วันอาทิตย์ที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

จังหวัดสุรินทร์ เชิญชวนพุทธศาสนิกชนร่วมทอดผ้าป่าก่อสร้างพระปรางค์กุญชรมณีศรีไตรยอดเพชรวันมาฆบูชา

พระปรางค์ หรือ ปรางค์ เป็นสิ่งก่อสร้างประเภทหนึ่งในงานสถาปัตยกรรมไทย เป็นหลักประธานในวัดเช่นเดียวกับพระเจดีย์ แต่เดิมถือว่าเป็นงานสถาปัตยกรรมที่มีรูปแบบลักษณะเฉพาะของขอม โดยมีคติความเชื่อในศาสนาฮินดู ว่าเป็นสัญลักษณ์ของ เขาพระสุเมรุ

ท่านเจ้าคุณ พระพิมลพัฒนาทร (หลวงพ่อพวน) แห่งวัดมงคลคชาราม (วัดช้างหมอบ) อำเภอกาบเชิง จังหวัดสุรินทร์ เกจิอาจารย์ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบของจังหวัดสุรินทร์ กล่าวถึงการที่ได้ธุดงค์มาพำนักที่บนเนินเขาพนมดงรักแห่งนี้  ได้บำเพ็ญเพียรวิปัสสนากรรมฐาน นั่งสมาธินิมิตเห็นพระปรางค์รูปทรงตามที่ได้จัดสร้าง เป็นสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เพราะว่า สวรรค์ชั้นดาวดึงส์มีธรรมสภากว้างขวาง ใหญ่โตและเป็นสวรรค์ชั้นที่เทวดาในชั้นจาตุมหาราชิกาสามารถขึ้นไปฟังพระธรรมจากองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่เสด็จมาโปรดพระพุทธมารดาตลอดไตรมาส ให้เทพดาในโลกธาตุที่ประชุมฟังธรรมอยู่ในที่นั้น ได้บรรลุมรรคผลสุดที่จะประมาณ ในอวสานกาลเป็นที่จบคัมภีร์มหาปัฎฐาน ซึ่งเป็นคัมภีร์ที่ 7 พระมหามายาเทวี พระพุทธมารดาได้บรรลุพระโสดาปัตติผล สมพระประสงค์ของพระผู้มีพระภาคเจ้า ที่ได้ทรงตั้งพระทัยเสด็จขึ้นมาสนองคุณพระพุทธมารดา

จากนิมิตรดังกล่าวหลวงพ่อพวนไม่รู้ว่าจะจัดสร้างได้อย่างไร คิดว่าสถานที่แห่งนี้น่าจะเป็นดินแดนธรรมในอนาคต เทพ พรหมคงมากำหนดให้เห็นเป็นนิมิต จึงได้ทำพิธีบวงสรวงขอสิ่งศักดิ์สิทธิ์  ให้มีคนมาช่วยให้การสร้างพระปรางค์ประสบผลสำเร็จเพื่อประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และพระสารีริกธาตุของพระอริยสงฆ์และพระธาตุที่เสด็จมาและเก็บไว้ที่วัดแห่งนี้เพื่อสืบทอดพระพุทธศาสนาและให้พุทธศาสนิกชนได้เคารพบูชาสักการะได้ตลอดไป

ต่อมาได้มีหญิงสาวผิวขาวร่างสันทัด อายุ 17 ปี มาพร้อมชายวัยกลางคน ประมาณ 50 ปี เศษ มาขอออกแบบพระปรางค์พร้อมแกะลายยอดพระปรางค์ให้ด้วย  โดยอาตมาบอกเขาตามนิมิตที่เห็น เขาทำงานกันทั้งวันไม่พูดจากับใคร  อาตมาก็ไม่กล้าเข้าไปซักถามจึงไม่ทราบว่ามาจากไหนโดยใช้เวลาเพียง 15 วัน ได้นำแบบทั้งหมดมาให้และบอกว่า ต่อไปจะมีคนมาสร้างให้ หลังจากนั้นเขาทั้ง 2 คนก็ออกจากวัดไป ไม่ได้เจอกันอีกเลยจนถึงปัจจุบันนี้

