วันพฤหัสบดีที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2556

สระแก้วประชุมเชิงปฏิบัติการจัดทำแผนยุทธศาสตร์พืชพลังงาน-พลังงานสะอาด สู่จังหวัดต้นแบบพืชพลังงาน

วันนี้ (20 มิ.ย. 2556) ที่ห้องประชุมบูรพา ศาลากลางจังหวัดสระแก้ว นายภัครธรณ์  เทียนไชย ผู้ว่าราชการจังหวัดสระแก้วเป็นประธานเปิดการประชุมการจัดทำยุทธศาสตร์พืช พลังงาน-พลังงานสะอาดของจังหวัดสระแก้วแบบมีส่วนร่วม และมอบนโยบายพร้อมทิศทางการพัฒนาพืชพลังงานในจังหวัดสระแก้วโดนได้เชิญ วิทยากรจำนวน 3 ท่านได้แก่ นายมนตรี  โยธารักษ์ หอการค้าไทย มาให้ความรู้ในเรื่องสถานการณ์และโครงสร้างการใช้พลังงานของประเทศและผล กระทบในภาพรวมของการพัฒนาพลังงานแต่ละชนิดในมิติของเศรษฐกิจ ผศ.ดร.วิชัย  ศิวะโกศิษฐ์ ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เรื่อง ภาพรวมของพลังงานทดแทน-พลังงานสะอาด (แหล่งที่มาการแปรรูปการพัฒนาเทคโนโลยีและการนำไปใช้ในภาคครัวเรือน เกษตรกรรมและอุตสาหกรรม)และผศ.ดร.นิคม  แหลมสัก (ภาควิชาวนผลิตภัณฑ์ คณะวนศาสตร์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์) มาให้ความรู้แก่ผู้เข้าร่วมอบรมในวันนี้และในช่วงบ่ายมีการจัดกลุ่มเพื่อ ระดมความคิดเห็น กำหนดความต้องการข้อเสนอแนะในประเด็นแนวทางการพัฒนาจังหวัดไปสู่การเป็น เมืองแห่งพืชพลังงาน-พลังงานสะอาด โดยนำเสนอถึงผลกระทบที่มีผลต่อเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม

นาย ภัครธรณ์  เทียนไชย ผู้ว่าราชการจังหวัดสระแก้ว เปิดเผยว่า ความเข้มแข็งของพืชเกษตรเป็นความมั่นคงของอาหารและพลังงานซึ่งการจัดการ ทรัพยากรธรรมชาติเป็นรากฐานการผลิตภาคเกษตรเข้มแข็งและสามารถใช้ประโยชน์ อย่างยั่งยืน เป็นฐานรากในการผลิตอาหารและพลังงานให้มีความมั่นคงโดยเพิ่มประสิทธิภาพและ ศักยภาพการผลิตภาคเกษตร รวมถึงเทคโนโลยีการเกษตรที่เหมาะสมและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม  การสร้างมูลค่าสินค้าทางการเกษตร 


ผู้ว่าราชการจังหวัดสระแก้วการเพิ่มเติมว่า การประชุมเชิงปฏิบัติการในวันนี้เพื่อให้เจ้าหน้าที่ ส่วนราชการจังหวัด อำเภอรวมทั้งตัวแทนภาคประชาชนมีความรู้ความเข้าใจในบริบทของพืชพลังงานเพื่อดำเนินการวางแผนพัฒนาพืชพลังงานซึ่งเป็นPositioningของจังหวัดสระแก้วได้อย่างมีประสิทธิภาพ  พร้อมทั้งการปฏิบัติงานสามารถตอบสนองความต้องการของประชาชนและแก้ไขปัญหาของประชาชนให้เหมาะตามสภาพภูมิศาสตร์ของจังหวัดสระแก้ว และจังหวัดสระแก้วมีทิศทางที่ชัดเจนในการมุ่งไปสู่จังหวัดต้นแบบพืชพลังงานต่อไป    

จังหวัดสระแก้วจัดเสวนาหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรมระดับจังหวัด

นายชูศักดิ์ ตรีสาร  รองผู้ว่าราชการจังหวัดสระแก้ว เป็นประธานเปิดโครงการเสวนาหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรมระดับจังหวัด เพื่อเป็นศูนย์บริการร่วมของกระทรวงยุติธรรม ทำหน้าที่อำนวยความยุติธรรมให้กับประชาชน ณ ห้องประชุมพลับพลึง วิทยาลัยชุมชนสระแก้ว อ.เมือง จ.สระแก้ว นาย ชูศักดิ์ ตรีสาร รองผู้ว่าราชการจังหวัดสระแก้ว เป็นประธานเปิดโครงการเสวนาหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรมระดับจังหวัด โดย นายคัมภีร์ อนุรักษ์ ผู้บัญชาการเรือนจำจังหวัดสระแก้วปฏิบัติการหัวหน้าสำนักงานยุติธรรมจังหวัด สระแก้ว กล่าวต้อนรับและกล่าวรายงาน ในการจัดโครงการเสวนาหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรมระดับจังหวัด เพื่อเป็นการขับเคลื่อนกระบวนการยุติธรรม และเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจในกระบวนการยุติธรรมให้แก่ประชาชน ได้รับรู้ การจัดเสวนาครั้งนี้มีหน่วยงานในสังกัดกระทรวงยุติธรรม เครือขายยุติธรรมชุมชน เครือข่ายอาสาสมัครคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ เข้าร่วมเสวนา จำนวน 100 คน และ เป็นนโยบายของกระทรวงยุติธรรม ให้มีการจัดตั้งสำนักงานยุติธรรมจังหวัดขึ้นทุกจังหวัด เพื่อเป็นศูนย์บริการร่วมของกระทรวงยุติธรรม ทำหน้าที่ในการอำนวยความยุติธรรมให้กับประชาชน ทั้งด้านการป้องกันและควบคุมอาชญากรรมการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ การแก้ไข บำบัดฟื้นฟูผู้กระทำผิดตลอดจนการสร้างความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินเพื่อ ให้ประชาชนเข้าถึงความยุติธรรมอย่างเสมอภาคและสังคมเกิดความสงบสุขอย่าง ยั่งยืน

ปชส.สระแก้ว จัดสัมมนาเครือข่ายประชาสัมพันธ์ การรณรงค์ป้องกันสาธารณภัยและรับมือภาวะวิกกฤตภัยน้ำท่วมในพื้นเขตเศรษฐกิจ

วันนี้ (18 มิ.ย.) เวลา 09.30 น. ที่ห้องประชุมรีเวอร์ ไซด์ รีสอร์ท อรัญประเทศ จ.สระแก้ว นายภัครธรณ์ เทียนไชย ผู้ว่าราชการจังหวัดสระแก้ว ได้เป็นประธานเปิดสัมมนาเครือข่ายประชาสัมพันธ์ การรณรงค์ป้องกันสาธารณภัยและวิกฤต โดยมีนางสมพร มโนรัตน์ ประชาสัมพันธ์จังหวัดสระแก้ว นำนางจรัส ใยเยื้อ หน.สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดสระแก้ว นำหัวหน้าส่วนราชการ นายกสมาคมนักข่าวนักสื่อสารมวลชนจังหวัดสระแก้ว สื่อสารมวลชน เครือข่ายประชาสัมพันธ์ เข้าร่วมโครงการในครั้งนี้

นางสมพร มโนรัตน์ ประชาสัมพันธ์จังหวัดสระแก้ว กล่าวว่า เนื่องจากประเทศไทยได้ประสบปัญหาอุทกภัยครั้งใหญ่เมื่อปี ๒๕๕๔ สร้างความเสียหายทางเศรษฐกิจ,สังคม,ส่งผลกระทบต่อทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้มีการศึกษา สำรวจสถานการณ์ภัยพิบัติทางธรรมชาติของประเทศไทยพบว่ามีแนวโน้มของการเกิดภัยและความรุนแรง เพิ่มมากขึ้น ทั้งอุทกภัย แผ่นดินไหว ภัยแล้ง ไฟป่าและหมอกควัน ซึ่งมีผลกระทบต่อความเสียหายในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน รวมทั้งระบบเศรษฐกิจและสังคมของชาติ รัฐบาลให้ความสำคัญกับการแก้ไขปัญหาสาธารณภัยและภาวะวิกฤตที่เป็นภัยคุกคามต่างๆ ที่เกิดจากภัยธรรมชาติและภัยที่เกิดจากมนุษย์ ในทุกปี จังหวัดสระแก้วมักประสบปัญหาอุทกภัย โดยเฉพาะพื้นที่เสี่ยง อำเภออรัญประเทศ,อำเภอเมืองสระแก้ว,อำเภอโคกสูง,อำเภอวัฒนานครและอำเภอเขาฉกรรจ์ ดังนั้นเพื่อเป็นการเตรียมพร้อมในการป้องกันและการสร้างเครือข่ายประชาสัมพันธ์ ในระดับจังหวัด ได้ประสานงานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ประเทศ จ.สระแประสบภัยน้ำท่วมอย่างรุนแรง สร้างความเสียหายอย่างย่อยยับ ต่อธุรกิจและบ้านเรือนประชาชน เนื่องจากการมีส่วนร่วมในการกระจายข่าวของภาคประชาชน มีน้อยจึงไม่ทันต่อเหตุการณ์ ที่เกิดเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้เกิดความสูญเสียมาก ทางจังหวัดสระแก้ว โดยเฉพาะท่านผู้ว่าราชการจังหวัดจึงมีนโยบาย ให้ประชาสัมพันธ์ จังหวัดสระแก้วจัดโครงการจัดอบรมชี้แจงเครือข่ายประชาสัมพันธ์ขึ้นในแต่ละหมู่บ้าน เพื่อแจ้งเตือนและแจ้งข่าวไปยังประชาสัมพันธ์จังหวัด เพื่อที่จะได้รับมือและแก้ไขสถานการณ์ได้ทันท้วงที่ โดนมีเครือข่ายในแต่ละอำเภอที่มีจุดเสี่ยงโดยเฉพาะอำเภออรัญประเทศเข้าทำการอบรม จำนวน 50 คน หลังทำพิธีเปิดอบรมสัมมนาแล้ว


นายภัครธรณ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดสระแก้ว ได้ให้สัมภาษณ์ สื่อมวลชน เกี่ยวกับการป้องกันน้ำท่วมอรัญประเทศว่า การไม่ให้น้ำท่วมอรัญนั้นคงทำได้ยากเพราะเป็นประตูที่น้ำจะต้องไหลผ่านไปยังประเทศกัมพูชา แต่เราจะต้องหาทางทำให้น้ำไหลผ่านไปให้เร็วที่สุด เท่าที่เราจะทำได้ เพื่อไม่ให้น้ำท่วมตลาดเหมือนเมื่อปีที่ผ่านมา ทำให้เกิดความเสียหายอย่างใหญ่หลวง ส่วนที่ตลาดโรงเกลือ ซึ่งเป็นแหล่งเศรษฐกิจการค้าที่สำคัญ ของจังหวัดสระแก้ว ว่าทางจังหวัดได้ของบประมาณไปยังรัฐบาลแล้ว คาดว่าน่าจะได้รับการอนุมัติในเร็วๆนี้ แนวทางการแก้ไข เราจะต้องทำทางให้น้ำไหลไปทางอื่น หากเราสามารถเปลี่ยนทิศทางการไหลของน้ำได้ ตลาดโรงเกลือก็จะหมดปัญหาเรื่องน้ำท่วมอย่างแน่นอน

จังหวัดอำนาจเจริญจัดพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ(MOU) เพื่อสนับสุนนส่งเสริมและพัฒนาการศึกษาในจังหวัดอำนาจเจริญ

วันนี้ (19 มิ.ย. 56) เวลา 10.00 น. ณ ห้องประชุมเกียรติสุรนนท์ โรงเรียนอำนาจเจริญ นายวีระวัฒน์ ชื่นวาริน ผู้ว่าราชการจังหวัดอำนาจเจริญ เป็นประธานลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ(MOU)ระหว่างองค์การบริหารส่วนจังหวัดอำนาจเจริญ กับ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอำนาจเจริญและสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 29 (สหวิทยาเขต 8,9)

องค์การบริหารส่วนจังหวัดอำนาจเจริญ ได้ให้ความสำคัญกับการพัฒนาคุณภาพการศึกษาในภาพรวมของจังหวัดอำนาจเจริญ โดยมีนโยบายในการส่งเสริมจังหวัดอำนาจเจริญเป็นจังหวัดแห่งการเรียนรู้ เป็นการเปิดโอกาสให้ประชาชนในจังหวัดอำนาจเจริญได้เรียนรู้ในทุกช่วงวัย ทั้งในระบบและนอกระบบการศึกษา ทั้งทางตรงและทางอ้อม โดยการเพิ่มศักยภาพทางการศึกษาและการเรียนรู้อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพ เพื่อให้ประชาชนมีโอกาสเข้าถึงการศึกษาและเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต ซึ่งองค์การบริหารส่วนจังหวัดอำนาจเจริญได้ขับเคลื่อนนโยบายนี้มาตั้งแต่ปี 2548 เป็นต้นมา เพื่อให้การขับเคลื่อนมีประสิทธิภาพ องค์การบริหารส่วนจังหวัดอำนาจเจริญ กับ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอำนาจเจริญและสำนักวานเขตพื้นที่การ ศึกษามัธยมศึกษา เขต 29 จึงจัดให้มีการลงนามบันทึกข้อตกลงร่วมกันขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์ดังนี้ เพื่อสนับสนุนวัสดุ ครุภัณฑ์และการสื่อสารเรียนการสอนให้หน่วยงานที่จัดการศึกษาขั้นพื้นฐานใน จังหวัดอำนาจเจริญ เพื่อปรับปรุงดูแลซ่อมแซมสิ่งก่อสร้างในสถานศึกษา ส่งเสริมสนับสนุนการพัฒนาบุคลากรทางการศึกษาให้มีคุณภาพ สนับสุนนการพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอน ส่งเสริมและสนับสนุนกิจกรรมทางวิชาการ การกีฬา นันทนาการและงานอื่นๆ

เป้าหมายที่ดำเนินการ เพื่อสนับสนุนส่งเสริมและพัฒนาสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอำนาจเจริญ และสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 29 และสถานศึกษาที่อยู่ในการกำชับดูแลของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาในจังหวัดอำนาจเจริญ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง โรงเรียนอำนาจเจริญที่ร่วมเป็นเจ้าภาพในการประสานในพื้นที่ และสถานที่ในการจัดงานลงนาม (MOU) ในครั้งนี้




กฤษดา เนตรพันธ์ / ข่าว

จังหวัดอำนาจเจริญจัดงานรณรงค์ลงแขกดำนาข้าวหอมมะลิอินทรีย์วิถีชาวนาไทย

วันนี้ ( 18 มิ.ย. 56 ) ณ บ้านนาผาง หมู่ที่ 2 ตำบลห้วย อำเภอปทุมราชวงศา จังหวัดอำนาจเจริญ นายวีระวัฒน์ ชื่นวาริน ผู้ว่าราชการจังหวัดอำนาเจริญ เป็นประธานเปิดงานรณรงค์ลงแขกดำนาข้าวหอมมะลิอินทรีย์วิถีชาวนาไทย
โดย สำนักงานเกษตรจังหวัดอำนาจเจริญร่วมกับอำเภอประทุมราชวงศาและเทศบาลห้วย  จัดขึ้น  เพื่อให้เกษตรกรได้มีความรู้และตระหนักถึง ผลที่เกิดขึ้นจากพิษภัยของสารเคมีของสารเคมีที่มีผลกระทบต่อทรัพยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  ตลอดจนเกิดพิษภัยต่อสิ่งมีชีวิตทั้งมวล  จึงได้มีการจัดตั้งกลุ่มวิสาหกิจชุมชนผู้ปลูกข้าวหอมมะลิอินทรีย์โดยรวมตัว กันทำการผลิตข้าวอินทรีย์  เพื่อสร้างความมั่นคงและปลอดภัยต่อผู้ผลิตและบริโภค  เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมสร้างความสมดุลให้แก่ธรรมชาติให้มีความหลากหลายทาง ชีวภาพกลับคืนมาอย่างยั่งยืนขณะเดียวกันก็ยังเป็นการ ฟื้นฟูอนุรักษ์วัฒนธรรม  วิถีชีวิตชาวนาไทยไม่ให้สูญหาย  สำนักงานเกษตรจังหวัดอำนาจเจริญได้ร่วมกับอำเภอประทุมราชวงศาและเทศบาลห้วย  จัดงานรณรงค์แขกดำนาข้าวหอมมะลิอินทรีย์ขึ้น  ซึ่งมีกิจกรรมมอบปัจจัยในการผลิตให้กับเกษตรกร ได้แก่ เมล็ดพันธ์ข้าวหอมมะลิ 105, พันธุ์ไม้ผล-ไม้ยืนต้น, ปุ๋ยอินทรีย์  ตามโครงการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตข้าวหอมมะลิคุณภาพดีปีงบประมาณ  พ.ศ.2556  บัตรสินเชื่อเกษตร  แก่ตัวแทนเกษตรกรจำนวน 7 ราย  การลงแขกดำนาข้าวหอมมะลิอินทรีย์, การแข่งขันดำนาของนักนักเรียน,การสาธิตการไถนา คราดนา  ด้วยกระบือ, การสาธิตทำขนมโบราณจากข้าว และการจัดนิทรรศการของส่วนราชการและภาคเอกชนที่เกี่ยวข้อง 
นาย วีระวัฒน์ ชื่นวาริน ผู้ว่าราชการจังหวัดอำนาจเจริญ ได้กล่าวว่า การจัดงานครั้งนี้ นอกจากเป็นการอนุรักษ์วัฒนธรรม  ประเพณีการลงแขกดำนาข้าวหอมมะลิอินทรีย์และวิถีชีวิตชาวนาไทยแล้วยังส่ง เสริม   สนับสนุนให้มีการการผลิตข้าวหอมมะลิอินทรีย์อย่างแพร่หลาย  สร้างความสามัคคีในชุมชน มีความเอื้ออาทร ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน  เผยแพร่ประชาสัมพันธ์การดำเนินงานพัฒนาเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตข้าวหอมมะลิ อินทรีย์ของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ้านนาผาง รวมทั้งเป็นการบูรณาการจากทุกภาคส่วน  ส่งเสริมและสนับสนุนให้เป็นกลุ่มต้นแบบในการพัฒนาปลูกข้าวหอมมะลิอินทรีย์ แบบเบ็ดเสร็จ  ตามวิสัยทัศน์และยุทธศาสตร์ของจังหวัดอำนาจเจริญ  ที่ว่า  "ขาวหอมมะลิคุณภาพดีสู่ตลาดโลก ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีเส้นทางการค้าสู่สากล”
                                                                                                                                     



