ศูนย์ปฏิบัติการลูกเสือชาวบ้าน ร่วมกับจังหวัดขอนแก่นและชมรมลูกเสือชาวบ้าน ๒0 จังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เตรียมจัดงานร้อยรวมใจเทิดไท้องค์ราชัน ดึงลูกเสือชาวบ้านทั่วภาคอีสาน ชุมนุม แสดงความจงรักภักดีและเทิดทูนสถาบันสำคัญของชาติ 9 กันยายน 2556 นี้ วันนี้ 23 ส.ค. 2556 ในการประชุมคณะกรรมการเตรียมการจัดงาน " ร้อยรวมใจ เทิดไท้องค์ราชัน ” ที่ห้องประชุมศาลากลางจังหวัดขอนแก่น ซึ่งศูนย์ปฏิบัติการลูกเสือชาวบ้าน ในพระราชานุเคราะห์ร่วมกับจังหวัดขอนแก่น และชมรมลูกเสือชาวบ้าน ๒๐ จังหวัด ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เตรียมจัดขึ้นที่ หอประชุมกาญจนาภิเษก มหาวิทยาลัยขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น ในวันที่ 9 กันยายน 2556 ระหว่างเวลา 13.00 น.–22.00 น. โดยมี นายสมศักดิ์ สุวรรณสุจริต ผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น เป็นประธานการประชุม มี พล.ต.ต.เรืองศักดิ์ ปทุมจร ผู้ช่วยผู้อำนวยการศูนย์ปฏิบัติการลูกเสือชาวบ้าน และ ผศ.จรัส ดิษฐาอภิชัย ที่ปรึกษารองนายกรัฐมนตรี นายสุรพงศ์ โตวิจักษ์ชัยกุล และประธานชมรมลูกเสือชาวบ้านภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 20 จังหวัด เข้าประชุม นอกจากนี้ ยังมีตัวแทนชมรมเรารักในหลวง และตัวแทนชมรมภาคประชาชน 20 จังหวัดภาคอีสาน เข้าร่วมประชุมด้วย นายสมศักดิ์ สุวรรณจริต ผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น เปิดเผยว่า การจัดงานในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ลูกเสือชาวบ้านและประชาชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือทุกหมู่เหล่า ได้แสดงออกถึงความจงรักภักดี และเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์ ให้เป็นที่ประจักษ์ของสาธารณชนทั่วไป โดยกิจกรรมในงานจะมีการจัดนิทรรศการเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ ให้ผู้มาร่วมงานได้ชม การรับบริจาคโลหิต การบริการด้านสาธารณสุข การจำหน่ายสินค้าโอท็อป การจำหน่ายสินค้าธงฟ้าราคาประหยัด การบริการคลินิกเกษตรเคลื่อนที่ และการให้บริการด้านแรงงาน การแสดงดนตรีคอนเสิร์ตของกองทัพบก โดยมีจะมีศิลปินมาร่วมกิจกรรมหลายท่าน และที่สำคัญก็คือการกล่าวถวายสัตย์ปฏิญาณของผู้มาร่วมงานทั้งหมด ในการที่จะจงรักภักดี และปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์ ก่อนจะพร้อมใจกันร้องเพลงสดุดีมหาราชาและเพลงสรรเสริญพระบารมี จังหวัดขอนแก่น จึงขอเชิญชวนพี่น้องประชาชน ลูกเสือชาวบ้าน ข้าราชการ พ่อค้า ประชาชน และนักเรียนนักศึกษา ไปร่วมงาน " ร้อยรวมใจ เทิดไท้องค์ราชัน ” โดยพร้อมเพรียงกัน ในวันที่ 9 กันยายน 2556 ณ หอประชุมกาญจนาภิเษก มหาวิทยาลัยขอนแก่น
วันศุกร์ที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2556
กระทรวงพลังงานสร้างความมั่นใจผู้มีรายได้น้อยรับ LPG
กระทรวงพลังงานสร้างความมั่นใจผู้มีรายได้น้อยมาตรการพร้อมรับมือก่อนปรับราคา LPG
นาย พงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานเปิดเผยว่า กระทรวงพลังงานแถลงความพร้อมทุกภาคส่วน เตรียมช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากการปรับชึ้นราคากาซ LPG ภาคครัวเรือน สร้างความพร้อมและความมั่นใจทั้งต่อประชาชนและร้านค้าก๊าซที่เข้าร่วม เพื่อเตรียมประกาศใช้สิทธิ์พร้อมกันทั้วประเทศในวันที่ 1 กันยายน นี้ ตามที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ(กพช.) เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2556 เห็นชอบให้ทยอยปรับราคาก๊าซ LPG ภาคครัวเรือนขึ้นไปเดือนละ 0.50 บาท/กก.ตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2556 กำหนดหลักเกณฑ์การช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบจากการปรับราคาLPG 2 กลุ่มคือกลุ่มครัวเรือนรายได้น้อย ช่วยเหลือตามการใช้จริงไม่เกิน 18 กก.ต่อ 3 เดือน และกลุ่มร้านค้าหาบเร่ แผงลอยอาหาร ช่วยเหลือการใช้จริงไม่เกิน 150 กก.ต่อเดือน โดยใช้ถุงขนาดใดก็ได้แต่ไม่เกินขนาด 15 กก. ขณะนี้กระทรวงพลังงานและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้เตรียมความพร้อมในการช่วยเหลือประชาชนผุ้มีรายได้น้อยอย่างเต็มที่ โดยเร่งระดมทุกภาคส่วนซักซ้อมในทางการปฏิบัติจริงเพื่อจำลองภาพให้เห็นปัญหาและอุปสรรค จากการสำรวจผู้มีสิทธิ์รวมทั้งร้านค้าก๊าซเข้าร่วมโครงการกลุ่มครัวเรือนที่มีรายได้น้อย แบ่งเป็นครัวเรือนใช้ไฟฟ้าไม่เกิน 90 หน่วย/เดือน จำนวน 7,430,639 ครัวเรือน และครัวเรือนที่ไม่มีไฟฟ้าใช้ 186,822 ครัวเรือน ส่วนผู้ตกสำรวจสำนักงานพาณิชย์จังหวัด การค้าภายในจังหวัด และพลังงานทั่วประเทศ 5-30 สิงหาคม 2556 นี้ และสามารถตรวจสอบรายชื่อผู้มีสิทธิ์และข้อมูลโครงการ ที่ www.lpg4u.Net และเปิดHotline สายด่วน ตอบปัญหาที่ เบอร์ 0-2140-7000และ0-2129-3344 เพื่อให้ประชาชนรับรู้ เข้าใจขั้นตอนการใช้สิทธิ์และได้รับสิทธือย่างทั่วถึงทั่วประเทศ
นาย พงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานเปิดเผยว่า กระทรวงพลังงานแถลงความพร้อมทุกภาคส่วน เตรียมช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากการปรับชึ้นราคากาซ LPG ภาคครัวเรือน สร้างความพร้อมและความมั่นใจทั้งต่อประชาชนและร้านค้าก๊าซที่เข้าร่วม เพื่อเตรียมประกาศใช้สิทธิ์พร้อมกันทั้วประเทศในวันที่ 1 กันยายน นี้ ตามที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ(กพช.) เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2556 เห็นชอบให้ทยอยปรับราคาก๊าซ LPG ภาคครัวเรือนขึ้นไปเดือนละ 0.50 บาท/กก.ตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2556 กำหนดหลักเกณฑ์การช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบจากการปรับราคาLPG 2 กลุ่มคือกลุ่มครัวเรือนรายได้น้อย ช่วยเหลือตามการใช้จริงไม่เกิน 18 กก.ต่อ 3 เดือน และกลุ่มร้านค้าหาบเร่ แผงลอยอาหาร ช่วยเหลือการใช้จริงไม่เกิน 150 กก.ต่อเดือน โดยใช้ถุงขนาดใดก็ได้แต่ไม่เกินขนาด 15 กก. ขณะนี้กระทรวงพลังงานและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้เตรียมความพร้อมในการช่วยเหลือประชาชนผุ้มีรายได้น้อยอย่างเต็มที่ โดยเร่งระดมทุกภาคส่วนซักซ้อมในทางการปฏิบัติจริงเพื่อจำลองภาพให้เห็นปัญหาและอุปสรรค จากการสำรวจผู้มีสิทธิ์รวมทั้งร้านค้าก๊าซเข้าร่วมโครงการกลุ่มครัวเรือนที่มีรายได้น้อย แบ่งเป็นครัวเรือนใช้ไฟฟ้าไม่เกิน 90 หน่วย/เดือน จำนวน 7,430,639 ครัวเรือน และครัวเรือนที่ไม่มีไฟฟ้าใช้ 186,822 ครัวเรือน ส่วนผู้ตกสำรวจสำนักงานพาณิชย์จังหวัด การค้าภายในจังหวัด และพลังงานทั่วประเทศ 5-30 สิงหาคม 2556 นี้ และสามารถตรวจสอบรายชื่อผู้มีสิทธิ์และข้อมูลโครงการ ที่ www.lpg4u.Net และเปิดHotline สายด่วน ตอบปัญหาที่ เบอร์ 0-2140-7000และ0-2129-3344 เพื่อให้ประชาชนรับรู้ เข้าใจขั้นตอนการใช้สิทธิ์และได้รับสิทธือย่างทั่วถึงทั่วประเทศ
ข่าว/พิมพ์ นายคันฉัตร เพียรวิจัยธรณี
ส.ปชส.ขอนแก่น
จังหวัดขอนแก่นร่วมทอดผ้าป่ามหากุศลสมทบทุนช่วยเหลือศูนย์เฉลิมพระเกียรติช่วยเหลือผู้ป่วยเอดส์
นางระเบียบรัตน์ พงษ์พานิช ประธานคณะทำงานศูนย์เฉลิมพระเกียรติเพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยโรคเอดส์ และผู้ติดเชื้อ เอช.ไอ.วี.จังหวัดขอนแก่น ได้เป็นประธานการทอดผ้าป่ามหากุศลเพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยโรคเอดส์ผู้ติดเชื้อเอช.ไอ.วีและครอบครัวอย่างครบวงจรโดยในวันนี้มีการทอดผ้าป่าพร้อมกันทั้ง 26 อำเภอจังหวัดขอนแก่นโดยรับมอบเงินจากหน่วยงานราชการ รัฐวิสาหกิจ ภาคเอกชนในจังหวัดเพื่อสมทบทุนในการทอดผ้าป่าครั้งนี้ สำหรับการทอดผ้าป่าของศูนย์จังหวัดมีผู้ร่วมสมทบทุนได้ยอดเงินสามแสนกว่าบาทและจะนำไปรวมกับอำเภอต่างๆด้วยซึ่งศูนย์เฉลิมพระเกียรติฯช่วยเหลือผู้ป่วยเอดส์ปัจจุบันมีสมาชิกสะสมกว่าสองพัน 3,990 คน....สำหรับศูนย์ฯจังหวัดขอนแก่น ได้ให้ความช่วยเหลือสมาชิกและผู้ได้รับผลกระทบตั้งแต่เปิดศูนย์ฯเมื่อปี 2542 จนถึงปัจจุบันไปแล้วเป็นเงินจำนวน 71 ล้านบาทมอบทุนการศึกษา12 ครั้งจำนวนหมื่นกว่าทุนเป็นเงินกว่า 47 ล้านบาทนอกจากนั้นก็มีการช่วยเหลือค่าทำศพ การช่วยเหลือเบี้ยยังชีพสมาชิกทุกเดือนช่วยเหลือด้านการส่งเสริมอาชีพ และการช่วยเหลือด้านการรักษาพยาบาล
โรงพยาบาลชุมชนในจังหวัดขอนแก่นร่วมกันจัดงานรวมพลคนดี ทำสิ่งดี สังคมดีเพื่อสร้างเมืองขอนแก่นให้เป็นจังหวัดที่น่าอยู่ที่สุดในโลก
งานดังกล่าวจัดขึ้นที่โรงแรมโฆษะขอนแก่นโดยมีนายสมศักดิ์ สุวรรณสุจริต ผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่นเป็นประธาน โดยเป็นความร่วมมือของโรงพยาบาลศูนย์ขอนแก่น โรงพยาบาลน้ำพอง โรงพยาบาลอุบลรัตน์ โรงพยาบาลภูเวียง โรงพยาบาลซำสูง และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพชุมชนทั้ง 26 อำเภอร่วมมือกันจัดขึ้นเป็นหนึ่งในโครงการพยาบาลชุมชนกับการพัฒนารูปแบบการสร้างสุขภาพ เพื่อสร้างเมืองขอนแก่นให้เป็นจังหวัดที่น่าอยู่ที่สุดในโลกซึ่งเป็นระยะที่ 2 มีการดำเนินการมาตั้งแต่ปี2553 ถึง 2556 รวม 3 ปี นายแพทย์วีระพันธ์ สุพรรณไชยมาตย์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลศูนย์ขอนแก่นกล่าวว่างานครั้งนี้เป็นเวทีการแลกเปลี่ยนสำหรับบุคลากรทางสาธารณสุข ชุมชน ท้องถิ่น และองค์กรภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง เพื่อเผยแพร่แนวคิด ความรู้และประสบการณ์ในการทำงานระบบสุขภาพชุมชนสร้างบุคลากรด้านสาธารณสุขที่เป็นคนดีในชุมชนและกลับไปทำงานไปพัฒนางานสร้างสุขอยู่กับชุมชนของตนเอง เป็นการรวมพลคนดี มาทำสิ่งดีๆเพื่อให้สังคมดี ในงานมีการจัดนิทรรศการสิ่งดีๆตัวอย่างของชุมชนที่ประสบผลสำเร็จที่บุคลากรด้านสาธารณสุขลงไปทำงานคลุกคลีในชุมชนมานำเสนอผ่านเวทีแลกเปลี่ยนของแต่ละพื้นที่เพื่อเกิดกระบวนทัศน์ร่วมคิด ร่วมทำงาน ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับชุมชนอย่างสม่ำเสมอ และแนวความคิดที่หลากหลายแล้วนำกลับไปสู่ชุมชน พัฒนาเครือข่ายและสร้างระบบปกป้องสุขภาพของคนในชุมชนให้มีสุขภาพที่แข็งแรง ขยายให้เต็มพื้นที่ทั้ง 26 อำเภอของจังหวัดขอนแก่น
จังหวัดขอนแก่นตั้งศูนย์กระจายสินค้า ผักและผลไม้รองรับประชาคมเศรษฐกืจอาเซียน
จังหวัดขอนแก่นตั้งศูนย์รวมและกระจายสินค้าและผักผลไม้จังหวัดขอนแก่น เพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC)
นายสมศักดิ์ สุวรรณสุจริต ผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น เปิดเผยว่าจังหวัดขอนแก่นโดย นายโกเมศ ฑีฆธนานนท์ กรรมการที่ปรึกษาตลาดศรีเมืองทอง จัดตั้ง ศูนย์รวมและกระจายสินค้าและผักผลไม้จังหวัดขอนแก่น เพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ณ ตลาดศรีเมืองทอง อำเภอเมืองขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น ซึ่งกรมการค้าภายในร่วมกับตลาดศรีเมืองทองจังหวัดขอนแก่นดำเนินการ
นางสาวนงค์นุช อุดมคำ การค้าภายในจังหวัดขอนแก่น เปิดเผยว่าวัตถุประสงค์การจัดตั้ง ศูนย์รวมและกระจายสินค้าและผักผลไม้จังหวัดขอนแก่น เพื่อสร้างโอกาสและความเป็นธรรมแก่เกษตรกร ผู้ผลิตทีเกี่ยวข้อง โดยเฉพาะตลาดสินค้าเกษตรผักและผลไม้ ด้วยการส่งเสริมและพัฒนาตลาดกลางให้เป็นศูนย์รวมและกระจายสินค้าของภูมิภาคและขยายไปสู่ประเทศเพื่อนบ้าน คือ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว เวียดนาม และประเทศจีนตอนใต้ เป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่เกษตรกร ผู้ประกอบการ และผู้เกี่ยวข้อง ด้านการเกษตร ส่งผลให้ระบบเศรษฐกิจในประเทศเข้มแข็งยิ่งขึ้น และพร้อมเพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ในอีก 2 ปีข้างหน้า ข่าว/พิมพ์ นายคันฉัตร เพียรวิจัยธรณี ส.ปชส.ขอนแก่น
นายสมศักดิ์ สุวรรณสุจริต ผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น เปิดเผยว่าจังหวัดขอนแก่นโดย นายโกเมศ ฑีฆธนานนท์ กรรมการที่ปรึกษาตลาดศรีเมืองทอง จัดตั้ง ศูนย์รวมและกระจายสินค้าและผักผลไม้จังหวัดขอนแก่น เพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ณ ตลาดศรีเมืองทอง อำเภอเมืองขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น ซึ่งกรมการค้าภายในร่วมกับตลาดศรีเมืองทองจังหวัดขอนแก่นดำเนินการ
นางสาวนงค์นุช อุดมคำ การค้าภายในจังหวัดขอนแก่น เปิดเผยว่าวัตถุประสงค์การจัดตั้ง ศูนย์รวมและกระจายสินค้าและผักผลไม้จังหวัดขอนแก่น เพื่อสร้างโอกาสและความเป็นธรรมแก่เกษตรกร ผู้ผลิตทีเกี่ยวข้อง โดยเฉพาะตลาดสินค้าเกษตรผักและผลไม้ ด้วยการส่งเสริมและพัฒนาตลาดกลางให้เป็นศูนย์รวมและกระจายสินค้าของภูมิภาคและขยายไปสู่ประเทศเพื่อนบ้าน คือ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว เวียดนาม และประเทศจีนตอนใต้ เป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่เกษตรกร ผู้ประกอบการ และผู้เกี่ยวข้อง ด้านการเกษตร ส่งผลให้ระบบเศรษฐกิจในประเทศเข้มแข็งยิ่งขึ้น และพร้อมเพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ในอีก 2 ปีข้างหน้า ข่าว/พิมพ์ นายคันฉัตร เพียรวิจัยธรณี ส.ปชส.ขอนแก่น
จังหวัดนครราชสีมา จัดสัมมนาอาสาสมัครเกษตรหมู่บ้านระดับจังหวัด เพื่อมอบนโยบายการปฏิบัติงานให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน
วันนี้ (23 ส.ค.56) นางพรรณพิมล ชัญญานุวัตร อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร เป็นประธานเปิดการประชุมสัมมนาอาสาสมัครเกษตรหมู่บ้าน (อกม.) จังหวัดนครราชสีมา ประจำปี 2556 ณ อาคารสุรพัฒน์ 2 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี จังหวัดนครราชสีมา
ทั้งนี้เพื่อเป็นการซักซ้อมความเข้าใจ แนวทางการปฏิบัติงานตามนโยบายรัฐและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อีกทั้งเพื่อพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครเกษตรหมู่บ้าน ไปในทิศทางเดียวกัน ทำให้เกิดเครือข่ายการทำงานระหว่างภาครัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และภาคประชาชนในการพัฒนาเกษตรกรรมของจังหวัด กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มีนโยบายให้มีการจัดตั้งอาสาสมัครเกษตรหมู่บ้านขึ้น ตามนโยบายของรัฐบาลที่กำหนดให้มีอาสาสมัครเกษตรหมู่บ้าน (อกม.) เป็นตัวแทนกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในระดับหมู่บ้าน เพื่อสนับสนุนการทำงานของภาครัฐ เนื่องจากเป็นผู้รู้จักพื้นที่และมีความเข้าใจเกษตรกร รู้ปัญหาและขีดความสามารถในการพัฒนาภาคการเกษตรของแต่ละหมู่บ้านเป็นอย่างดี นอกจากนั้น ยังเป็นผู้เชื่อมประสานการปฏิบัติงานด้านการพัฒนาการเกษตรของอาสา สมัครเกษตรทุกสาขา รวมทั้งหน่วยงานหรือองค์กรภาครัฐ เอกชน สถาบันการศึกษา และทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ให้สามารถร่วมกันพัฒนาการเกษตร ให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อทั้งเกษตรกร ชุมชน และประเทศชาติ ปัจจุบันจังหวัดนครราชสีมา มีอาสาสมัครเกษตรหมู่บ้าน จำนวน 3,755 คน เป็นผู้ประสานงาน เป็นผู้ช่วยปฏิบัติงานและสนับสนุนการพัฒนาการเกษตรของหมู่บ้านได้เป็นอย่างดี
CPf จัดกิจกรรมซีพีอาสาตอบแทนคุณแผ่นดินจากฟาร์มพี่สู่โรงเรียนน้องปี 2
CPf จัดกิจกรรมซีพีอาสาตอบแทนคุณแผ่นดินจากฟาร์มพี่สู่โรงเรียนน้องปี 2 พร้อมมอบอุปกรณ์ทางการศึกษา. ทุนการศึกษาและห้องสมุดเสริมสร้างทักษะเพื่อพัฒนาศักยภาพทางสมองของเด็กเยาวชน
22-08-56 ที่โรงเรียนหนองเหล็กศึกษา อําเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม CPF ปันรักให้เยาวชนจัดกิจกรรม ซีพีอาสาตอบแทนคุณแผ่นดิน จากฟาร์มพี่สู่โรงเรียนน้อง ปี2 โดยมีนายนพวัชร สิงห์ศักดา ผู้ว่าราชการจังหวัดมหาสารคาม เป็นประธานเปิดงาน