พระปรางค์กุญชรมณีศรีไตรยอดเพชร  เริ่มสร้าง เมื่อวันที่ 9  มีนาคม 2552 โดยจัดสร้างเป็นองค์ปรางค์ 3 ยอดอยู่ตรงกลาง และมีปรางค์บริวารโดยรอบทั้ง 8 ทิศ ตั้งอยู่บนยอดเขาเตี้ย ๆ  ซึ่งได้ปรับปรุงพื้นที่โดยการถมดินเป็นฐานมีขนาดกว้าง 70 เมตร ยาว 100 เมตร  สูงจากพื้นดินปกติ  5 เมตร มีความวิจิตรสวยงาม ตั้งอยู่ริมชายแดนไทย-กัมพูชา การดำเนินการได้จัดสร้างไปแล้วประมาณ  60 เปอร์เซ็นต์  สำหรับวัสดุ ที่เป็นทั้งหินศิลาแลง และปูนที่วางแบบเป็นรูปแบบสมัยประยุกต์ ทั้งลวดลาย ที่เป็นแบบลายไทย และลายผสม ไทยและอาณาจักรขอม

จนกระทั่งเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 2555 นายนิรันดร์ กัลยาณมิตร ผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์ ได้นำพุทธศาสนิกชนทั่วทุกหมู่เหล่า ร่วมกันอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุ พร้อมด้วยพระพุทธรูปและพระไตรปิฎกฉบับภาษาลาว นั่งช้าง เวียนประทักษิณรอบพระปรางค์กุญชรมณีศรีไตรยอดเพชรเนื่องจากในปีนั้นเป็นปีพุทธชยันตี 2600 ปีแห่งการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า และเป็นการเฉลิมพระเกียรติถวายเป็นพระราชกุศล แด่องค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเจริญพระชนมพรรษา ครบ 85 พรรษา และสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ทรงเจริญพระชันษา 99 ปี จังหวัดสุรินทร์ จึงได้ขอประทานพระบรมสารีริกธาตุ จากพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ซึ่งพระองค์ทรงเมตตาประทาน พระบรมสารีริกธาตุ เพื่ออัญเชิญไปประดิษฐานไว้ ณ พระปรางค์กุญชรมณีศรีไตรยอดเพชร วัดช้างหมอบหรือวัดมงคลคชาราม ที่ บ้านช้างหมอบ ต.แนงมุด อ.กาบเชิง จ.สุรินทร์ เพื่อเป็นที่สักการะ บูชา เป็นที่ตั้งมั่นแห่งพระพุทธศาสนาเพื่อความเป็นสิริมงคล และเป็นกำลังใจแก่คณะสงฆ์ และพุทธศาสนิกชนตามแนวชายแดนไทย – กัมพูชา

สำหรับในครั้งนี้  นายนิรันดร์ กัลยาณมิตร ผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์ ในฐานะประธานฝ่ายฆราวาส ได้กล่าวว่าจังหวัดสุรินทร์ ร่วมกับส่วนราชการจังหวัดสุรินทร์ ภาคเอกชน พ่อค้า ประชาชนชาวจังหวัดสุรินทร์ กำหนดจัดงานทอดผ้าป่าสามัคคี ในวันที่ 14 ก.พ. 2557 ซึ่งเป็นวันแห่งความรักและวันมาฆบูชา  ณ วัดมงคลคชาราม (วัดช้างหมอบ ) หมู่ที่ 14 บ้านช้างหมอบ ต. แนงมุด จ. สุรินทร์ เพื่อสมทบทุนในการก่อสร้างพระปรางค์กุญชรมณีศรีไตรยอดเพชร เพื่อประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ให้พุทธศาสนิกชนได้สักการะ และเพื่อสืบทอดพระพุทธศาสนาและเพื่อพัฒนาเป็นสถานที่ท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของจังหวัดสุรินทร์อีกแห่งหนึ่ง จึงขอเชิญชวนพุทธศาสนิกชนชาวจังหวัดสุรินทร์ร่วมเป็นเจ้าภาพในการทอดผ้าป่าสามัคคีดังกล่าวโดยพร้อมเพรียงกัน

