วันพุธที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2556

สุรินทร์ร่วมกันทำกิจกรรมเนื่องในวันสิ่งแวดล้อมโลก เพิ่มพื้นที่สีเขียว ปรับปรุงแหล่งสิ่งแวดล้อมสาธารณะ ให้เหมาะแก่การเป็นที่พักผ่อนหย่อนใจ

วันที่ 5 มิ.ย. 56 เวลา 08.30 น. ที่บริเวณสวนสาธารณะหนองยาว เขตเทศบาลเมืองสุรินทร์ นายพิภพ ดำทองสุข รองผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์ เป็นประธานการจัดกิจกรรมกำจัดวัชพืช และทำความสะอาดคลองสาธารณะ เนื่องในวันสิ่งแวดล้อมโลก โดยความร่วมมือจาก สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดสุรินทร์ เทศบาลเมืองสุรินทร์ แขวงการทางสุรินทร์ สำนักงานทางหลวงชนบทจังหวัดสุรินทร์ สำนักงานคุมประพฤติ เรือนจำกลางสุรินทร์ สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม นำผู้เข้าร่วมกิจกรรมกิจกรรม 150 คน ทำความสะอาดสวนสาธารณะและคลองสาธารณะ โดยการดำเนินการครั้งนี้เป็นการดำเนินการต่อเนื่องเป็นครั้งที่ 3 เพื่อให้พื้นที่สาธารณะซึ่งเป็นที่พักผ่อนหย่อนใจของคนทั่วไป ให้เกิดความสะอาดสวยงามและสดชื่น

ทั้งนี้ วันที่ 5 มิถุนายน ของทุกปี องค์การสหประชาชาติได้ประกาศให้เป็นวันสิ่งแวดล้อมโลก เพื่อให้ทุกคนมองเห็นและตระหนักต่อสิ่งแวดล้อมที่เป็นปัจจัยในการดำรงชีวิต ของมนุษย์ ให้คงอยู่อย่างมีคุณภาพและลดการทำลายสิ่งแวดล้อมอันเป็นผลให้เกิดทั้งภัย ธรรมชาติ มลพิษสิ่งแวดล้อมต่างๆเป็นต้น ภาคส่วนงานที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อมจึงบูรณาการความร่วมมือกับทั้งภาครัฐ และเอกชน ในการร่วมกันทำกิจกรรมอนุรักษ์ ฟื้นฟู ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมขึ้น


 

กำชัย วันสุข ส.ปชส.สุรินทร์ ภาพ/ข่าว

จังหวัดอุบลราชธานีจัดงานวันรณรงค์ต่อต้านการค้ามนุษย์ ประจำปี 2556 โดยมีกิจกรรมจัดเวทีเสวนาให้ความรู้ “เยาวชนไทย รู้เท่าทันภัยการค้ามนุษย์”

วันนี้ ( 5 มิ.ย. 56) ที่บริเวณหอประชุมโดมใหญ่ วิทยาลัยเทคนิคอุบลราชธานี อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี นายวันชัย สุทธิวรชัย ผู้ว่าราชการอุบลราชธานี เป็นประธานเปิดงานงานวันรณรงค์ต่อต้านการค้ามนุษย์ จังหวัดอุบลราชธานีประจำปี 2556 เนื่องด้วยวันที่ 5 มิถุนายน ของทุกปี คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้เป็นวันต่อต้านการค้ามนุษย์ เป็นวันต่อต้านการค้ามนุษย์ กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ โดยขอความร่วมมือทุกจังหวัด จัดกิจกรรมพร้อมกันทั่วประเทศ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ ให้ประชาชนทั่วไป ภาคเครือข่าย ได้ร่วมกันตระหนักถึงภัยจากขบวนการค้ามนุษย์ เพื่อให้คนในสังคมตั้งแต่เด็ก เยาวชน ตลอดจนประชาชนทั่วไป ได้ตระหนักถึงภัยจากขบวนการค้ามนุษย์ ในรูปแบบต่าง เช่น การบังคับค้าประเวณี การนำเด็กมาบังคับขอทาน การหลอกไปทำงานในเรือประมง หรือถูกบังคับให้ผลิตสื่อลามกอนาจาร ซึ่งเป็นการกระทำที่ละเมิดสิทฺธิมนุษยชนอย่างร้ายแรง ทั้งนี้จังหวัดอุบลราชธานี และทุกภาคส่วนของสังคมต้องร่วมกันรณรงค์สร้างความใจแก่ประชาชน ให้มีความรู้ มีทักษะ สามารถเอาตัวรอดจากคนหรือกลุ่มคนที่มุ่งแสวงหาประโยชน์จากการค้ามนุษย์

กิจกรรมภายในงานประกอบด้วย การจัดบอร์ดนิทรรศการจาดหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน การบนเวทีมีการแสดงดนตรีสลับกับการแสดงที่สะท้อนปัญหาการค้ามนุษย์ และจัดเวทีเสวนาให้ความรู้ "เยาวชนไทย รู้เท่าทันภัยการค้ามนุษย์” โดยมีกลุ่มเป็นนักเรียน นักศึกษากลุ่มเสียงสตรีฯ เข้าร่วมกิจกรรมในงาน ประมาณ 500 คน
 


จักรกฤษณ์ มาลาสาย /ข่าว

ทองปัก ทวีสุข/ภาพ

จังหวัดอุบลราชธานีจัดสัมมนาโครงการลดใช้พลังงานภาครัฐ ตามตัวชี้วัดของหน่วยงานราชการ

เมื่อวันที่ 5 มิถุนายน 2556 เวลา 11.00 น. ที่ห้องประชุมโรงแรมกิจตรงวิลล์ รีสอร์ท อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี นายวันชัย สุทธิวรชัย ผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี เป็นประธานเปิดการสัมมนาโครงการลดใช้พลังงานภาครัฐ จังหวัดอุบลราชธานี เพื่อชี้แจงความเป็นมา เกณฑ์พิจารณาตัวชี้วัด การเก็บข้อมูล การรายงาน การสังเกตความผิดปกติของข้อมูล รวมถึงแนวทาง เทคนิค และกลยุทธ์ในการปรับปรุงการใช้พลังงานในหน่วยงาน โดยหวังเป็นอย่างยิ่งว่า ทุกหน่วยงานในจังหวัดอุบลราชธานีจะมีการดำเนินงานครบถ้วนตามตัวชี้วัด และสามารถลดปริมาณการใช้พลังงานของหน่วยงานทั้งในด้านไฟฟ้าและน้ำมันลงได้

