วันอาทิตย์ที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

รองผู้ว่าฯ มหาสารคาม กำชับโรงสี คงราคารับจำนำ 15,000 บาท/ตัน วงเงินไม่เกิน 500,000 บาท/ราย

รองผู้ว่าราชการจังหวัดมหาสารคาม กำชับโรงสีที่เข้าโครงการรับจำนำข้าวเปลือก ปี 2555/56 ทุกแห่ง ปฏิบัติตามมติ กขช. วันที่ 1 กค.56 และ มติ ครม. 2 กค. 56 โดยให้คงราคารับจำนำ 15,000 บาท/ตัน ตามเดิม และการรับจำนำของเกษตรกรในวงเงินไม่เกิน 500,000 บาท/ราย จนถึงวันที่ 15 กันยายน นี้

นายธวัช สุระบาล รองผู้ว่าราชการจังหวัดมหาสารคาม ปฏิบัติราชการแทนในฐานะประธานอนุกรรมการติดตามกำกับดูแลการรับจำนำระดับ จังหวัด กล่าวว่า จากการที่จังหวัดมหาสารคาม ได้แจ้งมติคณะรัฐมนตรี ในคราวประชุมนัดพิเศษ วันที่ 19 มิถุนายน 2556 ที่เห็นชอบตามที่คณะกรรมการน.โยบายข้าวแห่งชาติ หรือ กขช. ให้ปรับลดราคารับจำนำข้าวเปลือกเจ้า 100 % จากเดิม 15,000บาท/ตัน เป็น 12,000 บาท/คัน และข้าวแปลือกชนิดอื่น ๆ ปรับลด 20% จากราคาที่กำหนดไว้เดิม โดยมีระยะเวลาตั้งแต่วันที่ 30 มิถุนายน-15 กันยายน 2556 นั้น ในคราวประชุม กขช. เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม ได้มีการพิจารณาทบทวนการปรับราคารับจำนำ ตามข้อเรียกร้องของเกษตรกร และมีมติให้คงราคารับจำจำข้าวเปลือกเจ้า 100% ความชื้นไม่เกิน 15% ในราคาตันละ 15,000 บาท และข้าวเปลือกชนิดอื่น ๆ กลับมาอยู่ที่ราคาเดิม โดยจะรับจำนำไม่เกินปริมาณที่ได้ระบุไว้ในหนังสือรับรองเกษตรกรรที่ออก โดยกรมส่งเสริมสหกรณ์ และให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 30 มิถุนายน – 15 กันยายน 2556 ยกเว้นภาคใต้ สิ้นสุดวันที่ 30 พฤศจิกายน 2556

ดังนั้น จึงขอความร่วมมือจุดรับจำนำทุกแห่งของจังหวัดมหาสารคาม ที่เข้าร่วมโครงการรับจำนำข้าวเปลือก ปีการผลิต 2555/56 กับรัฐบาล ได้ดำเนินการตามมติ กขช.และมติ ครม. ในการปรับราคาดังกล่าว ทั้งนี้ปริมาณการรับจำนำจะต้องไม่เกินปริมาณผลผลิตที่ระบุไว้ในหนังสือ รับรองเกษตรกรที่กรมส่งเสริมสหกรณ์ออกให้ และวงเงินรับจำนำไม่เกิน รายละ 500,000 บาท





ส.ปชส.มหาสารคาม/ข่าว

ปฏิบัติการฝนหลวงพื้นที่มหาสารคาม ช่วง 24-30 มิย.มีฝนตกเล็กน้อย-ปานกลาง

ศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวงภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ปฏิบัติการฝนหลวงเพื่อช่วยเหลือพื้นที่การเกษตรและเติมน้ำลงในอ่างเก็บน้ำ พื้นที่จังหวัดมหาสารคาม ช่วยเหลือเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากฝนทิ้งช่วง ระหว่างวันที่ 24-30 มิถุนายน ที่ผ่านมา ผลการปฏิบัติการมีฝนตกเล็กน้อย-ปานกลาง