จังหวัดสุรินทร์จึงขอเชิญชวนผู้มีจิตศรัทธาทุกท่าน ได้ร่วมเป็นเจ้าภาพทอดผ้าป่าสามัคคีในครั้งนี้ โดยประสานรายละเอียดและส่งปัจจัยได้ที่ สำนักงานจังหวัดสุรินทร์ กลุ่มงานอำนวยการ โทร 044-512039  (นายสันทัด แสนทอง หัวหน้ากลุ่มงานอำนวยการ โทร 086-7215312 ) ที่ทำการปกครองจังหวัดสุรินทร์ กลุ่มงานการเงินและบัญชี โทร 044-511891 (นางสาวรัชนีภรณ์ สุยะ เสมียนตราจังหวัดสุรินทร์ โทร081-7534853 ) หรือโอนเงินเข้าบัญชีธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) สาขาสุรินทร์ ประเภทออมทรัพย์ ชื่อบัญชี ก่อสร้างพระปรางค์กุญชรมณีศรีไตรยอดเพชร เลขที่ บัญชี 310-0-69691-3 และขอความกรุณาแฟกซ์ใบโอนให้ทราบด้วย 

จังหวัดสุรินทร์ เชิญชวนพุทธศาสนิกชนร่วมกิจกรรมส่งเสริมพระพุทธศาสนาเนื่องในวันมาฆบูชาประจำปี 2557

นายนิรันดร์  กัลยาณมิตร ผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์ กล่าวว่า เนื่องในวันมาฆบูชา หรือวันคล้ายวันที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงโอวาทปาติโมกข์ คือการประกาศหลักธรรม คำสั่งสอนของพระองค์ ต่อหน้าพระอรหันต์จำนวน 1,250 รูปมาประชุมกันโดยมิได้นัดหมาย ในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 แต่หากวันเพ็ญเดือน 3 ถ้าปีใดมีเดือน 8 สองหน เลื่อนเป็นเดือน 4 ซึ่งในปีนี้ ตรงกับวันศุกร์ที่ 14 กุมภาพันธ์ 2557 ดังนั้น เพื่อเป็นการร่วมเผยแพร่กิจกรรมทางพระพุทธศาสนาเนื่องในวันดังกล่าว ทางจังหวัดจึงได้ร่วมกับวัดต่าง ๆ จัดกิจกรรมในทุกวัด ทั้งการประกอบพิธีทำบุญตักบาตร ถวายภัตตาหารและกิจกรรมการรักษาอุโบสถศีล ปฏิบัติธรรม ส่วนในช่วงค่ำตั้งแต่ เวลา 18.00 น.เป็นต้นไป มีการจัดกิจกรรมแสดงตนเป็นพุทธมามกะ ตลอดจนพิธีเวียนเทียนตามวัดต่าง ๆ จึงขอเชิญชวนพุทธศาสนิกชนร่วมเข้าวัดปฏิบัติธรรม ณ วัดใกล้บ้าน เนื่องในวันมาฆบูชาด้วยความพร้อมเพรียงกัน

