาร กำหนดปฏิบัติงานในพื้นที่อำเภอนิคมคำสร้อย อำเภอดอนตาล อำเภอหนองสูง โดยบริการผ่าตัดทำหมันสุนัขและแมว ฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า และให้ความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพสัตว์แก่เกษตรกร ระหว่างวันที่ ๒๑ – ๒๔ เมษายน ๒๕๕๗ ผู้สนใจสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดมุกดาหาร โทร. ๐-๔๒๖๔-๐๐๙๖-๗



สุภาวดี อัมไพพันธ์ ส.ปชส.มุกดาหาร/ข่าว
ทศพร โล่ห์เงิน นักศึกษาฝึกงาน/ข่าว

ทหารสนธิกำลังตำรวจ ตม. จับรถขนไม้พะยูง 3 คัน มูลค่ากว่า 2 ล้านบาท

พ.อ.ยุทธนา ม่วงพูลสวาสดิ์ รอง ผอ.กอ.รมน.มุกดาหารได้รับรายงานว่า จะมีแก๊งค้าไม้พะยูงข้ามชาติลักลอบขนไม้พะยูงมากับรถ กระบะ และรถตู้  เพื่อส่งออกขายต่างประเทศ บริเวณริมฝั่งโขงบ้านบางทรายใหญ่ ตำบลบางทรายใหญ่ อำเภอเมือง จังหวัดมุกดาหาร จึงสั่งการให้  ร้อยเอก นภดล ใจคง หัวหน้าชุดปราบปราม ประสาน พ.ต.อ.สังคม ตัดโส  ผู้กำกับตำรวจตรวจคนเข้าเมืองมุกดาหาร   ชุดเคลื่อนที่เร็วกองกำลังสุรศักดิ์มนตรี  ด่านตรวจสัตว์ป่าไซเตสมุกดาหาร ได้แบ่งกำลังออกเป็น 2 ชุด ชุดแรกไปดักที่ถนน มุกดาหาร – ธาตุพนม ชุดที่ 2 ไปดักที่ ถนนบายพาสเลี่ยงเมืองมุกดาหาร

จนกระทั่งเจ้าหน้าที่ชุดที่หนึ่ง พบรถกระบะโตโยต้า สีบรอนท์ทอง หมายเลขทะเบียน  บร – 978 กรุงเทพมหานคร และรถกระบะยี่ห้ออีซูซุ สีขาว หมายเลขทะเบียน กท – 7504 กรุงเทพมหานคร  ซึ่งรถกระบะทั้งสองคันได้ขับวิ่งตามกันมาบน ถนนมุกดาหาร – ธาตุพนม  ท่าทางมีพิรุธ ตรงตามที่สายรายงาน  เจ้าหน้าที่จึงให้สัญญาณหยุดเพื่อขอตรวจค้น  คนขับรถกระบะทั้งสองคันได้ขับรถหนีเจ้าหน้าที่  และได้จอดรถกระบะคันดังกล่าวไว้ข้างทาง แล้ววิ่งเข้าป่าข้างทางไป  เจ้าหน้าที่เข้าตรวจสอบรถกระบะทั้ง 2 คัน พบไม้พะยูงท่อนในรถกระบะโตโยต้า จำนวน 12 ท่อน และรถกระบะอีซูซุ จำนวน 15 ท่อน  ส่วนเจ้าหน้าที่ชุดที่ 2  ได้แจ้งทางวิทยุว่า  ให้ช่วยสกัดรถตู้ยี่ห้อโตโยต้า สีบรอนเงิน  หมายเลขทะเบียน  อร – 731 กรุงเทพมหานคร   วิ่งมาทางถนนบายพาสเลี่ยงเมือง  โดยมุ่งหน้าไปบ้านบางทรายใหญ่  โดยเจ้าหน้าที่ชุดที่ 2 กำลังไล่ติดตาม รถตู้คันดังกล่าว  จนกระทั่งคนขับรถตู้เห็นเจ้าหน้าที่ไล่ติดตามมา  แล้วจอดรถตู้ทิ้งแล้วหลบหนีไป เจ้าหน้าที่เข้าทำการตรวจค้นรถตู้  พบไม้พะยูง จำนวน 73 ท่อน   เจ้าหน้าที่จึงร่วมกันตรวจยึดรถไม้พะยูงทั้ง 3 คัน  จำนวน 100 ท่อน  ไม้พะยูงมีสภาพใหม่สด  จึงได้แจ้งข้อกล่าวหา กระทำผิด พ.ร.บ. ป่าไม้ พ.ศ.2484  มาตรา 11 ฐานมีไม้หวงห้ามโดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าหน้าที่  มาตรา 69 ฐานมีไม้หวงห้ามอันยังมิได้แปรรูปไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าหน้าที่   คาดว่าไม้พะยูงทั้ง 3 คันเตรียมส่งไปขายให้กับประเทศเพื่อนบ้าน  จากนั้นเจ้าหน้าที่ได้ทำการยึดรถทั้ง 3 คนพร้อมไม้พะยูง ของกลาง ส่งพนักงานสอบสวน สภ.เมืองมุกดาหาร  เพื่อติดตามหาเจ้าของรถทั้ง 3 คัน มาดำเนินคดีตามกฎหมายต่อไป



พิพัฒน์ เพชรสังหาร
ส.ปชส.มุกดาหาร/ข่าว

ทหาร สนธิกำลัง กอ. รมน. ตรวจยึดไม้พะยูงจำนวน120ท่อน รถยนต์2คัน ในบ้านร้าง

เมื่อ วันที่ 21 เมษายน 57 เวลา 03.00น. พันเอกยุทธนา  ม่วงพูลสวาสดิ์  รองผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในจังหวัดมุกดาหาร ได้รับรายงานจากสายว่า  มีการลักลอบขนไม้พะยูงมาเก็บไว้ที่บ้านร้างไม่มีเลขที่  ใกล้กับโรงงานน้ำตาล  บ้านหนองหอย – ป่าหวาย ตำบลบางทรายใหญ่ อำเภอเมือง จังหวัดมุกดาหาร  เพื่อรอส่งไปขายประเทศเพื่อนบ้าน  จึงได้สั่งการให้ ร้อยเอก นภดล  ใจคง  หัวหน้าชุดปราบปราม ประสาน ร.อ.ณัฐวุฒิ  มาฆะเซ็น  ผบ.ร้อยชุดเคลื่อนที่เร็ว กองกำลังสุรศักดิ์มนตรี  นำกำลังไปที่ได้รับแจ้ง  ที่บ้านร้างไม่มีเลขที่   พบชายประมาณ 2-3 คนอยู่บนบ้านร้าง  แต่กลุ่มชายดังกล่าวเห็นเจ้าหน้าที่ได้กระโดดลงจาบ้านร้าง และวิ่งเข้าป่าไปกับความมืด  เจ้าหน้าที่ได้ทำการตรวจสอบบริเวณโดยรอบบ้านร้าง พบรถเก๋งยี่ห้อ ฮอนด้า แจ้ส สีขาว ไม่ติดแผ่นป้ายทะเบียน ตรวจสอบในรถพบไม้พะยูงจำนวน 3 ท่อน และห่างออกไปพบรถกระบะโตโยต้า วีโก้ สีบรอนท์ หมายเลขทะเบียน บค – 9073 มุกดาหาร รถกระบะดังกล่าวมีสภาพรถดัดแปลงโดยเจาะทะลุถึงกระบะหลัง เพื่อใช้ในการขนไม้พะยูง    

จากนั้นเจ้าหน้าที่ได้กระจายกำลังตรวจสอบบริเวณบ้านร้างพบไม้พะยูงกองรวมกันเป็นจุด ๆ รวม 5 จุดกระจายโดยรอบบ้านร้างหลังดังกล่าว  ตรวจนับได้ทั้งหมดรวม 120 ท่อน / เหลี่ยม  คิดมูลค่าประมาณ 1 ล้านบาท ไม้พะยูงทั้งหมดคาดว่า  จะเตรียมส่งออกไปขายยังประเทศเพื่อบ้าน  ซึ่งจุดที่พบไม้พะยูงห่างจากริมฝั่งแม่น้ำโขงประมาณ 2 กิโลเมตร   จากนั้นเจ้าหน้าที่จึงได้ทำการตรวจยึดไม้พะยูง พรอมรถยนต์ของกลางทั้งหมดส่งพนักงานสอบสวน สภ. เมืองมุกดาหาร  เพื่อติดตามหาเจ้าของรถยนต์ทั้ง 2 คัน มาดำเนินคดีตามกฎหมายต่อไป



พิพัฒน์ เพชรสังหาร
ส.ปชส.มุกดาหาร/ข่าว

ป.ป.ช.จัดประกวดสื่อภาพเคลื่อนไหว “Young Gen Anti-Corruption”

สำนักงาน ป.ป.ช. จัดโครงการประกวดสื่อภาพเคลื่อนไหว "Young Gen Anti-Corruption” โดยมีวัตถุประสงค์สำคัญเพื่อเปิดโอกาสให้กลุ่มเป้าหมายในกลุ่มนักเรียนระดับมัธยมศึกษา นิสิต นักศึกษา ในระดับอุดมศึกษา และประชาชนทั่วไปที่มีความรู้ความสามารถทางด้านการสร้างสรรค์สื่อ ร่วมส่งผลงานเข้าประกวดเพื่อกระตุ้นเตือนสังคมและชี้แนะแนวทางในการป้องกันและปราบปรามการทุจริตให้หมดไปจากสังคมไทย ในรูปแบบภาพยนตร์สั้น การ์ตูน แอนิเมชั่น ความยาว 1 – 3 นาที ดูรายละเอียดเพิ่มเติมและดาวน์โหลอดแบบฟอร์มทาง www.nacc.go.th ตั้งแต่บัดนี้จนถึงวันที่ 31 พฤษภาคม 2557



ส.ปชส.ยโสธร/ปิยะนุช ศรีแก่นจันทร์
21 เมษายน 2557

สาธารณสุขศรีสะเกษ จัดอบรมภาษาอังกฤษแก่ผู้ให้บริการนวดไทย เตรียมเข้าสู่ AEC

กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุขโดย โรงพยาบาลขุนหาญ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดศรีสะเกษ เป็นศูนย์ฝึกอบรมด้านการแพทย์แผนไทย เครือข่ายบริการสุขภาพ เขต 10 จัดอบรมภาษาอังกฤษแก่ผู้ให้บริการนวดไทย เพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ตามโครงการ "อบรมเชิงปฏิบัติการหลักสูตรภาษาอังกฤษสำหรับผู้ให้บริการนวดไทย เครือข่ายบริการสุขภาพเขต 10”

วันนี้ (21 เมษายน 2557) ณ ห้องประชุมโรงแรมศรีลำดวน อำเภอเมือง จังหวัดศรีสะเกษ นายแพทย์ประวิ อำพันธุ์ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดศรีสะเกษ เป็นประธานเปิดการอบรม หลักสูตรภาษาอังกฤษสำหรับผู้ให้บริการนวดไทย โดยมีนายวงศ์พัทธ์ คำทองดี นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการพิเศษ พร้อมด้วย เจ้าหน้าที่ วิทยากร และผู้ให้บริการนวดไทยที่เข้ารับการอบรม ให้การต้อนรับ ซึ่งกระทรวงสาธารณสุข ได้มีนโยบายส่งเสริมและฟื้นฟูการแพทย์แผนไทยให้ผสมผสานเข้ากับระบบการแพทย์แผนปัจจุบัน ด้วยกระบวนรักษาพยาบาล ฟื้นฟูสภาพส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค โดยใช้วิธีการทางการแพทย์แผนไทยหลากหลายรูปแบบและวิธีการ เช่น การนวดไทย อบสมุนไพร ประคุมสมุนไพร การฟื้นฟูมารดาหลังคลอด รวมถึงการใช้ยาสมุนไพรไทย ซึ่งเป็นภูมปัญญาและเป็นเอกลักษณ์ของชาติที่มีการสั่งสมและถ่ายทอดต่อกันมายาวนาน โดยพัฒนาให้เป็นส่วนหนึ่งของการรักษาพยาบาลที่รัฐบาลรับรองมาตรฐานในระบบบริการสาธารณสุขทุกระดับ และได้รับการรับรองให้อยู่ในระบบหลักประกันสุขภาพของประเทศ และประเทศไทย เป็นประเทศหนึ่งในสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออเฉียงใต้ หรืออาเซียน มีเป้าหมายในการก้าวไปสู่การเป็นประชาคมอาเซียนในปี พ.ศ. 2558 ซึ่งจะส่งผลให้มีการไหลเวียนอย่างเสรีสำหรับสินค้า บริการ การลงทุน และบุคลากรวิชาชีพต่างๆ การเตรียมความพรอมบุคลากรสู่การเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดในภูมิภาคอาเซียน เพื่อให้เกิดความเข้าใจ และเกิดการปรับตัวให้เข้ากับภาวการณ์ต่างๆ โดยเฉพาะด้านการสื่อสารด้วยภาษากลางของภูมิภาคอาเซียน ซึ่งได้แก่ ภาษาอังกฤษ ตามกำหนดในกฏบัตรสมาคมประชาชาติอาเซียนตะวันออกเฉียงใต้(กฏบัตรอาเซียน) ข้อที่ 34 ระบุว่า "ภาษาที่ใช้ในการทำงานของอาเซียน คือ ภาษาอังกฤษ” (The working language of ASEAN shall be English)

กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข จึงได้กำหนดการจัดฝึกอบรมโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาทักษะการสื่อสารสำหรับบุคลากรผู้ปฏิบัติงานด้านการแพทย์แผนไทยและบุคลากรผู้ให้บริการนวดไทยรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน โดยการประสานงานศูนย์ฝึกอบรมด้านการแพทย์แผนไทย ในภูมิภาคเป็นผู้ดำเนินการอบรม ซึ่งโรงพยาบาลขุนหาญ สำนักงานสาธารณสุข เขต 10 เป็นศูนย์ฝึกอบรมด้านการแพทย์แผนไทย เครือข่ายบริการสุขภาพ เขต 10 ทั้งนี้ เพื่อให้บุคลากรมีความรู้ ทักษะในการใช้ภาษาอังกฤษพื้นฐาน ให้บุคลากรสามารถนำไปปรับใช้ให้เกิดประโยชน์ในการปฏิบัติงานและสนทนากับชาวต่างชาติได้ และเพื่อสร้างความเชื่อมั่น และยอมรับจากผู้ใช้บริการด้านการแพทย์แผนไทยและการนวดไทยต่างชาติ สำหรับการอบรมหลักสูตรภาษาอังกฤษสำหรับผู้ให้บริการนวดไทย ในครั้งนี้ มีบุคลากรผู้ให้บริการด้านการนวดไทย ในหน่วยบริการสาธารณสุข เครือข่ายบริการสุขภาพ เขต 10 ประกอบด้วย จังหวัดอุบลราชธานี ศรีสะเกษ ยโสธร อำนาจเจริญ และจังหวัดมุกดาหาร จำนวนทั้งสิ้น 50 คน เข้าร่วมการอบรม



ข้อมูล / สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดศรีสะเกษ
นายสุรศักดิ์ สร้อยเพชร / ข่าว

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรเขต 11 เร่งให้ความรู้ของ คาร์บอนฟุตพริ้นท์

กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดย สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรเขต 11 เร่งให้ความรู้แก่เกษตรกร ผู้ประกอบการ วิสาหกิจชุมชน และเจ้าหน้าที่ในพื้นที่จังหวัดศรีสะเกษ โดยการจัดสัมมนาเชิงปฎิบัติการ เรื่อง "คาร์บอนฟุตพริ้นท์ผลิตภัณฑ์เกษตร”

วันนี้ (21 เมษายน 2557) ณ ห้องประชุมโรงแรมศรีลำดวน อำเภอเมือง จังหวัดศรีสะเกษ นายวิศิษฐ คูรัตนเวช รองผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ เป็นประธานเปิดการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ เรื่อง "คาร์บอนฟุตพริ้นท์ผลิตภัณฑ์เกษตร” โดยมีนายไพฑูรย์ สีลาพัฒน์ นักวิเคราะห์และแผนชำนาญการพิเศษ สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร เขต.11(สศข.11) พร้อมด้วย เจ้าหน้าที่ หัวหน้าส่วนราชการ และเกษตรกร ผู้ประกอบการ วิสาหกิจชุมชน ให้การต้อนรับ ซึ่งโครงการ "การศึกษา เรื่องการจัดทำคาร์บอนฟุตพริ้นท์สินค้าเกษตรสำคัญ” เป็นโครงการภายใต้การเมืองเกษตรสีเขียว ในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ หนองคาย จันทบุรี พัทลุง ราชบุรี และจังหวัดศรีสะเกษ ซึ่งตามแผนปฏิบัติการ กำหนดมีการจัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการ เรื่อง "คาร์บอนฟุตพริ้นท์ผลิตภัณฑ์การเกษตร” เพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจ ถึงแนวทางการจัดทำคาร์บอนฟุตพริ้นท์สินค้า” และกำหนดการให้มีการสัมมนา 3 ครั้ง โดยครั้งที่ 1 สัมมนาเชิงปฏิบัติการ เรื่อง คาร์บอนฟุตพริ้นท์ผลิตภัณฑ์เกษตร” ครั้งที่ 2 สัมมนาเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การจัดทำคาร์บอนฟุตพริ้นท์ผลิตภัณฑ์เกษตร และครั้งที่ 3 สัมมนาเรื่อง ผลการจัดทำคาร์บอนฟุตพริ้นท์ และแนวทางการลดก๊าชเรือนกระจกสินค้าเกษตร ซึ่งการทำการประเมินการปล่อยก๊าชเรือนกระจกหรือคาร์บอนฟุตพริ้มท์ (Carbon Footprint) ของผลิตภัณฑ์ หมายถึง ปริมาณก๊าชเรือนกระจกที่ปล่อยออกตลอดวัฏจักรชีวิตของผลิตภัณฑ์ ตั้งแต่การได้มาซึ่งวัตถุดิบ การขนส่ง การประกอบชิ้นส่วน การใช้งาน และการจัดการซากหลังใช้งาน พร้อมทั้งมีการแสดงข้อมูลปริมาณคาร์บอนฟุตพริ้นท์บนสินค้า หรือผลิตภัณฑ์ต่างๆ เพื่อเป็นข้อมูลให้บริโภคได้ทราบว่าตลอดวัฎจักรชีวิตของผลิตภัณฑ์มีการปล่อยก๊าชเรือนกระจกออกมาปริมาณเท่าใด ซึ่งจะช่วยผู้บริโภคมีข้อมูลประกอบการตัดสินใจในการเลือกซื้อสินค้า และกระตุ้นให้ผู้ผลิตสินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากยิ่งขึ้น

สำหรับการจัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการ ครั้งที่ 1 เรื่อง "คาร์บอนฟุตพริ้นท์ผลิตภัณฑ์เกษตร” เป็นการให้ความรู้ความสำคัญของคาร์บอนฟุตพริ้นท์ และแนวคิดนากรคำนวณ ตลอดจนกาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ ทั้งนี้ เพื่อสร้างความตระหนักรู้แก่เกษตรถึงผลกระทบของการผลิตสินค้าเกษตรที่มีต่อสิ่งแวดล้อม และผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมที่มีผลกระทบต่อเกษตรกร การจัดทำฉลากคาร์บอนฟุตพริ้นท์ตลอดจนโอกาสทางการตลาดในการผลิตสินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพื่อให้เจ้าหน้าที่ในส่วนภูมิภาค และเกษตรกรในพื้นที่มีความรู้เบื้องต้นถึงแนวคิดในการประเมินคาร์บอน ฟุตพริ้นท์ สมารถประเมินการปล่อยคาร์บอนฟุตพริ้นท์ผลิตภัณฑ์ที่ผลิต และเพื่อให้ได้ข้อมูลคาร์บอน ฟุตพริ้นท์ ที่สามารถนำไปใช้เป็นแนวทางส่งเสริมการลดการปล่อยก๊าชเรือนกระจกในภาคเกษตร โดยมีเกษตรกร ผู้ประกอบการ วิสาหกิจชุมชน และเจ้าหน้าที่ในพื้นที่จังหวัดศรีสะเกษ จำนวนทั้งสิ้น 100 คน เข้าร่วมสัมมนา



ข้อมูล / สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดศรีสะเกษ
นายสุรศักดิ์ สร้อยเพชร / ข่าว

สมาคมฌาปนกิจสงเคราะห์ลูกค้า ธ.ก.ส. สาขาศรีสะเกษฝากเงิน 62 ล้านบาทช่วยเหลือชาวนา

เมื่อ วันที่ 21 เมษายน 2557 สำนักงาน ธ.ก.ส. สาขาศรีสะเกษ นายสนิท ขาวสอาด รองผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ ได้เป็นประธานรับฝากจากสมาคมฌาปนกิจสงเคราะห์ลูกค้า ธ.ก.ส. สาขาศรีสะเกษ ในจังหวัดศรีสะเกษ โดยมีนายเกสร ศรีเสมอ นายกสมาคมฌาปนกิจสงเคราะห์ลูกค้า ธ.ก.ส. สาขาศรีสะเกษสมาคมฌาปนกิจสงเคราะห์ลูกค้า ธ.ก.ส. สาขาศรีสะเกษ นำสมาคมฌาปนกิจสงเคราะห์ลูกค้า ธ.ก.ส. สาขาศรีสะเกษ จำนวน 10 แห่ง เข้าร่วมโครงการกองทุนช่วยเหลือชาว นำเงินไปฝากกับธ.ก.ส. สาขาศรีสะเกษ จำนวน 62 ล้านบาท ทั้งนี้ก็เพื่อเป็นการระดมทุนเงินช่วยเหลือชาวนาและเพื่อเป็นการสนองนโยบาย ของรัฐบาลด้วย

นายศิริพงศ์ อินนุรักษ์ ผู้อำนวยการสำนักงาน ธ.ก.ส.ศรีสะเกษ กล่าวว่า ตามที่รัฐบาล ได้ทำโครงการกองทุนช่วยเหลือชาว ที่เข้าร่วมโครงการรับจำนำข้าวเปลือกกับรัฐบาล นั้น สำหรับสำนักงาน ธ.ก.ส.สาขาศรีสะเกษ ได้มีส่วนราชการ สมาคม องค์กรและประชาชนทั่วไป เข้าโครงการกองทุนช่วยเหลือชาว จนถึงปัจจุบัน ได้ยอดเงินทั้งสิ้นเป็นเงินกองทุนที่ 1 แบบบริจาคจำนวน 202,343 บาท กองทุนที่ 2 แบบไม่มีผลตอบแทน จำนวน 8,153,000 บาท และกองทุนที่ 3 แบบมีผลตอบแทน จำนวน 38,673,651 บาท รวมยอดทั้งสิ้น 47,028,994 บาทและในวันนี้ยังมีสมาคมฌาปนกิจสงเคราะห์ลูกค้า ธ.ก.ส. สาขาศรีสะเกษนำเงินฝากเข้าร่วมโครงการช่วยเหลือชาวนาจำนวน 62 ล้านบาท



ฉัตรชัย พรหมมาศ/ข่าว/ภาพ
สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดศรีสะเกษ

เกิดเหตุเพลิงไหม้บ้านสองยายหลาน วอดทั้หลัง ซึ่งขณะเกิดเหตุเจ้าของบ้านไม่อยู่ และไม่พบผู้บาดเจ็บหรือเสียชีวิตจากเหตุการณ์เพลิงไหม้นี้แต่อย่างใด

เมื่อเวลา 10.30 น. วันที่ 21 เมษายน 2557 ศูนย์วิทยุ 191 ได้รับแจ้งเหตุเพลิงไหม้ที่บ้าน เลขที่ 112 บ้านโนนหล่อ ต.หญ้าปล้อง อ.เมือง จ.ศรีสะเกษ พ.ต.อ.วินัย เกตุพันธุ์ ผกก.สภ.เมืองศรีสะเกษ พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ตำรวจสถานีตำรวจภูธรเมืองศรีสะเกษและเจ้าหน้าดับเพลิง เทศบาลเมืองศรีสะเกษ เจ้าหน้าที่มูลนิธิศรีสะเกษธรรมสถานจึงรีบไปตรวจสอบยังที่เกิดเหตุ ถึงที่เกิดเหตุพบเป็นบ้านไม้ ชั้นเดียวลักษณะมุงด้วยสังกะสี ข้างหลัง ต่อเป็นห้องครัวหลังคามุงด้วยหญ้าแฝก ไฟได้ไหม้วอดหมดทั้งหลังแล้วแต่ก็ยังมีเพลิงไฟที่ยังคงลุกไหม้เสื้อผ้าและ ไม้อยู่เจ้าหน้าที่ดับเพิลงจึงได้ฉีดน้ำสกัดไฟเพื่อไม่ให้เพลิงได้กลับมาลุก ไหม้ขึ้นอีกครั้งและ เพื่อความปลอดภัยกับประชาชนที่มายืนดูเป็นจำนวนมากขณะเกิดเหตุเจ้าของไม่ อยู่บ้าน จากการสอบถามจากชาวบ้านที่อยู่ในเหตุการณ์เล่าว่า บ้านหลังนี้มีนางสุดาพร แจ่มใส อายุ 55 ปี ได้อาศัยอยู่กับหลานชายเพียงแค่สองคน ปกติแล้วนางสุดาพร มีอาชีพทำขนม และจะนำขนมกับลูกชิ้นทอดไปขายในหมู่บ้านและตามตลาดทุกวันในตอนเช้าซึ่ง วันนี้ก็เช่นเคย หลังจากนางสุดาพรและหลานได้ออกไปขายของแล้ว สักพัก เด็กในหมูบ้านได้มาตะโกนร้องเรียกว่าไฟไหม้ชาวบ้านจึงได้วิ่งออกมาดู ครั้งแรกที่เห็นเปลวไฟนึกว่าไฟไหม้กองฟางเพราะไฟนั้นได้ลุกไหม้อย่างรวดเร็ว และรุนแรงพอมาถึงที่เกิดเหตุเห็นบ้านโดนไปไหม้ลุกลามเกือบทั้งหลังชาวบ้าน จึงได้โทรแจ้งเจ้าหน้าที่ดับเพลิงเพื่อมาดับไฟแต่ในระหว่างที่รอรถดับเพิลง ชาวบ้านก็ได้ช่วยกันตักน้ำมาสาดใส่เปลวไฟที่กำลังลุกไหม้แต่เนื่องจากไฟที่ ลุกไฟไหม้อย่างหนักจึงทำให้ไฟลุกลามไหม้ไปทั้งหลังอย่างรวดเร็ว ซึ่งสาเหตุที่ไฟไหม้นั้นคาดว่าน่าจะมาจากที่นางสุดาพรได้จุดทูปไหว้พระหรือ ไม่ก็เทียนทิ้งไว้แล้วลืมดับก่อนออกจากบ้านจึงทำให้เกิดไฟไหม้ขึ้นเพราะบ้าน หลังนี้ยังไม่มีไฟฟ้าใช้ และจากการตรวจสอบของเจ้าหน้าที่แล้ว ไม่พบผู้บาดเจ็บและผู้เสียชีวิตแต่อย่างใด ซึ่งเจ้าหน้าที่ตำรวจ จะสอบสวนหาสาเหตุของการเกิดเพลิงไหม้อีกครั้งอย่างระเอียดต่อไป