นายปิยะพัทธ์ โมวพรหมานุช นักวิเคราะห์นโยบายและแผน ชำนาญการ สำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดมหาสารคาม เปิดเผยว่า ศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวงภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้รายงานผลการปฏิบัติการฝนหลวงของหน่วยปฏิบัติการฝนหลวงจังหวัดขอนแก่น จังหวัดนครราชสีมา และจังหวัดอุบลราชธานี ที่ได้ปฏิบัติการฝนหลวงช่วยเหลือพื้นที่การเกษตรและเติมน้ำลงในอ่างเก็บน้ำ ต่างๆ ของพื้นที่จังหวัดมหาสารคาม เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากภาวะฝนทิ้งช่วงเป็นเวลานาน ระหว่างวันที่ 24-30 มิถุนายน 2556 ว่า ได้ขึ้นบินปฏิบัติการในช่วงวันดังกล่าวจำนวน 3 วัน 5 เที่ยวบิน รวม 6.55 ชั่วโมง ผลการปฏิบัติการฝนหลวงมีฝนตกเล็กน้อย-ปานกลาง ในพื้นที่การเกษตรจังหวัดมหาสารคาม จำนวน 3 วัน

ทั้งนี้ ทางสำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดมหาสารคาม จะได้มีการติดตามและประสานงานกับศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวงภาคตะวันออกเฉียง เหนือ จังหวัดขอนแก่น อย่างใกล้ชิดเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากภาวะฝนทิ้งช่วงต่อไป




ส.ปชส.มหาสารคาม/ข่าว

ชาวมหาสารคามกว่า 1500 คน ร่วมเสวนา พูดจาหาทางออกประเทศไทย

ชาวจังหวัดมหาสารคาม 1531 คน จาก 13 อำเภอ ร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในเวทีประชาเสวนา พูดจาหาทางออกประเทศไทย เพื่อหาแนวทางที่สร้างสรรค์ในการลดความขัดแย้ง สร้างความเข้าใจในการ อยู่ร่วมกันอย่างสันติในสังคม
 
(7-7-56) ในการจัดเวทีประชาเสวนาพูดจาหาทางออกประเทศไทย ที่คณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ (คอป.) ร่วมกับจังหวัดมหาสารคาม จัดขึ้นที่หอประชุมเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ซึ่งเป็น 1 ใน 108 เวที ทั่วประเทศ โดยมีผู้แทนที่มาจากภาคการเกษตร แรงงาน ข้าราชการ เจ้าหน้าที่ของรัฐ ภาคอุตสาหกรรม การบริการ การค้า แพทย์ พยาบาล นักเรียน นักศึกษา นักวิชาการ ผู้นำชุมชน องค์กรภาคประชาชน องค์กรการเมือง พระภิกษุ องค์กรสตรี และสื่อมวลชน รวม 1,531 คน จาก 13 อำเภอ ของจังหวัดมหาสารคาม เข้าร่วมรับฟังและระดมความคิดเห็น
 
การจัดเวทีประชาเสวนาพูดจาหาทางออกประเทศไทย จังหวัดมหาสารคาม ครั้งนี้ ได้มีการนำเสนอวิดิทัศน์ ความสำคัญและความเป็นมาของโครงการ มีการเสวนาเรื่อง สาเหตุความขัดแย้งในสังคมไทย โดยมีวิทยากรที่เป็นภาคประชาชน นักวิชาการ องค์กรการเมือง และภาคเอกชน จากจังหวัดนครราชสีมา ชัยภูมิ และมหาสารคาม ร่วมเสวนา

ขณะเดียวกันในภาคบ่าย ยังได้มีการแบ่งกลุ่ม ระดมสมอง จำนวน 10 กลุ่ม โดยหยิบยกประเด็นปัญหาที่ทาง คอป.สรุปมาหารือร่วมกัน คือ 1.ความเข้าใจประชาธิปไตยที่แตกต่างกัน 2.ความเคลือบแคลงในหลักนิติธรรม 3.ตุลาการภิวัฒน์ การแทรกแซงองค์กรอิสระ 4.การรัฐประหาร และบทบาทของทหารในการจัดการความขัดแย้ง 5.ความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจและสังคม 6.การขยายตัวของสื่อการเมืองและสื่อบุคคล 7.การกล่าวอ้างสถาบันพระมหากษัตริย์เพื่อประโยชน์ทางการเมือง 8.สังคมขาดองค์ความรู้ในการจัดการความขัดแย้งและสันติวิธี 9.ความขัดแย้งแบบเดิมพันสูง
 