สำหรับในจังหวัดอุบลราชธานี มีหน่วยงานราชการที่ต้องรายงานตัวชี้วัดรวมทั้งสิ้น 217 หน่วยงาน แบ่งเป็น หน่วยงานราชการบริหารส่วนภูมิภาค 144 หน่วยงาน และหน่วยงานบริหารราชการส่วนกลาง 73 หน่วยงาน โดยหน่วยงานราชการบริหารงานส่วนภูมิภาคนั้น แบ่งเป็นหน่วยงานระดับจังหวัด 33 หน่วยงาน และหน่วยงานระดับอำเภอ 111 หน่วยงาน นอกจากนี้ยังมีสถาบันอุดมศึกษาของรัฐอีก 2 แห่ง คือ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี และมหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี

ผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี กล่าวในที่ประชุมว่า ตามที่รัฐบาลมีนโยบายในการลดการใช้พลังงานภาครัฐโดยให้หน่วยงานราชการลดการ ใช้พลังงานให้ได้อย่างน้อยร้อยละ 10 เป็นผู้นำภาคเอกชนและภาคประชาชนในการประหยัดพลังงาน ประกอบกับสำนักงาน กพร. ปรับปรุงกรอบตามผลประเมินตามคำรับรองปฏิบัติราชการ โดยมีสำนักงานพลังงานจังหวัดเป็นเจ้าภาพหลักในการเก็บตัวชี้วัดในเรื่องดัง กล่าว จึงได้มีการจัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการในครั้งนี้ขึ้น เพื่อให้หน่วยงานราชการในจังหวัดอุบลราชธานี ได้ตระหนักถึงบทบาทหน้าที่การใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับตัวชี้วัด ที่สามารถที่จะลดการใช้พลังงานของแต่ละหน่วยงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะการใช้หลอดประหยัดไฟเบอร์ 5 และการส่งเสริมลดการใช้พลังงานในช่วงพักกลางวันอย่างจริงจัง ซึ่งจะต้องเร่งดำเนินการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของข้าราชการ และพนักงานของรัฐให้สามารถปฏิบัติจนเป็นนิสัย และเป็นตัวอย่างของประชาชนในการปฏิบัติตามต่อไป


จักรกฤษณ์ มาลาสาย /ข่าว

ทองปัก ทวีสุข/ภาพ

ทันตกรรมพระราชทาน

หน่วยทันตกรรมพระราชทานในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี ออกให้บริการประชาชนและนักเรียนในพื้นที่ห่างไกล ณ โรงเรียนบ้านนามั่ง บ้างมงคล ตำบลบ้านยวด อำเภอสร้างคอม เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลเนื่องในมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระ เจ้าอยู่หัว 84 พรรษาและสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ 80 พรรษา

ที่โรงอาหาร โรงเรียนบ้านนามั่ง ตำบลบ้านยวด อำเภอสร้างคอม นายคนึง มีพรหม นายอำเภอสร้างคอม พร้อมด้วยผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านนามั่ง นายกองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านยวด ให้การต้อนรับ นายสุเมธ ชัยเลิศวณิชกุล ที่ปรึกษาโครงการพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี ซึ่งเดินทางมาเยี่ยมแพทย์ พยาบาล และเจ้าหน้าที่หน่วยทันตกรรมพระราชทานในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราช กุมารี ซึ่งวันนี้เป็นการออกหน่วยทันตกรรมพระราชทานโดยคณะทันตแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ร่วมกับสำนักงานโครงการสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี ออกให้บริการด้านทันตกรรม อาทิ ถอนฟัน อุดฟัน ขูดหินปูน และคัดกรองผู้ป่วยโรคทันตกรรมเพื่อเข้าการรักษาที่มหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยในการออกหน่วยทันตกรรมพระราชทานครั้งนี้มีเป้ามหายในการให้บริการแก่ ประชาชน นักเรียน ในพื้นที่ 400 คน

นายคนึง มีพรหม กล่าวว่า เนื่องด้วยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี มีพระประสงค์จะพัฒนาคุณภาพชีวิตของราษฎรในชนบทที่ห่างไกลให้มีความเป็นอยู่ ที่ดีขึ้น จึงโปรดเกล้าฯให้จัดทำโครงการต่างๆขึ้นและนับเป็นพระมหากรุณาธิคุณอย่างยิ่ง ที่พระองค์ท่านได้พระราชทานให้โรงเรียนบ้านนามั่ง ตำบลบ้านยวดและโรงเรียนบ้านดอนบาก ตำบลบ้านโคก อำเภอสร้างคอมเป็นโรงเรียนในพระราชดำริ และได้เสด็จเยี่ยมโรงเรียนบ้านนามั่ง ครั้งที่ 1 เมื่อ ปี พ.ศ.2535 และครั้งที่ 2 เมื่อปี พ.ศ.2550 ในขณะอำเภอสร้างคอม ร่วมกับ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเขต 1 สำนักงานเกษตรอำเภอ ปศุสัตว์อำเภอ ประมงอำเภอ และสำนักงานสาธารณสุขอำเภอสร้างคอมได้ร่วมกันบูรณาการการทำงานให้การสนับ สนุนโรงเรียนในพระราชดำริทั้ง 2 แห่ง

นายสุเมธ ชัยเลิศวณิชกุล ที่ปรึกษาโครงการพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ กล่าวว่า โครงการทันตกรรมพระราชทานพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เป็นความร่วมมือของหลายๆมหาวิทยาลัย ในการพระราชทานหน่วยแพทย์พระราชทานออกมาให้บริการรปะชาชน โดยมหาวิทยาลัยขอนแก่นรับผิดชอบพื้นที่ภาคอีสานตอนบน ซึ่งสมเด็จพระเทพได้สนองพระราชดำริพระบาทสมเด็จระเจ้าอยู่หัว ดำเนินโครงการต่อ และในวันนี้คณะคณะทันตแพทย์ศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้ออกมาให้บริการที่โรงเรียนบ้านนามั่ง ตำบลบ้านยวด อำเภอสร้างคอม และตนได้รับมอบหมายจากเลขาธิการพระราชวังและกรมวัง ผู้ใหญ่ ให้ออกมาเยี่ยมหมอและประชาชนในพื้นที่ 

มูลนิธิช่วยเด็กยากจน มอบชุดนักเรียน ทุนการศึกษาและอุปกรณ์การเรียนของมูลนิธิช่วยเด็กยากจน ร้อยเอ็ด

จังหวัดร้อยเอ็ดโดยมูลนิธิช่วยเด็กยากจน ประเทศญี่ปุ่นและ สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดร้อยเอ็ด ร มอบชุดนักเรียน ทุนการศึกษาและอุปกรณ์การเรียนของมูลนิธิช่วยเด็กยากจน ณ หอประชุมโรงเรียนร้อยเอ็ดวิทยาลัย อำเภอเมือง จังหวัดร้อยเอ็ด
 