อบจ.สุรินทร์รับสมัครคู่สมรสร่วมกิจกรรม “จดทะเบียนสมรสบนหลังช้าง” ประจำปี 2557

นายกิตติภัทร์ รุ่งธนเกียรติ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสุรินทร์ กล่าวว่า ด้วย อบจ.สุรินทร์ กำหนดจัดงาน "จดทะเบียนสมรสบนหลังช้าง” ประจำปี 2557 ครั้งที่ 8 ในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2557 ณ ศูนย์คชศึกษา บ้านตากลาง ตำบลกระโพ อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์ เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวของจังหวัดสุรินทร์ และอนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณีการแต่งงานของชนพื้นเมืองสุรินทร์กลุ่มชาติพันธุ์ กวย "พิธีซัตเต” โดยมีเป้าหมายเป็นคู่สมรสไม่น้อยกว่า 30 คู่ ทั้งนี้คู่สมรสหรือคู่รักคู่ใดสนใจร่วมกิจกรรม สามารถสอบถามรายละเอียดได้ที่ สำนักปลัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดสุรินทร์ หมายเลขโทรศัพท์ 044 – 511975 หรือ ที่ว่าการอำเภอท่าตูม โทร. 044 – 591141 และการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานสุรินทร์ โทร. 044 – 514447 ตั้งแต่บัดนี้ ถึงวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2557

จ.สุรินทร์ จัดงานวันนัดพบแรงงานย่อย มีตำแหน่งงานว่างรองรับผู้ว่างงานจำนวนมาก 12 ก.พ. นี้

นายเทพบัญชา เกตุวิเศษกูล จัดหางานจังหวัดสุรินทร์ กล่าวว่า สำนักงานจัดหางานจังหวัดสุรินทร์ กำหนดจัดงานวันนัดพบแรงงานย่อยครั้งที่ 1 ในวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2557 ณ บริเวณด้านหน้าห้างบิ๊กซีซุปเปอร์เซ็นเตอร์ สาขาสุรินทร์ เพื่อเป็นการสร้างโอกาสให้คนหางานได้มีงานทำ ภายในงานมีกิจกรรม การรับสมัครงานมีตำแน่งงานว่างภาครัฐและบริษัทเอกชน ทั้งในจังหวัดและต่างจังหวัดจำนวนมาก โดยมีสถานประกอบการมารับสมัครเองโดยตรง มีตำแหน่งงานว่างสำหรับผู้พิการ รวมทั้งกิจกรรมการทดสอบความถนัดทางอาชีพ และลงทะเบียนผู้ประสงค์ไปทำงานต่างประเทศด้วย จึงขอเชิญชวนผู้ที่สนใจไปร่วมงานและเตรียมหลักฐานไปสมัครงานได้หรือติดต่อสอบถามรายละเอียดต่างๆ ได้ที่สำนักงานจัดหางานจังหวัดสุรินทร์ โทรศัพท์ 044-516017-8 ต่อ 12

ททท. ขอเชิญร่วมเสริมศรัทธามาฆบูชา เพียรภาวนาเดือนเพ็ญสุขใจ เที่ยวอีสานใต้สุขจัง

นางสาวกัญญรัตน์ เกียรติสุภา ประชาสัมพันธ์จังหวัดสุรินทร์ ได้รับแจ้งว่า การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ร่วมกับหอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ ขอเชิญพุทธศาสนิกชน ผู้สืบสานศรัทธาแห่งศาสนาพุทธ และนักเดินทางท่องเที่ยวผู้มีธรรมะในหัวใจ ร่วมเดินทางท่องเที่ยวศึกษาพร้อมปฏิบัติธรรมไปกับกิจกรรม "เพ็ญภาวนา ปฏิบัติบูชา : มาฆบูชาที่ บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ” ในระหว่างวันที่ 13 – 16 กุมภาพันธ์ 2557 ณ วัดป่าโนนกุดหล่ม บ้านโนนสังข์ ตำโพนเขวา อำเภอเมือง จังหวัดศรีสะเกษ ในเดือนกุมภาพันธ์ที่จะถึงนี้ มีวันสำคัญทางพุทธศาสนา คือ "วันมาฆบูชา” ที่ชาวไทยพุทธถือว่า มีความสำคัญด้วยเป็นวันที่ในครั้งอดีตกาล มีเหตุการณ์สำคัญเกิดขึ้นสี่ประการกล่าวคือ เป็นวันเพ็ญมาฆปุรณมีดิถี ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงโอวาทปาฏิโมกข์ท่ามกลางเหล่าพระภิกษุสงฆ์ จำนวน 1,250 รูป ที่ต่างเดินทางมาโดยมิได้นัดหมาย และพระภิกษุเหล่านั้นล้วนเป็นพระภิกษุสงฆ์ที่พระพุทธเจ้าทรงอุปสมบทโดยตรงหรือที่เรียกว่า "เอหิภิกขุอุปสัมปทา" ด้วยความเป็นสิริมงคลแห่งวันและเดือนนี้

