จังหวัดยโสธรประชุมสัมมนาเสริมทักษะ ผู้ปฏิบัติหน้าที่ป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ ที่ โรงแรม เจ.พี เอ็มเมอรัลด์ จังหวัดยโสธร นายประวัติ ถีถะแก้ว ผู้ว่าราชการจังหวัด เป็นประธาน เปิดสัมมนาพัฒนาทักษะในการปฏิบัติงาน เพื่อป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ นางมาสสุรีย์ ศรีพรหมมา พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดยโสธร กล่าวว่า เพื่อให้ทีมสหวิชาชีพ ที่ดำเนินการเกี่ยวกับการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ ได้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกระบวนการดำเนินคดี กฎหมายระเบียบการสืบสวน พยานหลักฐาน พร้อมทำความเข้าใจเกี่ยวกับขั้นตอนการทำงานด้านป้องกัน ด้านคุ้มครองช่วยเหลือ และการขับเคลื่อนตามนโยบายไปสู่การปฏิบัติ การสัมมนาในครั้งนี้ มีทีมสหวิชาชีพ จากเจ้าหน้าที่ตำรวจ/ ทนายคาวม/ นิติกร/ พนักงานปกครอง/ เจ้าหน้าที่คุมประพฤติ/ เข้าร่วมสัมมนากว่า 300 คน โดยมี พลตำรวจเอกชัชวาลย์ สุขสมจิตร รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ เป็นวิทยากรบรรยายให้ความรู้
วันจันทร์ที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2556
การแข่งขันกีฬาแห่งชาติ ครั้งที่ 42 รอบคัดเลือกตัวแทนภาค 3 “ร้อยเอ็ดเกมส์” ได้เปิดฉากแล้วโดยมี 9 ชนิดกีฬาทำการแข่งขันในวันแรก
วันนี้ (2 ก.ย. 56) เวลา 09.00 น. นายปราโมทย์ เอกก้านตรง ผู้อำนวยการ กกท.จังหวัดร้อยเอ็ด และดร.พรชัย ผาดไธสง รองอธิการบดีฝ่ายบริหาร มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด และนายสวาท ไชยราช ผู้อำนวยการกองการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม องค์การบริหารส่วนจังหวัดร้อยเอ็ด ได้ร่วมแถลงข่าวการจัดการแข่งขันแห่งชาติ ครั้งที่ 42 รอบคัดเลือกตัวแทนภาค 3 "ร้อยเอ็ดเกมส์” ที่ศูนย์บริการสื่อมวลชน (Press Center) ศูนย์การกีฬาแห่งประเทศไทยจังหวัดร้อยเอ็ด ภายในสนามกีฬาจังหวัดร้อยเอ็ด โดยมีการถ่ายทอดสดทาง สวท.ร้อยเอ็ด FM 94 MHz และการบันทึกเทปโทรทัศน์เพื่อเผยแพร่ทางเสียงไทยแลนด์ และกมลเคเบิ้ลทีวี
นายปราโมทย์ เอกก้านตรง ผู้อำนวยการศูนย์ กกท.จังหวัดร้อยเอ็ด กล่าวว่า จังหวัดร้อยเอ็ดได้รับเกียรติเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันกีฬาแห่งชาติ ครั้งที่ 42 รอบคัดเลือกตัวแทนภาค 3 "ร้อยเอ็ดเกมส์” ระหว่างวันที่ 2 12 กันยายน 2556 วันนี้ (2 ก.ย.56) เป็นวันแรกของการแข่งขันจะมีการแข่งขันกีฬา 9 ชนิดกีฬา ได้แก่ คาราเต้โด, จักรยาน ประเภทถนน , เซปักตะกร้อ,บาสเกตบอล,เปตอง และฟุตบอล ทั้งประเภทชาย และประเภทหญิง ,มวยปล้ำ และการแข่งขันวอลเลย์บอลชายหาด สำหรับการแข่งขันกีฬาฟุตซอลประเภทชาย และประเภทหญิง จะแข่งขันกันที่สนามฟุตซอลวิทยาลัยอาชีวศึกษาจังหวัดร้อยเอ็ด จะเป็นการแข่งขัน 5 ทีม ๆ ระหว่างทีมหญิง สาย A และสาย B สาย A เป็นการแข่งระหว่าง ทีมมหาสารคาม กับ ขอนแก่น, สาย B นครราชสีมา กับ อุดรธานี และทีมชาย 3 สาย A,B และสาย C สาย A ระหว่างศรีสะเกษ กับ ยโสธร สาย B ขอนแก่น กับ มุกดาหาร และสาย C มหาสารคาม กับ บุรีรัมย์, วอลเลย์บอล จะมีการแข่งขันทั้งประเภทชายและหญิง ที่โรงยิมส์สนามกีฬากลางจังหวัดร้อยเอ็ด ประเภททีมหญิง สาย ก รอบแรก ขอนแก่น แข่งกับ ชัยภูมิ, กาฬสินธุ์ แข่งกับ สกลนคร, สาย ข นครราชสีมา แข่งกับ อุดรธานี,มหาสารคาม แข่งกับ หนองคาย ประเภททีมชาย สาย ก รอบแรก นครราชสีมา แข่งกับ ชัยภูมิ, สาย ค อุดรธานี ขางกับ อุบลราชธานี
นายปราโมทย์ เอกก้านตรง ผู้อำนวยการศูนย์ กกท.จังหวัดร้อยเอ็ด กล่าวว่า จังหวัดร้อยเอ็ดได้รับเกียรติเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันกีฬาแห่งชาติ ครั้งที่ 42 รอบคัดเลือกตัวแทนภาค 3 "ร้อยเอ็ดเกมส์” ระหว่างวันที่ 2 12 กันยายน 2556 วันนี้ (2 ก.ย.56) เป็นวันแรกของการแข่งขันจะมีการแข่งขันกีฬา 9 ชนิดกีฬา ได้แก่ คาราเต้โด, จักรยาน ประเภทถนน , เซปักตะกร้อ,บาสเกตบอล,เปตอง และฟุตบอล ทั้งประเภทชาย และประเภทหญิง ,มวยปล้ำ และการแข่งขันวอลเลย์บอลชายหาด สำหรับการแข่งขันกีฬาฟุตซอลประเภทชาย และประเภทหญิง จะแข่งขันกันที่สนามฟุตซอลวิทยาลัยอาชีวศึกษาจังหวัดร้อยเอ็ด จะเป็นการแข่งขัน 5 ทีม ๆ ระหว่างทีมหญิง สาย A และสาย B สาย A เป็นการแข่งระหว่าง ทีมมหาสารคาม กับ ขอนแก่น, สาย B นครราชสีมา กับ อุดรธานี และทีมชาย 3 สาย A,B และสาย C สาย A ระหว่างศรีสะเกษ กับ ยโสธร สาย B ขอนแก่น กับ มุกดาหาร และสาย C มหาสารคาม กับ บุรีรัมย์, วอลเลย์บอล จะมีการแข่งขันทั้งประเภทชายและหญิง ที่โรงยิมส์สนามกีฬากลางจังหวัดร้อยเอ็ด ประเภททีมหญิง สาย ก รอบแรก ขอนแก่น แข่งกับ ชัยภูมิ, กาฬสินธุ์ แข่งกับ สกลนคร, สาย ข นครราชสีมา แข่งกับ อุดรธานี,มหาสารคาม แข่งกับ หนองคาย ประเภททีมชาย สาย ก รอบแรก นครราชสีมา แข่งกับ ชัยภูมิ, สาย ค อุดรธานี ขางกับ อุบลราชธานี
วิมล เร่งศึก/รายงาน
กมลพร คำนึง/บก.ข่าว
2 ก.ย. 56