เพื่อร่วมกันหาแนวทางที่สร้างสรรค์ในการลดความขัดแย้ง สร้างความเข้าใจในการ อยู่ร่วมกันอย่างสันติในสังคม และ คอป.ก็จะได้นำความคิดเห็นดังกล่าว ไปประมวลรวมกับอีก 107 เวที เสนอต่อนายกรัฐมนตรีต่อไป
 
 
 


ส.ปชส.มหาสารคาม/ข่าว

ยโสธรเปิดค่ายปรมาณูเพื่อยเยาวชน

สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ สังกัดกระทรวงวิทยาศาสตร์ เสริมความรู้เรื่องนิวเคลียร์ให้กับเยาวชนจังหวัดยโสธร ที่โรงเรียนยโสธรพิทยาคม อ.เมือง จ.ยโสธร นายนิรันดร์ สมสมาน รองผู้ว่าราชการจังหวัด เป็นประธานเปิดค่าย " เยาวชนนิวเคลียร์สัมพันธ์ รักอะตอม ” นางสิริวรรณ เรืองรอง ผอ.กองสื่อสารเผยแพร่และความร่วมมือระหว่างประเทศสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ กล่าวว่า การจัดกิจกรรมเข้าค่ายในครั้งนี้ เพื่อให้เยาวชน โดยเฉพาะนักเรียนในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ซึ่งกำลังเรียนศึกษาเกี่ยวกับวิชาฟิสิกส์นิวเคลียร์ ได้รับความรู้ต่างๆ เกี่ยวกับพลังงานนิวเคลียร์และรังสี และรู้สึกมั่นใจถึงความปลอดภัยในการนำพลังงานนิวเคลียร์มาใช้ประโยชน์ ในชีวิตประจำวัน ซึ่งก็เป็นหน้าที่หลักของสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ สังกัดกระทรวงวิทยาศาสตร์ ในการออกมาให้ความรู้ในด้านต่างๆของพลังงานนิวเคลียร์รูปแบบจิกรรมค่าย " เยาวชนนิวเคลียร์สัมพันธ์ รักอะตอม ” ในวันนี้ประกอบด้วย การบรรยาย/การสาธิตและสันทนาการซึ่งจะทำให้น้องๆเยาวชนสนุกสนานเพลิดเพลินไป กับกิจกรรมต่างๆ 

ยโสธรเสวนาหาทางออกประเทศไทย

จังหวัดยโสธรจัดเวทีประชาพูดจาเสวนาหาทางออกประเทศไทย เช้านี้ (6 ก.ค 56 ) ที่หอประชุมวิทยาลัยเทคนิคยโสธร กลุ่มพลังมวลชน/ ผู้นำท้องถิ่น/ ข้าราชการ/ ทหาร /ตำรวจ / นักเรียนนิสิตนักศึกษา/ พระภิกษุสงฆ์ เปิดเวทีพูดจาเสวนาหาทางออกประเทศไทย โดยมีนายประวัติ ถีถะแก้ว ผู้ว่าราชการเข้าร่วมสังเกตการณ์ ตามที่คณะรัฐมนตรี ได้มีมติ อนุมัติโครงการจัดเวทีประชาเสวนาหาทางออกประเทศไทย ตามข้อเสนอของ คณะกรรมการประสานและติดตามผลการดำเนินงาน ตามข้อเสนอของคณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริง เพื่อการปรองดองแห่งชาติ (ปคปอ.) เห็นชอบให้ดำเนินการจัดเวทีประชาเสวนาหาทางออกประเทศไทย เพื่อเป็นการลดความขัดแย้งทางการเมืองที่ผ่านมา ซึ่งเป็นประเด็นปัญหาของประเทศไทย ณ วันนี้ โดยได้มอบหมายให้กรมการพัฒนาชุมชนเป็นหน่วยงานรับผิดชอบไปดำเนินการ สำหรับวันนี้เวทีประชาพูดจาเสวนาหาทางออกประเทศไทย ของจังหวัดยโสธร มีตัวแทนจากภาคเกษตรกร/ ภาคแรงงาน /ข้าราชการ /เจ้าหน้าที่ของรัฐ/ ภาคอุตสาหกรรม แพทย์/ พยาบาล/ นักวิชาการ /ผู้นำท้องถิ่น/ องค์กรภาคประชาชน /พระภิกษุ /นักบวช /ผู้นำศาสนา/ สื่อมวลชน จำนวนกว่า 600 คน เข้าร่วมเสวนา การเสวนามีการแบ่งกลุ่มย่อย แยกเสวนาแต่ละประเด็นปัญหา ที่คิดว่าเป็นปัญหาที่ทำให้เกิดการสร้างความขัดแย้ง อธิ ประเด็นรัฐประหาร /ประเด็นการแก้ไขรัฐธรรมนูญ/ ประเด็นการทุจริตคอรัปชั่น เป็นต้น จากนั้นก็จะนำข้อสรุปแต่ละประเด็นต่างๆนำเสนอต่อ คณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริง เพื่อการปรองดองแห่งชาติ (ปคปอ.) เพื่อให้นำเสนอรัฐบาลต่อไป

