วันพุธที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

อาชีวศึกษาสุรินทร์แถลงความพร้อมเจ้าภาพกีฬาอาชีวะภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ครั้งที่ 8

อาชีวะสุรินทร์แถลงความพร้อมเป็นเจ้าภาพการแข่งขันกีฬาอาชีวะภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ครั้งที่ 8 "อาชีวะเมืองช้างเกมส์” ซึ่งจะจัดแข่งขันขึ้นในระหว่างวันที่ 24-30 กรกฎาคมนี้

วันที่ 9 กรกฎาคม 2556 ที่วิทยาลัยอาชีวะศึกษาสุรินทร์ นายยุทธนา วิริยะกิตติ รองผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์ เป็นประธานแถลงร่วมกับ นายอรัญ สิงห์คำ ประธานอาชีวะศึกษาจังหวัดสุรินทร์ และ นางชไมพร ตุ้มพงษ์ ผู้อำนวยการวิทยาลัยอาชีวศึกษาจังหวัดสุรินทร์ ได้ร่วมกันแถลงข่าวถึงความพร้อมในการเป็นเจ้าภาพการจัดการแข่งขันกีฬาอาชีวะภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ครั้งที่ 8 หรือ อาชีวะเมืองช้างเกมส์ ซึ่งการแข่งขันกีฬาระดับอาชีวะของภาคตะวันออกเฉียงเหนือในครั้งนี้เป็นการคัดเลือกนักกีฬาเข้าร่วมแข่งขันกีฬาอาชีวศึกษาระดับชาติ ครั้งที่ 8 ที่จังหวัดชลบุรี ในระหว่างวันที่ 20-26 สิงหาคม ที่จะถึง การแถลงข่าวในวันนี้ก็เพื่อที่ยืนยันถึงความพร้อมในทุกๆด้านของการเป็นเจ้าภาพของอาชีวะศึกษาจังหวัดสุรินทร์ อาทิ สนามแข่งขันกีฬาประเภทต่างๆ ที่พัก การอำนวยความสะดวกแก่นักกีฬา คณะผู้ควบคุมและติดตาม ตลอดจนในด้านความปลอดภัย ซึ่งเจ้าภาพได้เตรียมความพร้อมไว้ครบถ้วนแล้ว

สำรับกีฬาที่จะทำการแข่งขันใน "อาชีวะเมืองช้างเกมส์ ครั้งนี้ มีด้วยกัน 9 ชนิดกีฬา ประกอบด้วย ฟุตบอล เซปักตะกร้อ ฟุตซอล วอลเลย์บอล บาสเก็ตบอล กรีฑา มวยไทยสมัครเล่น มวยสากลสมัครเล่น หมากล้อม/หมากรุก/หมากฮอส และการประกวด Miss Voc ซึ่งเป็นการประกวดสาวงามอาชีวะ เฟ้นหาสาวสวย ฉลาด มีความสามารถ เป็นตัวแทนเข้าประกวดในระดับประเทศ โดยกีฬาอาชีวศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ครั้งที่ 8 หรือ อาชีวะเมืองช้างเกมส์ กำหนดจัดขึ้นในระหว่างวันที่ 24 – 30 กรกฎาคม 2556 นี้ ซึ่งคาดว่าจะมีตัวแทนนักกีฬา เจ้าหน้าที่ ผู้ควบคุม และกองเชียร์ จาก วิทยาลัยสังกัดกรมอาชีวะในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ทั้ง 20 จังหวัด เดินทางเข้ามาในพื้นที่ไม่น้อยกว่า 3,000 พันคน จนอาจจะทำให้มีเงินสะพัดในพื้นที่จังหวัดสุรินทร์ไม่ต่ำกว่า 20 ล้านบาท โดยเจ้าภาพพร้อมอย่างถึงที่สุดแล้วในการต้อนรับและดูแลผู้เข้าร่วมแข่งขันกีฬา "อาชีวะเมืองช้างเกมส์” ในครั้งนี้




ส.ปชส.สุรินทร์ กำชัย วันสุข ข่าว/อนุชา  หาญนึก ภาพ

สุรินทร์ประชุมศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์สร้างค่านิยมการเข้าวัดขัดเกลาจริยธรรม

ศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ ประชุมพระสงฆ์ผู้บริหารศูนย์ พร้อมคณะทำงานขับเคลื่อนการดำเนินนโยบาย ในการสร้างแหล่งเรียนรู้ทางศิลธรรม ขัดเกลาจริยธรรม ให้เป็นค่านิยมขอคนในท้องถิ่น

วันที่ 10 ก.ค. 56 ที่วัดศาลาลอยพระอารามหลวง อำเภอเมืองสุรินทร์ นายอุทัย พลพวก วัฒนธรรมจังหวัดสุรินทร์ กล่าวเปิดเปิดการอบรมและบรรยายพิเศษ แก่คณะสงฆ์ผู้บริหารศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์จังหวัดสุรินทร์ และคณะทำงานศูนย์ เกี่ยวกับแนวทางการดำเนินนโยบายของศูนย์ฯ

สำหรับศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ เป็นองค์กรที่คณะสงฆ์จัดตั้งขึ้น เพื่อเปิดโอกาสให้แก่เด็กและเยาวชนได้ศึกษาเรียนรู้ หลักธรรมในพระพุทธศาสนาได้อย่างถูกต้องและสมควรแก่วัยของตน อันจะได้เป็นกำลังสำคัญของชาติในการที่จะส่งเสริมและเผยแพร่พระพุทธศาสนา สนับสนุนให้เกิดการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างวัดกับบ้านและชุมชนอย่างเข้มแข็ง อีกทั้งด้วยความมุ่มมั่นของพระสงฆ์ในทุกยุคทุกสมัย จึงทำให้ศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ได้ขยายตัวอย่างแพร่หลาย ช่วยเหลือสังคมมาอย่างยาวนาน จนในปี 2556 กระทรวงวัฒนธรรมมีนโยบายที่จะบูรณาการงานในพื้นที่ โดยให้ศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ ที่มีอยู่ทั่วประเทศกว่า 3,875 ศูนย์ เป็นแหล่งพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน นำหลักธรรมคำสอนของพระพุทธศาสนาให้เข้าถึงประชาชนทุกกลุ่มอย่างเป็นรูปธรรม เนื่องจากสังคมปัจจุบัน ผู้คนขาดจิตสำนึกและความรับผิดชอบต่อส่วนรวม ส่งผลให้คนขาดความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ และขาดจริยธรรม จึงเห็นควรให้ภาครัฐส่งเสริมและผลักดันให้มีการนำหลักธรรมทางพระพุทธศาสนากับการพัฒนาประชาชนให้เป็นคนดี มีคุณธรรมจริยธรรม อันจะนำไปสู่สังคมที่อยู่เย็นเป็นสุข

ด้วยเหตุนี้ กรมการศาสนาจึงได้จอความร่วมมือสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดแต่ละจังหวัด เป็นเจ้าภาพจัดประชุมเพื่อเป้าหมายในการสร้างศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์คุณภาพ โดยมีการประเมินมาตรฐานของศูนย์ฯและมีศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ต้นแบบ ซึ่งจังหวัดสุรินทร์ มีศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์จำนวน54 แห่ง และมี วัดสุวรรณวิจิตร อำเภอปราสาท เป็นศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ต้นแบบ ในการร่วมกันขับเคลื่อนการส่งเสริมการเรียนรู้ทางศิลธรรม ขัดเกลาจริยธรรม ให้เป็นค่านิยมขอคนในท้องถิ่น ต่อไป




นายกำชัย วันสุข ส.ปชส.สุรินทร์ / ข่าว
อนุชา  หาญนึก / ภาพ

ผู้สมัครเป็นกรรมการ ปปจ.สุรินทร์เข้าแสดงวิสัยทัศน์ต่อคณะกรรมการสรรหา ปปจ.ประจำจังหวัดสุรินทร์

ผู้สมัครเป็นกรรมการ ปปจ.สุรินทร์ จำนวน 55 คนเข้าแสดงวิสัยทัศน์ต่อคณะกรรมการสรรหา ปปจ.ประจำจังหวัดสุรินทร์ เพื่อรับการพิจารณาคัดเลือกเหลือ 10 คนส่งให้ ปปช. ส่วนกลางพิจารณาคัดเลือกให้เหลือ 5 คนต่อไป

ที่ห้องประชุมสำนักงาน ปปช. ประจำจังหวัดสุรินทร์ อาคารนครชัยบุรินทร์ อ. เมือง จ.สุรินทร์ วันนี้ ( 10 ก.ค. 2556 ) ตั้งแต่เวลา 08.30 น. เป็นต้นไปผู้สมัครเป็นกรรมการ ป.ป.จ.สุรินทร์ จำนวนทั้งสิ้น 55 คน ผู้หญิง 2 คน ผู้ชาย 53 คน ซึ่งประกอบด้วยอดีตคนดัง อดีตข้าราชการผู้ใหญ่ สื่อมวลชน NGO และประชาชนทั่วไป เบื้องต้นคณะกรรมการสรรหาจะเปิดโอกาสให้ผู้สมัครได้แสดงวิสัยทัศน์ เกี่ยวกับการทำหน้าที่ป้องกันและปราบปรามการทุจริตทุกคนคนละ 5 นาที เพื่อให้คณะกรรมการฯ ได้ทำการพิจารณากลั่นกรองคัดเหลือ 10 คน และส่งไปให้กรรมการส่วนกลาง เลือกให้เหลือ 5 คน เพื่อทำหน้าที่เป็นคณะกรรมการ ปปจ. สุรินทร์ต่อไป นายมงคล สาริสุต ผู้อำนวยการสำนักงาน ปปช. ประจำจังหวัดสุรินทร์ กล่าวว่า ภายหลังจากผู้สมัครเป็นคณะกรรมการ ปปจ.สุรินทร์ ทั้ง 55 คนได้แสดงวิสันทัศน์เสร็จแล้ว คณะกรรมการสรรหาฯ จะได้พิจารณาคัดเลือกให้เหลือ 10 คน คัดว่าน่าจะพิจารณาเสร็จสิ้นภายในวันที่ 19 ก.ค. 2556 นี้ เพื่อส่งให้กับ ปปช. ส่วนกลางพิจารณาคัดเลือกเหลือ 5 คน เพื่อทำหน้าที่กรรมการ ปปจ. สุรินทร์ต่อไปคาดว่าน่าจะพิจารณาแล้วเสร็จ และดำเนินการตามขบวนการแต่งตั้งและเริ่มปฏิบัติหน้าที่คณะกรรมการ ปปจ.สุรินทร์ได้ภายในเดือนตุลาคม 2556 นี้