ศูนย์วิจัยพืชสวนศรีสะเกษ เร่งส่งเสริมให้ความรู้ด้านการย้อมผ้าจากเปลือกไม้มะดันป่า แก่กลุ่มเกษตรกรทอผ้า ย้อมผ้า ในพื้นที่อำเภอศรีสุวรรณ
จังหวัดศรีสะเกษ โดยศูนย์วิจัยพืชสวนศรีสะเกษ จัดการอบรมสาธิตและถ่ายทอดเทคโนโลยีการย้อมสีจากเปลือกไม้มะดันป่า ทีเป็นเศษเหลือใช้จากการเหลาไม้ไปใช้งาน เพิ่มมูลค่าในกับผลิตภัณฑ์ของชุมชจ แก่เกษตรกรผู้มีอาชีพทอผ้า และย้อมผ้าในพื้นที่อำเภอโพธิ์ศรีสุวรรณ ตามโครงการ "อนุรักษ์และใช้ประโยชน์เชื้อพันธุกรรมไม้ผล 4 สกุล”
วันนี้ (2 กันยายน 56) ณ โรงเรียนบ้านอีเซ (คุรุราษฎรวิทยา) ตำบลอีเซ อำเภอโพธิ์ศรีสุวรรณ จังหวัดศรีสะเกษ นายสนิท ขาวสะอาด รองผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ เป็นประธานเปิดการอบรมสาธิตและถ่ายทอดเทคโนโลยีย้อมสีจากเปลือกไม้มะดันป่า โดยมีนายประสิทธิ์ ชัยวัฒน์ นักจัดการทั่วไปชำนาญการ รักษาราชการแทนผู้อำนวยการศูนย์วิจัยพืชสวนศรีสะเกษ พร้อมด้วยหัวหน้าส่วนราชการ และเกษตรกรผู้เข้ารับการอบรม ให้การต้อนรับ โดยศูนย์วิจัยพืชสวนศรีสะเกษ ได้จัดการอบรมสาธิตและถ่ายทอดเทคโนโลยีการย้อมสีจากเปลือกไม้มะดันป่า แก่เกษตรกรผู้ทอผ้า และย้อมผ้าในพื้นที่อำเภอโพธิ์ศรีสุวรรณ ตามโครงการ "อนุรักษ์และใช้ประโยชน์เชื้อพันธุกรรม ไม้ผล 4 สกุล” ซึ่งประกอบด้วย สกุลมะม่วง มังคุด เงาะ และส้ม เป็นความร่วมมือทางวิชาการระหว่างประเทศ วิจัย เกี่ยวกับการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์เชื้อพันธุกรรมไม้ผลอย่างยั่งยืน เพื่อความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ความมั่นคงทางอาหาร และรักษาสภาพความสมดุลของระบบนิเวศน์ เป็นระยะเวลา 5 ปี ตั้งแต่ปี พ.ศ.2553-2557 โดยการสนับสนุนจาก สหประชาชาติว่าด้วยสิ่งแวดล้อม กองทุนสิ่งแวดล้อมโลก และกรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ซึ่ง ประเทศไทยมีกรมวิชาการเกษตรเป็นหน่วยงานหลักในการดำเนินงานร่วมกับอีก 3 ประเทศ ได้แก่ อินเดีย อินโดนีเซีย และมาเลเชีย โดยมีสถาบันวิจัยทรัพยากรพันธุกรรมพืชนานาชาติเป็นผู้ประสานงานโครงการระดับภูมิภาค และโครงการฯนี้ ทีเป้าหมายเพื่อปรับปรุงและพัฒนาคุณภาพชีวิต ความมั่นคงทางอาหารของกลุ่มเป้าหมาย ด้วยการอนุรักษ์ และใช้ประโยชน์จากแหล่งเชื้อพันธุกรรมไม้ผลเมืองร้อน ทั้งนี้ เพื่อพัฒนาวิธีการอนุรักษ์เชื้อพันธุกรรมไม้ผล และการ ใช้ประโยชน์ความหลากหลายเชื้อพันธุกรรมไม้ผลในการเพิ่มรายได้แก่ชุมชน ท้องถิ่น ส่งเสริมรักษาสภาพสิ่งแวดล้อม ความสมดุลของระบบนิเวศน์ เพิ่มสมรรถนะและพัฒนาบุคลากรของชุมชน กลุ่มเกษตรกร กลุ่มผู้ใช้ประโยชน์ และ หน่วยงานที่อย่างยั่งยืนด้วยหลักการปฏิบัติที่ดี และเมื่อปี พ.ศ.2553 คณะกรรมการระดับภูมิภาค ได้มาสำรวจพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และได้คัดเลือกการใช้ประโยชน์จาพืชสกุลมังคุด จากการนำไม้มะดันไปเพิ่มมูลค่าเป็นผลิตภัณฑ์ "ไก่ย่างไม้มะดัน” ของชุมชนห้วยทับทัน อำเภอห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ ซึ่งเป็น1 ใน 5 โครงการฯ จำนวน 7 ชุมชน มีเกษตรกรในโครงการ จำนวน 75 ราย และพื้นที่ชุมชนอีเซ อำเภอโพธิ์ศรีสุวรรณ มีพื้นที่ดำเนินงานของ โครงการของโครงการ จำนวน 3 ชุมชน มีเกษตรกรในโครงการ 22 ราย รวมทั้งสิ้น 97 ราย โดยศูนย์วิจัยพืชสวนศรีสะเกษเป็นผู้ดำเนินงานและประสานงานในพื้นที่ สำหรับการจัดกิจกรรมในครั้งนี้ มีเกษตรกรที่มีอาชีพทอผ้า ย้อมผ้า และมีความสนใจต้องการทรางเทคโนโลยีและแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ระหว่างกลุ่มทอผ้าด้วยกันเอง ในพื้นที่อำเภอโพธิ์ศรีสุวรร์ จำนวน 100 คน เข้ารับการอบรม โดยมีนักวิชาการจาก ศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ จังหวัดศรีสะเกษ เป็นผู้ให้ความรู้ด้านการย้อมสีจากเปลือกไม้มะดันป่า ที่เป็นเศษเหลือจากการเหลามาใช้งานจำนวนมากในแต่ละวัน เพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์ของชุมชน และพัฒนาให้เป็นผลิตภัณฑ์ที่เป็นเอกลักษณ์ของชุมชนต่อไป ส่วนไม้มะดันป่า เป็นพืชอยู่ในวงศ์เดียวกันกับมังคุด เป็นไม้ยืนตน อายุยืนหรือไม้พุ่มชนาดกลาง มักพบ เจริญเติบโตอยู่บริเวณที่มีน้ำท่วมถึง กิ่งแขนงแตกออกจากลำต้นได้ง่าย เป็นลำยาวขนาดสม่ำเสมอทั้งท่อน มีสีน้ำตาลดำ ทุกส่วนของต้นมียางสีเหลือ ใช้ประโยชน์ โดยลำต้น นำมาทำไม้หนีบไก่ย่าง เผาถ่าน ทำฟืน ใบอ่อนใช้เป็นผักเพื่อเป็นเครื่องประกอบหาร และสามารถนำมารับประทานได้สดๆ มีรสเปรี้ยว ผลนิยมรับประทานสดๆ โดยจิ้มเกลือหรือกะปิ หรือน้ำปาหวาน ฯลฯ ชาวศรีสะเกษนิยมนำส่วนต่างๆของมะดันมาทำอาหารหลายอย่าง เช่น ผลใช้ตำน้ำพริก ต้ม ดอง ใบใช้แกง และไม้นำมาหนีบไก่เพื่อย่าง เพราะลำไม้มีขนาดพอเหมาะ และเมื่อย่างไก่แล้วไม้ไม่ไหม้ อีกทั้งยังมีสีเหลืองสวยงาม รสเปรี้ยว การขยายพันธ์ โดยเมล็ด การใช้ราก การชำกิ่ง และการตอน