จังหวัดอำนาจเจริญออกหน่วยโครงการบำบัดทุกข์บำรุงสุขสร้างรอยยิ้มให้ประชาชนและหน่วยแพทย์เคลื่อนที่บริการประชาชนที่อำเภอพนา

จังหวัดอำนาจเจริญ ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน จัดกิจกรรมโครงการบำบัดทุกข์ บำรุงสุข  สร้างรอยยิ้มให้ประชาชน ในพื้นที่อำเภอหัวตะพาน

เมื่อวันที่ ๔ กรกฎาคม ๒๕๕๖ เวลา  ๐๙.๓๐ น.   ณ ที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลจานลาน หมู่ ๕ ตำบลจานลาน อำเภอหัวพนา นายอภิชาติ งามกมล  รองผู้ว่าราชการจังหวัดอำนาจเจริญ  เป็นประธานเปิดโครงการบำบัดทุกข์ บำรุงสุข สร้างรอยยิ้มให้ประชาชน ซึ่งจังหวัดอำนาจเจริญ ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน จัดขึ้นเพื่อให้หน่วยงานราชการ ภาคเอกชน จำนวนกว่า ๓๐ หน่วยงาน ได้มีโอกาสใกล้ชิดสัมผัสชีวิตความเป็นอยู่และรับทราบปัญหาของประชาชน และนำบริการต่างๆ ไปสู่ประชาชนในพื้นที่โดยตรง โดยมี นางนิภาภรณ์  ชื่นวาริน  นายกเหล่ากาชาดจังหวัดอำนาจเจริญ  พร้อมคณะหัวหน้าส่วนราชการระดับจังหวัดและอำเภอ  ภาคเอกชน นำกิจกรรมต่างๆ ออกไปให้บริการ มีประชาชนไปร่วมกิจกรรมเป็นจำนวนมาก  สำหรับสภาพปัญหาความต้องการประชาชนตำบลจานลาน คือ ปัญหาถนนหนทางและสะพานสัญจรชำรุด รวมทั้งปัญหาน้ำกร่อย(น้ำกระด้าง) ที่ใช้ในการอุปโภคบริโภค ซึ่งเป็นปัญหาความเดือดร้อนและประชาชนมีความต้องการให้ทางราชการช่วย เหลือ    ซึ่งทางหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องได้รับทราบและจะนำไปพิจารณาให้การช่วย เหลือตามลำดับความสำคัญและความจำเป็นเร่งด่วนต่อไป    

ส่วนกิจกรรม   มีการบริการหลากหลายรูปแบบ ทั้งการออกหน่วยบริการ การจัดนิทรรศการให้ความรู้  ปรึกษาแนะนำด้านการประกอบอาชีพ คลินิกพืช คลินิกสัตว์ การแสดงและจำหน่ายสินค้า OTOP  รวมทั้งการให้ความรู้ทางด้านกฎหมาย  การบริการตรวจร่างกาย  รักษาโรคของหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ บริการนวดแผนไทย  และบริการตัดผมเสริมสวยฟรี เหล่ากาชาดจังหวัดอำนาจเจริญ  มอบชุดยาพระราชทานแก่ชุมชน  ถุงยังชีพ   เครื่องนุ่งห่มกันหนาว  แก่ผู้สูงอายุ /ผู้ด้อยโอกาส จำนวน ๕๐ ราย มอบเงินสงเคราะห์ ๒๐ รายๆละ ๑,๐๐๐ บาท และมอบพันธ์ปลาจำนวน ๑ แสนตัว ให้ผู้นำหมู่บ้านปล่อยลงแหล่งน้ำสาธารณะเลี้ยงเป็นอาหารโปรตีนในชุมชน หมู่บ้านต่อไป 