ฉัตรชัย พรหมมาศ/ข่าว/ภาพ
สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดศรีสะเกษ

จังหวัดศรีสะเกษระดมคณะทำงานวางแผนขับเคลื่อนงานมาตรฐานชุมชน สู่สังคมอาเซียน

เมื่อเช้าวันนี้ นายเสน่ห์ พรหมโคตร พัฒนาการจังหวัดศรีสะเกษเปิดเผยว่า จังหวัดศรีสะเกษนับเป็นจังหวัดหนึ่งในเขตอิสานตอนล่างซึ่งมีอาณาเขตติดกับชายแดนไทย - กัมพูชา ซึ่งทั้งสองประเทศได้มีการไปมาหาสู่กันอย่างต่อเนื่องและยาวนาน โดยเฉพาะชุมชนต่างๆมีความผูกพันธ์กันอย่างใกล้ชิดตลอดมา ดังนั้นเพื่อเป็นการส่งเสริมระบบมาตรฐานงานชุมชน หรือ มมช. ให้เป็นเครื่องมือส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ และการพัฒนาตนเองของกลไกการพัฒนาชุมชน ซึ่งประกอบด้วย ผู้นำชุมชน กลุ่ม องค์กรชุมชน เครือข่ายองค์กรชุมชน และชุมชน ให้การพัฒนาสู่ความเป็นมาตรฐานการพัฒนาชุมชนและเป็นเครื่องมือในการประเมินความก้าวหน้าของการพัฒนาไปสู่ความเข้มแข็ง ชุมชนพึ่งตนเองได้อย่างจริงจังยั่งยืนและปรับตัวเข้าสู่สังคมชุมชนอาเซียนอย่างเป็นสากล 

นาย  เสน่ห์ พรหมโคตร พัฒนาการจังหวัดศรีสะเกษ เปิดเผยต่อไปว่าคณะทำงานขับเคลื่อนระบบมาตรฐานงานชุมชนยังได้กำหนดกรอบแนวทาง คือต้องสร้างความรู้ความเข้าใจในพื้นที่หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ ส่งเสริมให้เครือข่ายสมัครใจเข้าร่วม และสนับสนุนงานชุนอย่างกว้างขวางต่อไปอีกด้วย



ฉัตรชัย พรหมมาศ/ข่าว/ภาพ
สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดศรีสะเกษ

ศาลจังหวัดอำนาจเจริญทำบุญตักบาตรและทำกิจกรรมสาธารณะประโยชน์เนื่องในโอกาสวันครบรอบ 132 ปี ศาลยุติธรรม

วันนี้ ( 21 เม.ย. 57) เวลา 07.00 น.  ณ  บริเวณหน้าศาลจังหวัดอำนาจเจริญ นายสมนึก  ลิ้มเทียมเจริญ  ผู้พิพากษารองหัวหน้าศาลจังหวัดนครปฐม   ช่วยทำงานชั่วคราวในตำแหน่งผู้พิพากษารองหัวหน้าศาลจังหวัดอำนาจเจริญ เป็นประธานทำบุญตักบาตร เนื่องในวันศาลยุติธรรม ประจำปี 2557 ด้วยในวันที่ 21 เมษายนของทุกปี  สำนักงานศาลยุติธรรมมีมติให้ศาลยุติธรรมทั่วประเทศจัดกิจกรรมสาธารณะประโยชน์พร้อมกันทั่วประเทศ เพื่อร่วมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวฯ  ที่ทรงวางศิลาก่อพระฤกษ์อาคารศาลสถิตยุติธรรม  และเพื่อเป็นการถวายความจงรักภักดีของข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม  ศาลจังหวัดอำนาจเจริญจึงได้จัดกิจกรรมสาธารณะประโยชน์เนื่องในวันศาลยุติธรรม ประจำปี 2557  ขึ้นในวันที่ 21 เมษายน 2557  ด้วยการทำบุญตักบาตรข้าวสาร อาหารแห้ง  แด่พระภิกษุสงฆ์ จำนวน 9 รูป  ณ  บริเวณด้านหน้าอาคารศาลจังหวัดอำนาจเจริญ  โดยมีผู้พิพากษา รองหัวหน้าศาลจังหวัดนครปฐม   ช่วยทำงานชั่วคราวในตำแหน่งผู้พิพากษารองหัวหน้าศาลจังหวัดอำนาจเจริญ  นายวีระวัฒน์  ชื่นวาริน  ผู้ว่าราชการจังหวัดอำนาจเจริญ  หัวหน้าส่วนราชการ  ข้าราชการ ลูกจ้าง   ในสังกัดกระทรวงยุติธรรมรวมถึงองค์กรภาคประชาชนมาร่วมงานเป็นจำนวนมาก นอกจากนี้คณะผู้พากษาและข้าราชการศาลจังหวัดอำนาจเจริญยังได้จัดกิจกรรมสาธารณะประโยชน์ โดยการนำพัดลมติดเพดาน ขนาด 16 นิ้ว จำนวน 8 เครื่อง พร้อมเงินอีกจำนวนหนึ่งที่ผู้พิพากษาหัวหน้าศาล  ผู้พิพากษา และคณะเจ้าหน้าที่ จากศาลจังหวัดอำนาจเจริญร่วมกันสมทบเพื่อมอบให้กับศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัดอำนาจเจริญ ไว้ใช้ในการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ของศูนย์ต่อไป

สำหรับ ศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัดอำนาจเจริญปัจจุบันมีนาง  สุวิมล  ศรไชย    เป็นผู้อำนวยการ มีข้าราชการ พนักงานราชการ พี่เลี้ยง และครูอัตราจ้างเจ้ารวมทั้งสิ้น  จำนวน 47 คน  นักเรียน  195 คน แยกเป็นรับบริการที่บ้านจำนวน 115 คน และบริการศูนย์ฯ จำนวน 80 คน ซึ่งปัจจุบันศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัดอำนาจเจริญยังขาดอุปการณ์การเรียนการสอน และอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ใช้ในการประกอบกิจกรรม เพื่อเสริมสร้างทักษะแก่เด็กนักเรียน  อีกเป็นจำนวนมาก



จรูญ  พิตะพันธ์ / ข่าว

มท.1 ติดตามสถานการณ์ภัยแล้งอุดรธานี

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยตรวจติดตามสถานการณ์ภัยแล้งและสถานการณ์อุบัติเหตุอุบัติภัยช่วงเทศกาลวันสงกรานต์ที่อุดรธานี โดยเฉพาะภัยแล้งที่กำลังคุกคามอย่างต่อเนื่อง กำชับ ผู้ว่าฯ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เร่งบริหารจัดการน้ำช่วยเหลือประชาชน ขณะที่ผู้ว่าราชการจังหวัดอุดรธานียังไม่ได้ประกาศภัยแล้งขอความช่วยเหลือ มั่นใจยังแก้ปัญหาได้

ที่ห้องประชุมสบายดี ชั้น 4 ศาลากลางจังหวัดอุดรธานี เมื่อเวลา 16.00 น.วันนี้ ( 21 เม.ย.57 ) นายจารุพงศ์ เรืองสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เดินทางมาตรวจติดตามสถานการณ์ภัยแล้งและสรุปสถานการณ์ช่วงเทศกาลสงกรานต์ของจังหวัดอุดรธานี โดยมีนายเสนีย์ จิตตเกษม ผู้ว่าราชการจังหวัดอุดรธานี หัวหน้าส่วนราชการ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุดรธานี นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานี นายอำเภอ ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ร่วมประชุมและรายงานสถานการณ์ภัยแล้งและการป้องกันและลดอุบัติเหตุช่วงเทศกาลสงกรานต์ ปี2557

นายเสนีย์ จิตตเกษม ผู้ว่าราชการจังหวัดอุดรธานี กล่าวว่า ผลการดำเนินงานป้องกันและลดอุบัติเหตุช่วงเทศกาลสงกรานต์ปีนี้ ได้ผลเป็นที่น่าพอใจจากการที่ได้บูรณาการกับภาคีเครือข่าย จนทำให้ยอดผู้เสียชีวิตลดลง แต่ยอดผู้บาดเจ็บและอุบัติเหตุเพิ่มขึ้น สาเหตุมาจากเมาสุรา ขับรถจักรยานยนต์ ซึ่งจะต้องมีการบูรณาการความร่วมมือกันต่อไปเพื่อการป้องกันอย่างจริงจังและยั่งยืน

ในส่วนของสถานการณ์ภัยแล้งนั้น จังหวัดอุดรธานีได้รับรายงานจากอำเภอโนนสะอาดและอำเภอศรีธาตุว่าได้เกิดสถานการณ์ภัยแล้งในพื้นที่ โดยอำเภอศรีธาตุมีพื้นที่ประสบภัย 3 ตำบล 36 หมู่บ้าน ราษฎรประสบภัย 8,324 ครัวเรือน 13,209 คน อำเภอโนนสะอาด มีพื้นที่ประสบภัย 4 ตำบล 13 หมู่บ้าน ราษฎรได้รับความเดือดร้อน 1,135 ครัวเรือน 4,789 คน ซึ่งอำเภอ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และหน่วยงานทหารในพื้นที่ได้ให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยตามพื้นที่รับผิดชอบที่ร้องขอ ได้แก่ แจกจ่ายน้ำในภาชนะเก็บกักน้ำกลางของหมู่บ้านและชุมชน เจาะบ่อบาดาล ขุดลอกแหล่งน้ำสาธารณะเดิม ขุดลอกอ่างเก็บน้ำ พร้อมกับปฏิบัติการฝนหลวงช่วยเหลือพื้นที่การเกษตรเติมน้ำให้กับอ่างเก็บน้ำต่างๆในพื้นที่ และจากการติดตามสถานการณ์น้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ในพื้นที่จังหวัดอุดรธานี 15 แห่ง พบว่าปริมาณน้ำในอ่างเก็บกักน้ำได้ 275.830 ล้านลูกบาศก์เมตร ขณะนี้มีน้ำในอ่างเก็บกัก 85. 305 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็น 30.56 % เมื่อเทียบกับปริมาณน้ำปี 2556 และปีนี้(2557 )มีปริมาณน้ำในอ่างมากกว่าปีที่ผ่านมาคิดเป็น 16.36 % สำหรับการแก้ไขปัญหาด้านการเกษตร จังหวัดอุดรธานีได้นำนโยบายรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยมาดำเนินการจัดโซนนิ่งทางการเกษตร จึงไม่มีปัญหาเรื่องการใช้น้ำ จังหวัดอุดรธานีจึงยังไม่ได้มีการประกาศเป็นเขตพื้นที่ให้การช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน (ภัยแล้ง) เนื่องจากยังสามารถแก้ไขปัญหาได้

นายจารุพงศ์ เรืองสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงหมาดไทย กล่าวว่า ตนเองได้รับมอบหมายจากนายกรัฐมนตรี ซึ่งห่วงใยความเป็นอยู่ของประชาชนในพื้นที่ภาคอีสาน โดยเฉพาะภัยแล้ง จึงอนุมัติงบ 350,000 ล้านบาท แก้ไขปัญหาต้นน้ำ กลางน้ำและปลายน้ำ ซึ่งการให้ความช่วยเหลือพื้นที่ที่ประสบภัยแล้งนั้น จังหวัดจะต้องดำเนินการอย่างเต็มที่ และมีการบริหารจัดการน้ำเพื่อการอุปโภคและบริโภคต้องไม่ขาดแคลน และมีเพียงพอตลอดทั้งปี ขณะเดียวกันน้ำทำการเกษตรก็ว่าไปตามสภาพกับการปลูกพืชในการใช้น้ำอย่างเหมาะสม




ทีมข่าว ส.ปชส.อด. ศรีภูมิ ทองใหญ่ ณ อยุธยา ข่าว/ภาพ
สุดารัตน์ สีดาคำ /กรรณิการ์ หล้าคอม นศ.ฝึกงาน / ภาพนิ่ง

สมาคมตาบอดแห่งประเทศไทยจัดงานสมัชชาคนตาบอดแห่งชาติครั้งที่ 17 ที่อุดรธานี

สมาคมตาบอดแห่งประเทศไทยจัดสมัชชาคนตาบอดแห่งชาติครั้งที่ 17 ระหว่างวันที่ 20 – 23 เมษายน 57 หวังจัดงานยกระดับคุณภาพชีวิตคนตาบอด พร้อมพัฒนาศักยภาพคนตาบอดไทยสู่สากล โดยมีกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์และเทศบาลนครอุดรธานี ร่วมเป็นเจ้าภาพ เทปอ่าน ที่โรงแรมนภาลัย อำเภอเมืองอุดรธานี เช้าวันนี้ ( 21 เม.ย.57)นายพุฒิพัฒน์ เลิศเชาวสิทธิ์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เป็น ประธานเปิดงานสมัชชาคนตาบอดแห่งชาติครั้งที่ 17