ททท. จึงขอเชิญชวนนักท่องเที่ยวผู้สนใจใฝ่ธรรมะเที่ยวไป ปฏิบัติธรรมสะสมบุญบารมีในลักษณะบุญจาริก ตามเส้นทางกรุงเทพ – บุรีรัมย์ – สุรินทร์ – ศรีสะเกษ – กรุงเทพฯ โดยวิทยากรผู้เชี่ยวชาญ เช่นนายแพทย์บัญชา พงษ์พานิช และนายไพโรจน์ สิงบัน พร้อมชมแหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจ เช่น ปราสาทพนมรุ้งและปราสาทเมืองต่ำ จังหวัดบุรีรัมย์ ปราสาทบ้านพลวง ปราสาทศีขรภูมิ วัดบูรพารามอารามหลวง หมู่บ้านทอผ้าไหมยกทองโบราณบ้านท่าสว่าง จังหวัดสุรินทร์ ปราสาทสระกำแพงใหญ่ จังหวัดศรีสะเกษ จากนั้นร่วมปฏิบัติเพ็ญภาวนาคืนมาฆบูชากับพระอาจารย์ราวี จารุธัมโม ณ วัดป่าโนนกุดหล่ม จังหวัดศรีสะเกษ ผู้สนใจสามารถสมัครเข้าร่วมเดินทางด้วยตนเอง ณ หอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ สวนวชิรเบญจทัศ (สวนรถไฟ) ชั้น 3  ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป

จ.สุรินทร์จดทะเบียนสมรสในวันแห่งความรัก 14 กุมภาพันธ์ 2557 เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว

นายอารยันต์ ท่าใหญ่ นายอำเภอศรีณรงค์ จังหวัดสุรินทร์ เปิดเผยว่า อำเภอศรีณรงค์ ร่วมกับ อบต.ศรีสุข กำหนดจัดกิจกรรมจดทะเบียนสมรสในวันแห่วงความรัก ประจำปี 2557 วันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2557 ณ ห้อยทับทัน ตำบลศรีสุข อำเภอศรีณรงค์ จังหวัดสุรินทร์ เพื่อประชาสัมพันธ์แหล่งท่องเที่ยวห้วยทับทัน ซึ่งเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ของอำเภอศรีณรงค์ ให้เป็นที่รู้จักของนักท่องเที่ยวและประชาชนทั่วไป โดยมีเป้าหมายคู่สมรสร่วมโครงการ 29 คู่

โดยในงานมีกิจกรรมที่น่าสนใจ เช่น ขบวนแห่ขันหมากตามศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นของชาวศรีณรงค์ พิธีบายศรีสู่ขวัญ การจดทะเบียนสมรส การล่องเรือในลำห้วยทับทัน สายน้ำแห่งชีวิต ชมเสน่ห์แห่งสายน้ำอันงดงาม และงานเลี้ยงฉลองมงคลสมรสกับแขกผู้มีเกียรติ ณ กุดหวาย แหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ธรรมชาติอันงดงาม คู่สมรสที่สนใจ สอบถามรายละเอียดได้ที่ ที่ว่าการอำเภอศรีณรงค์ 044-509056 หรือ อบต.ศรีสุข 089-949322-9 ตั้งแต่บัดนี้ถึงวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2557 นี้

วัฒนธรรมจังหวัดสุรินทร์ จัดโครงการอบรมมารยาทไทย “งามอย่างไทย ในความเป็นสากล”