ประนนท์ ไม้หอม / ภาพ/ข่าว/ส.ปชส.สุรินทร์

จังหวัดอุบลราชธานี มอบใบประกาศ ให้แก่ผู้ที่ผ่านการอบรมค่ายปรับเปลี่ยนพฤติกรรม บำบัดฟื้นฟูผู้เสพ ผู้ติด ยาเสพติด โรงเรียนวิวัฒน์พลเมืองฝ่ายปกครอง รุ่นที่ 12 ประจำปี 2556 จำนวน 101 คน

วันที่ 10 กรกฎาคม 2556 ที่ กองร้อยอาสารักษาดินแดน จังหวัดอุบลราชธานี นายเกรียงเดช วัฒนวงษ์สิงห์ ปลัดจังหวัดอุบลราชธานี เป็นประธานในพิธีปิดการฝึกอบรมค่ายปรับเปลี่ยนพฤติกรรม บำบัดฟื้นฟูผู้เสพ /ผู้ติด รุ่นที่ 12 ประจำปี 2556 ระหว่างวันที่ 2 -10 กรกฎาคม 2556 พร้อมมอบใบประกาศ แก่ผู้ที่ผ่านการอบรม ซึ่งการฝึกอบรมค่ายปรับเปลี่ยนพฤติกรรม บำบัดฟื้นฟูผู้เสพ /ผู้ติด มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้เสพ/ผู้ติดยาเสพติด ได้รับการบำบัดฟื้นฟูสมรรถภาพ และได้รับการฝึกพื้นฐานอาชีพในสาขาต่างๆ สามารถกลับตัวกลับใจเป็นคนดีคืนสู่สังคม และยังสามารถนำความรู้ด้านการฝึกอาชีพไปประกอบอาชีพที่สุจริต สร้างรายได้ให้แก่ตนเอง และครอบครัว โดยไม่หวนกลับมายุ่งเกี่ยวกับยาเสพติดอีก โดยผู้เข้ารับการบำบัดยาเสพติดในรุ่นนี้ เป็นรุ่นที่ 12 ประจำปี 2556 มีจำนวนทั้งสิ้น 101 คน

ปัจจุบันปัญหายาเสพติดมีความรุนแรงมากขึ้น ทำลายประเทศชาติ และบุคลากรของประเทศ รัฐบาลจึงได้ยกให้เป็น "วาระแห่งชาติ” ที่ทุกภาคส่วนต้องร่วมกันดำเนินการแก้ไขให้ประสบผลสำเร็จ ยาเสพติดได้ก่อให้เกิดปัญหาอาชญากรรมที่มีความรุนแรง ส่งผลกระทบต่อประเทศชาติในหลายๆ ด้าน โดยเฉพาะยาเสพติดประเภทยาบ้า ได้เริ่มกลับมาแพร่ระบาดอีกครั้งในกลุ่มเยาวชน และกลุ่มผู้ใช้แรงงาน ทำให้หลายฝ่ายเกิดความห่วงใย จึงจำเป็นต้องร่วมมือกันป้องกัน และแก้ไขปัญหาอย่างจริงจังเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น การจัดโครงการค่ายปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจะสามารถช่วยฟื้นฟูให้ผู้ตกเป็นทาสยา เสพติดสามารถกลับมาเป็นคนดี ใช้ชีวิตอย่างปลอดยาเสพติด และเป็นคนดีของสังคม อันจะส่งผลให้ปัญหายาเสพติดมีปริมาณลดน้อยลง นอกจากนี้ ผู้เข้ารับการบำบัดฟื้นฟูที่กลับออกมาก็ยังสามารถเป็นหูเป็นตาให้แก่ทาง ราชการในการช่วยกันแก้ไขปัญหายาเสพติดอีกด้วย

ด้าน นายวิไล ญารักษา ผู้ปกครองผู้เข้ารับการฝึกอบรม กล่าวว่า เห็นด้วยกับโครงการค่ายปรับเปลี่ยนพฤติกรรมบำบัดฟื้นฟูผู้เสพ ผู้ติด ของรัฐบาล ในครั้งนี้ ซึ่งจะช่วยให้ลูกหลาน ที่เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรม จนสามารถเลิกยาเสพติดได้ และ เชื่อว่าลูกหลานของตนเอง จะกลับมาเป็นคนดีของญาติพี่น้อง และอยู่ร่วมในสังคมได้อย่างมีความสุข สำหรับ บรรยากาศในพิธีปิด มีพ่อแม่ผู้ปกครองของผู้เข้ารับการฝึกอบรม ได้นำดอกไม้มามอบให้ พร้อมกลับรับลูกหลานของตนเองกลับบ้าน ไปเป็นคนดีของพ่อแม่ และ เป็นคนดีของสังคมปลอดยาเสพติดต่อไป.



 
จักรกฤษณ์ มาลาสาย/ข่าว

ทองปัก ทวีสุข/ภาพ

จังหวัดอุบลจัดกิจกรรม ร่วมทำเทียน ร่วมทำบุญ ร่วมกิจกรรม “เยือนชุมชน คนทำเทียน ในงานเทศกาลประเพณีแห่เทียนพรรษาอุบลราชธานี ประจำปี 2556 “สืบฮีตวิถีชาวอุบล ยลพุทธศิลป์ถิ่นไทยดี”

วันที่ 10 กรกฎาคม 2556 ณ วัดพระธาตุหนองบัว อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี นางนภา ศกุนตนาค รองผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี เป็นประธานเปิดกิจกรรม "เยือนชุมชน คนทำเทียน” ในงานประเพณีแห่เทียนพรรษาอุบลราชธานี ประจำปี 2556 โดยกิจกรรม เยือนชุมชนคนทำเทียน เป็นอีกกิจกรรมหนึ่งที่จังหวัดอุบลราชธานี หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และคุ้มวัดต่างๆ ในเมืองอุบล และอำเภอวารินชำราบ จัดขึ้น เพื่อการส่งเสริมงานประเพณีแห่เทียนพรรษา ให้มีความยั่งยืน การจัดกิจกรรมเยือนชุมชน คนทำเทียน ทำให้นักท่องเที่ยวผู้ที่ร่วมกิจกรรมฯ ได้มีโอกาสได้เรียนรู้ถึงขั้นตอนการทำต้นเทียน ต้องผ่านกระบวนการในการจัดทำ และใช้เวลาเตรียมการหลายเดือน ต้องใช้ช่างที่เป็นภูมิปัญญาชาวบ้าน และ แรงศรัทธาความสามัคคีเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของคนในชุมชนเป็นอย่างมาก ที่มีชุมชนคุ้มวัดต่างๆ เข้าร่วมกิจกรรม ในเขตเทศบาลนครอุบลราชธานี และเทศบาลวารินชำราบ ให้นักท่องเที่ยวร่วมชมวิธีวัฒนธรรมในการตกต่างต้นเทียน ได้แก่ วัดพระธาตุหนองบัว วัดไชยมงคล วัดศรีประดู่ วัดบูรพา วัดทุ่งศรีเมือง วัดมหาวนาราม วัดแจ้ง และวัดผาสุการาม โดยนักท่องเที่ยวสามารถเดินทางไปเยี่ยมชมได้ตั้งแต่วันนี้ ถึงวันที่ 22 กรกฎาคม 2556 นี้



 
จักรกฤษณ์ มาลาสาย/ข่าว

ทองปัก ทวีสุข/ภาพ

เรือนจำอุดรธานีลงนาม MOUพัฒนาผู้ต้องขังคืนคนดีมีคุณภาพสู่ชุมชน

เรือนจำกลางอุดรธานี ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือกับเครือข่ายความร่วมมือในพื้นที่จังหวัด อุดรธานี ในการแก้ไขพัฒนาผู้ต้องขังให้สามารถกลับออกไปเป็นพลเมืองดี มีคุณภาพ สามารถกลับไปอยู่ในสังคมอย่างปกติสุข ภายใต้กรอบ "เราจะส่งคืนคนตามที่ชุมชนต้องการ”
วันนี้ (10 ก.ค. 56) ที่ศาลาคนกลับใจ เรือนจำกลางอุดรธานี นายสาโรช แสงอรุณ รองผู้ว่าราชการจังหวัดอุดรธานี เป็นประธานพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือการแก้ไขพัฒนาผู้ต้องขัง เพื่อคืนคนดีมีคุณภาพสู่ชุมชน และเยี่ยมชมนิทรรศการฯตามข้อตกลงความร่วมมือ โดยมีเครือข่ายความร่วมมือในการแก้ไขพัฒนาผู้ต้องขัง ร่วมพิธี

นายประมูล ประเสริฐสุข ผู้บัญชาการเรือนจำกลางอุดรธานี กล่าวว่า กระทรวงยุติธรรมเล็งเห็นความสำคัญในการแก้ไขพัฒนาผู้ต้องขังให้สามารถกลับ ออกไปเป็นพลเมืองดี มีคุณภาพ กลับออกไปอยู่ในสังคมอย่างปกติสุข เพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถของประเทศ จึงได้แสวงหาความร่วมมือกับกระทรวงต่างๆในรูปแบบของบันทึกข้อตกลงความร่วม มือในระดับกระทรวง เพื่อกำหนดกรอบแนวทางให้แก่หน่วยงานในระดับปฏิบัติร่วมมือกันให้เกิดผลเป็น รูปธรรม เรือนจำกลางอุดรธานี ในฐานะหน่วยปฏิบัติ จึงได้ประสานความร่วมมือกับหน่วยงานทุกภาคส่วนในระดับพื้นที่อย่างต่อเนื่อง ซึ่งได้รับความร่วมมือในการแก้ไขพัฒนาผู้ต้องขังและดำเนินกิจกรรมร่วมกัน ด้วยดีตลอดมา ในการประชุมผู้บริหารหน่วยงานเครือข่ายความร่วมมือ เมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 2556 ได้มีมติร่วมกันในการบูรณาการความร่วมมือแก้ไขพัฒนาผู้ต้องขังภายใต้กรอบแนว คิด "เราจะส่งคืนคนตามที่ชุมชนต้องการ” โดยใช้แผนชุมชนเป็นเครื่องมือในการขับเคลื่อน ซึ่งหน่วยงานที่ร่วมบูรณาการครั้งนี้ประกอบด้วย มหาวิทยาลัยราชภัฎอุดรธานี สภาอุตสาหกรรมจังหวัดอุดรธานี หอการค้าจังหวัดอุดรธานี วิทยาลัยเทคนิคอุดรธานี วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีอุดรธานี วิทยาลัยการบริหารธุรกิจและการท่องเที่ยวอุดรธานี วิทยาลัยสารพัดช่างอุดรธานี ศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงานจังหวัดอุดรธานี และกศน.จังหวัดอุดรธานี

นายสาโรช แสงอรุณ รองผู้ว่าราชการจังหวัดอุดรธานี กล่าวว่า งานแก้ไขพัฒนาผู้ต้องขัง ถือว่าเป็นงานทีท้าทาย เนื่องจากสังคมมีความคาดหวังว่าเรือนจำจะส่งมอบคนที่ผ่านการแก้ไขฟื้นฟูให้ เป็นคนดีแล้วกลับคืนสู่ชุมชน ซึ่งข้อเท็จจริงแล้วเรือนจำไม่สามารถที่จะดำเนินการตามที่สังคมคาดหวังได้ สำเร็จตามลำพัง เนื่องจากข้อจำกัดหลายประการ ดังนั้นการบูรณาการความร่วมมือครั้งนี้ จะทำให้ผู้เกี่ยวข้องได้รู้ว่าชุมชนในจังหวัดต้องการผู้พ้นโทษที่มี คุณลักษณะอย่างไร แล้วร่วมกันออกแบบ และจัดหลักสูตรการแก้ไขพัฒนาผู้ต้องขังได้อย่างเหมาะสม เพื่อส่งมอบผู้พ้นโทษให้เป็นพลเมืองที่มีคุณค่าที่แท้จริงต่อการพัฒนาชุมชน สังคมและเศรษฐกิจ เสริมสร้างขีดความสามารถของประเทศต่อไป 



เครือข่ายการประชาสัมพันธ์ ส.ปชส.อด.

อธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญา หนุน ข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้ ยกระดับสู่ตลาดโลก

ที่ศูนย์ข้าวชุมชนบ้านอุ่มแสง ตำบลดู่ อำเภอราษีไศล จังหวัดศรีสะเกษ นางปัจฉิมา ธนสันติ อธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญา เป็นประธานเปิดงานวันประชาสัมพันธ์ข้าวสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ ( GI ) หอมทะลิทุ่งกุลาร้องไห้ พื้นที่ 5 จังหวัด ประกอบด้วย ประกอบด้วย จังหวัดสุรินทร์ จังหวัดร้อยเอ็ด จังหวัดมหาสารคาม และจังหวัดศรีสะเกษ ซึ่งการจัดงานในครั้งนี้ กรมการข้าวโดยสำนักงานพัฒนาผลิตภัณฑ์ข้าว ศูนย์เมล็ดพันธ์ข้าวสุรินทร์และศูนย์วิจัยข้าวสุรินทร์ ร่วมกับกรมทรัพย์สินทางปัญญา ร่วมกันจัดขึ้น เพื่อประชาสัมพันธ์ข้าว GI ทุ่งกุลาร้องไห้ ซึ่งเป็นข้าวที่ได้รับการจดทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ไทย และสหภาพยุโรปให้เป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย ตลอดจนให้ผู้ที่ส่วนเกี่ยวข้องมีโอกาสพบปะสังสรรค์ และแลกเปลี่ยนข้อมูลเพื่อร่วมกันพัฒนาข้าวหอมมะลิไทย ให้ยกระดับเป็นสินค้าที่มีคุณภาพสูงสู่ระดับสากล โดยมีนายประทีป กีรติเรขา ผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ พร้อมด้วยหัวหน้าส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง และประชาชน ให้การต้อนรับ และร่วมกิจกรรมในครั้งนี้
 
 นางปัจฉิมา กล่าวว่า กรมทรัพย์ทางปัญญา นอกจากสนับสนุนและส่งเสริมสินค้าข้าว GI ในท้องถิ่นและชุมชน ยังทำให้คนในท้องถิ่นมีรายได้ และรักถิ่นฐานของตนเอง ซึ่งในขณะนี้มีประมาณ 50 จังหวัด ที่ยื่นคำขอข้าว GI ไปที่กรมทรัพย์สินทางปัญญาแล้ว และยังมีอีกหลายจังหวัดที่ยังไม่ได้ยื่นคำขอ ซึ่งทางกรมทรัพย์สินทางปัญญาก็ได้มีประชาสัมพันธ์รณรงค์ ให้ในหลายจังหวัดที่ยังไม่ทราบ มายื่นคำขอข้าว GI อีกทั้ง กรมทรัพย์สินทางปัญญา ยังได้มีการจัดกิจกรรมเผยแพร่ความรู้เรื่องทรัพย์สินทางปัญญาไปสู่ระดับท้อง ถิ่น เพื่อกระจายความรู้ให้กับเกษตรกรไทยตั้งแต่ระดับอำเภอจนถึงระดับท้องถิ่น ตอลดจนสร้างเครือข่าย อาสาสมัครทรัพย์สินทางปัญญาไทย เพื่อให้ความรู้กับเกษตรกรไทย และเป็นกลุ่มผู้เฝ้าระวังปัญหา เรื่องทรัพย์สินทางปัญญา ทั้งนี้ นอกจากผู้ร่วมงานจะได้รู้ถึงสิทธิของการคุ้มครองข้าว GI ทุ่งกุลาร้องไห้ ซึ่งจะออกสู่ตลาดในต้นฤดูกาลนี้

มาตรฐานของข้าวที่ออกสู่ตลาด ต้องสามารถตรวจสอบคุณภาพข้าวย้อนหลังได้ โดยมีการร่วมกลุ่มการดำเนินการตามมาตรฐานที่ได้มีการยื่นคำขอจดทะเบียนที่ สหภาพยุโรป
 
 นางปัจฉิมา กล่าวต่อไปว่า กรมทรัพย์สินทางปัญญา ได้วางแผนถึงการกระจายตลาดข้าว GI ทุ่งกุลาร้องไห้ ให้ขยายออกสู่ตลาดโลก โดยขยายจากตลาดฮินดู สู่ตลาดประเทศจีน ซึ่งข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้ จะได้ติดตราประชาคมยุโรป และนำออกสู่ตลาดโลก เพื่อให้ประชากรทั่วโลก ได้ลิ้มลองข้าวหอมมะลิ GI ทุ่งกุลาร้องไห้ จากภูมิปัญญาชาวไทย
 

นายประทีป กล่าวว่า การจัดงาน สำหรับกิจกรรมภายในงานวันประชาสัมพันธ์ข้าวสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ ( GI ) หอมทะลิทุ่งกุลาร้องไห้ ในครั้งนี้ มีเกษตรกรจาก 5 จังหวัด ประกอบด้วย จังหวัดสุรินทร์ จังหวัดร้อยเอ็ด จังหวัดมหาสารคาม และจังหวัดศรีสะเกษ เข้าร่วมงาน โดยภายในงานมีการจัดนิทรรศกาล วิชาการความรู้ที่เกี่ยวกับการปลูก การผลิตและการจัดการผลิตข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้ ตลอดจนการออกร้านค้าจำหน่ายสินค้าข้ามหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้ จากกลุ่มผู้เกษตรกรผู้ผลิตและผู้ประกอบการต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน การเสวนาในหัวข้อเรื่อง แนวทางพัฒนาข้าวหอมมะลิในพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ โดยประธานศูนย์ข้าวชุมชนในพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ และตัวแทนกลุ่มเกษตรกรบ้านอุ่มแสง จังหวัดศรีสะเกษ เพื่อหารือถึงแนวทางการพัฒนาข้าว และยกระดับคุณภาพข้าวไทยให้มีคุณภาพสูงยิ่งขึ้นไป

ยโสธรเปิดค่ายบำบัดยา

จังหวัดยโสธรนำเยาวชนเข้าค่ายต้นกล้าอาสาพลังแผ่นดินเอาชนะยาเสพติด ที่วัดหนองไคร้ ต.หนองหิน อ.เมืองยโสธร จ.ยโสธร ท่าน ประวัติ ถีถะแก้ว ผู้ว่าราชการจังหวัด เป็นประธานเปิดค่ายต้นกล้าอาสาพลังแผ่นดินเอาชนะยาเสพติด โดยนายกิตติพล พลวิฑูรย์ นายกองค์การบริหารส่วนตำบล กล่าวว่า โดยศูนย์ปฏิบัติการพลังแผ่นดินเอาชนะยาเสพติดองค์การบริหารส่วนตำบลหนองหิน ได้บูรณาการร่วมกับวัดหนองไคร้ หน่วยงานราชการ จัดค่ายต้นกล้าอาสาพลังแผ่นดินเอาชนะยาเสพติด ขึ้น เพื่อนำเด็ก เยาวชน นักเรียน ที่เคยทดลองเสพยาเสพติด แต่ยังไม่ถึงขั้นเป็นผู้ติด ให้เข้ามาได้รับการรักษา พัฒนาและฟื้นฟู ใช้หลักการผู้เสพ เป็นผู้ป่วยที่จะต้องได้รับการบำบัดรักษา ปรากฎว่ามีกลุ่มเป้าหมาย มาเข้าค่ายต้นกล้าอาสาพลังแผ่นดินเอาชนะยาเสพติด ในครั้งนี้จำนวน 81 คน ประกอบด้วยบุคคล นักเรียน นักศึกษา ที่มีภูมิลำเนาอยู่ในเขตพื้นที่อำเภอเมืองยโสธร และอยู่ในเขตพื้นที่อำเภอป่าติ้ว และใช้ระยะเวลาในการเข้าค่าย 1 สัปดาห์ 

ผู้ว่าฯ มหาสารคาม นำข้าราชการ พ่อค้า ประชาชน ประกอบพิธีบวงสรวงหลักเมือง เพื่อความเป็นสิริมงคลในการจัดงานบุญซำฮะ

ผู้ว่าราชการจังหวัดมหาสารคามนำข้าราชการ พ่อค้า ประชาชน นักเรียน ประกอบพิธีบวงสรวงหลักเมืองมหาสารคาม เพื่อความเป็นสิริมงคลในการจัดงานบุญซำฮะหรือประเพณีบุญเดือน 7 ของชาวภาคอีสาน