นายเอนก บุญหนุน รองกรรมการผู้จัดการบริหาร บริษัทเจริญโภคภัณฑ์อาหาร จํากัดมหาชน หรือซีพีเอฟ เปิดเผยว่าซีพีเอฟจัดกิจกรรม ซีพีอาสา ตอบแทนคุณแผ่นดินจากฟาร์มพี่สู่โรงเรียนน้องปี 2 ณ โรงเรียนหนองเหล็กศึกษา อําเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม ด้วยการบูรณะอาคารเรียน ปรับปรุงโรงอาหารให้สะอาดถูกสุขลักษณะ มอบโรงเรือนเลี้ยงไก่เพื่ออาหารกลางวัน มอบอุปกรณ์ทางการศึกษาและทุนการศึกษาพร้อมมอบโครงการห้องสมุดเสริมสร้างทักษะเพื่อพัฒนาศักยภาพทางสมองของเด็กเยาวชน
กิจการมดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งในโครงการ Regional. Integration Bussiness & Innovation. Award. ที่จัดขึ้นอย่างต่อเนื่องเป็นปีที่5 เพื่อผลักดันให้บุคคลากรเกิดแรงบันดาลใจในการสรรสร้างนวัตกรรม นําไปสู่ความเข้มแข็งและพัฒนาอย่าง
ยั่งยืนขณะเดียวกันยังเปิดโอกาสให้บุคคลากรของบริษัทได้มีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมเพื่อสังคมไปพร้อมกัน ด้วยกิจกรรมซีพีอาสาตอบแทนคุณแผ่นดินจากๆฟาร์มพี่สู่โรงเรียนน้อง ซึ่งเป็นการรวมชาวซีพีเอฟในภูมิภาคต่างๆในการร่วมกันจัดกิจกรรมเพื่อสังคม โดยเฉพาะการพัฒนาเยาวชนที่เป็นต้นกล้าของอนาคตให้ได้รับโอกาสทั้งในด้านการศึกษาเพื่อพัฒนาสติปัญญารวมถึงการพัฒนาด้านสุขอนามัยและร่างกายที่แข็งแรงด้วยการเล่นกีฬา นอกจากนี้ยังจัดให้มีโครงการห้องสมุดเสริมสร้างทักษะซึ่งเป็นการต่อยอดโครงการซีพีเอฟปันนํ้าใจให้น้องห้องสมุดของเล่นปี3 ที่สํานักทรัพยากรบุคคลของซีพีเอฟจัดขึ้นโดยปรับเปลี่ยนรูปแบบให้เหมาะสมกับเยาวชนของโรงเรียนหนองเหล็กศึกษาที่เป็นนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 และควรได้รับการเสริมสร้างทักษะการใช้สมองทั้งสองซีกในรูปแบบต่างๆผ่านกิจกรรมหรือเกมส์ที่เน้นการเล่นเป็นทีมอาทิโก๊ะ คิวบิค หมากรุก กิจกรรมนี้ถือเป็นหนึ่งในการตอบแทนคุณแผ่นดิน ที่สอดคล้องกับปรัชญาการดําเนินธุรกิจที่ยึดหลัก 3 ประโยชน์คือประโยชน์ต่อประเทศชาติ ประชาชนและบริษัท...............ส.ปชส.มหาสารคาม/ข่าว
22-08-56 ที่โรงเรียนหนองเหล็กศึกษา อําเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม CPF ปันรักให้เยาวชนจัดกิจกรรม ซีพีอาสาตอบแทนคุณแผ่นดิน จากฟาร์มพี่สู่โรงเรียนน้อง ปี2 โดยมีนายนพวัชร สิงห์ศักดา ผู้ว่าราชการจังหวัดมหาสารคาม เป็นประธานเปิดงาน
นายเอนก บุญหนุน รองกรรมการผู้จัดการบริหาร บริษัทเจริญโภคภัณฑ์อาหาร จํากัดมหาชน หรือซีพีเอฟ เปิดเผยว่าซีพีเอฟจัดกิจกรรม ซีพีอาสา ตอบแทนคุณแผ่นดินจากฟาร์มพี่สู่โรงเรียนน้องปี 2 ณ โรงเรียนหนองเหล็กศึกษา อําเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม ด้วยการบูรณะอาคารเรียน ปรับปรุงโรงอาหารให้สะอาดถูกสุขลักษณะ มอบโรงเรือนเลี้ยงไก่เพื่ออาหารกลางวัน มอบอุปกรณ์ทางการศึกษาและทุนการศึกษาพร้อมมอบโครงการห้องสมุดเสริมสร้างทักษะเพื่อพัฒนาศักยภาพทางสมองของเด็กเยาวชน
กิจการมดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งในโครงการ Regional. Integration Bussiness & Innovation. Award. ที่จัดขึ้นอย่างต่อเนื่องเป็นปีที่5 เพื่อผลักดันให้บุคคลากรเกิดแรงบันดาลใจในการสรรสร้างนวัตกรรม นําไปสู่ความเข้มแข็งและพัฒนาอย่าง
ยั่งยืนขณะเดียวกันยังเปิดโอกาสให้บุคคลากรของบริษัทได้มีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมเพื่อสังคมไปพร้อมกัน ด้วยกิจกรรมซีพีอาสาตอบแทนคุณแผ่นดินจากๆฟาร์มพี่สู่โรงเรียนน้อง ซึ่งเป็นการรวมชาวซีพีเอฟในภูมิภาคต่างๆในการร่วมกันจัดกิจกรรมเพื่อสังคม โดยเฉพาะการพัฒนาเยาวชนที่เป็นต้นกล้าของอนาคตให้ได้รับโอกาสทั้งในด้านการศึกษาเพื่อพัฒนาสติปัญญารวมถึงการพัฒนาด้านสุขอนามัยและร่างกายที่แข็งแรงด้วยการเล่นกีฬา นอกจากนี้ยังจัดให้มีโครงการห้องสมุดเสริมสร้างทักษะซึ่งเป็นการต่อยอดโครงการซีพีเอฟปันนํ้าใจให้น้องห้องสมุดของเล่นปี3 ที่สํานักทรัพยากรบุคคลของซีพีเอฟจัดขึ้นโดยปรับเปลี่ยนรูปแบบให้เหมาะสมกับเยาวชนของโรงเรียนหนองเหล็กศึกษาที่เป็นนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 และควรได้รับการเสริมสร้างทักษะการใช้สมองทั้งสองซีกในรูปแบบต่างๆผ่านกิจกรรมหรือเกมส์ที่เน้นการเล่นเป็นทีมอาทิโก๊ะ คิวบิค หมากรุก กิจกรรมนี้ถือเป็นหนึ่งในการตอบแทนคุณแผ่นดิน ที่สอดคล้องกับปรัชญาการดําเนินธุรกิจที่ยึดหลัก 3 ประโยชน์คือประโยชน์ต่อประเทศชาติ ประชาชนและบริษัท...............ส.ปชส.มหาสารคาม/ข่าว
ปภ.มหาสารคาม ประกาศรายชื่อผู้ทรัพย์สินเสียหายจากเหตุการณ์ทางการเมือง
สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดมหาสารคามประกาศรายชื่อผู้ที่ทรัพย์สินเสียหายจากเหตุการณ์ชุมนุมทางการเมือง ซึ่งได้มีการลงทะเบียนไว้แล้ว เพื่อให้การช่วยเหลือเยียวยาด้านการเงินตามหลักมนุษยธรรม ผู้เสียหายตรวจสอบรายชื่อและยื่นคำร้องขอรับความช่วยเหลือ ภายใน 30 กันยายน นี้
นายยิ่งยศ ธนะจันทร์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดมหาสารคาม เปิดเผยว่า จังหวัดมหาสารคาม ได้รับแจ้งจากกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยว่า คณะรัฐมนตรี ได้มีมติเมื่อวันที่ 11 ธันวาคม 2555 เห็นชอบในหลักเกณฑ์และวิธีการให้ความช่วยเหลือเยียวยาด้านการเงินตามหลักมนุษยธรรม สำหรับผู้ที่ทรัพย์สินเสียหาย จากเหตุการณ์การชุมนุมทางการเมือง (พ.ศ.2548-2553) ซึ่งกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยได้มีการประกาศรายชื่อผู้ที่ทรัพย์สินเสียหายฯ ดังกล่าว ที่ได้มีการลงทะเบียนไว้ทั้งสิ้น 15,220 ราย โดยประกาศผ่านทางเวบไซต์ของกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย www.dissater.go.th เวบไซต์สำนักนายกรัฐมนตรี www.opm.go.th และปิดประกาศรายชื่อที่กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย แล้ว
รองผู้ว่าราชการจังหวัดมหาสารคาม กล่าวเพิ่มเติมว่า เพื่อให้การช่วยเหลือเยียวยาด้านการเงินตามหลักมนุษยธรรม สำหรับผู้ที่ทรัพย์สินเสียหาย จากเหตุการณ์ชุมนุมทางการเมืองดังกล่าว จังหวัดมหาสารคาม จึงขอประชาสัมพันธ์ถึงผู้ที่ทรัพย์สินเสียหายฯซึ่งได้มีการลงทะเบียนไว้แล้ว ไปตรวจสอบรายชื่อและยื่นคำร้องเพื่อขอรับความช่วยเหลือได้ที่ สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดมหาสารคาม ชั้น 2 ศาลากลางจังหวัดมหาสารคาม ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป จนถึงวันที่ 30 กันยายน 2556 สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม ที่ฝ่ายสงเคราะห์ผู้ประสบภัย สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดมหาสารคาม โทรศัพท์หมายเลข 0 437 7314
นายยิ่งยศ ธนะจันทร์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดมหาสารคาม เปิดเผยว่า จังหวัดมหาสารคาม ได้รับแจ้งจากกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยว่า คณะรัฐมนตรี ได้มีมติเมื่อวันที่ 11 ธันวาคม 2555 เห็นชอบในหลักเกณฑ์และวิธีการให้ความช่วยเหลือเยียวยาด้านการเงินตามหลักมนุษยธรรม สำหรับผู้ที่ทรัพย์สินเสียหาย จากเหตุการณ์การชุมนุมทางการเมือง (พ.ศ.2548-2553) ซึ่งกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยได้มีการประกาศรายชื่อผู้ที่ทรัพย์สินเสียหายฯ ดังกล่าว ที่ได้มีการลงทะเบียนไว้ทั้งสิ้น 15,220 ราย โดยประกาศผ่านทางเวบไซต์ของกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย www.dissater.go.th เวบไซต์สำนักนายกรัฐมนตรี www.opm.go.th และปิดประกาศรายชื่อที่กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย แล้ว
รองผู้ว่าราชการจังหวัดมหาสารคาม กล่าวเพิ่มเติมว่า เพื่อให้การช่วยเหลือเยียวยาด้านการเงินตามหลักมนุษยธรรม สำหรับผู้ที่ทรัพย์สินเสียหาย จากเหตุการณ์ชุมนุมทางการเมืองดังกล่าว จังหวัดมหาสารคาม จึงขอประชาสัมพันธ์ถึงผู้ที่ทรัพย์สินเสียหายฯซึ่งได้มีการลงทะเบียนไว้แล้ว ไปตรวจสอบรายชื่อและยื่นคำร้องเพื่อขอรับความช่วยเหลือได้ที่ สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดมหาสารคาม ชั้น 2 ศาลากลางจังหวัดมหาสารคาม ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป จนถึงวันที่ 30 กันยายน 2556 สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม ที่ฝ่ายสงเคราะห์ผู้ประสบภัย สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดมหาสารคาม โทรศัพท์หมายเลข 0 437 7314
ส.ปชส.มหาสารคาม/ข่าว
นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดมุกดาหารครบวาระการดำรงตำแหน่ง ๔ ปี ๒๒ สิงหาคม ๒๕๕๖
นายวิษณุ เหล่ามีผล ผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำองค์การบริหารส่วนจังหวัดมุกดาหาร เปิดเผยว่า ตามที่นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดมุกดาหารได้รับการเลือกตั้งเมื่อวันที่ ๒๓ สิงหาคม ๒๕๕๒ และครบวาระการดำรงตำแหน่ง ๔ ปี เมื่อวันที่ ๒๒ สิงหาคม ๒๕๕๖ จึงประกาศให้มีการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดมุกดาหาร โดยกำหนดให้มีการเลือกตั้ง ในวันอาทิตย์ที่ ๒๙ เดือนกันยายน ๒๕๕๖ และกำหนดระยะเวลาสมัครรับเลือกตั้ง ตั้งแต่วันที่ ๒๖ เดือนสิงหาคม ๒๕๕๖ ถึงวันที่ ๓๐ สิงหาคม ๒๕๕๖ เวลา ๐๘.๓๐ -๑๖.๓๐ น. กำหนดสถานที่รับสมัคร ณ หอประชุมองค์การบริหารส่วนจังหวดมุกดาหาร
ผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำองค์การบริหารส่วนจังหวัดมุกดาหาร กล่าวเพิ่มเติมว่า ผู้มีคุณสมบัติและไม่เป็นบุคคลต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิในการสมัครรับเลือกตั้งตามที่กฎหมายกำหนด ประสงค์จะสมัครรับเลือกตั้งเป็นนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดมุกดาหาร ให้ยื่นใบสมัครด้วยตนเองได้ ตามวัน เวลา สถานที่ และหลักฐานการรับสมัคร ตามห้วงระยะเวลาดังกล่าว ผู้สนใจสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ ที่องค์การบริหารส่วนจังหวัดมุกดาหาร งานเลือกตั้ง ฝ่ายบริหารงานทั่วไป โทร ๐๔๒ ๖๑๒๐๑๘ ๐๔๒ ๖๑๕๓๗๘
ผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำองค์การบริหารส่วนจังหวัดมุกดาหาร กล่าวเพิ่มเติมว่า ผู้มีคุณสมบัติและไม่เป็นบุคคลต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิในการสมัครรับเลือกตั้งตามที่กฎหมายกำหนด ประสงค์จะสมัครรับเลือกตั้งเป็นนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดมุกดาหาร ให้ยื่นใบสมัครด้วยตนเองได้ ตามวัน เวลา สถานที่ และหลักฐานการรับสมัคร ตามห้วงระยะเวลาดังกล่าว ผู้สนใจสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ ที่องค์การบริหารส่วนจังหวัดมุกดาหาร งานเลือกตั้ง ฝ่ายบริหารงานทั่วไป โทร ๐๔๒ ๖๑๒๐๑๘ ๐๔๒ ๖๑๕๓๗๘
สุภาวดี อัมไพพันธ์ ส.ปชส.มุกดาหาร/ข่าว
จังหวัดร้อยเอ็ดจับสลากแบ่งสายการแข่งขันกีฬาฯ ในการแข่งขันกีฬาแห่งชาติ ครั้งที่ 42 รอบคัดเลือกตัวแทนภาค 3 “ร้อยเอ็ดเกมส์”
จังหวัดร้อยเอ็ด เป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันกีฬาแห่งชาติ ครั้งที่ 42 รอบคัดเลือกตัวแท่นภาค 3 "ร้อยเอ็ดเกมส์” โดยกำหนดจัดการแข่งขัน ระหว่างวันที่ 2 – 12 กันยายน 2556 ณ สนามกีฬาทั้งภายในจังหวัดร้อยเอ็ด และจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือบางจังหวัด โดยใช้ "กระรอกขาว” เป็นตัวนำโชค เพื่อคัดเลือกนักกีฬาไปแข่งขันกีฬาแห่งชาติ ครั้งที่ 42 "สุวรรณภูมิเกมส์” ระหว่างวันที่ 5 – 15 มกราคม 2556 ณ จังหวัดสุพรรณบุรี คาดว่าจะมีนักกีฬา และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง จาก 20 จังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เข้าร่วมทำการแข่งขัน รวมกว่า 8 พันคน มีกีฬาที่จะทำการแข่งขัน รวม 36 ชนิดกีฬา วันนี้ (23 ส.ค.56) เวลา 15.00 น. นายธัชชัย สีสุวรรณ รองผู้ว่าราชการจังหวัดร้อยเอ็ด เป็นประธานในการจับสลากแบ่งสายการแข่งขัน 7 ชนิดกีฬา ได้แก่ ฟุตบอล,ฟุตซอล,บาสเกตบอล,วอลเลย์บอลในร่ม/วอลเลย์บอลชายหาด,เซปักตะกร้อ/ตะกร้อลอดห่วง,แฮนด์บอล และรักบี้ฟุตบอล ส่วนกีฬาที่เหลือ จะทำการตามระบบและวิธีการจัดการของแต่ละชนิดกีฬาที่วางไว้ในระเบียบการแข่งขันฯ
นายธัชชัย สีสุวรรณรองผู้ว่าราชการจังหวัดร้อยเอ็ด กล่าวว่า การจัดการแข่งขันกีฬาดังกล่าว มีความพร้อมที่จะดำเนินการแข่งขันในช่วงดังกล่าวแล้ว
นายธัชชัย สีสุวรรณรองผู้ว่าราชการจังหวัดร้อยเอ็ด กล่าวว่า การจัดการแข่งขันกีฬาดังกล่าว มีความพร้อมที่จะดำเนินการแข่งขันในช่วงดังกล่าวแล้ว
วิมล เร่งศึก/ข่าว
กมพล คำนึง/ข่าว
25 ส.ค. 56
ร้อยเอ็ดเตรียมความพร้อมในการเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันกีฬาแห่งชาติ ครั้งที่ 42 รอบคัดเลือกตัวแทนภาค 3 “ร้อยเอ็ดเกมส์”
จังหวัดร้อยเอ็ด ได้รับเกียรติจากการกีฬาแห่งประเทศไทย ให้เป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันกีฬาแห่งชาติ ครั้งที่ 42 รอบคัดเลือกตัวแท่นภาค 3 "ร้อยเอ็ดเกมส์” โดยกำหนดจัดการแข่งขัน ระหว่างวันที่ 2 – 12 กันยายน 2556 ณ สนามกีฬาทั้งภายในจังหวัดร้อยเอ็ด และจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่มีความพร้อมในการจัดแข่งขันกีฬาบางชนิด โดยมี "กระรอกขาว” เป็นตัวนำโชค เพื่อคัดเลือกนักกีฬาไปแข่งขันกีฬาแห่งชาติ ครั้งที่ 42 "สุวรรณภูมิเกมส์” ระหว่างวันที่ 5 – 15 มกราคม 2556 ณ จังหวัดสุพรรณบุรี โดยจะมีนักกีฬา และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง จาก 20 จังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เข้าร่วมทำการแข่งขัน รวมกว่า 8 พันคน และมีกีฬาที่จะทำการแข่งขัน รวม 36 ชนิดกีฬา สนามแข่งขัน แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ๆ ที่ 1 สนามในเขตเมืองร้อยเอ็ด มีกีฬาที่แข่งขัน รวม 17 ชนิดกีฬา อาทิ เทนนิส,ซอฟท์เทนนิส,แบดมินตัน,เปตอง,วอลเลย์บอลในร่ม,วอลเลย์บอลชายหาด และฟุตบอล เป็นต้น กลุ่มที่ 2 สนามต่างอำเภอ มี 6 ชนิดกีฬา เช่นการแข่งขันกีฬาจักรยานประเภทลู่ ที่สนามกีฬามหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด การแข่งขันมวลสมัครเล่นและมวยไทยสมัครเล่น ที่หอประชุมอำเภอเสลภูมิ อย่างนี้เป็นต้น และกลุ่มที่ 3 สนานต่างจังหวัด มี 11 ชนิดกีฬา เช่น ที่การกีฬาแห่งประเทศไทย สนามยิงปืนหัวหมาก จัดกีฬายิงปืน ที่ นครราชสีมา จัดการแข่งขัน ลีลาศ ที่ ขอนแก่น จัดแข่งขันกอล์ฟ,ยกน้ำหนัก,มวยปล้ำ เป็นต้น เหลืออีก 10 วันที่จะมีการแข่งขันฯ จังหวัดร้อยเอ็ดได้จัดเตรียมความพร้อมในเรื่องต่างๆ ไว้พร้อมแล้วสำหรับกีฬาที่จะแข่งขันที่ร้อยเอ็ด ไม่ว่าจะเป็นการเตรียมเรื่องสนามกีฬา, ที่พักนักกีฬาและเจ้าหน้าที่ การอำนวยความสะดวกในเรื่องต่างๆ การรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของนักกีฬาเจ้าหน้าที่และผู้เข้าเดินทางไปจังหวัดร้อยเอ็ด และที่สำคัญพี่น้องชาวร้อยเอ็ดพร้อมที่จะต้อนรับทุกท่านที่จะเดินทางไปจังหวัดร้อยเอ็ดในช่วงดังกล่าว โดยท่านผู้ว่าราชการจังหวัดร้อยเอ็ด ท่านผู้ว่าฯ สมศักดิ์ ขำทวีพรหม ได้ให้ความสำคัญในเรื่องนี้เป็นพิเศษ