วันนี้ ( 4 มิถุนายน 2556) เวลา 10.00 น.นายศักดิ์ชัย กาญจนะวรรณ รองผู้ว่าราชการจังหวัดร้อยเอ็ดเป็นประธาน มอบชุดนักเรียน ทุนการศึกษาและอุปกรณ์การเรียนของมูลนิธิช่วยเด็กยากจน ณ หอประชุมโรงเรียนร้อยเอ็ดวิทยาลัย อำเภอเมือง จังหวัดร้อยเอ็ด พร้อมด้วย MR.Sadao ARAI ประธานกรรมการมูลนิธิช่วยเด็กยากจน และคณะ มูลนิธิช่วยเด็กยากจน เป็นองค์กรการกุศลของผู้มีอุปการคุณชาวญี่ปุ่นที่นับถือศาสนาเทนรีเคียว ประเทศญี่ปุ่น ที่ให้ความอนุเคราะห์ชุดนักเรียนและอุปกรณ์การเรียนแก่นักเรียนยากจนใน จังหวัดร้อยเอ็ด ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2544 เป็นต้นมา และตั้งแต่ปีการศึกษา 2550 เป็นต้นมา มูลนิธิฯได้เพิ่มกิจกรรมการมอบทุนการศึกษาเป็นค่าเล่าเรียนแก่นักเรียนอีก ส่วนหนึ่ง รวมระยะเวลา 6 ปี ตั้งแต่ปีการศึกษา 2550-2555 เป็นทุนการศึกษาทั้งสิ้น 4,093 ทุน คิดเป็นเงินรวมทั้งสิ้น 9,413,900 บาท (เก้าล้านสี่แสนหนึ่งหมื่นสามพันเก้าร้อยบาทถ้วน) และในปีการศึกษา 2556 นี้ มูลนิธิได้ช่วยเหลือเด็กยากจนที่ขาดแคลนทุนทรัพย์ ที่กำลังศึกษาในระดับประถมศึกษาในพื้นที่อำเภอสุวรรณภูมิเป็นชุดนักเรียน จำนวน 1,881 ชุด เป็นเงิน 379,570 บาท (สามแสนเจ็ดหมื่นเก้าพันห้าร้อยเจ็ดสิบบาทถ้วน) และกำลังศึกษาในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น เป็นค่าเล่าเรียน จำนวน 733 ทุน ๆ ละ 2,300 บาท (สองพันสามร้อยบาท) รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 1,685,900 บาท (หนึ่งล้านหกแสนแปดหมื่นห้าพันเก้าร้อยบาทถ้วน)
 
ในการคัดเลือกโรงเรียนที่ได้รับชุดนักเรียนมูลนิธิช่วย เด็กยากจนเป็นผู้กำหนดพื้นที่ สำหรับการพิจารณานักเรียนเพื่อเข้ารับทุนการศึกษาตามหลักเกณฑ์ที่มูลนิธิ ช่วยเด็กยากจนกำหนดไว้ สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดร้อยเอ็ดได้ประสานความร่วม มือ กับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 1,2,3 และสำนักงานเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด ในการคัดเลือกและนำเด็กนักเรียนเข้ารับทุน จำนวน 733 ทุน ซึ่ง การมอบทุนการศึกษาในครั้งนี้ นับว่าเป็นมิตรภาพอันดีระหว่างประเทศญี่ปุ่นและประเทศไทย เป็นอย่างยิ่ง
 

 
 คมกฤช พวงศรีเคน ข่าว/ภาพ
 กมลพร คำนึง บก.ข่าว

 ส.ปชส.ร้อยเอ็ด 043-527117

จังหวัดร้อยเอ็ด ร่วมกับมูลนิธิบุญโกศล วัดวิมลนิวาส จัดแถลงข่าวการจัดงาน “รวมพลังศรัทธาไทย...ใต้ร่มเย็น” ในวันที่ 14 มิถุนายน นี้

เมื่อเวลา 10.00 น. (5 มิ.ย. 56) พระครูวิมลบุญโกศล เจ้าอาวาสวัดวิมลนิวาส พร้อมด้วย นายสมศักดิ์ ขำทวีพรหม ผู้ว่าราชการจังหวัดร้อยเอ็ด จัดแถลงข่าว การจัดงาน "รวมพลังศรัทธาไทย...ใต้ร่มเย็น” ณ วัดวิมลนิวาส ว่า ได้รับความเมตตาจาก สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก ประธานพระบรมสารีริกธาตุ 45 สัณฐาน เพื่ออัญเชิญไปประดิษฐานไว้ ณ วัดต่างๆ จำนวน 45 แห่ง ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ และได้จัดสร้างพระพุทธนิรสรรพภัย ขนาดหน้าตัก 39 นิ้ว จำนวน 4 องค์ และพระไพรีพินาศ ขนาดหน้าตัก 39 นิ้ว จำนวน 4 องค์ เพื่อนำไปประดิษฐาน ณ ศาลากลางจังหวัดสงขลา ปัตตานี ยะลาและนราธิวาส เพื่อเป็นที่สักการบูชาและความเป็นศิริมงคล เป็นขวัญและกำลังใจของพระภิกษุสงฆ์ ข้าราชการ พ่อค้า ประชาชนและเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานในพื้นที่ จังหวัดชายแดนภาคใต้ ในระหว่างนี้ มีการฉลองสมโภชพระบรมสารีริกธาตุ ณ ท้องสนามหลวง กรุงเทพฯ ในระหว่างวันที่ 1 – 9 มิถุนายน นี้ หลังจากนั้น จะอัญเชิญไปประดิษฐานชั่วคราว ณ ภูมิภาคต่างๆ เพื่อให้ประชาชนทั่วประเทศได้สักการบูชา จังหวัดร้อยเอ็ดเป็นจังหวัดแรกที่ได้รับเกียรติ อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุ , มาประดิษฐานชั่วคราว ที่ วัดวิมลนิวาส จังหวัดร้อยเอ็ดระหว่างวันที่ 11 – 14 มิถุนายน นี้ ซึ่งจังหวัดร้อยเอ็ดร่วมกับมูลนิธิบุญโกศล ได้จัดให้มีการประกวดขบวนแห่อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุ โดยมีหน่วยงานต่างๆในจังหวัดร้อยเอ็ด ได้ส่งเข้าร่วมประกวดจำนวน 9 หน่วยงาน รวม 9 ขบวน อาทิ เทศบาลเมืองร้อยเอ็ด ธนาคารกสิกรไทย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย เป็นต้น ในวันที่ 14 มิถุนายน 2556 เวลา 07.30 น. เริ่มต้นขบวนแห่หน้าบึงพลาญชัย ไป สิ้นสุดที่วัดวิมลนิวาส โดยมีโล่รางวัลจากสมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก จำนวน 9 โล่ และเงินขวัญถุงจากมูลนิธิรักษ์แผ่นดินไทย ในพระสังฆราชูปถัมภ์ จำนวน 40,000 บาท สำหรับมอบให้ผู้เข้าร่วมประกวดในครั้งนี้ รางวัล ได้แก่
 
