วันพฤหัสบดีที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2556

แม่ทัพภาคที่ 2 เปิดอนุสาวรีย์พลตรีหลวงวีรวัฒน์โยธินและวางศิลาฤกษ์อาคารพิพิธภัณฑ์ทหาร

พลโทจีระ ศักดิ์ ชมประสพ แม่ทัพภาคที่ 2 เดินทางเป็นประธานเปิดอนุสาวรีย์พลตรีหลวงวีรวัฒน์โยธินและวางศิลาฤกษ์อาคาร พิพิธภัณฑ์ทหาร ที่จังหวัดทหารบกสุรินทร์

วันที่ 27 มิ.ย. 56 ที่ค่ายวีรวัฒน์โยธิน จังหวัดทหารบกสุรินทร์ พลโทจีระศักดิ์ ชมประสพ แม่ทัพภาคที่ 2 เป็นประธานวางศิลาฤกษ์อาคารพิพิธภัณฑ์ทหารวีรวัฒน์โยธิน เพื่อเป็นอาคารเก็บรวบรวมข้อมูลทางประวัติศาสตร์ของหน่วย รวมทั้งพระราชกรณียกิจ และงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ การก่อสร้างโดยงบจัดสรรผ่านองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เป็นอาคารสองชั้น ขนาด 21X36 เมตร มีห้องจัดแสดงนิทรรศการ จำนวน 12 ห้อง งบประมาณก่อสร้างและตกแต่งประมาณ 42 ล้านบาท

จากนั้นแม่ทัพภาคที่ 2 ได้เป็นประธานเปิดอนุสาวรีย์พลตรีหลวงวีรวัฒน์โยธิน ที่บริเวณหน้าค่ายวีรวัฒน์โยธิน ซึ่งเดิมเป็นเพียงช่วงศีรษะ จนถึงกลางหน้าอก แต่เนื่องด้วยมีการที่จะสร้างตัวอนุสาวรีย์ขึ้นมาใหม่เป็นแบบยืนเต็มตัว ตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา

ซึ่งเมื่อปี พ.ศ. 2582 กองพลสุรินทร์นำโดยการนำของ พันเอก วีรวัฒน์วีรวัฒน์โยธิน (ยศในขณะนั้น) ได้นำกองพลสุรินทร์ ปฏิบัติการรบกรณีเรียกร้องดินแดนคืนจากอินโดจีนของฝรั่งเศส และได้นำกำลังเข้าตีและยึดป้อมปืนสำโรง และเมืองจงกัล (ประเทศกัมพูชา) ปฏิบัติการรบอยู่เพียง 3 วัน จึงยึดได้โดยไม่มีการสูญเสียกำลังพลแต่อย่างใด ซึ่งการปฏิบัติการ ครั้งนั้นได้นำชื่อเสียง และเกียรติประวัติมาสู่กองพลสุรินทร์เป็นอย่างยิ่ง และ เพื่อเป็นเกียรติและอนุสรณ์แด่ พล.ต.หลวงวีรวัฒน์โยธิน” ซึ่งเป็นผู้บัญชาการกองพลสุรินทร์ เมื่อครั้งสงครามอินโดจีน เป็น ผู้บัญชาการกรมทหารราบที่ 8 และ ผู้บัญชาการจังหวัดทหารบก เป็นคนแรก ตั้งแต่ปี 2483 ทางราชการจึงขนานนามว่าค่ายทหารหน่วยนี้ว่า "ค่ายวีรวัฒน์โยธิน”

อนุสาวรีย์พลตรีหลวงวีรวัฒน์โยธิน เป็นรูปหล่อลอยองค์ทำจากสัมฤทธิ์รมดำ แบบยืนเต็มองค์ สวมเครื่องแบบเต็มยศ ขนาดความสูง 1.85 เมตร ตั้งอยู่บนฐานหินแกรนิตสีดำรูป 8 เหลี่ยม สูง 1.80 เมตร อยู่บนแท่นฐานหินอ่อน โดยรอบ ทั้งนี้เพื่อเป็นการสดุดีและระลึกถึงวีรกรรมของพลตรีหลวงวีรวัฒน์ในอดีต ทาง กำลังพล ครอบครัวในค่ายและประชาชนทั่วไป จึงร่วมกันจัดสร้างอนุสาวรีย์แบบเต็มองค์ขึ้น




ส.ปชส.สุรินทร์ กำฃัย  วันสุข / ข่าว
อนุชา  หาญนึก / ภาพ

ชุดเฉพาะกิจตรวจสอบคลังสินค้าและโกดังรับจำนำข้าวสุรินทร์ เร่งออกตรวจสอบทั้งจังหวัด

สุรินทร์จัด ชุดปฏิบัติการและคณะทำงานออกตรวจสอบคลังสินค้าและโรงสีที่เข้าร่วมโครงการ รับจำนำข้าวของรัฐบาล ทั้ง 17 อำเภอ พบปริมาณและสภาพข้าวจำนำยังอยู่ปกติ ทางด้านผู้ว่าราชการจังหวัดฯเน้นย้ำให้เฝ้าตรวจสอบการสวมสิทธิเพื่อสร้าง มั่นใจแก่เกษตรกร
 
วันที่ 27 มิ.ย.56  เวลา 08.00 น. ที่ลานหน้าสถานีตำรวจภูธรจังหวัดสุรินทร์ คณะทำงานเฉพาะกิจตรวจสอบคลังสินค้าและโรงสีข้าวที่เข้าร่วมโครงการรับจำข้าว ปีการผลิต 2555/56 พร้อมชุดปฏิบัติการของตำรวจภูธรจังหวัดสุรินทร์ ได้ร่วมออกตรวจโกดังและโรงสีในโครงการรับจำนำข้าวของรัฐบาล โดยมี นายนิรันดร์ กัลยาณมิตร ผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์ เป็นประธานการปล่อยขบวนคณะทำงานชุดเฉพาะกิจตรวจสอบคลังสินค้าและโรงสี เพื่อออกปฏิบัติการตรวจสอบคลังโกดังข้าวและโรงสีภายในจังหวัด จำนวน 72 แห่ง โดยแบ่งสายออกปฏิบัติการเป็น 3 สาย ประกอบด้วย สายแรก ในพื้นที่ 4 อำเภอ จำนวน 37 แห่ง มีพาณิชย์จังหวัดเป็นหัวหน้าชุด สายที่ 2 ในพื้นที่ 6 อำเภอ จำนวน 20 แห่ง มีการค้าภายในเป็นหัวหน้าชุด และสายที่ 3 ในพื้นที่ 3 อำเภอ จำนวน 15 แห่ง มีเกษตรจังหวัดเป็นหัวหน้าชุด

จากนั้น นายนิรันดร์ กัลยาณมิตร ผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์ พร้อมด้วยนายพิภพ ดำทองสุข รองผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์ พร้อมคณะกรรมการฯระดับจังหวัด เดินทางไปยัง บจก.สินอุดมพืชไร่ เลขที่ 220 หมู่ 16 ต.นาบัว อ.เมืองสุรินทร์ โดยมี อคส. เป็นผู้เช่า พบว่าสภาพการเก็บข้าวและจำนวนข้าวตามหลักฐานมีความถูกต้อง มีเพียงสภาพหลังคาที่มีรอยรั่วแต่ก็สั่งการให้ซ่อมแซมแล้ว เพราะเกรงว่าข้าวถูกน้ำจากฝนจะทำให้ข้าวเสียหาย

นายนิรันดร์ กัลยาณมิตร ผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์ กล่าวว่า ตามที่มีข่าวมาก่อนหน้านี้ ทั้งที่ บจก.สินอุดมพืชไร่ และที่ ท่าตูม ทางเจ้าหน้าที่ได้เข้าไปตรวจสอบแล้วก็ถือว่าเรียบร้อยดี ซึ่งเมื่อประมาณกลางเดือนมิถุนายน ที่ผ่านมาก็ได้ไปตรวจมาครั้งหนึ่งแล้ว ก็รายงานไปว่าเรียบร้อยดี การออกตรวจอีกรอบในครั้งนี้ก็ถือว่าเป็นการสร้างความมั่นใจ

ซึ่งการนำคณะเจ้าหน้าที่ออกตรวจทั้งจังหวัดในวันนี้ เพื่อให้เกิดโปร่งใสและให้ได้ข้อมูลปริมาณข้าวของรัฐบาลที่ถูกต้องและครบ ถ้วน เป็นไปตามการสั่งการของ ฯพณ ฯ นายกรัฐมนตรีได้สั่งการให้ทุกจังหวัดเร่งตรวจสอบคลังสินค้าข้าวและปริมาณ ข้าวเปลือกคงเหลือของโครงการรับจำนำข้าว พร้อมทั้งจัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการ ณ ศาลากลางจังหวัดสุรินทร์ และได้เร่งให้การประชาสัมพันธ์ทำความเข้าใจการดำเนินโครงการจำนำข้าวของ รัฐบาล โดยเฉพาะการปรับลดราคาจำนำข้าวเพื่อให้เกษตรกร และประชาชนทั่วไปได้รับทราบอย่างต่อเนื่อง และได้กำชับให้คณะทำงานโครงการรับจำนำข้าวเฝ้าระวังและตรวจสอบการสวมสิทธิ จำนำข้าวจากประเทศเพื่อนบ้านด้วย




ทีมข่าวสำนักงานประชาสัมพันธืจังหวัดสุรินทร์

นักเรียน นักศึกษา และประชาชน ทั่วไป จังหวัดอุบลราชธานี ร่วมรณรงค์กิจกรรมเนื่องในวันต่อต้านยาเสพติดโลก ประจำปี 2556

วันที่ 26 มิถุนายน 2556 เวลา 18.00 น. ที่ บริเวณทุ่งศรีเมือง จังหวัดอุบลราชธานี นายวันชัย สุทธิวรชัย ผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี เป็นประธานเปิดกิจกรรมเนื่องในวันต่อต้านยาเสพติดโลก ประจำปี 2556 โดยมีส่วนราชการ นักเรียน นักศึกษา และประชาชน เข้าร่วมกิจกรรมเป็นจำนวนมาก การจัดงานวันต่อต้านยาเสพติดประจำปี 2556 ได้มีการระดมพลังแผ่นดินครั้งยิ่งใหญ่ของชาวจังหวัดอุบลราชธานี ในการเข้ามามีส่วนร่วมป้องกันและเฝ้าระวังปัญหายาเสพติดไม่ให้หวนกลับมามีผล กระทบต่อสังคมไทย ภายใต้การนำของ นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ที่ได้กำหนดแนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด ภายใต้พลังแผ่นดินเอาชนะยาเสพติด ซึ่งกำหนดเป็นวาระแห่งชาติ ที่รัฐบาลมุ่งมั่นในการแก้ไขปัญหาดังกล่าวอย่างจริงจังและต่อเนื่อง

จังหวัดอุบลราชธานี จึงได้จัดกิจกรรมในครั้งนี้ขึ้น โดยเน้นการมีส่วนร่วมในการแสดงพลังของคนในชาติอย่างพร้อมเพรียงกันทุก พื้นที่ทั่วประเทศ ภายใต้คำขวัญ "ยาเสพติดจะพินาศ คนไทยทั้งชาติต้องร่วมมือกัน” เพื่อให้ประชาชน เยาวชนและทุกภาคส่วนได้ตระหนักถึงพิษภัยของยาเสพติดและร่วมกันแก้ไขปัญหาดัง กล่าวอย่างจริงจังและต่อเนื่อง พร้อมทั้งให้วันที่ 26 มิถุนายน ซึ่งเป็นวันต่อต้านยาเสพติดโลก เป็นวันที่แสดงถึงสัญลักษณ์ของการผนึกกำลังของคนในชาติเพื่อร่วมแก้ไขปัญหา ยาเสพติดให้หมดไป กิจกรรมในวันนี้ ประกอบด้วย กิจกรรมรวมพลัง "คนไทยหัวใจสีขาว ร่วมต้านยาเสพติด” : การอ่านสารจากนายกรัฐมนตรีและกล่าวปฏิญาณตนประกาศเจตนารมณ์ต่อต้านยาเสพติด การนิทรรศการความรู้โทษของยาเสพติด การจัดนิทรรศการเกี่ยวกับโทษและพิษภัยยาเสพติด การแสดงดนตรีจากเด็ก และเยาวชน วัยใสต้านยาเสพติด ตลอดจนร่วมกันเผาทำลายยาเสพติดทุกประเภทที่คดีสิ้นสุดแล้ว
 


จักรกฤษณ์ มาลาสาย / ข่าว

ทองปัก ทวีสุข/ภาพ

ประชุมกรมการจังหวัดอุดรธานี ประจำเดือน มิถุนายน 2556

จังหวัดอุดรธานีจัดประชุมหัวหน้าส่วนราชการ หัวหน้าหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้บริหารสถานศึกษา นายอำเภอ จังหวัดอุดรธานี ครั้งที่ 6/2556

เช้าวันนี้ ( 27 มิ.ย. 56 ) ที่ห้องประชุมทองใหญ่ ชั้น 2 ศาลากลางจังหวัดอุดรธานี นายสาโรช แสงอรุณ รองผู้ว่าราชการจังหวัดอุดรธานี เป็นประธานการประชุมกรมการจังหวัดอุดรธานี หรือ การประชุมหัวหน้าส่วนราชการ หัวหน้าหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ ผู้บริหารสถานศึกษา นายอำเภอ จังหวัดอุดรธานี ครั้งที่ 6/2556 โดยมี นายชยพล ธิติศักดิ์ และนายณรงค์ พลละเอียด รองผู้ว่าราชการจังหวัดอุดรธานี หัวหน้าส่วนราชการ ข้าราชการ ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้บริหารสถานศึกษา ร่วมประชุม

โดยก่อนการประชุมเป็นการประชาสัมพันธ์บทบาทภารกิจของสำนักงานวัฒนธรรมจัง หวัอุดรธานี การจัดทำเหรียญครบรอบ 121 ปี เมืองอุดรธานี โครงการและภารกิจหลักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติบ้านเชียง และการเตรียมพร้อมกับการเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันตระกร้อชิงแชมป์โลก ชิงถ้วยพระพราชทานพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ครั้งที่ 28 ซึ่งกำหนดจัดงานในวันที่ 16-22 กันยายน 2556ที่จะถึงนี้ จากนั้นรองผู้ว่าราชการจังหวัดอุดรธานี มอบโล่รางวัลเกษตรกรดีเด่นแห่งชาติ ประจำปี 2556 สาขาการพัฒนาที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ให้กับนายนิมิต ทักโลวา ราษฎรชาวอำเภอน้ำโสม ซึ่งอาศัยอยู่บ้านเลขที่ 66 หมู่ที่ 1 บ้านนางัว ตำบลนางัว อำเภอน้ำโสม จังหวัดอุดรธานี แนะนำตัวนายชาญชัย วิถีเทพ แรงงานจังหวัดอุดรธานีคนใหม่ซึ่งย้ายมาจากสำนักงานประกันสังคมจังหวัด ขอนแก่น และประชุมติดตามความกว้าหน้างาน/โครงการตามนโยบายสำคัญ อาทิ การติดตามเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณภาครัฐ ประจำปี 2556 รายงานผลการเฝ้าระวังคุณภาพน้ำ ลำห้วยหลวง การรับจำนำข้าวเปลือก การรายผลการดำเนินงานศูนย์ดำรงธรรมจังหวัดอุดรธานี การขับเคลื่อนปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง การดำเนินงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองจังหวัดอุดรธานี การแก้ไขปัญหาความยากจนแบบบูรณาการ รายงานผลการปฏิบัติงานของสำนักงานเหล่ากาชาดจังหวัดอุดรธานี โครงการผู้ว่าฯพาทำบุญเนื่องในเทศกาลเข้าพรรษา และการแต่งตั้งคณะกรรมการกำกับและขับเคลื่อนวาระแห่งชาติด้านสหกรณ์ระดับ จังหวัด



ทีมข่าวส.ปชส.อด. ศรีภูมิ ทองใหญ่ ณ อยุธยา ข่าว/ภาพ

การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจังหวัดอำนาเจริญ จัดโครงการ “PEA.-” ประชาร่วมใจลดไฟดับ

(26 มิ.ย. 56)  ที่องค์การบริหารส่วนตำบลสร้างนกทา  อำเภอเมือง จังหวัดอำนาจเจริญ นายวิฑูรย์  ศิริบูลย์ภักดี  รองผู้ว่าราชการจังหวัดอำนาจเจริญ  เป็นประธานเปิดโครงการ"PEA.-” ประชาร่วมใจลดไฟดับ โดยการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจังหวัดอำนาเจริญ ได้จัดขึ้น เพื่อให้ตัวแทนอาสาแต่ละ อบต. มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับภาระหน้าที่ ของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค และการใช้ไฟฟ้าอย่างรู้คุณค่า ถูกวิธีและปลอดภัย และประชาชนมีส่วนร่วมในการช่วยกันสอดส่องดูแล  รักษาระบบจำหน่าย และให้ข้อมูลสถานที่ สาเหตุการเกิดปัญหา ของระบบจำหน่ายได้อย่างรวดเร็ว  ประชาชนเกิดความพึงพอใจในการให้บริการ ของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค และการสร้างความสัมพันธ์อันดีกับบุคคลภายนอก  และยังเป็นความร่วมมืออันดีระหว่าง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค กับ อบต. ในการที่จะปรับปรุงซ่อมแซม ระบบไฟฟ้าภายในพื้นที่ที่รับผิดชอบของ อบต. ให้มีความมั่นคง ลดกระแสไฟฟ้าขัดข้องให้เหลือน้อยที่สุด

สำหรับพื้นที่จังหวัดอำนาจเจริญ นายพัฒนะสิน  พูนเดช  ผู้อำนวยการไฟฟ้าเขต 2  กล่าวว่าการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ได้ดำเนินโครงการ "PEA.-” ประชาร่วมใจลดไฟดับ ที่ อบต.สร้างนกทา โดยได้มีการจัดอบรมให้ความรู้ ความเข้าใจด้านระบบไฟฟ้า การแจ้งเหตุไฟฟ้าขัดข้อง และอื่นๆ ทั้งภาคทฤษฎี และปฏิบัติ ให้กับตัวแทนอาสาสมัคร ทั้ง 16 หมู่บ้าน รวม 64 คน  ทางด้าน นายวิฑูรย์  ศิริบูลย์ภักดี  รองผู้ว่าราชการจังหวัดอำนาจเจริญ ได้กล่าวขอบคุณ และชื่นชม ที่การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ได้ให้ความสำคัญอย่างยิ่งกับจังหวัดอำนาจเจริญ ในการคัดเลือก อบต.สร้างนกทา  อำเภอเมืองอำนาจเจริญ เข้าร่วมโครงการ"PEA.-” ประชาร่วมใจลดไฟดับ  ซึ่งจะเป็นประโยชน์กับพี่น้องประชาชน ตำบลสร้างนกทา และตำบลใกล้เคียง รวมถึงพี่น้องประชาชนชาวจังหวัดอำนาจเจริญ