สุรพล บุตรวงศ์/ข่าว

กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในจังหวัดอำนาจเจริญขอให้ผู้ร่วมพัฒนาชาติไทยที่ยื่นคำร้องขอรับการช่วยเหลือ (ที่ยังตกค้างในบางอำเภอ) เข้ารับการคัดกรองคุณสมบัติตามวันที่กำหนด

ประกาศ กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในจังหวัดอำนาจเจริญ
ด้วยคณะอนุกรรมการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของผู้ร่วมพัฒนาชาติไทยจังหวัดอำนาจเจริญ ได้ประกาศให้ผู้ร่วมพัฒนาชาติไทย ที่มีความเดือดร้อนยื่นคำร้องขอรับการช่วยเหลือของผู้ร่วมพัฒนาชาติไทย (ผรท.) ในพื้นที่จังหวัดอำนาจเจริญ ตั้งแต่วันที่ ๔ มีนาคม ๒๕๕๖ ถึงวันที่ ๑๕ พฤษภาคม ๒๕๕๖ บัดนี้คณะทำงานแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของผู้ร่วมพัฒนาชาติไทย ได้ดำเนินการคัดกรองผู้ร่วมพัฒนาชาติไทย ตั้งแต่วันที่ ๑๑ มิถุนายน ๒๕๕๖ ถึงวันที่ ๑๕ กรกฎาคม ๒๕๕๖  ครบตามจำนวนผู้ที่ยื่นคำร้องไปแล้วหลายอำเภอ
แต่จากการตรวจสอบรายชื่อจำนวนผู้ที่ยื่นคำร้องแล้ว ปรากฏว่า ยังมีผู้ร่วมพัฒนาชาติไทยที่ยื่นคำร้องขอรับการช่วยเหลือบางส่วนที่ยังตก ค้างไม่ได้เข้ารับการคัดกรอง ดังนั้น คณะอนุกรรมการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของผู้ร่วมพัฒนาชาติไทยจังหวัดอำนาจ เจริญ จึงขอแจ้งให้ผู้ที่ยื่นคำร้อง (ยังตกค้าง) ในพื้นที่ อำเภอหัวตะพาน , อำเภอพนา , อำเภอลืออำนาจ , อำเภอเมือง  และอำเภอปทุมราชวงศา ไปเข้ารับการคัดกรองกับคณะทำงาน ในวันที่ ๘ กรกฎาคม ๒๕๕๖  และผู้ตกค้างของอำเภอชานุมาน เข้ารับการคัดกรองในวันที่ ๑๑ กรกฎาคม ๒๕๕๖  และผู้ตกค้างของอำเภอเสนางคนิคม เข้ารับการคัดกรอง ในวันที่ ๑๒ กรกฎาคม ๒๕๕๖  ทางกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในจังหวัดอำนาจเจริญ จึงขอประกาศแจ้งให้ผู้ร่วมพัฒนาชาติไทยในพื้นที่ดังกล่าว เข้ารับการคัดกรองจากคณะทำงาน ตามวันที่กำหนด ณ กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในจังหวัดอำนาจเจริญ ศาลากลางจังหวัดอำนาจเจริญ 


สุรพล บุตรวงศ์ /ข่าว

อุดรฯ จัดพิธีเจริญจิตตภาวนาร่วมฟังพระธรรมเทศนาถวายพระพรถวายพระราชกุศลในหลวงราชินี

จังหวัดอุดรธานีกำหนดจัดพิธีเจริญพระพุทธมนต์เจริญจิตตภาวนาร่วมฟังพระธรรม เทศนาถวายพระพรชัยมงคลและถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ ครั้งที่ 4