 รางวัลที่ 1 โล่รางวัลและเงินขวัญถุง จำนวน 10,000 บาท , รางวัลที่ 2 โล่รางวัลและเงินขวัญถุง จำนวน 7,000 บาท , รางวัลที่ 3 โล่รางวัลและเงินขวัญถุง จำนวน 5,000 บาท และรางวัลชมเชย โล่รางวัลและเงินขวัญถุง จำนวน 3,000 บาท
 
ขอเชิญสื่อมวลชนทุกแขนงและประชาชนชาวร้อยเอ็ดและจังหวัด ใกล้เคียง ร่วมรับชมขบวนแห่และร่วมสักการะพระบรมสารีริกธาตุ ทั้ง 9 ขบวน ได้ ตามวันและเวลา ดังกล่าว
 

 
 
คมกฤช พวงศรีเคน ข่าว
บุญมี เพ็งรัตน์ ภาพ

กมลพร คำนึง บก.ข่าว

ยโสธรแจกบัตรเอที่เอ็มให้เกษตรกร

เกษตรกรจังหวัดยโสธรกว่า 1,200 คน แห่รับบัตรสินเชื่อเอทีเอ็ม รูดอุปกรณ์การเกษตรผ่านบัตร มูลค่า 50 ล้านบาท ที่สำนักงาน สหกรณ์การเกษตรเพื่อลูกค้า ธกส.จังหวัดยโสธร นายนิรันดร์ สมสมาน รองผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธาน มอบบัตรเอทีเอ็มสินเชื่อเกษตรให้กับเกษตรกรอำเภอเมืองยโสธร อำเภออำเภอคำเขื่อนแก้ว จำนวน 1,200 ราย นายไพศาล แสนคุ้ม ผู้อำนวยการสำนักงานธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรจังหวัดยโสธร กล่าวว่า การมอบบัตรเอทีเอ็มหรือบัตรสินเชื่อเกษตร ให้กับเกษตรกรในครั้งนี้ เป็นการสนองต่อนโยบายของรัฐบาล ที่ต้องการให้เกษตรกรได้ใช้บัตรเอทีเอ็มหรือบัตรสินเชื่อเกษตร รูดซื้อสินค้าการเกษตร เช่นปุ๋ย/ พันธุ์พืช/ ยาปราบศัตรูพืช/ ข้าวสาร/และน้ำมันเชื้อเพลิง โดยไม่ต้องใช้เงินสดซื้อ เป็นการเพิ่มความสะดวกรวดเร็ว ลดภาระค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นบางอย่างออกไป และเพิ่มความปลอดภัยแก่ชีวิตทรัพย์สินของเกษตรกรมากขึ้น จังหวัดยโสธร มีลูกค้า ธกส.ได้รับอนุมัติบัตรสินเชื่อเกษตรกรจำนวน 4 หมื่นบัตร วงเงินใช้จ่าย ผ่านบัตรกว่า 50 ล้านบาท และวันนี้ สำนักงาน สหกรณ์การเกษตรเพื่อลูกค้า ธกส.จังหวัดยโสธร ได้นำปุ๋ยคุณภาพดีราคายุติธรรม จำนวนกว่า 400,000 ตัน ให้เกษตรกรได้ทดลองใช้บัตรเอทีเอ็มหรือบัตรสินเชื่อเกษตร รูดซื้อปุ๋ยแทนเงินสดนำกลับบ้านไปด้วย 

มหาสารคาม สัมมนาเสริมสร้างพัฒนากลไกการเฝ้าระวังเด็กและเยาวชน

จังหวัดมหาสารคาม จัดประชุมสัมมนาเชิงปฏิบัติการ เสริมสร้างและพัฒนากลไกเชิงพื้นที่ ในการเฝ้าระวังเด็กและเยาวชน โดยบูรณาการจากกลุ่มสหวิชาชีพ
ที่ ห้องประชุมวิบูลย์-ยุพิน เลาหะพงศ์ชนะ ชั้น 5 อาคารเฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษา มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม นายธวัช สุระบาล รองผู้ว่าราชการจังหวัดมหาสารคาม เป็นประธานเปิดการประชุมสัมมนาเชิงปฏิบัติการ โครงการเสริมสร้างและพัฒนากลไกเชิงพื้นที่ในการเฝ้าระวังเด็กและเยาวชน จังหวัดมหาสารคามโดยบูรณาการจากกลุ่มสหวิชาชีพ เพื่อแก้ไขปัญหาเด็กและเยาวชนจังหวัดมหาสารคาม ไม่ให้ตกเป็นเครื่องมือในการแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบ หรือถูกเลือกปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรม โดยมุ่งเน้นการพิทักษ์ปกป้องคุ้มครองเด็ก และเป็นการส่งเสริมสนับสนุนเครือข่ายทุกภาคส่วนที่ทำงานด้านเด็ก และเยาวชนให้สามารถพัฒนากลไกการขับเคลื่อนแผนยุทธศาสตร์ด้านเด็กและเยาวชน จังหวัดมหาสารคาม อย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมทั้งหาแนวทางส่งเสริมกิจกรรมพัฒนาศักยภาพเด็กและเยาวชนจังหวัด มหาสารคาม ซึ่งมีผู้เข้าร่วมประชุมสัมมนาประกอบด้วย นายวิศิษฐ์ เดชเสน พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดมหาสารคาม รองศาสตราจารย์สมชาย วงศ์เกษม อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม คณะผู้บริหาร คณาจารย์ กลุ่มสภาเด็กและเยาวชนใน 13 อำเภอของจังหวัดมหาสารคาม คณะกรรมการคุ้มครองเด็กจังหวัดมหาสารคาม คณะอนุกรรมการคุ้มครองเด็กจังหวัดมหาสารคามทั้ง 6 ฝ่าย โรงพยาบาลอำเภอที่ร่วมโครงการศูนย์พึ่งได้ (OSCC) และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกภาคส่วนในจังหวัดมหาสารคาม 