โอกาสนี้ นายพัฒนะสิน  พูนเดช  ผู้อำนวยการไฟฟ้าเขต 2  ได้มอบใบประกาศนียบัตร และบัตรสมาชิก ให้กับตัวแทนอาสาสมัคร  พร้อมปล่อยขบวนรถยนต์ ร่วมกับ  นายวิฑูรย์  ศิริบูลย์ภักดี  รองผู้ว่าราชการจังหวัดอำนาจเจริญ  ลงพื้นที่สำรวจ และปฏิบัติงานจริงต่อไป




จรูญ  พิตะพันธ์ / ข่าว / ภาพ

ผู้ว่าราชการจังหวัดอำนาจเจริญนำคณะทำงานตรวจสอบข้อเท็จจริงลงพื้นที่ตรวจปริมาณข้าวคงเหลือที่โกดังกลางและจุดรับจำนำข้าวเปลือกของจังหวัดอำนาจเจริญ

ผู้ว่าราชการจังหวัดอำนาจเจริญ นำคณะทำงานลงพื้นที่ตรวจสอบข้อเท็จจริงปริมาณข้าวคงเหลือ ณ โกดังกลาง และจุดรับจำนำข้าวเปลือกของจังหวัดอำนาจเจริญ ซึ่งการตรวจสอบปรากฏว่า ปริมาณข้าวเปลือกที่รับจำนำครั้งที่ ๒ และข้าวสารที่เก็บไว้โกดังกลางมีจำนวนครบถ้วน ไม่มีปัญหาแต่อย่างใด

เวลา ๐๙.๓๐ น. (วันที่ ๒๗ มิถุนายน ๒๕๕๖) ที่กองบังคับการตำรวจภูธรจังหวัดอำนาจเจริญ นายวีระวัฒน์ ชื่นวาริน ผู้ว่าราชการจังหวัดอำนาจเจริญ เป็นประธานปล่อยแถวคณะทำงานตรวจสอบข้อเท็จจริง ในโครงการรับจำนำข้าวเปลือกของจังหวัดอำนาจเจริญ ซึ่งประกอบด้วยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหลายหน่วยงาน และซักซ้อมขั้นตอนการปฏิบัติก่อนออกพื้นที่ปฏิบัติการตรวจสอบปริมาณข้าวคงเหลือ ขององค์การคลังสินค้าและองค์การตลาดเพื่อเกษตรกรจังหวัดอำนาจเจริญ และจุดรับจำนำข้าวเปลือก รอบ ๒ (ข้าวนาปรัง) โดยมี นายอภิชาติ งามกมล รองผู้ว่าราชการจังหวัดอำนาจเจริญ พร้อมด้วย พลตำรวจตรี บุญยศ บุญไพศาล ผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดอำนาจเจริญ เข้าร่วมชี้แจงขั้นตอนการเข้าพื้นที่เพื่อปฏิบัติการในครั้งนี้ ซึ่งถือว่าเป็นการบูรณาการปฏิบัติงานตามนโยบายเร่งด่วนของรัฐบาล เพื่อให้การดำเนินการครั้งนี้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย โปร่งใส

จุดแรก นายวีระวัฒน์ ชื่นวาริน ผู้ว่าราชการจังหวัดอำนาจเจริญ พร้อมคณะได้เข้าทำการตรวจสอบปริมาณข้าวสารที่ ห้างหุ้นส่วนจำกัด อุบลถาวรค้าพืช เลขที่ ๗๙ หมู่ ๑๐ ถนนอรุณประเสริฐ ตำบลบุ่ง อำเภอเมืองอำนาจเจริญ ซึ่งเป็นโกดังกลาง โดยมีเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบคอยชี้แจง ปริมาณข้าวสารจัดเก็บอยู่ทั้งสิ้น ๕๐,๓๗๘ กระสอบ โดยแยกเป็นข้าวท่อนหอมมะลิ ๑๕,๗๔๔ กระสอบ ข้าวหอมมะลิ ๑๐๐ % ชั้น ๒ จำนวน ๒๕,๙๒๘ กระสอบ และปลายข้าวหอมมะลิ จำนวน ๘,๗๐๖ กระสอบ ซึ่งจากการตรวจนับครบถ้วนตรงกับบัญชีการควบคุมจัดเก็บของโกดัง  จากนั้นผู้ว่าราชการจังหวัดอำนาจเจริญ และคณะได้เดินทางไปที่โรงสีเกษตรธัญญเจริญ เลขที่ ๑๒๖ หมู่ ๑๕  ถนนอรุณประเสริฐ ตำบลบุ่ง อำเภอเมืองอำนาจเจริญ ซึ่งเป็นจุดรับจำนำข้าวเปลือกปีการผลิต ๒๕๕๕/๒๕๕๖ ครั้งที่ ๒ (นาปรัง) เพียงแห่งเดียวของจังหวัดอำนาจเจริญ ปรากฏว่ามีเกษตรกรนำข้าวจำนำตามโครงการจำนวนทั้งสิ้น ๘๐๘ ตัน ซึ่งคณะทำงานตรวจนับจำนวนข้าวที่จัดเก็บไว้พบว่ามีส่วนต่างอยู่ร้อยละ ๗.๔๔ ซึ่งอยู่ในเกณฑ์เฉลี่ยปกติ ถือว่าปริมาณข้าวที่รับจำนำครบถ้วนไม่ขาดบัญชี

นายวีระวัฒน์ ชื่นวาริน ผู้ว่าราชการจังหวัดอำนาจเจริญ กล่าวว่า การดำเนินโครงการรับจำนำข้าวเปลือกของจังหวัดอำนาจเจริญ ไม่พบเหตุผิดปกติ หรือมีปัญหาการทุจริตแต่อย่างใด และเป็นไปอย่างครบถ้วน ถูกต้อง โปร่งใส  เนื่องจากทางจังหวัดได้มีการกำชับ และซักซ้อมความเข้าใจในการทำงานให้เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ปฏิบัติตามระเบียบกฎเกณฑ์ของทางราชการอย่างเคร่งครัด ขณะเดียวกันได้มีการติดตามดูแลการปฏิบัติงานทุกขั้นตอนอย่างใกล้ชิด  ซึ่งหลังจากนี้ทางจังหวัดจะได้รายงานผลการตรวจสอบปริมาณข้าวให้ทางส่วนกลางรับทราบต่อไป



สุรพล  บุตรวงศ์ / ข่าว/ภาพ

ผู้ว่าราชการจังหวัดอำนาจเจริญประชุมมอบแนวทางการปฏิบัติราชการแก่ผู้บริหาร

เวลา ๑๐.๐๐ น. (วันที่ ๒๗ มิถุนายน ๒๕๕๖) ที่ห้องประชุมพระมงคลมิ่งเมือง ศาลากลางจังหวัดอำนาจเจริญ  นายวีระวัฒน์ ชื่นวาริน ผู้ว่าราชการจังหวัดอำนาจเจริญ เป็นประธานประชุมผู้บริหารท้องถิ่นของจังหวัดอำนาจเจริญ ซึ่งประกอบด้วยผู้บริหารจากองค์การบริหารส่วนจังหวัด องค์การบริหารส่วนตำบล ปลัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และท้องถิ่นอำเภอทุกอำเภอ ทั้งนี้ เพื่อพบปะชี้แจงและทำความเข้าใจแนวทางการปฏิบัติราชการและอำนาจหน้าที่ความ รับผิดชอบขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทุกระดับให้เป็นในแนวทางเดียวกัน โดยผู้ว่าราชการจังหวัดอำนาจเจริญ กำชับให้ผู้บริหารส่วนท้องถิ่น เอาใจใส่ในการทำหน้าที่ ดูแล บำบัดทุกข์ บำรุงสุข แก้ไขปัญหาความเดือดร้อนให้ประชาชน และขอความร่วมมือจากทุกท้องถิ่นได้สนับสนุนการทำงานของจังหวัด

ในที่ประชุม นายวีระวัฒน์ ชื่นวาริน ผู้ว่าราชการจังหวัดอำนาจเจริญ ได้ขอความร่วมมือจากผู้บริหารท้องถิ่นทุกแห่ง ให้การสนับสนุนการทำงานของจังหวัดทั้งด้านข้อมูลข่าวสาร บุคลากรและงบประมาณ ในการพัฒนาท้องถิ่นและแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนในเรื่องต่างๆ   เช่น การป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด โดยเฉพาะการสนับสนุนงบประมาณด้านการบำบัดรักษาผู้เสพ/ผู้ติดยาเสพติด นอกจากนี้ก็ขอความร่วมมือให้ทุกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้ชี้แจงทำความเข้าใจกับประชาชนและเกษตรกรในอำเภอ ตำบล หมู่บ้าน และชุมชน เกี่ยวกับโครงการรับจำนำข้าวเปลือกของรัฐบาล ที่มีการปรับราคาการรับจำนำลง เนื่องจากปัจจัยภาวะเศรษฐกิจทั้งภายในประเทศและสถานการณ์เศรษฐกิจโลก เพื่อให้ประชาชนและเกษตรกรชาวนาเกิดความเข้าใจที่ถูกต้องในเจตนารมณ์ของรัฐบาล                

ในโอกาสเดียวกันนี้ มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตอำนาจเจริญ ซึ่งเป็นสถาบันอุดมศึกษาในส่วนภูมิภาคที่กระจายโอกาสทางการศึกษาสู่ชุมชน ได้ชี้แจงในที่ประชุมกับผู้บริหารท้องถิ่นถึงความก้าวหน้าการดำเนินงาน ของมหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตอำนาจเจริญ ทั้งด้านการพัฒนาอาคาร สถานที่ และหลักสูตรการเรียนการสอนของมหาวิทยาลัย ซึ่งปัจจุบันยังขาดงบประมาณในการขับเคลื่อนการพัฒนาให้มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตอำนาจเจริญ เป็นมหาวิทยาลัยของชาวอำนาจเจริญอย่างแท้จริง  จึงได้ขอความร่วมมือจากผู้บริหารท้องถิ่นทุกองค์กร ได้ให้ความสำคัญและสนับสนุนงบประมาณ เพื่อทางมหาวิทยาลัยจะได้นำมาดำเนินการตามแผนงานและโครงการ เพื่อพัฒนาด้านการศึกษาของจังหวัดอำนาจเจริญ ให้เกิดผลประโยชน์ต่อนักเรียน และเยาวชนของจังหวัดอำนาจเจริญ ให้มีการศึกษาที่ดี มีคุณภาพ กลับมาพัฒนาบ้านเกิดให้เกิดความมั่นคง ผาสุก อย่างยั่งยืนในอนาคตต่อไป



สุรพล  บุตรวงศ์ / ข่าว/ภาพ

ผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ ส่ง ชุดปฏิบัติการพิเศษ ตรวจทุจริตจำนำข้าว

เมื่อเวลา 10.00 น. วันที่ 27 มิ.ย. 56 นายประทีป กีรติเรขา ผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ มอบหมายให้ นายสนิท ขาวสอาด รองผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ นำกำลังเจ้าหน้าที่ชุดปฏิบัติการ จาก สำนักงานพานิชย์จังหวัดศรีสะเกษ สำนักงานเกษตรกรจังหวัดศรีสะเกษ และเจ้าหน้าที่จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง พร้อมด้วยกำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจชุดสืบสวน จากสถานีตำรวจภูธรเมืองศรีสะเกษ ลงพื้นที่ตรวจสอบโรงสีและโกดังกลาง ในพื้นที่ 8 อำเภอ จำนวน 27 จุดรับจำนำข้าว ในพื้นที่จังหวัดศรีสะเกษ ซึ่งการปฏิบัติการในครั้งนี้ เป็นไปตามที่รัฐบาล ได้กำหนดให้วันที่ 27 มิ.ย.56 เป็นวันดีเดย์การตรวจสอบโรงสีข้าวและโกดังทุกแห่งในพื้นที่ ที่เข้าร่วมโครงการรับจำนำข้าวประจำปี 55/56 ทั้งข้าวนาปรัง และนาปี เพื่อเป็นการป้องกันและตรวจสอบการทุจริตการรับจำนำข้าว สำหรับชุดปฏิบัติการ ของนายสนิท ขาวสอาด รองผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ ได้ลงไปตรวจโครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปี คลังสินค้ากลาง ของบริษัทจำกัดมหาชน บางซื่อไฟสีเจียเม้งจังหวัดศรีสะเกษ ถนนศรีสะเกษ – กันทรลักษ์ ตำบลโพนข่า อำเภอเมือง จังหวัดศรีสะเกษ ซึ่งจากการตรวจสอบเสร็จสิ้น นายสนิท ได้เปิดเผยกับผู้สื่อข่าวว่า วันนี้ นายประทีป กีรติเรขา ผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ ได้มอบหมายให้ตน ในฐานะ รองผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ ระดมเจ้าหน้าที่จากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง จำนวน 300 นาย แบ่งออกเป็น 27 ชุดปฏิบัติ เพื่อลงตรวจสอบโรงสี และโกดังกลางรับจำนำข้าว ในพื้นที่จังหวัดศรีสะเกษ ทุกแห่ง โดยมีโกดังกลางใหญ่อยู่จำนวน 14 โกดัง ซึ่งมีข้าวอยู่ประมาณ 100,000 ตัน หรือ ประมาณ 1,000,000 กระสอบ ในส่วนของนาปลัง มีข้าวประมาณ 14,000 ตัน หรือประมาณ 140,000 กระสอบ ซึ่งหลังจากการตรวจสอบการเก็บรักษาข้าวก็ถูกต้องตามหลักเกณฑ์ที่ทางรัฐบาล กำหนด รวมไปถึงมาตรฐานของข้าวที่เก็บรักษาไว้นั้นยังอยู่ในสภาพที่ดีตามมาตรฐาน โดยหลังจากการตรวจครบทุกพื้นที่เสร็จสิ้น ตนมั่นใจว่าโกดังข้าวในพื้นที่จังหวัดศรีสะเกษ จะไม่มีปัญหาการทุจริตแต่อย่างใด ซึ่งจะได้รายงานเรื่องนี้ไปยังส่วนกลางต่อไป 

จังหวัดร้อยเอ็ดจัดสัมมนาบุคลากรภาครัฐเตรียมความพร้อมรองรับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

จังหวัดร้อยเอ็ดจัดสัมมนาบุคลากรรัฐ เพื่อเตรียมความพร้อมรองรับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ให้สามารถเดินหน้าเข้าสู่ประชาคมอาเซียนได้อย่างมั่นใจ

วันนี้ (27 มิ.ย. 56) เวลา 09.30 น. นายพศิน โกมลวิชญ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดร้อยเอ็ด เป็นประธานเปิดการสัมมนาโครงการพัฒนาระบบประชาคมการบริหารเพื่อรองรับ ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน รุ่นที่ 3 ณ โรงแรงวัน โอ วัน อำเภอเมืองร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด นางสาวทิพวรรณ จันทร์ชนะ แรงงานจังหวัดร้อยเอ็ด กล่าวว่า จังหวัดร้อยเอ็ด โดยสำนักงานแรงงานจังหวัดร้อยเอ็ด ได้จัดโครงการพัฒนาระบบการบริหารจัดการเพื่อรองรับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน เพื่อพัฒนาบุคลากรของภาครัฐและเอกชนให้มีความพร้อม สร้างความตระหนัก ความเข้าใจในประชาคมอาเซียน ตลอดจนเป็นการบูรณาการการทำงานของทั้งภาครัฐและเอกชนในการบริหารจัดการระบบ ต่างๆ รองรับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน โดยมีกิจกรรมในการเตรียมความพร้อม ประกอบด้วย การพัฒนาพัฒนาศักยภาพบุคลากรด้านระบบบริหารจัดการเพื่อเข้าสู่ประชาคมอา เซียน (AEC) เป้าหมายได้แก่ ผู้บริหารหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน ผู้ประกอบการ และนักวิชาการ จำนวน 40 คน โดยดำเนินการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจในหลักการ ทิศทางของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน และศึกษาดูงาน ณ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียตนาม และกิจกรรมการเตรียมความพร้อมให้กับบุคลากรในการผลิตสินค้าและบริการให้มี ประสิทธิภาพและได้มาตรฐาน เป้าหมายได้แก่ ผู้ประกอบการ SMES กลุ่มวิสาหกิจชุมชน สถาบันการเงิน ผู้บริหารสถานศึกษา และข้าราชการเจ้าหน้าที่หน่วยงานภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยแบ่งการสัมมนาเป็น 3 รุ่น จำนวน 400 คน

แรงงานจังหวัดร้อยเอ็ด กล่าวด้วยว่า การสัมมนาวันนี้เป็นการเตรียมความพร้อมของกลุ่มบุคลากรภาครัฐ ประกอบด้วย ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดร้อยเอ็ด จำนวน 100 คน กิจกรรมในการสัมมนาประกอบด้วย การพัฒนาศักยภาพการใช้ภาษาอังกฤษ ซึ่งเป็นภาษาราชการในประเทศอาเซียน                   


 
วิมล เร่งศึก/ข่าว

กมลพร คำนึง/บก.ข่าว 

พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองศ์เจ้าศรีรัศมิ์ เสด็จทรงเปิดศูนย์ 3 วัย ที่จังหวัดยโสธร