เมื่อเช้าวันนี้ (10 กรกฎาคม 2556) ที่บริเวณศาลหลักเมืองมหาสารคาม นายนพวัชร สิงห์ศักดา ผู้ว่าราชการจังหวัดมหาสารคาม พร้อมด้วยนางพูลทรัพย์ สิงห์ศักดา นายกเหล่ากาชาดจังหวัดมหาสารคาม นายกิตติศักดิ์ คณาสวัสดิ์ นายกเทศมนตรีเมืองมหาสารคาม ได้นำข้าราชการ พ่อค้า ประชาชน นักเรียน นักศึกษา ประกอบพิธีบวงสรวงหลักเมืองมหาสารคาม เพื่อความเป็นสิริมงคลในโอกาสที่ชาวจังหวัดมหาสารคาม ได้พร้อมใจกันจัดงานบุญซำฮะ หรืองานประเพณีบุญเดือน 7 ในฮีต 12 ของชาวภาคอีสาน ระหว่างวันที่ 10 – 11 กรกฎาคม 2556 ณ บริเวณ ลานพระประธานกันทรวิชัย หน้าศาลากลางจังหวัดมหาสารคามหลังเก่า สำหรับงานบุญซำฮะ หรืองานประเพณีบุญเดือน 7 เป็นประเพณี 1 ใน 12 เดือน ของงานฮีต 12 ของชาวภาคอีสานที่ปฏิบัติสืบทอดกันมาแต่อดีต แต่ในระยะหลังไม่ได้มีการจัดมาเป็นเวลานาน จังหวัดมหาสารคามจึงได้รื้อฟื้น การจัดงานบุญซำฮะขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง ระหว่างวันที่ 10 – 11 กรกฎาคม 2556 เพื่อนุรักษ์งานบุญซำฮะให้คงอยู่สืบไป โดยงานบุญซำฮะ เป็นการทำบุญเพื่อชำระจิตใจบ้านเรือน บริเวณบ้านให้สะอาด เพื่อปัดเป่าขับไล่สิ่งไม่เป็นมงคลให้ออกไปจากหมู่บ้าน ชุมชน และบ้านเมือง ให้เกิดความเป็นสิริมงคลอยู่เย็นเป็นสุข และทำให้บ้านเมืองสะอาดสวยงาม เป็นระเบียบน่าอยู่ น่ามอง อีกทางหนึ่งด้วย ในงานจะมีทั้งพิธีทางศาสนาพุทธคือการทำบุญสวดมนต์ตักบาตรแด่พระภิกษุ และพิธีทางพราหมณ์ คือการขับไล่สิ่งที่ไม่เป็นมงคลภูตผีปีศาจ



สมพงษ์ ปัตตานี/ข่าว ศิรินทรา แก้วบุญเรือง/ข่าว

เทศบาลมหาสารคาม ทำความสะอาดตลาดโต้รุ่งสร้างสุขภาวะที่ดีและความสามัคคีของคนในตลาด

สำนักการสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลเมืองมหาสารคาม ร่วมกับผู้ประกอบการค้าตลาดโต้รุ่ง ทำความสะอาดตลาดโต้รุ่ง ขุดลอกท่อระบายน้ำ เพื่อสร้างสุภาวะของประชาชนและสร้างความสามัคคีของผู้ประกอบการในตลาด เนื่องในวันครบรอบ 14 ปี ตลาดโต้รุ่งเทศบาลเมืองมหาสารคาม
ผศ.ดร.สุรทิน นาราภิรมย์ รองนายกเทศมนตรีเมืองมหาสารคาม พร้อมด้วยสมาชิกสภาเทศบาล และเจ้าหน้าที่ ลงพื้นที่ตรวจการทำความสะอาดตลาดโต้รุ่งเทศบาล เนื่องในวันครบรอบ 14 ปี ตลาดโต้รุ่งเทศบาลในวันที่ 9 กรกฏาคม ของทุกปี โดยงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยร่วมกับเจ้าหน้าที่จากสำนักการสาธารณสุข ได้นำรถน้ำดับเพลิงพร้อมเจ้าหน้าที่ออกทำความสะอาดล่องระบายน้ำ ขุดลอกท่อระบายน้ำและทำความสะอาดโดยรอบบริเวณตลาดโต้รุ่ง ซึ่งการจัดกิจกรรมรณรงค์พัฒนาตลาดโต้รุ่งในครั้งนี้ ได้รับความร่วมมือจากผู้ประกอบการค้าภายในตลาดทุกคน ร่วมกันทำความสะอาดในพื้นที่ของตน เพื่อปรับปรุงสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม และเป็นการสร้างความรักความสามัคคีและความเข้าใจอันดีระหว่างผู้ประกอบการ กับเจ้าหน้าที่ของเทศบาล ตลอดจนเป็นการเฝ้าระวังความปลอดภัยด้านอาหารในตลาดโต้รุ่ง เพื่อให้ประชาชนในเขตเทศบาลได้รับประทานอาหารที่ปลอดภัย ปราศจากเชื้อโรค และสิ่งปนเปื้อนต่าง ๆ

ผศ.ดร.สุรทิน นาราภิรมย์ รองนายกเทศมนตรีเมืองมหาสารคาม กล่าวว่า ตลาดโต้รุ่งเทศบาลเมืองมหาสารคาม เป็นศูนย์รวมของอาหารนานาชนิด เป็นแหล่งอาหารของประชาชนในพื้นที่เขตเทศบาล หากมีปัญหาด้านความสะอาดและสิ่งแวดล้อม ประชาชนก็จะได้รับความเดือนร้อน เทศบาลเมืองมหาสารคามจึงได้ระดมกำลังเจ้าหน้าที่ออกมาทำการลอกท่อระบายน้ำ และล้างท่อระบายน้ำไม่ให้มีเศษขยะ ไขมัน ดินเลน และสิ่งโสโครกอุดตัน อันจะทำให้น้ำเสียจากร้านค้าไหลได้สะดวกและไม่เกิดปัญหาด้านความสะอาดและ สิ่งแวดล้อมภายในตลาด ตามวิสัยทัศน์เทศบาลเมืองมหาสารคาม "มหาสารคามเมืองน่าอยู่ ระบบสาธารณูปโภคพร้อม สิ่งแวดล้อมดี คนมีคุณธรรม เลิศล้ำการศึกษา เศรษฐกิจก้าวหน้า นำพาคุณภาพชีวิตที่ดี” 




ส.ปชส.มหาสารคาม / ข่าว

แหล่งท่องเที่ยวอีสาน ติด 1 ใน 7 นำโด่งผลโหวตแหล่งท่องเที่ยวทั่วไทย ครั้งที่ 6 ปี 2556

เว็บไซต์ www.7wondersthailand.com ได้ประกาศผลโหวต 7 สิ่งมหัศจรรย์ที่ท่องเที่ยวไทย ครั้งที่ 6 ปี 2556 แหล่งท่องเที่ยวอีสานนำโด่งหลายแห่ง ได้แก่ พระธาตุนาดูน - มอหินขาว - สามพันโบก - ภูกระดึง - สวนสัตว์โคราช - พระมหาธาตุเจดีย์ชัยมงค - วัดป่าภูก้อน

เว็บไซต์ www.7wondersthailand.com ได้ประกาศผลโหวต 7 สิ่งมหัศจรรย์ที่ท่องเที่ยวไทย ครั้งที่ 6 ปี 2556 ซึ่งผลการโหวด เป็นดังนี้



7 สิ่งมหัศจรรย์ที่ท่องเที่ยวไทย ( ธรรมชาติ ) ปี 2556 ( ครั้งที่ 6 ) ได้แก่ 

1. น้ำตกทีลอซู - จ. ตาก

2. อุทยานแห่งชาติทางทะเล หมู่เกาะสิมิลัน - จ. พังงา

3. วัดพนัญเชิง - จ. พระนครศรีอยุธยา



6. อุทยานแห่งชาติภูกระดึง - จ. เลย

7. วัดเขาชีจรรย์ - พัทยา จ. ชลบุรี



7 สิ่งมหัศจรรย์ที่ท่องเที่ยวไทย ( ยุคเก่า โบราณ ) ปี 2556 ( ครั้งที่ 6 ) ได้แก่

1. วัดพนัญเชิง - จ. พระนครศรีอยุธยา

2. พระธาตุลำปางหลวง – จ. ลำปาง

3. สังขละบุรี - จ. กาญจนบุรี

4. วนอุทยานภูแฝก – จ. กาฬสินธุ์

5. พระธาตุนาดูน - จ. มหาสารคาม

6. พระราชนิเวศน์มฤคทายวัน – จ. เพชรบุรี

7. เขาปลาร้า - จ. อุทัยธานี




7 สิ่งมหัศจรรย์ที่ท่องเที่ยวไทย ( ยุคใหม่ ทันสมัย ) ปี 2556 ( ครั้งที่ 6 ) ได้แก่

1. วัดเขาชีจรรย์ - พัทยา จ. ชลบุรี

2. เมืองโบราณ - จ. สมุทรปราการ

3. วัดถ้ำเสือ - จ. กาญจนบุรี

4. วัดร่องขุ่น - จ. เชียงราย


6. พระมหาธาตุเจดีย์ชัยมงคล - จ. ร้อยเอ็ด

7. วัดป่าภูก้อน - จ. อุดรธานี



มหาสารคามเตรียมของบปรับปรุงทางหลวง เพิ่มศักยภาพการขนส่งในพื้นที่

จังหวัดมหาสารคามเตรียมขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากรัฐบาล ในโครงการปรับปรุงทางหลวง เพื่อเพิ่มศักยภาพด้านการขนส่งในพื้นที่ สาย 208 ,สาย 2063,สาย 213 และสาย 2040 ในโอกาสที่นายกรัฐมนตรีลงพื้นที่ตรวจราชการที่จังหวัดมหาสารคาม
นายพิทยา พัสดุรีนนท์ ผู้อำนวยการแขวงการทางจังหวัดมหาสารคาม กล่าวว่า ในโอกาสที่นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และคณะจะได้เดินทางมาปฏิบัติราชการในพื้นที่จังหวัดมหาสารคาม ระหว่างวันที่ 14-15 กรกฎาคม 2556 นั้น จังหวัดมหาสารคาม ได้เตรียมโครงการเพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากรัฐบาล โดยเสนอโครงการปรับปรุงทางหลวงเพื่อเพิ่มศักยภาพด้านการคมนาคมขนส่งใน พื้นที่จังหวัดมหาสารคาม ประกอบด้วย โครงการปรับปรุงทางหลวงหมายเลข 208 ช่วงตำบลท่าพระ จังหวัดขอนแก่น-อำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม ระยะทางทั้งหมด 56.233 กิโลเมตร โดยจะปรับปรุงให้เป็นถนนสี่ช่องจราจร ระยะทาง 18.265 กิโลเมตร ค่าก่อสร้าง 640 ล้านบาท โครงการปรับปรุงทางหลวงหมายเลข 2063 ช่วง อำเภอบรบือ-อำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม ระยะทางทั้งหมด 31.941 กิโลเมตร โดยจะปรับปรุงเป็นสี่ช่องจราจร ระยะทาง 29.296 กิโลเมตร ค่าก่อสร้าง 1,048 ล้านบาท นอกจากนี้ ยังมีโครงการปรับปรุงทางหลวงหมายเลข 213 ช่วงจังหวัดมหาสารคาม-อำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์ ระยะทางทั้งหมด 25.798 กิโลเมตร โดยจะปรับปรุงให้เป็นสี่ช่องจราจร ระยะทาง 11.635 กิโลเมตร มูลค่าการก่อสร้าง 575 ล้านบาท และ โครงการปรับปรุงทางหลวงหมายเลข 2040 ช่วงจังหวัดมหาสารคาม-อำเภอวาปีปทุม-อำเภอพยัคฆภูมิพิสัย ระยะทางทั้งหมด 79.462 กิโลเมตร โดยจะปรับปรุงให้เป็นสี่ช่องจราจร ระยะทางที่ปรับปรุง 65.019 กิโลเมตร มูลค่าก่อสร้าง 2,276 ล้านบาท ซึ่งผลที่ตามมาหากได้มีการปรับปรุงเส้นทางทั้ง 4 สายนี้แล้ว จะช่วยลดปริมาณการจราจร ลดอุบัติเหตุ ในทางสายหลักเดิม สามารถขนส่งผลผลิตทางการเกษตร โดยเฉพาะข้าวหอมมะลิ มันสำปะหลัง อ้อย ไปสู่ภูมิภาคอื่น ๆ ได้อย่างสะดวก
ทั้งนี้ เมื่อได้ดำเนินการปรับปรุงทางหลวงทั้ง 4 สายนี้แล้ว จังหวัดมหาสารคามจะกลายเป็นเส้นทางสายเศรษฐกิจที่เชื่อมระหว่างภาคตะวันออก เฉียงเหนือด้านทิศเหนือและทิศตะวันออก ไปสู่ทิศใต้ที่สามารถเชื่อมโยงไปถึงจังหวัดสระแก้ว ชลบุรี ระยอง ตราด และจันทบุรี ที่สำคัญจะเป็นการพัฒนาเศรษฐกิจของจังหวัดมหาสารคามและจังหวัดใกล้เคียงที่ เป็นเส้นทางตัดผ่าน หรือเชื่อมโยงถึงด้วย