เมื่อเวลา 17.00 น. วันนี้ ( 5 ก.ค.56 ) ที่ศาลาบุณสิงห์ วัดโพธิสมภรณ์พระอารามหลวง อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี นายเสนีย์ จิตตเกษม ผู้ว่าราชการจังหวัดอุดรธานี เป็นประธานพิธีเจริญพระพุทธมนต์เจริญจิตตภาวนาร่วมฟังพระธรรมเทศนาถวายพระพร ชัยมงคลและถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนาง เจ้าฯพระบรมราชินีนาถ โดยมีพระอาจารย์ด็อกเตอร์พระมหาบาง เขมานันโท เจ้าคณะอำเภอหนองหาน (มหานิกาย)เป็นประธานฝายสงฆ์ พระสงฆ์ 9 รูปเจริญจิตภาวนา และนายณรงค์ พลละเอียด รองผู้ว่าราชการจังหวัดอุดรธานี หัวหน้าส่วนราชการ ข้าราชการ เจ้าหน้าที่ นักเรียน นักศึกษาในพื้นที่จังหวัดอุดรธานี ร่วมประกอบพิธี

นายณัฐสิทธิ์ วงค์ตลาด ผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดอุดรธานี กล่าวว่า ในการประชุมมหาเถรสมาคมครั้งที่ 27/2555 เมื่อวันที่ 11 ธันวาคม 2555 ที่ประชุมมีมติเห็นชอบให้กำหนดการจัดพิธีเจริญพระพุทธมนต์เจริญจิตตภาวนา ร่วมฟังพระธรรมเทศนาถวายพระพรชัยมงคลและถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ ประจำปีพุทธศักราช 2556 โดยให้จัดพิธีฯในทุกๆวันที่ 5 ของทุกเดือนตั้งแต่วันที่ 5 เมษายน –4 ธันวาคม 2556 จังหวัดอุดรธานีจึงกำหนดจัดพิธีฯดังกล่าวขึ้น ณ ลานพุทธโพธิ์ทอง หน้าพลับพลาพิธีทุ่งศรีเมืองอุดรธานี แต่เนื่องจากในเดือนมิถุนายน และเดือนกรกฎาคม เป็นช่วงฤดูฝนไม่สะดวกจัดในสถานที่ดังลก่าวจึงย้ายมาจัดที่ศาลาบุญสงห์ วัดมัชฌิมาวาสแทน เพื่อให้ปวงชนชาวจังหวัดอุดรธานีทุกหมู่เหล่าได้ร่วมแสดงความกตัญญูกตเวที น้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณและแสดงความจงรักภักดีถวายเป็นพระราชกุศล ซึ่งจังหวัดอุดรธานีได้กำหนดให้จัดพิธีเจริญพระพุทธมนต์เจริญจิตภาวนาร่วม ฟังพระธรรมเทศนา ถวายพระพรชัยมงคลและถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและ สมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถในทุกวันที่ 5 ของทุกเดือนเริ่มตั้งแต่วันที่ 5 เมษายน –พฤศจิกายน 2556 และวันที่ 4 ธันวาคม 2556 เวลา 16.00 น.รวม 9 ครั้ง ซึ่งผู้มาร่วมพิธีฯจะได้กระทำความดีให้ถึงพร้อม และการทำจิตใจให้ผ่องแผ้ว อันจะทำให้เป็นผู้ที่มีความสามารถพึ่งตนเองและเป็นที่พึ่งของผู้อื่นได้ รวมทั้งสามารถนำการบำเพ็ญกุศลในครั้งนี้ไปเป็นหลักในการดำเนินชีวิตให้เกิด ประโยชน์แก่ตนเอง ครอบครัว สังคม และประเทศชาติโดยร่วมสืบไป

สำหรับการประกอบพิธีในครั้งที่ 5 ครั้งต่อไปกำหนดจัดวันจันทร์ที่ 5 สิงหาคม 2556 ที่ศาลาบุญสิงห์ วัดมัชฌิมาวาส พระอารามหลวง ในการนี้สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดอุดรธานี จึงขอเชิญชวนชาวอุดรธานีทุกหมู่เหล่าร่วมน้อมจิตน้อมกาย ร่วมใจมาแสดงพลัง ร่วมพิธีเจริญพระพุทธมนต์เจริญจิตตภาวนาร่วมฟังพระธรรมเทศนาถวายพระพรชัย มงคลและถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนาง เจ้าฯพระบรมราชินีนาถ โดยพร้อมเพรียงกัน