ส.ปชส.มหาสารคาม / ข่าว / ภาพ

ม.ราชภัฏมหาสารคาม เตรียมพัฒนามัคคุเทศก์รองรับประชาคมอาเซียน

คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม จัดงานแถลงข่าวการพัฒนาศักยภาพบุคลากรด้านการท่องเที่ยวและธุรกิจท่องเที่ยว ของจังหวัดมหาสารคาม เพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน
ที่ห้องประชุมเธียร์เตอร์ อาคารเฉลิมพระเกียรติฉลองศิริราชสมบัติครองราชย์ครบ 60 ปี อาคาร 34 คณะวิทยาการจัดการ อาจารย์วุฒิพล ฉัตรจรัสกูล คณบดีคณะวิทยาการจัดการ พร้อมด้วยผู้บริหาร คณาจารย์ ข้าราชการ พนักงาน เจ้าหน้าที่ นักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ร่วมกับ พันธมิตรด้านการท่องเที่ยวจังหวัดมหาสารคาม ได้จัดงานแถลงข่าว "โครงการพัฒนาศักยภาพบุคลากรด้านการท่องเที่ยวจังหวัดมหาสารคาม" โดยเตรียมจัดฝึกอบรมอาชีพมัคคุเทศก์ให้กับนักศึกษาวิชาเอกการท่องเที่ยว ชั้นปีที่ 4 ผู้ประกอบการและนักธุรกิจการท่องเที่ยวในพื้นที่ จำนวน 200 คน ในระหว่างเดือนมิถุนายนถึงเดือนกรกฎาคม 2556 เพื่อเตรียมความพร้อมด้านบุคลากรการท่องเที่ยว ด้านการบริการ การอำนวยความสะดวก และการสร้างความประทับใจให้นักท่องเที่ยว รองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนในปี 2558

นางสาวปราณปริยา พลเยี่ยม ท่องเที่ยวและการกีฬาจังหวัดมหาสารคาม กล่าวว่า ในปี 2554 จังหวัดมหาสารคาม มีนักท่องเที่ยวเข้ามาในพื้นที่ประมาณ 377,000 คน ในจำนวนนี้มีนักท่องเที่ยวจากต่างประเทศจำนวนกว่า 10,000 คน และมีรายได้ที่เกิดจากธุรกิจการท่องเที่ยวกว่า 400 ล้านบาท

ด้านอาจารย์วุฒิพล ฉัตรจรัสกูล คณบดีคณะวิทยาการจัดการ กล่าวว่า การจัดอบรมพัฒนาศักยภาพบุคลากรด้านการท่องเที่ยวในครั้งนี้ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ต้องการให้บุคลากรในพื้นที่จังหวัดมหาสารคาม ได้ตระหนักถึงความสำคัญของการท่องเที่ยว และเป็นการเตรียมความพร้อมเข้าสู่การเป็นประชาคมอาเซียน ซึ่งภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีพื้นที่ติดต่อกับประเทศเพื่อนบ้าน 3 ประเทศ จึงจำเป็นต้องเรียนรู้วัฒนธรรม ภาษา เพื่อพัฒนาศักยภาพด้านการให้บริการกับนักท่องเที่ยวของประเทศ สปป.ลาว กัมพูชา และเวียดนาม


 

ส.ปชส.มหาสารคาม / ข่าว / ภาพ

ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา นำหัวหน้าส่วนราชการออกให้ความรู้แก่นักเรียนในด้านต่างๆ ตามโครงการพบผู้ว่าหน้าเสาธงของจังหวัดนครราชสีมา

วันนี้ (5 มิ.ย. 56) เวลา07.30นที่โรงเรียนอุบลรัตนราช กัญญาราชวิทยาลัย นครราชสีมา ดร.วินัย บัวประดิษฐ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา พร้อมด้วยหันหน้าส่วนราชการ คณะครู อาจารย์ และนักเรียน โรงเรียนอุบลรัตนราชกัญญาราชวิทยาลัย นครราชสีมา กว่า 1,500 คน ร่วมกันประกอบกิจกรรมหน้าเสาธง ด้วยการ เคารพธงชาติ สวดมนตร์ และร่วมกันร้องเพลงมาร์ชของโรงเรียน ตามโครงการพบผู้ว่าหน้าเสาธง โดยภายหลังจากประกอบกิจกรรมหน้าเสาธงร่วมกับคณะครู อาจารย์ และนักเรียนแล้ว ดร.วินัย บัวประดิษฐ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา ได้ให้โอวาทแก่นักเรียนในการปฏิบัติตนเป็นคนดีไม่ยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด และการน้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการดำรงชีวิต นอกจากนี้ยังมีหน่วยงานราชการ ไม่ว่าจะเป็นตำรวจภูธรจังหวัดนครราชสีมา มาให้ความรู้ด้านกฏหมายการจราจร อัยการจังหวัด มาให้ความรู้ด้านกฎหมายและสิทธิเด็กและเยาวชน สาธารณสุขจังหวัดมาให้ความรู้ด้านเพศศึกษาและโรคที่เกิดจากการมีเพศสัมพันธ์ ที่ไม่ปลอดภัย และเจ้าหน้าที่จากขนส่งจังหวัดมาให้ความรู้ด้านการขับขี่รถอย่างปลอดภัย พร้อมมอบของรางวัลให้กับนักเรียนที่ร่วมตอบปัญหาจากความรู้ที่ได้รับจากส่วน ราชการอีกด้วย สำหรับโครงการผู้ว่าราชการจังหวัดพบนักเรียนหน้าเสาธง จัดขึ้นเพื่อพบปะและมอบแนวคิด โดยเฉพาะปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง รวมทั้งนโยบายด้านต่าง ๆ แก่นักเรียน ให้มีส่วนร่วมรับรู้ หวังส่งผลให้ประสบผลสำเร็จ ในด้านการศึกษา การดำเนินชีวิต และสร้างสรรค์สังคมที่ดี รวมทั้งเพื่อสร้างขวัญและกำลังใจให้นักเรียน นักศึกษาในสถานศึกษาทุกแห่งในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา ให้มีกำลังใจในการศึกษาเล่าเรียน และรณรงค์ไม่ยุ่งเกี่ยวข้องกับยาเสพติดและสิ่งอบายมุข โดยผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมาจะออกเยี่ยมสถานศึกษาในพื้นที่จังหวัด นครราชสีมา และพบนักเรียน นักศึกษา ณ บริเวณหน้าเสาธงหลังเคารพธงชาติ เพื่อพูดคุยและให้ข้อคิดกับนักเรียน ให้ครบทุกโรงเรียนและสถานศึกษา 

นศ. มทส.คว้า 2 รางวัลใหญ่ ชนะเลิศและขวัญใจมหาชน (popular vote) ภาพยนตร์สั้นงานวิสาขบูชาพุทธบารมี ประจำปี 2556 ที่ ห้างเดอะมอลล์ นครราชสีมา