ส.ปชส.มหาสารคาม/ข่าว









สื่อมวลชนในพื้นที่ภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือร่วมระดมความคิดเห็นประชุมเชิงปฎิบัติการเครือข่ายสื่อมวลชนท้องถิ่นในจังหวัดอุดรธานี

สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง จัดประชุมเชิงปฎิบัติการเครือข่ายสื่อมวลชนท้องถิ่น เพื่อสร้างเครือข่ายสื่อมวลชนให้มีความรู้ ความเข้าใจ อำนาจหน้าที่ และภารกิจของสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง
10 กรกฎาคม 2556 ที่ห้องประชุมชั้น 3 โรงแรมเซ็นทารา คอนเวนชั่นเซนเตอร์ อุดรธานี สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง ได้จัดประชุมเชิงปฎิบัติการเครือข่ายสื่อมวลชนท้องถิ่น มีนายภูชงค์ บุตราวงศ์ เลขาธิการคณะกรรมการการเลือกตั้ง เป็นประธานในพิธีเปิด โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างสำนักงานคณะ กรรมการการเลือกตั้ง และสื่อมวลชนในการร่วมกันรณรงค์เผยแพร่การปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระ มหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขและการเลือกตั้งที่สุจริตและเที่ยงธรรม ทั้งนี้ การสร้างประชาธิปไตยให้เกิดขึ้นในสังคม จึงต้องอาศัยการสื่อสารที่ดี ถูกต้อง รวดเร็ว ทั่วถึงและสม่ำเสมอ เพื่อให้ประชาชนได้มีความรู้ ความเข้าใจ และตระหนักต่อการใช้สิทธิละหน้าที่ของตนให้ถูกต้องตามวิถีประชาธิปไตย เครือข่ายสื่อมวลชนท้องถิ่นจึงมีบทบาทที่สำคัญอย่างยิ่งในการสื่อสารข้อมูล ต่างๆ สู่ประชาชนในภูมิภาค โดยสามารถใช้ศักยภาพความพร้อมในการเป็นผู้นำสาระ สะท้อนภาพ ข้อมูลเหตุการณ์ โดยอาศัยเครื่องมือสื่อสารต่างๆ อาทิ หนังสือพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์ เป็นสื่อในการร่วมรณรงค์เผยแพร่ประชาสัมพันธ์ ขยายผลสู่กลุ่มเป้าหมายในระดับท้องถิ่นได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ต่อไป

การประชุมเชิงปฎิบัติการเครือข่ายสื่อมวลชนท้องถิ่น กำหนดจัดประชุมจำนวน 3 วัน 2 คืน ระหว่างวันที่ 10 -12 กรกฎาคม 2556 โดยมีกลุ่มเป้าหมายประกอบด้วย ผู้แทนประชาสัมพันธ์เขต ผู้แทนประชาสัมพันธ์จังหวัด ผู้แทนสถานีวิทยุกระจายเสียง วิทยุชุมชน เคเบิ้ลทีวี ผู้สื่อข่าว หัวหน้าหน้างานมีส่วนรวม หรือพนักงานการเลือกตั้ง จาก 36 จังหวัด ( ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ) รวม 144 คน

การประชุมเชิงปฎิบัติการเครือข่ายสื่อมวลชนท้องถิ่นในครั้งนี้ มุ่งเน้นการเสวนาสะท้อนความคิดเห็นและการเชื่อมโยงเครือข่ายการทำงานร่วมกัน ระหว่างสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง และสื่อมวลชน ด้วยความรู้เข้าใจที่ตรงกันอันจะทำให้สามารถสนับสนุนส่งเสริมการปกครองใน ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขและการเลือกตั้งที่สุจริต และเที่ยงธรรม การประชุมในครั้งนี้ใช้รูปแบบการบรรยาย การเสวนาระดมความคิดเห็น และกิจกรรมฐานเรียนรู้เพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจ ที่ชัดเจนยิ่งขึ้น




ภาณุวัชร คนเชี่ยว / ภาพ

บึงกาฬพร้อมประมูลป้ายทะเบียนรถเลขสวยแล้ว

วันนี้ ( ๑๐ กรกฎาคม ๒๕๕๖) เวลา ๑๐.๐๐ น. ได้มีการประชุมคณะกรรมการจัดการประมูลหมายเลขทะเบียนรถเลขสวยของจังหวัดบึง กาฬ โดยมี นายเลอเกียรติ แก้วศรีจันทร์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดบึงกาฬ เป็นประธานการประชุม ณ ห้องประชุมศาลากลางจังหวัดบึงกาฬ (ชั่วคราว) ทั้งนี้การประมูลดังกล่าวนี้จะเป็นการประมูลหมายเลขทะเบียนรถสำหรับรถยนต์ นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน ๗ คน หมวดอักษร "กก” ซึ่งเป็นหมวดแรกของจังหวัดบึงกาฬ ในวันที่ ๓ – ๔ สิงหาคม ๒๕๕๖ ระหว่างเวลา ๐๘.๓๐ – ๑๖.๓๐ น. ณ ห้องเดอะวันคอนเวนชั่นฮอลล์ โรงแรมเดอะวัน อำเภอเมืองบึงกาฬ จังหวัดบึงกาฬ

นายเอกบดินทร์ จำเนียรกาล ขนส่งจังหวัดบึงกาฬ ในฐานะผู้รับผิดชอบการดำเนินการได้ชี้แจงว่า ป้ายทะเบียนรถเลขสวยซึ่งเป็นป้ายเฉพาะรถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน ๗ คน ที่จะทำการประมูลครั้งนี้จะมีจำนวน ๓๐๑ เลขหมาย ประกอบด้วย กลุ่มที่ ๑ เลข ๔ ตัวเหมือน จะมีจำนวน ๙ หมายเลข กลุ่มที่ ๒ เลขสามตัวเหมือน,สองตัวเหมือน,เลขตัวเดียว,เลขคู่ ๘ เลขคู่ ๙ มีจำนวน ๓๓ เลขหมาย และกลุ่มที่ ๓ เลขหลักพัน,เลขเรียง,เลขคู่ มีจำนวน ๒๕๙ เลขหมาย


สำหรับวัตถุประสงค์ของการประมูลป้ายทะเบียนรถเลขสวยของจังหวัดบึงกาฬในครั้ง นี้ เพื่อนำเงินที่ได้จากการประมูล เข้ากองทุนเพื่อความปลอดภัยในการใช้รถใช้ถนน (กปภ.) เพื่อเป็นทุนสนับสนุนและส่งเสริมความปลอดภัยในการใช้รถใช้ถนนและให้ความช่วย เหลือผู้ประสบภัยอันเกิดจากการใช้รถใช้ถนน ส่วนสิทธิประโยชน์ที่ได้จากการประมูลครั้งนี้คือ มีหมายเลขทะเบียนรถสวยๆ ให้เลือกถึง ๓๐๑ เลขหมาย ผู้ประมูลสามารถเลือกเลขที่ชอบที่สุดด้วยตัวเอง แผ่นป้ายที่ได้จากการประมูล มีความแตกต่างจากแผ่นป้ายธรรมดาทั่วไป เพราะมีลวดลายสีสันแบบกราฟิกที่เป็นสัญลักษณ์ของจังหวัดบึงกาฬประกอบด้วย ภูทอก สวนยางพารา แก่งอาฮง แผ่นป้ายที่ประมูลได้ เจ้าของสามารถขอจดทะเบียนได้ทันทีโดยไม่ต้องรอลำดับการจดทะเบียนที่ไล่เรียง ไปตามลำดับ สามารถนำไปจดทะเบียนกับรถเก่าที่มีอยู่แล้วได้ด้วย นอกจากนี้หมายเลขทะเบียนที่ประมูลได้ถือว่าเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ประมูล และยังตกเป็นมรดกตกทอดแก่ทายาทเหมือนทรัพย์สินอื่นๆ หรือหากจะขายให้ผู้อื่นก็ทำได้ สามารถเลือกที่จะโอนแต่ตัวรถได้โดยไม่โอนหมายเลขทะเบียนให้ก็ได้ ที่สำคัญอีกอย่างคือ ผู้เข้าประมูลไม่มีรถก็ประมูลได้

บึงกาฬจัดประกวดภาพยนตร์สั้น หัวข้อ “อบายมุข” เสร็จแล้ว

เมื่อวันที่ ๙ กรกฎาคม ๒๕๕๖ เวลา ๑๓.๓๐ น. นายเลอเกียรติ แก้วศรีจันทร์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดบึงกาฬ เป็นประธานประชุมคณะทำงานเพื่อคัดเลือกและตัดสินพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้าง สรรค์จังหวัดบึงกาฬ ณ ห้องประชุมสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดบึงกาฬ ทั้งนี้เป็นเพราะจังหวัดบึงกาฬ พิจารณาเห็นว่าปัจจุบันประชาชนสามารถเข้าถึงสื่อต่างๆ ได้รวดเร็วซึ่งมีผลกระทบต่อพฤติกรรม ทัศนคติ และค่านิยมของประชาชนในสังคม ดังนั้นการพัฒนาสื่อในระดับภูมิภาคให้เป็นสื่อที่ดี ปลอดภัยและสร้างสรรค์ ไม่เป็นภัยต่อประชาชน โดยเฉพาะเด็กและเยาวชน จะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาทรัพยากรบุคคลของชาติ ให้มีคุณภาพในอนาคตต่อไป จังหวัดบึงกาฬจึงได้มอบให้ สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดบึงกาฬ จัดประกวดภาพยนตร์สั้น ในหัวข้อ "อบายมุข ๖” โดยแบ่งการประกวดเป็น ๒ ระดับคือระดับมัธยมศึกษา/ประกาศนียบัตรวิชาชีพและระดับอุดมศึกษา/ประกาศนีย บัตรวิชาชีพชั้นสูง/ประชาชนทั่วไป/สามเณร,พระสงฆ์ โดยมีรางวัลเป็นเงินสดพร้อมเกียรติบัตร เช่น ระดับมัธยมศึกษา/ประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชนะเลิศได้รับเงินสด ๙,๐๐๐ บาทพร้อมเกียรติบัตร รองชนะเลิศอันดับ ๑ เงินสด ๖,๐๐๐ บาทพร้อมเกียรติบัตร รองชนะเลิศอันดับ ๒ เงินสด ๔,๐๐๐ บาทพร้อมเกียรติบัตร ส่วนประเภทอุดมศึกษา/ประชาชน ฯลฯ รางวัลชนะเลิศจำนวน ๑๐,๐๐๐ บาทพร้อมเกียรติบัตร รองชนะเลิศอันดับ ๑ เงินสด ๗,๐๐๐ บาทพร้อมเกียรติบัตร และรองชนะเลิศอันดับ ๒ เงินสด ๖,๐๐๐ บาทพร้อมเกียรติบัตร