กฤษดา เนตรพันธ์ /ข่าว

กองทุนจุฬาภรณ์อุดรธานี มอบทุนช่วยเหลือด้านการศึกษา สงเคราะห์คนยากไร้และการรักษาพยาบาล ประจำปี 2556 เป็นเงิน 416,000 บาท

นายวินัย ตรงจิตพิทักษ์ หัวหน้าสำนักงานจังหวัดอุดรธานี ในฐานะกรรมการและเลขานุการ คณะกรรมการกองทุนจุฬาภรณ์อุดรธานี เปิดเผยว่า ตามที่สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าหญิงจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานเงินที่ได้รับการทูลเกล้าฯ ถวายจากประชาชนชาวจังหวัดอุดรธานี ในวโรกาสเสด็จทรงปฏิบัติพระกรณียกิจ ณ วัดป่าบ้านตาด เมื่อเดือนมีนาคม 2539 และเนื่องในโอกาสวันคล้ายวันประสูติ วันที่ 4 กรกฎาคม 2539 ให้จังหวัดตั้งเป็นกองทุน "กองทุนจุฬาภรณ์อุดรธานี” เพื่อช่วยเหลือด้านการศึกษา สงเคราะห์คนยากไร้ และการรักษาพยาบาล ปัจจุบัน กองทุนมีสถานะการเงิน ณ วันที่ 14 มิถุนายน 2556 เป็นเงินทั้งสิ้น 11 ล้าน4 แสน 8 หมื่น 4 พัน 9 บาท 8 สิบเอ็ดสตางค์ ซึ่งจังหวัดอุดรธานีได้มอบทุน ตามกองทุนจุฬาภรณ์อุดรธานีเป็นประจำทุกปี โดยกำหนดกรอบการใช้จ่ายเพื่อจัดสรรทุนตามวัตถุประสงค์ จากเงินดอกผลได้ได้จากกองทุนฯ ซึ่งสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าหญิงจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารีให้ความสำคัญกับด้านการศึกษาเป็นอันดับ 1 คณะกรรมการฯได้ดำเนินการตามแนวพระดำริของสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าหญิงจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี โดยให้ความสำคัญด้านการศึกษาจัดสรรทุนให้ด้านการศึกษาในปี 2556 เป็นเงิน 350,000 บาท สงเคราะห์คนยากไร้ จำนวนเงินตามกรอบ 50,000 บาท และทุนสงเคราะห์ในการรักษาพยาบาล จำนวน 16,000 บาท รวมเป็นเงินที่จะมอบเป็นทุนช่วยเหลือ 416,000 บาท
 
หัวหน้าสำนักงานจังหวัดอุดรธานี กล่าวต่อไปว่า นอกจากการบริหารเงินที่ได้จากดอกผลของเงินกองทุนฯแล้ว ยังต้องแสวงหาความร่วมมือจากหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน องค์กร มูลนิธิ สมาคม ในการสนับสนุนเงินกองทุนเพื่อมอบทุนช่วยเหลือด้วย ส่วนการมอบทุนกองทุนจุฬาภรณ์อุดรธานี จะมีการมอบทุนในเดือนกรกฎาคม 2556 ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี ทั้งนี้เพื่อให้สอดคล้องกับเดือนประสูติของสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครรากุมารี
 





พัฒนเดช ยศกรกุล ข่าว / ส.ปชส.อุดรธานี

ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจต้นแบบบ้านทับกุง อำเภอหนองแสง

นายเสนีย์ จิตตเกษม ผู้ว่าราชการจังหวัดอุดรธานี พร้อมด้วย นางช่อผกา จิตตเกษม นายกเหล่ากาชาดจังหวัดอุดรธานี และคณะข้าราชการ เจ้าหน้าที่และสื่อมวลชน ลงพื้นที่เยี่ยมชมศูนย์การเรียนรู้ผู้นำเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบบ้านทับกุง หมู่ 3 ตำบลทุบกุง อำเภอหนองแสงของนายบุญเกิด ยุบลพันธ์ ปราชญ์ชาวบ้านบ้านทับกุง ซึ่งประสบผลสำเร็จในการประกอบอาชีพเกษตรทฤษฎีใหม่ ไร่นาสวนผสมผสาน ในพื้นที่ 25 ไร่ แบ่งเป็นทำนาข้าว 10 ไร่ ปลูกพืชหมุนเวียนถั่วต่างๆ ข้าวโพด พืชผัก ไผ่ พืชยืนต้น พืชไร่ ผลไม้ชนิดต่างๆอาทิ กระท้อน ลำไย เงาะโรงเรียน ชมพู่ หมากเม่า มะม่วงเขียวเสวย มะขามหวาน มังคุด มะพร้าว และไม้ดอกไม้ประดับ เลี้ยงสุกร ปลาตะเพียรปลานิลแปลงเพศ ปลากินพืช เป็นอาหารโปรตีน ปลูกสมุนไพร และผลิตปุ๋ยหมัก ปุ๋ยพืชสด ปุ๋ยอินทรีย์ใช้เอง นอกจากจะเป็นการเก็บไว้กินไว้ใช้ในครัวเรือนแล้ว ยังสามารถจำหน่ายสร้างอาชีพสร้างรายได้แก่ครอบครัว

นายบุญเกิด ยุบลพันธ์ ปราชญ์ชาวบ้านบ้านทับกุง เปิดบ้านเป็นศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงแก่เกษตรกรผู้สนใจในพื้นที่และ ทั่วไป พร้อมเชิญชวนผู้รู้เป็นวิทยากรร่วมเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ด้านการเกษตร สำหรับแนวทางการดำเนินชีวิตของครอบครัวยุบลพันธ์ ยึดตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ที่ว่าพอประมาณ มีเหตุผล มีภูมิคุ้มกัน มีความรู้ควบคู่คุณธรรม ครอบครัวอบอุ่นและเข้มแข็ง มีการแบ่งปันและเกื้อกูลชุมชนและสังคม



ทีมข่าว ส.ปชส.อด. ศรีภูมิ ทองใหญ่ ณ อยุธยา ข่าว

บำบัดทุกข์บำรุงสุขสร้างรอยยิ้มให้ประชาชนอำเภอหนองแสง

ผู้ว่าราชการจังหวัดอุดรธานี นำบริการของหน่วยงานราชการลงพื้นที่ให้บริการประชาชนตามโครงการบำบัดทุกข์ บำรุงสุขสร้างรอยยิ้มให้ประชาชนชาวครั้งที่ 14 ที่อำเภอหนองแสง จังหวัดอุดรธานี

เมื่อเวลา 08.30 น.วันนี้ (19 มิ.ย.56) ที่ห้องประชุมโรงเรียนหนองแสงวิทยศึกษา หมู่ที่ 7 ตำบลทับกุง นายเสนีย์ จิตตเกษม ผู้ว่าราชการจังหวัดอุดรธานี พร้อมด้วยนางช่อผกา จิตตเกษม นายกเหล่ากชาดจังหวัดอุดรธานี หัวหน้าส่วนราชการ หน่วยงานภาครัฐลงพื้นที่ให้บริการประชาชนตามโครงการบำบัดทุกข์บำรุงสุขสร้าง รอยยิ้มให้ประชาชน โดยผู้ว่าราชการจังหวัดอุดรธานี นำหัวหน้าส่วนราชการระดับจังหวัด อำเภอ ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและประชาชนในพื้นที่ จังหวัดอุดรธานี ประกอบพิธีถวายราชสดุดีเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

จากนั้นนายวิศววัชร จันทสาร นายหนองแสง กล่าวรายงานความเป็นมาของอำเภอและกล่าวต้อนรับผู้ว่าราชการจังหวัดอดรธานี และคณะ เสร็จแล้ว ผู้ว่าราชการจังหวัดอุดรธานี กล่าวพบปะประชานที่มาร่วมกิจกรรม มอบทุนการศึกษากองทุนพัฒนาเด็กชนบทในพระราชอุปถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี 5 ทุนๆละ 500 บาท มอบรถเข็นคนพิการ 4 คัน มอบจักรยานแก่นักเรียนเรียนดีแต่ยากจน 17 คัน มอบสิ่งของสงเคราะห์ผู้ด้อยโอกาสและผู้มีรายได้น้อย ซึ่งองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานีและสำนักงานเหล่ากาชาดจังหวัดอุดรธานี ให้การสนับสนุนนำมามอบให้กับประชาชนรวม 500 ชุด ผู้ว่าราชการจังหวัดอุดรธานีนำหัวหน้าส่วนราชการปลูกต้นไม้ เสร็จแล้วเยี่ยมชมการออกหน่วยให้บริการประชาชนในพื้นที่ นิทรรศการของหน่วยงานราชการ สถาบันการศึกษา สินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ของดีอำเภอหนองแสง และร่วมประชุมรับทราบปัญหาความต้องการจากผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น นายอำเภอและหน่วยงานในพื้นที่ตำบลทับกุง

นายวิศววัชร จันทสาร นายหนองแสง กล่าวว่า อำเภอหนองแสง เดิมเป็นเขตการปกครองของอำเภอกุมภวาปี ยกฐานะเป็นกิ่งอำแภอตามประกาศ กระทรวงมหาดไทย เมื่อปี พ.ศ.2524 และ มีพระราชกฤษฎีกายกฐานะเป็นอำเภอ เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2531 อำเภอหนองแสง มีพื้นที่ 359 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 224,375 ไร่ ประกอบด้วย 4 ตำบล 38 หมู่บ้าน หมู่บ้าน 2 เทศบาลตำบล 3 องค์การบริหารส่วนตำบล มีประชากร 27,005 คนเป็นชาย 13,643 คน หญิง 13,362 คน ประชนชาส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม พืชเศรษฐกิจที่สำคัญ คือ อ้อย ข้าว สำหรับปัญหาความต้องการของตำบลทับกุง เป็นปัญหาปัจจัยขั้นพื้นฐานเรื่องสาธารณูปโภค อาทิ ปัญหาการขาดแคลนน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภค ถนนไม่สะดวก จึงเสนอขอให้จังหวัดสนับสนุนและให้การช่วยเหลือ 4 โครงการ อาทิ โครงการขุดเจาะบ่อบาดาลขนาดใหญ่สำหรับพื้นที่ในระดับตำบลของตำบลหนองแสง อำเภอหนองแสง ,โครงการช่วยเหลือและปรับปรุงระบบส่งน้ำจากห้วยฆ้องลงสู่สระสาธารณะหมู่ที่ 6 ตำบลหนองแสง อำเภอหนองแสง ,โครงการขุดลอกอ่างถ้ำผึ้ง บ้านทับกุง หมู่ที่3 ตำบลทับกุงอำเภอหนองแสง ขนาดกว้าง 150 เมตร ยาว 280 เมตร ลึก 5 เมตร และโครงการซ่อมสร้างผิวลาดยางพาราเคพซีล ถนนสายบ้านทับกุง ค่ยเยาวชนพิทักษ์ไพร ตำบลทับกุง อำเภอหนองแสง ระยะทาง 9กิโลเมตร

ผู้ว่าราชการจังหวัดอุดรธานี ฝากให้ส่วนราชการในพื้นที่บูรณาการการทำงานสนองนโยบายรัฐบาลและจังหวัด อุดรธานี โดยเฉพาะปัญหาหนี้สินครัวเรือน กองทุนพัฒนาบทบาทสตรี ปัญหาความยากจน ปัญหายาเสพติด โดยขอให้นำผู้เสพเข้าบำบัดด้วยความสมัครใจบังคับบำบัด ส่งเสริมอาชีพ พร้อมประชาสัมพันธ์การประกันตามมาตร 40 ซึ่งผู้สนใจสามารถ สมัครได้ที่ที่ว่าการอำเภอทุกแห่ง และขอให้ประชาชนร่วมจัดทำบัญชีครัวเรือนเพื่อให้รู้รายรับ บริหารรายจ่าย ใช้เงินให้เป็นประโยชน์ ซึ่งจังหวัดได้จัดนำบัญชีครัวเรือนออกแจกจ่ายให้กับประชาชนทั้ง 20 อำเภอแล้ว



ทีมข่าว ส.ปชส.อด. ศรีภูมิ ทองใหญ่ ณ อยุธยา ข่าว

บำบัดทุกข์บำรุงสุขสร้างรอยยิ้มให้ประชาชนอำเภอหนองแสง

ผู้ว่าราชการจังหวัดอุดรธานี นำบริการของหน่วยงานราชการลงพื้นที่ให้บริการประชาชนตามโครงการบำบัดทุกข์ บำรุงสุขสร้างรอยยิ้มให้ประชาชนชาวครั้งที่ 14 ที่อำเภอหนองแสง จังหวัดอุดรธานี

เมื่อเวลา 08.30 น.วันนี้ (19 มิ.ย.56) ที่ห้องประชุมโรงเรียนหนองแสงวิทยศึกษา หมู่ที่ 7 ตำบลทับกุง นายเสนีย์ จิตตเกษม ผู้ว่าราชการจังหวัดอุดรธานี พร้อมด้วยนางช่อผกา จิตตเกษม นายกเหล่ากชาดจังหวัดอุดรธานี หัวหน้าส่วนราชการ หน่วยงานภาครัฐลงพื้นที่ให้บริการประชาชนตามโครงการบำบัดทุกข์บำรุงสุขสร้าง รอยยิ้มให้ประชาชน โดยผู้ว่าราชการจังหวัดอุดรธานี นำหัวหน้าส่วนราชการระดับจังหวัด อำเภอ ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและประชาชนในพื้นที่ จังหวัดอุดรธานี ประกอบพิธีถวายราชสดุดีเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

จากนั้นนายวิศววัชร จันทสาร นายหนองแสง กล่าวรายงานความเป็นมาของอำเภอและกล่าวต้อนรับผู้ว่าราชการจังหวัดอดรธานี และคณะ เสร็จแล้ว ผู้ว่าราชการจังหวัดอุดรธานี กล่าวพบปะประชานที่มาร่วมกิจกรรม มอบทุนการศึกษากองทุนพัฒนาเด็กชนบทในพระราชอุปถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี 5 ทุนๆละ 500 บาท มอบรถเข็นคนพิการ 4 คัน มอบจักรยานแก่นักเรียนเรียนดีแต่ยากจน 17 คัน มอบสิ่งของสงเคราะห์ผู้ด้อยโอกาสและผู้มีรายได้น้อย ซึ่งองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานีและสำนักงานเหล่ากาชาดจังหวัดอุดรธานี ให้การสนับสนุนนำมามอบให้กับประชาชนรวม 500 ชุด ผู้ว่าราชการจังหวัดอุดรธานีนำหัวหน้าส่วนราชการปลูกต้นไม้ เสร็จแล้วเยี่ยมชมการออกหน่วยให้บริการประชาชนในพื้นที่ นิทรรศการของหน่วยงานราชการ สถาบันการศึกษา สินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ของดีอำเภอหนองแสง และร่วมประชุมรับทราบปัญหาความต้องการจากผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น นายอำเภอและหน่วยงานในพื้นที่ตำบลทับกุง