วันนี้ (23 ส.ค.56) เวลา 14.00 น. นายธัชชัย สีสุวรรณ รองผู้ว่าราชการจังหวัดร้อยเอ็ด ได้แถลงข่าวต่อสื่อมวลชน โดยแถลงความพร้อมของคณะกรรมการทั้ง 16 คณะ ความพร้อมของสนาม อาคารสถานที่ และความพร้อมของพี่น้องชาวจังหวัดร้อยเอ็ดที่จะร่วมกันเป็นเจ้าบ้านที่ดี และได้มีการประชุมซักซ้อมความพร้อมของคณะกรรมการทั้ง 16 คณะ ซึ่งแต่ละคณะมีความพร้อมแล้วที่จะดำเนินการจัดการแข่งขันฯ วันนี้ (23 ส.ค.56)ได้มีการจับสลากแบ่งสายการแข่งขัน 7 ชนิดกีฬา ได้แก่ ฟุตบอล,ฟุตซอล,บาสเกตบอล,วอลเลย์บอลในร่ม/วอลเลย์บอลชายหาด,เซปักตะกร้อ/ตะกร้อลอดห่วง,แฮนด์บอล และรักบี้ฟุตบอล ส่วนกีฬาที่เหลือ จะทำการตามระบบและวิธีการจัดการของแต่ละชนิดกีฬาที่วางไว้ในระเบียบการแข่งขันฯ ในส่วนการประชาสัมพันธ์ ซึ่งมีท่านประชาสัมพันธ์จังหวัดร้อยเอ็ด เป็นกรรมการและเลขานุการ ได้ประสานสื่อมวลชนทุกสาขาเพื่อเตรียมการรายงานผลการแข่งขันในทุกสื่อ โดยได้มีการตั้งศูนย์ Pres Center ขึ้น ที่ศูนย์กีฬาแห่งประเทศไทยจังหวัดร้อยเอ็ด โดยจะมีการสรุปผลการแข่งขันกีฬาชนิดต่างๆ แถลงข่าวสื่อมวลชนทุกวัน ตั้งแต่วันที่ 2 กันยายน เป็นต้นไป จนถึงวันที่ 12 กันยายน 2556 เวลา 09.00 – 10.00 น. และจะมีการสรุปผลการแข่งขัน วันละ 2 รอบ ๆ แรก เวลา 14.00 น. และรอบที่ 2 เวลา 17.00 น. เพื่อจัดส่งให้สื่อมวลชนทุกแขนงประชาสัมพันธ์ในช่องทางต่างๆ ต่อไป
วันนี้ (23 ส.ค.56) เวลา 14.00 น. นายธัชชัย สีสุวรรณ รองผู้ว่าราชการจังหวัดร้อยเอ็ด ได้แถลงข่าวต่อสื่อมวลชน โดยแถลงความพร้อมของคณะกรรมการทั้ง 16 คณะ ความพร้อมของสนาม อาคารสถานที่ และความพร้อมของพี่น้องชาวจังหวัดร้อยเอ็ดที่จะร่วมกันเป็นเจ้าบ้านที่ดี และได้มีการประชุมซักซ้อมความพร้อมของคณะกรรมการทั้ง 16 คณะ ซึ่งแต่ละคณะมีความพร้อมแล้วที่จะดำเนินการจัดการแข่งขันฯ วันนี้ (23 ส.ค.56)ได้มีการจับสลากแบ่งสายการแข่งขัน 7 ชนิดกีฬา ได้แก่ ฟุตบอล,ฟุตซอล,บาสเกตบอล,วอลเลย์บอลในร่ม/วอลเลย์บอลชายหาด,เซปักตะกร้อ/ตะกร้อลอดห่วง,แฮนด์บอล และรักบี้ฟุตบอล ส่วนกีฬาที่เหลือ จะทำการตามระบบและวิธีการจัดการของแต่ละชนิดกีฬาที่วางไว้ในระเบียบการแข่งขันฯ ในส่วนการประชาสัมพันธ์ ซึ่งมีท่านประชาสัมพันธ์จังหวัดร้อยเอ็ด เป็นกรรมการและเลขานุการ ได้ประสานสื่อมวลชนทุกสาขาเพื่อเตรียมการรายงานผลการแข่งขันในทุกสื่อ โดยได้มีการตั้งศูนย์ Pres Center ขึ้น ที่ศูนย์กีฬาแห่งประเทศไทยจังหวัดร้อยเอ็ด โดยจะมีการสรุปผลการแข่งขันกีฬาชนิดต่างๆ แถลงข่าวสื่อมวลชนทุกวัน ตั้งแต่วันที่ 2 กันยายน เป็นต้นไป จนถึงวันที่ 12 กันยายน 2556 เวลา 09.00 – 10.00 น. และจะมีการสรุปผลการแข่งขัน วันละ 2 รอบ ๆ แรก เวลา 14.00 น. และรอบที่ 2 เวลา 17.00 น. เพื่อจัดส่งให้สื่อมวลชนทุกแขนงประชาสัมพันธ์ในช่องทางต่างๆ ต่อไป
วิมล เร่งศึก/ข่าว
กมลพร คำนึง/บก.ข่าว
23 ส.ค. 56
ร้อยเอ็ดประชุมเตรียมความพร้อมคณะกรรมการฝ่ายประชาสัมพันธ์การแข่งขันกีฬาแห่งชาติ ครั้งที่ 42 รอบคัดเลือกตัวแทนภาค 3 “ร้อยเอ็ดเกมส์”
เมื่อช่วงเช้าวันที่ 23 ส.ค.2556 นายธัชชัย สีสุวรรณ รองผู้ว่าราชการจังหวัดร้อยเอ็ด เป็นประธานประชุมเตรียมความพร้อมคณะกรรมการฝ่ายประชาสัมพันธ์การแข่งขันกีฬาแห่งชาติ ครั้งที่ 42 รอบคัดเลือกตัวแทนภาค 3 "ร้อยเอ็ดเกมส์” ที่ห้องประชุมข้าวหอมมะลิ ชั้น 4 ศาลากลางจังหวัดร้อยเอ็ด โดยมีนายปราโมทย์ เอกก้านตรง ผอ.การกีฬาแห่งประเทศไทยจังหวัดร้อยเอ็ด กมลพร คำนึง ประชาสัมพันธ์จังหวัดร้อยเอ็ด ตลอดจนสื่อมวลชนจากทุกแขนงในจังหวัดร่วมเสนอความคิดเห็นจำนวนมาก
ทั้งนี้จังหวัดร้อยเอ็ดได้รับเกียรติจากการกีฬาแห่งประเทศไทย ให้เป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันกีฬาแห่งชาติ ครั้งที่ 42 รอบคัดเลือกตัวแทนภาค 3 "ร้อยเอ็ดเกมส์” ระหว่างวันที่ 2 – 12 กันยายน 2556 รวม 11 วัน ณ สนามกีฬากลางจังหวัดร้อยเอ็ด สนามมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด และอำเภอรอบนอก เพื่อคัดเลือกนักกีฬาไปร่วมการแข่งขันกีฬาแห่งชาติ ครั้งที่ 42 "สุวรรณภูมิเกมส์” ซึ่งจะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 4 – 15 มกราคม 2557 จังหวัดจึงได้ประชุมเตรียมความพร้อมร่วมกับสื่อแขนงต่างๆ ในการขอความร่วมมือทำข่าว เผยแพร่การแข่งขัน การถ่ายทอดสดทางเคเบิลทีวี และวิทยุกระจายเสียง การตั้งศูนย์เพลสเซ็นเตอร์ เพื่อสรุปผลการแข่งขันกีฬาชนิดต่างๆในแต่ละวันให้สื่อมวลชน และประชาชนทราบ เพื่อให้การรายงานข่าวเป็นไปด้วยความรวดเร็ว
ซึ่งในวันที่ 1 กันยายนนี้ เวลา 18.00 น. เป็นต้นไป ทางจังหวัดได้มีพิธีเลี้ยงต้อนรับคณะนักกีฬา สตาปโคช คณะกรรมการดำเนินการแข่งขัน ที่หอประชุมมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด จึงขอให้เจ้าของธุรกิจ ห้างร้าน โรงแรม ที่พัก ร้านอาหาร และประชาชนชาวร้อยเอ็ด ให้อำนวยความสะดวก ประชาสัมพันธ์ข้อมูลจังหวัด และให้บริการอย่างเป็นธรรมเพื่อภาพลักษณ์ที่ดีของทางจังหวัดด้วย ขณะเดียวกันผู้ที่สนใจจะสั่งซื้อเสื้อกีฬาร้อยเอ็ดเกมส์ สามารถหาซื้อได้ที่สำนักงานคลังจังหวัด ชั้น 1 ศาลากลางจังหวัดได้ในวันและเวลาราชการ และขอให้ร่วมกันแสดงพลังเจ้าภาพการแข่งขันกีฬาครั้งนี้โดยการสวมเสื้อสีส้มอย่างพร้อมเพียงกันทุกวันพฤหัสบดีด้วย
ทั้งนี้จังหวัดร้อยเอ็ดได้รับเกียรติจากการกีฬาแห่งประเทศไทย ให้เป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันกีฬาแห่งชาติ ครั้งที่ 42 รอบคัดเลือกตัวแทนภาค 3 "ร้อยเอ็ดเกมส์” ระหว่างวันที่ 2 – 12 กันยายน 2556 รวม 11 วัน ณ สนามกีฬากลางจังหวัดร้อยเอ็ด สนามมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด และอำเภอรอบนอก เพื่อคัดเลือกนักกีฬาไปร่วมการแข่งขันกีฬาแห่งชาติ ครั้งที่ 42 "สุวรรณภูมิเกมส์” ซึ่งจะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 4 – 15 มกราคม 2557 จังหวัดจึงได้ประชุมเตรียมความพร้อมร่วมกับสื่อแขนงต่างๆ ในการขอความร่วมมือทำข่าว เผยแพร่การแข่งขัน การถ่ายทอดสดทางเคเบิลทีวี และวิทยุกระจายเสียง การตั้งศูนย์เพลสเซ็นเตอร์ เพื่อสรุปผลการแข่งขันกีฬาชนิดต่างๆในแต่ละวันให้สื่อมวลชน และประชาชนทราบ เพื่อให้การรายงานข่าวเป็นไปด้วยความรวดเร็ว
ซึ่งในวันที่ 1 กันยายนนี้ เวลา 18.00 น. เป็นต้นไป ทางจังหวัดได้มีพิธีเลี้ยงต้อนรับคณะนักกีฬา สตาปโคช คณะกรรมการดำเนินการแข่งขัน ที่หอประชุมมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด จึงขอให้เจ้าของธุรกิจ ห้างร้าน โรงแรม ที่พัก ร้านอาหาร และประชาชนชาวร้อยเอ็ด ให้อำนวยความสะดวก ประชาสัมพันธ์ข้อมูลจังหวัด และให้บริการอย่างเป็นธรรมเพื่อภาพลักษณ์ที่ดีของทางจังหวัดด้วย ขณะเดียวกันผู้ที่สนใจจะสั่งซื้อเสื้อกีฬาร้อยเอ็ดเกมส์ สามารถหาซื้อได้ที่สำนักงานคลังจังหวัด ชั้น 1 ศาลากลางจังหวัดได้ในวันและเวลาราชการ และขอให้ร่วมกันแสดงพลังเจ้าภาพการแข่งขันกีฬาครั้งนี้โดยการสวมเสื้อสีส้มอย่างพร้อมเพียงกันทุกวันพฤหัสบดีด้วย
คมกฤช พวงศรีเคน ข่าว
กมลพร คำนึง บก.ข่าว
สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดร้อยเอ็ด
23 ส.ค. 56
ประธานคณะอนุกรรมาธิการติดตามองค์กรพัฒนาการเมืองและการมีส่วนร่วมของประชาชน วุฒิสภา ติดตามผลดำเนินงานตามโครงการพัฒนาศักยภาพคณะกรรมการหมู่บ้าน (กม.) ที่ร้อยเอ็ด
เมื่อช่วงเช้าวันนี้ 23 สิงหาคม 2556 นายกฤช อาทิตย์แก้ว ประธานคณะอนุกรรมาธิการติดตามองค์กรพัฒนาการเมืองและการมีส่วนร่วมของประชาชน วุฒิสภา และคณะติดตามผลดำเนินงานตามโครงการพัฒนาศักยภาพคณะกรรมการหมู่บ้าน (กม.) ณ ห้องประชุมพระมหาเจดีย์ชัยมงคล ศาลากลางจังหวัดร้อยเอ็ด โดยดำเนินงานของโรงเรียนนักปกครองท้องที่ประจำจังหวัดร้อยเอ็ด
นายสมเกียรติ รัตนเมธาธร ปลัดจังหวัดร้อยเอ็ด กล่าวว่า ตามที่กรมการปกครองร่วมกับคณะกรรมาธิการการพัฒนาการเมืองและการมีส่วนร่วมของประชาชน วุฒิสภา ได้กำหนดออกติดตามผลการดำเนินงานตามโครงการพัฒนาศักยภาพคณะกรรมการหมู่บ้าน (กม.) โดยการจัดตั้งโรงเรียนนักปกครองท้องที่ประจำจังหวัด (ร.ร.นปท.จ.) ประจำปีงบประมาณ 2556 ต่อเนื่องจากปีงบประมาณ 2555 เพื่อติดตามความก้าวหน้าผลการดำเนินงานและเสริมสร้างขวัญและกำลังใจ รวมทั้งเพื่อรับทราบปัญหาอุปสรรค และข้อเสนอแนะจากผู้ปฏิบัติงานในระดับพื้นที่นำไปเป็นข้อมูลประกอบการ พิจารณากำหนดแนวทางการขับเคลื่อนการดำเนินงานขอ กม. ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขี้น โดยกำหนดแผนติดตามฯ ในพื้นที่จังหวัดร้อยเอ็ด ระหว่างวันที่ 22 – 23 สิงหาคม 2556 จังหวัดร้อยเอ็ด ได้มีการบูรณาการการทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ
กิจกรรมการขับเคลื่อน กม. ของจังหวัดร้อยเอ็ด ได้แก่ การจัดตั้งกองทุนกลางพัฒนาหมู่บ้าน (จัดตั้งครบทุกหมู่บ้าน 2,189 หมู่บ้าน, ระเบียบของกองทุนกลางพัฒนาหมู่บ้าน, บัญชีเงินฝากธนาคาร), แผนพัฒนาหมู่บ้าน, กฎข้อบังคับของหมู่บ้าน, การขยายผลตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง, การป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด และการส่งเสริมวิถีชีวิตประชาธิปไตย ส่วนปัญหาอุปสรรค ได้แก่ โรงเรียนนักปกครองท้องที่ ยังขาดความพร้อม, กม. ขาดความรู้ความเข้าใจ และวามตระหนักในบทบาทและอำนาจหน้าที่, กม. ยังขาดงบประมาณสนับสนุนการดำเนินงาน และส่วนราชการยังไม่เห็นความสำคัญ หมู่บ้าน กม. 2,189 หมู่บ้าน, หมู่บ้าน อพป. 255 หมู่บ้าน, หมู่บ้าน A (ดีเด่น) 1,015 หมู่บ้าน, หมู่บ้าน B (ดีเด่น) 1,105 หมู่บ้าน, หมู่บ้าน C (เริ่มสร้างผลงาน) 69 หมู่บ้าน จำนวน กม. 41,000 คน โดยตำแหน่ง 25,387 คน ผู้ทรงคุณวุฒิ 15,613 คน
นายสมเกียรติ รัตนเมธาธร ปลัดจังหวัดร้อยเอ็ด กล่าวว่า ตามที่กรมการปกครองร่วมกับคณะกรรมาธิการการพัฒนาการเมืองและการมีส่วนร่วมของประชาชน วุฒิสภา ได้กำหนดออกติดตามผลการดำเนินงานตามโครงการพัฒนาศักยภาพคณะกรรมการหมู่บ้าน (กม.) โดยการจัดตั้งโรงเรียนนักปกครองท้องที่ประจำจังหวัด (ร.ร.นปท.จ.) ประจำปีงบประมาณ 2556 ต่อเนื่องจากปีงบประมาณ 2555 เพื่อติดตามความก้าวหน้าผลการดำเนินงานและเสริมสร้างขวัญและกำลังใจ รวมทั้งเพื่อรับทราบปัญหาอุปสรรค และข้อเสนอแนะจากผู้ปฏิบัติงานในระดับพื้นที่นำไปเป็นข้อมูลประกอบการ พิจารณากำหนดแนวทางการขับเคลื่อนการดำเนินงานขอ กม. ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขี้น โดยกำหนดแผนติดตามฯ ในพื้นที่จังหวัดร้อยเอ็ด ระหว่างวันที่ 22 – 23 สิงหาคม 2556 จังหวัดร้อยเอ็ด ได้มีการบูรณาการการทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ
กิจกรรมการขับเคลื่อน กม. ของจังหวัดร้อยเอ็ด ได้แก่ การจัดตั้งกองทุนกลางพัฒนาหมู่บ้าน (จัดตั้งครบทุกหมู่บ้าน 2,189 หมู่บ้าน, ระเบียบของกองทุนกลางพัฒนาหมู่บ้าน, บัญชีเงินฝากธนาคาร), แผนพัฒนาหมู่บ้าน, กฎข้อบังคับของหมู่บ้าน, การขยายผลตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง, การป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด และการส่งเสริมวิถีชีวิตประชาธิปไตย ส่วนปัญหาอุปสรรค ได้แก่ โรงเรียนนักปกครองท้องที่ ยังขาดความพร้อม, กม. ขาดความรู้ความเข้าใจ และวามตระหนักในบทบาทและอำนาจหน้าที่, กม. ยังขาดงบประมาณสนับสนุนการดำเนินงาน และส่วนราชการยังไม่เห็นความสำคัญ หมู่บ้าน กม. 2,189 หมู่บ้าน, หมู่บ้าน อพป. 255 หมู่บ้าน, หมู่บ้าน A (ดีเด่น) 1,015 หมู่บ้าน, หมู่บ้าน B (ดีเด่น) 1,105 หมู่บ้าน, หมู่บ้าน C (เริ่มสร้างผลงาน) 69 หมู่บ้าน จำนวน กม. 41,000 คน โดยตำแหน่ง 25,387 คน ผู้ทรงคุณวุฒิ 15,613 คน
คมกฤช พวงศรีเคน ข่าว
บุญมี เพ็งรัตน์ ภาพ
อนงค์นาถ ธุระพันธ์ พิมพ์
กมลพร คำนึง บก.ข่าว
สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดร้อยเอ็ด
23 ส.ค. 56
โรงเรียนชุมชนหนองแสงโนนสว่างและโรงเรียนหนองเรือ อ.หนองพอก แชมป์ “วิทยุการบินฯ มินิวอลเลย์บอล ชิงถ้วยพระราชทานสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี” ประจำปี 2556 ร้อยเอ็ด
วันนี้ เวลา 12.00 น. (23 ส.ค. 56) นายธัชชัย สีสุวรรณ รองผู้ราชการจังหวัดร้อยเอ็ด เป็นประธานมอบ ถ้วยพระราชทานสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี” ในการแข่งขัน "วิทยุการบินฯ มินิวอลเลย์บอล ถ้วยพระราชทานสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี” ประจำปี 2556 (รองคัดเลือกระดับจังหวัดร้อยเอ็ด) ที่ โรงยิมสนามกีฬากลางจังหวัดร้อยเอ็ด จากการสำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดร้อยเอ็ด ศูนย์การกีฬาแห่งประเทศไทยจังหวัดร้อยเอ็ด ร่วมกับบริษัทวิทยุการบินแห่งประเทศไทยจำกัด และสมาคมวอลเลย์บอลแห่งประเทศไทย ดำเนินการแข่งขันฯ "วิทยุการบิน มินิวอลเลย์บอล ถ้วยพระราชทาน สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี” ประจำปี 2556 สำหรับนักเรียนประถมศึกษา อายุไม่เกิน 12 ปี มีทีมเข้าร่วมแข่งขันทั้งหมด 10 ทีม แบ่งเป็นทีมชาย 4 ทีม ทีมหญิง 6 ทีม และดำเนินการจัดการแข่งขัน ระหว่างวันที่ 18 – 23 สิงหาคม 2556 เพื่อทีมชนะเลิศ ชาย – หญิง จังหวัดละ 2 ทีม เป็นตัวแทนจังหวัดเข้าร่วมการแข่งขันในภาคและระดับประเทศต่อไป ผลการแข่งขันปรากฏว่า โรงเรียนชุมชนหนองแสงโนนสว่าง อ.หนองพอก ได้แชมป์ประเภทหญิงและโรงเรียนหนองเรือ อ.หนองพอก ได้แชมป์ ประเภทชาย
จากนั้น นายธัชชัย สีสุวรรณ รองผู้ราชการจังหวัดร้อยเอ็ด ได้กล่าวว่าการแข่งขัน "วิทยุการบินฯ มินิวอลเลย์บอล ถ้วยพระราชทานสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี” ประจำปี 2556 (รองคัดเลือกระดับจังหวัดร้อยเอ็ด) กีฬานับเป็นกิจกรรมหนึ่งที่จะช่วยส่งเสริมให้เยาวชน ได้พัฒนาทางด้านสุขภาพด้านร่างกาย อารมณ์ สังคมและจิตใจ เป็นการปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรมความมีระเบียบ วินัยและมีน้ำใจนักกีฬา สามารถอยู่ร่วมกันในสังคมได้อย่างเหมาะสม ตลอดจดใช้กิจกรรมทางด้านกีฬาเป็นเครื่องมือเป็นสื่อในการลดปัญหาสังคม และส่งเสริมให้เยาวชน ทุกกลุ่ม ทุกเพศ ทุกวัย ทุกพื้นที่ ได้พัฒนาขีดความสามารถทางด้านกีฬาของตนเอง ต่อไป หลังจากนั้นรับชมดนตรีโปงลางเยาวชน จากโรงเรียนหนองแสงโนนสว่าง และได้มอบถ้วยรางวัลชนะเลิศ เหรียญรางวัลและเกียติบัตร ให้แก่นักกีฬาที่ชนะการแข่งขัน ตามลำดับ
จากนั้น นายธัชชัย สีสุวรรณ รองผู้ราชการจังหวัดร้อยเอ็ด ได้กล่าวว่าการแข่งขัน "วิทยุการบินฯ มินิวอลเลย์บอล ถ้วยพระราชทานสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี” ประจำปี 2556 (รองคัดเลือกระดับจังหวัดร้อยเอ็ด) กีฬานับเป็นกิจกรรมหนึ่งที่จะช่วยส่งเสริมให้เยาวชน ได้พัฒนาทางด้านสุขภาพด้านร่างกาย อารมณ์ สังคมและจิตใจ เป็นการปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรมความมีระเบียบ วินัยและมีน้ำใจนักกีฬา สามารถอยู่ร่วมกันในสังคมได้อย่างเหมาะสม ตลอดจดใช้กิจกรรมทางด้านกีฬาเป็นเครื่องมือเป็นสื่อในการลดปัญหาสังคม และส่งเสริมให้เยาวชน ทุกกลุ่ม ทุกเพศ ทุกวัย ทุกพื้นที่ ได้พัฒนาขีดความสามารถทางด้านกีฬาของตนเอง ต่อไป หลังจากนั้นรับชมดนตรีโปงลางเยาวชน จากโรงเรียนหนองแสงโนนสว่าง และได้มอบถ้วยรางวัลชนะเลิศ เหรียญรางวัลและเกียติบัตร ให้แก่นักกีฬาที่ชนะการแข่งขัน ตามลำดับ
คมกฤช พวงศรีเคน ข่าว/ภาพ
กมลพร คำนึง บก.ข่าว
สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดร้อยเอ็ด
23 ส.ค. 56
อำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย ร่วมกับ ธ.ก.ส.สร้างฝายชะลอน้ำ