ประชาสัมพันธ์จังหวัดนครราชสีมา รายงานว่า ตามที่คณะกรรมการจัดงาน "วิสาขบูชา พุทธบารมี” (Visakha Short Film Contest 2013) ประจำปี 2556 จัดให้มีการประกวดภาพยนตร์สั้น หรือ หนังสั้น เป็นปีแรกนั้น

การประกวดภาพยนตร์สั้น เนื่องในงานวิสาขบูชาพุทธบารมี ประจำปี 2556 (Visakha Short Film Contest 2013) ในหัวข้อ "เมล็ดพันธุ์แห่งคุณธรรม ” ตอน "กล้าบุญ-กลัวบาป” ซึ่งจัดที่ห้างสรรพสินค้าเดอะมอลล์ นครราชสีมา ผลปรากฎว่านักศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี (มทส.) ได้รับรางวัลชนะเลิศ จากเรื่อง "ทางออก exit” นักศึกษาทีมชนะเลิศ คือ ทีม มทส.1 ประกอบด้วย นายเมธี สมานทอง นายรัชทพณ พงษ์ศรีเพ็ชร และนางสาวศศิวิมล จันทศร นักศึกษาชั้นปีที่ 3 สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ กลุ่มวิชานิเทศศาสตร์ นายปรีชา ลิ้มอิ่ว ผู้จัดการห้างเดอะมอลล์นครราชสีมา มอบใบประกาศนียบัตรแก่ทีมที่ชนะเลิศ ซึ่งทีมที่ชนะเลิศได้รับถ้วยพระราชทานสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมี พร้อมทุนการศึกษา 100,000 บาท พร้อมเกียรติบัตรด้วย

ส่วน ทีม มทส.2 ได้รับรางวัล popular vote ทีม 2 ประกอบด้วย นางสาวรวินันทน์ อินทรสอน, นางสาวอชิรญา ลีวัชรกุล, นายชนินทร์ จินดามัย, นายนนท์ มิลินทานุช และนาย

นพดล  จันทกนก ได้รับรางวัล popular vote รับโล่เกียรติยศ Visakha Short Film Contest 2013 พร้อมทุนการศึกษา 20,000 บาท และเกียรติบัตรงานวิสาขบูชาพุทธบารมี ประจำปี 2556 จากหัวข้อ "เมล็ดพันธุ์แห่งคุณธรรม ตอน "กล้าบุญ-กลัวบาป"  จัดโดยห้างสรรพสินค้าเดอะมอลล์ นครราชสีมา ได้รับถ้วยพระราชทานสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทุนการศึกษา 100,000 บาท พร้อมเกียรติบัตร โดยมีกำหนดเข้ารับถ้วยพระราชทานในวันที่ 26 มิถุนายน 2556 นี้
นอกจากนี้ ทีม นศ. นิเทศศาสตร์ มทส. ได้แก่ นางสาวรวินันทน์ อินทรสอน นางสาว     อชิรญา ลีวัชรกุล และนายชนินทร์ จินดามัย ยังได้รับรางวัล popular vote ได้รับโล่เกียรติยศ Visakha Short Film Contest 2013 ทุนการศึกษา 20,000 บาท พร้อมเกียรติบัตร ส่วนคณะกรรมการตัดสินและจัดการประกวดภาพยนตร์สั้น เนื่องในงาน "วิสาขบูชา พุทธบารมี” ประจำปี 2556 (Visakha Short Film Contest 2013) ล้วนเป็นผู้ทรงคุณวุฒิ ประกอบด้วย นายปรัชญา ปิ่นแก้ว ผู้กำกับภาพยนตร์ นายบัณฑิต ทองดี ผู้กำกับภาพยนตร์และโปรดิวเซอร์ และธัญญ์วาริน สุขะพิสิษฐ์ นายกสมาคมผู้กำกับภาพยนตร์แห่งประเทศไทย ทั้งนี้ ภาพยนตร์สั้นทั้ง 2 เรื่องที่ชนะเลิศ มีกำหนดเข้ารับถ้วยพระราชทาน ในวันที่ 26 มิถุนายน 2556 นี้เช่นกัน

เกษตรกรของจังหวัดนครราชสีมา ได้รับการแต่งตั้งเป็นปราชญ์เกษตรของแผ่นดิน และได้คัดเลือกเป็นเกษตรกรดีเด่นแห่งชาติ ประจำปี 2556

ประชาสัมพัน์จังหวัดนครราชสีมา รายงานว่า ดร.วินัย บัวประดิษฐ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา ดีใจและภูมิใจเป็นอย่างยิ่ง ที่ปีนี้จังหวัดนครราชสีมา มีเกษตรกร 2 ราย ได้เข้ารับพระราชทานโล่ประกาศเกียรติคุณ ในงานพระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ ประจำปี 2556 เมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม 2556 ที่ผ่านมา


เกษตรกร 2 ราย ได้เข้ารับพระราชทานโล่ประกาศเกียรติคุณ คือ

1. นายโชคดี ปรโลกานนท์ ปราชญ์เกษตรของแผ่นดิน สาขาปราชญ์เกษตรเศรษฐกิจพอเพียง อายุ ๕๕ ปี อยู่บ้านเลขที่ 14 บ้านคลองทุเรียน หมู่ที่ 6 ตำบลวังน้ำเขียว อำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา เป็นเกษตรกรที่ทำวนเกษตร เกษตรกรรมยั่งยืนที่สอดคล้องกับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีรูปแบบกิจกรรมที่เน้นการฟื้นฟูป่าและการจัดการพัฒนาที่ดินทำกินที่มีความ หลากหลายของกิจกรรม การปลูกพืชแบบผสมผสาน หลากหลายระดับ การปลูกไม้ป่าพื้นถิ่น การปลูกพืชเพื่อมูลค่าทางเศรษฐกิจ การขุดบ่อเลี้ยงปลาและพืชน้ำ การจัดการพลังงานเพื่อใช้ในสวน นายโชคดี (ลุงโชค) นำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฯ มาปฏิบัติในชีวิตประจำวัน ตั้งอยู่บนหลักการ มีอยู่มีกิน มีใช้ ไม่เจ็บไม่ป่วย ครอบครัวอบอุ่น มีความสุขสงบ สมถะ อุทิศตนเพื่อสังคม โดยใช้สวนลุงโชคเป็นแหล่งเรียนรู้เรื่องวนเกษตรเพื่อการพึ่งตนเองและสิ่งแวด ล้อมท้องถิ่น โดยการถ่ายทอดผ่านกิจกรรมการอบรมเกษตรกร ค่ายเด็กและเยาวชน การศึกษาดูงานของเกษตรกร และบุคคลผู้สนใจต่างๆ ทั่วประเทศ