วันนี้ (27 มิถุนายน 2556) เวลา 12.20 น. พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีรัศมิ์ พระวรชายาในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร ประทับ รถยนต์ที่นั่ง เสด็จ ทรงประกอบพิธีเปิดศูนย์ 3 วัยสานสายใยรักแห่งครอบครัว ทุ่งแต้ ในพระอุปถัมภ์ ที่บ้านทุ่งแต้ ต.ทุ่งแต้ อ.เมือง จ.ยโสธร ด้วยสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าศรีรัศมิ์ พระวรชายา เสด็จฯ ทรงเปิดศูนย์ 3 วัยสานสายใยรักแห่งครอบครัว ในพระอุปถัมภ์ บ้านทุ่งแต้ ต.ทุ่งแต้ อำเภอเมือง จังหวัดยโสธร โดยนายประวัติ ถีถะแก้ว ผู้ว่าราชการจังหวัด พร้อมข้าราชการ ทหาร ตำรวจ ราษฎร เหล่าผสกนิกร เฝ้ารับเสด็จ ในการนี้ นายสันติ พร้อมพัฒน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กราบทูลรายงานการดำเนินการจัดตั้งศูนย์ 3 วัยสานสายใยรักแห่งครอบครัว ทุ่งแต้ นายปกรณ์ พันธุ อธิบดีกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ กราบทูลเบิกผู้ให้การสนับสนุนการดำเนินงานของศูนย์ 3 วัย สานสายใยรักแห่งครอบครัว ทุ่งแต้ เข้ารับประทานเข็มเชิดชูเกียรติโครงการสายใยรักแห่งครอบครัว จำนวน 29 ราย จากนั้น พระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าศรีรัศมิ์ พระวรชายาในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จไปยังลานกิจกรรมวิถีชีวิตชุมชน ทอดพระเนตรกิจกรรม โรงเรียนพ่อแม่มือใหม่สานสายใยรัก/ กิจกรรมถ่ายทอดภูมิปัญญาด้านกาพย์เชิ้งบั้งไฟสู่ลูกหลาน " เชิ้ง สดุดี พระเจ้าวรวงค์เธอ พระองค์เจ้าศรีรัศมิ์ พระวรชายาฯ" กิจกรรม อดเปรี้ยว ไว้กินหวาน, กิจกรรมกระติบร้อยใจสานสายใยด้วยนมแม่ จากนั้นทรงเยี่ยมราษฎรที่มาเฝ้ารับเสด็จตามพระอัธยาศัย ศูนย์ 3 วัยสานสายใยรักแห่งครอบครัวทุ่งแต้ ในพระอุปถัมภ์ บ้านทุ่งแต้ ต.ทุ่งแต้ อ.เมือง จ.ยโสธร ตั้งอยู่ หมู่ที่ 1 บ้านทุ่งแต้ ตำบลทุ้งแต้ อำเภอเมืองยโสธร จังหวัดยโสธร เกิดขึ้นโดยพระกระแสรับสั่งของสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ว่า " ควรมีศูนย์กลางในการพัฒนาคุณภาพชีวิต เน้นความต่อเนื่องเชื่อมโยงเป็นวงจรทุกช่วงวัยภายใต้การดำเนินงานหลักเหตุผล ตั้งแต่การสร้างความคิดรวบยอดการกำหนดคำจำกัดความที่ชัดเจน และถ่ายทอดสู่ระดับต่างๆ เพื่อนำไปสู่การปฏิบัติอย่างเป็นธรรม ” พระเจ้าวรวงค์เธอ พระองค์เจ้าศรีรัศมิ์ พระวรชายาฯ จึงน้อมนำมาดำเนินการ โดยมอบหมายให้กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ รับผิดชอบ โดยบูรณาการ การดำเนินงานของทุกภาคส่วนในการให้บริการประชาชนแบบองค์ร่วม ปัจจุบันศูนย์ 3 วัยสานสายใยรักแห่งครอบครัว ทุ่งแต้มีสมาชิก จำนวน 956 คน วัยเด็กจำนวน 234 คน/ วัยทำงาน 423 คน/ วัยผู้สูงอายุ 299 คน/ ได้เปิดให้บริการแก่สมาชิกอย่างต่อเนื่อง เช่น กิจกรรมส่งเสริมอาชีพตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง / กิจกรรมอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น/ กิจกรรมส่งเสริมพัฒนาการเด็ก/ กิจกรรมการให้คำปรึกษาและแนะนำแก่ผู้ประสบปัญหาทางสังคม จากนั้น เวลา 13.50 น. สมควรแก่เวลา พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีรัศมิ์ พระวรชายาในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร ประทับรถยนต์ที่นั่ง เสด็จไปยังสนามเฮลิคอปเตอร์ชั่วคราว สวนพญาแถน ประทับเครื่องบินพระที่นั่ง เสด็จกลับวังศุโขทัย 

ชาวจังหวัดมุกดาหาร สวมเสื้อขาวร่วมกิจกรรม “คนไทยหัวใจสีขาว ร่วมต้านยาเสพติด

ที่บริเวณสนามกีฬากลางจังหวัดมุกดาหาร ศูนย์อำนวยการพลังแผ่นดินเอาชนะยาเสพติดจังหวัดมุกดาหาร ได้จัดกิจกรรม "คนไทยหัวใจสีขาว ร่วมต้านยาเสพติด” เนื่องในวันต่อต้านยาเสพติด พร้อมประกาศเจตนารมณ์ต่อต้านยาเสพติด โดยมีนายสกลสฤษฏ์ บุญประดิษฐ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดมุกดาหาร ในฐานะผู้อำนวยศูนย์อำนวยการพลังแผ่นดินเอาชนะยาเสพติดจังหวัดมุกดาหาร เป็นประธานเปิดงาน ซึ่งเป็นไปตามที่ ศูนย์อำนวยการพลังแผ่นดินเอาชนะยาเสพติดแห่งชาติ กำหนดให้มีการรณรงค์ประชาสัมพันธ์เนื่องในวันต่อต้านยาเสพติดโลก ประจำปี 2556 โดยเน้นการแสดงพลังของคนไทยในชาติในการมีส่วนร่วมต่อต้านยาเสพติด ในส่วนของจังหวัดมุกดาหารกำหนดจัดกิจกรรมเนื่องในโอกาสดังกล่าว ภายใต้ชื่อกิจกรรม "คนไทยหัวใจสีขาว ร่วมต้านยาเสพติด”ภายใต้คำขวัญ "ยาเสพติดจะพินาศ คนไทยทั้งชาติต้องร่วมมือกัน”โดย ใช้สัญญาลักษณ์ สวมเสื้อสีขาว ร่วมแสดงพลังต่อต้านยาเสพติด

สำหรับกิจกรรมประกอบด้วย การเดินรณรงค์ของกลุ่มพลังมวลชน นักเรียน นักศึกษา แสดงพลังสามัคคีในการต่อต้านยาเสพติด จำนวนกว่า 5,000คน การอ่านคำปราศรัยของนายกรัฐมนตรี เนื่องในวันต่อต้านยาเสพติดโลก การให้ความรู้ในเรื่องของโทษและพิษภัยของยาเสพติด โดยผู้ที่ผ่านกระบวนการบำบัดรักษาแล้ว และการจัดมหกรรมรวมพลสมาชิก TO BE NUMBER ONE
 

 
 
พิพัฒน์ เพชรสังหาร ส.ปชส.มุกดาหาร/ข่าว

สุระณรงค์ อ่อนสนิท ส.ปชส.มุกดาหาร/ภาพ

ส่วนราชการ มุกดาหารลงนามบันทึกข้อตกลง (MOU) ตามนโยบายลดอบายมุข สร้างสุขให้สังคม

ที่ห้องประชุม 205 ศาลากลางจังหวัดมุกดาหาร นายสกลสฤษฏ์ บุญประดิษฐ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดมุกดาหาร เป็นประธานในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลง (MOU) ว่าด้วยความร่วมมือในการดำเนินงานตามนโยบายลดอบายมุข สร้างสุขให้สังคม กับส่วนราชการจังหวัดมุกดาหาร 15หน่วยงาน ที่เกี่ยวข้อง โดยมี นายอดุลย์ จันทนปุ่ม ปลัดจังหวัดมุกดาหาร กล่าวรายงานวัตถุประสงค์ของการลงนามบันทึกข้อตกลงครั้งนี้ว่า กระทรวง มหาดไทย ได้กำหนดนโยบาย "ลดอบายมุข สร้างสุขให้สังคม” เพื่อดำเนินการกับสถานบริการ ร้านจำหน่ายสุรา ที่ก่อให้เกิดความเดือดร้อน รำคาญให้ประชาชน หรือขัดต่อภาพลักษณ์ วัฒนธรรมอันดีงามของไทย และแหล่งอบายมุขอื่นๆ ที่ส่งผลต่อปัญหา ยาเสพติด บ่อนการพนัน

ดังนั้น เพื่อให้การดำเนินการตามนโยบายลดอบายมุข สร้างสุขให้สังคม เป็นไปด้วยความเรียบร้อย มีประสิทธิภาพ ทางจังหวัดมุกดาหาร จึงได้จัดทำบันทึกข้อตกลงว่าด้วยความร่วมมือในการลดอบายมุขและสร้างสุขให้ สังคมขึ้น โดยมีส่วนราชการที่ร่วมลงนาม ประกอบด้วย ผู้ว่าราชการจังหวัดมุกดาหาร ที่ทำการปกครองจังหวัด ตำรวจภูธรจังหวัด สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด สรรพสามิตจังหวัด พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด วัฒนธรรมจังหวัด ท้องถิ่นจังหวัด พาณิชย์จังหวัด และนายอำเภอทั้ง 7 อำเภอ

หลังจากพิธีลงนาม นายสกลสฤษฏ์ บุญประดิษฐ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดมุกดาหาร ได้กล่าวกำชับให้ทุกหน่วยงานที่ลงนามในบันทึกข้อตกลงขอให้เอาใจใส่ และทำงานอย่างเข้มงวดตามอำนาจหน้าที่รับผิดชอบ เพื่อให้ เกิดผลดีแก่ประชาชน ขณะ เดียวกันก็ขอให้ทุกภาคส่วนของสังคม ให้ความร่วมมือกับทางราชการในการสอดส่องดูแล และแจ้งข้อมูลข่าวสารการกระทำผิดกฎหมายให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องทราบและ ดำเนินการตามกฏหมาย ก็จะสามารถลดปัญหาอบายมุขได้อย่าง แน่นอน
 

 
 
พิพัฒน์ เพชรสังหาร ส.ปชส.มุกดาหาร/ข่าว

สุระณรงค์ อ่อนสนิท ส.ปชส.มุกดาหาร/ภาพ

เจ้าหน้าที่สถานีสูบน้ำด้วยไฟฟ้าพร้อมชาวบ้านถูกไฟฟ้าช๊อตตาย คาที่ 2 คน เพื่อสูบน้ำเข้าทำนา

เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2556 เวลา 08.00 น. พันตำรวจโท ทรงศักดิ์ คูนาเมือง พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรเมืองมุกดาหาร ได้รับแจ้งจากชาวบ้านท่าไคร้ ตำบลนาสีนวน อำเภอเมือง จังหวัดมุกดาหาร ว่ามีชาวบ้านถูกไฟฟ้าช๊อตตายคาที่ ที่สถานีสูบน้ำด้วยไฟฟ้าบ้านท่าไคร้ จึงรายงานให้ผู้บังคับบัญชาทราบ จึงได้เดินทางไปที่เกิดเหตุ พร้อมหน่วยกู้ชีพกู้ภัยตำบลบางทรายใหญ่ ตำบลนาสีนวน ถึงที่เกิดเหตุพบชาวบ้านกำลังมุ่งดูเป็นจำนวนมาก พบศพชาย 2 คน ทราบชื่อ นายดาวเทียม ทองเภา อายุ 49 ปี เลขที่ 196 หมู่ 6 ตำบลนาสีนวน อำเภอเมือง จังหวัดมุดาหาร ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ประจำสถานีสูบน้ำด้วยไฟฟ้าตำบลนาสีนวน และนาย มนต์ชัย พิกุลศรี อายุ 35ปี เลขที่ 5 หมู่ 4 ตำบลบ้านแก้ง อำเภอดอนตาล จังหวัดมุกดาหาร สภาพศพทั้งสองคนถูกไฟฟ้าช๊อตตายคาที่ ที่สถานีสูบน้ำด้วยไฟฟ้าริมฝั่งแม่น้ำโขง ลักษณะของสถานีสูบน้ำทำเป็นแพ และได้นำเครื่องสูบน้ำขนาดใหญ่วางบนแพ เพื่อสูบน้ำให้เกษตรกรในช่วงหน้าแล้ง และช่วงทำนา   

จากการสอบถามนาย เพียร โคตรรสขึง อายุ 64 ปี บ้านนาแล หมู่ 7 ตำบลนาสีนวน อำเภอเมือง จังหวัดมุกดาหาร ที่เห็นเหตุการณ์เล่าว่า นายมนต์ชัย ฯ ได้มาประสานนาย ดาวเทียม ฯ ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ประจำสถานีสูบน้ำด้วยไฟฟ้า ให้ช่วยสูบน้ำให้กับชาวบ้านที่กำลังทำนา โดยได้ค่าบริการสูบน้ำครั้งละ 80 บาท และทั้งสองคนได้ลงไปดูเครื่องสูบน้ำที่แพ เพื่อสูบน้ำแจกจ่ายให้กับชาวบ้านได้ทำนา แต่ลงไปนานผิดปกติ ตนเองจึงได้ตามลงไปดู พบทั้งสองคนนอนหมดสติอยู่ที่แพสูบน้ำริมฝั่งแม่น้ำโขง ตนเองจึงได้รีบแจ้งชาวบ้าน และเจ้าหน้าที่ตำรวจให้มาช่วย และได้เอาคัดเอาท์ใหญ่ที่ต่อสายไฟฟ้าลงไปที่แพสูบน้ำลง ได้เข้าไปดูทั้งสองคน ปรากฏว่าทั้งสองคนได้เสียชีวิตแล้วจากไฟฟ้าดูด เจ้าหน้าที่ตำรวจจึงได้มอบศพทั้ง 2 คน ให้ญาติ เพื่อไปบำเพ็ญกุศลตามประเพณีต่อไป
 


ประชาสัมพันธ์จังหวัดมุกดาหาร/ข่าว

ผู้ว่าฯมหาสารคาม ออกตรวจโรงสีรอบ 2 ยันไม่พบทุจริต

ผู้ว่าราชการจังหวัดมหาสารคาม นำคณะอนุกรรมการติดตามและกำกับดูแลการรับจำนำข้าวระดับจังหวัดและหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้อง จังหวัดมหาสารคาม ออกตรวจโรงสีข้าวทองมหาสารคามและโรงสีอื่น ๆ ที่เข้าโครงการรับจำนำข้าว ยันไม่พบทุจริต ด้านเจ้าของโรงสีระบุไม่มีข้าวค้างสต๊อก อยู่ระหว่างรอส่งโกดังกลาง

นายนพวัชร สิงห์ศักดา ผู้ว่าราชการจังหวัดมหาสารคาม พร้อมด้วยคณะอนุกรรมการติดตามและกำกับดูแลการรับจำนำข้าวระดับจังหวัดและ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จังหวัดมหาสารคามออกตรวจโรงสีข้าวทองมหาสารคามและโรงสีอื่น ๆ รวม 8 แห่ง ในรอบที่ 2 ที่เข้าโครงการรับจำนำข้าวเปลือก ปีการผลิต 2555/56 ของรัฐบาล ซึ่งเป็นการตรวจติดตาม และตรวจสอบข้าวนาปรัง ที่เกษตรกรนำมาเข้าสู่โครงการรับจำนำข้าว

ผู้ว่าราชการจังหวัดมหาสารคาม กล่าวว่า จากการตรวจสอบไม่พบการทุจริต โดยโรงสีทั้ง 8 แห่งที่มาตรวจยังเหลือมีข้าวที่รอส่งโกดังกลางอีกประมาณ 2,000 กว่าตัน ถือว่าเป็นปริมาณเพียงเล็กน้อย นอกจากนี้ในส่วนของการปรับลดราคาจำนำข้าวลงมาอยู่ที่ตันละ 12,000 บาท นั้น เชื่อว่ายังไม่กระทบกับเกษตรกรของจังหวัดมหาสารคาม เพราะต้นทุนการผลิตยังสามารถทำกำไรได้ แต่หากเกษตรกรประสบความเดือดร้อนจากมาตรการดังกล่าว รัฐบาลก็พร้อมช่วยเหลือเต็มที่

ด้านนายทองหล่อ พลโคตร ซึ่งเป็นเจ้าของโรงสีข้าวทอง กล่าวว่า ขณะนี้ ปริมาณข้าวที่โรงสีรับมาได้มีการส่งมอบไปแล้วส่วนหนึ่ง เหลือเพียงข้าวที่มีการสีแปรสภาพอีกขณะนี้อยู่ระหว่างการส่งมอบให้กับโกดัง กลาง คาดว่าจะแล้วเสร็จภายในเดือนหน้า

อย่างไรก็ตาม ผู้ว่าราชการจังหวัดมหาสารคาม ยังได้กล่าวขอบคุณเกษตรกรจังหวัดมหาสารคาม ที่มีความเข้าใจในนโยบายของรัฐบาล ซึ่งส่วนราชการทุกส่วนของจังหวัดมหาสารคาม ก็ให้ความสำคัญในเรื่องดังกล่าว หากมีข้อเสนอแนะหรือคัดค้านนโยบายการปรับลดราคารับจำนำข้าวเปลือกของรัฐบาล สามารถยื่นข้อเสนอแนะข้อคิดเห็นคัดค้านได้ที่ที่ว่าการอำเภอ หรือที่ศาลากลางจังหวัดมหาสารคาม เพื่อจังหวัดจะได้เสนอให้รัฐบาลทราบต่อไป



ส.ปชส.มหาสารคาม/ข่าว

โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาหนองหวายแจ้งหยุดส่งน้ำแก่เกษตร

โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาหนองหวาย สำนักชลประทานที่ 6 อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น แจ้งแผนการหยุดส่งน้ำให้แก่เกษตรกรในพื้นที่จังหวัดมหาสารคาม เนื่องจากน้ำต้นทุนในเขื่อนอุบลรัตน์เหลือน้ำใช้การเพียง 115 ล้าน ลบ.ม.