นายบรรพต ยาฟอง นายอำเภอด่านซ้าย พร้อมด้วยนายวรชาติ สุทธิโมกข์ ผู้อำนวยการสำนักงาน ธ.ก.ส. จังหวัดเลย ร่วมกับหัวหน้าส่วนราชการ ทหารพราน ตชด.247 สภ.ด่านซ้าย ชาวบ้านชุมชนบ้านน้ำเย็น องค์การบริหารส่วนตำบลกกสะทอน ได้จัดทำโครงการ ธ.ก.ส.สร้างฝายชะลอน้ำ โดยได้สร้างฝายชะลอน้ำ ขนาดความกว้าง 1 เมตร ยาว 5 เมตร สูง 2 เมตร เพื่อเพิ่มความชุมชื้น ลดความรุนแรงของกระแสน้ำ และการลื่นไถลของหน้าดิน ชะลอและกักเก็บน้ำเพื่อใช้อุปโภค บริโภค เลี้ยงสัตว์และเกษตรกรรม ณ ห้วยกกสะทุงบ้านน้ำเย็น ตำบลกกสะทอน อำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย ซึ่งมีชุมชนที่ ได้รับประโยชน์ 240 ครัวเรือน และพื้นที่การเกษตร 1,500 ไร่ ผู้อำนวยการ ธ.ก.ส.จังหวัดเลย กล่าวว่าในปี 2556 ธ.ก.ส.ด่านซ้าย ได้จัดทำโครงการด้านความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ทั้งหมด 8 โครงการ ได้แก่ ฝายชะลอน้ำ 5 โครงการ พัฒนาแหล่งน้ำ 1 โครงการ และปลูกต้นไม้ เพื่อป้องกันการพังทลายของหน้าดิน 2 โครงการ เป็นเงินงบประมาณ 630,000 บาท และในภาพรวมของจังหวัดเลย ได้มีการจัดทำโครงการสร้างฝายชะลอน้ำ”ทั้งหมด 38 ฝาย โครงการพัฒนาแหล่งน้ำสุดสวยชุมชนสดใส 3 โครงการ และโครงการปลูกป่า เพื่อป้องกันการการพังทลายของหน้าดิน 4 โครงการ กระจายไปทุกอำเภอในจังหวัดเลยเป็นเงินจำนวน งบประมาณทั้งสิ้น 3,400,000 บาท ชุมชนที่ได้รับประโยชน์ 4,600 ครัวเรือน และพื้นที่เกษตรกรรมที่ได้รับประโยชน์ จำนวน 53,000 ไร่ โดยร่วมกับชุมชนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและอำเภอ ซึ่ง ธ.ก.ส. สำนักงานจังหวัดเลย ได้เริ่มจัดทำโครงการแล้วในระหว่างเดือนสิงหาคม 2556 - ธันวาคม2556 ธ.ก.ส. ยังมีโครงการที่เป็นการดำเนินงานด้านความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม เพื่อพัฒนาเกษตรกร ชุมชนและสังคมให้มีความมั่นคงและยั่งยืน ได้แก่ โครงการ ธ.ก.ส.อาสาพัฒนาชนบท โครงการธนาคารโรงเรียน โครงการธนาคารต้นไม้ โครงการ ธ.ก.ส. ร่วมใจสู้ภัยธรรมชาติและโครงการอื่นๆ ที่ชุมชนหรือส่วนงานต่าง ๆ เสนอเข้ามาเพื่อขอความช่วยเหลือในลำดับต่อไป
เจ้ากรม กรมกิจการชายแดนทหาร กองบัญชาการกองทัพไทย พร้อมด้วยคณะ ร่วมประชุมกองอำนวยการ ปฏิบัตินโยบายชายแดนไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน(กอ.นชท.) สัญจร ด้านกัมพูชา
พลโท วรวิทย์ ดรุณชู เจ้ากรมกิจการชายแดนทหาร กองบัญชาการกองทัพไทย พร้อมด้วยคณะ ประธานร่วมการ ประชุมกองอำนวยการปฏิบัตินโยบายชายแดนไทย กับประเทศเพื่อนบ้านสัญจรด้านกัมพูชา และมอบนโยบายให้แนว ทางการดำเนินงานฯ โดยมีนายพยม ธารีชาญ รองผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ และหัวหน้าส่วนราชการที่เกี่ยวข้องให้การต้อนรับ และเข้าร่วมประชุม
สำหรับการประชุมในครั้งนี้ เป็นบรรยายบทบาทแหน้าที่ของ กอ.นชท. : สลก.กอ.นชท การบรรยายสาถนาการณ์ทั่วไปของจังหวัดศรีสะเกษ การหารือ เสนอประเด็นปัญหา และการหาแนวทางแก้ไข โดยสรุป ปัญหาชาวต่างชาติลักลอบเข้ามาตัดไม้พะยูง, การละเมิด MOU ปี 43 และการไม่ปฏิบัติตามศาลโลก(ICJ), ปัญหาด้านทรัพยากรป่าไม้, สถานการณ์การเดินทางเข้า-ออก ณ จุดผ่านแดนถาวรช่องสะงำ, การลักลอบทำไม้พะยูงลงช่องคำผกา พลาญยาว และการขยายขอบเขตที่ดินทำกินออกนอกราชอาณาจักรไทย ในบริเวณช่องคำผกา พลาญบั้งไฟ ซำแต
หลังจากนั้น พลโท วรวิทย์ ดรุณชู เจ้ากรมกิจการชายแดนทหาร กองบัญชาการกองทัพไทย พร้อมด้วยคณะ ได้ลงพื้นที่บริเวณจุดผ่านแดนถาวร ชายแดนไทย -กัมพูชา ช่องสะงำ เพื่อตรวจติดตามความคืบหน้าของการพัฒนาตลาดเมืองใหม่ ช่องสะงำ เพื่อเตรียมความพร้อมรับการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ในปี 2558
สำหรับการประชุมในครั้งนี้ เป็นบรรยายบทบาทแหน้าที่ของ กอ.นชท. : สลก.กอ.นชท การบรรยายสาถนาการณ์ทั่วไปของจังหวัดศรีสะเกษ การหารือ เสนอประเด็นปัญหา และการหาแนวทางแก้ไข โดยสรุป ปัญหาชาวต่างชาติลักลอบเข้ามาตัดไม้พะยูง, การละเมิด MOU ปี 43 และการไม่ปฏิบัติตามศาลโลก(ICJ), ปัญหาด้านทรัพยากรป่าไม้, สถานการณ์การเดินทางเข้า-ออก ณ จุดผ่านแดนถาวรช่องสะงำ, การลักลอบทำไม้พะยูงลงช่องคำผกา พลาญยาว และการขยายขอบเขตที่ดินทำกินออกนอกราชอาณาจักรไทย ในบริเวณช่องคำผกา พลาญบั้งไฟ ซำแต
หลังจากนั้น พลโท วรวิทย์ ดรุณชู เจ้ากรมกิจการชายแดนทหาร กองบัญชาการกองทัพไทย พร้อมด้วยคณะ ได้ลงพื้นที่บริเวณจุดผ่านแดนถาวร ชายแดนไทย -กัมพูชา ช่องสะงำ เพื่อตรวจติดตามความคืบหน้าของการพัฒนาตลาดเมืองใหม่ ช่องสะงำ เพื่อเตรียมความพร้อมรับการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ในปี 2558
ศรีสะเกษ ออกหน่วยบริการทางสังคม ให้ประชาชนในถิ่นทุรกันดาร พร้อมลงนามบันทึกข้อตกลง เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิต ของคนพิการในพื้นที่จังหวัดศรีสะเกษ
เมื่อเวลา 10.00 น. วันที่ 23 ส.ค.56 ที่องค์การบริหารส่วนตำบลจานแสนไชย อำเภอห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ นายปรีชา สรวิสูตร ผู้ตรวจราชการกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดศรีสะเกษ นำเจ้าหน้าที่จาก สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดศรีสะเกษ พร้อมด้วยหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน ตลอดกลุ่มภาคภาคีเครือข่ายช่วยเหลือสังคม ลงพื้นที่ให้บริการประชาชนในถิ่นทุรกันดาร ตามโครงการออกหน่วยบริการทางสังคมในส่วนภูมิภาค ประจำปี 2556 ซึ่งเป็นหนึ่งในนโยบายของกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่งคงของมนุษย์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ประชาชนในพื้นที่ให้เข้าถึงหน่วยบริการของรัฐและเข้าถึงสิทธิประโยชน์ตามกฏหมาย อีกทั้งยังเป็นการเสริมสร้างทัศนคติในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร และการให้บริการของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ตลอดจนหน่วยราชการอื่นๆที่เกี่ยวข้อง โดยมีนายสนิท ขาวสะอาด รองผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ ให้การต้อนรับ นายทวีศักดิ์ สิงห์ดง พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดศรีสะเกษ กล่าวรายงานถึงวัตถุประสงค์ของการจัดโครงการ
โอกาสเดียวกันนี้ ผู้ตรวจราชการกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดศรีสะเกษ ได้มอบใบประกาศเกียรติคุณให้แก่บุคคลดีเด่น และองค์กรที่ให้การสนับสนุนการจัดงาน และร่วมลงนามบันทึกข้อตกลง ร่วมกับ นายสนิท ขาวสะอาด รองผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ และ นางนภา เศรษฐกร ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ เพื่อส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการในพื้นที่จังหวัดศรีสะเกษ พร้อมมอบรถสามล้อมือโยกและรถเข็นคนนั่งสำหรับคนพิการ กับผู้พิการผู้ยากไร้ ทั้งนี้ ผู้ตรวจราชการกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดศรีสะเกษ ยังได้เป็นประธานในการเปิดศูนย์ช่วยเหลือมทางสังคม จังหวัดศรีสะเกษ และปล่อยขบวนรถแรลลี่ 1300 OSCC ออกให้บริการประชาชนตามอำเภอต่างๆในพื้นที่จังหวัดศรีสะเกษ
นายทวีศักดิ์ กล่าวว่า กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่งคงของมนุษย์ มีนโยบายที่มุ่งสู่สังคมคุณภาพ บนพื้นฐานความรับผิดชอบร่วมกัน โดยให้มีการจัดระบบสวัสดิการให้แก่ประชาชนพัฒนาคนและสังคม ให้มีคุณภาพมีภูมิภาพมีภูมิคุ้มกันต่อการเปลี่ยนแปลง เสริมสร้างทุกภาคส่วนให้มีส่วนร่วมในงานด้านพัฒนาสังคม และให้ทุกภาคส่วนร่วมผลักดันให้เกิดสังคมสวัสดิการ เกิดการพัฒนาสังคมให้เข้มแข็ง พร้อมรับการเปลี่ยนของสังคมโลก นายทวีศักดิ์ กล่าวอีกว่า สำหรับกิจกรรม ภายในงานประกอบด้วย การจัดเวทีเสวนา ในหัวข้อเรื่อง การให้บริการผ่านระบบศูนย์ช่วยเหลือทางสังคม และการออกหน่วยของภาคเครือข่ายภาครัฐ และเอกชน กลุ่มงานสาธิต และกลุ่มงานวิชาการ เพื่อให้ความรู้ประชาชนเกี่ยวกับงานด้านพัฒนาสังคม ตลอดกลุ่มงานบริการด้านต่างๆเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชน อีกด้วย
โอกาสเดียวกันนี้ ผู้ตรวจราชการกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดศรีสะเกษ ได้มอบใบประกาศเกียรติคุณให้แก่บุคคลดีเด่น และองค์กรที่ให้การสนับสนุนการจัดงาน และร่วมลงนามบันทึกข้อตกลง ร่วมกับ นายสนิท ขาวสะอาด รองผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ และ นางนภา เศรษฐกร ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ เพื่อส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการในพื้นที่จังหวัดศรีสะเกษ พร้อมมอบรถสามล้อมือโยกและรถเข็นคนนั่งสำหรับคนพิการ กับผู้พิการผู้ยากไร้ ทั้งนี้ ผู้ตรวจราชการกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดศรีสะเกษ ยังได้เป็นประธานในการเปิดศูนย์ช่วยเหลือมทางสังคม จังหวัดศรีสะเกษ และปล่อยขบวนรถแรลลี่ 1300 OSCC ออกให้บริการประชาชนตามอำเภอต่างๆในพื้นที่จังหวัดศรีสะเกษ
นายทวีศักดิ์ กล่าวว่า กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่งคงของมนุษย์ มีนโยบายที่มุ่งสู่สังคมคุณภาพ บนพื้นฐานความรับผิดชอบร่วมกัน โดยให้มีการจัดระบบสวัสดิการให้แก่ประชาชนพัฒนาคนและสังคม ให้มีคุณภาพมีภูมิภาพมีภูมิคุ้มกันต่อการเปลี่ยนแปลง เสริมสร้างทุกภาคส่วนให้มีส่วนร่วมในงานด้านพัฒนาสังคม และให้ทุกภาคส่วนร่วมผลักดันให้เกิดสังคมสวัสดิการ เกิดการพัฒนาสังคมให้เข้มแข็ง พร้อมรับการเปลี่ยนของสังคมโลก นายทวีศักดิ์ กล่าวอีกว่า สำหรับกิจกรรม ภายในงานประกอบด้วย การจัดเวทีเสวนา ในหัวข้อเรื่อง การให้บริการผ่านระบบศูนย์ช่วยเหลือทางสังคม และการออกหน่วยของภาคเครือข่ายภาครัฐ และเอกชน กลุ่มงานสาธิต และกลุ่มงานวิชาการ เพื่อให้ความรู้ประชาชนเกี่ยวกับงานด้านพัฒนาสังคม ตลอดกลุ่มงานบริการด้านต่างๆเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชน อีกด้วย
คณะผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรี เขตตรวจราชการที่ 13 ผู้ตรวจราชการกระทรวงมหาดไทย ลงพื้นที่จังหวัดศรีสะเกษ เพื่อติดตามผลการดำเนินงานโครงการพัฒนาพื้นที่ช่องสะงำ(เมืองใหม่ช่องสะงำ) อำเภอภูสิงห์
นางเตือนใจ สินธุวณิก ผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรี เขตตรวจราชการที่ 13 ในฐานะหัวหน้าคณะผู้ตรวจราชการ พร้อมด้วย นายณัฐษ์พล วิเชียรเทิด ผู้ตรวจราชการกระทรวงมหาดไทย ลงพื้นที่จังหวัดศรีสะเกษ เพื่อตรวจติดตามราชการประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2556 แบบบูรณาการ โดยมีนายนายสนิท ขาวสะอาด รองผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ และหัวหน้าส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง ให้การต้อนรับพร้อมกับร่วมประชุม และสรุปความเป็นมา ผลการดำเนินงาน ปัญหาอุปสรรคและแนวทางในการแก้ไขปัญหา
สำหรับการตรวจราชการฯในครั้งนี้ เป็นการประชุมร่วมกับหัวหน้าส่วนราชการที่เกี่ยวข้องถึงผลการดำเนินงานโครงการพัฒนาพื้นที่ช่องสะงำ(เมืองใหม่ช่องสะงำ) โดยสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน ได้มีหนังสือกราบเรียนนายกรัฐมนตรีเพื่อรายงานผลการตรวจสอบการใช้งบประมาณโครงการพัฒนาพื้นที่ช่องสะงำ(เมืองใหม่ช่องสะงำ) อำเภอภูสิงห์ จังหวัดศรีสะเกษ และสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีได้นำเรียนรองนายรัฐมนตรี(นายยุคล ลิ้มแหลมทอง)ในฐานะที่ได้รับอบหมายให้กำกับและติดตามการปฏิบัติราชการในภูมิภาค เขตตรวจราชการที่ 13เพื่อพิจารณาตรวจสอบรายงานข้อเท็จจริง และแนวทางการแก้ไขปัญหา และรองนายกรัฐมนตรีได้มอบหมายให้ผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรี เขตตรวจราชการที่ 13 รับไปตรวจสอบและประสานงานกับจังหวัดศรีสะเกษ เพื่อรายงานข้อเท็จจริง ปัญหา อุปสรรค เพื่อรองนายกรัฐมนตรีจะได้พิจารณาดำเนินการต่อไป หลังจากนั้น นางเตือนใจ สินธุวณิก ผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรี เขตตรวจราชการที่ 13 ในฐานะหัวหน้าคณะผู้ตรวจราชการ พร้อมด้วย นายณัฐษ์พล วิเชียรเทิด ผู้ตรวจราชการกระทรวงมหาดไทย ได้ลงพื้นที่จุดผ่านแดนถาวร ไทย –กัมพูชา ช่องสะงำ อำเภอภูสิงห์ จังหวัดศรีสะเกษ เพื่อหารือถึงแนวทางในการพัฒนาตลาดเมืองใหม่ ช่องสะงำ และรับทราบถึงปัญหาต่างๆในพื้นที่
สำหรับการตรวจราชการฯในครั้งนี้ เป็นการประชุมร่วมกับหัวหน้าส่วนราชการที่เกี่ยวข้องถึงผลการดำเนินงานโครงการพัฒนาพื้นที่ช่องสะงำ(เมืองใหม่ช่องสะงำ) โดยสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน ได้มีหนังสือกราบเรียนนายกรัฐมนตรีเพื่อรายงานผลการตรวจสอบการใช้งบประมาณโครงการพัฒนาพื้นที่ช่องสะงำ(เมืองใหม่ช่องสะงำ) อำเภอภูสิงห์ จังหวัดศรีสะเกษ และสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีได้นำเรียนรองนายรัฐมนตรี(นายยุคล ลิ้มแหลมทอง)ในฐานะที่ได้รับอบหมายให้กำกับและติดตามการปฏิบัติราชการในภูมิภาค เขตตรวจราชการที่ 13เพื่อพิจารณาตรวจสอบรายงานข้อเท็จจริง และแนวทางการแก้ไขปัญหา และรองนายกรัฐมนตรีได้มอบหมายให้ผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรี เขตตรวจราชการที่ 13 รับไปตรวจสอบและประสานงานกับจังหวัดศรีสะเกษ เพื่อรายงานข้อเท็จจริง ปัญหา อุปสรรค เพื่อรองนายกรัฐมนตรีจะได้พิจารณาดำเนินการต่อไป หลังจากนั้น นางเตือนใจ สินธุวณิก ผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรี เขตตรวจราชการที่ 13 ในฐานะหัวหน้าคณะผู้ตรวจราชการ พร้อมด้วย นายณัฐษ์พล วิเชียรเทิด ผู้ตรวจราชการกระทรวงมหาดไทย ได้ลงพื้นที่จุดผ่านแดนถาวร ไทย –กัมพูชา ช่องสะงำ อำเภอภูสิงห์ จังหวัดศรีสะเกษ เพื่อหารือถึงแนวทางในการพัฒนาตลาดเมืองใหม่ ช่องสะงำ และรับทราบถึงปัญหาต่างๆในพื้นที่
ศรีสะเกษ จัดประกวดสร้างสรรค์สิ่งประดิษฐ์จากวัสดุเหลือใช้ ชิงถ้วยประทานพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีรัศมิ์ พระวรชายาในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร ในระดับจังหวัด ประจำปี 2556
เมื่อเวลา 13.00 น. วันที่ 23 ส.ค.56 ที่ห้องประชุมอาคารเฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา โรงเรียนสตรีสิริเกศ จังหวัดศรีสะเกษ นายปรีชาญ สามารถ ผู้อำนวยการสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จังหวัดศรีสะเกษ เป็นประธานเปิดงานการประกวดสร้างสรรค์สิ่งประดิษฐ์จากวัสดุเหลือใช้ ชิงถ้วยประทานพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีรัศมิ์ พระวรชายาในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร ในระดับจังหวัด ประจำปี 2556 ซึ่งสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดศรีสะเกษ ร่วมกับโรงเรียนสตรีสิริเกศในฐานะศูนย์สิ่งแวดล้อมศึกษาจังหวัดศรีสะเกษ และเครือข่ายอาสาสมัครพิทักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมหมู่บ้าน(ทสม.) จังหวัดศรีสะเกษ ร่วมกันจัดขึ้น เพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจให้เยาวชนและประชาชน ได้ทราบถึงแนวทางในการลดปริมาณขยะ และการนำขยะหรือของเหลือใช้ไปดัดแปลงให้เกิดประโยชน์ต่อไป โดยมีสถานศึกษา และภาคประชาชนส่งผลงานเข้าร่วมประกวด จำนวนทั้งสิ้น 51 ทีม แยกเป็น ประเภทสิ่งประดิษฐ์ของใช้ภายในบ้านจากวัสดุเหลือใช้ ระดับประถมศึกษา 10 ทีม ระดับมัธยมศึกษา/อาชีวศึกษา(ปวช) 19 ทีม ระดับอาชีวศึกษา(ปวส)อุดมศึกษา 3 ทีม ประเภทเครื่องแต่งกายจากวัสดุเหลือใช้(มัธยมศึกษา/อาชีวศึกษา/อุดมศึกษา/ประชาชนทั่วไป) 13 ทีม และประเภทสิ่งประดิษฐ์จากวัสดุเหลือใช้สู้ภัยพิบัติ(มัธยมศึกษา/อาชีวศึกษา/อุดมศึกษา/ประชาชนทั่วไป) 6 ทีม นายปรีชาญ กล่าวว่า สำหรับการจัดโครงการในครั้งนี้ เป็นไปตามพระราชดำริของพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีรัศมิ์ พระวรชายาในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ในคราวเสด็จตรวจเยี่ยมและติดตามผลการดำเนินโครงการสายใยรักแห่งครอบครัว ปี 2551 กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม จึงได้จัดทำ โครงการประกวดสร้างสรรค์สิงประดิษฐ์จากวัสดุเหลือใช้ขึ้น โดยให้มีการประกวดในระดับจังหวัด แล้วส่งผลงานทีชนะเลิศระดับจังหวัดในแต่ละประเภทเข้าไปประกวดในระดับประเทศต่อไป
ผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรี เขต 13 ประชุมสัมมนาสร้างเครือข่ายภาคประชาชนของคณะกรมการธรรมาภิบาลจังหวัดอุบลราชธานี