ในการรับสมัครระดับมัธยมศึกษา/ประกาศนียบัตรวิชาชีพ มีผู้ส่งผลงานเข้าประกวดจำนวน ๑๒ ผลงาน ผลการตัดสินของคณะกรรมการปรากฏว่า ภาพยนตร์สั้นเรื่อง "เสมอใจ” กลุ่ม BC Studio โรงเรียนปากคาดพิทยาคม ได้รางวัลชนะเลิศ รองชนะเลิศอันดับ ๑ เป็นภาพยนตร์สั้นเรื่อง "คิดได้ก็เกือบสาย” กลุ่ม T.W.K # ๒ โรงเรียนท่าดอกคำวิทยาคม และรองชนะเลิศอันดับ ๒ เป็นภาพยนตร์สั้นเรื่อง "เพื่อนรัก” กลุ่ม The Best โรงเรียนศรีวิไลวิทยา


สำหรับระดับอุดมศึกษา/ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง/ประชาชนทั่วไป มีผู้ส่งผลงานเข้าประกวด จำนวน ๕ ผลงาน ผลการตัดสินของคณะกรรมการปรากฏว่า ภาพยนตร์สั้นเรื่อง "บทสุดท้าย” กลุ่มบ้านนอกฟิล์ม ๒ ได้รางวัลชนะเลิศ รองชนะเลิศอันดับ ๑ เป็นภาพยนตร์สั้นเรื่อง "ชีวิตบนเส้นด้าย” กลุ่มบ้านนอกฟิล์ม ๑ และ รองชนะเลิศอันดับ ๒ เป็นภาพยนตร์สั้นเรื่อง "เพื่อน” กลุ่มศรีวิไลชอร์ตฟิล์ม ผลงานที่ได้รับรางวัลทั้งหมด ถือว่าเป็นลิขสิทธิ์ของคณะอนุกรรมการพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์จังหวัด บึงกาฬในการนำไปเผยแพร่เพื่อประโยชน์สารธารณะได้ตามความเหมาะสม โดยไม่ต้องขออนุญาตจากเจ้าของผลงาน

ชื่อภาษาอังกฤษจังหวัดนครราชสีมา “Nakhon Ratchasima” เขียนที่ถูกต้องแบบทางการ


ประชาสัมพันธ์จังหวัดนครราชสีมา รายงาน ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา ได้เวียนหนังสือแจ้งส่วนราชการ และองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น สถานศึกษา และภาคเอกชน ถึงการชื่อภาษาอังกฤษจังหวัดนครราชสีมา ที่เขียนอย่างถูกต้องแบบทางการ คือ Nakhon Ratchasima
 
ดร.วินัย บัวประดิษฐ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา ได้มอบหมายให้นายชยาวุธ จันทร รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา เวียนหนังสือราชการที่ นม 0017.3/ว 11288 ลงวันที่ 10 มิถุนายน 2556 เรื่องปรับปรุงป้ายชื่อหน่วยงานในจังหวัดนครราชสีมาเพื่อรองรับการเข้าสู่ ประชาคมอาเชียน
 
ตามที่ประเทศไทยและกลุ่มประเทศอาเซียน จะมีการรวมรวมตัวของชาติในอาเซียน (Asean) 10 ประเทศ โดยมี ไทย, พม่า, ลาว, เวียดนาม, มาเลเซีย, สิงคโปร์, อินโดนีเซีย, ฟิลิปปินส์, กัมพูชา, บรูไน เพื่อที่จะให้มีผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจร่วมกัน จะมีรูปแบบคล้ายๆ กลุ่ม Euro Zone ใช้ชื่อเรียกย่อๆ ว่า AEC หรือ Asean Economics Community เพื่อจะทำให้มีผลประโยชน์, อำนาจต่อรองต่างๆ กับคู่ค้าได้มากขึ้น และการ นำเข้า-ส่งออก ของชาติในอาเซียน ก็จะเสรี ยกเว้นสินค้าบางชนิดที่แต่ละประเทศอาจจะขอไว้ไม่ลดภาษีนำเข้า (เรียกว่าสินค้าอ่อนไหว)
 
AEC หรือ Asean Economics Community คือการวมประเทศ Asean 10 ประเทศข้างต้นจะเข้าวเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (Asean Economics Community) ซึ่งจะมีผลจริงๆจังๆ ในวันที่ 31 ธันวาคม 2558 ณ วันนั้นจะทำให้ภูมิภาคนี้เปลี่ยนไป
 

และเพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา จึงได้มีการจัดทำป้ายชื่อสำนักงาน หน่วยงานราชการต่างๆ ทุกหน่วยงานในจังหวัดนครราชสีมา เป็นป้ายชื่อสำนักงาน ฯ แบบ 2 ภาษา คือ ภาษาไทยกับภาษาอังกฤษ โดยใช้พื้นสีขาวและตัวอักษรสีส้มแสด ซึ่งเป็นสีประจำของจังหวัดนครราชสีมา ซึ่งขณะนี้ทุกหน่วยราชการในศาลากลางจังหวัดนครราชสีมา มีการปรับเปลี่ยนเรียบร้อยแล้ว นอกจากนี้ ยังได้เวียนแจ้งการเขียนชื่อภาษาอังกฤษจังหวัดนครราชสีมา ที่เขียนอย่างถูกต้องแบบทางการ เพื่อการใช้แนวทางเดียวกัน คือ Nakhon Ratchasima

ผวจ.นครราชสีมา เชิญเฝ้ารับเสด็จฯ พระบรมฯ และ พระวรชายา อังคารที่ 30 กรกฎาคม 2556 นี้



ผวจ.นครราชสีมา เชิญเฝ้ารับเสด็จฯ พระบรมฯ และ พระวรชายา อังคารที่ 30 กรกฎาคม 2556 นี้

ประชาสัมพันธ์จังหวัดนคราชสีมา รายงานว่าด้วยสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร พร้อมด้วยพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีรัศมิ์ พระวรชายา ในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร จะเสด็จฯ ไปทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจ ในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา ในวันอังคารที่ 30 กรกฎาคม 2556 ดังนี้ 

ดร.วินัย บัวประดิษฐ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา ขอเชิญชาวนครราชสีมา ทุกท่าน เฝ้ารับเสด็จฯ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร และ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีรัศมิ์ พระวรชายา ในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ในวโรกาส เสด็จพระราชดำเนินมาประกอบพระราชกรณียกิจ ณ จังหวัดนครราชสีมา 3 พระภารกิจ ในวันอังคารที่ 30 กรกฎาคม 2556 ดังนี้
 
- เวลา 14.45 น. เสด็จฯถึง สนามบิน กองบิน 1 นครราชสีมา

- เวลา 15.00 น. เสด็จฯ ไปทรงประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์ และเปิดอาคารที่ทำการศาลจังหวัดนครราชสีมา (หลังใหม่) ณ อาคารที่ทำการศาลจังหวัดนครราชสีมา ถนนราชนิกูล อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา

- เวลา 16.00 น. เสด็จฯไปทรงเปิดอาคารยุพราชเบญจมงคล มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา ถนนสุรนารายณ์ ตำบลในเมือง อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา

- เวลา 17.00 น. เสด็จฯ ไปทรงเปิดอาคารที่ทำการศาลปกครองนครราชสีมา ณ อาคารที่ทำการศาล ปกครองนครราชสีมา ถนนรอบเมือง (บายพาส) ตำบลหนองกระทุ่ม อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา

- เวลา 18.00 น. ขอเชิญร่วมส่งเสด็จฯ ทั้ง 2 พระองค์ ณ สนามบิน กองบิน 1



โอกาสนี้ ดร.วินัย บัวประดิษฐ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา จึงขอเชิญชวนชาวนครราชสีมาทุกท่านเฝ้ารับเสด็จฯ ณ จุดที่สะดวกตามกล่าวข้างต้น พร้อมทั้งร่วมกันประดับธงชาติ ธงประจำพระองค์ และดูแลอาคารบ้านเรือน ร้านค้าของตนให้สะอาด เป็นระเบียบ เรียบร้อย เจริญตาโดยทั่วกัน

อนึ่ง ในวัน /เวลา ดังกล่าว (อังคาร 30 ก.ค.56) ประชาชนสามารถเฝ้ารับเสด็จฯได้ตามเส้นทางต่างๆ (ข้างล่าง) และหากมีภารกิจที่ต้องเดินทาง ควรหลีกเลี่ยงเส้นทางเสด็จฯ พระราชดำเนิน ดังนี้ คือ

เส้นทางแรก จากสนามบินกองบิน 1 มาตามถนนในค่ายสุรนารี ผ่านอนุสาวรีย์จ่าดำ ผ่านจวนผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา ผ่านวัดสุทธจินดา เข้าบริเวณที่ทำการศาลจังหวัดนครราชสีมา

เส้นทางที่สอง จากที่ทำการศาลจังหวัดนครราชสีมา ผ่านวัดสุทธจินดา ไปตามถนนวัชรสฤษดิ์-จักรี ผ่านอนุสาวรีย์ย่าโม ไปเลี้ยวที่โรงเรียนอนุบาลนครราชสีมา เข้าสู่ถนนสุรนารายณ์ เข้า มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา

เส้นทางที่สาม จากมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา เลี้ยวไปตามถนนสุรนารายณ์ ผ่านโรงแรมดุสิตปริ้นเซส สำนักงาน ปภ.เขต 5 ถึงแยกสะพานสูงจอหอ ผ่านโรงเรียนตำรวจภูธร เข้าแยกบายพาสราชสีมา-ชัยภูมิ ไปตามถนนมิตรภาพบายพาส สู่ศาลปกครองนครราชสีมา