วันนี้ (2 กันยายน 56) ณ โรงเรียนบ้านอีเซ (คุรุราษฎรวิทยา) ตำบลอีเซ อำเภอโพธิ์ศรีสุวรรณ จังหวัดศรีสะเกษ นายสนิท ขาวสะอาด รองผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ เป็นประธานเปิดการอบรมสาธิตและถ่ายทอดเทคโนโลยีย้อมสีจากเปลือกไม้มะดันป่า โดยมีนายประสิทธิ์ ชัยวัฒน์ นักจัดการทั่วไปชำนาญการ รักษาราชการแทนผู้อำนวยการศูนย์วิจัยพืชสวนศรีสะเกษ พร้อมด้วยหัวหน้าส่วนราชการ และเกษตรกรผู้เข้ารับการอบรม ให้การต้อนรับ โดยศูนย์วิจัยพืชสวนศรีสะเกษ ได้จัดการอบรมสาธิตและถ่ายทอดเทคโนโลยีการย้อมสีจากเปลือกไม้มะดันป่า แก่เกษตรกรผู้ทอผ้า และย้อมผ้าในพื้นที่อำเภอโพธิ์ศรีสุวรรณ ตามโครงการ "อนุรักษ์และใช้ประโยชน์เชื้อพันธุกรรม ไม้ผล 4 สกุล” ซึ่งประกอบด้วย สกุลมะม่วง มังคุด เงาะ และส้ม เป็นความร่วมมือทางวิชาการระหว่างประเทศ วิจัย เกี่ยวกับการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์เชื้อพันธุกรรมไม้ผลอย่างยั่งยืน เพื่อความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ความมั่นคงทางอาหาร และรักษาสภาพความสมดุลของระบบนิเวศน์ เป็นระยะเวลา 5 ปี ตั้งแต่ปี พ.ศ.2553-2557 โดยการสนับสนุนจาก สหประชาชาติว่าด้วยสิ่งแวดล้อม กองทุนสิ่งแวดล้อมโลก และกรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ซึ่ง ประเทศไทยมีกรมวิชาการเกษตรเป็นหน่วยงานหลักในการดำเนินงานร่วมกับอีก 3 ประเทศ ได้แก่ อินเดีย อินโดนีเซีย และมาเลเชีย โดยมีสถาบันวิจัยทรัพยากรพันธุกรรมพืชนานาชาติเป็นผู้ประสานงานโครงการระดับภูมิภาค และโครงการฯนี้ ทีเป้าหมายเพื่อปรับปรุงและพัฒนาคุณภาพชีวิต ความมั่นคงทางอาหารของกลุ่มเป้าหมาย ด้วยการอนุรักษ์ และใช้ประโยชน์จากแหล่งเชื้อพันธุกรรมไม้ผลเมืองร้อน ทั้งนี้ เพื่อพัฒนาวิธีการอนุรักษ์เชื้อพันธุกรรมไม้ผล และการ ใช้ประโยชน์ความหลากหลายเชื้อพันธุกรรมไม้ผลในการเพิ่มรายได้แก่ชุมชน ท้องถิ่น ส่งเสริมรักษาสภาพสิ่งแวดล้อม ความสมดุลของระบบนิเวศน์ เพิ่มสมรรถนะและพัฒนาบุคลากรของชุมชน กลุ่มเกษตรกร กลุ่มผู้ใช้ประโยชน์ และ หน่วยงานที่อย่างยั่งยืนด้วยหลักการปฏิบัติที่ดี และเมื่อปี พ.ศ.2553 คณะกรรมการระดับภูมิภาค ได้มาสำรวจพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และได้คัดเลือกการใช้ประโยชน์จาพืชสกุลมังคุด จากการนำไม้มะดันไปเพิ่มมูลค่าเป็นผลิตภัณฑ์ "ไก่ย่างไม้มะดัน” ของชุมชนห้วยทับทัน อำเภอห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ ซึ่งเป็น1 ใน 5 โครงการฯ จำนวน 7 ชุมชน มีเกษตรกรในโครงการ จำนวน 75 ราย และพื้นที่ชุมชนอีเซ อำเภอโพธิ์ศรีสุวรรณ มีพื้นที่ดำเนินงานของ โครงการของโครงการ จำนวน 3 ชุมชน มีเกษตรกรในโครงการ 22 ราย รวมทั้งสิ้น 97 ราย โดยศูนย์วิจัยพืชสวนศรีสะเกษเป็นผู้ดำเนินงานและประสานงานในพื้นที่ สำหรับการจัดกิจกรรมในครั้งนี้ มีเกษตรกรที่มีอาชีพทอผ้า ย้อมผ้า และมีความสนใจต้องการทรางเทคโนโลยีและแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ระหว่างกลุ่มทอผ้าด้วยกันเอง ในพื้นที่อำเภอโพธิ์ศรีสุวรร์ จำนวน 100 คน เข้ารับการอบรม โดยมีนักวิชาการจาก ศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ จังหวัดศรีสะเกษ เป็นผู้ให้ความรู้ด้านการย้อมสีจากเปลือกไม้มะดันป่า ที่เป็นเศษเหลือจากการเหลามาใช้งานจำนวนมากในแต่ละวัน เพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์ของชุมชน และพัฒนาให้เป็นผลิตภัณฑ์ที่เป็นเอกลักษณ์ของชุมชนต่อไป ส่วนไม้มะดันป่า เป็นพืชอยู่ในวงศ์เดียวกันกับมังคุด เป็นไม้ยืนตน อายุยืนหรือไม้พุ่มชนาดกลาง มักพบ เจริญเติบโตอยู่บริเวณที่มีน้ำท่วมถึง กิ่งแขนงแตกออกจากลำต้นได้ง่าย เป็นลำยาวขนาดสม่ำเสมอทั้งท่อน มีสีน้ำตาลดำ ทุกส่วนของต้นมียางสีเหลือ ใช้ประโยชน์ โดยลำต้น นำมาทำไม้หนีบไก่ย่าง เผาถ่าน ทำฟืน ใบอ่อนใช้เป็นผักเพื่อเป็นเครื่องประกอบหาร และสามารถนำมารับประทานได้สดๆ มีรสเปรี้ยว ผลนิยมรับประทานสดๆ โดยจิ้มเกลือหรือกะปิ หรือน้ำปาหวาน ฯลฯ ชาวศรีสะเกษนิยมนำส่วนต่างๆของมะดันมาทำอาหารหลายอย่าง เช่น ผลใช้ตำน้ำพริก ต้ม ดอง ใบใช้แกง และไม้นำมาหนีบไก่เพื่อย่าง เพราะลำไม้มีขนาดพอเหมาะ และเมื่อย่างไก่แล้วไม้ไม่ไหม้ อีกทั้งยังมีสีเหลืองสวยงาม รสเปรี้ยว การขยายพันธ์ โดยเมล็ด การใช้ราก การชำกิ่ง และการตอน
ชาวบ้านผู้ยากไร้ในพื้นที่จังหวัดศรีสะเกษ นับพัน แห่รับของบริจาค ในพิธีซิโกว ทิ้งกระจาด บริจาคทาน ประจำปี 2556 อย่างคับคั่ง
เมื่อเวลา 14.00 น. วันที่ 2 ก.ย. 56 ที่มูลนิธิสว่างจิตต์ศรีสะเกษธรรมสถาน อำเภอเมือง จังหวัดศรีสะเกษ นายสนิท ขาวสอาด รองผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ เป็นประธานในพิธีซิโกว ทิ้งกระจาด บริจาคทาน ประจำปี 2556 ซึ่งคณะกรรมการมูลนิธิสว่างจิตต์ศรีสะเกษธรรมสถาน ร่วมกับหน่วยงานภาครัฐ และภาคประชาชน ร่วมกันจัดขึ้น ซึ่งพิธีดังกล่าวนี้จะจัดขึ้นทุกวันที่ 7 ของปี เพื่อเป็นการทำบุญทำทานให้กับผู้ยากไร้ สัมภเวสี ตลอดจนทำบุญให้บรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้ว โดยมี ดร. ฉัฐมงคล อังคสกุลเกียรติ นายกเทศมนตรีเมืองศรีสะเกษ ในฐานะ ประธานคณะกรรมการมูลนิธิสว่างจิตต์ศรีสะเกษธรรมสถาน พร้อมด้วยคณะกรรมการมูลนิธิฯ และชาวบ้านที่รอรับแจกทาน ให้การต้อนรับ สำหรับบรรยากาศภายในพิธีมีประชาชนผู้ยากไร้ จากทั่วสารทิศ ประมาณ 2,000 คน เดินทางมารับสิ่งของบริจาคท่ามกลางอากาศที่ร้อนจัด ซึ่งทางมูลนิธิสว่างจิตต์ศรีสะเกษธรรมสถานได้ ขอประสานความร่วมมือไปยังโรงพยาบาลศรีสะเกษ เพื่อช่วยรักษาและปฐมพยาบาล ประชาชนผู้ยากไร้ ที่มีสุขภาพร่างกายไม่แข็งแรง