นายสุนัน เนื่องมัจฉา หัวหน้าฝ่ายป้องกันและปฏิบัติการ สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดมหาสารคาม กล่าวว่า ได้รับแจ้งจากโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาหนองหวาย สำนักชลประทานที่ 6 กรมชลประทาน อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น ให้แจ้งข่าวการส่งน้ำชลประทานเพื่อการเพาะปลูกพืชฤดูฝน ปี 2556 เนื่องจากได้มีการปรับแผนการส่งน้ำชลประทานเพื่อการเพาะปลูก โดยจะเริ่มส่งน้ำเข้าคลองสายใหญ่ทั้ง 2 ฝั่ง ตั้งแต่วันที่ 4 กรกฎาคม 2556 และจะส่งน้ำเป็นระยะ เสริมจากน้ำฝนที่ตกในพื้นที่แปลงนาของเกษตรกร เนื่องจากปัจจุบัน ปริมาณน้ำต้นทุนจากเขื่อนอุบลรัตน์ ณ วันที่ 13 มิถุนายน 2556 มีน้ำใช้การเหลืออยู่เพียง 115 ล้านลูกบาศก์เมตร และจะสิ้นสุดแผนการหยุดส่งน้ำประมาณวันที่ 13 พฤศจิกายน 2556

ดังนั้น ก่อนจะถึงกำหนดการส่งน้ำ โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาหนองหวาย จึงได้ขอความร่วมมือมายังเกษตรกร กลุ่มผู้ใช้น้ำในเขตชลประทาน ได้มีการวางแผนการเพาะปลูกพืชให้ดี เตรียมปัจจัยการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวที่จะปลูกให้พร้อม และขอความร่วมมือให้ช่วยกันขุดลอกตะกอนคูส่งน้ำให้สะอาด กำขัดวัชพืชในคูน้ำให้หมด ปรับแต่งคูน้ำและคันนาให้มั่นคงแข็งแรง อุดรรั่วให้เรียบร้อย เพื่อไม่ให้มีน้ำไหลทิ้งไปโดยเปล่าประโยชน์ ทั้งนี้ สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาหนองหวาย โทรศัพท์หมายเลข 0 4347 3276 -7 ต่อ 24 ในวัน เวลา ราชการ 



ส.ปชส.มหาสารคาม/ข่าว

อุตสาหกรรมจังหวัดบึงกาฬเตรียมถ่ายโอนภารกิจให้องค์การบริหารส่วนตำบล

เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2556 นายเทวัญ สรรค์นิกร รองผู้ว่าราชการจังหวัดบึงกาฬเดินทางไปเป็นประธานในพิธีเปิดโครงการเตรียม ความพร้อมการถ่ายโอนภารกิจการดูแลโรงงานตามพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535 ณ ห้องประชุมมังกรทอง โรงแรมเดอะวัน อำเภอเมืองบึงกาฬ จังหวัดบึงกาฬ จัดโดยอุตสาหกรรมจังหวัดบึงกาฬ

การดำเนินโครงการครั้งนี้เนื่องจาก คณะกรรมการดำเนินการถ่ายโอนภารกิจการดูแลโรงงานตามพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535 จัดประชุมครั้งที่ 2/2535 เมื่อวันพุธที่ 8 ธันวาคม 2553 ได้มีมติให้กระทรวงอุตสาหกรรม ถ่ายโอนภารกิจการดูแลโรงงานตาม พ.ร.บ. โรงงาน พ.ศ. 2535 ให้แก่องค์การบริหารส่วนตำบล 3 ภารกิจได้แก่ 1.การกำกับดูแลโรงงานจำพวกที่ 1 2.การกำกับดูแลและการรับแจ้งประกอบกิจการโรงงานจำพวกที่ 2 และ3.การตรวจสอบกรณีโรงงานก่อเหตุเดือดร้อนรำคาญ เพื่อเป็นการถ่ายทอดความรู้ และทบทวนแนวทางการดำเนินงานและการเตรียมความพร้อมเกี่ยวกับการกำกับดูแลโรง งานอุตสาหกรรมให้กับองค์การบริหารส่วนตำบลและสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดบึง กาฬให้เป็นไปในแนวทางเดียวกันและเพื่อประสานความร่วมมือระหว่างหน่วยงานที่ รับผิดชอบร่วมกัน อุตสาหกรรมจังหวัดบึงกาฬจึงได้จัดโครงการในวันนี้ขึ้น โดยมีผู้เข้าร่วมสัมมนาซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานเกี่ยวกับ พ.ร.บ. โรงงาน พ.ศ. 2535 จากองค์การบริหารปกครองส่วนตำบลในเขตจังหวัดบึงกาฬ จำนวน 41 แห่ง หลักสูตรในการสัมมนาประกอบด้วยการให้ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายตามภารกิจการ ถ่ายโอนตาม พ.ร.บ. โรงงาน พ.ศ. 2535 และความรู้ด้านเทคนิคในการกำกับดูแลโรงงาน การออกใบอนุญาตโรงงาน



พิสิษฐ์ ดวงแก้ว / ส.ปชส. บึงกาฬ

จังหวัดบึงกาฬจัดอบรมปลูกฝังสำนึกรักสามัคคีและเสริมสร้างความปรองดอง

เมื่อวันที่ (21 มิถุนายน 2556) นายเลอเกียรติ แก้วศรีจันทร์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดบึงกาฬ เดินทางมาเป็นประธานในพิธีการฝึกอบรมโครงการปลูกฝังสำนึกรักสามัคคีและเสริม สร้างความปรองดอง ประจำปี 2556 ณ สิริอัมพรโฮเทลแอนด์รีสอร์ท อำเภอเมืองบึงกาฬ จังหวัดบึงกาฬ จัดโดยสำนักงานจังหวัดบึงกาฬ ระหว่างวันที่ 21 – 25 มิถุนายน 2556 เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 3 ร่วมเพื่อ 3 สร้าง ได้แก่ ร่วมกันคุย เพื่อสร้างสามัคคี ร่วมกันคิด เพื่อสร้างพลังและร่วมกันทำ เพื่อสร้างความปรองดอง ซึ่งมีผู้เข้าร่วมอบรมประกอบด้วยเยาวชนนักศึกษาจากมหาลัยราชภัฎอุดรธานี วิทยาเขตบึงกาฬ จำนวน 85 คน และกลุ่มผู้นำชุมชนในเขตพื้นที่อำเภอเมืองบึงกาฬ จำนวน 20 คน รวม 105 คน


โดยนายชัยธวัช เนียมศิริ หัวหน้าสำนักงานจังหวัดบึงกาฬ ได้กล่าวถึงวัตถุประสงค์ของการอบรมในครั้งนี้ว่าการจัดฝึกอบรมโครงการปลูก ฝังสำนึกรักสามัคคีและเสริมสร้างความปรองดองได้เริ่มจัดขึ้นในครั้งแระในปี พ.ศ. 2555 เพื่อขับเคลื่อนและตอบสนองนโยบายเร่งด่วนของรัฐบาล ในเรื่องการสร้างความปรองดองและสมาฉันท์ของคนในชาติและฟื้นฟูประชาธิปไตย รวมทั้งนโยบายความมั่นคงแห่งรัฐ ในการเทิดทูนและพิทักษ์รักษาไว้ซึ่งสถาบันหลักของชาติ ขับเคลื่อนแผนงานส่งเสริมการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรง เป็นประมุขและการธำรงไว้ซึ่งสถาบันหลักของชาติในระดับพื้นที่ โดยการปลูกฝังและเสริมสร้างแนวคิดของเยาวชนและผู้นำกลุ่มต่างๆซึ่งเป็นแกนนำ ในพื้นที่ให้ได้ศึกษาเรียนรู้เกี่ยวกับหลักการทรงงานและแนวทางพระราชดำริของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรวมทั้งการส่งเสริมให้เยาวชนและผู้นำกลุ่มต่างๆ ได้เรียนรู้ถึงสถาบันหลักที่สำคัญ 3 ประการ คือ ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์และการมีส่วนร่วมในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหา กษัตริย์ทรงเป็นประมุขเพื่อนำไปปรับใช้ให้เกิดประโยชน์แก่พื้นที่ของตนเอง ซึ่งการจัดอบรมมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในห้องประชุม และเปิดเวทีอภิปรายของกลุ่มเยาวชนและกลุ่มผู้นำในหัวข้อเรื่อง "จังหวัดบึงกาฬกับจุดยืนประชาธิปไตยไทย” และเดินทางไปศึกษาดูงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ที่จังหวัดสกลนคร 

โคราชจัดกำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจกว่า 500 นาย ออกปฏิบัติการตรวจสอบโกดังและโรงสีข้าวโครงการรับจำนำข้าว 49 จุดใน 14 อำเภอ พบความผิดปกติระดับกระสอบไม่เท่ากัน รองผู้ว่าฯ ย้ำสรุปให้เสร็จภายในวันนี้ หากพบการทุจริตพร้อมแจ้งดำเนินคดีถึงที่สุด

วันนี้ ( 27 มิ.ย. 2556 ) เวลา 08.00 น. ที่โรงสีเจียเม้ง ต.หนองงูเหลือม อ.เฉลิมพระเกียรติ จ.นครราชสีมา นายชยาวุธ จันทร รอง ผวจ.นครราชสีมา พร้อมด้วย พ.ต.อ.วณัฐ อรรถกวิน รอง ผบก.ภ.นครราชสีมา, พาณิชย์จังหวัดฯ , การค้าภายในจังหวัดฯ , ธกส. , อคส., สรรพากรจังหวัดฯ และหัวหน้าส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง ได้ร่วมกันตรวจสอบปริมาณข้าวคงเหลือ ทั้งข้าวเปลือกและข้าวสาร โครงการรับจำนำข้าวของ จ.นครราชสีมา โดยมีกำลังของชุดที่มาจากกระทรวงการคลัง ร่วมตรวจสอบในครั้งนี้ด้วย โดยคณะทั้งหมดได้ตรวจสอบโกดังทั้ง 4 โกดัง ภายในโรงสีเจียเม้ง ซึ่งมีปริมาณข้าวอยู่ทั้งหมดประมาณ 50,000 ตัน และมีการวางกระสอบเรียงเป็นชั้นๆ ละ 30 กระสอบ แต่จากการขึ้นไปตรวจสอบข้างบน พบว่ามีความผิดปกติ เพราะระดับความสูงแตกต่างกัน จึงให้เจ้าหน้าที่เดินคำนวณอย่างละเอียด เพื่อหาปริมาณที่ชัดเจนอีกครั้ง
 
ทั้งนี้นายชยาวุธ จันทร รอง ผวจ.นครราชสีมา กล่าวว่า ตนได้รับมอบหมายจาก ผวจ.นครราชสีมาโดยได้รับนโยบายเร่งด่วนจากส่วนกลาง กรมการปกครอง กระทรวงการคลังให้จัดชุดปฏิบัติการออกตรวจสอบจุดรับจำนำข้าวเปลือกที่โรงสี ข้าว และตรวจสอบข้าวสารที่รับจำนำไว้ ที่โกดังกลาง ซึ่ง จ.นครราชสีมามีด้วยกัน 49 แห่ง/จุด ในจำนวน 14 อำเภอ มีปริมาณข้าวเปลือกที่เข้าร่วมโครงการรับจำนำ ปีการผลิต 2555/2556 จำนวน 236,375 ตัน และมีการจ่ายออกแล้วจำนวน 64,507 ตัน คงเหลือจำนวน 171,867 ตัน โดยคณะกรรมการที่ออกตรวจสอบครั้งนี้ ประกอบด้วยเจ้าหน้าที่ตำรวจ ผู้บริหารจากกระทรวงการคลัง คลังจังหวัด สรรพากร สรรพสามิตจังหวัดฯ การค้าภายในจังหวัดฯ, พาณิชย์จังหวัด, ธกส. และผู้ที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ โดยได้ทำการตรวจสอบพร้อมกันทั้ง 49 จุด ในช่วงเวลา 08.00 น. ซึ่งจะมีแบบตรวจปริมาณของข้าวเปลือก และการนับจำนวนข้าวสารทุกกระสอบ หลังจากตรวจสอบแล้วจะมาสรุปรายงานผลภายในวันนี้ (27 มิ.ย. 56) หากพบว่ามีปริมาณข้าวขาดเหลือในปริมาณไม่มากนัก ก็คงจะไม่มีปัญหาอะไร แต่หากตรวจสอบพบว่ามีปริมาณข้าวหายไปเป็นจำนวนมากก็ต้องแจ้งความดำเนินคดี อย่างเด็ดขาด ทั้งนี้ตนขอให้เจ้าหน้าที่ทุกแผนกที่รับผิดในการดำเนินการตามนโยบายรัฐบาล ครั้งนี้ต้องดำเนินการตรวจสอบอย่างจริงจัง เพราะเป็นนโยบายที่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีและรัฐบาลให้ความสำคัญ โดยเฉพาะโครงการนี้จะมีผลประโยชน์อย่างยิ่งต่อการยกระดับรายได้ของพี่น้อง เกษตรกรชาวนา หากพบว่าโกดังกลางหรือโรงสีมีพฤติการณ์ที่ไม่ถูกต้องขอให้ดำเนินการอย่างตรง ไปตรงมาและจริงจังด้วยความละเอียดรอบครอบ นายชยาวุธกล่าว
 

ด้าน พ.ต.อ.วณัฐ อรรถกวิน รอง ผบก.ภ.นครราชสีมา หัวหน้าชุดการตรวจสอบโกดังและโรงสีข้าวของ จ.นครราชสีมา กล่าวว่า การปฏิบัติครั้งนี้ตำรวจต้องทำให้ดีที่สุด เพราะรัฐบาลหวังพึ่งเจ้าหน้าที่ตำรวจในการดูแลเกี่ยวกับการรับจำนำข้าวให้ ถูกต้องตามระเบียบกฎหมาย อย่าให้มีการตรวจสอบพบในสิ่งที่ทุจริตแล้วละเลยไม่ปฏิบัติ หากพบแล้วต้องปฏิบัติตามกฎหมาย ทั้งนี้การปฏิบัติลงพื้นที่ตรวจสอบมีการกระจายกำลังพร้อมกันโดยเราใช้กำลัง กว่า 500 นาย ทั้ง 49 จุด ใน 14 อำเภอ โดยมีอำเภอที่มีโกดังและโรงสีมากที่สุดที่ต้องตรวจสอบเข้มข้นเป็นพิเศษ ประกอบด้วย อ.สูงเนิน , อ.ปักธงชัย , อ.เฉลิมพระเกียรติ และ อ .พิมาย ส่วนจะพบการทุจริตหรือไม่คงต้องรอสรุปอีกครั้งช่วงค่ำวันนี้ พ.ต.อ.วณัฐฯกล่าว

สรุปผลโครงการรับจำนำข้าวเปลือก ปีการผลิต 2555/56 ครั้งที่ 2 จังหวัดนครราชสีมา


1. การขึ้นทะเบียนเกษตรกร (ณ 20 มิ.ย. 56) สำนักงานเกษตรจังหวัดนครราชสีมารายงานข้อมูลพื้นที่ปลูกข้าวครั้งที่ 2 ตามใบรับรองเกษตรกร จำนวน 272,790 ไร่ จำนวนแปลง 42,250 แปลง จำนวนครัวเรือน 20,970 ครัวเรือน ปัจจุบันได้มีการออกใบรับรองให้เกษตรกรไปแล้ว 41,158 แปลง คาดว่าผลผลิตตามใบรับรองจำนวน 167,449 ตัน ผลผลิตเริ่มออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือน มีนาคม 2556 และออกสู่ตลาดมากในเดือนเมษายน 2556 ร้อยละ 35 เดือนพฤษภาคม 2556 ร้อยละ 40 และเดือนมิถุนายน 2556 ร้อยละ 10
 
2. จุดรับจำนำ (ณ 20 มิ.ย.56) จังหวัดนครราชสีมามีโรงสีและจุดนอกพื้นที่ที่เปิดรับจำนำข้าวเปลือก ปีการผลิต 2555/56 ครั้งที่ 2 รวม 37 แห่ง เป็นโรงสี 14 โรงสี และจุดนอกพื้นที่ จำนวน 23 จุด เปิดรับจำนำตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2556 เป็นต้นมา ปัจจุบันมีจุดรับจำนำนอกพื้นที่ขอปิดจุดเนื่องจากปริมาณข้าวในพื้นที่ไม่มี หรือคงเหลือน้อย จำนวน 7 จุด คงเหลือจุดรับจำนำข้าวที่เปิดรับจำนำทั้งสิ้น 30 แห่ง
 
3. ผลการรับจำนำ (ณ 18 มิ.ย.56) ดังนี้
    1) ใบประทวน อคส. จำนวน 21,917 ใบ ปริมาณข้าวเปลือกเจ้ารวม 112,298.360 ตัน
    2) ธ.ก.ส. จ่ายเงินสะสมถึง 17 มิ.ย.56 จำนวน 15,420 สัญญา เกษตรกร 14,646 ราย ปริมาณข้าว 96,939 ตัน มูลค่า 1,427 ล้านบาท
 
4. โกดังกลาง (ณ 20 มิ.ย.56)
    4.1 โกดังกลางในจังหวัดนครราชสีมา ตั้งแต่ การจำนำข้าวเปลือกนาปี 2554/55 นาปรัง ปี 2555 และ การจำนำข้าวเปลือก ปีการผลิต 2555/56 ซึ่งยังมีข้าวสารเก็บอยู่รวมทั้งสิ้น 33 โกดัง มีปริมาณข้าวรวม 6,193,836 กระสอบ (618,513.925 ตัน) มีการจ่ายออก 3,503,034 กระสอบ (348,348.132 ตัน) คงเหลือ 2,690,802 กระสอบ (270,165.793 ตัน)
 
คณะอนุกรรมการระดับจังหวัดได้ตรวจสอบสต๊อกข้าวในโกดังกลางทั้งหมดแล้ว ตั้งแต่วันที่ 13 ถึง 17 มิ.ย. 56 ผลการตรวจปริมาณข้าวสารที่ตรวจนับครบถ้วนตามบัญชี
 

สำหรับโครงการรับจำนำข้าวเปลือก ปี 2555/56 (ครั้งที่ 1 และครั้งที่ 2 มีโกดังกลางได้รับอนุมัติรวม 25 แห่ง (อคส. 22 แห่ง และ อ.ต.ก. 3 แห่ง) ขอยกเลิก จำนวน 5 แห่ง คงเหลือ 20 แห่ง ความจุ 3,486,556 กระสอบ เปิดรับข้าวสารแล้ว จำนวน 17 แห่ง สรุปผลการรับมอบข้าวสารเข้าโกดังกลาง( 18 มิ.ย. 56) รวม 2,367,153 กระสอบ (236,375.012 ตัน) มีการจ่ายออก 647,668 กระสอบ (64,507.156 ตัน) คงเหลือ 1,719,485 กระสอบ (171,867.856 ตัน

ดร.วินัย บัวประดิษฐ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา เยี่ยมให้กำลังใจ นักกีฬาศึกวอลเลย์บอลหญิง ที่มารวมตัวฝึกซ้อม ที่โรงเรียนสุรนารี อ.เมืองนครราชสีมา

ดร.วินัย บัวประดิษฐ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา เยี่ยมให้กำลังใจ นักกีฬา วอลเลย์บอลหญิง ที่มารวมตัวฝึกซ้อม ที่โรงเรียนสุรนารี อ.เมืองนครราชสีมา เมื่อ 2 เดือนที่ผ่านมา  (ภาพเป็นข่าว)



สุ่มตรวจสอบปริมาณข้าวหลังสั่งปิดโรงสี

เจ้าหน้าที่ เข้าสุ่มตรวจสอบปริมาณข้าวในโรงสีอีกครั้ง หลังถูกสั่งปิดโรงสี เนื่องจากตรวจพบข้าวขายไปจากโกดังเกินมาตรฐาน ไป 4 เปอร์เซ็นต์ (ตามระเบียบไม่เกิน 10 ) ด้านตำรวจชัยภูมิมั่นใจมีหลักฐานชัดเจน หาก อคส.เข้าแจ้งความ เมื่อใดจึงจะออกหมายเรียก พร้อมให้โอกาสเจ้าของโรงสีชี้แจงข้อกล่าวหา