นายอุทัย พลพวก วัฒนธรรมจังหวัดสุรินทร์ จัดโครงการอบรมมารยาทไทย "งามอย่างไทย ในความเป็นสากล” เพื่อให้บุคลากรที่ผ่านการอบรมมารยาทไทย ได้ถ่ายทอดมารยาทไทยให้แก่ นักเรียน นักศึกษา เยาวชน และเป็นแบบอย่างในการปฏิบัติมารยาทไทยได้อย่างถูกต้องเหมาะสม และมีส่วนร่วม สืบสานมรดกทางวัฒนธรรมของชาติให้คงอยู่ต่อไป ซึ่งกำหนดจัดขึ้นในวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2557 เวลา 09.00 น. ณ ห้องกันเกรา โรงแรมทองธารินทร์ อำเภอเมืองสุรินทร์

จ.สุรินทร์ เตือนวัยใสป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์และการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร เนื่องในวันวาเลนไทน์

นางสาวกัญญรัตน์ เกียรติสุภา ประชาสัมพันธ์จังหวัดสุรินทร์ เปิดเผยว่า ได้รับแจ้งจาก สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 5 นครราชสีมา ว่า วันที่ 14 กุมภาพันธ์หลายคนทราบดีว่าเป็นวันแห่งความรักหรือวันวาเลนไทน์ โดยเฉพาะกลุ่มวัยรุ่นที่ให้ความสำคัญกับวันนี้มาก หลายคู่แสดงออกถึงความรักด้วยการมีเพศสัมพันธ์กันโดยไม่ได้ป้องกันทำให้เกิดปัญหาเช่นการตั้งครรภ์ในวัยเรียน โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เช่น โรคหนองในไปจนถึงติดเชื้อเอดส์ กรมควบคุมโรคกระทรวงสาธารณสุขจึงร่วมกับหน่วยงานเครือข่ายทั่วประเทศจัดกิจกรรมรณรงค์โดยใช้คำขวัญ"รักจริงต้องใส่ใจรักปลอดภัยต้องป้องกัน” ปัจจุบัน สังคมไทยได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว อิทธิพลจากสื่อต่างๆ ส่งผลให้เยาวชนแสดงความรักต่อกันอย่างไม่ถูกต้อง เช่น การมีเพศสัมพันธ์โดยขาดการป้องกัน ทำให้เกิดปัญหา เช่นการตั้งครรภ์ในวัยเรียน โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ไปจนถึงติดเชื้อเอดส์ ซึ่งข้อมูลจากสำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค ระบุว่า ในปี 2549-2554 ประชาชนมีแนวโน้มป่วยด้วยโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องทุกปี โดยเฉพาะโรคหนองใน ทำให้มีโอกาสติดเชื้อ เอช ไอ วี มากกว่าคนปกติ 3-9 เท่า

นอกจากโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์และเอดส์แล้ว จากสถิติในปี 2554 พบว่าวัยรุ่นหญิงไทย อายุ 10-19 ปี คลอดบุตรเฉลี่ยชั่วโมงละ15 คน ส่วนหนึ่งเกิดจากการเข้าใจผิดในการร่วมเพศ คิดว่า เพียงครั้งเดียวจะไม่ท้อง และไม่ใช้ถุงยางอนามัย สำหรับวันวาเลนไทน์ 14 กุมภาพันธ์ ที่กำลังจะมาถึง กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ร่วมกับหน่วยงานเครือข่ายทั่วประเทศจัดกิจกรรมรณรงค์ โดยใช้ คำขวัญ"รักจริงต้องใส่ใจ รักปลอดภัยต้องป้องกัน” เพื่อให้เยาวชนมีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง เป็นการป้องกันการติดเชื้อโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ และเอดส์ ตลอดจนการตั้งครรภ์โดยที่ยังไม่พร้อม