ทีมข่าว ส.ปชส.อด. ศรีภูมิ ทองใหญ่ ณ อยุธยา ข่าว/ภาพ

ผู้ว่าดำนา

ผู้ว่าราชการจังหวัดอุดรธานี ปริ๊งไอเดีย งานหลวงวันธรรมดางานนาวันหยุด ปรับพื้นที่ 16 ไร่ที่บ้านนากว้าง อำเภอเมือง ทำไร่นาสวนผสมเกษตรทฤษฎีใหม่ ขยายผลโครงการ 1 ไร่ได้ 1แสน สร้างศูนย์เรียนรู้แก่เกษตรกรและประชาชนที่สนใจ 


แดดร่มลมตกของวันเสาร์อาทิตย์ที่ผ่านมา นายเสนีย์ จิตตเกษม ผู้ว่าราชการจังหวัดอุดรธานี นำหัวหน้าส่วนราชการ ข้าราชการ เจ้าหน้าที่ ประชาชนในพื้นที่ตำบลนากว้างและตำบลหมู่ม่น อำเภอเมืองอุดรธานี ร่วมลงแขกดำนาในที่นา ของผู้ว่าราชการจังหวัดอุดรธานี โดยมีนางช่อผกา จิตตเกษม นายกเหล่ากาชาดจังหวัดอุดรธานี นายณรงค์ พลละเอียด รองผู้ว่าราชการจังหวัดอุดรธานี นายจีระศักดิ์ คำรณฤทธิ์ศร ปลัดจังหวัดอุดรธานี พันเอกอำนวย จุลโนนยาง เสนาธิการมณฑลทหารบกที่ 24 นายมาลัยวรณ์ ตั้งอรุณสวัสดิ์ นายอำเภอเมืองอุดรธานีและภริยา ตลอดจนนายอำเภอ ปลัดอำเภออีกหลายอำเภอร่วมลงแขกดำนาในครั้งนี้
นายเสนีย์ จิตตเกษม ผู้ว่าราชการจังหวัดอุดรธานี กล่าวว่า การทำการเกษตรเป็นเรื่องของจิตวิญญาณ เพราะเป็นการแสดงให้เห็นถึงความรักความสามัคคี และความสุขของพี่น้องเกษตรกร อาชีพเกษตรถือเป็นอาชีพที่น่าชื่นชอมและน่ายกย่อง และด้วยเจตจำนงที่ต้องการให้กำลังใจเกษตรกรและชาวนา จึงได้คิดคำขวัญขึ้นมาว่า งานหลวงวันธรรมดางานนาวันหยุด และเพื่อเป็นแบบอย่างให้กับชาวนาในการทำนาทำไร่ จึงได้ปรับพื้นที่ 16 ไร่ที่บ้านากว้างทำไร่นาสวนผสมเกษตรทฤษฎีใหม่ โดยการผสมผสานความรู้ด้านกสิกรรม ประมง ปศุสัตว์ ในการสร้างสมดุลธรรมชาติให้กลับคืนมาด้วยจุลินทรีย์ประสิทธิภาพสูง เพื่อเป็นศูนย์เรียนรู้เกษตรปลอดสารพิษ โดยนำองค์ความรู้จากหน่วยงานราชการมาขยายผล โดยเฉพาะโครงการ 1 ไร่ได้ 1 แสน เพื่อเป็นศูนย์สาธิตและศูนย์เรียนรู้แก่เกษตรกรชาวนาและประชาชนที่สนใจ โดยมีหลักในการคิดคือการเติมสรรพสิ่งอะตอมมิคนาโน ให้น้ำเมื่อน้ำมีความสมดุลจะสร้างสาหร่ายและแพลงก์ตอนเป็นอาหารปลาและกบ เป็ด ขี้เป็ด ขี้กบและขี้ปลาเป็นอาหารพืชน้ำ กุ้ง หอย ขี้กุ้ง หอย เป็นปุ๋ยน้ำ และน้ำปุ๋ยที่เกิดขึ้นนำมาเป็นปุ๋ยน้ำใส่นาข้าว
สำหรับพื้นที่ 16 ไร่ ขุดดินเป็นคูสูงรอบที่ เพื่อป้องกันสารเคมีเข้านา บนคันคูดินรอบที่ปลูกมะพร้าวน้ำหอม ปลูกหญ้าแฝกป้องกันดินทลาย แบ่งที่เป็นนาข้าว 3 ไร่ ขุดคลองรอบนาข้าวเลี้ยงกบ ปลากินพืช และปลากินเนื้อ อาทิ ปลาดุก ปลานิล ขุดสระเพื่อเป็นแห่งน้ำและเลี้ยงปลาน้ำลึก 3 ไร่ ปลูกส้มโอ มะม่วงนอกฤดู 141 ต้น โดยใช้ปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ ปุ๋ยหมัก มูลสัตว์ งดใช้ปุ๋ยเคมี พร้อมเลี้ยงเป็ดเป็นการสร้างปุ๋ยและสร้างรายได้รายวัน ด้วยการเก็บไข่ขาย ทำโรงเพาะเห็ด และสร้างบ้านพักอาศัย