เวลา 08.30น. วันนี้ 27 มิ.ย. 56 นายพรศักดิ์ เจียรณัย ผวจ.ชัยภูมิ พร้อมด้วย พล.ต.ต.พินิต มณีรัตน์ ผบก.ภจว.ชัยภูมิ นายธวัชชัย โสภาเสถียรพงษ์ หัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวงพาณิชย์ ได้นำเจ้าหน้าที่ กว่า 50 นาย เข้าตรวจสอบปริมาณข้าว ในโกดังของโรงสีข้าวนพภร ต.โนนแดง อ.บ้านเขว้า จ.ชัยภูมิ ซึ่งเป็นโรงสีในจังหวัดชัยภูมิแห่งเดียว ที่ร่วมโครงการรับจำนำข้าว ปี2555/56 รอบที่ 2 หรือข้าวนาปรัง ก่อนหน้านี้ ได้ตรวจพบปริมาณข้าวหายไปจากโกดัง 750 ตัน จึงสั่งปิด วันนี้เป็นการจู่โจม เข้ามาเพื่อตรวจนับว่า ข้าวที่หายไป กลับคืนมาหรือไม่ ซึ่งจะเป็นข้อมูลประกอบการสืบสวนของตำรวจ

นายพรศักดิ์ เจียรณัย ผวจ.ชัยภูมิ เปิดเผยถึงความคืบหน้า ว่า ขณะนี้ผู้อำนวยการ อคส.ได้มอบอำนาจให้ ผอ.สำนักกฎหมาย มาแจ้งความดำเนินคดี ตามที่คณะอนุกรรมการฯระดับจังหวัดเสนอขึ้นไป เชื่อว่าขณะนี้อยู่ระหว่างเดินทาง เบื้องต้น มี 4 คดี ทั้งกรณีข้าวหาย กรณีขนข้าวออกไปขาย กรณีไม่มีการบันทึกกล้องวงจรปิดช่วงเวลาขนข้าวออก อ้างว่าไม่ได้เสียบปลั๊กไฟ และกรณีปลอมแปลงใบส่งข้าว ทั้ง 4 ประเด็นนี้ คณะอนุจังหวัด ร่วมกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ ได้ลงมาสืบสวน ได้หลักฐานชัดเจน เกษตรกร 4 ราย ยอมรับว่า ขนข้าวออกจากโรงสีแห่งนี้ ไปสวมสิทธิ์จริง

ด้านพล.ต.ต.พินิต มณีรัตน์ ผบก.ภจว.ชัยภูมิ เปิดเผยว่า ในชั้นนี้ ตำรวจมั่นใจหลักฐาน ที่ได้
มา พบว่ามีความผิดชัดเจน ขั้นตอนต่อไปรอเพียงให้ อคส.เข้ามาแจ้งความ จึงค่อยพ่วงข้อหาอื่นๆ ที่ได้มาประกอบเข้าไปด้วย จากนั้นจะออกหมายเรียกเจ้าของโรงสี ไปรับทราบข้อกล่าวหา ซึ่งตำรวจจะให้ความเป็นธรรม มีหลักฐานโต้แย้ง สามารถนำมาแก้ต่างได้

ขณะที่ นางนพภร รูปชัยภูมิ เจ้าของโรงสีข้าวนพภร เปิดเผยว่า ประเด็น เจ้าหน้าที่ อคส. มาตรวจพบข้าวหาย 14 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งตามระเบียบต้องไม่ให้เกิน 10 เป็นเรื่องเข้าใจผิด เกิดจากการนับของเจ้าหน้าที่ไม่ถูกต้อง ตอนนั้นตนไม่อยู่ จึงให้ลูกน้องเป็นผู้นำตรวจ ปรากฎว่าชี้กองข้าวผิดจุด ลงนามโดยไม่ได้ตรวจดู นอกจากนี้ เจ้าหน้าที่ อคส. ไม่หักในส่วนที่ส่งไปยังโกดังกลางออก ตัวเลขจึงมากกว่าข้าวในโกดังโรงสี หลังทราบว่าปริมาณข้าวไม่ตรงกัน ได้ทำเรื่องชี้แจงไม่ยอมรับผลการตรวจครั้งนั้น และขอให้มาตรวจนับใหม่ ตรงนี้อยากจะขอความเป็นธรรมด้วย
 

 

สุระพงค์ สวัสดิ์ผล /ข่าว

ทองผันผวนหนัก วันเดียวขึ้นลง 10 รอบ ทองรูปพรรณรับซื้อเหลือบาทละ 17,888 บาท

สมาคมค้าทองคำประกาศเปลี่ยนแปลงราคาทองคำวันนี้ (27มิ.ย.) รวมทั้งหมด 10 ครั้ง โดยปรับลดลง 8 ครั้งรวม 750 บาท และปรับขึ้น 2 ครั้งๆ ละ 50 บาท เบ็ดเสร็จทั้งวันราคาทองปรับลดลง 650 บาท ส่งผลให้ทองรูปพรรณรับซื้อตอนนี้แตะบาทละ 17,888 บาท และทองแท่งรับซื้อที่บาทละ 18,150 บาท นายจิตติ ตั้งสิทธิ์ภักดี นายกสมาคมค้าทองคำ เปิดเผยว่า ราคาทองคำในวันนี้ปรับลดลงมาค่อนข้างมาก ซึ่งสถานการณ์ราคาทองคำในปัจจุบันนับว่าค่อนข้างน่ากลัว เนื่องจากเป็นการเคลื่อนไหวมาจากการปั่นราคาของกองทุนเก็งกำไรทองคำขนาดใหญ่ การเคลื่อนไหวของทองคำในช่วงนี้ลงมามากจนผิดปกติและมีความเสี่ยงสูงมาก ซึ่งประเมินแนวรับของราคาทองคำอยู่ที่ 1,245 ดอลลาร์สหรัฐต่อออนซ์ ซึ่งเมื่อหลุดแนวรับนี้ไปแล้วก็มองว่าจะมีโอกาสลดลงต่อและประเมินแนวรับค่อน ข้างยาก อย่างไรก็ตามสถานการณ์เช่นนี้นักลงทุนควรชะลอการลงทุนและติดตามสถานการณ์ ก่อน เนื่องจากประเมินความเสี่ยงได้ยาก "วันนี้การซื้อขายทองคำที่เยาวราชค่อนข้างเบาบางเนื่องจากนักลงทุนไม่กล้า เสี่ยงกับราคาทองในช่วงนี้ และเร็วๆนี้มีโอกาสที่ราคาทองคำ 1 บาทจะลดลงไปต่ำกว่า 18,000 บาทได้ หากราคาทองคำยังลดลงเช่นนี้ต่อเนื่อง ซึ่งการลดลงของทองคำในตอนนี้มาจากปัจจัยทางด้านเศรษฐกิจโลกและการปั่นราคา ของกองทุนเก็งกำไรทองคำขนาดใหญ่ของโลก ซึ่งการเคลื่อนไหวของทองคำในช่วงนี้ผิดปกตินักลงทุนควรระมัดระวัง อยู่นิ่งไปก่อนดีกว่า”

ปตท.-บางจากลดราคาน้ำมันเบนซิน-แก็สโซฮอล์ 30 สต. อี85ลด20 สต. มีผล 27มิ.ย. ส่วนดีเซลไม่ลด

ผู้ค้าน้ำมันรายใหญ่นำโดย ปตท. และบางจาก ประกาศปรับลดราคาขายปลีกน้ำมันในประเทศในกลุ่มน้ำมันเบนซินและแก๊สโซฮอล์ทุก ชนิดลงลิตรละ 30 สตางค์ ยกเว้นแก๊สโซฮอล์ อี85 ปรับลดลงลิตรละ 20 สตางค์ ส่วนราคาน้ำมันดีเซลยังคงไม่เปลี่ยนแปลง มีผลตั้งแต่ 05.00 น. ของวันที่ 27 มิถุนายน 2556 ส่วนราคาน้ำมันดีเซลยังคงเดิมที่ลิตรละ29.99บาท ส่งผลให้ราคาน้ำมันขายปลีกหน้าสถานีบริการในเขตกรุงเทพและปริมณฑล เป็นดังนี้ น้ำมันเบนซิน 95 จากลิตรละ 46.65 บาท เหลือลิตรละ 46.35 บาท แก๊สโซฮอล์ 95 จากลิตรละ 39.43 บาท เหลือ 39.13 บาท แก๊สโซฮอล์ 91 จากลิตรละ36.98 บาท เหลือ 36.68 บาท แก๊สโซฮอล์ อี20 จากลิตรละ 34.48 บาท เหลือ 34.18 บาท แก๊สโซฮอล์ อี85 จากลิตรละ23.18 บาท เหลือ 22.98 บาท ส่วนน้ำมันดีเซล ลิตรละ 29.99 บาท ราคาไม่เปลี่ยนแปลง

โรงเรียนกัลยาณวัตรขอนแก่นคว้าแชมป์ตอบปัญประชาธิปไตยระดับเขตภาคอีสานตอนบนหลังพลาดมาในปีที่ผ่านแล้ว

โรงเรียนกัลยาณวัตรชนะเลิศระดับจังหวัด การแข่งขันตอบปัญหาประชาธิปไตย ปี 2556 Young DPR Award เข้าแข่งขันระดับประเทศ สำนักประชาสัมพันธ์เขต 1 ขอนแก่น จัดตอบปัญหาประชาธิปไตยปีที่ 3 Young DPR Award  จาก 11 จังหวัดภาคอีสานตอนบน ปรากฏว่าโรงเรียนกัลยาณวัตรตัวแทนจากจังหวัดขอนแก่น ชนะเลิศเข้าแข่งขันระดับประเทศ


การแข่งตอบปัญหาประชาธิปไตยปีที่ 3 Young DPR Award รอบคัดเลือกระดับเขตตามโครงการประชาสัมพันธ์ส่งเสริมการปกครองระบอบ ประชาธิปไตย ประจำปี 2556 โดยมีนายเสรี จูบุญส่ง ผู้อำนวยการสำนักประชาสัมพันธ์เขต 1 ขอนแก่น เป็นประธานในพิธีเปิด เมื่อวันอังคารที่ 25 มิถุนายน 2556 ที่ผ่านมา ณ โรงเรียนขามแก่นนคร อ.เมืองขอนแก่น มีการแข่งขันตอบปัญหาประชาธิปไตย และการจำลองการหาเสียงเลือกตั้งของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจ กระตุ้นจิตสำนึกและตระหนักถึงสิทธิหน้าที่ของตนเอง ตามระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ส่งเสริมและสนับสนุนให้เยาวชน นักเรียน นักศึกษา ได้เข้าเรียนรู้และเสริมสร้างประสบการณ์ร่วมกันในเรื่องของการเมืองการ ปกครองในระบอบประชาธิปไตย ส่งเสริมความรู้ความเข้าใจในระบอบประชาธิปไตยแก่เยาวชน และเปิดโอกาสให้เยาวชนมีส่วนร่วมในการสร้างสรรค์สื่อเพื่อการประชาสัมพันธ์ ระบอบประชาธิปไตย รวมถึงการแสดงออกตามวิถีทางการปกครองระบอบประชาธิปไตยอย่างถูกต้องเหมาะสม มีโรงเรียนตัวแทนจากจังหวัดภาคอีสานตอนบนเข้าแข่งขันจำนวน 11โรงเรียน ปรากฏผลการแข่งขัน ดังนี้ ทีมชนะเลิศ ได้แก่ โรงเรียนกัลยาณวัตร จังหวัดขอนแก่น หลังจากปีที่ผ่านมาได้รองแชมป์สำหรับทีมรองชนะเลิศอันดับ 1 คือโรงเรียนอุบลรัตน์ราชกัญญาราชวิทยาลัย จังหวัดนครราชสีมา และรองชนะเลิศอันดับ 2 โรงเรียนอุดรพิทยานุกุล จังหวัดอุดรธานี



จากนายคันฉัตร เพียรวิจัยธรณี / ข่าว

ผู้ว่าฯ กาฬสินธุ์กำชับทุกส่วนราชการควบคุม ดูแลการปฏิบัติตาม พรบ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2551

ผู้ว่าราชการจังหวัด กาฬสินธุ์ ขอความร่วมมือส่วนราชการ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ช่วยดูแล ควบคุมการถือปฏิบัติตามพระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2551 และพระราชบัญญัติสุรา พ.ศ. 2493 เพื่อป้องกันการเกิดปัญหาอาชญากรรมและสนับสนุนโครงการกาฬสินธุ์เมืองคนดี สุขภาพดี รายได้ดี 

นายสุวิทย์ สุบงกฎ ผู้ว่าราชการจังหวัดกาฬสินธุ์ เปิดเผยว่า ตามที่จังหวัดกาฬสินธุ์ ได้ดำเนินงานตามโครงการกาฬสินธุ์เมืองคนดี สุขภาพดี รายได้ดี ประจำปี 2556 และได้ต่อเนื่องถึงโครงการจังหวัดกาฬสินธุ์ปลอดเหล้าในงานศพ ซึ่งเกี่ยวข้องกับพระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2551 และพระราชบัญญัติสุรา พ.ศ. 2493 (กฎกระทรวงว่าด้วยข้อกำหนดเกี่ยวกับการออกใบอนุญาตขายสุราและการขายสุรา พ.ศ. 2548) โดยมีข้อบัญญัติของข้อกฎหมายที่สอดคล้องกับนโยบายดังนี้ 

1. ห้ามขายและห้ามบริโภค ในวัดหรือสถานที่ที่ปฏิบัติทางศาสนา สถานที่บริการสาธารณสุขของรัฐ สถานพยาบาลและร้านขายยา สถานที่ราชการ ยกเว้นบริเวณที่จัดเป็นร้านค้าหรือสโมสร) หอพัก สถานศึกษา สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง และสวนสาธารณะ ทั้งนี้ ยกเว้นการบริโภคในที่พักส่วนบุคคลหรือสโมสร หรือการจัดเลี้ยงตามประเพณี 

2. ห้ามขายในวัน เวลา ตามที่รัฐบาลประกาศกำหนด เช่น วันสำคัญทางศาสนา 

3. ห้ามขายให้แก่เยาวชนที่มีอายุต่ำกว่า 20 ปี และผู้ที่มีอาการมึนเมาจนครองสติไม่ได้ 

4. ห้ามขายด้วยการใช้เครื่องขายอัตโนมัติ การเร่ขาย การลดราคา การเสนอสิทธิประโยชน์ และการแจก แถม หรือให้เพื่อการส่งเสริมการขาย 

ดังนั้น เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพ ประสิทธิผลเป็นไปตามโครงการกาฬสินธุ์เมืองคนดี สุขภาพดี รายได้ดี และโครงการจังหวัดกาฬสินธุ์ปลอดเหล้าในงานศพ ตลอดจนป้องกันปัญหาของเยาวชนที่จะก่อให้เกิดอาชญากรรมจังหวัดกาฬสินธุ์ จึงขอความร่วมมือจากส่วนราชการ ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้ประกอบการ ช่วยกันสอดส่อง ดูแล และควบคุมการถือปฏิบัติตามข้อกฎหมายข้างต้น 



ดวงใจ หงษ์จันทร์/ข่าว

โรงเรียน OTOP กาฬสินธุ์ เริ่มสอนหลักสูตรศิลปะการขาย และเทคนิคการสร้างตำนาน

โรงเรียน OTOP จังหวัดกาฬสินธุ์ เริ่มการสอนหลักสูตรศิลปะการขาย OTOP (OTOP Salesmanship) และเทคนิคการสร้างตำนาน OTOP (OTOP Story) หวังให้ผู้ผลิต ผู้ประกอบการ OTOP ได้เรียนรู้ แลกเปลี่ยนประสบการณ์ เกิดทักษะ พัฒนาผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพมาตรฐาน เพิ่มยอดขาย สร้างรายได้ให้กับครัวเรือน

นายเกษตร หาญสุริย์ พัฒนาการจังหวัดกาฬสินธุ์ เปิดเผยว่า ตามที่จังหวัดกาฬสินธุ์ ได้กำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนา OTOP กาฬสินธุ์ ตามนโยบายของรัฐบาล และนายสุวิทย์ บงกฎ ผู้ว่าราชการจังหวัดกาฬสินธุ์ ได้อนุมัติให้สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดกาฬสินธุ์ ดำเนินโครงการโรงเรียน OTOP กาฬสินธุ์ สำหรับในปี 2556 กำหนดหลักสูตรการเรียน จำนวน 2 หลักสูตร คือ หลักสูตรศิลปะการขาย OTOP (OTOP Salesmanship) และหลักสูตรเทคนิคการสร้างตำนาน OTOP (OTOP Story) โดยนักเรียน กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ กลุ่มผู้ผลิตหรือผู้ประกอบการ OTOP ที่ลงทะเบียนและคัดสรรสุดยอด OTOP ปี 2555 จำนวน 50 กลุ่ม และพัฒนากรของจังหวัดกาฬสินธุ์ จำนวน 18 คน โดยมีครูผู้สอน คือ ผู้เชี่ยวชาญจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ พัฒนาชุมชนจังหวัด, พาณิชย์จังหวัด, อุตสาหกรรมจังหวัด, วัฒนธรรมจังหวัด, มหาวิทยาลัยราชภัฎกาฬสินธุ์, วิทยาลัยเทคนิคกาฬสินธุ์ และโรงเรียนลำปาววิทยาคม

พัฒนาการจังหวัดกาฬสินธุ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า สำหรับหลักสูตรศิลปะการขาย ทำการสอนภาคทฤษฎี เรียนรู้หลักการ วิธีการ ระหว่างวันที่ 18-20 มิถุนายน 2556 รวม 3 วัน ที่ห้องเบญจพร โรงแรมริมปาว จังหวัดกาฬสินธุ์ ส่วนภาคปฏิบัติ เรียนรู้และฝึกปฏิบัติ ในงานจัดแสดงและจำหน่ายสินค้าวิสาหกิจชุมชน และ OTOP ระหว่างวันที่ 21-30 มิถุนายน 2556 รวม 10 วัน ณ สนามหน้าศาลากลางจังหวัดกาฬสินธุ์ และหลักสูตรเทคนิคการสร้างตำนาน OTOP ภาคทฤษฎี วันที่ 4-5 กรกฎาคม 2556 รวม 2 วัน ที่ห้องเบญจพร โรงแรมริมปาว อำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์ ภาคปฏิบัติ ในพื้นที่ปฏิบัติการจริงภาคสนาม ระหว่างวันที่ 6-18 กรกฎาคม 2556 รวม 13 วัน ภาคสรุปและถอดบทเรียน วันที่ 19 กรกฎาคม 2556 ที่ห้องประชุมศาลากลางจังหวัดกาฬสินธุ์ ซึ่งคาดหวังว่านักเรียนที่ได้เข้าศึกษาในโรงเรียน OTOP กาฬสินธุ์ ได้แก่ ผู้ผลิต ผู้ประกอบการ OTOP ได้เรียนรู้ แลกเปลี่ยนประสบการณ์ เกิดทักษะ ความเชี่ยวชาญ ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพมาตรฐาน เพิ่มยอดการจำหน่ายและเพิ่มรายได้ในครัวเรือนและชุมชนต่อไป