ดร.ฉัฐมงคล กล่าวว่า พิธีซิโกว ทิ้งกระจาด บริจาคทาน จะจัดขึ้นทุกเดือนที่ 7 ตามปฏิทินของจีน ซึ่งถือว่าเป็นเดือนที่สัมภเวสี และวิญญาณเร่ร่อนไม่มีญาติ ออกมหากิน ประกอบกับมูลนิธิสว่างจิตต์ศรีสะเกษธรรมสถาน เป็นองค์กรการกุศล จึงได้จัดพิธีซิโกว ทิ้งกระจาด บริจาคทาน ขึ้น เหมือนทุกปี โดยภายในพิธีจะมีการทำบุญ ภูเขาเงิน ภูเขาทอง ให้กับบรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้ว ตามหลักของจีน หลังจากนั้น คือการทำทาน ซึ่งได้มีการเตรียมข้าวสารอาหารแห้งมอบให้กับประชาชนผู้ยากไร้ เพื่อเป็นการสร้างบุญสร้างกุศลให้กับตนเอง อีกทางหนึ่งด้วย ทั้งนี้ ในปีนี้ ทางมูลนิธิสว่างจิตต์ศรีสะเกษธรรมสถานได้กำหนดยอดของบริจาคที่จะมอบให้กับผู้ยากไร้ จำนวน 3000 ชุด แต่ถ้าหากไม่เพียงพอ ก็จะมีการมอบสิ่งอื่นที่เป็นประโยชน์ให้เพื่อเป็นการทดแทน แก่ผู้ที่รับทาน
ดร.ฉัฐมงคล กล่าวว่า พิธีซิโกว ทิ้งกระจาด บริจาคทาน จะจัดขึ้นทุกเดือนที่ 7 ตามปฏิทินของจีน ซึ่งถือว่าเป็นเดือนที่สัมภเวสี และวิญญาณเร่ร่อนไม่มีญาติ ออกมหากิน ประกอบกับมูลนิธิสว่างจิตต์ศรีสะเกษธรรมสถาน เป็นองค์กรการกุศล จึงได้จัดพิธีซิโกว ทิ้งกระจาด บริจาคทาน ขึ้น เหมือนทุกปี โดยภายในพิธีจะมีการทำบุญ ภูเขาเงิน ภูเขาทอง ให้กับบรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้ว ตามหลักของจีน หลังจากนั้น คือการทำทาน ซึ่งได้มีการเตรียมข้าวสารอาหารแห้งมอบให้กับประชาชนผู้ยากไร้ เพื่อเป็นการสร้างบุญสร้างกุศลให้กับตนเอง อีกทางหนึ่งด้วย ทั้งนี้ ในปีนี้ ทางมูลนิธิสว่างจิตต์ศรีสะเกษธรรมสถานได้กำหนดยอดของบริจาคที่จะมอบให้กับผู้ยากไร้ จำนวน 3000 ชุด แต่ถ้าหากไม่เพียงพอ ก็จะมีการมอบสิ่งอื่นที่เป็นประโยชน์ให้เพื่อเป็นการทดแทน แก่ผู้ที่รับทาน
เหล่ากาชาดจังหวัดอำนาจเจริญเยี่ยมให้กำลังใจและมอบสิ่งของเครื่องใช้ให้กับเด็กทารกที่คลอดในเรือนจำ
นายกเหล่ากาชาดจังหวัดอำนาจเจริญ รุดเยี่ยมผู้ต้องขังหญิงที่คลอดบุตรในเรือนจำพร้อมกล่าวให้กำลังใจผู้ต้องขังหญิงที่เป็นแม่ว่า เมื่อพ้นโทษแล้วขอให้เป็นคนดีของสังคมเพื่อเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ลูกต่อไป
วันนี้ (2 ก.ย. 56) เวลา 10.00 น. นางนิภาภรณ์ ชื่นวาริน นายกเหล่ากาชาดจังหวัดอำนาจเจริญ พร้อมด้วยสมาชิกเหล่ากาชาด เดินทางไปที่เรือนจำจังหวัดอำนาจเจริญ เพื่อเยี่ยมเด็กทารกเพศหญิง อายุ 6 เดือน 1 ราย และทารกแรกเกิด 1 ราย ซึ่งเกิดจากมารดาที่เป็นผู้ต้องขังหญิงต้องโทษอยู่ภายในเรือนจำจังหวัดอำนาจเจริญ โดยมี นาย สุรทิน เถาว์ทิพย์ ผู้บัญชาการเรือนจำจังหวัดอำนาจเจริญ ให้การต้อนรับและนำคณะเหล่ากาชาดเข้าเยี่ยมให้กำลังใจกับมารดา และได้มอบสิ่งของเครื่องใช้สำหรับเด็กอ่อน อาทิเช่น ผ้าอ้อมเด็ก นมผง ชุดอาบน้ำเด็ก เพื่อไว้ใช้สำหรับการดูแลเด็กทารก ในโอกาศนี้นายกเหล่ากาชาดจังหวัดอำนาจเจริญได้เยี่ยมชมการฝึกอาชีพของผู้ต้องขังหญิง และเลือกชมสินค้า จากฝีมือของผู้ต้องขังหญิง พร้อมกล่าวให้กำลังใจว่า ขอให้ทุกคนประพฤติตนให้ดี ตั้งใจฝึกฝนที่อาชีพที่ทางเรือนจำฝึกให้เพื่อที่จะสามารถนำไปใช้ประกอบอาชีพ หลังจากพ้นโทษไปแล้ว และในช่วงนี้ขอให้ดูแลสุขภาพด้วยเนื่องจากอยู่ในช่วงฤดูฝน โดยเฉพาะเด็กทารกแรกเกิด ขอให้ดูแลเป็นอย่างดี
วันนี้ (2 ก.ย. 56) เวลา 10.00 น. นางนิภาภรณ์ ชื่นวาริน นายกเหล่ากาชาดจังหวัดอำนาจเจริญ พร้อมด้วยสมาชิกเหล่ากาชาด เดินทางไปที่เรือนจำจังหวัดอำนาจเจริญ เพื่อเยี่ยมเด็กทารกเพศหญิง อายุ 6 เดือน 1 ราย และทารกแรกเกิด 1 ราย ซึ่งเกิดจากมารดาที่เป็นผู้ต้องขังหญิงต้องโทษอยู่ภายในเรือนจำจังหวัดอำนาจเจริญ โดยมี นาย สุรทิน เถาว์ทิพย์ ผู้บัญชาการเรือนจำจังหวัดอำนาจเจริญ ให้การต้อนรับและนำคณะเหล่ากาชาดเข้าเยี่ยมให้กำลังใจกับมารดา และได้มอบสิ่งของเครื่องใช้สำหรับเด็กอ่อน อาทิเช่น ผ้าอ้อมเด็ก นมผง ชุดอาบน้ำเด็ก เพื่อไว้ใช้สำหรับการดูแลเด็กทารก ในโอกาศนี้นายกเหล่ากาชาดจังหวัดอำนาจเจริญได้เยี่ยมชมการฝึกอาชีพของผู้ต้องขังหญิง และเลือกชมสินค้า จากฝีมือของผู้ต้องขังหญิง พร้อมกล่าวให้กำลังใจว่า ขอให้ทุกคนประพฤติตนให้ดี ตั้งใจฝึกฝนที่อาชีพที่ทางเรือนจำฝึกให้เพื่อที่จะสามารถนำไปใช้ประกอบอาชีพ หลังจากพ้นโทษไปแล้ว และในช่วงนี้ขอให้ดูแลสุขภาพด้วยเนื่องจากอยู่ในช่วงฤดูฝน โดยเฉพาะเด็กทารกแรกเกิด ขอให้ดูแลเป็นอย่างดี
กฤษดา เนตรพันธ์ /ข่าว/ภาพ
จังหวัดอำนาจเจริญจัดฝึกอบรมลูกเสือวิสามัญนอกโรงเรียนแก่ผู้ต้องขัง