นายต่อพงศ์ เสลานนท์ นายกสมาคมคนตาบอดแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ทุกปีในสัปดาห์ที่ 3 ของเดือนเมษายน สมาคมคนตาบอดแห่งประเทศไทยได้จัดประชุมใหญ่ของสมาคมฯ เรียกว่าสมัชชาคนตาบอดแห่งชาติ โดยมีสมาชิกคนตาบอดที่เป็นตัวแทนในแต่ละจังหวัดเข้าร่วมประชุมปรึกษาหารือ ตลอดจนแลกเปลี่ยนความรู้ร่วมกัน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้นำคนตาบอดและผู้ที่เกี่ยวข้องจากทั่วประเทศ ได้เข้าใจถึงสาระสำคัญของการจัดตั้งศูนย์บริการคนพิการตามระเบียบคณะกรรมการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตเป็นคนพิการแห่งชาติว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับศูนย์บริการคนพิการ พ.ศ.2556 เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นถึงโอกาสของการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนตาบอดที่อาศัยศูนย์คนพิการ เป็นกลไกลสำคัญในการทำสิทธิให้เป็นจริง เพื่อจัดประชุมเชิงปฏิบัติการเวริ์ตช๊อป การเพิ่มทักษะการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารและการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนตาบอดด้วยการสร้างงานสร้างรายได้ เพื่อจัดสมัชชาคนตามบอดสาขาสมัชชาคนตาบอดแห่งประเทศไทยรวม 11 สาขา ตลอดจนหารือ กำหนดมาตรการ และร่วมกันขับเคลื่อน ผลักดัน คุณภาพชีวิตคนตาบอดไทย ทั้งนี้สถิติจากฐานข้อมูลกลาง ณ เดือนมีนาคม 2557 ยอดคนพิการทุกประเภทในประเทศไทยมี 1,500,319 ราย พบว่ามีคนตาบอดมากถึง 165,701 ราย ซึ่งมีแนวโน้มมากขึ้นทุกปี

การจัดงานได้รับความร่วมมือจาก สำนักงานส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติในฐานะที่เป็นองค์กรหลักในการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนพิการและเป็นตัวแทนของรัฐบาลในนามกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เทศบาลนครอุดรธานีในฐานะเจ้าบ้านที่ยินดีให้ความร่วมมือในการทำให้เกิดศูนย์คนพิการ ในการใช้การช่วยเหลือในการดำรงชีวิตขั้นพื้นฐาน ให้ได้รับสิทธิประโยชน์และสวัสดิการตามที่กำหนด นอกจากนี้ยังได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานอื่น เช่นมณฑลทหารบกที่ 24 สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดอุดรธานี



ทีมข่าว ส.ปชส.อด. ศรีภูมิ ทองใหญ่ ณ อยุธยา ข่าว/ภาพ
กรรณิการ์ หล้าคอม นศ.ฝึกงาน / ภาพนิ่ง

อุดรธานีจัด 2 กิจกรรมใหญ่ เพื่อเฉลิมฉลอง 121 ปี อุดรธานี

จังหวัดอุดรธานีร่วมกับภาคีเครือข่ายหน่วยงานภาครัฐและสถาบันการศึกษาจัดงานมหกรรมเกษตรอินทรีย์ 121 ปีอุดรธานี 24-26 เมษายน 2557 ณ ยู ดี ฮอล์ ศูนย์การค้า ยูดีทาวน์ อำเภอเมืองอุดรธานี และจัดแข่งขันกีฬาจักรยานเฉลิมฉลอง 121 ปี จังหวัดอุดรธานี ใจเกินร้อย ครั้งที่ 2 ในวันที่ 3-4 พฤษภาคม 2557

เช้าวันนี้ ( 21 เม.ย. 57 ) ที่ห้องประชุมมุขมนตรี โรงแรมเจริญโฮเต็ล นายเสนีย์ จิตตเกษม ผู้ว่าราชการจังหวัดอุดรธานี พร้อมด้วยนายสุขพล อินตาพรหม เกษตรและสหกรณ์จังหวัดอุดรธานี นายธนาดร พุทธรักษ์ นายกสมาคมกีฬาจังหวัดอุดรธานี นายชฎาลม วงศ์ด้วง ผู้อำนวยการศูนย์การท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดอุดรธานี และ พลตรีธัญญา ธัญญพันธ์ ประธานชมรมจักรยานจังหวัดอุดรธานี ร่วมแถลงข่าว การจัดงานมหกรรมเกษตรอินทรีย์ 121 ปี อุดรธานี และ การจัดการแข่งขันจักรยานเฉลิมฉลอง 121 ปี จังหวัดอุดรธานีใจเกินร้อย ครั้งที่ 2 ซึ่งจังหวัดอุดรธานีร่วมกับหน่วยงานในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดอุดรธานี สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดอุดรธานี สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดอุดรธานี วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีอุดรธานี และสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดอุดรธานี และศูนย์การกีฬาแห่งประเทศไทย จังหวัดอุดรธานี จัดขึ้นระหว่างวันที่ 24-26 เมษายน 2557 เพื่อเป็นการปลุกกระแสให้เกษตรกร ผู้ผลิตและผู้บริโภคตื่นตัวในการใส่ใจสุขภาพ พร้อมส่งเสริมตลาดเกษตรอินทรีย์ให้เป็นที่รู้จักมากยิ่งขึ้น กอปรกับในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯทรงมีพระชนมพรรษา 87 พรรษาจังหวัดอุดรธานีจึงคัดเลือกเกษตรกรดีเด่นประจำปี 2557เพื่อประกาศยกย่องเชิดชูเกียรติด้วยการมอบโล่รางวัลเกษตรกรดีเด่น

นอกจากนี้ในงานได้จัดให้มีนิทรรศการวิถีเกษตรอินทรีย์ การแสดงพื้นบ้าน การเสวนาแลกเปลี่ยนความรู้ด้านการเกษตร อาทิ ทำไมผู้ว่าฯเสนีย์ จึงทำเกษตร 1 ไร่ 1 แสน ชาวนาเงินล้าน ,โครงการ 1 ไร่ได้ 1 แสน ,ผลกระทบต่อสุขภาพจากการรับประทานอาหารที่มีสารพิษตกค้าง,การรณรงค์ลดการใช้สารเคมีในการทำการเกษตรอินทรีย์ เยาวชนรุ่นใหม่ใส่ใจเกษตรอินทรีย์ ถ้าอุดรธานีเป็นเมืองเกษตรอินทรีย์แล้วชาวอุดรธานีจะได้ประโยชน์อะไร” และการออกร้านจำหน่ายสินค้าเกษตรปลอดภัยและสินค้าเกษตรอินทรีย์จาก 20 อำเภอในจังหวัดอุดรธานี

สำหรับการแข่งขันกีฬาจักรยานเฉลิมฉลอง 121 ปี จังหวัดอุดรธานี ใจเกินร้อย ครั้งที่ 2 กำหนดจัดขึ้นระหว่างวันที่ 3-4 พฤษภาคม 2557 เส้นทางการแข่งขันถนนอุดรธานี – หนองคาย ทั้งประเภทบุคคล และประเภททีม และเพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวของจังหวัดอุดรธานี นายเสนีย์ จิตตเกษม ผู้ว่าราชการจังหวัดอุดรธานี พร้อมด้วยหน่วยงานภาครัฐและเอกชน ได้จัดให้มีการปั่นจักรยานชมเมืองอุดรธานี เริ่มต้นที่หน้าอนุสาวรีย์กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม ศาลเจ้าปู่ย่า วัดโพธิสมภรณ์ พระตำหนักหนองประจักษ์ศิลปาคม ตลาดผ้านาข่า และจัดคอนเสิร์ตศิลปินชื่อดังจากทั่วฟ้าเมืองไทย สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่ ศูนย์การกีฬาแห่งประเทศไทย จังหวัดอุดรธานี โทรศัพท์ 042-243268



ทีมข่าว ส.ปชส.อด.ศรีภูมิ ทองใหญ่ ณ อยุธยา ข่าว/ภาพ
สุดารัตน์ สีดาคำ นศ.ฝึกงาน / ภาพนิ่ง

ผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรี ติดตามผลการดำเนินโครงการตามแผนพัฒนาจังหวัดปี 2556 ในพื้นที่

ติดตามผลการดำเนินโครงการฟื้นฟูพัฒนาป่าพื้นบ้านแหล่งอาหารชุมชนตามแนวพระราชดำริและโครงการฝายชะลอความชุ่มชื้น ปี 2556 ที่บ้านท่าค้อ ต.ท่าไห อ.เขื่องใน พร้อมรับทราบข้อเสนอแนะและให้แนวทางการดำเนินการแก่ชุมชน

บ่ายวันนี้ (21 เม.ย. 57) นายจิรายุ นันท์ธราธร ผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรีเขต 13 นำคณะกรรมการธรรมาภิบาลจังหวัดอุบลราชธานี ติดตามผลการดำเนินโครงการฟื้นฟูพัฒนาป่าพื้นบ้านแหล่งอาหารชุมชนตามแนวพระราชดำริและโครงการฝายชะลอความชุ่มชื้น ปี 2556 ที่บ้านท่าค้อ ต.ท่าไห อ.เขื่องใน จ.อุบลราชธานี ที่สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดอุบลราชธานี ดำเนินการ โดยหมู่บ้านดังกล่าวได้มีการบริหารจัดการป่าชุมชน เพื่อเป็นแหล่งอาหาร แหล่งอนุรักษ์และฟื้นฟูป่าไม้ พร้อมทั้งการจัดทำฝายชะลอความชุ่มชื้นในลำห้วยของหมู่บ้าน

ซึ่งจากการดำเนินโครงการ ชาวบ้านได้ร่วมกันบริการจัดการพื้นที่ป่าชุมชนที่รับผิดชอบกว่า 750 ไร่ โดยมีการจัดตั้งเครือข่ายอาสาสมัครพิทักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมหมู่บ้าน ร่วมกับชาวบ้านในการดูแลรักษาป่า เช่นการปลูกป่าเสริมในพื้นที่ป่าชุมชนและปลูกต้นไม้ทั้งไม้กินได้และไม้เศรษฐกิจในพื้นที่ของตนเองและพื้นที่ป่า พร้อมนี้มีการจัดทำแนวกันไฟ การจัดชุดลาดตระเวนป้องกันรักษาป่า การปลูกฝังเยาวชนให้มีสำนึกในการฟื้นฟูและรักษาป่าชุมชน

พร้อมนี้ผู้ตรวจราชการได้ให้คำแนะนำในการดำเนินโครงการฯ ให้มีความยั่งยืนแก่ชาวบ้าน เช่นการร่วมกันดูแลรักษาป่า การตั้งกฎ ระเบียบของชุมชนในการหาประโยชน์จากป่า การทำงานอนุรักษ์ฟื้นฟูป่าเพื่อชุมชน พร้อมทั้งรับทราบความต้องการของชาวบ้าน เช่นการขอรับการสนับสนุนงบประมาณเพื่อจัดทำแนวกันไฟ การจัดหาพันธุ์กล้าไม้เพื่อปลูกป่าเสริมและการจัดชุดลาดตระเวนระวังป้องกันรักษาป่า นอกจากนี้ผู้ตรวจราชการฯ ได้ติดตามโครงการโรงเรียน ค.ควาย ที่ส่งเสริมการเลี้ยงควาย เพื่อการอนุรักษ์และการใช้งาน โดยมีเยาวชนและประชาชนในหมู่บ้านให้ความสนใจเข้าร่วมโครงการฯ






พงษ์สถิตย์ อรอินทร์ ส.ปชส.อุบลราชธานี
081 924 8609 /ข่าว/ 21 เม.ย. 57

ผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรี ประชุมคณะกรรมการธรรมาภิบาลจังหวัด

เพื่อติดตามผลการสอดส่องแผนงาน/โครงการ ประจำปีงบประมาณ 2556 และ ปี 2557 พร้อมเรื่องร้องเรียนโครงการบูรณะฟื้นฟูเร่งด่วนทางสายหลักที่ได้รับความเสียหายจากอุทกภัย ถนนวงแหวนรอบเมืองอุบลราชธานีด้านทิศตะวันตกและการดำเนินโครงการตามแผนพัฒนากลุ่มจังหวัดในโครงการประติมากรรม
ห้วยวังนอง

เช้าวันนี้ (21 เม.ย.57) นายจิรายุ นันท์ธราธร ผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรีเขต 13 เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการธรรมาภิบาลจังหวัดอุบลราชธานี ที่ห้องประชุมนิทรรศการ ชั้น 2 ศาลากลางจังหวัดอุบลราชธานี เพื่อติดตามผลการดำเนินงาน การสอดส่องแผนงาน/โครงการ ประจำปีงบประมาณ 2556 และ ปี 2557 พร้อมเรื่องร้องเรียนโครงการบูรณะฟื้นฟูเร่งด่วนทางสายหลักที่ได้รับความเสียหายจากอุทกภัย ถนนวงแหวนรอบเมืองอุบลราชธานีด้านทิศตะวันตกและการดำเนินโครงการตามแผนพัฒนากลุ่มจังหวัด ที่คณะกรรมการ ก.ธ.จ.อุบลราชธานี ได้ดำเนินการตามข้อร้องเรียนของประชาชน โดยโครงการบูรณะฟื้นฟูเร่งด่วนทางสายหลักที่ได้รับความเสียหายจากอุทกภัย ถนนวงแหวนรอบเมืองอุบลราชธานีด้านทิศตะวันตก ดังกล่าวอยู่ในความรับผิดชอบของแขวงการทางอุบลราชธานีที่ 1 ซึ่งได้ชี้แจงต่อที่ประชุมถึงการแก้ไขปรับปรุงถนนที่ชำรุดเสียหาย โดยจะแจ้งให้ผู้รับเหมาเร่งดำเนินการโดยด่วนเนื่องจากยังอยู่ในระยะการประกันความเสียหาย

ส่วนโครงการตามแผนพัฒนากลุ่มจังหวัดในโครงการประติมากรรมห้วยวังนอง ที่ประชาชนได้รับความเดือดร้อนจากการใช้สะพานข้ามห้วยวังนองไปยังอำเภอตาลสุม เนื่องจาการก่อสร้างทางระบายน้ำห้วยวังนอง โดยสำนักงานโยธาธิการและผังเมืองจังหวัดอุบลราชธานี ได้ชี้แจงถึงปัญหาดังกล่าว ซึ่งอยู่ระหว่างการก่อสร้างคาดว่าจะแล้วเสร็จประมาณเดือนมิถุนายน 2557 พร้อมนี้จะได้ทำป้ายแจ้งผู้ใช้เส้นทางให้หลีกเลี่ยงการใช้เส้นทางดังกล่าว