ดวงใจ หงษ์จันทร์ / ข่าว

กาฬสินธุ์รับขึ้นทะเบียนผู้ประกอบการร้านอาหารรายย่อยเพื่อขอชดเชยจากการปรับราคาก๊าซหุงต้ม

นายประเสริฐ ลือชาธนานนท์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดกาฬสินธุ์แจ้งว่า กระทรวงพลังงาน มีนโยบายที่จะปรับราคาจำหน่ายปลีกก๊าซหุงต้ม ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อผู้มีรายได้น้อยและผู้ประกอบการ จังหวัดกาฬสินธุ์จึงได้รับขึ้นทะเบียนร้านค้าขนาดเล็ก แผงลอย และหาบเร่เพื่อให้การช่วยเหลือและชดเชยผลกระทบ โดยผู้ประกอบการร้านค้าขนาดเล็ก พื้นที่ไม่เกิน 50 ตารางเมตรหรือประมาณอาคารพาณิชย์ 1 คูหา หาบเร่ ซึ่งหมายถึง ผู้ค้าที่ไม่มีที่ตั้งร้านขายประจำ ลักษณะเวียนขายเปลี่ยนไปเรื่อยๆ เช่น รถเข็นขายลูกชิ้นทอด ข้าวโพดต้ม ถั่วต้ม ขนมจีน ซาลาเปา โรตี และแผงลอยอาหาร ซึ่งหมายถึง ลักษณร้านค้าที่ไม่มีผนัง แต่มีที่ตั้งร้านค้าเป็นประจำ อาจเป็นรถเข็น หรือรถยนต์เปิดท้ายขายของ มีจุดขายเป็นประจำที่ หรือ มีรถเข็นแล้วมีโต๊ะเก้าอี้ สำหรับนั่งรับประทาน ร้านบะหมี่ ร้านก๋วยเตี๋ยว ที่มีความประสงค์จะขึ้นทะเบียนสามารถสอบถามรายละเอียดและขึ้นทะเบียนได้ที่ สำนักงานการค้าภายในจังหวัดกาฬสินธุ์ สำนักงานพาณิชย์จังหวัดกาฬสินธุ์ และที่สำนักงานพัฒนาธุรกิจ การค้าจังหวัดกาฬสินธุ์ ในวันและเวลาราชการ
 


สุวรรณ ศรีอาภรณ์ ข่าว

ผู้ว่าจังหวัดกาฬสินธุ์ กำชับทุกภาคส่วนจริงจังกับการแก้ไขปัญหายาเสพติดในทุกมิติ พร้อมส่งทีมติดตามประเมินผล ลงพื้นที่เก็บข้อมูลอย่างละเอียด

เช้าวันนี้ ( 27 มิ.ย. 56 ) ที่ห้องประชุมศาลากลางจังหวัดกาฬสินธุ์ นายสุวิทย์ สุบงกฎ ผู้ว่าราชการจังหวัดกาฬสินธุ์ เป็นประธานการประชุมหัวหน้าส่วนราชการประจำจังหวัดกาฬสินธุ์ เพื่อติดตามความก้าวหน้า การดำเนินงานตามภารกิจของทุกส่วนราชการ โดยมีนายอำเภอและหัวหน้าส่วนราชการเข้าร่วมประชุมจำนวน 130 คน

ทั้งนี้ส่วนราชการได้รายงานความก้าวหน้าของการดำเนินงานหลายส่วน อาทิ สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดกาฬสินธุ์ ได้ลงพื้นที่เร่งให้ความรู้ ความเข้าใจ แก่เด็ก ที่ประสบปัญหาการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร โดยผู้ว่าราชการจังหวัดกาฬสินธุ์ ได้กำชับให้นำ วาระจังหวัดกาฬสินธุ์ คนดี สุขภาพดี รายได้ดี เข้าไปเป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหา ทางด้านสำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดกาฬสินธุ์ ได้เชิญชวนให้ส่วนราชการ ร่วมปลูกต้นมเหสักข์ สักสยามมินทร์ ถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยสั่งจองต้นไม้ได้กล่าวได้ที่ 043-815-003,สำนักงานปปช.จังหวัดกาฬสินธุ์ แจ้งรายละเอียดเกี่ยวกับการสรรหากรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตประจำ จังหวัดกาฬสินธุ์ ซึ่งจังหวัดกาฬสินธุ์ มีกรรมการ ป.ป.จ. จำนวน 3 คน จะเริ่มกระบวนการสรรหา ตั้งแต่วันที่ 24 กรกฏาคม 2556 เป็นต้นไป , และสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดกาฬสินธุ์ ได้ดำเนินการคัดเลือกพื้นที่ปลูกป่า ตามโครงการพื้นฟูป่าต้นน้ำและ.ปลูกป่า 800 ล้านกล้า เฉลิมพระชนมพรรษามหาราชินี ซึ่งจากเดิม 4 แปลง เพิ่มเติมอีก 13 แปลง นอกจากนี้ นายสุวิทย์ สุบงกฎ ผู้ว่าราชการจังหวัดกาฬสินธุ์ ยังได้กำชับให้ทุกอำเภอใส่ใจในเรื่องการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในทุก มิติ ควบคู่ไปกับ การดำเนินงานตามระเบียบวาระจังหวัดกาฬสินธุ์ คนดี สุขภาพดี รายได้ดี ซึ่งจะมีทีมติดตามประเมินผล ลงพื้นที่เก็บข้อมูลอย่างละเอียดและต่อเนื่อง



วิภาดา รัตนโรจนา / ข่าว

กองทุนเงินกู้ยืมเพื่อการศึกษาที่ผูกกับรายได้ในอนาคต เปิดกู้ยืม ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง-ปริญญาตรี

นางสาวกัญญรัตน์ เกียรติสุภา ประชาสัมพันธ์จังหวัดสุรินทร์ ได้รับแจ้งจากกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) ว่า “ขณะนี้ กองทุนฯ ได้เปิดระบบ e-Studentloan กองทุน กรอ. หรือ กองทุนเงินกู้ยืมเพื่อการศึกษาที่ผูกกับรายได้ในอนาคต สำหรับนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ระดับ ปวส.ทุกสาขา และปริญญาตรี เฉพาะสาขาที่เป็นความต้องการหลักของประเทศ ได้มีสิทธิขอกู้ยืมเงินในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2556 แล้วตั้งแต่บัดนี้ถึงวันที่ 31 กรกฎาคม 2556

สำหรับหลักเกณฑ์การกู้ยืมกองทุน  กรอ. จะให้กู้ยืมค่าเล่าเรียนแก่นักศึกษาระดับอาชีวศึกษาขั้นสูง (ปวส.) ทุกสาขา และระดับอุดมศึกษา (ปริญญาตรี) ที่เรียนในหลักสูตรหรือสาขาวิชาที่เป็นความต้องการหลักและมีความชัดเจนของการผลิตกำลังคนจำนวน 90 กลุ่มสาขาวิชา หรือ 1,313 หลักสูตร/สาขาวิชา หากผู้กู้ยืมมีฐานะยากจนมีรายได้ครอบครัวไม่เกิน 200,000 บาทต่อปี ก็สามารถขอกู้ยืมค่าครองชีพเพิ่มเติมจากค่าเล่าเรียนได้ เมื่อเรียนจบและมีรายได้ถึง 16,000 บาทต่อเดือน ต้องผ่อนจ่ายชำระคืนกองทุนฯ ในอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 1 ภายในระยะเวลา 15 ปี

ทั้งนี้ นักศึกษาที่ประสงค์ขอกู้ยืมกองทุน กรอ. สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมและดำเนินการขอกู้ยืมผ่านระบบ e-Studentloan ได้ทาง www.studentloan.or.th ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไปจนถึงวันที่ 31 กรกฎาคม 2556 หรือสอบถามเพิ่มเติมที่ ศูนย์สายใจ กยศ. โทร. 02-610 4888” ผู้จัดการกองทุนฯ



ศริณภาพร จันทสุข /ส.ปชส.สุรินทร์ / ข่าว

ธ.ก.ส. ชี้แจงผลการตรวจสอบตู้เอทีเอ็ม สาขาศีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์ พบร่องรอยการโจรกรรม แต่ทรัพย์สินไม่สูญหาย ยืนยันตู้เอทีเอ็มทั่วประเทศมีระบบรักษาความปลอดภัยสูง พร้อมดูแลอย่างเข้มงวดในทุกพื้นที่เสี่ยงภัยและห่างไกลชุมชน

นางพูนสุข มุสิกลัด รองผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร(ธ.ก.ส.) เปิดเผยถึงกรณีตู้เอทีเอ็มของ ธ.ก.ส. สาขาศีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์  ถูกเปิดทิ้งไว้ ว่า จากการตรวจสอบเบื้องต้นพบว่ามีร่องรอยการโจรกรรม แต่ทรัพย์สินไม่สูญหาย  เพราะระบบนิรภัยในตู้เอทีเอ็มทำการล็อคเครื่องอัตโนมัติ ทำให้คนร้ายไม่สามารถทำอะไรได้

อย่างไรก็ตามข้อมูลดังกล่าว  ธ.ก.ส.จะส่งให้เจ้าหน้าที่ตำรวจในพื้นที่ดำเนินการสอบสวนตามกระบวนการต่อไป  ทั้งนี้ ธ.ก.ส. ได้ดำเนินการเปลี่ยนหน้าตู้เอทีเอ็มที่หน่วยศีขรภูมิ เพื่อให้บริการประชาชนได้ตามปกติแล้ว และขอยืนยันว่าระบบเอทีเอ็มของ ธ.ก.ส.เป็นระบบมาตรฐานสากล มีระบบรักษาความปลอดภัยสูง โดยจะเพิ่มมาตรการในการสอดส่องดูแลรักษาเครื่องเอทีเอ็ม จำนวนกว่า 1,300 เครื่องที่ติดตั้งให้บริการประชาชนอยู่ทั่วประเทศ โดยเฉพาะตู้เอทีเอ็มที่ตั้งอยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัยและอยู่ห่างไกลจากชุมชน เพื่อให้ประชาชนได้รับความสะดวกและปลอดภัย



ดวงกมล แสงจันทร์ สวท / ข่าว

ผวจ.สุรินทร์ให้เกษตรกรรีบนำข้าวเปลือกนาปรังร่วมโครงการรับจำนำข้าวของรัฐบาล ภายในเดือนมิถุนายนนี้ เพื่อให้ได้ราคารับจำนำ ตันละ 15,000 บาท

นายนิรันดร์ กัลยาณมิตร ผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์  สั่งการด่วนให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง  เร่งประชาสัมพันธ์ให้เกษตรกรนำข้าวนาปรังเข้าร่วมโครงการรับจำนำข้าวนาปรังก่อนวันที่ 30 มิถุนายนนี้ เนื่องจากรัฐบาลเห็นชอบตามมติคณะกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติ (กขช.) ให้ปรับลดราคารับจำนำข้าวเปลือกนาปรังฤดูกาลผลิตปี 2556 ลงเหลือตันละ 12,000 บาท จากปัจจุบันที่ตันละ 15,000 บาท โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ 30 มิถุนายนนี้เป็นต้นไป พร้อมกันนี้ให้ปรับเงื่อนไขวงเงินรับจำนำไม่เกินรายละ 500,000 บาท โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ 20 มิถุนายนนี้

ดังนั้น หากเกษตรกรนำข้าวเข้าร่วมโครงการรับจำนำข้าวของรัฐบาลหลังวันที่ 30 มิถุนายนนี้ เกษตรกรจะได้รับเงินค่าจำนำข้าวน้อยลง 3,000 บาท ผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์ กล่าวว่า จังหวัดสุรินทร์ มีโรงสีที่เปิดจุดรับจำนำข้าวเปลือกนาปรัง จำนวน 8 โรงสี และโรงสีในจังหวัดสุรินทร์ได้เปิดจุดรับจำนำนอกพื้นที่อีก 4 แห่ง รวมจุดรับจำนำทั้งสิ้น 12 แห่ง ซึ่งขณะนี้มีเกษตรกรเข้าร่วมโครงการ ณ จุดรับจำนำแล้ว 2,063 ราย ปริมาณข้าวเปลือกที่รับจำนำรวมทั้งสิ้น 8,256 ตัน และ ธ.ก.ส. ได้จ่ายเงินให้แก่เกษตรกรไปแล้วจำนวน 97,040.627 บาท หากเกษตรกรมีความประสงค์จะเข้าร่วมโครงการ ขอให้นำข้าวเปลือกและเอกสารที่เกี่ยวข้อง คือ ใบรับรองเกษตรกร สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน สำเนาทะเบียนบ้าน สมุดเงินกู้ ธ.ก.ส. ไปติดต่อได้ที่จุดรับจำนำ และขอให้เกษตรกรรีบนำข้าวนาปรังเข้าร่วมโครงการรับจำนำข้าวนาปรังก่อนวันที่ 30 มิถุนายนนี้ เพื่อให้ได้รับราคารับจำนำที่ตันละ 15,000 บาท หากเกษตรกรไม่ได้รับความเป็นธรรมในการจำนำขอให้แจ้งได้ที่สายด่วน 1569



สมทรง เผือกผล / ส.ปชส.สุรินทร์ / ข่าว

อุตสาหกรรมจังหวัดสุรินทร์ จัดสัมมานาผู้ประกอบการเรื่อง “เส้นทางสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน”

นายบรรจง  สุกรีฑา อุตสาหกรรมจังหวัดสุรินทร์  กล่าวว่า ด้วยสำนักงานเศรษฐกิจอุสาหกรรม  ร่วมกับ สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดสุรินทร์  กำหนดจัดสัมมนา เรื่อง “ เส้นทางสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน” ในวันที่ 4 กรกฏาคม 2556 เวลา 08.30 ณ ห้องพนมดงรัก โรงแรมทองธารินทร์ อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์

โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนให้แก่ผู้ประกอบการในส่วนภูมิภาค  หน่วยงานภาครัฐ และเอกชนที่เกี่ยวข้องได้รับทราบข้อมูลในการเตรียมความพร้อมต่อการดำเนินธุรกิจ ตลอดจนแนวทางการปรับตัวของภาคอุตสาหกรรมในปัจจุบันได้อย่างเหมาะสม กิจกรรม มีการบรรยาย เรื่อง หลากหลายกลยุทธ์ พร้อมรับ AEC โดย ดร.สมชาย หาญหิรัญ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม และบรรยาย วิสัยทัศน์หลังเปิด AEC โดย นายสิทธิพร บางแก้ว พาณิชย์จังหวัดสุรินทร์ ขอเชิญผู้สนใจ เข้าร่วมสัมมนาโดยพร้อมเพรียงกัน



กัญญรัตน์ เกียรติสุภา  ส.ปชส.สุรินทร์ /ข่าว

จังหวัดสุรินทร์ จัดโครงการอบรมพัฒนาศักยภาพครูภาษาอังกฤษเพื่อเตรียมความพร้อมสู่ประชาคมอาเซียน

นางวิมลมาลย์  รินไธสง ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบ เปิดเผยว่า ด้วย สำนักงาน กศน. จังหวัดสุรินทร์ ได้จัดโครงการอบรมพัฒนาศักยภาพครูภาษาอังกฤษเพื่อเตรียมความพร้อมสู่ประชาคมอาเซียนระหว่างวันที่ 26 – 28 มิถุนายน 2556 ณ สำนักงาน กศน. จังหวัดสุรินทร์ และเพื่อเป็นการสนับสนุนส่งเสริมให้นักเรียน นักศึกษาและประชาชนจังหวัดสุรินทร์ ได้ทราบข้อมูลข่าวสารการเตรียมความพร้อมเข้าสู่การเป็นประชาคมอาเซียน ในปี 2558 ของ กศน. จังหวัดสุรินทร์ อย่างทั่วถึง สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ 044 -512959




สุจิตรา สีคำ ข่าว
กัญญรัตน์ เกียรติสุภา  ส.ปชส.สุรินทร์ /เรียบเรียง

จังหวัดสุรินทร์ แจ้งให้ข้าราชการปฏิบัติตามประมวลจริยธรรมข้าราชการพลเรือน

นายนิรันดร์ กัลยาณมิตร ผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์  เปิดเผยว่า ด้วย สำนักงาน ก.พ. ได้ประกาศแต่งตั้งคณะกรรมการจริยธรรมประจำจังหวัดสุรินทร์  เมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2556 และคณะกรรมการจริยธรรมประจำจังหวัดสุรินทร์ได้ประชุมคณะกรรมการฯ ครั้งที่ 1/2556 เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2556 ซึ่งที่ประชุมมีมติเพื่อขับเคลื่อนงานด้านจริยธรรมของจังหวัดให้บังเกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม ดังนั้น จังหวัดจึงขอให้ส่วนราชการดำเนินการ ดังนี้

1. ขอให้หัวหน้าส่วนราชการประจำจังหวัด ได้ประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ผู้ใต้บังคับบัญชา รวมทั้งแจ้งให้บุคลากรของหน่วยงาน ให้ยึดมั่นในจริยธรรม และปฏิบัติตามประมวลจริยธรรมข้าราชการพลเรือน/ของส่วนราชการอย่างเคร่งครัด

2. ให้นำประมวลจริยธรรมข้าราชการพลเรือน/ของส่วนราช เผยแพร่ประชาสัมพันธ์ ณ สำนักงาน และทางเว็บไซต์ของส่วนราชการ

3. ให้รายงานผลการปฏิบัติตามประมวลจริยธรรมข้าราชการพลเรือน/ของส่วนราช ตามแบบรายงานให้จังหวัดทราบภายในเดือนกันยายน 2556 เพื่อรวบรวมและรายงานผลการดำเนินงานให้ ก.พ. ทราบ




สุจิตรา สีคำ ข่าว
กัญญรัตน์ เกียรติสุภา  ส.ปชส.สุรินทร์ /เรียบเรียง

คณะกรรมการติดตามประเมินผล และพิจารณาคัดเลือกสถานีตำรวจดีเด่นสถานีตำรวจภูธรอำเภอสนม จังหวัดสุรินทร์