วันนี้ (2 ก.ย.56) เวลา 09.00 น. ที่เรือนจำจังหวัดอำนาจเจริญ นายวีระวัฒน์ ชื่นวาริน ผู้ว่าราชการจังหวัดอำนาจเจริญ เป็นประธานในพิธีเปิด "โครงการจัดฝึกอบรมลูกเสือวิสามัญนอกโรงเรียนแก่ผู้ต้องขัง” ซึ่งเรือนจำจังหวัดอำนาจเจริญ จัดขึ้น โดยมีนายสุรทิน เถาว์ทิพย์ ผู้บัญชาการเรือนจำจังหวัดอำนาจเจริญ นำผู้ต้องขังชายซึ่งเป็นนักศึกษาสายสามัญ กศน.เมืองอำนาจเจริญ และสายอาชีพวิทยาลัยเทคนิคหัวตะพานด้วย เข้ารับการฝึกอบรม จำนวนทั้งสิ้น 80 คน
ทั้งนี้ เรือนจำจังหวัดอำนาจเจริญ ร่วมกับศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอเมืองอำนาจเจริญและสำนักงานลูกเสือจังหวัดอำนาจเจริญ จัดโครงการจัดฝึกอบรมลูกเสือวิสามัญนอกโรงเรียนแก่ผู้ต้องขัง ระหว่างวันที่ 2 – 4 กันยายน 2556 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อปลุกจิตสำนึกรักหวงแหนและยึดมั่นสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ อันเป็นที่รักของปวงชนชาวไทย และเพื่อปลูกฝังให้ผู้ต้องขังมีระเบียบวินัยและเคารพกติกาภายหลังพ้นโทษไปแล้ว ใช้ขบวนการวิธีการลูกเสือวิสามัญแก้ปัญหาการดำเนินชีวิตที่หลงผิดให้มีคุณภาพที่ดีเป็นสื่อลดช่องว่างระหว่างวัย และเสริมสร้างกระบวนการเรียนรู้แนวทางในการดำเนินชีวิต เช่น ความรู้ที่เป็นประโยชน์ ด้านสุขภาพ การรักษาสุขอนามัย การปฐมพยาบาล และสร้างภูมิคุ้มกันภัยจากสังคมในปัจจุบันด้วย
ทั้งนี้ เรือนจำจังหวัดอำนาจเจริญ ร่วมกับศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอเมืองอำนาจเจริญและสำนักงานลูกเสือจังหวัดอำนาจเจริญ จัดโครงการจัดฝึกอบรมลูกเสือวิสามัญนอกโรงเรียนแก่ผู้ต้องขัง ระหว่างวันที่ 2 – 4 กันยายน 2556 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อปลุกจิตสำนึกรักหวงแหนและยึดมั่นสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ อันเป็นที่รักของปวงชนชาวไทย และเพื่อปลูกฝังให้ผู้ต้องขังมีระเบียบวินัยและเคารพกติกาภายหลังพ้นโทษไปแล้ว ใช้ขบวนการวิธีการลูกเสือวิสามัญแก้ปัญหาการดำเนินชีวิตที่หลงผิดให้มีคุณภาพที่ดีเป็นสื่อลดช่องว่างระหว่างวัย และเสริมสร้างกระบวนการเรียนรู้แนวทางในการดำเนินชีวิต เช่น ความรู้ที่เป็นประโยชน์ ด้านสุขภาพ การรักษาสุขอนามัย การปฐมพยาบาล และสร้างภูมิคุ้มกันภัยจากสังคมในปัจจุบันด้วย
ประกาศิต สุวะทอง/ข่าว
จังหวัดอุบลราชธานี จัดประชุมหัวหน้าส่วนราชการ หัวหน้าหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้บริหารสถานศึกษา นายอำเภอจังหวัดอุบลราชธานี ประจำเดือนสิงหาคม 2556
วันนี้ ( 2 ก.ย. 56 ) นายสุทธินันท์ บุญมี รองผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี รักษาราชการแทนผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี เป็นประธานการประชุมหัวหน้าส่วนราชการ หัวหน้าหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ ผู้บริหารสถานศึกษา นายอำเภอ จังหวัดอุบลราชธานี ประจำเดือนสิงหาคม 2556 ที่ห้องประชุมประทุมวรราช ชั้น 4ศาลากลางจังหวัดอุบลราชธานี โดยมี หัวหน้าส่วนราชการ ข้าราชการ ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้บริหารสถานศึกษา ร่วมประชุม เข้าร่วมประชุม โดยก่อนการประชุมรองผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี รักษาราชการแทนผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี ได้มอบโล่พร้อมเกียรติบัตร รางวัลการประกวดคัดเลือกบุคคลและองค์กรเกษตรดีเด่นระดับจังหวัด ประจำปี 2556 จำนวน 15 รางวัล และแจ้งในที่ประชุมหัวหน้าส่วนราชการเกษียณอายุราชการ 11 ท่าน ประกอบด้วย นายสมพงษ์ฎาราณุท ท้องถิ่น นายฉาดฉาน นิลกำแหง เจ้าพนักงานที่ดิน นายศาครินทร์ ดวงตะวัน สหกรณ์จังหวัด นายดิเรก นุขขุม ปฎิรูปที่ดินจังหวัด นายชัยโรจน์ สินธุพุฒิพงศ์ ผู้บัญชาการเรือนจำ นายหิรัญ ทนกล้า นายอำเภอน้ำขุ่น นายสุรชัย กิตติโกสินธุ์ ผู้ปกครองสถานสงเคราะห์คนพิการ นางจิตรประสงค์ นาครินทร์ ผู้อำนวยการฟื้นฟูคนพิการ นายธงชัย รัตนวารินชัย ผู้อำนวยการโครงการชลประทานอุบลราชธานี นายสุนันธ์ มีวรรณ์ ผู้อำนวยการตรวจบัญชีสหกรณ์ นายพิสิษฐ์ เดชาวงษ์ญา ผู้อำนวยการสำนักงานศึกษาธิการ ภาค 9 โดยจะเกษียณอายุราชการในวันที่ 30 กันยายน 2556
พร้อมทั้งให้ส่วนราชการ การเบิกจ่ายเร่งรัดดำเนินการงบประมาณ เนื่องจากเมื่อวันที่ 21 สิงหาคม.2556 มีการเบิกจ่ายเพียง ร้อยละ 87 ขณะที่เป้าหมายร้อยละ 94 นอกจากนั้นแจ้งเรื่อง ในกรณีมีการชุมชุมร้องเรียน (Mop) ให้ หัวหน้าส่วนราชการ นายอำเภอ ผู้เกี่ยวข้องช่วยกันแก้ไข สร้างความเข้าใจดูแลแก้ปัญหาให้กับประชาชนในพื้นที่ของตนเอง.
พร้อมทั้งให้ส่วนราชการ การเบิกจ่ายเร่งรัดดำเนินการงบประมาณ เนื่องจากเมื่อวันที่ 21 สิงหาคม.2556 มีการเบิกจ่ายเพียง ร้อยละ 87 ขณะที่เป้าหมายร้อยละ 94 นอกจากนั้นแจ้งเรื่อง ในกรณีมีการชุมชุมร้องเรียน (Mop) ให้ หัวหน้าส่วนราชการ นายอำเภอ ผู้เกี่ยวข้องช่วยกันแก้ไข สร้างความเข้าใจดูแลแก้ปัญหาให้กับประชาชนในพื้นที่ของตนเอง.