พร้อมนี้ได้รับทราบผลการสอดส่องโครงการส่งเสริมอาชีพการเกษตรตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง,โครงการส่งเสริมและพัฒนาการผลิตพืชเศรษฐกิจ ที่สำนักงานเกษตรจังหวัดอุบลราชธานี ดำเนินการโดยลักษณะเป็นโครงการฝึกอบรมเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการและมอบพันธุ์กล้าไม้ให้ปลูกในพื้นที่ของตนเอง เพื่อเสริมรายได้ ส่วนโครงการที่อยู่ระหว่างการสอดส่องติดตาม ผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรี ได้ให้คำแนะนำการปฏิบัติแก่คณะกรรมการธรรมาภิบาลจังหวัดอุบลราชธานี โดยเน้นการติดตามผลการดำเนินงานที่บรรลุผลสำเร็จตามเป้าหมายและวัตถุประสงค์พร้อมทั้งประโยชน์ที่ประชาชนได้รับจากโครงการฯ ทั้งนี้เพื่อให้ถือปฏิบัติเป็นแนวทางอันเดียวกัน



พงษ์สถิตย์ อรอินทร์ ส.ปชส.อุบลราชธานี
081 924 8609 /ข่าว/ 21 เม.ย. 57

รายงานพิเศษประเพณีบวชนาคช้างบ้านตากลางจังหวัดสุรินทร์เป็นประเพณีที่ทรงคุณค่าควรอนุรักษ์ และสืบทอดให้คงอยู่สืบไป

รายงานพิเศษประเพณีบวชนาคช้างบ้านตากลางจังหวัดสุรินทร์เป็นประเพณีที่ทรงคุณค่าควรอนุรักษ์ และสืบทอดให้คงอยู่สืบไป

บ้านตากลางหรือที่คนทั่วไปรู้จักในนามหมู่บ้านช้างจังหวัดสุรินทร์ ที่มีวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียม จารีต ประเพณี มีเอกลักษณ์อันโดดเด่น เป็นการเฉพาะที่ไม่เหมือนใคร ทั้งในด้านภาษาพูด ความเป็นอยู่ร่วมกันระหว่างคนกับช้างและวัฒนธรรมในระบบพึ่งพาถ้อยทีถ้อยอาศัยกันมาเป็นเวลานานหลายชั่วอายุคน เช่น เวลา มีงานต่าง ๆ ทุกครั้งจะมีความผูกพันกันเสมอ ยากที่จะแยกออกจากกันได้ ในภูมิปัญญาชาวบ้าน ผู้มองเห็นกาลไกลให้ลูกหลานได้เคารพในกฎของธรรมชาติ ไป-ลา มา-บอก ทุกคนจะต้องยึดถือปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด โดยให้ยึดถือ "ศาลปะกำ" ช้างเป็นหลักเป็นชุมชนที่ยังหลงเหลือให้ดูเพียงหนึ่งเดียวในโลกนั่นคือ ชุมชนชาวกวยเลี้ยงช้าง บ้านตากลาง ตำบลกระโพ อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์ การเคารพช้างก็เท่ากับการเคารพศาลปะกำ การเคารพศาลปะกำก็เท่ากับเคารพบรรพบุรุษ คนและช้างเปรียบเสมือนสมาชิกในครอบครัวที่มีความผูกพันกันอย่างแนบสนิทตามฐานะอายุของช้างและคน ถ้าช้างมีอายุมากก็เปรียบช้าง เสมือน พี พ่อ-แม่-ปู-ย่า-ตา-ยาย ถ้าช้างมีอายุน้อยก็เปรียบช้างเสมือนลูก-หลาน หากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งต้องสูญเสียล้มหายตายไปผู้อยู่เบื้องหลังก็จะต้องเสียใจเป็นธรรมดา สุดท้ายก็ทำบุญอุทิศส่วนกุศลไปให้ตามฐานะ ตามธรรมเนียมชาวกวยเลี้ยงช้างทุกคนจะไม่รับประทานเนื้อช้างโดยเด็ดขาด เพราะช้างคือสัตว์คู่บ้านคู่เมือง คู่พระพุทธศาสนา มีคุณค่าต่อชาวโลกด้านวัฒนธรรมประเพณีมาทุกยุคทุกสมัย จนกลายเป็นมรดกทางวัฒนธรรมประเพณีที่ยึดถือปฏิบัติสืบทอดมาจนปัจจุบัน เช่น วัฒนธรรมประเพณีกราบไหว้ศาลปะกำประจำตระกูล วัฒนธรรมประเพณีลอดท้องช้าง วัฒนธรรมประเพณีนำช้างเข้าร่วมพิธีขบวนแห่นาค วัฒนธรรมประเพณีการเคารพ กฎระเบียบข้อปฏิบัติ ข้อห้ามของหมอช้าง เป็นต้น จนกลายเป็นวิธีชีวิตของชุมชนที่แท้จริง ในวันขึ้น 13-14-15 ค่ำเดือน 6 ของทุกปี ผู้เฒ่า ครูบาอาจารย์เล่าว่า บุตรหลานชายหลังจาก จบการศึกษาภาคบังคับแล้วในเดือนมีนาคมถึงเดือนเมษายนไม่มีที่ศึกษาต่อ หรือมีอายุครบ 20 ปีบริบูรณ์พออุปสมบทได้แล้ว และยัง เป็นโสด บิดามารดาก็จะนำไปฝากเป็นนาคอยู่ที่วัดก่อน เพราะเป็นเวลาว่างงานแล้วยังจะได้เตรียมงานช่วยทางวัดอีกด้วย และอีกอย่าง หนึ่งคือประมาณเดือน 6 ฝนเริ่มตกบรรยากาศเริ่มดีพืชพันธุ์ธัญญาหารทางธรรมชาติก็เริ่มงอกงามขึ้นบ้างแล้ว เป็นเวลาที่ทุกคนจะ เริ่มลงมือทำไร่ ทำนาตามประเพณีนิยมท้องถิ่น จึงประกาศให้บุตรหลานผู้สนใจ และมีจิตศรัทธาเข้าบรรพชาอุปสมบทในวันดังกล่าว พร้อม ๆ กันครั้งเดียว แล้วทุกคนทุกครัวเรือนในเขตรัศมีวัดร่วมเป็นเจ้าภาพไม่จำเพาะเจาะจงว่าเป็นบุตร หลานของใคร ผู้ใดมีช้างมี ม้าก็ให้นำมาร่วมขบวนแห่ จนกลายเป็นงานประเพณีประจำปีของชาวกวยอาเจียงถึงปัจจุบัน หากจะอุปสมบทก่อนหรือหลังนั้นก็ถือว่า เป็นหน้าที่ของผู้นั้นเพียงผู้เดียว นาค หมายถึงบุคคลที่จะทำหน้าที่บรรพชา อุปสมบทเป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนา เหตุที่เรียกว่า นาค ก็เพราะว่าเมื่อสมัยพุทธกาลได้มีนาคตนหนึ่งอาศัยอยู่ใต้เมืองบาดาลมีความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา จึงได้แปลงกายเป็น มนุษย์มาขอบรรพชา อุปสมบทเป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนา อยู่มาวันหนึ่งขณะที่พักผ่อนหรือจำวัดพระภิกษุรูปนั้นก็กลายร่างเป็นนาคเหมือนเดิม ข่างทราบถึงพระพุทธเจ้า จึงให้ท่านกลับไปเป็นนาคอยู่ใต้บาดาลเหมือนเดิม เพราะนาคเป็นสัตว์เดรัจฉานไม่สามารถบวชเป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนาได้อีกต่อไป ก่อนไป นาคตนนั้นได้ขอฝากพระพุทธเจ้าได้ว่าต่อไปนี้หากกุลบุตรผู้ใดจะอุปสมบทเป็นพระภิกษุสงฆ์ในพระพุทธศาสนาขอให้นึกถึงข้าพเจ้าด้วย คือ ขอฝากชื่อของนาคไว้ให้เรียกก่อนอุปสมบทจริง ดังนั้น จึงเรียกบุคคลที่จะทำการบรรพชาอุปสมบทเป็นพระภิกษุว่า นาค ตั้งแต่บัดนั้นมาจนถึงทุกวันนี้ จากการสอบถามผู้รู้ชาวกูยมาแล้วหลายคนได้ความว่าเหตุ ที่มีขบวนแห่นาคด้วยช้างเป็นจำนวนมาก ๆ นั้น หมายความว่ากุลบุตรผู้ใดมีความประสงค์จะบรรพชาอุปสมบทพุทธศาสนานั้น จะต้องได้รับอนุญาตจาก ผู้ปกครองเสียก่อนจึงจะอุปสมบทได้ ดังนั้นทั้งขบวนคนและช้างที่มีจำนวนมาก ๆ ในขบวนแห่นั้นหมายถึงผู้ได้รับอนุญาตแล้ว ส่วนการแห่นาคไปที่วังทะลุนั้น หมายถึงในอดีตพระพุทธเจ้าตอนเป็นเจ้าชายสิทธัตถะก่อนอุปสมบทพระองค์ได้ทรงม้ากัณฑกะโดยมีนายฉันนะตามเสด็จไปสู่แม่น้ำอโนมา พระองค์ทรงทำการ ปลงผมและทรงผนวช ณ ที่ริมแม่น้ำอโนมา ตรงนั้น ความเชื่อและแรงดลใจข้อนี้คือสาเหตุหนึ่งที่บุตรหลานชาวกวยอาเจียง นิยมแห่นาคด้วยขบวนช้างไปสู่ แม่น้ำมูลที่วังทะลุ และทำการบรรพชาอุปสมบท ณ ที่ตรงนั้น เพราะที่ตรงนั้นเป็นวังน้ำวนเกิดจากการไหลมาบรรจบกันของแม่น้ำสองสาย ทำให้เกิดดินดอน หรือเนินดินขึ้นตรงกลางมีแม่น้ำล้อมรอบ หรือที่ชาวบ้านเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "สิมน้ำ" จึงเรียกที่ตรงนั้นว่า "ดอนบวช" ติดปากมาจนปัจจุบันนี้และแห่นาคไปที่วังทะลุทุกปี และทำไม บุตรหลานชาวกวยอาเจียงจึงนิยมอุปสมบทในวันขึ้น 15 ค่ำเพ็ญเดือน 6 ของทุกปีเพราะว่าวันเพ็ญเดือน 6 เป็นวันคล้ายวันที่พระพุทธเจ้าทรง ประสูติ ตรัสรู้ ปรินิพาน ผู้ใดได้บูชาด้วยการปฏิบัติตามผู้นั้นชื่อว่า ได้เห็นพระพุทธเจ้า นี้คือสาเหตุหนึ่งที่ชาวกวยอาเจียงนิยมให้บุตรหลานบรรพชาอุปสมบทในวันนั้น และเชื่อถือว่าหากกุลบุตรได้นั่งช้างแห่นาคด้วยแล้วจะได้อานิสงฆ์มหาศาล ดังนั้นพิธีกรรมงานบรรพชา อุปสมบทหมู่ในเดือน 6 จึงเป็นงานประจำปีของชาวกวยอาเจียง ที่ปีหนึ่งมีอยู่เพียงครั้งเดียวทั้ง ๆ ที่ใครที่มีความพร้อมเมื่อใดก็บวชได้ แต่ชาวกวยไม่ทำอย่างนั้นเพราะถือว่าไม่เคารพบรรพบุรุษของตนเอง โดยนาคของชุมชนชาวกูยเลี้ยงช้างจะมีเครื่องแต่งกายนาค ที่เป็นเอกลักษณ์ซึ่งประกอบด้วย กระโจม หรือชฎาที่นาคสวมใส่ในพิธีแห่นาค ซึ่งเป็นเครื่องหมายของผู้สูงศักดิ์ หรือผู้มีบุญจึงจะมีสิทธิ์สวมใส่ได้ หากเคยได้ดูละคร, โขน, ลิเก, หมอลำ, นวนิยาย, เป็นต้น ก็จะหมายถึงเครื่องประดับของท่าน พระอินทร์, เทวดา, พระพรหม เป็นต้น หากเป็นเมืองมนุษย์ก็คงจะหมายถึงพระมหากษัตริย์หรือผู้สูงศักดิ์ ผู้มีบุญญาวาสนาเท่านั้นจึงจะมีสิทธิ์สวมใส่ ในงานพิธีต่าง ๆ จะสวมใส่เล่นโดยไม่มีเหตุผลไม่ได้เป็นอันขาด ดังนั้นนาคก็คงจะหมายถึงผู้มีบุญญาวาสนา หรือผู้สูงศักดิ์เหนือกว่ามนุษย์ธรรมดาทั้งหลายแล้ว จึงอนุญาตให้สวมใส่ได้ ในเฉพาะพิธีเท่านั้นหลังจากนั้นแล้วก็หมดสิทธิ์ใส่เช่นกัน ฝ้าย หรือสำลีที่ใบหูทั้งสองก็เป็นเครื่องหมายเพื่อเตือนสติให้เจ้านาคได้รู้ตัวว่า บัดนี้ท่านนาคกำลังเข้าสู่อุดมเพศหรือเพศผู้สูงศักดิ์เหนือกว่าคนธรรมดาทั้งหลาย เจ้าจงอย่าได้หูเบาเหมือนฝ้ายหรือสำลีเวลาถูกลมพัดก็แกว่งไปมาอยู่ตลอดเวลา เจ้าจงหูหนักเอาไว้เหมือนหินและเครื่องประดับอื่น ๆ ภายในกายของเจ้าให้เปรียบเทียบดูเอาเอง หากได้ยินใครพูดอะไรเจ้าก็อย่าได้หลงเชื่อโดยง่ายให้รู้จักพิจารณาด้วยเหตุด้วยผลอย่าเป็นคนมงคลตื่นขาว ก่อนตัดสินใจในเรื่องอะไรควรไตร่ตรองให้รอบคอบด้วยสติอันมั่นคง อย่างถ่องแท้ให้ละเอียดถี่ถ้วน เพราะก่อนทำนั้นเราเป็นนาย หากทำลงไปแล้วเราจะเป็นบ่าว ผ้าหลากสี (ผ้า 7 สี) นั้นหมายความว่าทุกอย่างนั้นผ่อนเปลี่ยนแปลงได้เสมอ แม้แต่คำพูดของใครต่อใครที่เจ้าคิดว่ามั่นคงและดี สักวันหนึ่งอาจจะไม่ดีหรือมั่นคงเหมือน อย่างที่เจ้าคิดก็ได้ให้รู้จักทำใจเผื่อเอาไว้บ้างอย่าทุ่มเทกับใครจนเกินไปโดยเฉพาะสตรีที่เจ้าคิดว่ามั่นคงและดีที่สุด ส่วนอีกความหมายหนึ่ง เปรียบเสมือนรุ้ง 7 สี มณี 7 แสง เป็น สีแดง แห่งผู้มีบุญญาวาสนาหรือผู้สูงศักดิ์ เพราะรุ้งหมายถึงสิ่งที่อยู่ที่สูงจะปรากฏให้เห็นเฉพาะเวลามีฝนตก ก่อนหรือหลังเท่านั้น จะไม่ปรากฏให้เห็นทั่วไปโดยง่าย ดังนั้นผ้าหลากสี ( 7 สี) ก็มิใช่ว่าจะปรากฏใส่เล่นให้เห็นโดยง่ายอีกเช่นกัน ถ้ามิใช่เวลามีนาคบวชและในพิธีบวชนาคกลุ่มใหญ่ ๆ เท่านั้นจึงจะมีให้เห็น หากนาคบวชแบบง่าย ๆ ก็จะไม่มีพิธีนั้นให้เห็นเลย สร้อยคอหรือเครื่องประดับร่างกายของนาค เมื่อก่อนที่คอของนาคจะประดับด้วยสังวาล, ตรึม ที่แขนหรือข้อมือก็จะประดับด้วย กำไล ฯลฯ ปัจจุบันสิ่งเหล่านั้นกำลังสูญหายไป จากชาวส่วย (กวยอาเจียง) แต่สร้อยทองคำและเหลด กำลังเข้ามาแทนที่เพราะของเก่า ๆ เหล่านั้นได้พากันขายไปเกือบหมดแล้วนับว่าเป็นสิ่งที่น่าเสียดาย จึงสรุปได้ว่า เครื่องประดับต่าง ๆ ที่กล่าวมาทั้งหมดนั้น ทุกอย่างล้วนมีความหมายอยู่ในตัว และมีที่มาที่ไปเป็นปริศนาสอนธรรมะอยู่ในตัวอย่างเห็นได้ชัดเป็นภูมิปัญญาของชาวบ้าน โดยแท้เราท่านควรจะช่วยกันหาทางอนุรักษ์ไว้เป็นอย่างยิ่ง ก่อนที่จะสายไปกว่านี้ โดยทางจังหวัดสุรินทร์ได้ร่วมกับองค์การบริหารส่วนจังหวัดสุรินทร์ องค์การบริหารส่วนตำบลกระโพ และชุมชนชาวหมู่บ้านช้าง บ้านตากลาง อำเภอ ท่าตูม จังหวัดสุรินทร์ จึงจัดงานประเพณีบวชนาคช้างขึ้นเป็นประจำทุกปี ปีนี้ตรงกับวันที่ 11 , 12, 13 พ.ค. 2557 ที่จะถึงนี้ เพื่ออนุรักษ์วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียม จารีตประเพณี และภูมิปัญญาอันดีงามของท้องถิ่นให้คงอยู่คู่ชุมชนคนเลี้ยงช้าง ตลอดไป เพื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์งานประเพณีบวชนาค วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียม จารีตประเพณีและภูมิปัญญาอันดีงาม ของท้องถิ่นชุมชนกวยเลี้ยงช้าง ให้เป็นที่รู้จักและแพร่หลาย ทั่วไปทั้งในและต่างประเทศ เพื่อส่งเสริมให้หมู่บ้านช้างเป็นหมู่บ้านท่องเที่ยวที่สำคัญของจังหวัดสุรินทร์ และจัดทำโปรแกรมการท่องเที่ยวในรูป แบบบ้านโฮมสเตย์ และเพื่ออนุรักษ์ช้าง หาทางช่วยเหลือช้าง ช่วยเหลือคนเลี้ยงช้าง ให้ช้างมีอาหารกินที่เพียงพอ ให้คนเลี้ยงช้างมีงานทำมี รายได้ที่เหมาะสมไม่ต้องนำช้างออกเร่ร่อนหากินให้เป็นภาระสังคมอีกต่อไป