วันนี้ (27 มิ.ย. 56) พล.ต.อ. เฉลิมเกียรติ ศรีวรขาน ที่ปรึกษา ( ปป 5 ) สำนักงานตำรวจแห่งชาติ และคณะกรรมการตรวจประเมินผลการพัฒนาสถานีตำรวจ เดินทางมาตรวจประเมินผลและพิจารณาคัดเลือก สถานีตำรวจดีเด่นในระดับ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ สถานีตำรวจภูธรอำเภอสนม จังหวัดสุรินทร์ ซึ่งเป็นตัวแทนของตำรวจภูธรจังหวัดสุรินทร์ และตำรวจภูธรภาค 3 ทั้งนี้ สำนักงานตำรวจแห่งชาติเล็งเห็นความสำคัญของการบริการ และอำนวยความสะดวกแก่ประชาชน จึงได้จัดทำโครงการประกวดการพัฒนาสถานีตำรวจดีเด่นเฉพาะกรณีสถานีตำรวจที่ถูกรื้อถอนอาคารเดิม และยังไม่มีที่ทำการถาวรขึ้น

โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อให้สถานีตำรวจปฏิบัติหน้าที่ในด้านการบริการทั่วไป การจัดการจราจร การอำนวยความยุติธรรมทางอาญา การรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน การบริหารและพัฒนาบุคลากร ให้มีประสิทธิภาพสูงสุด โดยไม่มีข้อจำกัดทางกายภาพมาเป็นอุปสรรคในการปฏิบัติงาน เน้นหนักให้ความสำคัญในเรื่องการปรับปรุงและพัฒนาสถานที่ทำงานและสภาพแวดล้อมในการทำงาน การจัดระบบงาน ที่เอื้อต่อการให้บริการและอำนวยความสะดวกแก่ประชาชน และภาวะผู้นำของหัวหน้าสถานีตำรวจในการนำหน่วย บริหารจัดการหน่วยและปกครองผู้ใต้บังคับบัญชา ให้สามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจ และสร้างความพึงพอใจ เชื่อมั่น ศรัทธาต่อประชาชน ให้บรรลุผลสำเร็จตามเป้าหมายที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติกำหนด

สำหรับสถานีตำรวจภูธรอำเภอสนม  จังหวัดสุรินทร์ รับผิดชอบพื้นที่ 7 ตำบล 79 หมู่บ้าน ของอำเภอสนม รับผิดชอบประชาชน ตำรวจ 1 คน ต่อ 896 คน มีอัตรากำลังรวมทั้งสิ้น 102 คน เป็นตำรวจสัญญาบัตร 18 คน ชั้นประทวน 84 คน ปัจจุบันมี พ.ต.อ. สุรชัย สังขพัฒน์ เป็นผู้กำกับการฯ



ประนนท์ ไม้หอม ส.ปชส.สุรินทร์ รายงาน

จังหวัดสุรินทร์ เชิญสื่อพื้นบ้านร่วมรณรงค์ประชาสัมพันธ์ให้นักเรียนออกกลางคันได้เข้าสู่ระบบการศึกษาภาคบังคับ

นางสาวกัญญรัตน์ เกียรติสุภา ประชาสัมพันธ์จังหวัดสุรินทร์ เปิดเผยว่า จังหวัดสุรินทร์  ได้รับการคัดเลือกให้เป็น 1 ใน 10 จังหวัดดีเด่นในโครงการสังคมไทยร่วมกันคืนครูดีให้ศิษย์ เชิดชู ยกย่องครูสอนดี ภายใต้การดำเนินงานของคณะกรรมการเพื่อการคัดเลือกครูสอนดีและลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาจังหวัด แต่ปรากฏว่าในขณะนี้ จังหวัดสุรินทร์มีนักเรียนที่ออกกลางคันระดับมัธยมศึกษาตอนต้น จำนวน 564 คน ด้วยความห่วงใยเยาวชนที่ออกกลางคัน ทำให้ขาดโอกาสในการศึกษาเล่าเรียน และทำให้ขาดโอกาสทำงานดี เงินเดือนเหมาะสมกับความรู้ ความสามารถ

ทั้งนี้ จังหวัดสุรินทร์ได้ร่วมกับสำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนและคุณภาพเยาวชน  หรือ สสค. และองค์การบริหารส่วนจังหวัดสุรินทร์  ได้มอบหมายให้สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดสุรินทร์  จัดรณรงค์ประชาสัมพันธ์สื่อพื้นบ้านของจังหวัดสุรินทร์ให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายในพื้นที่ โดยประสานขอความร่วมมือไปยัง ประธานชมรมเจรียงเบรินอีสานใต้ คณะสมหวัง คุณสมศรี ภู่เงินงาม คุณพิรุณ อุ่นศรี และคณะกันตรึม คุณเนตรนาง อรุณรุ่ง เพื่อขอความร่วมมือจากคณะกันตรึม และคณะเจรียง ที่เป็นสื่อพื้นบ้านของจังหวัด เมื่อมีการแสดงในพื้นที่ขอให้แทรกความรู้ และเชิญชวนเยาวชนที่อยู่ในทุกอำเภอ โดยมีอำเภอนำร่อง 6 อำเภอ ได้แก่ อำเภอปราสาท อำเภอสังขะ อำเภอกาบเชิง อำเภอบัวเชด อำเภอพนมดงรัก และอำเภอศรีณรงค์ ขอให้เข้ามาศึกษาเล่าเรียนเพิ่มเติมจนจบหลักสูตร เพื่อเปิดโอกาสให้ตนเองได้จบการศึกษาภาคบังคับ หรือฝึกอาชีพตามที่สนใจ เพื่อจะได้มีโอกาสทำงานที่ดีๆ มีเงินเดือนเพียงพอในการดำรงชีวิตและดูแลครอบครัวได้ โดยมีหน่วยงานที่รับผิดชอบ ทั้ง อบจ. และ กศน. ในระดับจังหวัด อำเภอและตำบลใกล้บ้านของท่านคอยดูแลอำนวยความสะดวดในด้านต่างๆ

ส่วนเยาวชนที่เรียนยังไม่จบชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายก็สามารถฝึกอาชีพเพื่อให้เป็นแรงงานมีฝีมือรองรับประชาคมอาเซียนในปี 2558 นี้ โดยสอบถามหรือสมัครเรียนได้ที่ วิทยาลัยการอาชีพปราสาท โทร.044-146084 และวิทยาลัยการอาชีพสังขะ โทร.044-571639 ได้ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป



กัญญรัตน์ เกียรติสุภา  ส.ปชส.สุรินทร์ /ข่าว

จังหวัดสุรินทร์ เชิญสื่อพื้นบ้านร่วมรณรงค์ประชาสัมพันธ์ให้นักเรียนออกกลางคันได้เข้าสู่ระบบการศึกษาภาคบังคับ

นางสาวกัญญรัตน์ เกียรติสุภา ประชาสัมพันธ์จังหวัดสุรินทร์ เปิดเผยว่า จังหวัดสุรินทร์  ได้รับการคัดเลือกให้เป็น 1 ใน 10 จังหวัดดีเด่นในโครงการสังคมไทยร่วมกันคืนครูดีให้ศิษย์ เชิดชู ยกย่องครูสอนดี ภายใต้การดำเนินงานของคณะกรรมการเพื่อการคัดเลือกครูสอนดีและลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาจังหวัด แต่ปรากฏว่าในขณะนี้ จังหวัดสุรินทร์มีนักเรียนที่ออกกลางคันระดับมัธยมศึกษาตอนต้น จำนวน 564 คน ด้วยความห่วงใยเยาวชนที่ออกกลางคัน ทำให้ขาดโอกาสในการศึกษาเล่าเรียน และทำให้ขาดโอกาสทำงานดี เงินเดือนเหมาะสมกับความรู้ ความสามารถ

ทั้งนี้ จังหวัดสุรินทร์ได้ร่วมกับสำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนและคุณภาพเยาวชน  หรือ สสค. และองค์การบริหารส่วนจังหวัดสุรินทร์  ได้มอบหมายให้สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดสุรินทร์  จัดรณรงค์ประชาสัมพันธ์สื่อพื้นบ้านของจังหวัดสุรินทร์ให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายในพื้นที่ โดยประสานขอความร่วมมือไปยัง ประธานชมรมเจรียงเบรินอีสานใต้ คณะสมหวัง คุณสมศรี ภู่เงินงาม คุณพิรุณ อุ่นศรี และคณะกันตรึม คุณเนตรนาง อรุณรุ่ง เพื่อขอความร่วมมือจากคณะกันตรึม และคณะเจรียง ที่เป็นสื่อพื้นบ้านของจังหวัด เมื่อมีการแสดงในพื้นที่ขอให้แทรกความรู้ และเชิญชวนเยาวชนที่อยู่ในทุกอำเภอ โดยมีอำเภอนำร่อง 6 อำเภอ ได้แก่ อำเภอปราสาท อำเภอสังขะ อำเภอกาบเชิง อำเภอบัวเชด อำเภอพนมดงรัก และอำเภอศรีณรงค์ ขอให้เข้ามาศึกษาเล่าเรียนเพิ่มเติมจนจบหลักสูตร เพื่อเปิดโอกาสให้ตนเองได้จบการศึกษาภาคบังคับ หรือฝึกอาชีพตามที่สนใจ เพื่อจะได้มีโอกาสทำงานที่ดีๆ มีเงินเดือนเพียงพอในการดำรงชีวิตและดูแลครอบครัวได้ โดยมีหน่วยงานที่รับผิดชอบ ทั้ง อบจ. และ กศน. ในระดับจังหวัด อำเภอและตำบลใกล้บ้านของท่านคอยดูแลอำนวยความสะดวดในด้านต่างๆ

ส่วนเยาวชนที่เรียนยังไม่จบชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายก็สามารถฝึกอาชีพเพื่อให้เป็นแรงงานมีฝีมือรองรับประชาคมอาเซียนในปี 2558 นี้ โดยสอบถามหรือสมัครเรียนได้ที่ วิทยาลัยการอาชีพปราสาท โทร.044-146084 และวิทยาลัยการอาชีพสังขะ โทร.044-571639 ได้ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป



กัญญรัตน์ เกียรติสุภา  ส.ปชส.สุรินทร์ /ข่าว

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุรินทร์ เสริมสร้างอุดมการณ์ รักชาติและพระมหากษัตริย์

วันนี้ (27 มิ.ย. 56) ผู้ช่วยศาสตราจารย์กิตติ มุลาลินน์ รองอธิการบดี วิทยาเขตสุรินทร์ ร่วมกับงานพัฒนานักศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสุรินทร์ ได้ร่วมดำเนินโครงการเสริมสร้างอุดมการณ์รักชาติและสถาบันพระมหากษัตริย์ เพื่อเป็นการปลูกจิตสำนึก สร้างความเข้าใจ และสร้างภูมิคุ้มกัน ให้กับเยาวชนระดับอุดมศึกษาโดยเฉพาะอย่างยิ่ง นักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสุรินทร์ เพื่อให้มีความเข้าใจในความเป็นมาของประวัติศาสตร์ชาติไทยและพระมหากรุณาธิคุณของพระมหากษัตริย์ไทย และโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ให้กับพสกนิกรอันเป็นที่รักของพระองค์ มีผู้สนใจร่วมรับฟังทั้งนักศึกษา บุคลากรเจ้าหน้าที่ และผู้ที่สนใจร่วมรับฟังกว่า 800 คน

นายหมวดเอกธารณา คชเสนี นายน้ำเพชร สัตยารักษ์ และคณะวิทยากรผู้ให้การอบรมจากศูนย์ประสานงานโครงการพัฒนาตามพระราชดำริ กรุงเทพมหานคร กล่าวว่า นับตั้งแต่มีประวัติศาสตร์ชาติไทยทุกยุคทุกสมัยตลอดมาพระมหากษัตริย์ไทย นอกเหนือจะทรงเป็นศูนย์รวมทางจิตใจของไพร่ฟ้าข้าแผ่นดินแล้ว ยังทรงเป็นนักปกครองที่ชาญฉลาด ทรงทำนุบำรุงบ้านเมือง ดูแลทุกข์ของประชาชนในแผ่นดินจนเป็นคำกล่าวติดปากมาแต่โบราณว่า ทรงเป็น “เจ้าแผ่นดิน” หรือ “พระเจ้าแผ่นดิน” ในยามศึกสงครามพระมหากษัตริย์ทรงเป็น “จอมทัพ” ทำการบังคับบัญชาทหารโดยตรง ทรงนำกองทัพเข้าต่อสู้กับศัตรูของชาติ พระมหากษัตริย์ทรงเป็นนักรบที่เข้มเข็ง ทรงเป็นผู้นำชาติทุกยุคทุกสมัยตลอดมา ทรงอดทนเสียสละตรากตรำทำศึกสงครามเพื่อนำความเป็น “ไท” มาสู่ชนชาติ ทรงสร้างบ้านแปลงเมืองให้เป็นปึกแผ่นมั่นคงจนเป็น “สยามประเทศ” ยามใดที่บ้านเมืองอ่อนแอจนถึงขั้นเพลี้ยงพล้ำแก่อริราชศัตรู พระมหากษัตริย์ไทยในฐานะจอมทัพไทย ได้ทรงนำกองทัพเข้ากอบกู้เอกราชกลับคืนมาได้ทุกครั้ง พระเกียรติยศของพระมหากษัตริย์ไทยจึงแผ่ไพศาลไปทั่วสารทิศ จนเป็นที่เกรงขามของประเทศใกล้เคียงไม่มีประเทศใดกล้ำกรายเข้ามายึดครอง คนไทยจึงได้มีแผ่นดินให้ลูกหลานได้อยู่อาศัยอย่างมีความสุข ประเทศไทยจึงเจริญรุ่งเรืองตราบถึงปัจจุบันนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ทรงเป็นพระมหากษัตริย์




กัญญรัตน์ เกียรติสุภา  ส.ปชส.สุรินทร์ /ข่าว

หนอนกระทู้ข้าวยังคงระบาดในพื้นที่จังหวัดสุรินทร์

หลังจากพบการระบาดของหนอนกระทู้ ในนาข้าวในพื้นที่ ต.ตรมไพร อ.ศีขรภูมิ จ.สุรินทร์ ใน สัปดาห์ที่ผ่านมา ซึ่งหนอนกระทู้ได้บุกกัดกินกล้าข้าวเสียหายไปถึง 1,630 ไร่ และกำลังสำรวจความเสียหาย อีก 4,000 ไร่ และพบการแพร่ระบาดของหนอนกระทู้ ยกทัพบุกกัดกินกล้าข้าวของชาวนาในพื้นที่ บ.โชกเหนือ ต.โชกเหนือ อ.ลำดวน จ.สุรินทร์ อีกพื้นที่ ซึ่งมีนาข้าวเสียหายในหลายจุดด้วยกันเกือบ 100 ไร่ ซึ่งสำนักงานเกษตรจังหวัดสุรินทร์ ได้นำเจ้าหน้าที่ออกพ่นยาทำลายหนอนกระทู้ กระชับพื้นที่ให้อยู่ในวงจำกัดเพื่อป้องกันการลุกลามขายพันธุ์ พร้อมทั้งให้ความรู้เกษตรกร และเร่งให้การช่วยเหลือเกษตรกรที่ถูกหนอนกระทู้ ลงกัดกินต้นกล้าข้าว และหากพบการระบาดในพื้นที่ใดขอให้รีบแจ้งเกษตรตำบล และเกษตรอำเภอเพื่อรีบหาทางกำจัด

ล่าสุดพบการแพร่ระบาดของหนอนกระทู้ในพื้นที่  หมู่ที่ 3 บ้านยาง ต. ตาอ็อง อ. เมือง จ. สุรินทร์ ซึ่งเจ้าหน้าที่จากสำนักงานเกษตรอำเภอเมืองได้ลงพื้นที่ตรวจสอบและให้ความช่วยเหลือแก่เกษตรกรแล้ว พร้อมฝากประชาสัมพันธ์มายังเกษตรกรไม่ต้องตกใจ เพราะต้นข้าวที่มีอายุเกินกว่า 3 สัปดาห์แล้วจะไม่ได้รับความเสียหาย เนื่องจากต้นข้าวที่ถูกหนอนกระทู้กัดกินใบหมดนั้น ต้นข้าวยังเหลืออยู่เดี๋ยวซักพักไม่กี่วันก็จะแตกใบขึ้นมาใหม่ เมื่อหนอนหมดอายุไขต้นข้าวมีอายุมากขึ้น แข็งแรงขึ้น ก็จะแตกใบ แตกกอขึ้นมาใหม่จะไม่ได้รับความเสียหาย หรืออาจจะงามกว่าเก่าด้วยซ้ำ แต่ถ้ามีการแพร่ระบาดในต้นข้าวที่มีอายุน้อยกว่า 3 สัปดาห์ ก็สามารถใช้สารเคมีกำจัดได้เท่าที่จำเป็น และใช้อย่างถูกต้องตามคำแนะนำของเจ้าหน้าที่เกษตรตำบล หรือเกษตรอำเภอ




ประนนท์ ไม้หอม / ส.ปชส.สุรินทร์ / รายงาน

สคร.5 แนะผู้ป่วยเบาหวาน ควรหันมาให้ความสำคัญกับอาหารประเภทปลา ซึ่งมีคุณค่าทางอาหารมาก ทั้งในปลาน้ำจืดและปลาทะเล

นางสาวกัญญรัตน์ เกียรติสุภา ประชาสัมพันธ์จังหวัดสุรินทร์ ได้รับแจ้งจาก สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 5 นครราชสีมา ว่า เบาหวานโรคอันดับต้นๆ ที่คนไทยเป็นกันมาก และเป็นโรคที่ต้องดูแลเอาใจใส่ในเรื่องการบริโภคอาหารเป็นสำคัญ ผู้ที่เป็นโรคนี้มักจะมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าคนปกติ ต้องควบคุมอาหารและน้ำหนักให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม ผู้ป่วยเบาหวาน ควรหันมาให้ความสำคัญกับอาหารประเภทปลา ซึ่งมีคุณค่าทางอาหารมาก ไม่ทำให้อ้วน และราคาไม่แพงอีกด้วย ปลาเป็นหนึ่งในอาหารที่มีโคเรสโตรอลต่ำ ย่อยง่าย และเนื้อปลาเป็นโปรตีนคุณภาพดีที่มีประโยชน์ต่อร่างกายและสมอง นอกจากเนื้อปลาแล้ว ไขมันปลาก็ยังมีประโยชน์ เป็นแหล่ง โอเมก้า – 3 ที่หลายคนคิดว่ามีแต่ในปลาทะเลเท่านั้น แต่จริงๆ แล้วมีอยู่ทั้งในปลาน้ำจืดและปลาทะเล โดยโอเมก้า – 3 จะช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจอุดตัน ที่เป็นสาเหตุของโรคเบาหวาน การเลือกบริโภคปลาจะต่างจากการเลือกเนื้อสัตว์อื่นๆ โดยการเลือกซื้อเนื้อหมูหรือเนื้อสัตว์อื่นๆ เราจะเลือกที่มีมันน้อยๆ แต่ถ้าเราเลือกปลาเราต้องเลือกที่ตัวใหญ่ๆ มีไขมันมาก เพราะไขมันเหล่านั้นมีประโยชน์ต่อร่างกายทั้งสิ้น ส่วนชนิดของปลาที่ให้ประโยชน์มากที่สุดคือ ปลาสวาย มีโอเมก้า 3 สูงถึง 2,570 มก.ต่อน้ำหนัก 100 กรัม ซึ่งมากกว่าปลาทะเล จึงอยากแนะนำให้หันมาบริโภคปลาน้ำจืดในบ้านเรา เพราะมีราคาถูกแต่มีคุณประโยชน์ที่สูง แถมช่วยลดการบริโภคปลานำเข้า ที่คุณค่าทางอาหารจะลดลงไปเมื่อถูกแช่แข็ง และที่สำคัญยังไม่พบการแพ้ปลาน้ำจืด เหมือนกับปลาทะเลอีกด้วย สำหรับการปรุงเมนูปลาที่มีคุณประโยชน์ที่สุดอยู่ที่การต้มหรือนึ่ง ที่จะทำให้ได้คุณค่าทางอาหารอย่างครบถ้วนที่สุด โดยให้หลีกเลี่ยงเมนูทอดให้มากที่สุด ทั้งนี้ควรมีการบริโภคอาหารที่มีเมนูปลาอย่างน้อย 2 มื้อต่อสัปดาห์ แต่หากบริโภคได้ทุกวันก็จะดีที่สุด