วันที่ ๒๓ สิงหาคม ๒๕๕๖ณ ห้องราชพฤกษ์ โรงแรมเนวาด้า อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี นางเตือนใจ สินธุวณิก ผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรี เขต 13 เป็นประธานเปิดการประชุมสัมมนาสร้างเครือข่ายภาคประชาชนของคณะกรมการธรรมาภิบาลจังหวัดอุบลราชธานี โดยคณะกรรมการธรรมาภิบาลจังหวัดอุบลราชธานี จัดประชุมสัมมนาการสร้างเครือข่ายภาคประชาชน เพื่อเป็นการสร้างเครือข่ายภาคประชาชนและกำหนดแนวทางในการดำเนินงานร่วมกันระหว่างคณะกรรมการธรรมาภิบาลจังหวัดและเครือข่ายภาคประชาชน ให้สามารถเป็นกลไกในการสอดส่องหน่วยงานของรัฐและเจ้าหน้าที่ของรัฐในจังหวัด โดยการเสริมสร้างความรู้ให้กับเครือข่ายให้มีความเข็มแข็ง และเปิดโอกาสให้เครือข่ายได้เข้ามีส่วนร่วมสอดส่องและสนับสนุนการดำเนินงานของคณะกรรมการธรรมาภิบาลจังหวัด อีกทั้งเพื่อเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับบทบาท อำนาจหน้าที่ และแนวทางการปฏิบัติงานของคณะกรรมการธรรมาภิบาลจังหวัดในการสอดส่อง เสนอแนะแนวทางปฏิบัติ และการส่งเสริมตามหลักคุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาลเพื่อการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีของหน่วยงานภาครัฐ รวมทั้งดำเนินการเพื่อปลูกจิตสำนึก และสร้างความตระหนักด้านธรรมาภิบาลให้กับข้าราชการ เจ้าหน้าที่ของรัฐในจังหวัด รวมทั้งประชาชนทั่วไป ได้เปิดโอกาสให้ภาคประชาชนได้เข้ามามีส่วนร่วม ในการรับทราบนโยบายการปฏิบัติงาน ร่วมเสนอแนะการปฏิบัติ ร่วมแสดงความคิดเห็น รวมทั้งการตรวจสอบ สอดส่องการทำงานของหน่วยงานและเจ้าหน้าที่ของรัฐ ให้ปฏิบัติหน้าที่โดยคำนึงถึงผลประโยชน์ของประชาชนและประเทศชาติเป็นสำคัญ ด้วยความโปร่งใส สุจริต ยุติธรรม และตรวจสอบได้ ซึ่งการที่จะให้ประชาชนทุกคน ได้เข้ามามีส่วนร่วมกับหน่วยงานภาครัฐ เช่นนั้น ย่อมไม่สามารถปฏิบัติได้อย่างทั่วถึง ในการประชุมสัมมนาการสร้างเครือข่ายภาคประชาชนของคณะกรรมการธรรมาภิบาลจังหวัดอุบลราชธานี โดยมีกลุ่มเป้าหมายประชาชนในพื้นที่ที่สนใจในภารกิจของคณะกรรมการธรรมาภิบาลจังหวัด ร่วมเป็นเครือข่ายภาคประชาชนของคณะกรมการธรรมาภิบาลจังหวัดอุบลราชธานีเข้าร่วมสัมมนาในครั้งนี้
ศาลจังหวัดอุบลราชธานี และ เรือนจำกลางอุบลราชธานี ลงนามบันทึกความร่วมมือว่าด้วย “การสมานฉันท์และสันติวิธีในชั้นฝากขัง” เพื่อเพิ่มพูนประสิทธิภาพในการอำนวยความยุติธรรมให้แก่ประชาชนและสังคมด้วยความถูกต้อง รวดเร็ว เป็นธรรมและทั่วถึง
(23 ส.ค.56) โดยมีนางสมลักษณ์ ยอดรัก ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลจังหวัดอุบลราชธานี และนายชัยโรจน์ สินธุพุฒิพงศ์ ผู้บัญชาการเรือนจำกลางอุบลราชธานี ได้ลงนามบันทึกความร่วมมือว่าด้วย "การสมานฉันท์และสันติวิธีในชั้นฝากขัง” ที่ เรือนจำกลางอุบลราชธานี โดยมี อัยการศาลจังหวัด หัวหน้าศาลแขวง หัวหน้าศาลเยาวชนและครอบครัว หัวหน้าส่วนราชการ และผู้ต้องขัง ร่วมเป็นสักขีพยานกันเป็นจำนวนมาก การลงนามความมือทั้ง 2 หน่วยงานในครั้งนี้ เพื่อ เป็นการสร้างความรู้ ความเข้าใจ แนวทางปฏิบัติ สิทธิประโยชน์ของผู้ต้องขังที่พึงจะได้รับ และขั้นตอนการดำเนินคดีของศาลตั้งแต่เริ่มต้นไปจนสิ้นสุดกระบวนการ อีกทั้งยังเป็นการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น สร้างองค์ความรู้ ความเข้าใจระหว่างศาลจังหวัดอุบลราชธานีกับเรือนจำกลางอุบลราชธานีอีกด้วย นอกจากนี้ ยังเป็นการเพิ่มพูนประสิทธิภาพในการอำนวยความยุติธรรมแก่ผู้ต้องขัง และผู้ต้องขังจะต้องได้รับความถูกต้อง รวดเร็ว และเป็นธรรม นับว่าเป็นการสร้างจิตสำนึกและความรับผิดชอบในการกระทำของจำเลยอันมีต่อสังคมส่วนรวมให้เกิดกระบวนการยุติธรรมทางเลือกมาใช้ในชั้นศาล อย่างไรก็ตาม นับว่าเป็นการนำกระบวนการทางเลือกเชิงสมานฉันท์มาใช้ในการพัฒนาระบบงานกระบวนการยุติธรรมของศาลจังหวัดอุบลราชธานี ให้มีประสิทธิภาพและมีความต่อเนื่องเพื่อประโยชน์สูงสุดของประชาชนและสังคมต่อไป
สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ จัดกิจกรรมเวทีชุมชนปรมาณูเพื่อสันติ เพื่อเผยแพร่ความรู้ และสร้างการมีส่วนร่วมด้านความปลอดภัยจากการใช้พลังงานปรมาณูให้แก่ประชาชน
วันที่ 23 สิงหาคม 56 ที่โรงแรมลายทอง จังหวัดอุบลราชธานี นายเกรียงเดช วัฒนวงษ์สิงห์ ปลัดจังหวัดอุบลราชธานี เป็นประธานในพิธีเปิด กิจกรรมเวทีชุมชนปรมาณูเพื่อสันติ ปีงบประมาณ 2556 สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ ซึ่งสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นหน่วยงานหลักในการกำกับดูแล ตรวจสอบ และควบคุมการใช้พลังงานนิวเคลียร์และรังสี ภายในประเทศไทย และเป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่ในการเผยแพร่ ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับความปลอดภัย ในการใช้พลังงานปรมาณูให้เป็นที่แพร่หลาย และสร้างการมีส่วนร่วม ด้านความปลอดภัยจากการใช้พลังงานปรมาณูให้แก่ประชาชน โดยผ่านกิจกรรมเวทีชุมชนปรมาณูเพื่อสันติ ซึ่งกิจกรรมดังกล่าว จะทำให้ประชาชนส่วนใหญ่ มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ และความปลอดภัยในการใช้พลังงานปรมาณูมากขึ้น จะส่งผลให้เกิดทัศนคติที่ถูกต้อง และมีความเชื่อมั่นต่อสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ ซึ่งในปีงบประมาณ 2556 สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ มีแผนการจัดกิจกรรมเปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ได้แสดงความคิดเห็นผ่านกิจกรรมชุมชนปรมาณูเพื่อสันติ เพื่อนำไปสู่การผลักดัน ให้มีหารดำเนินงานตามภารกิจอย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีแผนการลงพื้นที่จัดกิจกรรม คลอบคลุมทุกภาคทั่วประเทศ โดยครั้งแรกจัดไปแล้วที่ภาคใต้ จังหวัดนครศรีธรรมราช ครั้งที่สองภาคเหนือที่จังหวัดแพร่ และครั้งนี้เป็นครั้งที่สาม ภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่ จังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งได้รับเกียรติจาก อ.วิทิต เกษคุปต์ ผู้เชี่ยวชาญด้านพลังงานปรมาณู และคุณสุรีรัตน์ แสงสุดา นักรังสีการแพทย์ ชำนาญการพิเศษโรงพยาบาลราชวิถี เป็นวิทยากรมาให้ความรู้เกี่ยวกับพลังงานปรมาณ
จักรกฤษณ์ มาลาสาย/ข่าว
ทองปัก ทวีสุข/ภาพ
รมต.สาธารณสุข ลงพื้นที่สุรินทร์ดูความพร้อมศูนย์กลางด้านสาธารณสุขเข้าสู่ประชาคมอาเซียน
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ลงพื้นที่ เพื่อดูความพร้อมสถานบริการสุขภาพไทย เข้าสู่ประชาคมอาเซียน เครือข่ายภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยเฉพาะโรงพยาบาลที่อยู่ติดกับพื้นที่ชายแดนประเทศเพื่อนบ้าน
วันที่ 23 ส.ค.56 เวลา 09.30 น. นายแพทย์ประดิษฐ สินธวนรงค์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข พร้อมคณะ ทั้ง ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ปลัดและรองปลัดกระทรวงสาธารณสุข เป็นต้น เดินทางมาที่โรงพยาบาลสุรินทร์ โดยมีนายวิเชียร จันทรโณทัย รองผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์ พร้อมด้วยนายสอาด วีระเจริญ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดสุรินทร์ นายแพทย์ธงชัย ตรีวิบูลย์วณิชย์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลสุรินทร์ และข้าราชการ เจ้าหน้าที่ กระทรวงสาธารณสุขในพื้นที่ ร่วมให้การต้อนรับ โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ได้เป็นประธานเปิดสัมมนาผู้บริหาร บุคลากรทางการแพทย์ เจ้าหน้าที่สาธารณสุขในสถานบริการสุขภาพภาครัฐและเอกชน ที่อยู่ในพื้นที่จังหวัดสุรินทร์ บุรีรัมย์ ศรีสะเกษ อุบลราชธานี จำนวน 370 คน และผู้แทนด้านสาธารณสุขจากประเทศกัมพูชา โดยมีทางด้านผู้แทนจากจังหวัดพนมเปญ เสียมเรียบ อุดรมีชัยและพระตะบอง รวมจำนวน 30 คน เข้าร่วมรับฟังและนำเสนอข้อมูล ทั้งนี้การสัมมนาก็เพื่อที่จะชี้แจงนโยบายและเตรียมความพร้อมสถานบริการสุขภาพเข้าสู่ประชาคมอาเซียนในปี 2558 นี้ โดยกำหนดให้โรงพยาบาลทุกระดับตามแนวตะเข็บชายแดน ต้องผ่าน 4 เกณฑ์มาตรฐานที่จำเป็น ได้แก่ ความปลอดภัย ประสิทธิภาพมาตรฐานเครื่องมือแพทย์ มีระบบการให้ความรู้ประชาชนในการป้องกันการเจ็บป่วยและมาตรฐานด้านการรักษาพยาบาลซึ่งขณะนี้ประเทศไทยผ่านเกณฑ์แล้ว 152 แห่ง
สำหรับการเตรียมความพร้อมก่อนเข้าสู่ประชาคมอาเซียนในอีก 2 ปี ข้างหน้า เป็นนโยบายเร่งด่วนของรัฐบาล โดยมีเป้าหมายในการพัฒนาคุณภาพสินค้าและบริการ เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทย โดยเฉพาะการบริการทางการแพทย์ของไทยได้รับการยอมรับว่ามีศักยภาพสูงในกลุ่มประเทศอาเซียน รวมทั้งการบริการส่งเสริมสุขภาพ เช่น สปา นวดแผนไทยและธุรกิจความงาม และในด้านการบริการการแพทย์ระหว่างไทยกับกัมพูชา กระทรวงสาธารณสุขได้มอบหมายให้โรงพยาบาลสุรินทร์เป็นศูนย์กลางทางการแพทย์เพราะมีความพร้อมผ่านเกณฑ์มาตรฐานทั้งในด้านอาคารสถานที่ แพทย์พยาบาล ในการดูแลการเจ็บป่วย ความสร้างระบบให้ความรู้ด้านสุขภาพแก่ประชาชน และคาดว่าในอนาคตจะมีชาวกัมพูชาเข้ามารักษาพยาบาลในจังหวัดสุรินทร์มากขึ้น
วันที่ 23 ส.ค.56 เวลา 09.30 น. นายแพทย์ประดิษฐ สินธวนรงค์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข พร้อมคณะ ทั้ง ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ปลัดและรองปลัดกระทรวงสาธารณสุข เป็นต้น เดินทางมาที่โรงพยาบาลสุรินทร์ โดยมีนายวิเชียร จันทรโณทัย รองผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์ พร้อมด้วยนายสอาด วีระเจริญ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดสุรินทร์ นายแพทย์ธงชัย ตรีวิบูลย์วณิชย์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลสุรินทร์ และข้าราชการ เจ้าหน้าที่ กระทรวงสาธารณสุขในพื้นที่ ร่วมให้การต้อนรับ โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ได้เป็นประธานเปิดสัมมนาผู้บริหาร บุคลากรทางการแพทย์ เจ้าหน้าที่สาธารณสุขในสถานบริการสุขภาพภาครัฐและเอกชน ที่อยู่ในพื้นที่จังหวัดสุรินทร์ บุรีรัมย์ ศรีสะเกษ อุบลราชธานี จำนวน 370 คน และผู้แทนด้านสาธารณสุขจากประเทศกัมพูชา โดยมีทางด้านผู้แทนจากจังหวัดพนมเปญ เสียมเรียบ อุดรมีชัยและพระตะบอง รวมจำนวน 30 คน เข้าร่วมรับฟังและนำเสนอข้อมูล ทั้งนี้การสัมมนาก็เพื่อที่จะชี้แจงนโยบายและเตรียมความพร้อมสถานบริการสุขภาพเข้าสู่ประชาคมอาเซียนในปี 2558 นี้ โดยกำหนดให้โรงพยาบาลทุกระดับตามแนวตะเข็บชายแดน ต้องผ่าน 4 เกณฑ์มาตรฐานที่จำเป็น ได้แก่ ความปลอดภัย ประสิทธิภาพมาตรฐานเครื่องมือแพทย์ มีระบบการให้ความรู้ประชาชนในการป้องกันการเจ็บป่วยและมาตรฐานด้านการรักษาพยาบาลซึ่งขณะนี้ประเทศไทยผ่านเกณฑ์แล้ว 152 แห่ง
สำหรับการเตรียมความพร้อมก่อนเข้าสู่ประชาคมอาเซียนในอีก 2 ปี ข้างหน้า เป็นนโยบายเร่งด่วนของรัฐบาล โดยมีเป้าหมายในการพัฒนาคุณภาพสินค้าและบริการ เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทย โดยเฉพาะการบริการทางการแพทย์ของไทยได้รับการยอมรับว่ามีศักยภาพสูงในกลุ่มประเทศอาเซียน รวมทั้งการบริการส่งเสริมสุขภาพ เช่น สปา นวดแผนไทยและธุรกิจความงาม และในด้านการบริการการแพทย์ระหว่างไทยกับกัมพูชา กระทรวงสาธารณสุขได้มอบหมายให้โรงพยาบาลสุรินทร์เป็นศูนย์กลางทางการแพทย์เพราะมีความพร้อมผ่านเกณฑ์มาตรฐานทั้งในด้านอาคารสถานที่ แพทย์พยาบาล ในการดูแลการเจ็บป่วย ความสร้างระบบให้ความรู้ด้านสุขภาพแก่ประชาชน และคาดว่าในอนาคตจะมีชาวกัมพูชาเข้ามารักษาพยาบาลในจังหวัดสุรินทร์มากขึ้น
ส.ปชส.สุรินทร์ กำชัย วันสุข ข่าว / อนุชา หาญนึก ภาพ
เทศบาลศีขรภูมิรณรงค์ป้องกันกำจัดยุงลายพาหะโรคไข้เลือดออก
วันที่ 22 สิงหาคม 2556 เทศบาลตำบลศีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์ โดย นายกบรรจง พิชญาสาทิตย์ ร่วมกับโรงเรียนในเขตเทศบาลศรีขรภูมิ และพี่น้องประชาชน อสม. เดินรณรงค์ป้องกันไข้เลือดออก โดยการกำจัดยุงลาย ทำลายแหล่งน้ำที่ขัง อย่าให้ยุงเกิด ปิดฝาโอ่ง เก็บน้ำให้มิดชิด ปิดความเสี่ยงของชีวิตจากยุงลาย เปลี่ยนน้ำในแจก้น ถังเก็บน้ำในห้องน้ำทุกๆ 7 วัน ตัดวงจรลูกน้ำที่จะกลายเป็นยุงลาย ปล่อยปลา กินลูกน้ำในอ่างบัว และภาชนะใส่น้ำขนาดใหญ่ ปรับปรุง สภาพแวดล้อมเก็บทำลายแหล่งน้ำขังรอบบ้านทุกชนิดไม่ให้ยุงมีที่วางไข่ ปกป้องคนที่รักจากยุงลาย ทำได้ด้วยมือคุณ ซึ่งในปัจจุบันเป็นหน้าฝนทำให้มีน้ำขังตามภาชนะเป็นที่วางไข่ยุงลายได้อย่างดี ทางจังหวัดสุรินทร์มีผู้ป่วยไข้เลือดออกประมาณ 1,200 กว่าราย เสียชีวิตแล้ว 3 ราย ในปีนี้คาดว่าไข้เลือดออกจะระบาดหนักกว่าทุกๆปีที่ผ่านมา ทางเทศบาลตำบลศีขรภูมิจึงได้รณรงค์ให้ประชาชนตื่นตัวในเรื่องนี้ อาการหลังได้รับเชื้อจากยุงลาย 5-8 วัน คลื่นไส้อาเจียนเบื่ออาหาร หน้าแดงอาจพบจุดเลือดที่ผิวหนัง มักไม่ไอ ไม่มีน้ำมูก กดเจ็บชายโครงด้านขวา โรคนี้ยังไม่มียารักษาโดยเฉพาะ ต้องรักษาตามอาการเมื่อมีไข้ให้กินยาลดไข้ตามแพทย์สั่ง เช็ดตัว ให้อาหารอ่อนๆ ดื่มน้ำเกลือแร่ หรือน้ำผลไม้ให้ร่างกายสดชื่น หากอาการไม่ดีขึ้นต้องพาไปหาแพทย์โดยเร็ว ณ โรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุด
ศูนย์ประสานงาน สป.สชและกลุ่มคนรักหลักประกันสุขภาพร้อยแก่นสารสินธุ์ แถลงข่าวให้รัฐบาลลดความเหลื่อมล้ำสร้างความเป็นธรรมระบบสุขภาพมาตรฐานเดียวรองรับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
วันนี้ เวลา 11.30 น. (22 สิงหาคม 2556) ศูนย์ประสานงานหลักประกันสุขภาพประชาชน กลุ่มคนรักหลักประกันสุขภาพร้อยแก่นสารสินธุ์ ประกอบด้วย นางอาภรณ์ อะทาโส ผู้ประสานงานหลักประกันสุขภาพประชาชนจังหวัดร้อยเอ็ด,นายปฏิวัติ เฉลิมชาติ ผู้ประสานงานหลักประกันสุขภาพประชาชนจังหวัดขอนแก่น,นางประคำ ศรีสมชัย ผู้ประสานงานหลักประกันสุขภาพประชาชนจังหวัด จังหวัดกาฬสินธุ์, นายสังคม จริงไทสง ผู้ประสานงานหลักประกันสุขภาพประชาชนจังหวัดมหาสารคาม และกลุ่มคนรักหลักประกันสุขภาพร้อยแก่นสารสินธุ์ เปิดแถลงข่าวยื่นข้อเสนอต่อรัฐบาลเพื่อขับเคลื่อนระบบสุขภาพในพื้นที่ 4 จังหวัด (กาฬสินธุ์, ขอนแก่น, มหาสารคาม และร้อยเอ็ด) ณ โรงแรมแรมสาเกตนคร อ.เมือง จ.ร้อยเอ็ด ว่า ขอให้หน่วยงานด้านสุขภาพในพื้นที่เร่งแก้ไขปัญหาการขาดแคลนแพทย์ บุคลากรทางการแพทย์ เพื่อให้การบริการประชาชนในพื้นที่ได้อย่างทั่วถึงและเท่าเทียม ลดการรอคิวรักษาพยาบาล และขอให้กระทรวงสาธารณสุขทบทวนนโยบายจ่ายค่าตอบแทนตามภาระงาน (P4P) เพราะเป็นการเพิ่มภาระให้กับบุคลากรทางการแพทย์ในการเก็บข้อมูลการรักษาพยาบาล และยังไม่สะท้อนให้เกิดการดำเนินงานเพื่อสร้างเสริมสุขภาพและการรักษาพยาบาลอย่างแท้จริง, คณะอนุกรรมการควบคุมคุณภาพและมาตรฐานบริการสาธารณสุขระดับจังหวัด ซึ่งมีหน้าที่ในการตรวจสอบติดตาม ประเมินผลการให้บริการของโรงพยาบาลในพื้นที่ จะต้องทำหน้าที่อย่างจริงจัง โดยเฉพาะอนุกรรมการที่มาจากภาคประชาชน และต้องทำงานเชื่อมประสานกับคณะอนุกรรมการพิจารณาวินิจฉัยคำร้องขอรับเงินช่วยเหลือเบื้องต้นระดับจังหวัด (มาตรา 41) เพื่อร่วมกันพัฒนาคุณภาพบริการโรงพยาบาล
ศูนย์ประสานงานหลักประกันสุขภาพประชาชน, หน่วยรับเรื่องอื่นที่เป็นอิสระจากผู้ถูกร้องเรียนตามมาตรา 50(5) พ.ร.บ. หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545 และ กลุ่มคนรักหลักประกันสุขภาพ 4 จังหวัด ร้อยแก่นสารสินธุ์ พร้อมยืนยันบทบาทของภาคประชาชนในการร่วมสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ลดความขัดแย้งระหว่างบุคลากรทางการแพทย์และโรงพยาบาล เร่งสร้างระบบสุขภาพมาตรฐานเดียว ที่เท่าเทียม ทั่วถึง และได้มาตรฐาน