ประนนท์ ไม้หอม
ส.ปชส.สุรินทร์/รายงาน

สมช.ร่วมกับกระทรวงกลาโหม กระทรวงอื่นๆที่เกี่ยวข้องและกรมประชาสัมพันธ์จัดอบรมการบริหารวิกฤตการณ์ระดับชาติที่จังหวัดสุรินทร์

สมช. ร่วมกับกระทรวงกลาโหม กระทรวงอื่นๆที่เกี่ยวข้องและกรมประชาสัมพันธ์จัดอบรมการบริหารวิกฤตการณ์ระดับชาติที่จังหวัดสุรินทร์ สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ


(สมช. ) ร่วมกับกระทรวงกลาโหม กระทรวงอื่นๆที่เกี่ยวข้องและกรมประชาสัมพันธ์จัดอบรมการบริหารวิกฤตการณ์ระดับชาติที่จังหวัดสุรินทร์ นายประวิน พัฒนะพงษ์ รองอธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ เผย สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ ร่วมกับกระทรวงมหาดไทย กรมการสรรพกำลังกลาโหม กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กระทรวงสาธารณสุข กรมประชาสัมพันธ์ และศูนย์ประสานการปฏิบัติในการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง กำหนดให้มีการฝึกการบริหารวิกฤตระดับชาติ ประจำปี 2557 ขึ้น ทั้งนี้เพื่อให้เป็นไปตามนโยบายการเตรียมพร้อมแห่งชาติตามภารกิจของแต่ละหน่วยงานที่รับผิดชอบด้านภัยพิบัติต่างๆประกอบด้วย สาธารณภัย ภัยความมั่นคง และภัยจากการก่อการร้าย โดยจำลองสถานการณ์การฝึกด้านภัยความมั่นคง และภัยก่อการร้าย โดยสมมุมิสถานการณ์การฝึกด้านตะวันตกเป็นสถานการณ์ภัยจากการก่อการร้าย และด้านตะวันออกเป็นสถานการณ์ด้านความมั่นคงเหตุการณ์การสู้รบ โดยมีการจัดทำแผนการฝึก และปัญหาการฝึกตลอดจนการแก้ไขปัญหาเพื่อให้การฝึกสามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสามารถนำไปใช้เมื่อมีสถานการณ์เกิดขึ้นจริงต่อไป โดยได้กำหนดจัดการฝึกตามกรอบการบริหารวิกฤตการณ์ระดับชาติ ประจำปี 2557 ขึ้นระหว่างวันที่ 24 – 25 เมษายน 2557 ที่โรงแรมทองธารินทร์ จังหวัดสุรินทร์ ซึ่งเป็นการอบรมปรับมาตรฐานระดับผู้บริหาร / หัวหน้ากลุ่มงาน/ฝ่ายอำนวยการ ทั้งนี้เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกได้รับรู้การพัฒนาและการฝึกการบริหารวิกฤตการณ์ในเชิงนโยบาย การบริหารจัดการและขอบเขตการใช้อำนาจทางกฎหมายของผู้บังคับบัญชาเหตุการณ์ กรณีการสู้รบหรือสาธารณภัยอื่นๆ การเสริมสร้างศักยภาพของชาติในการป้องกันประเทศ ระบบบัญชาการเหตุการณ์ในการฝึกการบริหารวิกฤตการณ์ระดับชาติ การร่างแผนผนึกกำลังและทรัพยากรเพื่อการป้องกันประเทศ และการจำลองการฝึก และการใช้งาน Emergency Operation Center Web ( EQC Web ) และระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในการฝึก ทั้งนี้จะมีการฝึกปัญหาที่บังคับการแต่ละหน่วยงานระหว่าวันที่ 9 – 12 มิ.ย. 2557 และจะมีการฝึกภาสนามระหว่างวันที่ 11 – 13 มิ.ย. 2557 โดยเลือกพื้นที่จังหวัดสุรินทร์เป็นสถานที่ฝึกภาคสนาม



ประนนท์ ไม้หอม
ส.ปชส./สุรินทร์/รายงาน

รับสมัครคัดเลือกลูกจ้างชั่วคราวตำแหน่งพนักงานขับรถยนต์

วิทยาลัยเทคนิคยโสธร ประสงค์รับสมัครลูกจ้างชั่วคราว เพื่อปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่ง พนักงานขับรถยนต์ จำนวน 2 อัตรา ดังนี้ คุณสมบัติผู้สมัคร สำเร็จการศึกษาขั้นต่ำระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 รับสมัครระหว่างวันที่ 3 เมษายน – 22 เมษายน 2557
 
ผู้ที่สนใจขอเชิญสมัคร หรือติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่งานบุคลากร ฝ่ายบริหารทรัพยากรวิทยาลัยเทคนิคยโสธร (อาคารอำนวยการ) โทรศัพท์ 045-709103     ได้ทุกวันในเวลาราชการ
 
 
 
ส.ปชส.ยโสธร/ปิยะนุช ศรีแก่นจันทร์
21 เมษายน 2557

ป.ป.ช.จัดประกวดสื่อภาพเคลื่อนไหว “Young Gen Anti-Corruption”

สำนักงาน ป.ป.ช. จัดโครงการประกวดสื่อภาพเคลื่อนไหว "Young Gen Anti-Corruption” โดยมีวัตถุประสงค์สำคัญเพื่อเปิดโอกาสให้กลุ่มเป้าหมายในกลุ่มนักเรียนระดับมัธยมศึกษา นิสิต นักศึกษา ในระดับอุดมศึกษา และประชาชนทั่วไปที่มีความรู้ความสามารถทางด้านการสร้างสรรค์สื่อ ร่วมส่งผลงานเข้าประกวดเพื่อกระตุ้นเตือนสังคมและชี้แนะแนวทางในการป้องกันและปราบปรามการทุจริตให้หมดไปจากสังคมไทย ในรูปแบบภาพยนตร์สั้น การ์ตูน แอนิเมชั่น ความยาว 1 – 3 นาที ดูรายละเอียดเพิ่มเติมและดาวน์โหลอดแบบฟอร์มทาง www.nacc.go.th ตั้งแต่บัดนี้จนถึงวันที่ 31 พฤษภาคม 2557



ส.ปชส.ยโสธร/ปิยะนุช ศรีแก่นจันทร์
21 เมษายน 2557

ตลาดนัดสีเขียว ตลาดนัดพอเพียงทุกวันเสาร์ของชาวสุรินทร์

นายพิภพ ดำทองสุข รองผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์ กล่าวว่า โครงการตลาดนัดสีเขียว เป็นโครงการที่จัดขึ้นเป็นประจำทุกเช้าวันเสาร์ ชาวบ้านที่เข้าร่วมโครงการต้องมีเศรษฐกิจเป็นของตัวเอง อาทิ สินค้า OTOP ของชาวสุรินทร์ ทั้งผ้าไหม เครื่องเงิน เครื่องอุปโภค บริโภค ซึ่งสินค้าที่นำมาจำหน่ายในตลาดจะต้องเป็นผลผลิตทางการเกษตรที่ปลอดจากสารพิษ และเป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการดูแลสุขภาพเป็นช่องทางการสื่อสารที่ให้ทุกคนได้แลกเปลี่ยนแนวทางการแก้ปัญหาและเพิ่มพื้นที่การเรียนรู้ กระชับความสัมพันธ์ของผู้บริโภคในชุมชนเมืองกับคนท้องถิ่นที่เป็นเกษตรกรให้เกิดความเข้าใจตรงกัน นโยบายด้านสุขภาพที่ทางจังหวัดสุรินทร์ ดำเนินอยู่ในขณะนี้คือ รักษาวิถีการปลูกข้าวหอมมะลิแบบปลอดสารพิษ จัดระเบียบให้ตลาดสด สะอาดตรงตามมาตรฐานที่วางไว้

ขณะที่ ตลาดนัดสีเขียวจึงถือเป็นจุดเริ่มต้นของการพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น เหมือนเป็นการรณรงค์ทางอ้อม เพื่อให้ทุกคนรู้จักหลักคิดและเห็นตัวอย่างที่ดีเมื่อชาวบ้านหันมายึดหลักเกษตรอินทรีย์สิ่งที่ตามมาคือ การกินอาหารที่ปลอดภัยต่อสุขภาพ เมื่อสิ่งแวดล้อมเกิดความสมดุล คนมีความสุข สังคมก็จะดี ทั้งนี้ประชาชนชาวจังหวัดสุรินทร์ ยังคงนิยมจับจ่าย ซื้อหาสินค้าทั้งอุปโภคและบริโภค ในตลาดสีเขียวเป็นประจำทุกวันเสาร์ ตั้งแต่ 06.00 น. – 14.00 น. นอกจากนี้ยังมีนักท่องเที่ยวมาร่วมซื้อสินค้าที่มีคุณภาพและราคาย่อมเยาว์กับผู้ผลิตโดยตรงอีกด้วย

การค้าชายแดนไทยจังหวัดสุรินทร์ เศรษฐกิจคึกคักหลังจากขยายเวลาเปิดด่านไปจนถึง 22.00 น.