ทีมข่าว ส.ปชส.อด. ศรีภูมิ ทองใหญ่ ณ อยุธยา / ข่าว

ต้อนรับฝูงบิน231กลับฝึกอินโดนีเซีย

กองบิน 23 อุดรธานี จัดพิธีต้อนรับฝูงบิน 231 เครื่องบินอัลฟ่าเจ็ต หลังเสร็จสิ้นภารกิจฝึกร่วมผสมทางอากาศ "ELANG THAINESIA” ครั้งที่ 16 ณ ประเทศอินโดนีเซีย ซึ่งการปฏิบัติภารกิจในครั้งนี้ ได้สร้างชื่อเสียงให้กับกองบิน 23 และกองทัพอากาศไทย

เย็นวานนี้(6 ก.ค.56) ที่ลานจอดเครื่องบิน ฝูงบิน 231 กองบิน 23 กองพลบินที่ 2 อุดรธานี น.อ.ศรสิต กีรติพล ผบ.กองบิน 23 เป็นประธานต้อนรับนักบินอัลฟ่าเจ็ต ฝูงบิน 231 กองบิน 23 จำนวน 4 ลำ หลังเสร็จสิ้นภารกิจเดินทางกลับจากการเข้าร่วมการฝึกร่วมผสมทางอากาศ "ELANG THAINESIA” ครั้งที่ 16 ระหว่างวันที่ 24 มิถุนายน ถึงวันที่ 5 กรกฎาคม 2556 ที่ประเทศอินโดนีเซีย โดยมีเพื่อนข้าราชการและครอบครัวให้การต้อนรับอย่างอบอุ่น

น.อ.ศรสิต กีรติพล ผบ.กองบิน 23 กล่าวว่า สำหรับการฝึกครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาทักษะและเพิ่มพูนประสบการณ์ใน การปฏิบัติการทางอากาศผสมระหว่างกองทัพอากาศไทยและกองทัพอากาศอินโดนีเซีย เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ในการวางแผนและสนับสนุนการปฏิบัติการทางอากาศผสม และเพื่อกระชับความสัมพันธ์อันดีระหว่างกองทัพอากาศไทยและกองทัพอากาศ อินโดนีเซีย ซึ่งผลการปฏิบัติภารกิจได้ 100 เปอร์เซ็นต์ ปลอดภัย มีการแสดงออกถึงความมุ่งมั่น ความรัก ความสามัคคี ได้รับความชื่นชมจากผู้บัญชาการกองทัพ และสร้างชื่อเสียงให้กับกองบิน 23 และกองทัพอากาศไทย ก็ด้วยความร่วมมือร่วมใจและการสนับสนุนจากเจ้าหน้าที่สนับสนุนการบินทุกส่วน

ซึ่งการฝึกร่วมผสมระหว่างกองทัพอากาศไทยและกองทัพอากาศอินโดนีเซีย ฝึกร่วมกันเป็นครั้งแรกในต้นปี 2524 ใช้ชื่อรหัสการฝึกว่า "ELANG THAINESIA” คำว่า ELANG เป็นภาษาอินโดนีเซียแปลว่า นกอินทรีย์ ส่วนคำว่า THAINESIA เป็นคำร่วมกันระหว่าง THAI และ INDONESIA กองทัพอากาศไทยและกองทัพอากาศอินโดนีเซียเห็นชอบร่วมกันที่จะจัดให้มีการฝึก ทุกๆปี โดยผลัดกันเป็นเจ้าภาพ ต่อมาในปี 2527 กองทัพอากาศอินโดนีเซียประสบปัญหาด้านงบประมาณ จึงเสนอให้ทำการฝึก 2 ปีต่อครั้ง




ทีมข่าว ส.ปชส.อด. เครือข่ายการประชาสัมพันธ์ ส.ปชส.อด.