ทางกลุ่มยืนยันที่จะให้รัฐบาลและกองทุนสวัสดิการรักษาพยาบาลของรัฐ ทั้ง 3 กองทุน คือ กองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ กองทุนประกันสังคม และกองทุนสวัสดิการรักษาพยาบาลของข้าราชการ รวมเป็นระบบเดียวกัน เพื่อให้เกิดการบริหารงบประมาณอย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงการเพิ่มงบประมาณด้านสุขภาพอย่างเหมาะสมเพื่อก้าวเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน และติดตาม ตรวจสอบการดำเนินงานของรัฐบาล รัฐมนตรีกระทรวงสาธารณสุข และคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ในการบริหารระบบหลักประกันสุขภาพให้เป็นไปตามเจตนารมณ์และกฎหมายที่ประชาชนได้ร่วมสร้างมาตั้งแต่ต้น
ศูนย์ประสานงานหลักประกันสุขภาพประชาชน, หน่วยรับเรื่องอื่นที่เป็นอิสระจากผู้ถูกร้องเรียนตามมาตรา 50(5) พ.ร.บ. หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545 และ กลุ่มคนรักหลักประกันสุขภาพ 4 จังหวัด ร้อยแก่นสารสินธุ์ พร้อมยืนยันบทบาทของภาคประชาชนในการร่วมสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ลดความขัดแย้งระหว่างบุคลากรทางการแพทย์และโรงพยาบาล เร่งสร้างระบบสุขภาพมาตรฐานเดียว ที่เท่าเทียม ทั่วถึง และได้มาตรฐาน
ทางกลุ่มยืนยันที่จะให้รัฐบาลและกองทุนสวัสดิการรักษาพยาบาลของรัฐ ทั้ง 3 กองทุน คือ กองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ กองทุนประกันสังคม และกองทุนสวัสดิการรักษาพยาบาลของข้าราชการ รวมเป็นระบบเดียวกัน เพื่อให้เกิดการบริหารงบประมาณอย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงการเพิ่มงบประมาณด้านสุขภาพอย่างเหมาะสมเพื่อก้าวเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน และติดตาม ตรวจสอบการดำเนินงานของรัฐบาล รัฐมนตรีกระทรวงสาธารณสุข และคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ในการบริหารระบบหลักประกันสุขภาพให้เป็นไปตามเจตนารมณ์และกฎหมายที่ประชาชนได้ร่วมสร้างมาตั้งแต่ต้น
คมกฤช พวงศรีเคน ข่าว/ภาพ
กมลพร คำนึง บก.ข่าว
สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดร้อยเอ็ด
043-527117,086-2200865
ร้อยเอ็ด ออกให้บริการหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ พอ.สว. แ ละจังหวัดเคลื่อนที่บำบัดทุกข์บำรุงสุขบำรุงสุขให้แก่ประชาชน ครั้งที่ 14 ประจำปี 2556
เมื่อช่วงเช้าวันนี้ 22 ส.ค.2556 นายธัชชัย สีสุวรรณ รองผู้ว่าราชการจังหวัดร้อยเอ็ด ได้เป็นประธานเปิดงานจังหวัดร้อยเอ็ด ร่วมกับหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ พอ.สว. เพื่อออกให้บริการบำบัดทุกข์บำรุงสุขบำรุงสุขให้แก่ประชาชนที่อยู่ห่างไกล ในถิ่นทุรกันดารด้านการรักษาพยาบาล การส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค ซึ่งสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าหญิงจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์ ได้พระราชทานพระอนุญาตให้จังหวัดร้อยเอ็ด เป็นจังหวัด แพทย์อาสาสมเด็จพระศรีนครินทร์ บรมราชชนนี (ลำดับที่ 53) ได้ออก ให้บริการ ครั้งที่ 14 ประจำปี 2556 ที่ วัดราษฎร์สามัคคี บ้านมะยาง ต.เมืองน้อย อ.ธวัธบุรี จ.ร้อยเอ็ด โดยมีส่วนราชการในจังหวัดร้อยเอ็ด หัวหน้าส่วนราชการ นำข้าราชการเจ้าหน้าที่ ที่เกี่ยวข้องออกบริการประชาชนในพื้นที่ ประกอบด้วย การมอบจักยานแก่นักเรียน จำนวน 5 คัน ถุงยังชีพแก่ผู้สูงอายุ จำนวน 30 ถุง มอบชุดนักเรียนแก่เด็กนักเรียน การตรวจรักษาโรคทั่วไป การบริการด้านทันตกรรม การบริการด้านจักษุแพทย์ การให้คำปรึกษาด้านกฎหมาย การจัดทำทะเบียนราษฎร์ การทำบัตรประจำตัวประชาชน การจำหน่ายสินค้าราคาโรงงานจากส่วนสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัด เครื่องอุปโภค-บริโภค ราคาถูก จากสำนักงานพาณิชย์จังหวัด การให้คำแนะนำด้านอาชีพ โดยส่วนราชการสังกัดกระทรวงแรงงาน และบริการอื่นๆ ซึ่งมีประชาชน – เยาวชน เข้ารับบริการจำนวนมาก
บ้านมะยาง หมู่ 4 อยู่ห่างจากอำเภอธวัชบุรี 14 กิโลเมตร ห่างจากตัวจังหวัด 24 กิโลเมตร มี 77 หลังคาเรือน ประชากร 428 คน มีโรงเรียน 1 แห่ง วัด 1 แห่ง และอยู่ห่างจากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพของตำบล 4 กิโลเมตร ด้วยความตระหนักในปัญหาดังกล่าวอำเภอธวัชบุรีและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรณรงค์ควบคุมโรค โดยจัดกิจกรรมให้ความรู้ผู้นำชุมชน สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล อสม.และประชาชนอย่างต่อเนื่อง
บ้านมะยาง หมู่ 4 อยู่ห่างจากอำเภอธวัชบุรี 14 กิโลเมตร ห่างจากตัวจังหวัด 24 กิโลเมตร มี 77 หลังคาเรือน ประชากร 428 คน มีโรงเรียน 1 แห่ง วัด 1 แห่ง และอยู่ห่างจากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพของตำบล 4 กิโลเมตร ด้วยความตระหนักในปัญหาดังกล่าวอำเภอธวัชบุรีและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรณรงค์ควบคุมโรค โดยจัดกิจกรรมให้ความรู้ผู้นำชุมชน สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล อสม.และประชาชนอย่างต่อเนื่อง
คมกฤช พวงศรีเคน ข่าว/ ภาพ
กมลพร คำนึง บก.ข่าว
สำนักงานประชาสำพันธ์จังหวัดร้อยเอ็ด
043-527117 ,086-2200865
สพม.19 เตรียมความพร้อมสู่ประชาคมอาเซียน
นายไพโรจน์ พรมสอน รองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 19 เป็นประธานเปิดการประชุมอบรมการเตรียมความพร้อมของโรงเรียนและบุคลากรทางการศึกษา ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 19 เลย-หนองบัวลำภู กว่า 200 คน ณ หอประชุมโรงเรียนเลยอนุกูลวิทยา จังหวัดเลย นายสงวนวุฒิชัย ภาโนชิต ผู้อำนวยการโรงเรียนเลยอนุกูลวิทยา ประธานศูนย์พัฒนาอาเซียนศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 19 กล่าว่า จากการที่ศูนย์พัฒนาอาเซียนศึกษาได้เล็งเห็นว่าการเตรียมความพร้อมของโรงเรียนและบุคลากรทางการศึกษา เพื่อเตรียมความพร้อมสู่ประชาคมอาเซียน จำเป็นอย่างยิ่งที่จะได้รับรู้ถึงความเคลื่อนไหว และการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา ตลอดจนการปรับตัวของโรงเรียน ครู และนักเรียนให้ทันสมัย ทันเหตุการณ์ จึงจัดการอบรมขึ้น ซึ่งเป็นไปตามโครงสร้างหลักสูตรนโยบายของรัฐบาล โดยมีรองผู้อำนวยการ ครูหัวหน้ากลุ่มสาระสังคมศึกษา ภาษาต่างประกาศ วิทยาศาสตร์การงานพื้นฐานอาชีพและเทคโนโลยี และครูผู้สนใจ โรงเรียนละ 5 คนรวมกว่า 200 คน ได้รับความอนุเคราะห์จากบริษัท สำนักพิมพ์อักษรเจริญทัศน์ มอบให้อาจารย์ เอกรินทร์ สี่มหาศาล ผู้ชำนาญการทางด้านอาเซียน มาเป็นวิทยากรและยังได้รับความอนุเคราะห์เอกสารประกอบการอบรมอีกด้วย ด้านนางสาวหทัยชนก วังวร (น้องไข่มุก) และนางสาวกิติมา พาดางาม (น้องบิว) นักเรียนชั้น ม.6/1 บอกว่าดีใจที่ครั้งนี้เป็นโอกาสของเพื่อน ๆ ในห้อง ม.6/1 ได้มาจัดบูธนิทรรศการอาเซียน ซึ่งครูจะหมุนเวียนให้แต่ละระดับชั้น และห้องต่าง ๆ เข้าร่วมกิจกรรม และวันนี้ได้อยู่ประจำบูธประเทศอินโดนีเซีย ได้แต่งกายประจำชาติได้ความรู้และนำเสนอเกี่ยวกับประเทศอินโดนีเซีย
สพม.19 พัฒนาศักยภาพเครือข่ายโรงเรียนในสังกัด
นายสมเจษฎ์ ศรีสมจักร์ ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 19 เป็นประธาน เปิดการอบรมเชิงปฏิบัติการการพัฒนาศักยภาพเครือข่ายประชาสัมพันธ์โรงเรียนในสังกัด จังหวัดเลย-หนองบัวลำภู โดยมุ่งหวังให้ผลงานครู นักเรียนได้เป็นที่รู้จักต่อสาธารณชน และเป็นการกระตุ้นให้โรงเรียนเร่งพัฒนาผลงานการศึกษาสู่ความเป็นเลิศไปพร้อม ๆ กัน นายกฤตภาส ดวงไพชุม หัวหน้ากลุ่มงานประชาสัมพันธ์ สพม.19 เปิดเผยว่า การเผยแพร่ข่าวสารของโรงเรียน ผลงานของครู และนักเรียนเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่งในการสร้างความเข้าใจกับผู้ปกครองนักเรียน ชุมชน และบุคคลต่าง ๆ ทุกฝ่าย กลุ่มงานประชาสัมพันธ์ กลุ่มอำนวยการ สพม.19 จึงได้จัดการอบรมเชิงปฏิบัติการเครือข่ายประชาสัมพันธ์โรงเรียน และกิจกรรมสื่อมวลชนสัมพันธ์ ตามโครงการแผนรณรงค์ประชาสัมพันธ์ สพม.19 ประจำปี 2556 เพื่อพัฒนาศักยภาพครูผู้รับผิดชอบงานประชาสัมพันธ์โรงเรียน ผู้แทนจากทุกกลุ่มงานของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 19 ครูผู้รับผิดชอบงานประชาสัมพันธ์ของโรงเรียนอื่น ซึ่งเป็นเครือข่ายประชาสัมพันธ์ รวมทั้งนักประชาสัมพันธ์จากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 1 เขต 2 เขต 3 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองบัวลำภู เขต 1 เขต 2 รวมผู้เข้าการอบรมทั้งหมดจำนวน 130 คน การอบรมได้กำหนดให้มีการบรรยายและการฝึกปฏิบัติการหลักสูตรเข้มข้น จากผู้ทรงคุณวุฒิ เช่น ดร.ประสงค์ เอี่ยมเวียง รองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 19 บรรยายพิเศษในหัวข้อ "อะไร ทำไมต้องประชาสัมพันธ์โรงเรียน” นายฉัตรเฉลิม หัตถกรรม ประชาสัมพันธ์จังหวัดเลย บรรยายพิเศษในหัวข้อ"รู้ลึกเรื่องหลักการประชาสัมพันธ์” ผู้แทนสื่อมวลชนจากจังหวัดเลยและจังหวัดหนองบัวลำภู เป็นวิทยากรบรรยายและฝึกปฏิบัติการเรื่อง "การถ่ายภาพ การเขียนข่าว การส่งข่าวเพื่อการประชาสัมพันธ์” นายอนุชา ศิลาเกษ ผู้อำนวยการโรงเรียนธาตุพิทยาคม และนายหัสสา ดอนหงษา ผู้อำนวยการโรงเรียนเฉลิมพระเกียรติพระศรีนครินทร์ หนองบัวลำภู เป็นวิทยากรบรรยายและฝึกปฏิบัติการเรื่อง "พิธีกร พิธีการอย่างมืออาชีพ” และกลุ่มงานประชาสัมพันธ์ พร้อมด้วยกลุ่มงานเทคโนโลยีทางการศึกษา บรรยายและฝึกปฏิบัติ ให้ความรู้เรื่อง "กลยุทธ์สร้างสรรค์งานประชาสัมพันธ์ ให้ประสบความสำเร็จ”
มรภ.เลย อบรมเชิงปฏิบัติการภาษาและวัฒนธรรมประเทศเพื่อนบ้าน
ผศ.ดร.เชาว์ อินใย รองอธิการบดีฝ่ายบริหาร เป็นประธานพิธีเปิดอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่องการรับรู้ภาษาและวัฒนธรรมประเทศเพื่อนบ้านเพื่อเตรียมความพร้อมการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน แก่นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาภายในจังหวัดเลยและจังหวัดใกล้เคียง ณ ห้องประชุมสัมมนา ชั้น 2 ศูนย์คอมพิวเตอร์และ ศูนย์ภาษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย ในปี 2558 จะมีการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนอย่างเต็มตัว ประเทศไทยเป็นหนึ่งในสมาชิกจำเป็นที่ต้องปรับเปลี่ยน เพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนในปี 2558 โดยเฉพาะบทบาททางด้านศึกษา ถือเป็นบทบาทสำคัญที่มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย เป็นสถาบันอุดมศึกษาที่มี ที่ตั้งอยู่ในจังหวัดเลย พื้นที่ติดกับประเทศเพื่อนบ้าน และที่ผ่านมามหาวิทยาลัยราชภัฏเลย ทำหน้าที่ในการจัดการศึกษาให้บัณฑิตเป็นที่ต้องการ และมีความสอดคล้องกับท้องถิ่น เมื่อมีการเข้าร่วมกลุ่มประเทศอาเซียน จำเป็นที่มหาวิทยาลัยต้องตระหนักถึงการเป็นสร้างความเข้าใจและให้ความรู้เกี่ยวกับกลุ่มประเทศอาเซียน ทั้งทางด้านภาษา และวัฒนธรรม โดยเฉพาะในการใช้ภาษา เพื่อการสื่อสารที่จะก่อให้เกิดความเข้าใจตรงกันและอยู่ร่วมกันด้วยความเข้าใจ
ดร.พงษ์เทพ บุญเรือง รองผู้อำนวยการสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ กล่าวว่า การจัดการอบรบเชิงปฏิบัติการครั้งนี้ เพื่อสร้างความตระหนักและการรับรู้ภาษาและวัฒนธรรม ความเข้าใจอันดีต่อประเทศเพื่อนบ้าน เป็นการสร้างมุมมองและทัศนคติที่ดี โดยวิทยากรจากประเทศเจ้าของภาษาโดยตรง มีภาษาลาว ภาษาเวียดนาม และภาษาอังกฤษ พร้อมทั้งได้มีการทดสอบและแข่งขัน เพื่อฝึกทักษะการฟังและการสนทนา สรุปใจความสำคัญจากการอบรม นักเรียนได้ฝึกการทำงานเป็นทีมและยอมรับความคิดเห็นซึ่งกันและกัน เป็นเรื่องน่ายินดีที่โรงเรียนมัธยมทั้งในจังหวัดเลยและจังหวัดใกล้เคียง ให้ความสนใจส่งนักเรียนเข้ารวมอบรม 25 โรงเรียน โรงเรียนละ 5 คน และหลังการอบรมจัดให้มีการแข่งขันตอบคำถามที่ได้รับฟังจากการบรรยาย
ดร.พงษ์เทพ บุญเรือง รองผู้อำนวยการสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ กล่าวว่า การจัดการอบรบเชิงปฏิบัติการครั้งนี้ เพื่อสร้างความตระหนักและการรับรู้ภาษาและวัฒนธรรม ความเข้าใจอันดีต่อประเทศเพื่อนบ้าน เป็นการสร้างมุมมองและทัศนคติที่ดี โดยวิทยากรจากประเทศเจ้าของภาษาโดยตรง มีภาษาลาว ภาษาเวียดนาม และภาษาอังกฤษ พร้อมทั้งได้มีการทดสอบและแข่งขัน เพื่อฝึกทักษะการฟังและการสนทนา สรุปใจความสำคัญจากการอบรม นักเรียนได้ฝึกการทำงานเป็นทีมและยอมรับความคิดเห็นซึ่งกันและกัน เป็นเรื่องน่ายินดีที่โรงเรียนมัธยมทั้งในจังหวัดเลยและจังหวัดใกล้เคียง ให้ความสนใจส่งนักเรียนเข้ารวมอบรม 25 โรงเรียน โรงเรียนละ 5 คน และหลังการอบรมจัดให้มีการแข่งขันตอบคำถามที่ได้รับฟังจากการบรรยาย
องคมนตรี ฝากถึง เจ้าหน้าที่รัฐ ช่วยดูแลรักษาป่าไม้ บริเวณชายแดนไทย-กัมพูชา อำเภอภูสิงห์ จังหวัดศรีสะเกษ
เมื่อเวลา 11.00 น. วันที่ 21 ส.ค.56 นายอำพล เสนาณรงค์ องคมนตรี และคณะ ลงพื้นที่จังหวัดศรีสะเกษ เพื่อตรวจติดตามการดำเนินงานของศูนย์พัฒนาการเกษตรภูสิงห์อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดศรีสะเกษ และมอบนโยบายให้กับข้าราชการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเกี่ยวกับการอนุรักษ์ ป่าไม้ และธรรมชาติ โดยมีนายประทีป กีรติเรขา ผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ พร้อมด้วย นายสวัสดิ์ สมสะอาด ผู้อำนวยการศูนย์พัฒนาเกษตรภูสิงห์ อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ให้การต้อนรับ พร้อมกล่าวรายงานถึงการดำเนินงานโครงการ และปัญหาการตัดไม้ ในพื้นที่ชายแดน ไทย-กัมพูชา อำเภอภูสิงห์ จังหวัดศรีสะเกษ นายอำพล กล่าวว่า ตนขอฝากถึงเจ้าหน้าที่ ในส่วนที่รับผิดชอบเรื่องการดูแลป่า ตลอดจนประชาชนในพื้นที่ตามแนวชายแดนไทย –กัมพูชา เขตอำเภอภูสิงห์ จังหวัดศรีสะเกษ โดยเฉพาะการสร้างจิตสำนึก ในการที่ให้ประชาชน สามารถร่วมอยู่กับป่า และธรรมชาติ ให้ได้ ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญ เพราะหากไม่มีการปลูกฝังในเรื่องนี้ การทำลายธรรมชาติ ก็จะเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งในจุดนี้เป็นความรับผิดชอบของกรมป่าไม้ ที่จะต้องแก้ไขปัญหาเพื่อพี่น้องประชาชน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องดิน น้ำ และเรื่องของการอยู่อาศัย ซึ่งในอดีตที่ผ่านมา บริเวณอำเภอภูสิงห์ จังหวัดศรีสะเกษ เป็นพื้นที่ป่าทั้งหมด ประชาชนที่เข้ามาอยู่อาศัย จึงประสบกับปัญหา เรื่องของพื้นที่อยู่อาศัย และการทับซ้อนของพื้นที่ป่า ซึ่งเป็นเรื่องที่หน่วยงานภาครัฐ ต้องเร่งดำเนินการแก้ไขปัญหาในจุดนี้ เพื่อไม่ให้เกิดความขัดแย้งระหว่าง เจ้าหน้าที่ กับ ประชาชน มากยิ่งขึ้น ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า หลังจากที่ องคมนตรี ได้มอบนโยบาย ให้กับหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องในพื้นที่จังหวัดศรีสะเกษ เสร็จสิ้น ได้เดินทางไปเยี่ยมชมงานด้านการพัฒนาป่าไม้ เห็ดระโงกเหลืองในไม้วงศ์ยางและมันป่าในระบบเกษตร และ เยี่ยมชมแปลงเกษตรกร ผู้ประสบความสำเร็จจากการปลูกมะนาวนอกฤดู ที่บ้านสนามสามัคคี อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ
อ่างเก็บน้ำห้วยสะโตนแก้ปัญหาภัยแล้งอำเภอตาพระยา
เมื่อเวลา 10.00 น.ของวันนี้ที่หอประชุมอำเภอตาพระยา จ.สระแก้ว นายวรศักดิ์ ศิริภาพ ผู้อำนวยการโครงการชลประธานจังหวัดสระแก้ว โดยมีนายยุทธนา นุชนารถ นายอำเภอตาพระยา นำกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้นำท้องถิ่น พ่อค้าประชาชนประมาณ 500 คน เข้าร่วมแสดงความคิดเห็นขาดแคลนน้ำในพื้นที่อำเภอตาพระยา โดยเฉพาะตำบลทัพราช ทัพเสด็จ ทัพไทย ตำบลตาพระยา หลังทั้งสองโครงการอ่างเก็บน้ำห้วยสะโตนซึ่งถูกระงับไว้ตั้งแต่ปี 2548 เนื่องจากอยู่ในเขตพื้นที่อุทยานแห่งชาติตาพระยาซึ่งถูกจัดให้เป็นพื้นที่มรดกโลก