นายยุทธนา วิริยะกิตติ รองผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์ กล่าวว่า การค้าผ่านชายแดนไทย – กัมพูชา ขยายเวลาเปิดด่านไปจนถึง 22.00 น ทำให้เศรษฐกิจดีมีดุลการค้าเกินดุล และมีสินค้าส่งออกสำคัญเพิ่มขึ้นเกือบทุกหมวดสินค้า โดยเฉพาะน้ำมันเชื้อเพลิง รองลงมาได้แก่ เบียร์ และเครื่องดื่มน้ำ ส่วนการค้าขายที่ช่องจอมในช่วงวันหยุดเสาร์- อาทิตย์ จะมีนักท่องเที่ยวเข้ามาค่อนข้างมากกว่าปกติหลายพันคน พื้นที่จอดรถแทบจะไม่พอรองรับ คาดว่ามีเงินสะพัดต่อวันหลายล้านบาท โดยเฉพาะที่ตลาดการค้าชายแดนไทย-กัมพูชา ช่องจอม ตำบลด่าน อำเภอกาบเชิง จังหวัดสุรินทร์ พบว่านักท่องเที่ยวชาวไทยพาครอบครัว เพื่อนฝูงเข้ามาท่องเที่ยว และเลือกซื้อสินค้าที่ตลาดการค้าชายแดนช่องจอมกันอย่างคึกคัก ส่วนนักท่องเที่ยวและพ่อค้าแม่ค้าชาวกัมพูชา เดินทางเข้ามาเลือกซื้อสินค้าอุปโภค-บริโภคอย่างคึกคักไม่ต่างกัน ส่วนใหญ่จะนิยมซื้อสินค้าทั้งเครื่องอุปโภค-บริโภค ที่จำเป็นในการใช้ชีวิตประจำวันและนำสินค้าพื้นเมืองมาจำหน่ายเป็นประจำอีกด้วย

สำหรับจุดผ่านแดนถาวรช่องจอมหรือตลาดการค้าชายแดนช่องจอม ตั้งอยู่ที่บ้านด่าน ตำบลด่าน อำเภอกาบเชิง จังหวัดสุรินทร์ เป็นจุดผ่านแดนที่สำคัญที่สุดของจังหวัดสุรินทร์ และเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ใครมาเมืองสุรินทร์แล้วจะต้องแวะเวียนไปเที่ยวตลาดการค้าชายแดนช่องจอม ปัจจุบันตลาดการค้าชายแดนช่องจอมมีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วในไม่กี่ปีที่ผ่านมา บริเวณตลาดการค้าชายแดนเริ่มมีอาคารพาณิชย์ร้านขายของต่างๆ รวมไปถึงธุรกิจที่พักอาศัยก็เกิดขึ้นอย่างหนาตา ล่าสุดปั้มแก๊สก็กำลังก่อสร้าง และที่ดินที่กำลังถมอีกจำนวนมากเตรียมพัฒนาพื้นที่ ดังนั้นในอนาคตอันใกล้นี้ เมื่อโครงการขยายถนนจากปราสาท-ช่องจอม ได้รับการขยายถนนเป็น 4 ช่องจราจรเสร็จสมบูรณ์แล้วก็จะยิ่งส่งผลดีต่อด่านชายแดนแห่งนี้ให้เป็นด่านชั้นนำในอีสานตอนล่าง ซึ่งโครงการขยายถนนเป็น 4 ช่องจราจรนี้ได้ถูกบรรจุไว้ในแผนของกรมทางหลวงเป็นที่เรียบร้อยแล้ว

จังหวัดสุรินทร์ขอให้ทุกภาคส่วนร่วมพิธีการจัดงานวันคล้ายวันสวรรคตสมเด็จพระนเรศวรมหาราช

นายนิรันดร์ กัลยาณมิตร ผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์ เปิดเผยว่า จังหวัดสุรินทร์กำหนดจัดงานพิธีวันคล้ายสวรรคตสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เพื่อเป็นการน้อมรำลึกถึงพระเกียรติคุณพระองค์ท่านที่ทรงปรีชาสามารถ กล้าหาญ เด็ดเดี่ยว สร้างความเป็นเอกราชให้แก่ชาติไทย ซึ่งกำหนดจัดงานดังกล่าว ในวันศุกร์ที่ 25 เมษายน 2557 ที่หอประชุมจังหวัดสุรินทร์ จึงขอเชิญทุกภาคส่วนร่วมพิธีตามวันและเวลาดังกล่าว โดยพร้อมเพรียงกัน

สมเด็จพระนเรศวรมหาราช หรือ สมเด็จพระสรรเพชรญ์ที่ 2 มีพระนามเดิมว่า พระองค์ดำ เป็นพระราชโอรสในสมเด็จพระมหาธรรมราชาและพระวิสุทธิ์กษัตริย์(พระราชธิดาของสมเด็จพระศรีสุริโยทัยและสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ) เสด็จพระราชสมภพเมื่อ พ.ศ. 2098 ณ พระราชวังจันทน์ เมืองพิษณุโลกทรงมีพระเชษฐภคิณี คือ พระสุพรรณกัลยา และทรงมีพระอนุชาคือ สมเด็จพระเอกาทศรถ(องค์ขาว) สมเด็จพระนเรศวรมหาราชเสด็จขึ้นครองราชเมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม 2133 สิริรวมการครองราชย์สมบัติ 15 ปี เสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 25 เมษายน 2148 รวมพระชนมพรรษา 50 พรรษา

ทางด้านราชการสงครามในสมเด็จพระนเรศวรมหาราช พระองค์ทรงเป็นกษัตริย์นักรบผู้ยิ่งใหญ่และกล้าหาญ ได้กู้อิสรภาพของไทยจากการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งแรก และได้ทรงแผ่อำนาจของราชอาณาจักรไทยอย่างกว้างใหญ่ไพศาลไปในจตุรทิศ รัฐบาลไทยโดยคณะรัฐมนตรีได้มีมติที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2548 กำหนดให้ทุกวันที่ 25 เมษายน ของทุกปีเป็นวันคล้ายวันเสด็จสวรรคตสมเด็จพระนเรศวรมหาราชและให้ประกอบรัฐพิธี เพื่อสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ เชิดชูพระเกียรติคุณ พระปรีชาสามารถที่เลื่องลือปรากฏอยู่ในประวัติศาสตร์ตราบเท่าทุกวันนี้

สำนักงาน ป.ป.ช. ประกวดสื่อภาพเคลื่อนไหว "Young Gen Anti-Corruption"

นายประหยัด พวงจำปา ผู้ช่วยเลขาธิการคณะกรรมการ ป.ป.ช. แจ้งว่า สำนักงาน ป.ป.ช. ได้จัดโครงการประกวดสื่อภาพเคลื่อนไหว "Young Gen Anti-Corruption" เพื่อเปิดโอกาสให้นักเรียนในระดับมัธยมศึกษา นิสิต นักศึกษาในระดับอุดมศึกษา และประชาชนทั่วไปที่มีความรู้ความสามารถทางด้านการสร้างสรรค์สื่อ ร่วมส่งผลงานเข้าประกวดเพื่อกระตุ้นเตือนสังคมและชี้แนะแนวทางในการป้องกันและปราบปรามการทุจริตให้หมดไปจากสังคมไทย ในรูปแบบภาพยนตร์สั้น การ์ตูน แอนิเมชั่น

โดยมีรางวัลการประกวดดังนี้ ระดับมัธยมศึกษา รางวัลชนะเลิศ ได้รับโล่เกียรติยศของคณะกรรมการ ป.ป.ช. และเงินรางวัล 50,000 บาท รองชะเลิศ ได้รับเงินรางวัล 40,000 บาท 30,000 บาท และ10,000 บาทตามลำดับพร้อมโล่เกียรติยศของคณะกรรมการ ป.ป.ช. ระดับอุดมศึกษา รางวัลชนะเลิศ ได้รับโล่เกียรติยศของคณะกรรมการ ป.ป.ช. และเงินรางวัล 50,000 บาท เงินรางวัล 40,000 บาท 30,000 บาท และ 10,000 บาทตามลำดับพร้อมโล่เกียรติยศของคณะกรรมการ ป.ป.ช. และระดับ ประชาชนทั่วไป รางวัลชนะเลิศ ได้รับโล่เกียรติยศของคณะกรรมการ ป.ป.ช. และเงินรางวัล 50,000 บาท รองชะเลิศได้รับเงินรางวัล 40,000 บาท 30,000 บาท และ10,000 บาทตามลำดับ พร้อมโล่เกียรติยศของคณะกรรมการ ป.ป.ช.

ผู้สนใจดูรายละเอียดและดาวน์โหลดแบบฟอร์มใบสมัครผ่านทาง www.nacc.go.th และสามารถส่งรายละเอียดแบบฟอร์มผลงานไปยังสำนักงาน ป.ป.ช. ภายในวันที่ 31 พฤษภาคม 2557 หรือสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 0 2528 4912 หรือ 08 1300 0200



สุวรรณ ศรีอาภรณ์ / ข่าว

ขอนแก่นประกาศเตือนประชาชนระมัดระวังพายุ ฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และอาจมีลูกเห็บตก ระหว่าง 20-26 เมษายน 57

นายประเสริฐ ลือชาธนานนท์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่นเปิดเผยว่า ด้วยจังหวัดขอนแก่นได้รับแจ้งจากกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ว่าได้ติดตามตรวจสอบ สภาวะอากาศกับกรมอุตุนิยมวิทยา คาดว่าวันที่ 20-23 เมษายน 2557 ลมตะวันออกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมประเทศไทยมีกำลังแรงขึ้น ทำให้บริเวณประเทศไทย ตอนบน มีฝนฟ้าคะนอง กับลมกระโชคแรงเพิ่มขึ้น และวันที่ 24-26 เมษายน 2557 บริเวณความกดอากาศสูงจากประเทศจีนจะแผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบน ทำให้ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออกจะมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น โดยมีลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกในบางพื้นที่

เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมป้องกันและแก้ไขปัญหาการเกิดจากวาตภัยจึงขอประชาสัมพันธ์แจ้งเตือนประชาชนที่อาศัยอยู่บนพื้นที่เสี่ยงภัยของจังหวัด เช่น พื้นที่เชิงเขา พื้นที่ลาดชันให้ระมัดระวังภัยอันเกิดจากพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรงและ อาจมีลูกเห็บตกและให้เตรียมการป้องกันและระมัดระวังภัยอันตรายอันเกิดจากธรรมชาติ ในระหว่างวันที่ 20-26 เมษายน 2557) โดยให้ดูแลบ้านเรือน โรงเรือนสิ่งก่อสร้างต่างๆให้แข็งแรง ตัดแต่งกิ่งไม้ระมัดระวังการใช้เครื่องมือสื่อสารโทรศัพท์มือถือกลางที่โล่งแจ้งและไม่อยู่ในที่กลางแจ้งใต้ต้นไม้ใหญ่ในขณะเกิดฟ้าคะนอง.



สมพงษ์ ปัตตานี/ข่าว
พนิดา/นศ.ฝึกงาน/พิมพ์
วันที่ 21 เม.ย. 2557

จังหวัดขอนแก่นมอบปัจจัยการผลิตทางการเกษตร ตามโครงการลดรายจ่ายครัวเรือนเกษตรกร

นายสมศักดิ์ สุวรรณสุจริต ผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น เป็นประธานพิธีมอบปัจจัยการผลิตทางการเกษตรตามโครงการลดรายจ่ายครัวเรือนเกษตรกร  อาทิเช่น แม่พันธุ์ไก่ เมล็ดพันธุ์ผัก เครื่องมือทางการเกษตร ต้นกล้าพืชผักต่าง ๆ รวมทั้งปัจจัยทางการเกษตรอื่น  จัดที่หอประชุมอำเภอกระนวน   งานนี้มีเกษตรกร มารับปัจจัยการผลิตจำนวน 300 รายจาก 10 ตำบลของอำเภอกระนวน  เป็นโครงการที่ทางภาครัฐจัดให้ เพื่อช่วยเหลือครอบครัวที่มีรายได้ต่ำเป็นการช่วยลดค่าใช้จ่ายในครัวเรือน
ผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น กล่าวว่า จังหวัดขอนแก่นได้ดำเนินโครงการลดรายจ่ายครัวเรือนเกษตรกร ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีเป้าหมายเพื่อแก้ไขปัญหาความยากจนของเกษตรกร สามารถเป็นต้นแบบหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง และเกษตรกรมีอาหารปลอดภัยไว้บริโภคในครัวเรือนอย่างพอเพียง พื้นที่ดำเนินการทั้ง 26 อำเภอ ในปี 2556ทำโครงการนำร่องอำเภอละ 2 หมู่บ้าน ๆ ละ 30 ครัวเรือน ซึ่งประสบผลสำเร็จด้วยดี ครอบครัวเกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้นความเป็นอยู่ดีขึ้น และปี 2557 ได้ขยายครบทุกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั้ง 225   แห่ง ใน 26 อำเภอ มีการจัดประชุมชี้แจงทำความเข้าใจแก่เกษตรกร และเปิดตัวโครงการพร้อมมีการลงนาม MOU ไปแล้วและขณะนี้ จังหวัดขอนแก่นได้มอบหมายให้ทุกอำเภอมีการมอบปัจจัยการผลิตทางการเกษตรแก่เกษตรกรผู้เข้าร่วมโครงการแล้ว

ขอนแก่นเตรียมแถลงข่าวเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขัน EGAT ยกน้ำหนักนานาชาติ ชิงถ้วยพระราชทานในหลวง

จังหวัดขอนแก่นร่วมกับ EGAT เตรียมแถลงข่าวเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขัน EGAT ยกน้ำหนักนานาชาติ ประจำปี 2557 ชิงถ้วยพระราชทานพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

ดร.ยุทธศาสตร์ กงเพชร ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านไผ่ อำเภอบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น เปิดเผยว่าในวันศุกร์ที่ 25 เมษายน 2557 เวลา 11:00 น. ที่หอประชุมโรงเรียนบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น ร่วมกับหลายหน่วยงานจะจัดให้มีการแถลงข่าว การเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขัน EGAT ยกน้ำหนักนานาชาติ ประจำปี 2557 ครั้งที่ 12 ชิงถ้วยพระราชทาน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในประเภทประชาชนและชิงถ้วยพระราชทานสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ในประเภทยุวชนนานาชาติ ครั้งที่ 8 โดยกำหนดจัดการแข่งขันในระหว่างวันที่ 2-10 พฤษภาคม 2557 ณ หอประชุมโรงเรียนบ้านไผ่ อำเภอบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น

ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านไผ่ เปิดเผยเพิ่มเติมว่าประธานจัดการแถลงข่าวการแข่งขัน EGAT ยกน้ำหนักนานาชาติ ในวันที่ 25 เมษายน 2557 คือ นายสมศักดิ์ สุวรรณสุจริต ผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น นอกจากนี้ก็จะมี ดร.พงษ์ศักดิ์ ตั้งวานิชกพงษ์ นายก อบจ. ขอนแก่น,นายกสมาคมกีฬาจังหวัดขอนแก่น และผู้ร่วมแถลงข่าวอีกหลายท่าน. จึงขอเชิญชวนสื่อมวลชนทุกท่านไปร่วมรับฟังการแถลงข่าว การเป็นเจ้าภาพการแข่งขัน EGAT ยกน้ำหนักนานาชาติ ในครั้งนี้โดยพร้อมเพียงกัน.