จักรกฤษณ์ มาลาสาย/ข่าว
ทองปัก ทวีสุข/ภาพ
จัดหางานกาฬสินธุ์จัดโครงการมีงานทำนำชุมชนเข้มแข็ง ประจำปี 2556
นางสาวพริมณฐอร วังศิริทวี จัดหางานจังหวัดกาฬสินธุ์ เปิดเผยว่า ด้วยสำนักงานจัดหางานจังหวัดกาฬสินธุ์ ได้จัดทำโครงการมีงานทำนำชุมชนเข้มแข็ง ประจำปี 2556 มีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยเหลือผู้ว่างงาน นักเรียน นักศึกษาที่กำลังจะสำเร็จการศึกษา ประชาชนคนหางาน ผู้มีรายได้ต่ำ หรือผู้ถูกเลิกจ้าง ได้มีโอกาสสมัครงานและสัมภาษณ์งานกับนายจ้างหลายรายในคราวเดียวกันซึ่งมีตำแหน่งงานว่างมากกว่า 1,000 อัตรา, ทดสอบความพร้อม ความถนัดทางอาชีพ การลงทะเบียนผู้ประสงค์ไปทำงานต่างประเทศ โดยกำหนดออกรับสมัครงานดังนี้
วันพุธที่ 4 กันยายน 2556 ณ องค์การบริหารส่วนตำบลมหาไชย ตำบลมหาไชย อำเภอสมเด็จ จังหวัดกาฬสินธุ์
วันพฤหัสบดีที่ 5 กันยายน 2556 ณ โรงเรียนบ้านกอกวิทยาคม ตำบลผาเสวย อำเภอสมเด็จ จังหวัดกาฬสินธุ์
วันจันทร์ที่ 9 กันยายน 2556 ณ วิทยาลัยการอาชีพคำม่วง ตำบลทุ่งคลอง อำเภอคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์
วันพุธที่ 11 กันยายน 2556 ณ เทศบาลตำบลนามะเขือ ตำบลนามะเขือ อำเภอสหัสขันธ์ จังหวัดกาฬสินธุ์
วันศุกร์ที่ 13 กันยายน 2556 ณ องค์การบริหารส่วนตำบลสำราญ ตำบลสำราญ อำเภอสามชัย จังหวัดกาฬสินธุ์
จึงขอเชิญชวนประชาชนชาวจังหวัดกาฬสินธุ์ ไปร่วมโครงการมีงานทำนำชุมชนเข้มแข็ง ของสำนักงานจัดหางานจังหวัดกาฬสินธุ์ ได้ตามวัน เวลา สถานที่ดังกล่าว
วันพุธที่ 4 กันยายน 2556 ณ องค์การบริหารส่วนตำบลมหาไชย ตำบลมหาไชย อำเภอสมเด็จ จังหวัดกาฬสินธุ์
วันพฤหัสบดีที่ 5 กันยายน 2556 ณ โรงเรียนบ้านกอกวิทยาคม ตำบลผาเสวย อำเภอสมเด็จ จังหวัดกาฬสินธุ์
วันจันทร์ที่ 9 กันยายน 2556 ณ วิทยาลัยการอาชีพคำม่วง ตำบลทุ่งคลอง อำเภอคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์
วันพุธที่ 11 กันยายน 2556 ณ เทศบาลตำบลนามะเขือ ตำบลนามะเขือ อำเภอสหัสขันธ์ จังหวัดกาฬสินธุ์
วันศุกร์ที่ 13 กันยายน 2556 ณ องค์การบริหารส่วนตำบลสำราญ ตำบลสำราญ อำเภอสามชัย จังหวัดกาฬสินธุ์
จึงขอเชิญชวนประชาชนชาวจังหวัดกาฬสินธุ์ ไปร่วมโครงการมีงานทำนำชุมชนเข้มแข็ง ของสำนักงานจัดหางานจังหวัดกาฬสินธุ์ ได้ตามวัน เวลา สถานที่ดังกล่าว
ดวงใจ หงษ์จันทร์ / ข่าว
รพ.ห้วยเม็ก ขอเชิญชวนประชาชนร่วมทำบุญทอดผ้าป่าสามัคคีจัดซื้อครุภัณฑ์ทางการแพทย์
โรงพยาบาลห้วยเม็ก จังหวัดกาฬสินธุ์ ขอเชิญชวนประชาชนร่วมเป็นเจ้าภาพทอดผ้าป่าสามัคคีเพื่อจัดหาทุนทรัพย์จัดซื้อครุภัณฑ์การแพทย์สำหรับอาคารผู้ป่วยหลังใหม่ เพื่อถวายเป็นพระกุศลเนื่องในโอกาสสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
นายวิษณุกร อ่อนประสงค์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลห้วยเม็ก เปิดเผยว่า ด้วยคณะสงฆ์และประชาชนชาวอำเภอห้วยเม็ก จังหวัดกาฬสินธุ์ ได้รับงบประมาณในการก่อสร้างอาคารผู้ป่วยในหลังใหม่ ขนาด 30 เตียง จำนวน 1 หลัง ก่อสร้างเสร็จเมื่อปี พ.ศ.2554 แต่ปัจจุบันยังไม่สามารถเปิดให้บริการผู้ป่วยได้ เนื่องจากยังขาดครุภัณฑ์ทางการแพทย์ที่สำคัญ อุปกรณ์เครื่องมือเครื่องใช้สิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อให้บริการผู้ป่วยและญาติ รวมทั้งยังขาดสถานที่ในการดูแลพระสงฆ์ สามเณร อย่างเป็นสัดส่วน ดังนั้นคณะสงฆ์และประชาชนชาวอำเภอห้วยเม็ก ได้กำหนดจัดให้มีการทอดผ้าป่าสามัคคีเพื่อจัดหาทุนทรัพย์จัดซื้อครุภัณฑ์ทางการแพทย์สำหรับอาคารผู้ป่วยในหลังใหม่ของโรงพยาบาลห้วยเม็ก และถวายเป็นพระกุศลเนื่องในวโรกาสสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก ทรงเจริญพระชันษา 100 ปี ในวันที่ 3 ตุลาคม 2556 โรงพยาบาลห้วยเม็ก
ทั้งนี้ จึงขอเชิญชวนพี่น้องประชาชนชาวอำเภอห้วยเม็ก อำเภอใกล้เคียง และชาวจังหวัดกาฬสินธุ์ ร่วมทำบุญเป็นเจ้าภาพผ้าป่าสามัคคีในครั้งนี้ โดยสามารถร่วมบริจาคได้ที่ฝ่ายการเงินชั้น 2 โรงพยาบาลห้วยเม็ก เลขที่ 155 หมู่ที่ 4 ถนนฮ่องฮี-กระนวน ตำบลห้วยเม็ก อำเภอห้วยเม็ก จังหวัดกาฬสินธุ์ โทรศัพท์ 043-889090-1 ต่อ 100 , 093-5640992 หรือโอนเงินเข้าบัญชีธนาคารกรุงไทย สาขาหนองกุงศรี ชื่อบัญชี โครงการทอดผ้าป่าสามัคคีโรงพยาบาลห้วยเม็ก บัญชีออมทรัพย์เลขที่ 446-0-34273-1
นายวิษณุกร อ่อนประสงค์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลห้วยเม็ก เปิดเผยว่า ด้วยคณะสงฆ์และประชาชนชาวอำเภอห้วยเม็ก จังหวัดกาฬสินธุ์ ได้รับงบประมาณในการก่อสร้างอาคารผู้ป่วยในหลังใหม่ ขนาด 30 เตียง จำนวน 1 หลัง ก่อสร้างเสร็จเมื่อปี พ.ศ.2554 แต่ปัจจุบันยังไม่สามารถเปิดให้บริการผู้ป่วยได้ เนื่องจากยังขาดครุภัณฑ์ทางการแพทย์ที่สำคัญ อุปกรณ์เครื่องมือเครื่องใช้สิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อให้บริการผู้ป่วยและญาติ รวมทั้งยังขาดสถานที่ในการดูแลพระสงฆ์ สามเณร อย่างเป็นสัดส่วน ดังนั้นคณะสงฆ์และประชาชนชาวอำเภอห้วยเม็ก ได้กำหนดจัดให้มีการทอดผ้าป่าสามัคคีเพื่อจัดหาทุนทรัพย์จัดซื้อครุภัณฑ์ทางการแพทย์สำหรับอาคารผู้ป่วยในหลังใหม่ของโรงพยาบาลห้วยเม็ก และถวายเป็นพระกุศลเนื่องในวโรกาสสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก ทรงเจริญพระชันษา 100 ปี ในวันที่ 3 ตุลาคม 2556 โรงพยาบาลห้วยเม็ก