2. นายสมศักดิ์ ป้องปัญจมิตร ได้รับการคัดเลือกเป็นเกษตรกรดีเด่นแห่งชาติ สาขาอาชีพทำไร่ ประจำปี ๒๕๕๖ อายุ ๔๒ ปี อยู่บ้านเลขที่ 40 บ้านสมบัติเจริญ หมู่ที่ 6 ตำบลกุดโบสถ์ อำเภอเสิงสาง จังหวัดนครราชสีมา นายสมศักดิ์เริ่มต้นประกอบอาชีพเกษตรกรรม ปลูกมันสำปะหลังโดยอาศัยน้ำฝนเป็นหลัก ซึ่งผลผลิตที่ได้ไม่ดีนัก ต่อมา ได้รับการแนะนำจากเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร ที่เห็นว่าพื้นที่ของสมศักดิ์สามารถขุดบ่อน้ำจากใต้ดินได้ จึงให้ทดลองใช้ระบบน้ำ แบบสปริงเกอร์ และแบบน้ำหยด ในแปลงมันสำปะหลังพันธุ์ห้วยบง 60 ซึ่งได้ผลผลิตมากถึง 9-10 ตัน/ไร่ จากเดิม 4-5 ตัน/ไร่ จึงถือว่าเป็นต้นแบบเกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลัง ระบบน้ำหยด หลังจากประสบผลสำเร็จในการปลูกมันสำปะหลังในระบบน้ำหยดและมีความมั่นคงใน อาชีพแล้ว ได้เปิดไร่เป็นแหล่งเรียนรู้ โดยเป็นวิทยากรถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์ให้แก่ภาครัฐ เอกชน เกษตรกร นักเรียน นักศึกษา ประชาชนทั่วไป และอุทิศกำลังกายและกำลังทรัพย์เพื่อประโยชน์ส่วนรวมด้วยดี เสมอมา มีแนวคิด วิธีปฏิบัติก้าวหน้า พัฒนาอาชีพเกษตรกรรม พัฒนาชุมชน ทั้งด้านเศรษฐกิจและสังคมที่ดี จึงเป็นเกษตรกรดีเด่นแห่งชาติ ประจำปี ๒๕๕๖ ที่จังหวัดนครราชสีมาภาคภูมิใจ

อำเภอเมืองนครราชสีมา นำกำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจ ซุ่มตรวจปัสสาวะหาสารเสพติดนักศึกษาช่าง พบฉี่สีม่วง 6 คน เตรียมส่งตัวเข้าค่ายบำบัดเลิกยุ่งเกี่ยวยาเสพติด

วันนี้ (5 มิ.ย. 56) เวลา10.00 น. ที่วิทยาลัยสารพัด ช่างนครราชสีมานายณัชวันก์ เตชะเสน ปลัดอาวุโสอำเภอเมืองนครราชสีมา ร่วมกับนายปราโมทย์ ขุนเพ็ง ผู้อำนวยการวิทยาลัยสารพัดช่างนครราชสีมา ได้นำกำลังเจ้าหน้าตำรวจสถานีตำรวจภูธรเมืองนครราชสีมา เจ้าหน้าที่จากสาธารณสุขอำเภอ และเจ้าหน้าที่จาก อบต.หมื่นไว ลงพื้นที่ออกสุ่มตรวจปัสสวะเพื่อหาสารเสพติดนักศึกษา ระดับชั้น ปวช.ปีที่ 1 ของวิทยาลัยสารพัดช่างนครราชสีมา จำนวน 500 คน
 

นายณัชวันก์ เตชะเสน ปลัดอาวุโสอำเภอเมืองนครราชสีมา กล่าวว่า การออกสุ่มตรวจปัสสาวะดังกล่าวเป็นการดำเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพ ติดในสถานศึกษา ตามนโยบายของจังหวัด ทั้งนี้ เพื่อเป็นการป้องปรามปัญหาการแพร่ระบาดของยาเสพติดที่อาจจะเกิดขึ้นกับกลุ่ม เยาวชนในเขตพื้นที่ ทางอำเภอเมืองนครราชสีมาจึงได้ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องลงพื้นที่เข้า ตรวจหาสารเสพติดจากนักศึกษากลุ่มเสี่ยงที่จะเข้าไปข้องเกี่ยวกับยาเสพติดที่ วิทยาลัยดังกล่าว โดยมีการสุ่มตรวจหาสารเสพติดในปัสสาวะนักศึกษาทั้งชายและหญิง จำนวน 500 คน ผลการตรวจปัสสาวะพบนักศึกษาชาย มีสีม่วง จำนวน 6 คน ซึ่งต้องส่งผลพิสูจน์ไปตรวจซ้ำในห้องแล็บที่โรงพยาบาลเพื่อยืนยันให้แน่ชัด อีกครั้ง และหากนักศึกษาคนไหนที่มีปัสสาวะเป็นสีม่วงจะส่งเข้าสู่กระบวนการบำบัด เป็นเวลา 8คืน 9วัน ที่กองพันทหารราบที่ 1ค่ายสุรธรรมพิทักษ์ กองทัพภาคที่ 2 เพื่อลดการเสพและเลิกยาเสพติดให้ได้ในที่สุด และไม่ย้อนกลับมาหายาเสพติดอีก

ชัยภูมิเร่งงานตามนโยบายรัฐบาล

ผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรี เขต 14 ลงพื้นที่ชัยภูมิ ติดตามผลการดำเนินงานตานโยบายเร่งด่วนของรัฐบาล และการแก้ไขปัญหาภัยแล้ง ในช่วงที่ผ่านมา ฝากทุกหน่วยเร่งสร้างเข้าใจกับประชาชนทุกภาคส่วน
 
เมื่อเวลา 09.30น. วันนี้ 5 มิถุนายน 2556 นายจิรายุ นันท์ธราธร ผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรี เขต 14 เดินทางมาติดตามผลการดำเนินงานตามนโยบายเร่งด่วนของรัฐบาล ในโครงการพัฒนาศักยภาพหมู่บ้านและชุมชน (SML), การดำเนินการกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี และการแก้ไขปัญหาภัยแล้ง โดยรับฟังรายงาน จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ที่ห้องประชุมศาลากลางจังหวัดชัยภูมิ มีนายบรรยงค์ วงศ์กนิษฐ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดชัยภูมิ ให้การต้อนรับ ก่อนเดินทางไปตรวจเยี่ยมชาวบ้าน ที่ประสบผลสำเร็จ
 
ผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรี เขต 14 กล่าวว่า รัฐบาลได้จัดสรรงบประมาณ ลงให้ชาวบ้านโดยตรง ผ่านช่องทางของโครงการพัฒนาศักยภาพหมู่บ้านและชุมชน (SML), การดำเนินการกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี และกิจกรรมอื่นๆ เป้าหมายสูงสุด คือต้องการให้ประชาชนระดับรากหญ้า เกิดการศึกษา เรียนรู้ เกิดกระบวนการคิด เพื่อพัฒนาศักยภาพในกลุ่มของตนเอง ให้มีความเข้มแข็ง กล้าคิด กล้าทำ และกล้ารับผิดชอบ ในทุกๆ ขั้นตอน และทุกเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นคณะกรรมการระดับจังหวัด ระดับอำเภอ ระดับตำบล และระดับหมู่บ้าน เกิดขบวนการทำงานที่มีประสิทธิภาพ ที่สำคัญคือสามารถแก้ปัญหาปากท้อง แก้ปัญหาเศรษฐกิจ เพิ่มคุณภาพชีวิตผู้คนได้มากขึ้น ระยะนี้ถือเป็นรอยต่อระหว่างการดำเนินการขั้นเริ่มต้น กับช่วงของการพัฒนา อาจจะเกิดปัญหาบ้าง ทั้งเรื่องของคน เครื่องมือ งบประมาณ การประสานงานกับหน่วยราชการในพื้นที่ เป็นต้น ขอให้ทุกฝ่ายค่อยๆคิด และแก้ปัญหา หน่วยงานที่เป็นพี่เลี้ยง ทั้งนายอำเภอ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ส่วนราชการต่างๆ มีหน้าที่ต้องดูแล คอยให้คำแนะนำ
 
อย่างไรก็ตาม ฝากถึงคณะกรรมการทุกระดับ เพิ่มความถี่ในการพูด เพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจ ในหมู่คณะกรรมการด้วยกันเอง ในหมู่สมาชิก และประชาชนทั่วไป เพื่อสร้างการมีส่วนร่วม ในการพัฒนา ถ้าไม่ทั่วถึง อาจจะต้องจัดทำโครงการประชาสัมพันธ์ ควบคู่กันไปก็จะเป็นการดี ผู้คนทั่วไปจะได้เกิดการรับรู้ และเข้าใจในแนวนโยบายเร่งด่วนของรัฐบาลมากยิ่งขึ้น
 

 

สุระพงค์ สวัสดิ์ผล /ข่าว

มท.1 วางศิลาฤกษ์โรงพยาบาลขอนแก่น 2สาขาวัดศิริธรรมิกาวาส

นายจารุพงศ์ เรืองสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเป็นประธานวางศิลาฤกษ์อาคารโรงพยาบาลขอนแก่น 2 สาขาวัดศิริธรรมิกาวาส บ้านโคกสี ตำบลโคกสี อำเภอเมืองขอนแก่นซึ่งเป็นความตั้งใจของ ดร.พระครูสิริสารธรรม เจ้าอาวาสวัดศิรฺธรรมิกาวาส เจ้าคณะตำบลโคกสี ที่อยากจะลดความแออัดในการรักษาของโรงพยาบาลขอนแก่นจึงต้องการสร้างโรง พยาบาลขอนแก่นแห่งที่ 2 โดยไม่ใช้งบประมาณของทางราชการเลยเป็นงบจากผู้มีจิตศรัทธาทั้งหลายร่วมทอด ผ้าป่าบริจาคในวงเงินก่อสร้าง ประมาณ 30 ล้านบาท เป็นอาคาร คสล.2 ชั้นมีพื้นที่ใช้สอย 2,097 ตารางเมตรซึ่งก็มีผู้มีจิตศรัทธาร่วมทำผ้าป่าสมทบการก่อสร้างรวมทั้งสมทบค่า อุปกรณ์การแพทย์ห้องประชุมสัมมนา ส่วนผู้ที่สนใจร่วมบริจาคก็บริจาคได้ที่บัญชีออมทรัพย์ สร้างโรงพยาบาลขอนแก่น สาขาวัดศิริธรรมิกาวาส ธนาคารกรุงเทพ สาขาหน้าเมือง เลขที่บัญชี 521-414812-3หรือธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาหน้าเมืองเลขที่บัญชี 964-2-11854-8      

โรงพยาบาลนาคู อำเภอนาคู จังหวัดกาฬสินธุ์ พร้อมให้บริการแล้วตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป

เช้าวันนี้ ( 5 มิ.ย. 56 ) นายสุวิทย์ สุบงกฎ ผู้ว่าราชการจังหวัดกาฬสินธุ์ พร้อมด้วย นาวาอากาศเอก กฤษฎา ทับเทศ ผู้อำนวยการกองแผนที่และที่ดิน กรมส่งกำลังบำรุงทหารอากาศ , ,นายประเสริฐ บุญเรือง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดกาฬสินธุ์ เขต 6 พร้อมด้วยประชาชนชาวอำเภอนาคูกว่า 1,000 คน ได้ร่วมกันเปิดป้ายโรงพยาบาลนาคู อำเภอนาคู จังหวัดกาฬสินธุ์ พร้อมให้บริการอย่างเป็นทางการทันทีตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป

นายพิสิฐ เอื้องวงศ์กูล นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดกาฬสินธุ์ กล่าวรายงานว่า จังหวัดกาฬสินธุ์ ได้รับงบประมาณจากกระทรวงสาธารณสุขให้ดำเนินการก่อสร้างโรงพยาบาลประจำอำเภอ นาคู ด้วยงบประมาณ ปี 2554 จำนวน 10,890,000 บาท โดยได้รับความอนุเคราะห์พื้นที่การก่อสร้างโรงพยาบาลจากกองทัพอากาศ จำนวน 24 ไร่ และ ก่อสร้างแล้วเสร็จ เมื่อปลายเดือนพฤษภาคม 2556 ที่ผ่านมา โรงพยาบาลนาคู มีบุคลากร ประกอบด้วย แพทย์ จำนวน 2 คน เภสัชกร จำนวน 1 คน พยาบาลจำนวน 8 คน และเจ้าหน้าที่อื่นๆรวม 21 คน เพื่อดูแลสุขภาพประชาชนชาวอำเภอนาคู จำนวน 31,253 คน 7,045 หลังคาเรือน และในโอกาสนี้ ชาวอำเภอนาคูได้พร้อมใจกันจัดกิจกรรมทำบุญทอดผ้าป่ากองทุนพัฒนาโรงพยาบาลนา คู ด้วยเงินจำนวน 940,000 บาท เพื่อสนับสนุนงบประมาณในการจัดหาสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆเพิ่มเติม และยังเป็นการแสดงออกถึงการมีส่วนร่วมในการก่อตั้งโรงพยาบาลอำเภอนาคูใน ครั้งนี้
 


วิภาดา รัตนโรจนา / ข่าว