นายวิศววัชร จันทสาร นายหนองแสง กล่าวว่า อำเภอหนองแสง เดิมเป็นเขตการปกครองของอำเภอกุมภวาปี ยกฐานะเป็นกิ่งอำแภอตามประกาศ กระทรวงมหาดไทย เมื่อปี พ.ศ.2524 และ มีพระราชกฤษฎีกายกฐานะเป็นอำเภอ เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2531 อำเภอหนองแสง มีพื้นที่ 359 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 224,375 ไร่ ประกอบด้วย 4 ตำบล 38 หมู่บ้าน หมู่บ้าน 2 เทศบาลตำบล 3 องค์การบริหารส่วนตำบล มีประชากร 27,005 คนเป็นชาย 13,643 คน หญิง 13,362 คน ประชนชาส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม พืชเศรษฐกิจที่สำคัญ คือ อ้อย ข้าว สำหรับปัญหาความต้องการของตำบลทับกุง เป็นปัญหาปัจจัยขั้นพื้นฐานเรื่องสาธารณูปโภค อาทิ ปัญหาการขาดแคลนน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภค ถนนไม่สะดวก จึงเสนอขอให้จังหวัดสนับสนุนและให้การช่วยเหลือ 4 โครงการ อาทิ โครงการขุดเจาะบ่อบาดาลขนาดใหญ่สำหรับพื้นที่ในระดับตำบลของตำบลหนองแสง อำเภอหนองแสง ,โครงการช่วยเหลือและปรับปรุงระบบส่งน้ำจากห้วยฆ้องลงสู่สระสาธารณะหมู่ที่ 6 ตำบลหนองแสง อำเภอหนองแสง ,โครงการขุดลอกอ่างถ้ำผึ้ง บ้านทับกุง หมู่ที่3 ตำบลทับกุงอำเภอหนองแสง ขนาดกว้าง 150 เมตร ยาว 280 เมตร ลึก 5 เมตร และโครงการซ่อมสร้างผิวลาดยางพาราเคพซีล ถนนสายบ้านทับกุง ค่ยเยาวชนพิทักษ์ไพร ตำบลทับกุง อำเภอหนองแสง ระยะทาง 9กิโลเมตร

ผู้ว่าราชการจังหวัดอุดรธานี ฝากให้ส่วนราชการในพื้นที่บูรณาการการทำงานสนองนโยบายรัฐบาลและจังหวัด อุดรธานี โดยเฉพาะปัญหาหนี้สินครัวเรือน กองทุนพัฒนาบทบาทสตรี ปัญหาความยากจน ปัญหายาเสพติด โดยขอให้นำผู้เสพเข้าบำบัดด้วยความสมัครใจบังคับบำบัด ส่งเสริมอาชีพ พร้อมประชาสัมพันธ์การประกันตามมาตร 40 ซึ่งผู้สนใจสามารถ สมัครได้ที่ที่ว่าการอำเภอทุกแห่ง และขอให้ประชาชนร่วมจัดทำบัญชีครัวเรือนเพื่อให้รู้รายรับ บริหารรายจ่าย ใช้เงินให้เป็นประโยชน์ ซึ่งจังหวัดได้จัดนำบัญชีครัวเรือนออกแจกจ่ายให้กับประชาชนทั้ง 20 อำเภอแล้ว



ทีมข่าว ส.ปชส.อด. ศรีภูมิ ทองใหญ่ ณ อยุธยา ข่าว

ผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรี ประชุมคณะกรรมการธรรมาภิบาลจังหวัดอุดรธานี

จังหวัดอุดรธานี จัดประชุมคณะกรรมการธรรมาภิบาลจังหวัด เพื่อกำหนดแผนการประชาสัมพันธ์บทบาทภารกิจของคณะกรรมการธรรมาภิบาลจังหวัดให้รับทราบอย่างกว้างขวาง

เมื่อวันที่  19  มิถุนายน  2556  ที่ห้องประชุมคำชะโนด ศาลากลางจังหวัดอุดรธานี ได้มีการประชุมคณะกรรมการธรรมาภิบาลจังหวัดอุดรธานี ครั้งที่ ๓/๒๕๕๖ โดยมีนายสาวสมลักษณ์  ส่งสัมพันธ์  ผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรี      เขต ๑๐ ประธานคณะกรรมการธรรมภิบาลจังหวัดอุดรธานี เป็นประธานการประชุม  ที่ประชุมได้แนะนำผู้ได้รับการแต่งตั้งเป็นที่ปรึกษาคณะกรรมการธรรมาภิบาล จังหวัดอุดรธานี ประกอบด้วย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ธวัช สุทธิกุลสมบัติ ที่ปรึกษาด้านวิชาการ นาย วิโรจน์ พิพัฒน์ไชยศิริ ที่ปรึกษาด้านการประชาสัมพันธ์ และนาย อำนาจ ผการัตน์ ที่ปรึกษาด้านบริหารจัดการ  นอกจากนี้ยังได้พิจารณาแผนการประชาสัมพันธ์การดำเนินงานของคณะกรรมการธรรมาภิบาลจังหวัด เนื่องจากเป็นองค์กรใหม่ ยังไม่เป็นที่รับทราบโดยทั่วไป จึงจำเป็นจะต้องดำเนินการให้ทุกภาคส่วน ได้รับทราบถึงบทบาท หน้าที่ และภารกิจในการสอดส่องแผนงานโครงการต่าง ๆ ที่ได้รับงบประมาณจากรัฐ  เสนอแนะดำเนินการแก้ไข ให้ดำเนินไปอย่างโปร่งใสตามหลักการบริการกิจการบ้านเมืองที่ดี  ตลอดจนขั้นตอนของการทำงานในการเข้าถึงและมีส่วนร่วมของประชาชน และเรื่องสุดท้ายในที่ประชุมได้พิจารณาความคืบหน้าการสอดส่องโครงการตามแผนปฏิบัติราชการจังหวัดอุดรธานี ประจำปีงบประมาณ ๒๕๕๖ ด้วย



ประชุม   จตุเทน     ข่าว/พิมพ์

จังหวัดอุดรธานี ประชุมพิจารณาคัดเลือกแม่ดีเด่นแห่งชาติ ประจำปี 2556

คณะกรรมการพิจารณาคัดเลือกแม่ดีเด่นแห่งชาติประจำปี 2556 จังหวัดอุดรธานี ประชุมพิจารณาคัดเลือกแม่ดีเด่นระดับจังหวัดของจังหวัดอุดธานี เพื่อยกย่องเชิดชูเกียรติ เนื่องในวันแม่แห่งชาติ ประจำปี 2556

ที่ห้องประชุมคำชะโนด ชั้น 2 ศาลากลางจังหวัดอุดรธานี เช้าวันนี้ ( 18 มิ.ย.56 ) นายสาโรช แสงอรุณ รองผู้ว่าราชการจังหวัดอุดรธานีเป็นประธานการประชุมพิจารณาคัดเลือกแม่ดี เด่นแห่งชาติ ประจำปี 2556 ครั้งที่ 1/2556 โดยมีคณะกรรมการพิจารณาคัดเลือกแม่ดีเด่นแห่งชาติ ประจำปี 2556 ตามคำสั่งจังหวัดอุดรธานีที่ 2115/2556 ลงวันที่ 14 มิถุนายน 2556 ร่วมประชุม

ทั้งนี้สืบเนื่องจากสภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้กำหนดจัดงานวันแม่แห่งชาติ ประจำปี 2556 ในวันที่ 12 สิงหาคม 2556 เพื่อเทิดทูนและเผยแพร่พระเกียรติคุณสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ ผู้ทรงเป็นแม่แห่งชาติ เพื่อเผยแพร่พระคุณและบทบาทของแม่ ที่มีต่อครอบครัว สังคม และประเทศชาติ เพื่อยกย่องแม่ดีเด่น และลูกที่มีความกตัญญูกตเวทีอย่างสูงต่อแม่ กิจกรรมที่สำคัญประการหนึ่งในวันแม่คือ การคัดเลือกแม่ดีเด่นแห่งชาติ ทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ตามหลักเกณฑ์ฯที่กำหนด

สำหรับในส่วนของจังหวัดอุดรธานีปีนี้ มีผู้เสนอชื่อเข้ารับการคัดเลือกเป็นแม่ดีเด่นแห่งชาติ 4 คน ประกอบด้วยประเภทแม่ผู้เป็นเกษตรกร นางบัวแดง นาทา ประเภทแม่ผู้บำเพ็ญประโยชน์ต่อสังคม นางสุวรรณี หูตาชัย และนางบุญล้อม เรืองพัฒนา ประเภทแม่ผู้มีความมานะอดทนขยันมั่นเพียร นางยงฤดี พูลทรัพย์ ซึ่งผลการรคัดเลือกจังหวัดอุดรธานีจะแจ้งให้ทราบในโอกาสต่อไป



ทีมข่าว ส.ปชส.อด. ศรีภูมิ ทองใหญ่ ณ อยุธยา / ข่าว

นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดอุบลราชธานี เป็นห่วงการแพร่ระบาดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ตามแนวชายแดน และคาดว่าน่าจะมีแนวโน้มสูงขึ้น

วันที่ 18 มิถุนายน 2556 นายแพทย์สุรพร ลอยหา นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดอุบลราชธานี กล่าวในที่ประชุมว่าด้วยความร่วมมือในการต่อต้านการค้ามนุษย์ระหว่างจังหวัด อุบลราชธานีกับแขวงจำปาสัก สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ที่โรงแรมจำปาสักพาเลซ เมืองปากเซ แขวงจำปาสัก ถึงแนวโน้มการแพร่ระบาดของโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่ตรวจพบในพื้นที่ตามแนว ชายแดน ไทย –ลาว ทางด้าน อำเภอเขมราฐ โขงเจียม โพธิ์ไทร นาตาล สิรินธร บุณฑริก นาจะหลวย และอำเภอน้ำยืน พบว่ามีการตรวจพบผู้ป่วย โรคหนองใน ซิฟิลิซ เพิ่มมากขึ้น เนื่องจากไม่มีการป้องกันโดยไม่สวมถุงยางอนามัยขณะที่มีเพศสัมพันธ์ โดยพบผู้ติดเชื้อมากในพื้นที่อำเภอโขงเจียมและอำเภอสิรินธร ซึ่งมีแนวโน้มที่จะมีผู้ติดเชื้อเพิ่มมากขึ้น ทั้งนี้สาเหตุส่วนหนึ่งมาจากแรงหญิงมีการลักลอบเข้ามาทำงานตามสถานบริการใน พื้นที่ตามแนวชายแดนไทย-ลาว

ในด้านการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคนั้น ได้มีการให้ความรู้ด้านการการป้องกันตามสถานบริการต่าง ๆ และให้การรักษาในสถานพยาบาลในพื้นที่ และในการป้องกันระหว่างประเทศ ได้มีการประสานความร่วมมือของเจ้าหน้าที่ทั้งสองฝ่ายและมีการประชุมร่วมกัน อย่างต่อเนื่อง และผู้ที่มีปัญหาในเรื่องการรักษาโรค สามารถติดต่อขอรับบริการจากสถานพยาบาลของรัฐในพื้นที่ตามแนวชายแดนได้ ขณะเดียวกันได้ให้บริการฟื้นฟูสภาพจิตใจ โดยศูนย์พึ่งได้ในสถานบริการพยาบาลในพื้นที่ โดยแขวงจำปาสัก มีเมืองที่ติดกับชายแดนไทย คือเมือง โพนทอง จำปาสัก มนประโมก สุขุมา และชนะสมบูรณ์



 
จ.ส.ต.พงษ์สถิตย์ อรอินทร์ /ข่าว

ทองปัก ทวีสุข/ภาพ

ตำรวจภูธรจังหวัดสุรินทร์แถลงข่าวจับกุมเครือข่ายยาบ้าได้ผู้ต้องหา2 รายพร้อมของกลางอีกจำนวนมาก

วันนี้ ( 20 มิ.ย. 2556 ) ที่บริเวณด้านหน้ากองกำกับการตำรวจภูธรจังหวัดสุรินทร์ พลตำรวจตรีชัยทัต อินทนูจิตร ผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดสุรินทร์ พร้อมด้วย พันตำรวจเอก สมพจน์ ขอบปรางค์ รองผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดสุรินทร์ ร่วมแถลงข่าวการจับกุมเครือข่ายยาบ้าจำนวน 2 รายพร้อมของกลางอีจำนวนหนึ่ง ทั้งนี้เป็นการขยายผลสืบจากเมื่อวันที่ 19 มิ.ย. 2556 ตำรวจภูธรจังหวัดสุรินทร์ได้รับการประสานข้อมูลกับ ตำรวจภูธรจังหวัดอำนาจเจริญ ว่ามีผู้จำหน่ายยาเสพติดในพื้นที่จังหวัดอำนาจเจริญ ได้เดินทางมาสั่งซื้อยาเสพติดในเขตพื้นที่จังหวัดสุรินทร์ ทั้งนี้จาการขยายผลการจับกุมเครือข่ายยาบ้าของตำรวจภูธรจังหวัดอำนาจเจริญ ที่ได้จับกุมนายโกศล หรือบี เกื้อกูล อายุ 26 ปี อยู่บ้านเลขที่ 77 ม. 4 บ้านชะเงะ ต. โพนเมืองน้อย อ. หัวตะพาน จ. อำนาจเจริญ ได้ของกลาง ยาบ้า 204 เม็ด อาวุธปืนขนาด 9 มม. จำนวน 1 กระบอก และลูกกระสุน 2 นัด ซึ่งจาการขยายผลการจับกุมของตำรวจภูธรจังหวัดอำนาจเจริญดังกล่าว ทางตำรวจจังหวัดสุรินทร์สามารถจับกุมเครือข่ายยาบ้าได้เพิ่มอีกในพื้นที่ของ จังหวัดสุรินทร์ผู้ต้องหาได้แก่ นายสมพงษ์ จงหาญ หรือออฟ อายุ 23 ปี อยู่บ้านเลขที่ 702 ม. 20 ต. นอกเมือง อ. เมือง จ. สุรินทร์ พร้อมของกลางยาบ้าจำนวน 1,620 เม็ด รถยนต์กระบะ 1 คัน รถจักรยานยนต์ 2 คัน ทีวี 42 นิ้ว 1 เครื่อง และเงินสดจำนวน 50,000 บาท และนายญาณวัฒน์ นาคดี หรือ จักร อายุ 30 ปี อยู่บ้านเลขที่ 26 ม. 10 ต.สำเภาลูน อ.บัวเชด จ. สุรินทร์ พร้อมของกลางยาบ้าจำนวน 93 เม็ด อาวุธปืนขนาด .38 จำนวน 1 กระบอกเครื่องกระสุน 2 นัด



ประนนท์ ไม้หอม / ส.ปชส.สุรินทร์ / รายงาน 

หนอนกระทู้ข้าวยังคงระบาดในพื้นที่จังหวัดสุรินทร์

หนอนกระทู้ข้าวยังคงระบาดในพื้นที่จังหวัดสุรินทร์ ล่าสุดพบการแพร่ระบาดในนาข้าวพื้นที่ ต.ตาอ็อง ของ อ. เมือง