นายยุทธนา นุชนารถ นายอำเภอตาพระยา กล่าวว่า อำเภอตาพระยา มีพื้นที่ 883 ตารางกิโลเมตร มีประชากรทั้งสิ้น 51,186 คน ชาย 25,726 คน เป็นหญิง 25,465 คน มีครัวเรือนทั้งสิ้น 13,045 หลังคาเรือน มีพื้นที่ทำการเกษตร จำนวน 233,326 ไร่ ประชากรประกอบอาชีพเกษตรกรรม6,604 ครัวเรือน พืชเศรษฐกิจหลักเป็นข้าวนาปีและนาปรัง 181,373 ไร่ คิดเป็น 78 % ปลูกมันสำปะหลัง 37,732 ไร่ ในปัจจุบันมีรายได้เฉลี่ยต่อคน 40,146 บาท ซึ่งอยู่ในระดับยากจน เนื่องจากผลผลิตมีคุณภาพต่ำ
นายโกเมล เพชรโกมล กำนันตำบลทัพราช อ.ตาพระยา กล่าวว่า เนื่องจากพื้นที่แล้งชำซากของอำเภอตาพระยาเป็นแบบนี้ทุกหน้าฤดูกาลทำนาฝนก็เริ่มทิ้งช่วงแล้ว จากนั้นข้าวที่หว่านไว้เริ่มเฉลาเริ่มจะตายฝนก็ตกลงน้ำก็ท่วมมาช้ำเติมอีก ที่ผ่านมาก็ทำแบบนี้รอจากน้ำธรรมชาติอย่างเดียว เนื่องจากพื้นที่เราไม่มีที่กักเก็บน้ำเพื่อทำการเกษตร สำหรับนายอำเภอคนใหม่นี้ก็สนใจเรื่องแหล่งน้ำทำการเกษตรได้ทำหนังสือถึงหน่วยงานที่เกี่ยว โครงการผันน้ำจากห้วยพระปรงลงสู่อ่างเก็บน้ำห้วยยางนั้น ทางชลประทานได้ศึกษาความเหมาะสมและผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม จึงสรุปได้ว่าเป็นโครงการที่เหมาะสมและคุ้มค่าต่อการลงทุน ขณะที่อุทยานแห่งชาติตาพระยา ได้อนุญาตให้ใช้พื้นที่บางส่วนแล้วและศึกษาโครงการลำพระสะโตน หลังจากในปี 2548 อุทยานแห่งชาติตาพระยา ได้ถูกประกาศเป็นมรดกโลก ทำให้โครงการสร้างเขื่อนดังกล่าวต้องถูกยกเลิกไป ซึ่งปัจจุบันอ่างเก็บน้ำห้วยยาง มีความจุ 60 ล้านลูกบาศก์เมตร แต่มีน้ำเพียง 20-35 ล้านลูกบาศก์เมตรเท่านั้น เนื่องจากอำเภอตาพระยาเป็นพื้นที่ที่มีฝนตกน้อยเพียง 900-1,100 มิลลิเมตรเท่านั้น ที่มาวันนี้เพื่ออยากได้เขื่อนลำสะโตน
นายพรพงศ์ เสาวพล นายก อบต.ทัพราช อ.ตาพระยา กล่าวว่า "โครงการอ่างเก็บน้ำห้วยสะโตนจะเป็นแหล่งเก็บกักน้ำไว้ก่อนไหลลงสู่ประเทศกัมพูชาทั้งหมด ซึ่งอ่างดังกล่าวจะสามารถเก็บกักน้ำได้ประมาณ 22 ล้านลูกบาศก์เมตร สามารถส่งน้ำให้ชาวบ้านได้เพาะปลูก 8,000 ไร่ในฤดูฝน และ 4,700 ไร่ในฤดูแล้ง โดยจะใช้งบประมาณในการก่อสร้าง 900 ล้านบาท ใช้ระยะเวลาก่อสร้าง 4 ปี ส่วนการออกแบบนั้นแล้วเสร็จ 100% อย่างไรก็ดีจะต้องมีการผลักดันโครงการต่อไป เนื่องจากหากไม่ดำเนินการใดๆ อำเภอตาพระยา ที่ปกติมีฝนตกน้อยอยู่แล้วก็จะต้องประสบกับความแห้งแล้งซ้ำซากต่อไป
นายยุทธนา นุชนารถ นายอำเภอตาพระยา กล่าวว่า อำเภอตาพระยา มีพื้นที่ 883 ตารางกิโลเมตร มีประชากรทั้งสิ้น 51,186 คน ชาย 25,726 คน เป็นหญิง 25,465 คน มีครัวเรือนทั้งสิ้น 13,045 หลังคาเรือน มีพื้นที่ทำการเกษตร จำนวน 233,326 ไร่ ประชากรประกอบอาชีพเกษตรกรรม6,604 ครัวเรือน พืชเศรษฐกิจหลักเป็นข้าวนาปีและนาปรัง 181,373 ไร่ คิดเป็น 78 % ปลูกมันสำปะหลัง 37,732 ไร่ ในปัจจุบันมีรายได้เฉลี่ยต่อคน 40,146 บาท ซึ่งอยู่ในระดับยากจน เนื่องจากผลผลิตมีคุณภาพต่ำ
นายโกเมล เพชรโกมล กำนันตำบลทัพราช อ.ตาพระยา กล่าวว่า เนื่องจากพื้นที่แล้งชำซากของอำเภอตาพระยาเป็นแบบนี้ทุกหน้าฤดูกาลทำนาฝนก็เริ่มทิ้งช่วงแล้ว จากนั้นข้าวที่หว่านไว้เริ่มเฉลาเริ่มจะตายฝนก็ตกลงน้ำก็ท่วมมาช้ำเติมอีก ที่ผ่านมาก็ทำแบบนี้รอจากน้ำธรรมชาติอย่างเดียว เนื่องจากพื้นที่เราไม่มีที่กักเก็บน้ำเพื่อทำการเกษตร สำหรับนายอำเภอคนใหม่นี้ก็สนใจเรื่องแหล่งน้ำทำการเกษตรได้ทำหนังสือถึงหน่วยงานที่เกี่ยว โครงการผันน้ำจากห้วยพระปรงลงสู่อ่างเก็บน้ำห้วยยางนั้น ทางชลประทานได้ศึกษาความเหมาะสมและผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม จึงสรุปได้ว่าเป็นโครงการที่เหมาะสมและคุ้มค่าต่อการลงทุน ขณะที่อุทยานแห่งชาติตาพระยา ได้อนุญาตให้ใช้พื้นที่บางส่วนแล้วและศึกษาโครงการลำพระสะโตน หลังจากในปี 2548 อุทยานแห่งชาติตาพระยา ได้ถูกประกาศเป็นมรดกโลก ทำให้โครงการสร้างเขื่อนดังกล่าวต้องถูกยกเลิกไป ซึ่งปัจจุบันอ่างเก็บน้ำห้วยยาง มีความจุ 60 ล้านลูกบาศก์เมตร แต่มีน้ำเพียง 20-35 ล้านลูกบาศก์เมตรเท่านั้น เนื่องจากอำเภอตาพระยาเป็นพื้นที่ที่มีฝนตกน้อยเพียง 900-1,100 มิลลิเมตรเท่านั้น ที่มาวันนี้เพื่ออยากได้เขื่อนลำสะโตน
นายพรพงศ์ เสาวพล นายก อบต.ทัพราช อ.ตาพระยา กล่าวว่า "โครงการอ่างเก็บน้ำห้วยสะโตนจะเป็นแหล่งเก็บกักน้ำไว้ก่อนไหลลงสู่ประเทศกัมพูชาทั้งหมด ซึ่งอ่างดังกล่าวจะสามารถเก็บกักน้ำได้ประมาณ 22 ล้านลูกบาศก์เมตร สามารถส่งน้ำให้ชาวบ้านได้เพาะปลูก 8,000 ไร่ในฤดูฝน และ 4,700 ไร่ในฤดูแล้ง โดยจะใช้งบประมาณในการก่อสร้าง 900 ล้านบาท ใช้ระยะเวลาก่อสร้าง 4 ปี ส่วนการออกแบบนั้นแล้วเสร็จ 100% อย่างไรก็ดีจะต้องมีการผลักดันโครงการต่อไป เนื่องจากหากไม่ดำเนินการใดๆ อำเภอตาพระยา ที่ปกติมีฝนตกน้อยอยู่แล้วก็จะต้องประสบกับความแห้งแล้งซ้ำซากต่อไป
จังหวัดสระแก้ว ประกวดสร้างสรรค์สิ่งประดิษฐ์จากวัสดุเหลือใช้ ประจำปี 2556
(21 ส.ค. 56) จังหวัดสระแก้ว โดยสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดสระแก้ว จัดกิจกรรมประกวดสร้างสรรค์สิ่งประดิษฐ์จากวัสดุเหลือใช้ประจำปี 2556 มีคณะกรรมการจากหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องร่วมเป็นคณะกรรมการตัดสิน โดยมีสถานศึกษาและชุมชนหลายแห่งในจังหวัดสระแก้วส่งผลงานเข้าร่วมประกวดกว่า 30 ผลงาน ณ ห้องประชุมศูนย์ฝึกและพัฒนา อาชีพราษฎรไทยบริเวณชายแดนส ระแก้ว จังหวัดสระแก้ว โดยนายวินัย วิทยานุกูล รองผู้ว่าราชการังหวัดสระแก้ว เป็นประธานในพิธีเปิดโรงการพร้อมเยี่ยมชมนิทรรศการผลงาน ทั้งนี้ นายพุฒิพงศ์ สุรพฤกษ์ ผู้อำนวยการสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดสระแก้ว กล่าวว่า โครงการนี้กรมส่งเสริมคุณภาพและสิ่งแวดล้อม ได้สนับสนุนให้สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในแต่ละจังหวัดขึ้น เพื่อเป็นการมุ่งเน้นให้เยาวชนได้แสดงความคิดสร้างสรรค์ รู้จักนำวัสดุเหลือใช้กลับมาใช้ประโยชน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพและเป็นประโยชน์ต่อสิ่งแวดล้อม เป็นการลดปริมาณขยะที่ต้องกำจัด
สำหรับการประกวดสิ่งประดิษฐ์จากวัสดุเหลือใช้ แบ่งการประกวดออกเป็น 3 ระดับ ได้แก่ การประกวดประเภทสิ่งประดิษฐ์จากของใช้ภายในบ้านจากวัสดุเหลือใช้ ในระดับประถมศึกษา ระดับมัธยมศึกษา/อาชีวศึกษา (ปวช.) ระดับอาชีวศึกษา (ปวส.)/อุดมศึกษาการประกวดประเภทเครื่องแต่งกายจากวัสดุเหลือใช้ กลุ่มเป้าหมาย คือ นักเรียน/นักศึกษา/ประชาชนทั่วไป และการประกวดสิ่งประดิษฐ์จากวัสดุเหลือใช้สู้ภัยพิบัติ กลุ่มเป้าหมาย คือ นักเรียน/นักศึกษา/ประชาชนทั่วไป
ผลการตัดสินการประกวดสร้างสรรค์สิ่งประดิษฐ์จากวัสดุเห ลือใช้ ดังนี้
1.ประเภทเครื่องแต่งกาย จากวัสดุเหลือใช้ ส่ง 10 ผลงาน รวมทุกระดับ
ชนะเลิศที่ 1 โรงเรียนบ้านหนองปรือ ชื่อผลงาน สรรค์สร้างสาด ดุจดวงเดือน รองชนะเลิศ อันดับ 1 โรงเรียนบ้านพระเพลิง ชื่อผลงาน ผีเสื้อราตรีผ้าฝ้ายรีไซเคิ ล รองชนะเลิศอันดับ 2 โรงเรียนวังน้ำเย็น ชื่อผลงาน ควีน อฟฟ เดอร์มูน
2.ประเภทสิ่งประดิษฐ์ของใช้ ภายในบ้านจากวัสดุเหลือใช้
ระดับประถมศึกษา ส่ง 6 ผลงาน
ชนะเลิศที่ 1 โรงเรียนบ้านใหม่ศรีจำปา ชื่อผลงาน จักรยานมหัศจรรย์ 3 in 1 รองชนะเลิศ อันดับ 1 โรงเรียนบ้านทุ่งพลวง ชื่อผลงาน โคมไฟบ้านนกน่ารักรองชนะเลิ ศอันดับ 2 โรงเรียนบ้านหนองปรือ ชื่อผลงาน เนรมิตของเหลือใช้ด้วยกะลา
ระดับมัธยมศึกษา -ปวช ส่ง 12 ผลงาน
ชนะเลิศที่ 1 โรงเรียนวังน้ำเย็น ชื่อผลงาน paper rebon
รองชนะเลิศ อันดับ 1 โรงเรียนบ้านหนองเรือ ชื่อผลงาน กระเป๋ากะลามะพร้าว รองชนะเลิศอันดับ 2 โรงเรียนบ้านทับหลวง ชื่อผลงาน มหัศจรรย์มันสำปะหลัง
ระดับอุดมศึกษา - ปวส ส่ง 1 ผลงาน
ชนะเลิศที่ 1 ไม่มี รองชนะเลิศ อันดับ 1 โรงเรียนไฮเทค-เทคโนโลยี ชื่อผลงาน ชุดรับแขกจากวัสดุเหลือใช้
3.ประเภทสิงประดิษฐ์จากวัสด ุเหลือใช้สู้ภัยพิบัติ รวมระดับ ทุกระดับ ส่ง 1 ผลงาน ชนะเลิศ อันดับ 1 ตาพระยา ชื่อผลงาน จักรยานสะเทินน้ำสะเทินบก
ทั้งนี้เพื่อคัดเลือกผลงานที่ชนะเลิศในระดับจังหวัดเข้าชิงชนะเลิศในระดับประเทศ เพื่อชิงถ้วยพระราชทานพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีรัศมิ์ พระวรชายาในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร
สำหรับการประกวดสิ่งประดิษฐ์จากวัสดุเหลือใช้ แบ่งการประกวดออกเป็น 3 ระดับ ได้แก่ การประกวดประเภทสิ่งประดิษฐ์จากของใช้ภายในบ้านจากวัสดุเหลือใช้ ในระดับประถมศึกษา ระดับมัธยมศึกษา/อาชีวศึกษา (ปวช.) ระดับอาชีวศึกษา (ปวส.)/อุดมศึกษาการประกวดประเภทเครื่องแต่งกายจากวัสดุเหลือใช้ กลุ่มเป้าหมาย คือ นักเรียน/นักศึกษา/ประชาชนทั่วไป และการประกวดสิ่งประดิษฐ์จากวัสดุเหลือใช้สู้ภัยพิบัติ กลุ่มเป้าหมาย คือ นักเรียน/นักศึกษา/ประชาชนทั่วไป
ผลการตัดสินการประกวดสร้างสรรค์สิ่งประดิษฐ์จากวัสดุเห ลือใช้ ดังนี้
1.ประเภทเครื่องแต่งกาย จากวัสดุเหลือใช้ ส่ง 10 ผลงาน รวมทุกระดับ
ชนะเลิศที่ 1 โรงเรียนบ้านหนองปรือ ชื่อผลงาน สรรค์สร้างสาด ดุจดวงเดือน รองชนะเลิศ อันดับ 1 โรงเรียนบ้านพระเพลิง ชื่อผลงาน ผีเสื้อราตรีผ้าฝ้ายรีไซเคิ ล รองชนะเลิศอันดับ 2 โรงเรียนวังน้ำเย็น ชื่อผลงาน ควีน อฟฟ เดอร์มูน
2.ประเภทสิ่งประดิษฐ์ของใช้ ภายในบ้านจากวัสดุเหลือใช้
ระดับประถมศึกษา ส่ง 6 ผลงาน
ชนะเลิศที่ 1 โรงเรียนบ้านใหม่ศรีจำปา ชื่อผลงาน จักรยานมหัศจรรย์ 3 in 1 รองชนะเลิศ อันดับ 1 โรงเรียนบ้านทุ่งพลวง ชื่อผลงาน โคมไฟบ้านนกน่ารักรองชนะเลิ ศอันดับ 2 โรงเรียนบ้านหนองปรือ ชื่อผลงาน เนรมิตของเหลือใช้ด้วยกะลา
ระดับมัธยมศึกษา -ปวช ส่ง 12 ผลงาน
ชนะเลิศที่ 1 โรงเรียนวังน้ำเย็น ชื่อผลงาน paper rebon
รองชนะเลิศ อันดับ 1 โรงเรียนบ้านหนองเรือ ชื่อผลงาน กระเป๋ากะลามะพร้าว รองชนะเลิศอันดับ 2 โรงเรียนบ้านทับหลวง ชื่อผลงาน มหัศจรรย์มันสำปะหลัง
ระดับอุดมศึกษา - ปวส ส่ง 1 ผลงาน
ชนะเลิศที่ 1 ไม่มี รองชนะเลิศ อันดับ 1 โรงเรียนไฮเทค-เทคโนโลยี ชื่อผลงาน ชุดรับแขกจากวัสดุเหลือใช้
3.ประเภทสิงประดิษฐ์จากวัสด ุเหลือใช้สู้ภัยพิบัติ รวมระดับ ทุกระดับ ส่ง 1 ผลงาน ชนะเลิศ อันดับ 1 ตาพระยา ชื่อผลงาน จักรยานสะเทินน้ำสะเทินบก
ทั้งนี้เพื่อคัดเลือกผลงานที่ชนะเลิศในระดับจังหวัดเข้าชิงชนะเลิศในระดับประเทศ เพื่อชิงถ้วยพระราชทานพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีรัศมิ์ พระวรชายาในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร
ดุลยศักดิ์/ข่าว/ภาพ
จังหวัดอุดรธานี จัดคอนเสิร์ต บทเพลงแห่งแผ่นดิน ครั้งที่ 7เพื่อร่วมสำนึกในพระเกียรติคุณผู้ทรงเป็นอัครศิลปินที่มีพระอัจฉริยภาพอันล้ำเลิศทางด้านการดนตรี และเป็นการเริ่มต้นฉลองจังหวัดอุดรธานี 121 ปี
จังหวัดอุดรธานี เทศบาลนครอุดรธานี ร่วมกับ มูลนิธิหอสมุดดนตรีพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 จัดคอนเสิร์ต บทเพลงแห่งแผ่นดิน ครั้งที่ 7 ระหว่างวันที่ 3 - 5 ตุลาคม 2556
นายเสนีย์ จิตตเกษม ผู้ว่าราชการจังหวัดอุดรธานี เปิดเผยว่า จังหวัดอุดรธานี เทศบาลนครอุดรธานี ร่วมกับ มูลนิธิหอสมุดดนตรีพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 จะจัดคอนเสิร์ต บทเพลงของแผ่นดิน ครั้งที่ 7 ณ พิพิธภัณฑ์เมืองอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี ระหว่างวันที่ 3-5 ตุลาคม 2556 เพื่อร่วมสำนึกในพระเกียรติคุณผู้ทรงเป็นอัครศิลปินที่มีพระอัจฉริยภาพอันล้ำเลิศทางด้านการดนตรี และเป็นการเริ่มต้นฉลองจังหวัดอุดรธานี 121 ปี ภายในงานมีการจัดแสดงนิทรรศการงานบทเพลงแห่งแผ่นดิน โครงการ "อัครดุริยะศิลปินราชสดุดี 84 พรรษา” ประกอบด้วยการแสดงคอนเสิร์ตเพลงพระราชนิพนธ์จากศิลปินและนักดนตรีชื่อดัง บรรเลงโดยวงเฉลิมราชย์ และนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติเกี่ยวกับเพลงพระราชนิพนธ์ เครื่องดนตรีและสิ่งของอันทรงคุณค่าในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งหาชมได้ยาก พร้อมด้วยศิลปินรับเชิญพิเศษ รุ่ง สุริยา สมบัติ สิมหล้า และวิทย์ เอเอฟ 1 ที่มาร่วมสร้างสีสันและความประทับใจให้แก่ผู้ชมตลอดการแสดง พร้อมไฮไลท์ที่สำคัญ คือการแสดงน้ำพุดนตรีประกอบแสงสีเสียงพร้อมเทคนิค และการประกวดร้องเพลงแห่งแผ่นดินชิงทุนการศึกษา 5,000 บาท
ผู้ว่าราชการจังหวัดอุดรธานี กล่าวเพิ่มเติมว่า นิทรรศการจัดตลอดทั้งวัน ที่สำคัญในการจัดนิทรรศครั้งนี้ทางมูลนิธิหอสมุดดนตรีพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ได้นำแซกโซโฟน ที่พระบาทสมเด็จพะเจ้าอยู่หัว ทรงเป่าในการร่วมกับวงดนตรีส่วนพระองค์ มาจัดแสดงในนิทรรศการด้วย สำหรับการแสดงคอนเสิร์ตจะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 3-5 ตุลาคม 2556 เวลา 18.00-21.00 น. 3 รอบการแสดงเท่านั้น ผู้สนใจชมการแสดงและนิทรรศการเข้าชมฟรีตลอดงาน อนึ่งเยาวชนอายุระหว่าง 12-25 ปี สมารถสมัครเข้าประกวดร้องเพลงแห่งแผ่นดินได้ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่คุณรวิอร(ผู้ช่วยฝ่ายประชาสัมพันธ์) โทร. 09 2514 8158 หรือที่ www.facebook.com/kingrama9song
นายเสนีย์ จิตตเกษม ผู้ว่าราชการจังหวัดอุดรธานี เปิดเผยว่า จังหวัดอุดรธานี เทศบาลนครอุดรธานี ร่วมกับ มูลนิธิหอสมุดดนตรีพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 จะจัดคอนเสิร์ต บทเพลงของแผ่นดิน ครั้งที่ 7 ณ พิพิธภัณฑ์เมืองอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี ระหว่างวันที่ 3-5 ตุลาคม 2556 เพื่อร่วมสำนึกในพระเกียรติคุณผู้ทรงเป็นอัครศิลปินที่มีพระอัจฉริยภาพอันล้ำเลิศทางด้านการดนตรี และเป็นการเริ่มต้นฉลองจังหวัดอุดรธานี 121 ปี ภายในงานมีการจัดแสดงนิทรรศการงานบทเพลงแห่งแผ่นดิน โครงการ "อัครดุริยะศิลปินราชสดุดี 84 พรรษา” ประกอบด้วยการแสดงคอนเสิร์ตเพลงพระราชนิพนธ์จากศิลปินและนักดนตรีชื่อดัง บรรเลงโดยวงเฉลิมราชย์ และนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติเกี่ยวกับเพลงพระราชนิพนธ์ เครื่องดนตรีและสิ่งของอันทรงคุณค่าในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งหาชมได้ยาก พร้อมด้วยศิลปินรับเชิญพิเศษ รุ่ง สุริยา สมบัติ สิมหล้า และวิทย์ เอเอฟ 1 ที่มาร่วมสร้างสีสันและความประทับใจให้แก่ผู้ชมตลอดการแสดง พร้อมไฮไลท์ที่สำคัญ คือการแสดงน้ำพุดนตรีประกอบแสงสีเสียงพร้อมเทคนิค และการประกวดร้องเพลงแห่งแผ่นดินชิงทุนการศึกษา 5,000 บาท
ผู้ว่าราชการจังหวัดอุดรธานี กล่าวเพิ่มเติมว่า นิทรรศการจัดตลอดทั้งวัน ที่สำคัญในการจัดนิทรรศครั้งนี้ทางมูลนิธิหอสมุดดนตรีพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ได้นำแซกโซโฟน ที่พระบาทสมเด็จพะเจ้าอยู่หัว ทรงเป่าในการร่วมกับวงดนตรีส่วนพระองค์ มาจัดแสดงในนิทรรศการด้วย สำหรับการแสดงคอนเสิร์ตจะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 3-5 ตุลาคม 2556 เวลา 18.00-21.00 น. 3 รอบการแสดงเท่านั้น ผู้สนใจชมการแสดงและนิทรรศการเข้าชมฟรีตลอดงาน อนึ่งเยาวชนอายุระหว่าง 12-25 ปี สมารถสมัครเข้าประกวดร้องเพลงแห่งแผ่นดินได้ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่คุณรวิอร(ผู้ช่วยฝ่ายประชาสัมพันธ์) โทร. 09 2514 8158 หรือที่ www.facebook.com/kingrama9song
พัฒนเดช ยศกรกุล ข่าว / ส.ปชส.อุดรธานี
กรมป่าไม้ จัดสัมมนาเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริและพื้นที่เฉพาะกรมป่าไม้
อุบลราชธานี : เพื่อเพิ่มความรู้ ความสามารถในการปฏิบัติงานและสนองพระราชดำริให้ถูกต้อง สอดคล้องและเป็นไปในแนวทางเดียวกันอีกทั้งให้แลกเปลี่ยน ความรู้ ประสบการณ์ในการทำงานและติดตามความก้าวหน้าและรับทราบปัญหา อุปสรรคในการทำงาน โดยมีเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริและกิจการพิเศษ ๑๑๐ คนเข้าร่วมสัมมนา ที่โรงแรมสุนีย์ แกรนด์ โฮเทล อุบลราชธานี