ทั้งนี้ จึงขอเชิญชวนพี่น้องประชาชนชาวอำเภอห้วยเม็ก อำเภอใกล้เคียง และชาวจังหวัดกาฬสินธุ์ ร่วมทำบุญเป็นเจ้าภาพผ้าป่าสามัคคีในครั้งนี้ โดยสามารถร่วมบริจาคได้ที่ฝ่ายการเงินชั้น 2 โรงพยาบาลห้วยเม็ก เลขที่ 155 หมู่ที่ 4 ถนนฮ่องฮี-กระนวน ตำบลห้วยเม็ก อำเภอห้วยเม็ก จังหวัดกาฬสินธุ์ โทรศัพท์ 043-889090-1 ต่อ 100 , 093-5640992 หรือโอนเงินเข้าบัญชีธนาคารกรุงไทย สาขาหนองกุงศรี ชื่อบัญชี โครงการทอดผ้าป่าสามัคคีโรงพยาบาลห้วยเม็ก บัญชีออมทรัพย์เลขที่ 446-0-34273-1
ดวงใจ หงษ์จันทร์ / ข่าว
ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมาสั่งเตรียมพร้อมรับม๊อบชาวสวนยาง ที่จะชุมนุมใหญ่ วันที่ 3 กย นี้ พร้อมเปิดศูนย์อำนวยการแก้ไขปัญหาการชุมนุมส่วนหน้า ระดมตำรวจชุดควบคุมฝูงชน 5 กองร้อยรับมือ คาดมีผู้ชุมนุมประมาณ 2 พันคน
วันที่ 2 ก.ย. 56 ดร.วินัย บัวประดิษฐ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา พร้อมด้วยนายประเสริฐ จันทรวงทอง อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ร่วมกันเปิดเปิดศูนย์อำนวยการส่วนหน้า แก้ไขปัญหาการชุมนุมของเกษตรกรชาวสวนยางพาราภาคอีสาน โดยใช้สถานที่ภายในศูนย์ปฏิบัติการส่วนหน้าด่านตรวจยาเสพติดสีคิ้ว ริมถนนมิตรภาพ หลักกิโลเมตรที่ 98-99 ตำบลลาดบัวขาว อำเภอสีคิ้ว เป็นศูนย์อำนวยการส่วนหน้าเพื่อติดตามความเคลื่อนไหวต่างๆ ของกลุ่มผู้ชุมนุม พร้อมกันนี้ยังได้ประสานไปยังแขวงการทางนครราชสีมาที่ 2 ให้ส่งเจ้าหน้าที่ไปติดตั้งป้ายเลี่ยงเส้นทางเมื่อมีเหตุการณ์การชุมนุมเกิดขึ้น พร้อมทั้งจัดเจ้าหน้าที่อำนวยความสะดวกคอยประชาสัมพันธ์บอกประชาชนที่ใช้เส้นทางเลี่ยงด้วย ในส่วนของกองบังคับการตำรวจภูธรจังหวัดนครราชสีมา ได้เตรียมเจ้าหน้าที่ตำรวจชุดกองร้อยควบคุมฝูงชนจำนวน 5 กองร้อย รวม 775 นาย ทำหน้าที่ควบคุมดูแลความสงบเรียบร้อยของการชุมนุม พร้อมตั้งจุดตรวจบริเวณโดยรอบเพื่อตรวจค้นอาวุธ และสิ่งของผิดกฎหมาย โดยทางผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมาได้กำชับกับเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานห้ามไม่ให้กลุ่มผู้ชุมนุมมีการปิดถนนมิตรภาพเด็ดขาด และไม่ให้ใช้กำลังกับกลุ่มผู้ชุมนุม แต่ให้เน้นไปที่การเจรจาเป็นหลัก โดยเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องประเมินว่า ยังคงมีกลุ่มเกษตรกรชาวสวนยางพาราจากจังหวัดอุบลราชธานี และศรีสะเกษ ที่ยืนยันว่าจะเดินทางไปชุมนุมบริเวณทางต่างระดับถนนมิตรภาพ อ.สีคิ้ว ซึ่งคาดว่าจะมีผู้ชุมนุมประมาณ 2 พันคน
ชาวบ้านนับร้อยบุกศาลากลางร้องผู้ว่าโคราชคัดค้านทำเหมืองแร่เกลือหินใต้ดิน อำเภอขามทะเลสอ หวั่นเกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และชุมชน
วันที่ 2 ก.ย. 56 เวลาประมาณ 11.00 น. ชาวบ้านกว่า 100 คน จากพื้นที่ 2 ตำบล ประกอบด้วย ตำบลหนองสรวง และตำบลพันดุง อำเภอขามทะเลสอ จังหวัดนครราชสีมา ในนามเครือข่ายต่อต้านการขอประทานบัตรทำเหมืองแร่เกลือหินใต้ดิน ได้เดินทางไปรวมตัวชุมนุมกันบริเวณหน้าศาลกลางจังหวัดนครราชสีมา เพื่อยื่นเรื่องต่อ ดร.วินัย บัวประดิษฐ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา ขอคัดค้านการขอประทานบัตรทำเหมืองแร่เกลือหินใต้ดินในพื้นที่อำเภอขามทะเลสอ ของ บริษัท ซอลทเวิร์คส จำกัด เนื่องจากกลุ่มชาวบ้านเป็นกังวลเรื่องผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมที่อาจเกิดกับชุมชนหากมีการทำเหมืองเกิดขึ้น โดยผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมาได้มอบหมายให้ ร้อยโทวสันต์ สุขสมบูรณ์ นายอำเภอขามทะเลสอ เป็นผู้รับเรื่องร้องเรียนจากกลุ่มชาวบ้าน
นายสรรเพชญ์ นิมกัน แกนนำเครือข่ายต่อต้านการขอประทานบัตรทำเหมืองแร่เกลือหินใต้ดิน เปิดเผยว่า โครงการทำเหมืองแร่เกลือหินใต้ดินในพื้นที่อำเภอขามทะเลสอนั้นเป็นโครงการที่เกิดผลประโยชน์กับผู้ประกอบการเพียงอย่างเดียว แต่ชาวบ้านในพื้นที่ไม่ได้ประโยชน์ ซึ่งตนเห็นว่าทุกฝ่ายต้องเอาความจริงมาพูด และชี้แจงให้ชาวบ้านฟังอย่างถูกต้อง โดยเฉพาะผลกระทบกับชุมชนหากดำเนินโครงการดังกล่าว ซึ่งทางบริษัทฯผู้ประกอบการยังไม่ได้มีการชี้แจงชาวบ้านให้เข้าใจ แต่กลับมีการทำประชาคมขอความเห็นชอบจากชาวบ้านแล้ว
ร้อยโทวสันต์ สุขสมบูรณ์ นายอำเภอขามทะเลสอ กล่าวว่า ได้รับเรื่องร้องเรียนของชาวบ้านแล้ว และจะนำเสนอเป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาในกรณีที่ชาวบ้านคัดค้าน ทั้งนี้กรณีดังกล่าวยังอยู่ในขั้นตอนที่ทางบริษัทฯผู้ประกอบการได้ยื่นขอประทานบัตรทำเหมืองแร่เกลือหินใต้ดินมาเท่านั้น ยังไม่ได้มีการอนุญาตให้ดำเนินโครงการแต่อย่างใด อย่างไรก็ตามตนจะประสานงานเชิญให้ผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายทั้งทางผู้ประกอบการ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ชาวบ้านที่เห็นด้วย และชาวบ้านที่ไม่เห็นด้วย จัดเวทีพูดคุยชี้แจงข้อมูลทำความเข้าใจในเรื่องต่างๆ อีกครั้ง