หลังจากพบการระบาดของ หนอนกระทู้ ในนาข้าวในพื้นที่ ต.ตรมไพร อ.ศีขรภูมิ จ.สุรินทร์ ใน สัปดาห์ที่ผ่านมา ซึ่งหนอนกระทู้ได้บุกกัดกินกล้าข้าวเสียหายไปถึง 1,630 ไร่ และกำลังสำรวจความเสียหาย อีก 4,000 ไร่ และพบการแพร่ระบาดของหนอนกระทู้ ยกทัพบุกกัดกินกล้าข้าวของชาวนาในพื้นที่ บ.โชกเหนือ ต.โชกเหนือ อ.ลำดวน จ.สุรินทร์ อีกพื้นที่ ซึ่งมีนาข้าวเสียหายในหลายจุดด้วยกันเกือบ 100 ไร่ ซึ่งสำนักงานเกษตรจังหวัดสุรินทร์ ได้นำเจ้าหน้าที่ออกพ่นยาทำลายหนอนกระทู้ กระชับพื้นที่ให้อยู่ในวงจำกัดเพื่อป้องกันการลุกลามขายพันธุ์ พร้อมทั้งให้ความรู้เกษตรกร และเร่งให้การช่วยเหลือเกษตรกรที่ถูกหนอนกระทู้ ลงกัดกินต้นกล้าข้าว และหากพบการระบาดในพื้นที่ใดขอให้รีบแจ้งเกษตรตำบล และเกษตรอำเภอเพื่อรีบหาทางกำจัด ล่าสุดพบการแพร่ระบาดของหนอนกระทู้ในพื้นที่ หมู่ที่ 3 บ้านยาง ต. ตาอ็อง อ. เมือง จ. สุรินทร์ ซึ่งเจ้าหน้าที่จากสำนักงานเกษตรอำเภอเมืองได้ลงพื้นที่ตรวจสอบและให้ความ ช่วยเหลือแก่เกษตรกรแล้ว พร้อมฝากประชาสัมพันธ์มายังเกษตรกรไม่ต้องตกใจ เพราะต้นข้าวที่มีอายุเกินกว่า 3 สัปดาห์แล้วจะไม่ได้รับความเสียหาย เนื่องจากต้นข้าวที่ถูกหนอนกระทู้กัดกินใบหมดนั้น ต้นข้าวยังเหลืออยู่เดี๋ยวซักพักไม่กี่วันก็จะแตกใบขึ้นมาใหม่ เมื่อหนอนหมดอายุไขต้นข้าวมีอายุมากขึ้น แข็งแรงขึ้น ก็จะแตกใบ แตกกอขึ้นมาใหม่จะไม่ได้รับความเสียหาย หรืออาจจะงามกว่าเก่าด้วยซ้ำ แต่ถ้ามีการแพร่ระบาดในต้นข้าวที่มีอายุน้อยกว่า 3 สัปดาห์ ก็สามารถใช้สารเคมีกำจัดได้เท่าที่จำเป็น และใช้อย่างถูกต้องตามคำแนะนำของเจ้าหน้าที่เกษตรตำบล หรือเกษตรอำเภอ



ประนนท์ ไม้หอม / ส.ปชส.สุรินทร์ / รายงาน

สุรินทร์สัมมนาแสดงความคิดเห็นเสริมสร้างค่านิยมพื้นฐาน

จังหวัดสุรินทร์สัมมนาแสดงความคิดเห็นจากกลุ่มเป้าหมายที่เกี่ยวข้องทุกระดับชั้นเพื่อเสริมสร้างค่านิยมพื้นฐาน

วันที่ 20 มิ.ย. 2556 ที่ห้องประชุมศรีณรงค์ ศาลากลางจังหวัดสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์โดนสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดสุรินทร์ สภาวัฒนธรรมจังหวัดสุรินทร์ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดเวทีเสวนาแสดงความคิดเห็นการเสริมสร้างค่านิยม พื้นฐานจังหวัดสุรินทร์ ภายใต้กรอบรู้หน้าที่ มีวินัย ภูมิใจในความเป็นไทย รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ ซื่อสัตย์ สุจริต พอเพียง เสียสละ มีน้ำใจ และปฏิบัติตามคุณธรรมทางศาสนา ภูมิใจในความเป็นไทย รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ ซืความคิดเห็นดังกล่เรียน รรมจังหวัดสุริ โดยมีนายอุทัย พลพวก วัฒนธรรมจังหวัดสุรินทร์ และนายสุดใจ สะอาดยิ่ง ประธานสภาวัฒนธรรมจังหวัดสุรินทร์ เป็นแกนนำการเสวนาพร้อมด้วยตัวแทนจากข่าราชการ พนักงานรัฐวิสาหกิจ นักเรียน นักศึกษา เยาวชน และประชาชนทั่วไป ร่วมแสดงความคิดเห็นกันอย่างหลากหลาย ทั้งนี้เพื่อคัดเลือกค่านิยมจาการประชาคมนำไปเผยแพร่สู่การปฏิบัติในวิถี ชีวิตประจำวันได้อย่างเหมาะสมเป็นการพัฒนาทรัพยากรบุคคลระดับเด็กและเยาวชน ตลอดจนประชาชนทั่วไป ภายใต้กรอบรู้หน้าที่ มีวินัย ภูมิใจในความเป็นไทย รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ ซื่อสัตย์ สุจริต พอเพียง เสียสละ มีน้ำใจ และปฏิบัติตามคุณธรรมทางศาสนาต่อไป




ประนนท์ ไม้หอม /ข่าว/ส.ปชส.สุรินทร์

ประชาชนเป็นจำนวนมากมารับบริการจากโครงการสุรินทร์สร้างสุข

ประชาชนชาวตำบลหนองบัว อ. ศีขรภูมิ เป็นจำนวนมากรับบริการจากโครงการสุรินทร์สร้างสุข สร้างรอยยิ้ม 


วัน ที่ 19 มิ.ย. 2556 ที่โรงเรียนบ้านโสะโน ต. หนองบัว อ. ศีขรภูมิ จ. สุรินทร์ นายวิเชียร จันทรโณทัย รองผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์ เป็นประธานในการเปิดงานโครงการสุรินทร์สร้างสุข สร้างรอยยิ้ม โดยจังหวัดสุรินทร์ ได้นำหัวหน้าส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ และภาคเอกชนออกให้บริการแก่ประชาชน เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับประชาชนที่อยู่ห่างไกลไม่ต้องเดินทางเข้าไปรับ บริการในตัวอำเภอ หรือจังหวัดเป็นการลดค่าใช้จ่าย และไม่ต้องเสียเวลาในการเดินทาง พร้อมกันนี้ได้มอบทุนการศึกษา มอบรถจักรยาน ให้แก่นักเรียนทียังขาดแคลน มอบเครื่องอุปโภค บริโภคแก่ผู้ยากไร้และคนชรา มอบโฉลดที่ดินแก่เกษตรกร และมอบปัจจัยการผลิตทางการเกษตร โดยก่อนหน้านั้นได้มอบบ้านตามโครงการบ้านธารน้ำใจให้แก่ครอบครัวของนายจิรา ยุ นิลงาม อยู่บ้านเลขที่ 42 ม. 11 ต. หนองบัว อ. ศีขรภูมิ จ. สุรินทร์ ซึ่งเป็นผู้ที่ยากไร้ได้รับการประชาคมหมู่บ้านให้ได้รับบ้านในครั้งนี้ โดยได้รับงบประมาณในการสร้างจากที่ทำการปกครองจังหวัดสุรินทร์ 50,000 บาท อบต.หนองบัว 40,000 บาท และหน่วยงานจากกระทรวงเกษตรฯมอบปัจจัยการผลิตทางการเกษตร เหล่ากาชาดจังหวัดสุรินทร์มอบเครื่องอุปโภค บริโภค พร้อมกันนี้ได้รับความช่วยเหลือจากการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค อ. ศีขรภูมในการมอบอุปกรณ์ไฟฟ้า และเดินระบบไฟฟ้าแสงสว่างให้ฟรีอีกด้วย และในโอกาสเดียวกันนี้ได้มอบบ้านตามโครงการบ้านเทิดไท้ องค์ราชันย์ ให้กับผู้ยากไร้ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดสุรินทร์ ให้กับนายยงยุทธ ดวงศรี บ้านสะโน ม. 5 ต. หนองบัว อ. ศีขรภูมิ จ. สุรินทร์ อีกดด้วย



ประนนท์ ไม้หอม / ข่าว/ ส.ปชส.สุรินทร์

ศาลจังหวัดสุรินทร์จัดโครงการร่วมใจไกล่เกลี่ยและสมานฉันท์

ศาลจังหวัดสุรินทร์ ร่วมมือจัดโครงการร่วมใจไกล่เกลี่ยและสมานฉันท์ เพื่อเสริมสร้างการมีส่วนร่วมของคู่ความในการยุติข้อพิพาท
 
วันที่ 19 มิ.ย.56 ที่บริเวณหน้าศาลจังหวัดสุรินทร์ ศาลจังหวัดสุรินทร์ ศาลแขวงสุรินทร์ และศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดสุรินทร์ ร่วมกัน จัดโครงการร่วมใจไกล่เกลี่ยและสมานฉันท์ ซึ่งเป็นการดำเนินการในส่วนไกล่เกลี่ยข้อพิพาท ศูนย์ประนีประนอมของทั้ง 3ศาล ซึ่งทั้งนี้ ศาลยุติธรรมมีนโยบายในการส่งเสริมสนับสนุนการระงับข้อพิพาททางเลือก โดยเฉพาะด้านการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทและการสมานฉันท์และสันติวิธี เพื่อให้คู่ความได้มีโอกาสเลือกใช้ควบคู่ไปกับการพิจารณาคดีของศาลในการยุติ คดีหรือข้อพิพาทที่เกิดขึ้น ตลอดจนการสร้างความรู้ ความเข้าใจในขั้นตอนการดำเนินการ รวมทั้งสิทธิหน้าที่ของจำเลยและผู้เสียหายในคดีอาญา โดยมีบุคลากรในศาลและบุคคลภายนอกที่มีความรู้ด้านการระงับข้อพิพาททางเลือก ต่าง ๆ ร่วมดำเนินการ

ศาลจังหวัดสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ ศาลแขวงสุรินทร์ และศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดสุรินทร์จึงได้จัดโครงการร่วมใจไกล่เกลี่ย และสมานฉันท์ ประจำปี 2556 ขึ้น ในระหว่างวันที่ 1 มิถุนายน – 31 กรกฎาคม 2556 เพื่อเสริมสร้างการมีส่วนร่วมของคู่ความในการยุติข้อพิพาท โดยการระงับข้อพิพาททางเลือกควบคู่ไปกับการพิจารณาคดีของศาลในการยุติข้อ พิพาทที่เกิดขึ้นด้วยความสะดวก รวดเร็ว ประหยัด และเป็นธรรม ตลอดจนเผยแพร่ประชาสัมพันธ์การไกล่เกลี่ยข้อพิพาทให้เป็นที่รู้จักแพร่หลาย มากขึ้น โดยในงานมีนักเรียน นักศึกษา และประชาชนทั่วไปเข้าร่วมโครงการและร่วมฟังข้อบรรยายกฎหมายจากวิทยากรผู้ พิพากษา และ การจำลองขั้นตอนการไกล่เกลี่ย ตลอดจนนิทัศการการให้ความรู้เกี่ยวกับโครงการฯในครั้งนี้เป็นจำนวนมาก


 

กำชัย วันสุข ส.ปชส.สุรินทร์ ภาพ/ข่าว

บสย.ผสานความร่วมมือขยายโอกาสภาคธุรกิจจังหวัดสุรินทร์

บรรษัทประกัน สินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) ร่วมมือระหว่างพันธมิตรขับเคลื่อน เอสเอ็มอี เสริมสภาพคล่องทางธุรกิจในจังหวัดสุรินทร์
 
วันนี้ (19 มิ.ย. 56) นางปิยะธิดา ตั้งวิไลเสถียร ผู้ช่วยผู้จัดการ บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) สำนักงานสาขานครราชสีมา พร้อมด้วยประธานหอการค้าจังหวัดสุรินทร์ และประธานสภาอุตสาหกรรมจังหวัดสุรินทร์ ร่วมแถลงข่าวบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) กับการขับเคลื่อน เอสเอ็มอี เสริมสภาพคล่องธุรกิจ จังหวัดสุรินทร์ ที่ห้องพนมดงรัก โรงแรมทองธารินทร์ จังหวัดสุรินทร์ โดยมี สมาชิกหอการค้าจังหวัดสุรินทร์ สภาอุตสาหกรรมจังหวัดสุรินทร์ รวมถึงผู้ประกอบการ SMEs จังหวัดสุรินทร์ รับฟังการแถลงข่าว กว่า 50 คน

บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม หรือ บสย. เป็นหน่วยงานรัฐวิสาหกิจภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงการคลัง ทำหน้าที่ให้การค้ำประกันสินเชื่อแก่ผู้ประกอบการ SMEs ที่มีหลักทรัพย์ค้ำประกันไม่เพียงพอต่อการขอสินเชื่อจากสถาบันการเงิน ปัจจุบัน บสย. ได้รับอนุมัติโครงการค้ำประกันสินเชื่อจากคณะรัฐมนตรี ตามโครงการค้ำประกันสินเชื่อวงเงิน 240,000 ล้านบาท โดย บสย.สำนักงานสาขานครราชสีมา รับผิดชอบพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 10 จังหวัด ได้แก่ นครราชสีมา ชัยภูมิ บุรีรัมย์ สุรินทร์ มหาสารคาม ร้อยเอ็ด ยโสธร อำนาจเจริญ อุบลราชธานี ศรีสะเกษ ผลการดำเนินการ ณ สิ้นปี 2555 บยส. สำนักงานสาขานครราชสีมาให้การค้ำประกันชินเชื่อในพื้นที่รวม 6,998 ราย คิดเป็นวงเงินค้ำประกันสินเชื่อ 18,322 ล้านบาท โดยค้ำประกันให้ผู้ประกอบการในพื้นที่จังหวัดสุรินทร์ 355 ราย คิดเป็นวงเงินค้ำประกันสินเชื่อ 1,325 ล้านบาท

นายเกรียงศักดิ์ ปาลีคุปต์ ประธานหอการค้าจังหวัดสุรินทร์ กล่าวว่า ผู้ประกอบการ SME สุรินทร์ ใช้บริการ บสย. น้อยมาก เนื่องจากยังมีความเข้าใจภารกิจของ บสย .คลาดเคลื่อน จึงอยากให้นักธุรกิจทราบเกี่ยวกับการใช้บริการของ บยส. ให้มากขึ้น เพื่อจะได้ใช้ประโยชน์จากสิทธิที่พึงมีพึงได้ ดังนั้นหอการค้าจังหวัดสุรินทร์จึงมีแนวคิดจัดประชุมพบปะระหว่างสมาชิกหอการ ค้าจังหวัดสุรินทร์ ผู้ประกอบการ และธนาคารพาณิชย์ทุกแห่ง เพื่อหารือเกี่ยวกับแนวปฏิบัติในการให้สินเชื่อแก่ผู้ประกอบการ ให้เป็นไปในแนวทางเดียวกัน เพื่อลดขั้นตอน และลดปัญหาการให้สินเชื่อแก่ผู้ประกอบการในพื้นที่จังหวัดสุรินทร์ เพื่อให้ผู้ประกอบการสามารถดำเนินธุรกิจได้อย่างราบรื่น เพื่อสร้างเศรษฐกิจของจังหวัดสุรินทร์ให้มีความเข้มแข็งต่อไป



 

กำชัย วันสุข ภาพ/สมทรง เผือกผล ส.ปชส.สุรินทร์ รายงาน

ร้อยเอ็ด ออกให้บริการหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ พอ.สว. ครั้งที่ ๑๑ ประจำปี ๒๕๕๖ และจังหวัดเคลื่อนที่ บำบัดทุกข์ บำรุงสุข สร้างรอยยิ้มให้ประชาชน

จังหวัดร้อยเอ็ด ออกให้บริการหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ พอ.สว. ครั้งที่ ๑๑ ประจำปี ๒๕๕๖ และจังหวัดเคลื่อนที่ บำบัดทุกข์ บำรุงสุข สร้างรอยยิ้มให้ประชาชน ณ บ้านม่วง ต.ดอกล้ำ อ.ปทุมรัตน์ จังหวัดร้อยเอ็ด

เมื่อช่วงเช้าวันนี้ 19 มิถุนายน 2556 นายพศิน โกมลวิชญ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดร้อยเอ็ด เป็นประธานเปิดโครงการหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ พอ.สว. ครั้งที่ ๑๑ ประจำปี ๒๕๕๖ และโครงการจังหวัดเคลื่อนที่ บำบัดทุกข์ บำรุงสุข สร้างรอยยิ้มให้ประชาชน โดยมีนายวัยวุฒิ อาศรัยผล นายอำเภอปทุมรัตน์ และหัวหน้าส่วนราชการอำเภอปทุมรัตน์ องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น ให้การต้อนรับและกล่าวว่า ตำบลดอกล้ำ อำเภอปทุมรัตน์ ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม แบ่งการปกครองเป็น 15 หมู่บ้าน 1,750 หลังคาเรือน ประชากร 7,788 คน ชาย 3,876 คน หญิง 3,912 คน โรงเรียนขยายโอกาส 1 แห่ง โรงเรียนประถม 5 แห่ง ศูนย์เด็กเล็กก่อนวัยเรียนจำนวน 6 แห่ง วัด 10 แห่ง อบต. 1 แห่ง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล 2 แห่ง ประชากรเข้าถึงบริการด้านสุขภาพครบถ้วนทุกกลุ่มอายุ รอบปีที่ผ่านมามีปัญหาด้านสุขภาพคือ โรคปวดกล้ามเนื้อ โรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน

นายพศิน โกมลวิชญ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดร้อยเอ็ด กล่าวว่า การจัดโครงการในครั้งนี้เพื่อช่วยเหลือให้การรักษาโรค ป้องกันโรคและฟื้นฟูสุขภาพอนามัยของประชาชน ในท้องถิ่นธุรกันดารห่างไกลโทรคมนาคม โดยสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด จัดทีมแพทย์ พยาบาล เจ้าหน้าที่สาธารณสุข และ อสม.ร่วมออกให้บริการด้านการรักษาพยาบาล การป้องกันโรค การส่งเสริมสุขภาพ และการฟื้นฟูสมรรถภาพ กิจกรรมที่ให้บริการ ประกอบด้วย หน่วยแพทย์เคลื่อนที่ หน่วยทันตกรรม หน่วยสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค หน่วยให้ความรู้ และประชาสัมพันธ์ นอกจากนี้ยังมีหน่วยงานทั้งภาครัฐ เอกชน องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น ที่เข้าร่วมกิจกรรมให้บริการแก่ประชาชนตามโครงการจังหวัดร้อยเอ็ดเคลื่อนที่ บำบัดทุกข์ บำรุงสุข สร้างรอยยิ้มให้ประชาชน ให้บริการแก่ประชาชนอีกด้วย นอกจากนี้ยังได้มอบ รถจักรยานสำหรับนักเรียน จำนวน 5 คัน ไม้เท้าให้กับผู้สูงอายุ จำนวน 30 ไม้ เหล่ากาชาดจังหวัดร้อยเอ็ดได้มอบถุงยังชีพ และผ้าขาวม้าให้แก่ราษฎร อีกด้วย




คมกฤช พวงศรีเคน ข่าว
กมลพร คำนึง บก.ข่าว

 ส.ปชส.ร้อยเอ็ด 043 527117

อลังการงานประเพณีบุญบั้งไฟล้านเอราวัณ

สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดเลย รายงานว่า ณ โรงเรียนบ้านเอราวัณ ตำบลตำบลผาอินทร์แปลง อำเภอเอราวัณ จังหวัดเลย นายปรีชา เร่งสมบูรณ์สุข รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม นายนุกูล สัญฐิติเสรี รองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร พร้อมคณะมาเป็นประธานพิธีเปิดงานประเพณีบุญบั้งไฟล้านเอราวัณ ปลอดเหล้า ประจำปี 2556 โดยมีนายสมพงศ์ อรุณโรจน์ปัญญา ผู้ว่าราชการจังหวัดเลย รองผู้ว่าราชการจังหวัดเลย สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เขต 3 นายทวี เสริมภักดีกุล นายอำเภอเอราวัณ หัวหน้าส่วนราชการ ประธานสภาวัฒนธรรมอำเภอเอราวัณ สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดเลย นายกเทศมนตรีตำบล นายกองค์การบริหารส่วนตำบล ทุกตำบล กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ชาวอำเภอเอราวัณ นักท่องเที่ยวกว่า 50,000 คน มาร่วมงานเปิดเป็นจำนวนมาก นายทวี เสริมภักดีกุล นายอำเภอเอราวัณ กล่าวว่า งานประเพณีบุญบั้งไฟล้านเอราวัณ ปลอดเหล้า ประจำปี 2556 ของชาวเอราวัณ ถือเป็นประเพณีที่สำคัญของท้องถิ่น ที่พวกเราชาวอำเภอเอราวัณทุกคนมีความภาคภูมิใจ และร่วมกันจัดติดต่อกันมาเป็นประจำทุกปี นับเป็นมรดกทางวัฒนธรรมประเพณีที่สืบทอดกันมายาวนาน และในปีนี้ได้กำหนดจัดขึ้น ในระหว่างวันที่ 15-17 มิถุนายน 2556 โดยมีวัตถุประสงค์ของการจัดงาน ครั้งนี้ เพื่อปฏิบัติตามแนวประเพณี ความเชื่อของชาวอีสานที่เชื่อว่าเมื่อปฏิบัติได้ถูกต้องตามครรลองประเพณี แล้ว จะบันดาลให้ฝนตกต้องตามฤดูกาล อันบังเกิดประโยชน์แก่เหล่าเกษตรกรโดยทั่วไป เพื่ออนุรักษ์สืบทอดวัฒนธรรมประเพณี ส่งเสริมให้เป็นประเพณีที่ยิ่งใหญ่เป็นเอกลักษณ์ของท้องถิ่น เพื่อส่งเสริมความร่วมมือร่วมใจ ความสมัครสมานสามัคคีของคนในชุมชนทั้งข้าราชการ พ่อค้า องค์กรเอกชนและประชาชนทุกหมู่เหล่าเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวสร้างรายได้ ให้แก่คนในท้องถิ่น รวมทั้งเผยแพร่ประชาสัมพันธ์แหล่งท่องเที่ยวอื่นของอำเภอเอราวัณให้เป็นที่ รู้จักโดยทั่วไป สำหรับรูปแบบการจัดงาน ประกอบด้วย การประกวดขบวน แห่บั้งไฟจากชุมชนต่างๆ โรงเรียน เทศบาล และองค์การบริหารส่วนตำบล รวม 9 ขบวน แต่ละขบวนแห่จะมีการแสดงออกซึ่งศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น ที่สวยงาม ส่วนในวันต่อไปจะมีการแข่งขันจุดบั้งไฟชิงรางวัล ซึ่งทั้งหมดนี้ จะก่อให้เกิดความสนุกสนาน รื่นเริง เป็นที่ประทับใจแก่คนในท้องถิ่น และนักท่องเที่ยวที่มาเที่ยวชม นอกจากนี้ ในการจัดงานในครั้งนี้ อำเภอเอราวัณได้ร่วมมือกับ สำนักงานเครือข่ายองค์กรงดเหล้า (สคล.) และ สำนักงานกองทุนสนับสนุนและการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) สร้างกระแส ให้มีการลด ละ เลิก เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ในงานบุญประเพณีบุญบั้งไฟล้านเอราวัณ เป็นบุญบั้งไฟล้านเอราวัณปลอดเหล้า ซึ่งได้ดำเนินการติดต่อกันเป็นปีที่ 3 แล้ว สำนักเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ได้จัดโครงการ "ส่งเสริมและสนับสนุนการเมือง การปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข” ให้กับพี่น้องประชาชนที่มาเที่ยวชมงานบุญบั้งไฟล้านเอราวัณด้วย

งานวันสับปะรดจังหวัดเลย

สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดเลย รายงานว่า บริเวณ ริมถนนสายเลย –ภูเรือ ห่างจากตัวเมืองเลย 4 กิโลเมตรคือ หมู่บ้านที่มีการปลูกสับประรดมากที่สุดในจังหวัดเลย มีเพียงหมู่บ้านเดียวเท่านั้น ชื่อหมู่บ้านไร่ม่วง ตำบลน้ำหมาน อำเภอเมือง จังหวัดเลย สับประรดไร่ม่วง มีรสชาติหวานกรอบ และหวานช่ำ สามารถสร้างชื่อเสียงให้กับจังหวัดเลยได้อีกด้วย ขณะนี้ ทางหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้เสนอให้มีการจดลิขสิทธิ สับประรด ตามที่ได้ทราบจากการบอกเล่าเรื่องสับประรดไร่ม่วง มีความเป็นมาว่า กล่าวคือ มีเจ้าหน้าที่เกษตรจังหวัดเลยคือ นายเลิศ ประจันพล อดีตเกษตรจังหวัดเลย ขณะนั้นนำมาปลูกเป็นคนแรก เพราะมีที่ดินอยู่ในตำบลน้ำหมาน จากนั้นก็แนะนำให้เกษตรกรปลูกต่อๆกัน จนปัจจุบันถือเป็นอาชีพหลักและอาชีพเสริม ของชาวตำบลน้ำหมาน มีเกษตรกรผู้ปลูกสับปะรดทั้ง 6 หมู่บ้าน จำนวน 192 ราย พื้นที่ปลูก จำนวน1,196 ไร่ สามารถเก็บเกี่ยวแล้ว จำนวน 1,073 ไร่ โดยสับปะรดไร่ม่วงออกสู่ตลาดในเดือนมิถุนายน และมีการจัดงานวันสับประรด เพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์ให้นักท่องเที่ยวได้เป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่ หลาย และเป็นการส่งเสริมการตลาดแก่เกษตรกร เป็นประจำทุกปี ซึ่ง ปีนี้ 2556 ในพื้นที่จังหวัดเลยประสบภาวะแห้งแล้ง ทำให้สับประรดออกสู่ตลาดล่าช้ากว่าทุกปี จึงเลื่อนการจัดงาน 5-7 มิ.ย. 56 ไปเป็นช่วงวันที่ 21-23 มิถุนายน 2556 ณ สนามกีฬา บ้านไร่ม่วง ริมถนนเลย-ภูเรือ ขณะนี้ริมถนนตั้งแต่เข้าเขตตำบลน้ำหมาน จะเห็นสับประรดวางขายตลอดสองข้างทาง โดยผู้ที่ใช้เส้นทางสายดังกล่าว สามารถจอดรถแวะชื้อเป็นของฝากได้มีทั้งสับประรดสดๆและสับประรดแปรรูปตลอดจน ผลไม้ชนิดอื่นๆโดยชาวสวนเป็นผู้วางจำหน่ายเอง

จังหวัดศรีสะเกษ สร้างเครือข่ายพลเมืองอาสาพัฒนาประชาธิปไตย

เมื่อเวลา 09.30 น. วันที่ 20 มิ.ย. 56 ที่ห้องสุขวิชรังสิตพลศรีพฤทธาลัย ราชภัฏสัมมนาคาร มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ นายมงคล คำเพราะ กรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัดศรีสะเกษ เป็นประธานเปิดการอบรมพลเมืองอาสาพัฒนาประชาธิปไตย รุ่นที่ 3 ประจำปี 2556 ซึ่งการจัดอบรมในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาพลเมืองอาสาประชาธิปไตยให้มีความรู้พื้นฐานเกี่ยว กับการเมือง การปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข โดยมีนายทรงเกียรติ เสนาพันธุ์ ผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำจังหวัดศรีสะเกษ นำ พลเมืองอาสาพัฒนาประชาธิปไตยจังหวัดศรีสะเกษ จำนวน 490 คน เข้าร่วมอบรมในครั้งนี้
 
นายมงคล กล่าวว่า การจัดอบรมในครั้งนี้ สืบเนื่องมาจาก คณะกรรมการการเลือกตั้ง มีเป้าหมายในการสร้างเครือข่ายช่วยเหลือการปฏิบัติงานของสำนักงานคณะกรรมการ การเลือกตั้งประจำจังหวัด ภายใต้ชื่อ พลเมืองอาสาประชาธิปไตย โดยการเข้ามามีส่วนร่วมของประชาชนในการเข้ามาทำหน้าที่เป็นแกนนำในการรณรงค์ เผยแพร่ และประชาสัมพันธ์ในเรื่องการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ ทรงเป็นประมุข และมีส่วนร่วมในการเป็นกรรมการประจำหน่วยเลือกตั้ง หน่วยเลือกตั้งละ 1 คน ทั้งในการเลือกตั้งระดับชาติ และระดับท้องถิ่น ในครบทุกหน่วยเลือกตั้งภายในเวลา 5 ปี
 

ด้าน นายทรงเกียรติ กล่าวว่า สำหรับในปีนี้สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัดศรีสะเกษ ได้กำหนดเป้าหมายพลเมืองอาสาประชาธิปไตยจังหวัดศรีสะเกษ ซึ่งนี้ คือรุ่นที่3 โดยจะมีการจัดอบรมขึ้นระหว่างวันที่ 20 - 21 มิ.ย.56 โดยมุ่งหวังว่า จะสามารถกระจายเครือข่ายพลเมืองอาสาประชาธิปไตย ได้ทั่วทุกพื้นที่ในจังหวัดศรีสะเกษ

เปิดงานเทศกาลเงาะ – ทุเรียน และของดี เมืองศรีสะเกษ ประจำปี 2556

ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ผ่าทุเรียนยักษ์ เปิดงานเทศกาลเงาะ – ทุเรียน และของดี เมืองศรีสะเกษ ประจำปี 2556 หวังยกระดับผลผลิตทางการเกษตรให้มีคุณภาพเทียบเท่าระดับสากล พร้อมรับการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในปี 2558

นายพินิจ วงษ์โสภา ประชาสัมพันธ์จังหวัดศรีสะเกษ รายงานว่า เมื่อเวลา 15.00 น. วันที่ 14 มิ.ย.56 ที่สนามวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีศรีสะเกษ อ.เมือง จ.ศรีสะเกษ นายสมศักดิ์ ปริศนานันทกุล ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานเปิดงานเทศกาลเงาะ – ทุเรียน และของดีศรีสะเกษ ประจำปี 2556 ซึ่งจะจัดขึ้นในระหว่างวันที่ 14 – 20 มิ.ย.56 โดยการจัดงานในครั้งนี้ เป็นการประสานความร่วมมือกันระหว่าง หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และเกษตรกรชาวจังหวัดศรีสะเกษ โดยมีเป้าหมายเพี่อส่งเสริมการท่องเที่ยวในจังหวัดศรีสะเกษ ตามโครงการส่งเสริมการท่องเที่ยวเกษตรเชิงอนุรักษ์ และเพื่อเป็นการยกระดับตลาดสินค้าด้านการเกษตรของจังหวัดศรีสะเกษให้มี ศักยภาพเทียบเท่าระดับสากล เพื่อเตรียมความพร้อมในการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจเซียนในปี 2558 โดยมี นายสนิท ขาวสะอาด รองผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ พร้อมด้วย หัวหน้าส่วนราชการ และ เกษตรกรชาวจังหวัดศรีสะเกษ มาให้การต้อนรับ และ นำผลิตผลทางการเกษตรกรหลากหลายชนิด มาให้ประชาชนในพื้นที่ และ นักท่องเที่ยวที่เดินทางมาจากทั่วสารทิศ ได้เลือกชมและเลือกซื้อสินค้า อย่างคับคั่ง

นายสนิท ขาวสะอาด รองผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ กล่าวว่า การจัดงานเทศกาลเงาะ – ทุเรียน และของดีเมืองศรีสะเกษ ในครั้งนี้ เป็นไปตามยุทธศาสตร์หนึ่งในการพัฒนาจังหวัด ซึ่งเกิดขึ้นโดยความร่วมมือกันระหว่างพี่น้องเกษตรกร องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ตลอดจนหน่วยงานภาครัฐ และภาคเอกชนในจังหวัดศรีสะเกษ โดยมีเป้าหมาย เพื่อประชาสัมพันธ์ และ ผลักดันผลผลิตทางการเกษตรของจังหวัดศรีสะเกษ ให้มีคุณภาพ เทียบเท่าในระดับสากล ซึ่งปัจจุบันจะเห็นได้ว่า เกษตรกรมีแนวคิดที่จะมาปลูกพืชใหม่ๆเพิ่มมากขึ้น เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาด โดยเฉพาะ เงาะ ทุเรียน และยางพารา ซึ่งถือเป็นพืชเศรษฐกิจชนิดใหม่ของจังหวัดศรีสะเกษ ซึ่งสามารถสร้างรายได้ให้แก่เกษตรกรเพิ่มมากขึ้นทุกปี นอกจากนั้น ยังมีการปลูกพืชทางเลือกชนิดอื่นๆ อาทิ มังคุด ลำไย ลิ้นจี่ สะตอ ลองกอง สละ ซึ่งถือเป็นพืชที่ยังมีอนาคตทางการตลาดในภายภาคหน้า เพราะในเขตภาคอีสาน ยังมีการผลิตพืชเศรษฐกิจตามกล่าวมานี้ เป็นจำนวนน้อย ส่งผลให้จังหวัดศรีสะเกษมีมูลค่ารวมของผลผลิตทางการเกษตรสูงถึงปีละมากกว่า 20,000 ล้านบาท ซึ่งถือเป็นความสำเร็จที่น่าภาคภูมิใจของเกษตรกรชาวจังหวัดศรีสะเกษ ในอีกระดับหนึ่ง