กัญญรัตน์ เกียรติสุภา  ส.ปชส.สุรินทร์ /ข่าว

จ.สุรินทร์ เตือนเกษตรกรให้ระวังโรคฉี่หนู หากมีอาการป่วยให้พบแพทย์ทันที

นายสอาด วีระเจริญ  นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดสุรินทร์ กล่าวว่า ได้รับแจ้งจากสำนักระบาดวิทยาว่า  ตั้งแต่เดือนมกราคมถึงวันที่ 5 มิถุนายน นี้ พบโรคฉี่หนู หรือโรคเล็ปโตสไปโรซิส ซึ่งมีหนูเป็นพาหะนำโรค และระบาดมากในช่วงฤดูฝนเพราะเป็นฤดูเพาะปลูกข้าวเกษตรกรต้องลงสัมผัสน้ำที่ หนูฉี่ทิ้งไว้ในน้ำที่ท่วมขังเป็นเวลานาน มีผู้ป่วยทั่วประเทศแล้ว 963 ราย เสียชีวิต 7 ราย โดยพบผู้ป่วยมากที่สุดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 550 ราย จังหวัดที่มีผู้ป่วยสูงสุดคือจังหวัดสุรินทร์ 79 ราย

จังหวัดสุรินทร์ จึงขอให้เกษตรกรหมั่นสังเกตุอาการผิดปกติของตนเอง  หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับน้ำสกปรกโดยไม่จำเป็น โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีบาดแผล หากต้องเดินย่ำน้ำที่ท่วมขังควรสวมรองเท้ายาง  หลังจากการสัมผัสน้ำสกปรกควรรีบชำระล้างด้วยน้ำสบู่และเช็ดให้ผิวหนังแห้งอยู่เสมอ และปฏิบัติตามแนวทางดังนี้ หลีกเลี่ยงการสัมผัสสิ่งแวดล้อมที่มีโอกาสมีเชื้อปนเปื้อน เช่น บริเวณที่มีน้ำท่วมขัง ไม่เดินเท้าเปล่าย่ำน้ำหรือพื้นที่ชึ้นแฉะ ไม่แช่น้ำหรือว่ายน้ำอยู่นานๆ ถ้าหลีกเลี่ยงไม่ได้ควรป้องกันโดยแต่งกายให้รัดกุม เช่น สวมรองเท้าบู๊ทกันน้ำ รีบล้างทำความสะอาดผิวหนัง ขาและเท้าที่ย่ำน้ำมาให้สะอาด เช็ดให้แห้งทุกครั้ง หลีกเลี่ยงไม่ให้ผิวหนังที่มีแผลหรือรอยถลอกต้องสัมผัสกับน้ำท่วมขังหรือพื้นที่ชื้นแฉะ ควรใช้ปลาสเตอร์กันน้ำปิดแผล ใส่รองเท้ากันน้ำ ไม่ใช้น้ำที่ท่วมขังมาล้างแผล ภายหลังการสัมผัสน้ำท่วมขังต้องรีบทำความสะอาดแผลให้สะอาด ทำความสะอาดสิ่งแวดล้อมที่อยู่อาศัยให้สะอาด ควบคุมกำจัดหนู และหลีกเลี่ยงอาศัยอยู่ใกล้บริเวณที่มีสัตว์เลี้ยงที่อาจเป็นพาหะของโรค บริโภคอาหารที่ปรุงสุกใหม่ๆ ดื่มน้ำสะอาด ล้างผักผลไม้ให้สะอาด ล้างมือก่อนบริโภคอาหารก็จะช่วยป้องกันโรคฉี่หนูได้ หากพบผู้ป่วยมีอาการไม่สบายให้พบแพทย์ใกล้บ้านท่านทันที




กัญญรัตน์ เกียรติสุภา  ส.ปชส.สุรินทร์ /ข่าว

จ.สุรินทร์ เตือนระวังกินเห็ดพิษอันตรายอาจถึงตายได้

นายวิเชียร  จันทรโณทัย รองผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์ กล่าวว่า ช่วงนี้จังหวัดสุรินทร์มีฝนตก ชาวบ้านจึงนิยมไปเก็บเห็ดขายหรือนำมารับประทาน จังหวัดสุรินทร์จึงขอเตือนประชาชนอย่ารับประทานเห็ดที่ไม่รู้จักชนิด เห็ดที่เกิดใกล้มูลสัตว์ อย่ากินเห็ดสดๆ โดยไม่นำไปปรุงให้สุกก่อนหรือเก็บเห็ดหลายชนิดมาปรุงรวมกัน และอย่ารับประทานเห็ดพร้อมกับดื่มสุรา เพราะอาจเป็นพิษต่อร่างกายและเสียชีวิตได้

ทั้งนี้ หน้าฝนมักมีเห็ดซึ่งเป็นอาหารตามธรรมชาติ  รวมทั้งอาจมีเห็ดพิษที่คนรับประทานเข้าไปแล้วทำให้มีอาการป่วย  เช่น เห็ดพิษในกลุ่มที่เป็นพิษต่อระบบทางเดินอาหาร  ผู้ป่วยจะมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน อุจจาระร่วง กลุ่มอาการพิษคล้ายเมาสุราค้าง ถ้ากินเห็ดแกล้มเหล้าผู้ได้รับพิษจะมีอาการหน้าแดง ใจสั่น หายใจหอบ เจ็บหน้าอก ชาตามตัว กลุ่มพิษต่อระบบประสาท ผู้ป่วยจะรู้สึกเคลิบเคลิ้ม และประสาทหลอน มึนเมา ทำให้มีอาการผิดปกติทางจิต กลุ่มพิษต่อตับ ไต ผู้ป่วยอาจไตวาย หัวใจวาย ชัก และอาจถึงแก่ชีวิตได้ สำหรับข้อแนะนำในการในการรับประทานเห็ดให้ปลอดภัย ได้แก่ อย่าบริโภคเห็ดสด เพราะเห็ดบางชนิดพิษจะถูกทำลายเมื่อได้รับความร้อน เห็ดที่มีวงแหวน เห็ดมีปลอกหุ้มโคน เห็ดมีก้านป่องเป็นกระเปาะ เห็ดที่มีเกล็ดอยู่บนหมวกดอก เห็ดที่มีรูปร่างคล้ายสมองและอานม้า หรือเห็ดที่ไม่รู้จัก เพราะอาจถึงตายได้หากเป็นเห็ดพิษ รวมทั้งอย่าบริโภคเห็ดที่ขึ้นอยู่ใกล้มูลวัว มูลควาย ไม่ควรปรุงอาหารโดยใช้เห็ดป่าหลายชนิดรวมกัน เพราะอาจเกิดพิษต่อร่างกายโดยไม่ทราบว่าเห็ดชนิดใดเป็นพิษ และไม่ควรเก็บเห็ดในบริเวณที่มีสารพิษตกค้างมารับประทาน ในการช่วยเหลือหากผู้ป่วยรับประทานเห็ดมีพิษเข้าไป คือ ต้องทำให้ผู้ป่วยอาเจียนออกมาให้หมด เพื่อลดการดูดซึมพิษเข้าร่างกาย แล้วรีบนำผู้ป่วยส่งโรงพยาบาลใกล้บ้านทันที



กัญญรัตน์ เกียรติสุภา  ส.ปชส.สุรินทร์ /ข่าว

กองทุนพัฒนาบทบาทสตรี จังหวัดสุรินทร์ได้รับอนุมัติแล้ว 124 โครงการพร้อม เร่งประชาสัมพันธ์จัดทำโครงการให้มากขึ้น

นางชนมณี  จารุธนิตกุล ประธานกรรมการกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี จังหวัดสุรินทร์ เปิดเผยว่า การดำเนินงานกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีของจังหวัดสุรินทร์ ในช่วงที่ผ่านมา พบว่าคณะกรรมการและสมาชิกของกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีในชุมชนส่วนใหญ่ ยังขาดความเข้าใจในบทบาทหน้าที่ การบริหารจัดการกองทุนฯ นอกจากนี้ ยังขาดทักษะในการเขียนและเสนอโครงการ ขั้นตอนการขอกู้ยืมที่มีความซับซ้อน รวมทั้งหลักเกณฑ์การเขียนโครงการขอรับเงินสนับสนุนจากคณะกรรมการฯ ทำให้มีหลายโครงการไม่ผ่านการอนุมัติ เนื่องจากเป็นโครงการที่ไม่ถูกต้องตามระเบียบของกองทุนฯ บางโครงการไม่ชัดเจน ขาดเอกสาร หลักฐานในการประกอบยื่นขอเสนองบประมาณ จึงจำเป็นต้องเร่งประชาสัมพันธ์สร้างความเข้าใจในแนวทางการบริหารจัดการและส่งเสริมการมีส่วนร่วมของสมาชิกอย่างทั่วถึงให้มากขึ้น สำหรับผลการดำเนินงานกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี จังหวัดสุรินทร์ ปัจจุบันมีสมาชิก จำนวน 196,071 คน คิดเป็นร้อยละ 35 ของจำนวนเป้าหมายหญิงอายุ 15 ปี ที่มีอยู่กว่า 551,000 คน โดยได้รับการจัดสรรเงินสนับสนุนการดำเนินงานรวม 134 ล้านบาท แบ่งเป็น เงินอุดหนุน 26 ล้านบาท ได้อนุมัติเพื่อดำเนินการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของสตรีและจัดกิจกรรมในการพัฒนาบทบาทสตรีแล้ว 124 โครงการ เป็นเงินกว่า 10 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 41 ของเงินจัดสรร และงบทุนหมุนเวียน จำนวน 104 ล้านบาท เพื่อให้สมาชิกกู้ยืมไปพัฒนาอาชีพ ซึ่งได้พิจารณาอนุมัติโครงการไปแล้ว 1,421 โครงการ รวมเป็นเงินกว่า 80 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 77 ของเงินจัดสรร คาดว่าในอนาคตจะได้รับการอนุมัติเพิ่มขึ้นอย่างแน่นอน




กัญญรัตน์ เกียรติสุภา  ส.ปชส.สุรินทร์ /ข่าว

ยอดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ OTOP สุรินทร์เพิ่มสูงขึ้นทุกปี

นายพิภพ ดำทองสุข รองผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์ เปิดเผยถึงการขับเคลื่อนโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์จังหวัดสุรินทร์ ว่า จังหวัดสุรินทร์มีกลุ่มผู้ผลิตผู้ประกอบการ OTOP ในปี 2553 จำนวน 935 กลุ่ม ในปี 2555 มีกลุ่มผู้ผลิต ผู้ประกอบการ OTOP มาลงทะเบียน 1,164 ราย จำนวน 1,550 ผลิตภัณฑ์ เพิ่มขึ้นจากปี 2553 จำนวน 229 กลุ่ม คิดเป็นร้อยละ 19.67 แยกเป็น กลุ่มผู้ผลิตชุมชน 857 กลุ่ม ผู้ผลิตรายเดียว 297 ราย SMEs 10 ราย สำหรับการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์ให้เข้าสู่กระบวนการรับรองมาตรฐานและการคัดสรรสุดยอดผลิตภัณฑ์ OTOP ที่ส่งเข้าคัดสรรหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ไทย จำนวน 331 ผลิตภัณฑ์ แยกเป็น ประเภทอาหาร 16 ผลิตภัณฑ์ ประเภทผ้าและเครื่องแต่งกาย 231 ผลิตภัณฑ์ ประเภทของใช้ ของตกแต่ง ของที่ระลึก 74 ผลิตภัณฑ์ ประเภทสมุนไพรที่ไม่ใช่อาหาร 10 ผลิตภัณฑ์

ส่วนผลการคัดสรร หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ไทย  ปี 2555 ของจังหวัดสุรินทร์ มีดังนี้ ระดับดาว 5 ดาว 80 ผลิตภัณฑ์ เป็นที่ 2 ของประเทศ รองจากกรุงเทพมหานคร ระดับดาว 4 ดาว 132 ผลิตภัณฑ์ ระดับดาว 3 ดาว 40 ผลิตภัณฑ์ ระดับดาว 2 ดาว 45 ผลิตภัณฑ์ ระดับดาว 1 ดาว 10 ผลิตภัณฑ์ และผลิตภัณฑ์ที่เข้าคัดสรร 331 ผลิตภัณฑ์ ผ่านการคัดสรร 307 ผลิตภัณฑ์ ไม่ผ่าน 24 ผลิตภัณฑ์ เนื่องจาก ไม่มีมาตรฐานรับรอง สรุปมูลค่าการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ OTOP จังหวัดสุรินทร์ ดังนี้ มูลค่าการจำหน่าย ปี 2551 จำนวน 512 ล้านบาท ปี 2552 จำนวน 450 ล้านบาท ปี 2553 จำนวน 532 ล้านบาท ปี 2554 จำนวน 561 ล้านบาท ปี 2555 จำนวน 627 ล้านบาท และเป้ามูลค่าการจำหน่าย ปี 2556 จำนวน 693 ล้านบาท โดยมีมูลค่าการจำหน่ายปี 2556 ณ เดือน เมษายน รวม 400 ล้านบาท




สมทรง เผือกผล  ส.ปชส.สุรินทร์ /ข่าว

ประธานเครือข่าย OTOP สุรินทร์ ขอเชิญซื้อผ้าไหมสุรินทร์ ลวดลายหลากหลาย คงทน เงางาม เนื้อผ้าละเอียดนุ่ม ทอด้วยฝีมือประณีต หาซื้อง่าย ราคาไม่แพง

นางประนอม ขาวงาม ประธานเครือข่าย OTOP จังหวัดสุรินทร์ เปิดเผยว่า จังหวัดสุรินทร์ได้ชื่อว่าเป็นจังหวัดที่มีการทอผ้าไหมที่สวยงามและมีการทอผ้าไหมทุกหมู่บ้าน ทุกตำบล ทุกอำเภอ ในจังหวัดสุรินทร์ และเหตุผลที่ใช้ชื่อว่าผ้าไหมสุรินทร์ เพราะว่า ผ้าไหมสุรินทร์ มีลวดลายผ้าไหมที่หลากหลาย จนได้ชื่อว่า ร้อยสีพันลาย สุดยอดผ้าไหมสุรินทร์ ผ้าไหมเมืองสุรินทร์มีความโดดเด่นทั้งด้านคุณภาพคือ ความคงทน ความเป็นเงางามของเส้นไหม เนื้อผ้าละเอียดนุ่ม ทอด้วยฝีมือประณีต สีไม่ตก และด้านสุนทรียภาพคือ ความงามจากลวดลายที่มีการจัดวางองค์ประกอบที่ประสานสัมพันธ์กันระหว่างโครงสร้างสีที่กลมกลืนกับลวดลายธรรมชาติ มีการตัดทอนอย่างลงตัวสอดคล้องกับรูปแบบของผ้า ความลงตัวที่พอดีเกิดขึ้นจากภูมิปัญญาที่ผ่านการสั่งสมประสบการณ์มาหลายชั่วอายุคน และมีการสืบทอดต่อกันมาจนเป็นภูมิปัญญาของชุมชนในการมองเห็นความงามร่วมกัน แต่เดิมนั้นการทอผ้าไหมของชาวสุรินทร์ทำเพื่อไว้ใช้เอง และสวมใส่ในงานบุญและงานพิธีต่างๆ การทอจะทำหลังจากสิ้นสุดฤดูทำนา มิได้มีการทอเพื่อจำหน่ายแต่อย่างใด จนมีคำกล่าวทั่วไปว่าพอหมดหน้านา ผู้หญิงทอผ้า ผู้ชายตีเหล็ก

ผ้าไหมจังหวัดสุรินทร์มีลักษณะเด่นที่สำคัญ 4 ประการคือ ลวดลายอันเป็นเอกลักษณ์ โดยได้รับอิทธิพลทางวัฒนธรรมจากกัมพูชา ลวดลายที่บรรจงประดิษฐ์ขึ้นล้วนมีที่มาและมีความหมายอันเป็นมงคล ในการทอนิยมใช้ไหมน้อย ซึ่งเป็นไหมที่สาวมาจากเส้นใยภายในรังไหม มีลักษณะนุ่ม เรียบ เป็นเงางาม นิยมใช้สีธรรมชาติ ทำให้สีไม่ฉูดฉาด มีสีสันที่มีลักษณะเฉพาะคือ สีจะออกโทนขรึม เช่น น้ำตาล แดง เขียว ดำ เหลือง ฝีมือการทอ มีความแน่นและละเอียดอ่อนประณีต ผสมผสานลวดลายต่างๆ เข้าด้วยกัน แสดงถึงศิลปะอันงดงาม ผ้าไหมสุรินทร์มีจำนวนหลากหลาย เช่น ผ้าไหมลายยกทองโบราณ ผ้าไหมลายมัดหมี่โฮลหรือราชินีผ้าไหมสุรินทร์ ผ้าไหมลายมัดหมี่ ผ้าไหมลายโสร่ง/ผ้าขาวม้าหางกระรอก ผ้าไหมลายยกดอก ผ้าไหมลายลูกแก้ว สนใจสั่งซื้อสอบถามรายละเอียดที่สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอ และสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดสุรินทร์




สมทรง เผือกผล  ส.ปชส.สุรินทร์ /รายงาน