คลังจังหวัดสุรินทร์ เผยผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัด(GPP) เป็นสถิติที่วัดผลรวมมูลค่าสินค้าและบริการขั้นสุดท้าย บ่งบอกถึงสถานการณ์เศรษฐกิจของจังหวัดสุรินทร์ ซึ่งปี 2554 มีผลิตภัณฑ์มวลรวมต่อหัว 65,000 บาท มีผลิตภัณฑ์มวลรวมมูลค่ากว่า 95,000 ล้านบาท
นางสาววราภรณ์ ลิ้มทรัพย์ คลังจังหวัดสุรินทร์ เปิดเผยว่า ผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัด(Gross Provincial Products : (GPP) เป็นสถิติที่ใช้วักผลรวมของมูลค่าสินค้าและบริการขั้นสุดท้าย ที่ผลิตขึ้นในจังหวัดในช่วงระยะเวลาหนึ่งปี ในการคำนวณจะใช้วิธีการหามูลค่าเพิ่มจากกิจกรรมการผลิตทุกชนิดที่เกิดขึ้นในสาขาต่างๆของจังหวัด ดังนั้น ผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัด(GPP) จึงแสดงให้เห็นถึงภาวการณ์ผลิตในสาขาต่างๆของจังหวัด ทำให้สามารถนำไปใช้ในการวางแผนการผลิตในอนาคตได้ นอกจากนั้นผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัด ยังใช้เป็นเครื่องมือในการประเมินผลการพัฒนาของจังหวัด เป็นแผนการจัดทำยุทธศาสตร์ การประเมินผลการพัฒนา และเป็นข้อมูลสำคัญในการวางแผนผลิตและจำหน่ายของภาคเอกชน อีกด้วย
นางสาววราภรณ์ ลิ้มทรัพย์ คลังจังหวัดสุรินทร์ กล่าวอีก ผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัด สุรินทร์ มีมีมูลค่าเพิ่ม เมื่อปี 2554 ภาคการเกษตร มีมูลค่ากว่า 18,000 ล้านบาท ภาคนอกเกษตร กว่า 77,000 ล้านบาท ผลิตภัณฑ์มวลรวมมูลค่ากว่า 95,000 ล้านบาท ผลิตภัณฑ์มวลรวมต่อหัวกว่า 65,000 บาท และปี 2555 ภาคการเกษตร มีมูลค่ากว่า 15,000 ล้านบาท ภาคนอกเกษตร กว่า 92,000 ล้านบาท ผลิตภัณฑ์มวลรวมมูลค่ากว่า 108,000 ล้านบาท ผลิตภัณฑ์มวลรวมต่อหัวกว่า 74,000 บาท เมื่อเทียบกับปี 2554 ภาคการเกษตร หดตัว ภาคนอกเกษตรขยายตัว ผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัดขยายตัว เพิ่มขึ้น
นางสาววราภรณ์ ลิ้มทรัพย์ คลังจังหวัดสุรินทร์ เปิดเผยว่า ผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัด(Gross Provincial Products : (GPP) เป็นสถิติที่ใช้วักผลรวมของมูลค่าสินค้าและบริการขั้นสุดท้าย ที่ผลิตขึ้นในจังหวัดในช่วงระยะเวลาหนึ่งปี ในการคำนวณจะใช้วิธีการหามูลค่าเพิ่มจากกิจกรรมการผลิตทุกชนิดที่เกิดขึ้นในสาขาต่างๆของจังหวัด ดังนั้น ผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัด(GPP) จึงแสดงให้เห็นถึงภาวการณ์ผลิตในสาขาต่างๆของจังหวัด ทำให้สามารถนำไปใช้ในการวางแผนการผลิตในอนาคตได้ นอกจากนั้นผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัด ยังใช้เป็นเครื่องมือในการประเมินผลการพัฒนาของจังหวัด เป็นแผนการจัดทำยุทธศาสตร์ การประเมินผลการพัฒนา และเป็นข้อมูลสำคัญในการวางแผนผลิตและจำหน่ายของภาคเอกชน อีกด้วย
นางสาววราภรณ์ ลิ้มทรัพย์ คลังจังหวัดสุรินทร์ กล่าวอีก ผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัด สุรินทร์ มีมีมูลค่าเพิ่ม เมื่อปี 2554 ภาคการเกษตร มีมูลค่ากว่า 18,000 ล้านบาท ภาคนอกเกษตร กว่า 77,000 ล้านบาท ผลิตภัณฑ์มวลรวมมูลค่ากว่า 95,000 ล้านบาท ผลิตภัณฑ์มวลรวมต่อหัวกว่า 65,000 บาท และปี 2555 ภาคการเกษตร มีมูลค่ากว่า 15,000 ล้านบาท ภาคนอกเกษตร กว่า 92,000 ล้านบาท ผลิตภัณฑ์มวลรวมมูลค่ากว่า 108,000 ล้านบาท ผลิตภัณฑ์มวลรวมต่อหัวกว่า 74,000 บาท เมื่อเทียบกับปี 2554 ภาคการเกษตร หดตัว ภาคนอกเกษตรขยายตัว ผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัดขยายตัว เพิ่มขึ้น
อุทัย มานาดี /รายงาน