เช้าวันที่ 22 ส.ค.56 นายอำพล เสนาณรงค์ องคมนตรี เป็นประธานเปิดการสัมมนาเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริและพื้นที่เฉพาะกรมป่าไม้ ประจำปี ๒๕๕๖ ที่โรงแรมสุนีย์ แกรนด์ โฮเทล แอนด์คอนเวนชั่น เซ็นเตอร์ อุบลราชธานี โดยนายวันชัย สุทธิวรชัย ผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี กล่าวต้อนรับและนายบุญชอบ สุทธมนัสวงษ์ อธิบดีกรมป่าไม้ กล่าวรายงานถึงการจัดสัมมนาในครั้งนี้ว่า เพื่อเป็นการเพิ่มพูนความรู้ ความสามารถในการปฏิบัติงานและสนองพระราชดำริให้ถูกต้อง สอดคล้องและเป็นไปในแนวทางเดียวกัน อีกทั้งให้ผู้เข้าร่วมสัมมนา ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่โครงการพระราชดำริและกิจการพิเศษ จำนวน ๑๑๐ คน ที่เข้าร่วมการสัมมนา ได้แลกเปลี่ยน ความรู้ ประสบการณ์ในการทำงานและเพื่อติดตามความก้าวหน้าและรับทราบปัญหา อุปสรรคในการทำงาน ทั้งนี้เนื่องจาก กรมป่าไม้ เป็นอีกหน่วยงานหนึ่งที่ได้ดำเนินงานสนองแนวพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมมารี และพระบรมวงศานุวงศ์ ทุกพระองค์ ในด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ มาโดยตลอด เพื่อแก้ปัญหาทรัพยากรป่าไม้ โดยยึดหลักการทรงงานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เช่น การคิดในเชิงองค์รวม เน้นการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน การแก้ไขปัญหาจากจุดเล็กไปหาจุดใหญ่ เพื่อให้การดำเนินงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ กรมป่าไม้ เป็นไปในทิศทางอันเดียวกัน จึงได้จัดสัมมนาในหัวข้อเรื่อง แนวทางในการปฏิบัติงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริอย่างมีประสิทธิภาพ ให้แก่เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานในโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
ภายหลังเปิดการจัดสัมมนา นายอำพล เสนาณรงค์ องคมนตรี ได้บรรยายพิเศษในเรื่อง หน้าที่ของข้าราชการตามรอยเบื้องพระยุคลบาท และยังมีการบรรยายโดยวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ ในหัวข้อเรื่อง แนวคิดและทฤษฎีการพัฒนาฟื้นฟูป่าไม้ตามแนวพระราชดำริ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว , การขับเคลื่อนโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ, การพัฒนางานประจำด้วยการวิจัย R2R อย่างต่อเนื่องและยั่งยืน, ประสบการณ์ในการทำงานด้านป่าไม้ให้มีประสิทธิภาพ,การนำศาสตร์พระราชามาประยุกต์ใช้ในงานป่าไม้, สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารีกับการพัฒนางานด้านป้าไม้และหลักการวิทยากรกระบวนการเพื่อนำไปใช้ในการปฏิบัติงานร่วมกับชุมชน นอกจากนี้ผู้ร่วมสัมมนายังเดินทางไปศึกษาดูงานโครงการศูนย์พัฒนาการเกษตรภูสิงห์จังหวัดศรีสะเกษและที่โครงการพัฒนาพื้นที่บริเวณหนองอึ่งอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดยโสธร อีกด้วย ซึ่งภายหลังการสัมมนาจะสามารถสร้างประโยชน์ สนองพระราชดำริและก่อให้เกิดความร่วมมือในการสนับสนุนงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริและที่สำคัญคือการได้ช่วยเหลือราษฎรให้พ้นจากความทุกข์ยาก มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามพระราชปณิธานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ตลอดไป ซึ่งการสัมมนาจัดระหว่างวันที่ ๒๑ – ๒๔ สิงหาคม ๒๕๕๖ ที่โรงแรมสุนีย์ แกรนด์ โฮเทล แอนด์คอนเวนชั่น เซ็นเตอร์ อุบลราชธานี
เช้าวันที่ 22 ส.ค.56 นายอำพล เสนาณรงค์ องคมนตรี เป็นประธานเปิดการสัมมนาเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริและพื้นที่เฉพาะกรมป่าไม้ ประจำปี ๒๕๕๖ ที่โรงแรมสุนีย์ แกรนด์ โฮเทล แอนด์คอนเวนชั่น เซ็นเตอร์ อุบลราชธานี โดยนายวันชัย สุทธิวรชัย ผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี กล่าวต้อนรับและนายบุญชอบ สุทธมนัสวงษ์ อธิบดีกรมป่าไม้ กล่าวรายงานถึงการจัดสัมมนาในครั้งนี้ว่า เพื่อเป็นการเพิ่มพูนความรู้ ความสามารถในการปฏิบัติงานและสนองพระราชดำริให้ถูกต้อง สอดคล้องและเป็นไปในแนวทางเดียวกัน อีกทั้งให้ผู้เข้าร่วมสัมมนา ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่โครงการพระราชดำริและกิจการพิเศษ จำนวน ๑๑๐ คน ที่เข้าร่วมการสัมมนา ได้แลกเปลี่ยน ความรู้ ประสบการณ์ในการทำงานและเพื่อติดตามความก้าวหน้าและรับทราบปัญหา อุปสรรคในการทำงาน ทั้งนี้เนื่องจาก กรมป่าไม้ เป็นอีกหน่วยงานหนึ่งที่ได้ดำเนินงานสนองแนวพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมมารี และพระบรมวงศานุวงศ์ ทุกพระองค์ ในด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ มาโดยตลอด เพื่อแก้ปัญหาทรัพยากรป่าไม้ โดยยึดหลักการทรงงานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เช่น การคิดในเชิงองค์รวม เน้นการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน การแก้ไขปัญหาจากจุดเล็กไปหาจุดใหญ่ เพื่อให้การดำเนินงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ กรมป่าไม้ เป็นไปในทิศทางอันเดียวกัน จึงได้จัดสัมมนาในหัวข้อเรื่อง แนวทางในการปฏิบัติงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริอย่างมีประสิทธิภาพ ให้แก่เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานในโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
ภายหลังเปิดการจัดสัมมนา นายอำพล เสนาณรงค์ องคมนตรี ได้บรรยายพิเศษในเรื่อง หน้าที่ของข้าราชการตามรอยเบื้องพระยุคลบาท และยังมีการบรรยายโดยวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ ในหัวข้อเรื่อง แนวคิดและทฤษฎีการพัฒนาฟื้นฟูป่าไม้ตามแนวพระราชดำริ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว , การขับเคลื่อนโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ, การพัฒนางานประจำด้วยการวิจัย R2R อย่างต่อเนื่องและยั่งยืน, ประสบการณ์ในการทำงานด้านป่าไม้ให้มีประสิทธิภาพ,การนำศาสตร์พระราชามาประยุกต์ใช้ในงานป่าไม้, สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารีกับการพัฒนางานด้านป้าไม้และหลักการวิทยากรกระบวนการเพื่อนำไปใช้ในการปฏิบัติงานร่วมกับชุมชน นอกจากนี้ผู้ร่วมสัมมนายังเดินทางไปศึกษาดูงานโครงการศูนย์พัฒนาการเกษตรภูสิงห์จังหวัดศรีสะเกษและที่โครงการพัฒนาพื้นที่บริเวณหนองอึ่งอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดยโสธร อีกด้วย ซึ่งภายหลังการสัมมนาจะสามารถสร้างประโยชน์ สนองพระราชดำริและก่อให้เกิดความร่วมมือในการสนับสนุนงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริและที่สำคัญคือการได้ช่วยเหลือราษฎรให้พ้นจากความทุกข์ยาก มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามพระราชปณิธานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ตลอดไป ซึ่งการสัมมนาจัดระหว่างวันที่ ๒๑ – ๒๔ สิงหาคม ๒๕๕๖ ที่โรงแรมสุนีย์ แกรนด์ โฮเทล แอนด์คอนเวนชั่น เซ็นเตอร์ อุบลราชธานี
พงษ์สถิตย์ อรอินทร์ ส.ปชส.อุบลราชธานี
๐๘๑ – ๙๒๔ ๘๖๐๙ /ข่าว/ ๒๒ ส.ค.๕๖
ผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรี เขตตรวจราชการที่ 14 ลงพื้นที่จังหวัดสุรินทร์ตรวจเน้นหนักเรื่องปัญหายาเสพติดและ AEC
ผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรี เขตตรวจราชการที่ 14 ตรวจความคืบหน้าการพัฒนาสังคมและคุณภาพชีวิต เน้นหนักการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดในพื้นที่ ตลอดจนความพร้อมและศักยภาพจังหวัดในการเข้าสู่การเป็นประชาคมอาเซียน
วันที่ 22 ส.ค. 56 ที่ห้องประชุมจอมสุรินทร์ ศาลากลางจังหวัดสุรินทร์ นายจิรายุ นันท์ธราธร ผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรี เขตตรวจราชการที่ 14 ได้เดินทาง มาตรวจราชการตามแผนการปฏิบัติราชการแบบบูรณาการ ตามนโยบายพัฒนาสังคมและคุณภาพชีวิต ทั้งด้านปัญหายาเสพติดและนโยบายการเตรียมความพร้อมในการเข้าสู่การเป็นประชาคมอาเซียน ในปี พ.ศ. 2558 ของจังหวัดสุรินทร์ โดยมี นายยุทธนา วิริยะกิตติ รองผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์ นำหัวหน้าส่วนราชการในสังกัดกระทรวงต่าง ๆ เสนอข้อมูลและรายงานความคืบหน้าของการดำเนินงานในแต่และส่วนที่เกี่ยวข้อง ซึ่งในส่วนจังหวัดสุรินทร์ ได้เน้นย้ำถึงปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินนโยบายด้านการป้องกันและปราบปรามปัญหายาเสพติด ตลอดจน ผลการการปฏิบัติงานในส่วนงานที่เกี่ยวข้อง อันจะส่งผลต่อประสิทธิภาพของการป้องกันและปราบปราม
ทั้งนี้ผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรี เขตตรวจราชการที่ 14 ได้มอบนโยบายให้ทุกกระทรวง ทบวง กรม จะมีแผนงานด้านการแก้ไขปัญหายาเสพติด ความมั่นคงตามแนวชายแดน โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเด็นการเตรียมความพร้อมของประชาชนโดยผ่านการประชาสัมพันธ์และกระตุ้นจากทุกภาคส่วน ในการเข้าสู่การเป็นประชาคมอาเซียนในปี 2558 ที่จะถึงนี้
จากนั้น เวลา 13.15 น. ทางผู้ตรวจฯและคณะ ได้เดินทางไปยังโรงเรียนวีรวัฒน์โยธิน อำเภอเมืองสุรินทร์ เพื่อรับทราบการดำเนินโครงการอันเกี่ยวเนื่องในโครงการด้านปัญหายาเสพติด ของโรงเรียนที่จะสามารถถ่ายทอดและสร้างต้นแบบให้กับโรงเรียนต่างๆ นำไปปรับใช้กับนักเรียนและเยาวชนในพื้นที่ต่อไปด้วย
เพื่อพัฒนาจังหวัดสุรินทร์ในฐานะเป็นเมืองชายแดน มีอาณาเขตติดกับประเทศกัมพูชาให้บรรลุผลตามเป้าหมายที่กำหนดไว้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งในขณะนี้จะต้องเน้นด้านการประชาสัมพันธ์กับทุกฝ่าย โดยเฉพาะประชาชนในพื้นที่ให้เข้าใจความเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ทั้งการแก้ไขปัญหายาเสพติดให้มากได้ประสิทธิผลที่สุด และเร่งดำเนินงานเตรียมความพร้อมให้แก่ประชาชนทุกคน สู่การเป็นประชาคมอาเซียน ในปี พ.ศ. 2558 นี้ด้วย
วันที่ 22 ส.ค. 56 ที่ห้องประชุมจอมสุรินทร์ ศาลากลางจังหวัดสุรินทร์ นายจิรายุ นันท์ธราธร ผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรี เขตตรวจราชการที่ 14 ได้เดินทาง มาตรวจราชการตามแผนการปฏิบัติราชการแบบบูรณาการ ตามนโยบายพัฒนาสังคมและคุณภาพชีวิต ทั้งด้านปัญหายาเสพติดและนโยบายการเตรียมความพร้อมในการเข้าสู่การเป็นประชาคมอาเซียน ในปี พ.ศ. 2558 ของจังหวัดสุรินทร์ โดยมี นายยุทธนา วิริยะกิตติ รองผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์ นำหัวหน้าส่วนราชการในสังกัดกระทรวงต่าง ๆ เสนอข้อมูลและรายงานความคืบหน้าของการดำเนินงานในแต่และส่วนที่เกี่ยวข้อง ซึ่งในส่วนจังหวัดสุรินทร์ ได้เน้นย้ำถึงปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินนโยบายด้านการป้องกันและปราบปรามปัญหายาเสพติด ตลอดจน ผลการการปฏิบัติงานในส่วนงานที่เกี่ยวข้อง อันจะส่งผลต่อประสิทธิภาพของการป้องกันและปราบปราม
ทั้งนี้ผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรี เขตตรวจราชการที่ 14 ได้มอบนโยบายให้ทุกกระทรวง ทบวง กรม จะมีแผนงานด้านการแก้ไขปัญหายาเสพติด ความมั่นคงตามแนวชายแดน โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเด็นการเตรียมความพร้อมของประชาชนโดยผ่านการประชาสัมพันธ์และกระตุ้นจากทุกภาคส่วน ในการเข้าสู่การเป็นประชาคมอาเซียนในปี 2558 ที่จะถึงนี้
จากนั้น เวลา 13.15 น. ทางผู้ตรวจฯและคณะ ได้เดินทางไปยังโรงเรียนวีรวัฒน์โยธิน อำเภอเมืองสุรินทร์ เพื่อรับทราบการดำเนินโครงการอันเกี่ยวเนื่องในโครงการด้านปัญหายาเสพติด ของโรงเรียนที่จะสามารถถ่ายทอดและสร้างต้นแบบให้กับโรงเรียนต่างๆ นำไปปรับใช้กับนักเรียนและเยาวชนในพื้นที่ต่อไปด้วย
เพื่อพัฒนาจังหวัดสุรินทร์ในฐานะเป็นเมืองชายแดน มีอาณาเขตติดกับประเทศกัมพูชาให้บรรลุผลตามเป้าหมายที่กำหนดไว้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งในขณะนี้จะต้องเน้นด้านการประชาสัมพันธ์กับทุกฝ่าย โดยเฉพาะประชาชนในพื้นที่ให้เข้าใจความเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ทั้งการแก้ไขปัญหายาเสพติดให้มากได้ประสิทธิผลที่สุด และเร่งดำเนินงานเตรียมความพร้อมให้แก่ประชาชนทุกคน สู่การเป็นประชาคมอาเซียน ในปี พ.ศ. 2558 นี้ด้วย
ส.ปชส.สุรินทร์ กำชัย วันสุข / ข่าว
อนุชา หาญนึก / ภาพ
สุรินทร์มอบบ้านตามโครงการ บ้านอยูสุข 80 พรรษาบรมราชินีนาถ
จังหวัดสุรินทร์มอบบ้านตามโครงการ บ้านอยูสุข 80 พรรษาบรมราชินีนาถ ให้กับผู้ยากไร้ และด้อยโอกาส
วันที่ 22 ส.ค. 2556 นายสุริยะ ร่วมพัฒนา รองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสุรินทร์ เป็นประธานในพิธีมอบบ้านตามโครงการ บ้านอยูสุข 80 พรรษาบรมราชินีนาถ 80 ปี ยูนิลีเวอร์ ให้กับนางสุมณฑา แก้วประเสริฐ อายุ 31 ปี อยู่บ้านเลขที่ 148 หมู่ที่ 8 บ้านยางบ่อภิรมย์ ต. นาหนองไผ่ อ.ชุมพลบุรี จ. สุรินทร์ ซึ่งเป็นผู้ยากไร้และด้อยโอกาส ไม่มีบ้านพักอาศัยที่แข็งแรง และเป็นผู้ที่ประพฤติดีที่ผ่านการคัดเลือกของประชาคมหมู่บ้าน และจังหวัดสุรินทร์ให้ได้รับบ้านตามโครงการดังกล่าว ซึ่งได้รับการสนับสนุนงบประมาณในการสร้างจาก บริษัทยูนิลีเวอร์ ในประเทศไทย ทั้งนี้เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติและน้อมรำลึกในพรมหากรุณาธิคุณ ตลอดถึงการแสดงความจงรักภักดี เนื่องในโอกาสทรงเจริญพระชนมพรรษา 80 พรรษา สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ ซึ่งโครงการดังกล่าวจะสร้างบ้านให้กับผู้ยากไร้และด้อยโอกาส และผู้ที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤติต่างๆในพื้นที่ทุกภูมิภาค 30 จังหวัดจำนวนทั้งสิ้น 80 หลังหลังละ 2 แสนบาท โดยจังหวัดสุรินทร์ได้รับการคัดเลือกเพื่อสร้างบ้านให้กับผู้ยากไร้ตามโครงการดังกล่าวจำนวน 2 หลังคือมอบให้กับ นางสุมณฑา แก้วประเสริฐ บ้านยางบ่อภิรมย์ ต. นาหนองไผ่ อ.ชุมพลบุรี จังหวัดสุรินทร์ และนางหมั้น พลโททอง อายุ 49 ปี อยู่บ้านเลขที่ 47 ม. 8 บ้านหนองไม้งาม ต. โนน อ. โนนนารายณ์ จ. สุรินทร์
วันที่ 22 ส.ค. 2556 นายสุริยะ ร่วมพัฒนา รองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสุรินทร์ เป็นประธานในพิธีมอบบ้านตามโครงการ บ้านอยูสุข 80 พรรษาบรมราชินีนาถ 80 ปี ยูนิลีเวอร์ ให้กับนางสุมณฑา แก้วประเสริฐ อายุ 31 ปี อยู่บ้านเลขที่ 148 หมู่ที่ 8 บ้านยางบ่อภิรมย์ ต. นาหนองไผ่ อ.ชุมพลบุรี จ. สุรินทร์ ซึ่งเป็นผู้ยากไร้และด้อยโอกาส ไม่มีบ้านพักอาศัยที่แข็งแรง และเป็นผู้ที่ประพฤติดีที่ผ่านการคัดเลือกของประชาคมหมู่บ้าน และจังหวัดสุรินทร์ให้ได้รับบ้านตามโครงการดังกล่าว ซึ่งได้รับการสนับสนุนงบประมาณในการสร้างจาก บริษัทยูนิลีเวอร์ ในประเทศไทย ทั้งนี้เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติและน้อมรำลึกในพรมหากรุณาธิคุณ ตลอดถึงการแสดงความจงรักภักดี เนื่องในโอกาสทรงเจริญพระชนมพรรษา 80 พรรษา สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ ซึ่งโครงการดังกล่าวจะสร้างบ้านให้กับผู้ยากไร้และด้อยโอกาส และผู้ที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤติต่างๆในพื้นที่ทุกภูมิภาค 30 จังหวัดจำนวนทั้งสิ้น 80 หลังหลังละ 2 แสนบาท โดยจังหวัดสุรินทร์ได้รับการคัดเลือกเพื่อสร้างบ้านให้กับผู้ยากไร้ตามโครงการดังกล่าวจำนวน 2 หลังคือมอบให้กับ นางสุมณฑา แก้วประเสริฐ บ้านยางบ่อภิรมย์ ต. นาหนองไผ่ อ.ชุมพลบุรี จังหวัดสุรินทร์ และนางหมั้น พลโททอง อายุ 49 ปี อยู่บ้านเลขที่ 47 ม. 8 บ้านหนองไม้งาม ต. โนน อ. โนนนารายณ์ จ. สุรินทร์
ประนนท์ ไม้หอม / ส.ปชส.สุรินทร์ /รายงาน
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)