นายสนิท กล่าวต่อไปว่า สำหรับกิจกรรมภายในงานปีนี้ จะมีการเปิดตลาดสินค้าทางการเกษตรจำหน่ายต่อผู้ผลิตโดยตรง โดยใช้ราคามาตรฐานจากไร่ผลไม้ เป็นเกณฑ์ ในการจำหน่าย เพื่อให้ประชาชนที่มาเที่ยวงาน ได้ชิมสินค้าที่ราคาถูก และอร่อย ตามแบบฉบับของจังหวัดศรีสะเกษ รวมไปถึงจะมีการประกวดผลผลิตทางการเกษตรที่มีคุณภาพ การประกวดวงดนตรี ตลอดจนกิจกรรมการแสดงบนเวที จากเยาวชนในจังหวัดศรีสะเกษ ที่จะมาแสดงศิลปพื้นบ้านของชนเผ่าศรีสะเกษ ให้ประชาชนที่มาเที่ยวชมงาน ได้ชมตลอดทั้งวัน




จิรภัทร หมายสุข / ข่าว 
บุญทัน ธุศรีวรรณ / ภาพ 
สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดศรีสะเกษ

ประเมินหมู่บ้านอาสาสมัครพัฒนาและป้องกันตนเอง ตามแนวชายแดนไทย –กัมพูชา อำเภอภูสิงห์ จังหวัดศรีสะเกษ

กอง อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 2 ประเมินหมู่บ้านอาสาสมัครพัฒนาและป้องกันตนเอง ตามแนวชายแดนไทย –กัมพูชา อำเภอภูสิงห์ จังหวัดศรีสะเกษ เพื่อสร้างหมู่บ้านเข้มแข็ง และกำแพงป้องกันประเทศชาติ

นายพินิจ วงษ์โสภา ประชาสัมพันธ์จังหวัดศรีสะเกษ รายงานว่า เมื่อเวลา 10.00 น. วันที่ 19 มิ.ย.56 พลตรี มนัส หนูวัฒนา หน.สล.พมพ.ทภ.2 ในฐานะ ประธานตรวจคณะกรรมการประกวดหมู่บ้านอาสาพัฒนาและป้องกันตนเอง กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 2 และ คณะ ลงพื้นที่บ้านโนนจำปา ตำบลดงรัก อำเภอภูสิงห์ จังหวัดศรีสะเกษ เพื่อประเมินหมู่บ้านอาสาสมัครพัฒนาและป้องกันตนเอง ประจำปี 2556 ระดับภาค ของกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 2
พลตรี มนัส กล่าวว่า ต้องขอชื่นชมจังหวัดศรีสะเกษ ที่ส่งหมู่บ้านโนนจำปา เข้ารับการ คัดเลือกหมู่บ้านอาสาพัฒนาและป้องกันตนเอง ซึ่งจุดมุ่งหมายของการจัดตั้งหมู่บ้านอาสาพัฒนาและป้องกันตนเอง เพื่อต้องการให้ชาวบ้าน สร้างชุมชนที่เข้มแข็งและมีการพัฒนาตนเอง และสามารถป้องกันตนเองได้ ตลอดจนได้ใช้ประโยชน์ในจุดนี้ ในการป้องกันพื้นที่ชายแดน อีกทางหนึ่งด้วย

พลตรี มนัส กล่าวต่อไปว่า สำหรับจุดเด่น ของหมู่บ้านโนนจำปา คือ การใช้ชีวิตประจำวันของชาวบ้าน ซึ่งเป็นไปตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยมีการปลูกพืชเศรษฐกิจ ที่สามารถนำมารับประทาน และสร้างรายได้ ให้กับครอบครัวได้ รวมไปถึงความสามัคคีในการพัฒนาหมู่บ้าน ที่มีให้เห็นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งถือว่าเป็นหมู่บ้านตัวอย่างอีกแห่งหนึ่ง ที่น่าชมเชย และเป็นตัวอย่างที่ดีในการดำรงชีวิตของสังคมไทย ที่หมู่บ้านต่างๆควรยึดถือนำไปปฏิบัติสืบต่อไป



จิรภัทร หมายสุข / ข่าว

ยโสธรจัดงานวันนัดพบแรงงานเอางานไปทำที่บ้าน

ยโสธรจัดงานวันนัดพบแรงงาน รับงานสู่บ้าน เพิ่มรายได้ในครัวเรือนที่ ห้องมณีนพเก้า โรงแรมเดอะกรีนปาร์คแกรนด์ ยโสธร นายชัยภัทร หิรัณยเลขา รองผู้ว่าราชการจังหวัด เป็นประธานเปิดวันนัดพบแรงงาน รับงานสู่บ้าน เพิ่มรายได้ในครัวเรือนว่าที่ร้อยโทอนุเทพ ศรีดาวเรือง จัดหางานจังหวัดยโสธร กล่าวว่า การจัดงานในครั้งนี้ เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวก/ ประหยัดเวลาค่าใช้จ่าย ของนายจ้าง/สถานประกอบการและผู้สมัครงานได้มาพบกันพิจารณาคัดเลือกงานโดยตรง สามารถเลือกตำแหน่งที่ตรงกับความรู้ความสามารถและความถนัดของตนเอง โดยเฉพาะการรับงานไปทำที่บ้าน วันนี้จะมีเจ้าของร้าน/สถานประกอบการ นำชิ้นงานมาให้ลูกจ้างรับไปทำที่บ้าน เป็นการประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายให้กับทั้งลูกจ้างและนายจ้าง การจัดงานในครั้งนี้ มีนายจ้าง/สถานประกอบการเข้าร่วม จำนวน 22 แห่ง และมีสถานประกอบการที่ส่งงานให้กลุ่มรับงานไปทำที่บ้าน เป้เป็นอาชีพอิสระจำนวน 10 อาชีพ นอกจากนี้ภายในงานยังมีการจัดนิทรรศกาลสิ่งประดิษฐ์ตามฝีมือ และการออกบูธให้ความรู้เรื่องแรงงานต่างๆ

ธนชาตเชิญชวนร่วมโครงการ “ ธนชาต ริเริ่ม…เติมเต็ม เอกลักษณ์ไทย ” ครั้งที่ ๔๒

ธนาคารธนาชาต จำกัด (มหาชน) ให้ความสำคัญกับการอนุรักษ์ความเป็นไปไทยอย่างต่อเนื่อง จัดโครงการ " ธนชาต ริเริ่ม…เติมเต็ม เอกลักษณ์ไทย ” ครั้งที่ ๔๒ เพื่อเปิดโอกาสให้สถาบันการศึกษาส่งตัวแทนเข้าร่วมการแข่งขันชิงรางวัลถ้วย พระราชทานสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และทุนการศึกษา ภายใต้กิจกรรม " การแข่งขันอ่านฟังเสียง ”และ " ประกวดมารยาทไทย ”โดยเปิดรับสมัคร ๕ ระดับชั้น ตั้งแต่ประถมศึกษาปีที่ ๑ ถึงระดับอุดมศึกษา และจัดแข่งขันรอบคัดเลือกทั้ง ๔ ภาค โดยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สมัครได้ตั้งแต่วันนี้ถึง ๖ กรกฎาคม ๒๕๕๖ และคัดเลือกวันที่ ๒๗ - ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๕๖ ณ มหาวิทยาลัยขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น และแข่งขันรอบชิงชนะเลิศรวมทุกภาค ในวันที่ ๙ - ๑๑ กันยายน ๒๕๕๖

สถาบันที่น่าสนใจสามารถติดตามรายละเอียดและสมัครได้ทางเว็บไซต์ http://www.thanachartcsr.com/ (ธนชาตซีเอสอาร์) ซึ่งจะทราบผลการสมัครในวันรุ่งขึ้นและได้รับฟรี sms แจ้งเตือนก่อนวันแข่งขัน หรือทางโทรสาร หมายเลข ๐ - ๒๓๑๘ - ๗๒๓๑ และทางไปรษณีย์ ตู้ ปณ.๑๑๗๐ ปณฝ. รามคำแหง กรุงเทพ ๑๐๒๔๑ ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป



ส.ปชส.ยโสธร/ปิยะนุช 20 มิถุนายน 2556

ประกาศหาบุคคลสูญหายเป็นชาวจังหวัดบุรีรัมย์

สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดยโสธร ได้รับแจ้งจากสำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดบุรีรัมย์ ว่าได้รับแจ้งจาก นางคำมูล บุญเที่ยง อายุ 52 ปี (มารดา) อยู่บ้านเลขที่ 7 หมู่ที่ 17 ตำบลลุมปุ๊ก อำเภอเมืองบุรีรัมย์ ว่าเมื่อวันที่ 8 เมษายน 2556 บุตรสาว คือ นางสาวการเกษ ชิดภักดี อายุ 18 ปี ได้ทำงานเป็นแม่บ้าน อยู่บ้านเลขที่ 3/112 หมู่บ้านเสนอศิริประชาชื่น ถนนประชาชื่น ตำบลท่าทราย อำเภอเมืองนนทบุรี และได้ลาออกจากงานเมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2555 โดยในวันกล่าวผู้สูญหายได้เดินทางไปพร้อมกับคนต่างด้าวสัญชาติลาว ชื่อเล่นว่าแหวน เพศหญิง อายุ 15 ปี โดยไม่ทราบว่าไปอาศัยอยู่ที่ใด ญาติพยายามตามหาตัวแต่ไม่พบและไม่สามารถติดต่อได้ จนกระทั่งปัจจุบัน จึงเกรงง่าอาจได้รับอันตราย และอาจถูกล่อลวงไปในทางที่เสียหายหรือตกเป็นเหยื่อของขบวนการค้ามนุษย์

หากท่านได้ข้อมูลหรือเบาะแส กรุณาแจ้งสำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดยโสธรทราบ โทร.045-711579




ส.ปชส.ยโสธร/ปิยะนุช 20 มิถุนายน 2556

ประกาศหาบุคคลสูญหายเป็นชาวจังหวัดพัทลุง

สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดยโสธร ได้รับแจ้งจากสำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดพัทลุง ว่าได้รับแจ้งจาก นางจินตนา เรืองเพชร อายุ 51 ปี (มารดา) อยู่บ้านเลขที่ 52 หมู่ที่ 1 ตำบลดอนทราย อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง ว่าบุตรสาวชื่อ นางสาวศิริพา เพชรหนู ชื่อเล่น สาว อายุ 18 ปี ทำงานเป็นลูกจ้างอยู่ที่ร้านเสริมสวนพอลล่า ถนนภาสว่าง อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา และหายไปจากร้านเสริมสวยดังกล่าว โดยบุตรสาวได้โทรศัพท์คุยกับมารดาให้ไปรับที่หอพักซึ่งอยู่หน้าโรงเรียน พาณิชย์หาดใหญ่ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา มารดาได้ไปรับบุตรสาวตามที่นัดหมายไว้ ในวันที่ 13 พฤษภาคม 2556 แต่ไม่พบบุตรสาว จึงได้สอบถามเพื่อนและเจ้าของร้านเสริมสวยพอลล่าแต่ไม่มีใครทราบ มารดาจึงได้เก็บสัมภาระของบุตรสาวกลับบ้าน ต่อมาเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2556 มารดาได้เข้าแจ้งความ เรื่องบุตรสาวสูญหายต่อพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรคอหงส์ ตำบลคอหงส์ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ปัจจุบันไม่ทราบว่านางสาวศิริพา เพชรหนูอยู่ที่ใด เกรงว่าอาจได้รับอันตราย และอาจถูกล่อลวงไปในทางที่เสียหาหรือตกเป็นเหยื่อของการค้ามนุษย์



ส.ปชส.ยโสธร/ปิยะนุช 20 มิถุนายน 2556

ยโสธรจัดแข่งขันตอบปัญหาประชาธิปไตย

ประชาสัมพันธ์จังหวัด ยโสธรจัดแข่งขันตอบปัญหาประชาธิปไตย Young DPR Award ปีที่ ๓ เพื่อคัดเลือกตัวแทนเข้าร่วมแข่งขันระดับเขต ระดับประเทศ ที่กรมประชาสัมพันธ์ จัดขึ้น ที่หอประชุมโรงเรียนยโสธรพิทยาคม นางสุภาพร สุนทรา ผู้อำนวยการโรงเรียนยโสธรพิทยาคม เป็นประธานเปิดการแข่งขันการตอบปัญหาประชาธิปไตย Young DPR Award ปีที่ ๓ นายไพชยนต์ ชนะกาญจน์ ประชาสัมพันธ์จังหวัดยโสธร กล่าวว่า จัดการแข่งขันตอบปัญหาประชาธิปไตย Young DPR Award ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ปีนี้ เป็นปีที่ ๓ โดยที่กรมประชาสัมพันธ์ มอบหมายให้สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดยโสธร ดำเนินการต่อเนื่อง เพื่อเป็นการเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจและกระตุ้นเตือนให้เยาวชน ตลอดจนประชาชนได้ตระหนักถึงสิทธิและหน้าที่ของตนเอง ตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข อีกทั้งเพื่อสร้างจิตสำนึกที่ดีในการเคารพสิทธิของผู้อื่น และการแสดงออกตามวิถีทางในระบอบประชาธิปไตยอย่างถูกต้องและเหมาะสม การแข่งขันในครั้งนี้ มีนักเรียนระดับมัธยมปลาย จำนวน 6 โรงเรียน 6 ทีม ๆละ 3 คน เข้าร่วมการแข่งขัน ประกอบด้วย โรงเรียนคำเขื่อนแก้วชนูปถัมภ์/ โรงเรียนยโสธรพิทยาคม / โรงเรียนทรายมูลวิทยา/ โรงเรียนคำเตยวิทยา, โรงเรียนค้อวังวิทยา/ โรงเรียนเลิงนกทา กติกาการแข่งขันตอบคำถามแบบปรนัย จำนวน ๒๐ ข้อ และการปราศรัยหาเสียง ทีมละ ๓ นาที ผลการแข่งขันปรากฎว่า โรงเรียนทรายมูลวิทยา ชนะเลิศ ได้เป็นตัวแทนจังหวัดยโสธร ได้ร่วมแข่งขันตอบปัญหาประชาธิปไตย Young DPR Award ปีที่ ๓ ระดับเขต ที่สำนักประชาสัมพันธ์เขต 2 อุบลราชธานี ในวันที่ 27 มิถุนายน 2556 และทีมชนะระดับเขต จะได้เข้าร่วมแข่งขันระดับประเทศ ที่กรมประชาสัมพันธ์ ต่อไป

ยโสธรประชุมพระสงฆ์

จังหวัดยโสธรประชุม พระสังฆาธิการ ระดับเจ้าอาวาส รองเจ้าอาวาส ผู้ช่วยเจ้าอาวาส และผู้รักษาแทนเจ้าอาวาส ในเขตปกครองคณะสงฆ์จังหวัดยโสธร ภาค 10 เพื่อปรึกษาหารือถึงกิจวัตรของสงค์ ที่วัดบ้านเขื่องคำ ตำบลเขื่องคำ อำเภอเมืองยโสธร จังหวัดยโสธร นายประวัติ ถีถะแก้ว ผู้ว่าราชการจังหวัด เป็นประธานฝ่ายฆราวาส โดยมีพระพรหมสิทธิ์ เจ้าคณะภาค 10 ประธานฝ่ายสงฆ์ ซึ่งการจัดประชุมพระสังฆาธิการ ระดับเจ้าอาวาส รองเจ้าอาวาส ผู้ช่วยเจ้าอาวาส และผู้รักษาแทนเจ้าอาวาส ในครั้งนี้ เป็นไปตามมติมหาเถรสมาตมที่ 143/2546 ประจำปี 2556 โดยให้พระสงฆ์ระดับ สังฆาธิการ ต้องมีการประชุมปรึกษาหารือตามข้อที่ได้บัญญัติไว้ ประกอบกับในปัจจุบัน ภาพพระสงฆ์บางรูปที่ปรากฎตามสื่อมวลชนต่างๆทำให้เกิดความเข้าใจผิด และไม่ถูกไม่ควรหลายอย่าง ทำให้สถาบันศาสนาเสื่อมเสียได้ ดังนั้นการประชุมในครั้งนี้ จึงได้มีการ ถวายความรู้แก่พระสงฆ์โดยได้นิมนต์ พระราชวชิรโมลี รองเจ้าคณะภาค 10 บรรยายเรื่องงานศาสนศึกษา งานการเผยแผ่ พร้อมด้วยพระเทพวิสุทธิโมลี รองเจ้าคณะภาค 10 บรรยายเรื่อง งานสาธารณสงเคราะห์ มีพระสงฆ์ระดับเจ้าอาวาส/ รองเจ้าอาวาส/ ผู้ช่วยเจ้าอาวาส/ และผู้รักษาแทนเจ้าอาวาส /จากทั้งหมด 9 อำเภอ / เข้าประชุมหารือรับความรู้ จำนวนกว่า จำนวน กว่า 500 รูป

โรงเรียนนราธิวาส ขอเชิญร่วมงาน “คืนสู่เหย้า ชาวโรงเรียนนราธิวาส”