เส้นทางที่สี่ จากศาลปกครองนครราชสีมา มาตามทางแยกต่างระดับ ราชสีมา-ปักธงชัย เข้าถนน 304 ผ่าน สถานีตำรวจภูธรโพธิ์กลาง สนามกีฬาเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษาฯ เข้าสู่สนามบิน กองบิน 1 นครราชสีมา








จ.นครราชสีมา แจ้งประชาชนทราบเส้นทางที่จะเสด็จฯในวันอังคารที่ 30 กรกฎาคม 2556 นี้


ประชาสัมพันธ์จังหวัดนคราชสีมา รายงานว่า ด้วยสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร พร้อมด้วยพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีรัศมิ์ พระวรชายา ในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร จะเสด็จฯ ไปทรงประกอบ 3 พระราชกรณียกิจ ในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา อังคารที่ 30 กรกฎาคม 2556 มีเส้นทางเสด็จพระราชดำเนิน ดังนี้


ดร.วินัย บัวประดิษฐ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา จึงขอเชิญชวนชาวนครราชสีมาทุกท่าน เฝ้ารับเสด็จฯ ณ จุดที่สะดวก พร้อมทั้งร่วมกันประดับธงชาติ ธงประจำพระองค์ และดูแลอาคารบ้านเรือน ร้านค้าของตนให้สะอาด เป็นระเบียบ เรียบร้อย เจริญตาโดย ประชาชนสามารถเฝ้ารับเสด็จฯได้ตามเส้นทางต่างๆ (ข้างล่าง) และหากมีภารกิจที่ต้องเดินทางหรือใช้เส้นทาง ควรหลีกเลี่ยงเส้นทางเสด็จฯ พระราชดำเนิน ดังนี้ คือ


เส้นทางแรก เวลาประมาณ 14.45 น. เสด็จฯ จากสนามบินกองบิน 1 มาตามถนนในค่ายสุรนารี ผ่านอนุสาวรีย์ จ่าดำ ผ่านจวนผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา ผ่านวัดสุทธจินดา เข้าบริเวณที่ทำการศาลจังหวัดนครราชสีมา เพื่อทรงประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์ และเปิดอาคารที่ทำการศาลจังหวัดนครราชสีมา(หลังใหม่)


เส้นทางที่สอง เวลาประมาณ 15.45 น. เสด็จฯ จากที่ทำการศาลจังหวัดนครราชสีมา ผ่านวัดสุทธจินดา ไปตามถนนวัชรสฤษดิ์-จักรี ผ่านอนุสาวรีย์ย่าโม ไปเลี้ยวที่โรงเรียนอนุบาลนครราชสีมา เข้าสู่ถนนสุรนารายณ์ เข้า มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา เพื่อทรงเปิดอาคารยุพราชเบญจมงคล มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา


เส้นทางที่สาม เวลาประมาณ 16.45 น. จากมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา เลี้ยวไปตามถนนสุรนารายณ์ ผ่านโรงแรมดุสิตปริ้นเซส สำนักงาน ปภ.เขต 5 ถึงแยกสะพานสูงจอหอ ผ่านโรงเรียนตำรวจภูธร เข้าแยกบายพาสราชสีมา-ชัยภูมิ ไปตามถนนมิตรภาพบายพาส สู่ศาลปกครองนครราชสีมา เพื่อทรงเปิดอาคารที่ทำการศาลปกครองนครราชสีมา ถนนรอบเมือง (บายพาส) ตำบลหนองกระทุ่ม



เส้นทางที่สี่ เวลาประมาณ 17.45 น. เสด็จฯ จากศาลปกครองนครราชสีมา มาตามทางแยกต่างระดับ ราชสีมา-ปักธงชัย เข้าถนน 304 ผ่าน สถานีตำรวจภูธรโพธิ์กลาง สนามกีฬาเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษาฯ เข้าสู่สนามบิน กองบิน 1 นครราชสีมา เพื่อเสด็จฯ ประทับเครื่องบินพระที่นั่งกลับกรุงเทพมหานคร เวลา 18.00 น.


จังหวัดนครราชสีมา จึงขอเชิญชวนทุกท่าน เฝ้ารับเสด็จฯ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร และ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีรัศมิ์ พระวรชายา ในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ตามเส้นทางที่เสด็จผ่านฯ โดยทั่วกัน




สสว. เชิญชวน SMEs นครราชสีมา ร่วมโครงการช่วยสนับสนุนดอกเบี้ยเงินกู้ แบ่งเบาภาระค่าจ้างแรงงาน

ประชาสัมพันธ์จังหวัดนครราชสีมา รายงานว่า สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) ร่วมกับ สถาบันการเงินของรัฐและเอกชน เชิญชวน SMEs นครราชสีมา ร่วมโครงการช่วยสนับสนุนดอกเบี้ยเงินกู้ แบ่งเบาภาระค่าจ้างแรงงาน

สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาด ย่อม (สสว.) ร่วมกับ สถาบันการเงินของรัฐและเอกชน จัดโครงการช่วยสนับสนุนดอกเบี้ยแก่ SMEs เพื่อช่วยลดผลกระทบแก่เจ้าของธุรกิจ SMEs จากการปรับค่าจ้างแรงงาน ในอัตรา 300 บาทต่อวัน โดยจะสนับสนุนดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 3 ต่อปี วงเงินสินเชื่อสูงสุด 1 ล้านบาท เป็นระยะเวลา 1 ปี นับจากวันที่ลงนามในสัญญาเงินกู้ เพื่อช่วยบรรเทาปัญหาให้กับผู้ประกอบการ SMEs 12 กลุ่มธุรกิจหลักที่ได้รับผลกระทบ คาดว่าภายใน 1 ปีนี้ผู้ประกอบการจะสามารถลดต้นทุนและดำเนินกิจการได้อย่างมั่นคงต่อเนื่อง
 
ทั้งนี้ โครงการมีวัตถุประสงค์ลดปัญหาระยะสั้นให้กับผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบ ด้านการลดภาระต้นทุนการผลิตเพื่อให้ SMEs สามารถปรับตัวได้ดีขึ้นในระยะสั้น โดยคณะทำงานจะลงพื้นที่ประชาสัมพันธ์โครงการฯ ใน 4 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดนครราชสีมา จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดอุดรธานี และจังหวัดสุราษฎร์ธานี เชิญตัวแทนจากอุตสาหกรรมจังหวัด หอการค้าจังหวัด และสภาอุตสาหกรรมจังหวัด ในเขตพื้นที่ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้ (รวม 51 จังหวัด) รวมถึงตัวแทนจากผู้ประกอบการ SMEs ร่วมฟังคำชี้แจงโครงการฯ
 
โดยครั้งแรก กำหนดจัดขึ้นที่จังหวัดนครราชสีมา ในวันที่ 17 กรกฎาคม 2556 ณ ห้องสุรนารี บอลล์รูม เอ โรงแรมดุสิต ปริ๊นเซส จังหวัดนครราชสีมา ระหว่างเวลา 13.00 น. ถึง 15.30 น.
 
ผู้ประกอบการ SMEs ที่สนใจเข้าร่วมโครงการสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ทุกสาขาของ สถาบันการเงิน ที่เข้าร่วมโครงการฯ หรือดูรายละเอียดได้ที่ www.sme.go.th 

ยูนิลีเวอร์ส่งมอบ “บ้านอยู่สุข 80 พรรษาบรมราชินีนาถ 80 ปียูนิลีเวอร์” แก่ชาวชัยภูมิ 4 ราย

จังหวัดชัยภูมิ ร่วมกับกลุ่มบริษัท ยูนิลีเวอร์ ในประเทศไทย มอบ "บ้านอยู่สุข 80 พรรษาบรมราชินีนาถ 80 ปี ยูนิลีเวอร์" หรือ บ้านอยู่สุขฯ ให้ครอบครัวผู้ยากไร้และขาดโอกาส ชาวจังหวัดชัยภูมิ จำนวน 4 ครอบครัว

การมอบบ้านอยู่สุข ครั้งนี้ ได้จัดพิธีที่ หน้าบ้านของนางกอง พันธ์แจ้ง เลขที่ 12 หมู่ 4 ต.หนองตูม อ.ภูเขียว จ.ชัยภูมิ ซึ่งเป็น 1 ใน 4 ครอบครัว คนดีต้นแบบ ของจังหวัดชัยภูมิ ที่ทางกลุ่มบริษัท ยูนิลีเวอร์ ในประเทศไทย สร้างและมอบให้ ตามโครงการ "บ้านอยู่สุข 80 พรรษาบรมราชินีนาถ 80 ปี ยูนิลีเวอร์" หรือ บ้านอยู่สุขฯ ที่จัดทำขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติและน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณสมเด็จพระ นางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เนื่องในวโรกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา มีนายพรศักดิ์ เจียรณัย ผู้ว่าราชการจังหวัดชัยภูมิ เป็นประธานในพิธี

ซึ่งคนดีต้นแบบ ชาวชัยภูมิ อีก 3 คน ที่ได้รับมอบบ้านอยู่สุข คือ นางอ่อนสี ลอยนิสัย อายุ 76 ปีเลขที่ 1103 ต.สามสวน อ.บ้านแท่น, นายคำบ่อ เจียมา อายุ 58 ปี เลขที่ 130 หมู่ที่ 2 ต.ชีบน อ.บ้านเขว้า และนางระเบียบ รัตนศรี อายุ 59 ปี เลขที่ 81 หมู่ 5 ต.บ้านเป้า อ.เกษตรสมบูรณ์ จ.ชัยภูมิ

นอกจากนี้ ยังมีหน่วยงานต่างๆ มอบสิ่งของ ให้เป็นของขวัญแก่คนดีต้นแบบทั้ง 4 คน ของชาวชัยภูมิด้วย ประกอบด้วยเหล่ากาชาดจังหวัดชัยภูมิ กิ่งกาชาดอำเภอภูเขียว องค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยภูมิ องค์การบริหารส่วนตำบลหนองตูม ทั้งเครื่องอุปโภคบริโภค เครื่องครัว เครื่องไฟฟ้า ผ้าห่ม พัดลม เป็นต้น สร้างความปลาบปลื้มใจแก่ผู้ได้รับเลือกเป็นคนดีต้นแบบทั้ง 4 ท่าน เป็นอย่างยิ่ง



 