สมพงษ์ ปัตตานี/ข่าว
พนิดา/นศ.ฝึกงาน/พิมพ์
วันที่ 21 เม.ย. 2557

กรมประชาสัมพันธ์จัดสัมมนาสื่อมวลชนสัญจรจาก 11 จังหวัดภาคอีสาน ตามโครงการประชาสัมพันธ์ สนับสนุนประชาคมอาเซียน และชายแดนใต้

กรมประชาสัมพันธ์โดยสำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัด 11 จังหวัด ในภาค 1 กำหนดจัดสัมมนาสื่อมวลชนสันจรตามโครงการประชาสัมพันธ์สนับสนุนประชาคมอาเซียน และ การเสวนา ร้อยรวมใจเพื่อใต้สันติสุข ตามโครงการประชาสัมพันธ์สนับสนุนการแก้ไขปัญหา ชายแดนใต้ที่จังหวัดหนองคาย ระหว่างวันที่ 25-26 เมษายน 2557

นายสมพงษ์ ปัตตานี ประชาสัมพันธ์จังหวัดขอนแก่นเปิดเผยว่าในปีงบประมาณ 2557 กรมประชาสัมพันธ์ได้จัดสรรงบประมาณตามยุทธศาสตร์การประชาสัมพันธ์ของรัฐให้สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดขอนแก่น ในฐานะสำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดผู้แทนภาค 1 ซึ่งประกอบด้วย 11 จังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน คือ จังหวัดนครราชสีมา , ชัยภูมิ , เลย , หนองบัวลำภู, อุดรธานี, หนองคาย, บึงกาฬ, สกลนคร, ขอนแก่น , มหาสารคาม และกาฬสินธุ์ จัดกิจกรรมในรูปแบบของการบูรณาการร่วมกันทั้ง 11 จังหวัด รวม 2 กิจกรรม คือ 1. กิจกรรมการเสวนาหัวข้อร้อยรวมใจ เพื่อใต้สันติสุข ตามโครงการประชาสัมพันธ์สนับสนุนการแก้ไขปัญหาชายแดนใต้ และกิจกรรมการเสวนาสื่อมวลชนสัญจร หัวข้อ การเตรียมความพร้อมสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ตามโครงการสร้างและพัฒนาเครือข่ายด้านการประชาสัมพันธ์ประชาคมอาเซียน โดยที่ประชุมประชาสัมพันธ์จังหวัดทั้ง 11 จังหวัด มีมติเห็นชอบให้จัดกิจกรรมแบบบูรณาการทั้ง 2 กิจกรรมที่ โรงแรมพันล้าน บูติค รีสอร์ท อำเภอเมืองจังหวัดหนองคาย ในระหว่างวันที่   25 – 26 เมษายน 2557 ผู้เข้าร่วมการเสวนาประกอบด้วยประชาสัมพันธ์จังหวัด ผู้อำนวยการสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย สื่อมวลชน นักจัดรายการวิทยุ และอาสาสมัครประชาสัมพันธ์ประจำหมู่บ้านและชุมชน (อป.มช.) จาก 11 จังหวัดๆละ 10 คน จำนวน 110 คน

ประชาสัมพันธ์จังหวัดขอนแก่นเปิดเผย เพิ่มเติมว่าวัตถุประสงค์ของการจัดเสวนาเพื่อให้ผู้เข้าร่วมเสวนามีความรู้ มีความเข้าใจเรื่องสถานการณ์ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทย เพื่อให้รับทราบหลักคำสอนในพุทธศาสนาและศาสนาอิสลามที่ถูกต้อง เกี่ยวกับการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข อันจะเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิตที่จะนำไปสู่การอยู่ร่วมกันภายในสังคมและประเทศอย่างสันติสุข บนพื้นฐานของความแตกต่างทางศาสนา เพื่อให้ผู้เข้าร่วมเวทีเสวนาได้รับทราบถึงการเตรียมความพร้อมในการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนจากมุมมองของภาคราชการ และภาคเอกชน โดยเฉพาะในจังหวัดหนองคาย ซึ่งเป็นจังหวัดชายแดนของไทยว่า ได้มีการเตรียมความพร้อมไว้อย่างไรบ้าง นอกจากเสวนาในห้องประชุมแล้วยังได้กำหนดนำผู้เข้าร่วมเสวนาไปศึกษาวิถีชีวิตความเป็นอยู่ เศรษฐกิจ สังคม ของประเทศเพื่อนบ้านซึ่งเป็นประเทศสมาชิกอาเซียน ที่นครหลวงเวียงจันทน์ ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และด่านการค้าขายชายแดน ลาว โดยผ่านทางสะพานมิตรภาพไทย – ลาว ที่จังหวัดหนองคายด้วย.   




สมพงษ์ ปัตตานี/ข่าว
พนิดา/นศ.ฝึกงาน/พิมพ์
21 เม.ย. 57

มหาสารคาม ชู “บึงกุย”แข่งขันเจ็ตสกี G Shock Pro Tour 2014 ชิงแชมป์ประเทศไทย สนาม 2

จังหวัดมหาสารคาม ร่วมกับสมาคมเจ็ตสกีแห่งประเทศไทยในพระอุปถัมภ์ฯ จัดแข่งขันเจ็ตสกี G Shock Pro Tour 2014 ชิงแชมป์ประเทศไทยสนามที่ 2 วันที่ 26-27 เมษายน นี้ ที่บึงกุย สะดืออีสาน อำเภอโกสุมพิสัย ส่งเสริมการท่องเที่ยวให้จังหวัดมหาสารคามเป็นที่รู้จักกว้างขวาง

นายนพวัชร สิงห์ศักดา ผู้ว่าราชการจังหวัดมหาสารคาม กล่าวว่า ตามที่ จังหวัดมหาสารคาม ร่วมกับสมาคมเจ็ตสกีแห่งประเทศไทยในพระอุปถัมภ์ของทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตน์ราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี ได้กำหนดจัดการแข่งขัน เจ็ตสกี G Shock Pro Tour 2014 ชิงแชมป์ประเทศไทย สนามที่ 2 ระหว่างวันที่ 26-27 เมษายน 2557 โดยใช้สถานที่บริเวณบึงกุย อำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม ซึ่งได้ชื่อว่าเป็นสะดืออีสาน เป็นสนามแข่งขัน ซึ่งคณะกรรมการจัดการแข่งขันได้คัดเลือกโดยคำนึงถึงความพร้อมในด้านต่างๆ โดยเฉพาะศักยภาพของเมืองของการเป็นเมืองแห่งการศึกษา เป็นจุดกึ่งกลางในการคมนาคม และสนองต่อความต้องการของการจัดงานขนาดใหญ่ ประกอบกับความร่วมมือขององค์กรต่างทั้งภาครัฐและเอกชนที่ขานรับกับการแข่งขันในครั้งนี้ โดยชูจุดดึงดูดเฉพาะทางเพราะกีฬาเจ็ตสกีเป็นกีฬาของคนรุ่นใหม่ที่มีความสนุกสนาน ตื่นเต้นเร้าใจ เหมาะกับทุกวัย

สำหรับการแข่งขันเจ็ตสกี G Shock Pro Tour 2014 ชิงแชมป์ประเทศไทยสนามที่ 2 ที่จังหวัดมหาสารคามจะเริ่มทำการแข่งขันระหว่างวันที่ 26-27 เมษายน 2557 ตั้งแต่เวลา 08.30 -16.30 น. และมีการถ่ายทอดสดทางทรูวิชันส์ เวลา 14.30-16.30 น. ทั้ง 2 วันและรับชมเทปการแข่งขันทางช่อง 3


ส.ปชส.มหาสารคาม/ข่าว

ม.มหาสารคาม ลงนามการอนุญาตให้ใช้สิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา

หน่วยจัดการทรัพย์สินทางปัญญา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ร่วมกับ บริษัท เดอะ กีฟวิ่ง ที จำกัด จัดพิธีลงนามการอนุญาตให้ใช้สิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา 3 ผลงาน คือ เครื่องดื่มสมุนไพรและกรรมวิธีการทำเครื่องดื่มน้ำใบย่านางแดงที่มีส่วนผสมของรางจืดกับมะรุมและกรรมวิธีการทำ และ เครื่องดื่มสมุนไพรจากใบหม่อนที่มีส่วนผสมของข้าวกล้องและกรรมวิธีการทำ

(21-4-57)ที่ห้องประชุม 2 ชั้น 4 อาคารบรมราชกุมารี มหาวิทยาลัยมหาสารคาม หน่วยจัดการทรัพย์สินทางปัญญา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ร่วมกับ บริษัท เดอะ กีฟวิ่ง ที จำกัด ได้จัดพิธีลงนามการอนุญาตให้ใช้สิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.ศุภชัย สมัปปิโต อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ลงนามร่วมกับ นายบุญญวัฒน์ ละอองทอง กรรมการบริษัท เดอะ กีฟวิ่ง ที จำกัด โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมให้ผู้ประกอบการหรือเอกชน ได้มีโอกาสนำเอาทรัพย์สินทางปัญญาจากงานวิจัยของอาจารย์ นักวิจัย และบุคลากรของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ไปใช้ประโยชน์เพื่อก่อให้เกิดมูลค่าในเชิงพาณิชย์เพิ่มมากขึ้น อันจะก่อให้เกิดประโยชน์แก่ระบบเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ นอกจากนี้ยังเป็นการสร้างความตระหนักถึงความสำคัญของการอนุญาตให้ใช้สิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาภายในมหาวิทยาลัยมหาสารคาม อันจะเป็นการกระตุ้นให้เกิดการอนุญาตให้ใช้สิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาเพิ่มมากขึ้น ตลอดจนเพื่อให้เป็นไปตามพันธกิจหลักของศูนย์ส่งเสริมความร่วมมือกับภาคอุตสาหกรรม ในการดำเนินงานตามโครงการอุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาค เครือข่ายมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ร่วมกับกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ต่อไป

ทั้งนี้ จากที่เริ่มดำเนินงานมาจนถึงปัจจุบัน หน่วยจัดการทรัพย์สินทางปัญญา ได้ดำเนินการรวบรวม รับโอน และดำเนินการจดแจ้งทรัพย์สินทางปัญญาของมหาวิทยาลัยมหาสารคามรวมทุกประเภท ได้แก่ สิทธิบัตร อนุ-สิทธิบัตร ลิขสิทธิ์ และเครื่องหมายการค้าไปแล้วมากกว่า 50 ผลงาน และในปีงบประมาณ พ.ศ. 2557 ได้ดำเนินการยื่นคำขอเพื่อจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญาให้ผู้ประกอบการที่อยู่ภายใต้กระบวนการบ่มเพาะธุรกิจเทคโนโลยีร่วมกับศูนย์ส่งเสริมความร่วมมือกับภาคอุตสาหกรรม ได้แก่ บริษัท เดอะกีฟวิ่ง ที จำกัด ซึ่งต่อมาทางบริษัทฯ ได้ให้ความสนใจที่จะขออนุญาตใช้สิทธิในเทคโนโลยี (Licensing) ของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ทั้งหมดจำนวน 3 ผลงาน ดังนี้ (1) อนุสิทธิบัตร เรื่องเครื่องดื่มสมุนไพรและกรรมวิธีการทำ เลขที่คำขอ 1403000121 (2) อนุสิทธิบัตร เรื่องเครื่องดื่มน้ำใบย่านางแดงที่มีส่วนผสมของรางจืดกับมะรุมและกรรมวิธีการทำ เลขที่คำขอ 1403000120 และ (3) อนุสิทธิบัตร เรื่องเครื่องดื่มสมุนไพรจากใบหม่อนที่มีส่วนผสมของข้าวกล้องและกรรมวิธีการทำ เลขที่คำขอ 1403000364



ส.ปชส.มหาสารคาม/ข่าว