โรงเรียนนราธิวาส ขอเชิญร่วมงาน "คืนสู่เหย้า ชาวโรงเรียนนราธิวาส” ร้อยรัก ร้อยสามัคคี ร้อยปีโรงเรียนนราธิวาส ในโอกาสครบรอบ 100 ปี โรงเรียนนราธิวาส ในวันอาทิตย์ที่ 11 สิงหาคม 2556 ณ โรงรียนนราธิวาส

โรงเรียนนราธิวาสร่วมกับคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน คณะศิษย์เก่า ผู้ปกครองนักเรียน โรงเรียนนราธิวาส และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จงรัก พลาศัย อธิการบดีมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ ในฐานะประธานการจัดงาน ขอเชิญร่วมงาน "คืนสู่เหย้า ชาวโรงเรียนนราธิวาส” โดยกิจกรรมดังกล่าวจัดขึ้น เพื่อเป็นการเฉลิมฉลองในวาระพิเศษ ครบรอบ 100 ปี และเปิดโอกาสให้ศิษย์เก่า ศิษย์ปัจจุบันและประชาชนทั่วไป ได้เล็งเห็นถึงศักยภาพ ตลอด 100 ปี ที่ผ่านมา โดยการจัดการเรียนการสอนและสร้างสรรค์บุคคลคุณภาพออกสู่สังคม ซึ่งได้นำความรู้ความสามารถจากการศึกษาที่ได้เล่าเรียนมาไปพัฒนาชุมชน สังคม และประเทศชาติอย่างต่อเนื่อง โดยจัดให้ศิษย์เก่าได้กลับมา เห็นถึงการพัฒนาของโรงเรียน และร่วมเป็นหนึ่งในการพัฒนาโรงเรียนให้เติบโตและแข็งแรงมากขึ้น อีกทั้งยังป็นการสร้างความรัก ความสามัคคีระหว่างศิษย์เก่าอีกด้วย

โดยงาน "คืนสู่เหย้า ชาวโรงเรียนนราธิวาส” จะจัดขึ้นในวันอาทิตย์ที่ 11 สิงหาคม 2556 ณ โรงเรียนนราธิวาส ตั้งแต่เวลา 18.00 น. เป็นต้นไป

สำหรับผู้ที่สนใจ สามารถสำรองจองบัตรได้ที่ http://www.nts.ac.th/ ในราคา 500 บาท ภายในวันที่ 9 สิงหาคม 2556 หรือติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ เบอร์โทรศัพท์ 073-541771 ซึ่งรายได้หลังจากการหักค่าใช้จ่ายทั้งหมดจะมอบให้กับโรงเรียนนราธิวาสเพื่อ เป็นทุนการศึกษามอบให้แก่เด็กเรียนดีแต่ขาดทุนทรัพย์ และพัฒนาโรงเรียนนราธิวาสต่อไป



ส.ปชส.ยโสธร/ปิยะนุช 18 มิถุนายน 2556

ประกาศหาบุคคลสูญหาย

สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดยโสธร ได้รับประสานจากสำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดราชบุรี ว่าได้รับแจ้งจาก นางผึ้ง ไม่ทราบนามสกุล อายุ 37 ปี (มารดา) สัญชาติพม่า อยู่บ้านเลขที่ 122 หมู่ที่ 1 ตำบลหนองกระทุ่ม อำเภอปากท่อ จังหวัดราชบุรี ว่าบุตรชาย ชื่อ นายสมชาย ไม่ทราบนามสกุล อายุ 22 ปี สัญชาติพม่า ชื่อเล่นว่า "ต้น” ลักษณะรูปร่างผอมสูง ผิวดำแดง นิ้วก้อยข้างซ้ายขาดครึ่ง สติปัญญาไม่ค่อยดี สูงประมาณ 170 เซนติเมตร ได้หายตัวไปจากบ้านเช่าหลังตลาดศรีเมือง เมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม 2556 ปัจจุบันไม่ทราบว่านายสมชายอยู่ที่ใด ครอบครัวรู้สึกเป็นห่วง เกรงว่านายสมชาย อาจถูกล่อลวงไปในทางที่เสียหาย หรืออาจตกเป็นเหยื่อของขบวนการค้ามนุษย์

หากผู้ใดมีข้อมูลหรือพบเบาะแส กรุณาแจ้งสำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ จังหวัดราชบุรี โทรศัพท์ 0-3233-7620 หรือสายด่วน ศูนย์ประชาบดี 1300



ส.ปชส.ยโสธร/ปิยะนุช 18 มิถุนายน 2556

สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดมุกดาหาร จัดกิกรรมการแข่งขันตอบปัญหาประชาธิปไตย คัดเลือกตัวแทนจังหวัดเข้าร่วมแข่งขันในระดับภาค

วันนี้ (๒๐ มิ.ย. ๕๖) ณ ห้องประชุมสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจังหวัดมุกดาหาร อำเภอเมือง จังหวัดมุกดาหาร สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดมุกดาหาร จัดกิจกรรมการแข่งขันตอบปัญหาประชาธิปไตยสำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษา ตอนปลาย เยาวชนประชาธิปไตยสัมพันธ์ ปีที่ ๓ หรือ Yong DPR Awards ตามโครงการประชาสัมพันธ์ส่งเสริมการปกครองในระบอบประชาธิปไตย ประจำปีงบประมาณ ๒๕๕๖ จังหวัดมุกดาหาร โดยมี นายแสงทอง อนันตภักดิ์ ประชาสัมพันธ์จังหวัดมุกดาหาร เป็นประธานเปิดการแข่งขันกิจกรรมการตอบปัญหาประชาธิปไตย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจและกระตุ้นให้เยาวชนตระหนัก ถึงสิทธิและหน้าที่ของตนเองตามระบอบประชาธิปไตย รวมถึงการแสดงออกทางการปกครองระบอบประชาธิปไตยอย่างถูกต้องและเหมาะสม เพื่อคัดเลือกตัวแทนของจังหวัดมุกดาหารเข้าร่วมการแข่งขันระดับภาค และระดับประเทศ สำหรับโรงเรียนที่เข้าร่วมการแข่งขันมีทั้งหมด ๕ แห่ง ประกอบด้วย โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัยมุกดาหาร โรงเรียนมุกดาหาร โรงเรียนคำชะอีวิทยาคาร โรงเรียนดอนตาลวิทยา และโรงเรียนหนองสูงสามัคคีวิทยา

ผลการแข่งขันปรากฏว่า ทีมชนะเลิศการแข่งขันได้แก่ โรงเรียนดอนตาลวิทยา ทีมรองชนะเลิศอันดับ ๑ โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัยมุกดาหาร ทีมรองชนะเลิศอันดับ ๒ โรงเรียนหนองสูงสามัคคีวิทยา ส่วนรางวัลชมเชย ได้แก่ โรงเรียนมุกดาหาร และโรงเรียนคำชะอีวิทยาคาร

ทั้งนี้ ทีมชนะเลิศการแข่งขัน จะได้เป็นตัวแทนของจังหวัดมุกดาหาร เข้าร่วมการแข่งขันระดับภาค ที่สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทยจังหวัดอุบลราชธานี ในวันที่ ๒๗ มิถุนายน ๒๕๕๖ และคัดเลือกตัวแทนระดับภาคเข้าร่วมแข่งขันในระดับประเทศ ในเดือนกรกฎาคม ๒๕๕๖ ต่อไป



 
 สุภาวดี อัมไพพันธ์ ส.ปชส.มุกดาหาร/ข่าว

สุระณรงค์ อ่อนสนิท ส.ปชส.มุกดาหาร/ภาพ

จังหวัดมุกดาหาร เปิดโรงเรียนวิวัฒน์พลเมืองฝ่ายปกครอง รุ่นที่ 3/2556

ที่ กองร้อยอาสารักษาดินแดนจังหวัดมุกดาหาร ที่ 1นายบุญยืน คำหงษ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดมุกดาหาร เป็นประธานพิธีเปิดการฝึกอบรมค่ายบำบัดฟื้นฟูสมรรถภาพผู้เสพยาเสพติด โรงเรียนวิวัฒน์พลเมืองฝ่ายปกครองจังหวัดมุกดาหาร รุ่นที่ 3ประจำปี 2556 โดยมีนายอดุลย์ จันทนปุ่ม ปลัดจังหวัดมุกดาหารกล่าวรายงานถึงวัตถุประสงค์ ว่าเป็นโครงการบำบัดฟื้นฟูผู้เสพ ผู้ติดยาเสพติดในระบบสมัครใจบำบัดใช้ระยะเวลาบำบัด 15 วัน ในลักษณะการผสมผสาน ด้วยการใช้กระบวนการชุมชนบำบัด และหลักสูตร Fast Model อย่างย่อของกระทรวงสาธารณะสุข เพื่อฟื้นฟูสมรรถภาพร่างกาย จิตใจ และการฝึกอบรมอาชีพให้ผู้เสพ ผู้ติดยาเสพติดได้มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลับมาเป็นคนดี มีคุณภาพของสังคมและไม่กลับไปยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติดอีก 
นายบุญยืน คำหงษ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดมุกดาหาร ได้กล่าวว่า ทั้งนี้ ทางจังหวัดฯ มองว่า ผู้เสพ ผู้ติดยาเสพติด เป็นหนึ่งในมาตรการสำคัญที่จะต้องเร่งแก้ไข เพื่อยุติการแพร่ระบาดของยาเสพติด และลดจำนวนลงหรือไม่มีเลย ที่ผ่านมาได้ดำเนินการไปหลายอำเภอและประสบผลสำเร็จในระดับหนึ่ง และที่ผ่านมา จังหวัดฯ สามารถนำผู้เสพผู้ติดยาเสพติดและเข้ารับการบำบัดปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เข้ามามีส่วนร่วมเป็นแกนนำพัฒนาชุมชนต้านยาเสพติดในพื้นที่ได้อย่างมี ประสิทธิภาพ

สำหรับโครงการบำบัดฟื้นฟูสมรรถภาพผู้เสพยาเสพติด รุ่นที่ 3 นี้ จะใช้ระยะเวลา 15 วันในการอบรมซึ่งเริ่มตั้งแต่วันที่17 มิถุนายน 2556 ถึงวันที่ 1กรกฎาคม 2556 และมีผู้เข้ารับการอบรม 60 คน




 พิพัฒน์ เพชรสังหาร ส.ปชส.มุกดาหาร/ข่าว

สุระณรงค์ อ่อนสนิท ส.ปชส.มุกดาหาร/ภาพ

อำเภอโกสุมพิสัยจับมือสำนักงานท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดมหาสารคามจัดการแข่งขันเรือยาวต้านยาเสพติดชิงแชมป์สะดืออีสาน

สำนักงานท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดมหาสารคามประชุมเตรียมความพร้อมการ จัด”การแข่งขันเรือยาวยิงแชมป์สะดืออีสานและมหกรรมกีฬาพื้นบ้าน” ประจำปี 2556

วันนี้ ( 20 มิ.ย. 56 ) ที่ห้องประชุมสำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดมหาสารคามได้ประชุมเพื่อ เตรียมความพร้อมในการจัดการแข่งขันเรือยาวชิงแชมป์สะดืออีสาน และมหกรรมกีฬาพื้นบ้าน ประจำปี 2556 ซึ่งจัดขึ้นในวันที่ 25-26 มิถุนายน 2556 ณ สะดืออีสาน(บึงกุย) อำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม โดยมีนายสุรพล เทียนสุวรรณ ปลัดจังหวัดมหาสารคาม เป็นประธานในการประชุม ดดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวของจังหวัดมหาสารคามและเป็นการ อนุรักษ์วัฒนธรรมการละเล่นกีฬาพื้นบ้าน และประเพณีการแข่งขันเรือยาวให้อยู่คู่กับท้องถิ่นสืบไป และเป็นการประชาสัมพันธ์แหล่งท่องเที่ยวที่เป็นตัวแหล่งใหม่ได้แก่ "สะดืออีสาน” ให้เป็นที่รู้จักโดยทั่วไป

นางสาวปราณปริยา พลเยี่ยม ท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดมหาสารคาม กล่าวว่า การจัดงานแบ่งออกเป็น 2 วัน โดยวันแรกเป็นการจัดมหกรรมกีฬาพื้นบ้านโดยได้รับการสนับสนุนงบประมาณ จากบริษัทสิงห์คอร์เปอเรชั่นจำกัด ส่วนวันที่ 2 ซึ่งตรงกับวันยาเสพติดโลก จะมีการเปิดกิจกรรมต่อต้านยาเสพติด การแข่งขันเรือยาวชิงแชมป์สะดืออีสาน และมหกรรมกีฬาพื้นบ้าน โดยการแข่งขันเริ่มตั้งแต่เวลา 09.00 น. เป็นต้นไป
โดยการจัดกิจกรรมดังกล่าวได้รับความร่วมมือจากหลายๆผ่าย อันเกิดจากจุดมุ่งหมายเดียวกันคือ การส่งเสริมการท่องเที่ยวของจังหวัดมหาสารคาม เนื่องจากอำเภอโกสุมพิสัยมีแหล่งท่องเที่ยวเช่น วนอุทยานโกสัมพีที่มีลิงแสมสีทองอาศัยอยู่,แก่งตาด,สินค้าโอทอป,ทอเสื่อกก ชาวบ้านแพง และร่วมกันต่อต้านยาเสพติดให้ประชาชนในท้องถิ่นเรามีสุขภาพกาย สุขภาพจิตที่ดีเพิ่มรายได้ให้แก่ชุมชน และสร้างรายได้จากการส่งเสริมการท่องเที่ยวในจังหวัด แล้วยังเป็นส่วนหนึ่งในการร่วมอนุรักษ์กีฬาประชำชาติของไทยให้คงอยู่สืบไป ด้วย

นายสุรพล เทียนสุวรรณ ปลัดจังหวัดมหาสารคาม กล่าวเพิ่มเติมต่อไปว่า การแข่งขันมีทั้งหมด 12 ชนิดกีฬา ได้แก่ การแข่งขันเรือยาวไม่เกิน 30 ฝีพาย รางวัลชนะเลิศ 12,000 บาทพร้องถ้วยเกียรติยศจากผู้ว่าราชการจังหวัดมหาสารคาม,การประกวดนางงามส่ง เสริมการท่องเที่ยว "ธิดาสะดืออีสาน” รางวัลชนะเลิศ 8,000 บาทพร้อมถ้วยเกียรติยศจากผู้ว่าราชการจังหวัดมหาสารคาม,การประกวดกองเชียร์ รางวัลชนะเลิศ 16,000 บาทพร้อมถ้วยเกียรติยศจากผู้ว่าราชการจังหวัดมหาสารคาม ซึ่งจะแข่งขันกันในวันที่ 26 มิถุนายน 2556 ส่วนการแข่งขันมวยทะเล ,การแข่งขันเรือแจว 2 ฝีพาย,การแข่งขันชักเย่อ,การแข่งขันวิ่งเปี้ยวอุ้มแตงโม,การแข่งขันวิ่ง กระสอบ,การแข่งขันวิ่งสามขา,การแข่งขันวิ่งผลัดสามขา,การแข่งขันวิ่งตะขาบ รางวัลชนะเลิศเงินรางวัลละ 500 บาท จะแข่งขันกันในวันที่ 25 มิถุนายน 2556


ทั้งนี้ขอเชิญพี่น้องประชาชนชาวจังหวัดมหาสารคามและจังหวัดใกล้เคียง ร่วมชมและเชียร์การแข่งขันเรือยาวยิงแชมป์สะดืออีสาน ประจำปี 2556 ในวันที่ 25-26 มิถุนายน 2556 ตั้งแต่เวลา 09.00 น.เป็นต้นไป ณ บริเวณบึงกุย(สะดืออีสาน) อำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม

20-06-56 เกษตรอําเภอกันทรวิชัยร่วมกับม.มหาสารคามจัดโครงการ ดร.โยนกล้ากับชาวนาชั้นนํา

เกษตรอําเภอกันทรวิชัยร่วมกับม.มหาสารคามจัดโครงการ ดร.โยนกล้ากับชาวนาชั้นนํา โดยอาจารย์ระดับปริญญาเอกมาร่วมโยนกล้ากับเกษตรกรที่ประสบผลสำเร็จในการทำนา พร้อมร่วมกันพัฒนาระบบ แนวคิดและเทคนิคการทำนาแบบโยนกล้า