สุระพงค์ สวัสดิ์ผล /ข่าว

ผู้ว่าฯ ขอนแก่น ลงพื้นที่รับทราบปัญหาของชาวอำเภอเวียงเก่า

นายสมศักดิ์ สุวรรณสุจริต ผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่นลงพื้นที่รับทราบปัญหาความเดือดร้อนของชาวอำเภอ เวียงเก่าที่ห้องประชุมที่ว่าการอำเภอพบปะกำนัน นายกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั้ง 3 ตำบลเพื่อรับทราบปัญหาความเดือดร้อนของชาวเวียงเก่าซึ่งสรุปว่าชาวอำเภอ เวียงเก่าต้องการระบบพื้นฐานไฟฟ้า ประปาขยายเขตรวมทั้งขุดลอกหนองน้ำและขอรับชุดพิทักษ์คุ้มครองป่าซึ่งผู้ว่า ราชการจังหวัดฝากให้ทุกตำบลจัดตั้งอาสาสมัครรักษาป่าป้องกันการลักลอบตัดไม้ พยุงหลังช่วงเดือนนี้ทางอุทยานระบุขบวนการลักลอบเข้ามาตัดไม้พยุงอีกหลัง ช่วงมี.ค.ถึงพ.ค.มีการรุกหนักจนจนขบวนการตัดไม้พยุงล่าถอยแต่ตอนนี้ชุด พิทักษ์ป่าได้ออกพื้นที่แล้วทำให้ขบวนการลักลอบตัดไม้กลับมาอีกจนน่าตกใจ เพราะพวกตัดไม้จะขนไม้มาช่วงตี4ตี5จึงฝากให้นายอำเภอ หัวหน้าอุทยานเป็นเจ้าภาพประชุมร่วมตำรวจ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นร่วมมือกันให้เข้มผลัดเปลี่ยนเวรยามหมู่บ้านเพราะ ทางเข้าออกเวียงเก่ามีทางเดียวคือช่องเขาปากช่องเท่านั้น รวมทั้งให้เกษตรอำเภอเวียงเก่าส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกข้าวพันธุ์ดีไว้ จำหน่ายเพราะพื้นที่เหมาะสมนอกจากนั้นก็ได้ปลูกต้นพะยุงไว้ที่หน้าอำเภอด้วย       

งานมอบเกียรติบัตรผู้มีผลงานเด่นโครงการเครือข่ายวัฒนธรรมไม่ยุ่งเกี่ยวยาเสพติด

(10 กรกฎาคม 2556 ) 10.00 น. ที่มหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย วิทยาเขตอีสาน อำเภอเมืองขอนแก่นจังหวัดขอนแก่นโดยสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดจัดโครงการ จังหวัดขอนแก่น ไม่ยุ่งเกี่ยวยาเสพติดของเครือข่ายวัฒนธรรมในจังหวัดขอนแก่น เพราะปัจจุบันปัญหายาเสพติดได้ขยายเครือข่ายมาสร้างปัญหาให้กับสังคมจนเป็น สิ่งที่รัฐบาลต้องแก้ไขปัญหาอย่างเร่งด่วนทุกภาคส่วนต้องทำงานบูรณาการร่วม กันเพื่อให้ยาเสพติดหมดไปหรือลดน้อยลงจังหวัดขอนแก่นได้ให้ความสำคัญเป็น อย่างมาก ทางสำนักงานวัฒนธรรมและหน่วยงานในสังกัดได้ใช้หน่วยทุกหน่วยจัดการกับปัญหา ในด้านวัฒนธรรมก็ใช้มิติทาง ศาสนา และวัฒนธรรมต่างๆมาร่วมมือกันตามที่ประกาศเจตนารมย์ร่วมกันว่า จังหวัดขอนแก่นไม่ยุ่งเกี่ยวยาเสพติดเป็นวาระจังหวัดร่วมกันมีเครือข่ายด้าน วัฒนธรรมเฝ้าระวัง ควบคุมพื้นที่เสี่ยง ส่งเสริมพื้นที่สร้างสรรค์โดยการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ป้องกันและแก้ไขปัญหา ยาเสพติดร่วมกัน งานนี้มีนายสุระ เตชทัต ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรมเป็นประธาน และมอบรางวัลเกียรติบัตรให้กับเครือข่ายวัฒนธรรมทั้งสื่อมวลชน ผู้ประกอบการร้านอินเตอร์เน็ต สื่อพื้นบ้าน หน่วยงานบุคคลที่ร่วมดำเนินงานโครงการจังหวัดขอนแก่นไม่ยุ่งเกี่ยวยาเสพติด มีโบสถ์/มัสยิดสีขาว 21 แห่ง ร้านเกมส์ร้านคาราโอเกะสีขาวระดับ 3 ดาว 79 แห่งองค์กรเครือข่ายวัฒนธรรมด้านการจัดกิจกรรมป้องกันปัญหายาเสพติดในมิติ ศาสนา และวัฒนธรรมดีเด่น 26 องค์กร เครือข่ายผู้มีผลงานดีเด่นด้านวัฒนธรรมในการส่งเสริมโครงการป้องกันปัญหายา เสพติด และวัฒนธรรมดีเด่น 49 รายสำหรับสื่อมวลชนที่เป็นเครือข่ายวัฒนธรรมดีเด่นประจำปี 2556 มีทีมงานสังกัดกรมประชาสัมพันธ์ทั้ง 4 แห่งเข้ารับโล่รางวัลและเกียรติบัตร สำหรับบุคคลดีเด่น ประกอบด้วย ประชาสัมพันธ์จังหวัดขอนแก่น สถานีโทรทัศน์ช่อง 11 ขอนแก่น สถานีวิทยุแห่งประเทศไทยจังหวัดขอนแก่นและสถานีวิทยุเพื่อการศึกษาขอนแก่น เข้ารับรางวัลดีเด่น 4 ใน 8 แห่งที่ได้รางวัล      

กาฬสินธุ์จำนำข้าวเปลือกตันละ 15,000 บาทไม่เกินวงเงินห้าแสนบาทต่อราย

นายสุวิทย์ สุบงกฎ ผู้ว่าราชการจังหวัดกาฬสินธุ์แจ้งว่า คณะกรรมการนโยบายข้าว (กขช.) ได้มีการประชุมเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2556 เพื่อพิจารณาทบทวนการปรับราคาจำนำตามข้อเรียกร้องของเกษตรกรและมีมติให้คง ราคาจำนำข้าวเปลือกเจ้า 100 % ความชื้นไม่เกิน 15% ในราคาตันละ 15,000 บาท และข้าวเปลือกเจ้าชนิดอื่นๆ กลับมาที่ราคาเดิม โดยจะรับจำนำไม่เกินปริมาณที่ระบุไว้ในหนังสือรับรองเกษตรกรที่ออกโดยกรมส่ง เสริมการเกษตร ให้มีผลบังคับตั้งแต่วันที่ 30 มิถุนายน 2556 ถึงวันที่ 15 กันยายน 2556 ยกเว้นภาคใต้ สิ้นสุดวันที่ 30 สิงหาคม 2556 และรับจำนำไม่เกินปริมาณผลผลิตที่ระบุในหนังสือรับรองเกษตรกรได้รับและต้อง ไม่เกินวงเงิน 500,000 บาท
 



สุวรรณ ศรีอาภรณ์ ข่าว

เรือนจำจังหวัดกาฬสินธุ์จัดงานวันพบญาติแบบใกล้ชิด 19-30 สิงหาคม 2556 นี้

นายชาติชาย ไชยรักษ์ นักทัณฑวิทยาชำนาญการพิเศษ เรือนจำจังหวัดกาฬสินธุ์แจ้งว่า เรือนจำจังหวัดกาฬสินธุ์ ได้กำหนดจัดงานวันพบญาติแบบใกล้ชิด ประจำปี 2556 ขึ้นในระหว่างวันที่ 19-30 สิงหาคม 2556 เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ต้องขังที่มีความประพฤติดี อยู่ในระเบียบวินัยของเรือนจำ มีโอกาสได้รับการเยี่ยมเยียนใกล้ชิดจากครอบครัวและญาติในเรือนจำแบบถึงตัว ไม่มีสิ่งกีดขวางการสนทนา เพื่อส่งเสริมความสัมพันธ์ที่ดีของสถาบันครอบครัว ซึ่งจะมีผลต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมช่วยให้ผู้ต้องขังกลับตนเป็นพลเมืองดี ต่อไปในอนาคต

นักทัณฑวิทยาชำนาญการพิเศษ เรือนจำจังหวัดกาฬสินธุ์แจ้งอีกว่า ญาติผู้ต้องขังท่านใดมีความประสงค์จะร่วมงานวันพบญาติแบบใกล้ชิด ขอให้ยื่นหลักฐานจองพบญาติใกล้ชิด ได้ที่ฝ่ายทัณฑปฏิบัติ ส่วนควบคุมและทัณฑปฏิบัติ เรือนจำจังหวัดกาฬสินธุ์ ตั้งแต่บัดนี้ไปจนถึงวันที่ 9 สิงหาคม 2556 นี้ หรือสอบถามรายละเอียดเพิ่มได้ที่หมายเลขโทรศัพท์ 0 4387 3345 ในวันและเวลาราชการ



สุวรรณ ศรีอาภรณ์ ข่าว

ขนส่งกาฬสินธุ์จัดอบรมเพื่อขอรับใบอนุญาตเป็นผู้ประจำรถระหว่างวันที่ 27-29 สิงหาคม 2556

นางวิไลลักษณ์ ศรีวณิชชากร ขนส่งจังหวัดกาฬสินธุ์ เปิดเผยว่า สำนักงานขนส่งจังหวัดกาฬสินธุ์ กำหนดจัดอบรมเพื่อขอรับใบอนุญาตเป็นผู้ประจำรถ ได้แก่ ผู้ขับรถ ผู้เก็บค่าโดยสาร นายตรวจ และผู้บริการ ประจำเดือนสิงหาคม 2556 ระหว่างวันที่ 27-29 สิงหาคม 2556 จึงขอแจ้งให้ผู้ที่ประสงค์จะเข้ารับการอบรมเพื่อขอรับใบอนุญาตเป็นผู้ประจำ รถตาม พ.ร.บ.การขนส่งทางบก สามารถยื่นใบสมัครพร้อมเอกสาร บัตรประจำตัวประชาชน (พร้อมถ่ายสำเนา 1 ชุด), ใบรับรองแพทย์, รูปถ่ายขนาด 1 นิ้ว 4 รูป (ใส่เสื้อเชิ้ตสีสุภาพ ไม่สวมหมวก ไม่สวมแว่นกันแดด) ,ผู้ที่ประสงค์จะรับใบอนุญาตขับรถแบบพลาสติกไม่ต้องใช้รูปถ่าย ได้ตั้งแต่บัดนี้ไปจนถึงวันที่ 27 สิงหาคม 2556 ที่ฝ่ายใบอนุญาตขับรถ สำนักงานขนส่งจังหวัดกาฬสินธุ์ โทรศัพท์ 043-821704 ต่อ 17 ในวัน เวลาราชการ



ดวงใจ หงษ์จันทร์ / ข่าว