สำหรับเหมืองแร่เกลือหินใต้ดินของ บริษัท ซอลทเวิร์คส จำกัด กำลังอยู่ในระหว่างขั้นตอนการสอบถามความคิดเห็น และทำความเข้าใจกับชาวบ้านเพื่อยื่นขอประทานบัตร ซึ่งโครงการดังกล่าวจะใช้งบประมาณลงทุนประมาณ 700 – 800 ล้านบาท ตั้งอยู่บนพื้นที่กว่า 600 ไร่ บริเวณบ้านหนองหัวแหวน หมู่ที่ 6 ตำบลพันดุง อำเภอขามทะเลสอ จังหวัดนครราชสีมา โดยเป็นการทำเหมืองใต้ดินโดยการขุดอุโมงค์เชื่อมต่อลงไปใต้ดินที่ระดับความลึก 170 – 200 เมตร ขนาดอุโมงค์ใต้ดินกว้าง 6 – 8 เมตร ซึ่งใช้วิธีทำเหมืองใต้ดินแบบห้องสลับเสาค้ำยัน ถือว่าเป็นวิธีทำเหมืองผลิตสินแร่ที่มีความปลอดภัยสูงสุด อย่างไรก็ตามกรณีโครงการทำเหมืองแร่เกลือหินใต้ดินนี้ก็มีชาวบ้านทั้งในส่วนที่เห็นด้วย และไม่เห็นด้วยกับการดำเนินโครงการดังกล่าว
นายสรรเพชญ์ นิมกัน แกนนำเครือข่ายต่อต้านการขอประทานบัตรทำเหมืองแร่เกลือหินใต้ดิน เปิดเผยว่า โครงการทำเหมืองแร่เกลือหินใต้ดินในพื้นที่อำเภอขามทะเลสอนั้นเป็นโครงการที่เกิดผลประโยชน์กับผู้ประกอบการเพียงอย่างเดียว แต่ชาวบ้านในพื้นที่ไม่ได้ประโยชน์ ซึ่งตนเห็นว่าทุกฝ่ายต้องเอาความจริงมาพูด และชี้แจงให้ชาวบ้านฟังอย่างถูกต้อง โดยเฉพาะผลกระทบกับชุมชนหากดำเนินโครงการดังกล่าว ซึ่งทางบริษัทฯผู้ประกอบการยังไม่ได้มีการชี้แจงชาวบ้านให้เข้าใจ แต่กลับมีการทำประชาคมขอความเห็นชอบจากชาวบ้านแล้ว
ร้อยโทวสันต์ สุขสมบูรณ์ นายอำเภอขามทะเลสอ กล่าวว่า ได้รับเรื่องร้องเรียนของชาวบ้านแล้ว และจะนำเสนอเป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาในกรณีที่ชาวบ้านคัดค้าน ทั้งนี้กรณีดังกล่าวยังอยู่ในขั้นตอนที่ทางบริษัทฯผู้ประกอบการได้ยื่นขอประทานบัตรทำเหมืองแร่เกลือหินใต้ดินมาเท่านั้น ยังไม่ได้มีการอนุญาตให้ดำเนินโครงการแต่อย่างใด อย่างไรก็ตามตนจะประสานงานเชิญให้ผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายทั้งทางผู้ประกอบการ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ชาวบ้านที่เห็นด้วย และชาวบ้านที่ไม่เห็นด้วย จัดเวทีพูดคุยชี้แจงข้อมูลทำความเข้าใจในเรื่องต่างๆ อีกครั้ง
สำหรับเหมืองแร่เกลือหินใต้ดินของ บริษัท ซอลทเวิร์คส จำกัด กำลังอยู่ในระหว่างขั้นตอนการสอบถามความคิดเห็น และทำความเข้าใจกับชาวบ้านเพื่อยื่นขอประทานบัตร ซึ่งโครงการดังกล่าวจะใช้งบประมาณลงทุนประมาณ 700 – 800 ล้านบาท ตั้งอยู่บนพื้นที่กว่า 600 ไร่ บริเวณบ้านหนองหัวแหวน หมู่ที่ 6 ตำบลพันดุง อำเภอขามทะเลสอ จังหวัดนครราชสีมา โดยเป็นการทำเหมืองใต้ดินโดยการขุดอุโมงค์เชื่อมต่อลงไปใต้ดินที่ระดับความลึก 170 – 200 เมตร ขนาดอุโมงค์ใต้ดินกว้าง 6 – 8 เมตร ซึ่งใช้วิธีทำเหมืองใต้ดินแบบห้องสลับเสาค้ำยัน ถือว่าเป็นวิธีทำเหมืองผลิตสินแร่ที่มีความปลอดภัยสูงสุด อย่างไรก็ตามกรณีโครงการทำเหมืองแร่เกลือหินใต้ดินนี้ก็มีชาวบ้านทั้งในส่วนที่เห็นด้วย และไม่เห็นด้วยกับการดำเนินโครงการดังกล่าว
ชาวบ้านแท่แร่ จังหวัดมหาสารคามชุมนุมเรียกร้องให้ถอดถอนผู้ใหญ่บ้านพ้นจากตำแหน่งเหตุประพฤติ มิชอบ ทุจริตต่อหน้าที่
02-09-56 ที่บริเวณด้านข้างศาลากลางจังหวัดมหาสารคาม ชาวบ้านแท่แร่ ตำบลแก่งเลิงจาน อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคามจำนวนกว่า 50 คนชุมนุมเรียกร้องผู้ว่าราชการจังหวัดฯ ให้ปลดนายณัฐพงษ์ สิมลา ผู้ใหญ่บ้านบ้านท่าแร่
นายจักรพันธ์ จันทร์เจริญ แกนนําชาวบ้านเปิดเผยว่ามีการตรวจสอบพฤติกรรมของผู้ใหญ่บ้านคือนายณัฐพงษ์ สิมลา ซึ่งประพฤติมิชอบ มีการข่มขู่ชาวบ้าน ผิดจริยธรรมของนักปกครอง นอกจากนั้นยังนําวัวซึ่งได้รับแจกจ่ายจากทางราชการไปขาย รวมทั้งเงินโครงการต่างๆ เช่นกองทุน SML นายณัฐพงษ์ก็ไม่ได้มีการชี้แจงและประชาสัมพันธ์ให้ชาวบ้านได้ทราบแม้แต่ครั้งเดียว ซึ่งชาวบ้านได้เข้าชื่อกันยื่นถอดถอนต่อนายอําเภอเมืองฯ มหาสารคามไปแล้วก่อนหน้านี้ แต่รายชื่อที่รวบรวมมายังไม่เกินกึ่งหนึ่งจึงไม่สามารถยื่นถอดถอนได้ จึงไปรวบรวมรายชื่อใหม่เพื่อนํามายื่นใหม่
ภายหลังนายสิทธิ พิพัฒน์ชัยกร นายอําเภอเมืองมหาสารคามได้มารับเรื่องไว้พร้อมรับปากจะดําเนินการตรวจสอบให้แล้วเสร็จภายใน 2 สัปดาห์ ชาวบ้านพอใจจึงแยกย้ายกันกลับ
นายจักรพันธ์ จันทร์เจริญ แกนนําชาวบ้านเปิดเผยว่ามีการตรวจสอบพฤติกรรมของผู้ใหญ่บ้านคือนายณัฐพงษ์ สิมลา ซึ่งประพฤติมิชอบ มีการข่มขู่ชาวบ้าน ผิดจริยธรรมของนักปกครอง นอกจากนั้นยังนําวัวซึ่งได้รับแจกจ่ายจากทางราชการไปขาย รวมทั้งเงินโครงการต่างๆ เช่นกองทุน SML นายณัฐพงษ์ก็ไม่ได้มีการชี้แจงและประชาสัมพันธ์ให้ชาวบ้านได้ทราบแม้แต่ครั้งเดียว ซึ่งชาวบ้านได้เข้าชื่อกันยื่นถอดถอนต่อนายอําเภอเมืองฯ มหาสารคามไปแล้วก่อนหน้านี้ แต่รายชื่อที่รวบรวมมายังไม่เกินกึ่งหนึ่งจึงไม่สามารถยื่นถอดถอนได้ จึงไปรวบรวมรายชื่อใหม่เพื่อนํามายื่นใหม่
ภายหลังนายสิทธิ พิพัฒน์ชัยกร นายอําเภอเมืองมหาสารคามได้มารับเรื่องไว้พร้อมรับปากจะดําเนินการตรวจสอบให้แล้วเสร็จภายใน 2 สัปดาห์ ชาวบ้านพอใจจึงแยกย้ายกันกลับ
ส.ปชส.มหาสารคาม/ข่าว
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)