20-06-56 ที่โรงเรียนบ้านสมศรีมะแปบประชาบำรุง อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม สำนักงานเกษตรอำเภอกันทรวิชัยร่วมกับภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม จัดโครงการ ดร.โยนกล้ากับชาวนาชั้นนำ โดยมีดร.วรรณศักดิ์ พิจิตรบุญเสริม ผู้ช่วยอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหาสารคามเป็นประธานเปิดโครงการ ดร.สุจินต์ อังกุราวิรุทธ์ หัวหน้าภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยมหาสารคามกล่าวว่าการจัดโครงการดังกล่าวเป็นการ จัดทำโครงการแบบผสมผสานโดยบูรณาการกับหน่วยงานในพื้นที่ เพื่อเป็นแหล่งศึกษาเรียนรู้ระหว่างนิสิตมหาวิทยาลัยมหาสารคามกับนักเรียน ครู และเกษตรกรในพื้นที่ซึ่งเป็นการบริการวิชาการแก่ชุมชนของมหาวิทยาลัย มหาสารคาม โดยได้เชิญอาจารย์ระดับปริญญาเอกซึ่งมีหน้าที่หลักคือสอนหนังสือมาร่วม โยนกล้ากับเกษตรกรที่ประสบผลสำเร็จในการทำนาหรือ Smart Famer เพื่อร่วมกันพัฒนาระบบ แนวคิดและเทคนิคการทำนาแบบโยนกล้าที่แปลงนาสาธิตภายในโรงเรียนสมศรีมะแปบ ประชาบำรุง 


ด้านนายอำพน ศิริคำ เกษตรอำเภอกันทรวิชัยกล่าวว่าการทำนาแบบโยนกล้านั้นเป็นการทำนาอีกวิธีหนึ่ง ที่จะช่วยลดต้นทุนทั้งในเรื่องของเมล็ดพันธุ์ข้าวและสารเคมีในการกำจัดพืช และแมลง เพราะนาโยนกล้าสามารถควบคุมวัชพืชข้าวและหญ้านานาชนิดได้ดี ผลผลิตที่ได้ไม่แตกต่างจากนาหว่านมากนักและใช้ต้นทุนแรงงานน้อยกว่าวิธีอื่น เหมาะสำหรับการทำนาข้าวอินทรีย์หรือการทำนาแบบเกษตรพอเพียงหรือเกษตรผสมผสาน เป็นต้น



ส.ปชส.มหาสารคาม/ข่าว

ผวจ.มหาสารคามประชุมคณะกรรมการติดตามและกำกับดูแลการรับจำนำข้าวระดับจังหวัด เพื่อชี้แจงการปรับลดราคารับจำนำข้าวเปลือก

ผู้ว่าราชการจังหวัดมหาสารคามจัดประชุม คณะอนุกรรมการติดตามและกำกับดูแลการรับจำนำข้าวระดับจังหวัดและหน่วยงานที่ เกี่ยวข้องเพื่อชี้แจงทำความเข้าใจแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการปรับลดราคารับ จำนำข้าวเปลือก

ตามที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบให้มีการปรับลดราคารับจำนำข้าวเปลือกเจ้า 100% ของโครงการรับจำนำข้าวเปลือก ปีการผลิต 2555/2556 ครั้งที่ 1,2 จากราคาตันละ 15,000 บาท เป็นราคาตันละ 12,000 บาท ตั้งแต่วันที่ 30 มิถุนายน 2556 เป็นต้นไปนั้น เช้านี้ (20 มิถุนายน 2556) ที่ห้องประชุมศาลากลางจังหวัดมหาสารคาม นายนพวัชร สิงห์ศักดา ผู้ว่าราชการจังหวัดมหาสารคาม ได้เชิญคณะอนุกรรมการติดตามและกำกับดูแลการรับจำนำข้าว ระดับจังหวัดของจังหวัดมหาสารคาม นายอำเภอ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ผู้แทนเกษตรกรจังหวัดมหาสารคาม มาประชุม เพื่อชี้แจงทำความเข้าใจ แนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับมติ ครม. ในการปรับลดราคารับจำนำข้าวของโครงการรับจำนำข้าว ปีการผลิต 2555/2556 ครั้งที่ 1 และ 2 ซึ่งจะมีผลตั้งแต่วันที่ 30 มิถุนายน 2556 เป็นต้นไป


นายนพวัชร สิงห์ศักดา ผู้ว่าราชการจังหวัดมหาสารคาม ได้สรุปสาระสำคัญของมติคณะรัฐมนตรีเกี่ยวกับการปรับลดราคารับจำนำข้าวเปลือก ของโครงการรับจำนำข้าวเปลือก ปีการผลิต 2555/2556 ครั้งที่ 1 และ 2 ซึ่งจะมีผลตั้งแต่วันที่ 30 มิถุนายน 2556 เป็นต้นไป ว่าเป็นการปรับลดราคารับจำนำข้าวเปลือกเจ้า 100% จากราคาตันละ 15,000 บาท เป็นราคาตันละ 12,000 บาท ส่วนข้าวเปลือกชนิดอื่นๆ ให้ปรับลด 20% จากราคาเดิม และให้มีการจำกัดวงเงินรับจำนำข้าวของเกษตรกร แต่ละครัวเรือนจากเดิมที่ไม่จำกัดวงเงิน เป็นจำนวนไม่เกินครัวเรือนละ 500,000 บาท ต่อปี โดยให้เริ่มดำเนินการตั้งแต่วันที่ 20 มิถุนายน 2556 เป็นต้นไป สำหรับเกษตรกรชาวนาที่มีข้อเสนอแนะหรือคัดค้านนโยบายการปรับลดราคารับจำนำ ข้าวเปลือกของรัฐบาล สามารถยื่นข้อเสนอแนะข้อคิดเห็นคัดค้านได้ที่ที่ว่าการอำเภอ หรือที่ศาลากลางจังหวัดมหาสารคาม เพื่อจังหวัดจะได้เสนอให้รัฐบาลทราบต่อไป โดยไม่จำเป็นต้องเดินทางไปชุมชนุมคัดค้านที่ส่วนกลาง



สมพงษ์ ปัตตานี/ข่าว ศิรินทรา แก้วบุญเรือง/ข่าว

มหาสารคาม รวมพลัง 25 ตาสับปะรด แก้ปัญหายาเสพติดในชุมชน

เทศบาลเมืองมหาสารคาม จัดงานรวมพลัง 25 ตาสับปะรด ผู้ประสานพลังแผ่นดินเอาชนะยาเสพติด เพื่อแก้ปัญหาการแพร่ระบาดของยาเสพติดในชุมชนเมือง

(20-06-56) ที่ศูนย์กีฬาเยาวชนเทศบาลเมืองมหาสารคาม สำนักงานเทศบาลเมืองมหาสารคาม ได้เรียกประชุมผู้ประสานพลังแผ่นเอาชนะยาเสพติด 25 ตาสับปะรด ในเขตเทศบาลเมืองมหาสารคามทั้ง 30 ชุมชน พร้อมส่วนราชการ พนักงาน และลูกจ้างของเทศบาลเมืองมหาสารคาม กว่า 500 คน เพื่อรวมพลังสร้างกระแส ให้เกิดแนวร่วมในการรณรงค์ป้องกันให้ประชาชนในชุมชนได้เกิดความความตระหนัก ถึงพิษภัยของยาเสพติดที่แอบแฝงมาในชุมชน พร้อมหาวิธีการร่วมกันในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดอย่างเป็นระบบ และให้ชุมชนปลอดภัยจากปัญหายาเสพติดอย่างยั่งยืน โดยมีนายนพวัชร สิงห์ศักดา ผู้ว่าราชการจังหวัดมหาสารคาม เป็นประธานเปิดงาน พร้อมมอบนโยบายการแก้ไขปัญหายาเสพติดของจังหวัดมหาสารคาม เพื่อให้ผู้ประสานพลังแผ่นเอาชนะยาเสพติด 25 ตาสับปะรด ในเขตเทศบาลเมืองมหาสารคาม ได้ให้ความร่วมมือในการขับเคลื่อนแก้ไขปัญหายาเสพติดอย่างมีประสิทธิภาพ

นอกจากนี้ สำนักงานเทศบาลเมืองมหาสารคาม ยังมีการตรวจปัสสาวะผู้ประสานพลังแผ่นเอาชนะยาเสพติด 25 ตาสับปะรด ข้าราชการ พนักงาน และลูกจ้างของเทศบาลเมืองมหาสารคามด้วย



ส.ปชส.มหาสารคาม / ข่าว

มหาสารคาม นำเยาวชนผลิตหนังสั้นสร้างสรรค์สื่อดี ห่างไกลยาเสพติด

สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดมหาสารคาม จัดอบรมเยาวชนผลิตหนังสั้น เพื่อดึงเยาวชนให้หันมาสร้างสรรค์สื่อดี เสริมสร้างค่านิยมพื้นฐาน ความพอเพียง เสียสละ มีน้ำใจ และห่างไกลยาเสพติด

(20-06-56) ที่ห้องประชุมอุทยานการเรียนรู้มหาสารคาม สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดมหาสารคาม จัดอบรมเชิงปฏิบัติการภาพยนตร์สั้นเสริมสร้างค่านิยมพื้นฐาน ให้กับเด็กและเยาวชนในจังหวัด จำนวน 70 คน เพื่อส่งเสริม สนับสนุน สร้างความรู้ ความเข้าใจค่านิยมพื้นฐาน พอเพียง เสียสละ มีน้ำใจ และการผลิตสื่อที่ปลอดภัย มีคุณภาพและสร้างสรรค์ ให้มีปริมาณมากขึ้นในสังคมไทยและมีความหลากหลาย นำเผยแพร่สู่สาธารณชนผ่านสื่ออินเทอร์เน็ตและสื่ออื่นๆ พร้อมเปิดโอกาสให้เด็กและเยาวชนที่เข้ารับการอบรมผลิตภาพยนตร์สั้น นำสื่อที่ผลิตเข้าร่วมประกวดสื่อสร้างสรรค์ภาพยนตร์สั้นในหัวข้อ "เสริมสร้างค่านิยมพื้นฐาน พอเพียง เสียสละ มีน้ำใจ” ด้วย

นายนพวัชร สิงห์ศักดา ผู้ว่าราชการจังหวัดมหาสารคาม กล่าวว่า ปัจจุบันสื่อมีบทบาทที่สำคัญในการใช้ชีวิตประจำวัน ถือเป็นส่วนหนึ่งของสังคมไทย ภาพยนตร์สั้น เป็นสื่ออิสระ ที่ได้รับการตอบรับในกลุ่มบุคคลทั่วไป นักเรียน นักศึกษา อย่างมาก เป็นสื่อที่เปิดโอกาสให้เด็กและเยาวชนได้แสดงความคิดเห็นอย่างอิสระในด้าน ต่างๆ ผ่านสื่อและตัวละคร ทำให้เกิดความสนุกสนาน เกิดกระบวนการทักษะเรียนรู้ในคุณค่าของสื่อ การเลือกชมเลือกใช้สื่ออย่างสร้างสรรค์ ค่านิยมด้านต่างๆ ซึ่งเป็นทางเลือกหนึ่งที่ช่วยให้สังคม สามารถดึงเด็กและเยาวชนออกห่างไกลจากยาเสพติด หันมาสร้างสรรค์สื่อดีๆ มีคุณค่า มีความหลากหลาย เสนอต่อสังคมอย่างต่อเนื่อง


 


ส.ปชส.มหาสารคาม / ข่าว

ผู้ตรวจราชการสํานักนายกรัฐมนตรี เขต12 ตรวจและติดตามความก้าวหน้าและรับฟังผลการตรวจสอบโครงการตามแผนการปฏิบัติราชการประจําปี 2556

19-06-56 ที่ห้องประชุม406 ศาลาลกลางจังหวัดมหาสารคาม นางวนิดา สักการโกศล ผู้ตรวจราชการสํานักนายกรัฐมนตรี เขต12 และคณะได้เดินทางมาตรวจติดตามผลการดําเนินงานตามโครงการและนโยบายที่สําคัญ ของรัฐบาลตามข้อเสนอแนะของผู้ตรวจราชการสํานักนายกรัฐมนตรีที่จังหวัด มหาสารคามโดยมีนายธวัช สุระบาล. รองผู้ว่าราชการจังหวัดมหาสารคามให้การต้อนรับและรายงานผลการปฏิบัติงาน ปัญหา อุปสรรค ข้อเสนอแนะให้ผู้ตรวจชการสํานักนายกรัฐมนตรีได้รับทราบโดยมีประเด็นและ นโยบายที่ผู้ตรวจราชการสํานักนายกรัฐมนตรีเดินทางมาตรวจและติดตามครั้งนี้ ประกอบด้วยการดําเนินการกองทุนพัฒนาศักยภาพของกองทุนหมู่บ้านและชุมชน(SML) ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ประจําปีงบประมาณ2556 กองทุนพัฒนาบทบาทสตรีและการแก้ไขปัญหาภัยแล้ง ส่วนในภาคบ่ายผู้ตรวจราชการสํานักนายกรัฐมนตรีและคณะได้เดินทางไปตรวจราชการ และติดตามโครงการตามที่ได้มีการรายงานผลการดําเนินงานในที่ประชุม เพื่อทราบผลการดําเนินงานอย่างไกล้ชิด



ส.ปชส.มหาสารคาม/ ข่าว

พอ.สว.มหาสารคาม ร่วมคลินิกเกษตร จังหวัดเคลื่อนที่ ให้บริการประชาชนที่อำเภอโกสุมฯ

หน่วยแพทย์เคลื่อนที่ พอ.สว. บูรณาการกับโครงการคลินิกเกษตรฯและจังหวัดเคลื่อนที่ ออกให้บริการประชาชนในพื้นที่ห่างไกล ที่โรงเรียนบ้านหนองปลาเข็ง ตำบลหนองบัว อำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม

ที่บริเวณสนามโรงเรียนบ้านหนองปลาเข็ง ตำบลหนองบัว อำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม หน่วยแพทย์เคลื่อนที่ พอ.สว. บูรณาการร่วมกับโครงการจังหวัดเคลื่อนที่ และโครงการคลินิกเกษตรเคลื่อนที่ฯ ออกให้บริการประชาชน โดยมีนายยิ่งยศ ธนะจันทร์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดมหาสารคาม เป็นประธาน

ทั้งนี้ หน่วยแพทย์เคลื่อนที่ พอ.สว.จังหวัดมหาสารคาม ซึ่งเป็นหน่วยแพทย์ลำดับที่ 55 ออกมาให้บริการตรวจรักษาโรคทั่วไปและโรคทางทันตกรรมให้กับประชาชน โดยไม่คิดค่าใช้จ่าย ขณะเดียวกันหน่วยงานในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในจังหวัดมหาสารคามและ อำเภอโกสุมพิสัย ก็ได้นำการบริการ ทั้งคลินิกดิน ปฏิรูป ประมง พืช และคลินิกสัตว์ ออกให้บริการตามโครงการคลินิกเกษตรเคลื่อนที่ในพระราชนุเคราะห์ฯ และการให้บริการของส่วนราชการในจังหวัดตามโครงการจังหวัดเคลื่อนที่เยี่ยม เยียนประชาชน ออกมาให้บริการประชาชนด้วย พร้อมนี้รองผู้ว่าราชการจังหวัดมหาสารคาม คณะกรรมการเหล่ากาชาดจังหวัดมหาสารคาม นายอำเภอโกสุมพิสัย และผู้แทนส่วนราชการ ภาคเอกชน ยังได้มอบพันธ์ปลาให้กับตัวแทนหมู่บ้าน มอบทุนการศึกษา เครื่องอุปโภคบริโภค และเวชภัณฑ์ยา ให้แก่นักเรียน ประชาชนที่มารับบริการด้วย

สำหรับตำบลหนองบัว อำเภอโกสุมพิสัย แบ่งการปกครองออกเป็น 17 ตำบล 233 หมู่บ้าน พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่ม สลับดอน ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำนา เลี้ยงสัตว์ ทำสวน และรับจ้าง ในช่วงภัยแล้งที่ผ่านมาได้แจกจ่ายน้ำช่วยเหลือราษฎรแล้วว่า 3 ล้านลิตร พร้อมทั้งการจัดหาภาชนะเก็บกักน้ำ และการเป่าล้างบ่อบาดาล ประปา ปัญหาที่พบส่วนใหญ่เป็นปัญหาน้ำท่วมเกือบทุกปี ทำให้เกิดปัญหาเส้นทางการคมนาคมไม่สะดวก โดยที่องค์การบริหารส่วนตำบลหนองบัว ได้จัดทำโครงการเพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากจังหวัดมหาสารคาม เพื่อมาดำเนินการปรับปรุงและสร้างถนนเพื่อให้เกิดความสะดวกในการคมนาคม
 

..............ส.ปชส.มหาสารคาม/ข่าว