แก๊งค์ทุบกระจกรถยนต์ขโมยพระเครื่องอาละวาดหนักต่อเนื่อง ล่าสุดกลางคืนที่ผ่านมา รถยนต์ปลัดอำเภอ

แก๊งค์ทุบกระจกรถยนต์ขโมยพระเครื่องอาละวาดหนัก ล่าสุดกลางคืนที่ผ่านมา รถยนต์ปลัดอำเภอเมืองสุรินทร์ ถูกทุบกระจกขโมยพระเครื่อง พระเกจิอาจารย์ หาย 3 องค์ ในรอบ 3 เดือน ไม่น้อยกว่า 20 คัน ตำรวจยังมืดแปดด้านยังไม่สามารถจับคนร้ายมาดำเนินคดีได้

วันนี้ 9 ก.พ.57 ที่ชุมชนวัดปทุมเมฆ ถนนอนันต์วิถี ในเขตเทศบาลเมืองสุรินทร์ นายปภพ ขอไชย ปลัดอำเภอเมืองสุรินทร์ ได้เดินทางกลับจากไปพบญาติผู้ใหญ่ หมู่บ้านในเมืองสุรินทร์ ขณะกำลังจะเปิดประตู เข้าบ้าน ก็พบว่า กระจกรถยนต์ ด้านขวา รถยี่ห้อHonda รุ่น Crv ทะเบียน กค 2463 สุรินทร์ ถูกทุบกระจกแตกละเอียด แล้วงัดเอากระจกมองหลัง เพิ่อเอาพระเครื่องเหรียญหลวงพ่อรอด หลวงพ่อรวย และเหรียญหลวงพ่ออ่วง สังคมที่แขวนอยู่กับกระจกมองหลังไป ส่วนทรัพย์สินอื่นๆยังอยู่ครบ จากนั้นได้แจ้งให้เจ้าหน้าที่ตำรวจ สภ.เมือง มาลงบันทึกประวันไว้เป็นหลักฐาน นายปภพ ขอไชย ปลัดอำเภอเมืองสุรินทร์ ยังบอกว่า ในหมู่บ้าน ก่อนหน้านี้มีรถยนต์ปิกอัพถูกทุบกระจก คนร้ายขโมยเอาพระเครื่องไปหลายองค์ด้วยกัน จนกระทั่งเจ้าของรถไปเปลี่ยนกระจกข้าง มาแล้ว แต่ตำรวจยังจับคนร้ายยังไม่ได้ นายปภพ จึงแจ้งบอกชาวบ้านว่า ให้จอดรถในสถานที่ปลอดภัย ไม่แขวนพระเครื่องมีชื่อเสียง ให้เห็นเด่นชัด เป็นเหตุให้คนร้ายลักขโมยและทำลายทรัพย์เสียหายได้ ทั้งนี้ในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมาจนถึงขณะนี้ แก๊งค์ทุบกระจกรถยนต์ขโมยพระเครื่อง ลงมือทุบกระจกรถมาแล้ว ไม่น้อยกว่า 13 คัน

สำหรับเหตุการณ์ทุบกระจกรถยนต์ขโมย พระเครื่อง ที่แขวนในรถ เกิดขึ้นในพื้นที่ สภ.เมืองสุรินทร์ โดยเฉพาะรถยนต์ ที่จอดไว้นอกบ้าน ในบริเวณวัด ห่างไกลผู้คนสัญจรเหตุมักจะเกิดในช่วงยามวิกาล เวลา ตั้ง แต่ 00.00 น.ถึง 04.30 น.


อุทัย  มานาดี / รายงาน

เทศบาลเมืองสุรินทร์ ไอเดียดี แบ่งกำจัดขยะ 4 ประเภท ทั้งแจกทั้งนำโชค เริ่มเดือนมีนาคม นี้

สำนักงานเทศบาลเมืองสุรินทร์ ไอเดียดี แบ่งขยะออกเป็น 4 ประเทศ ขยะเศษอาหาร,ขยะรีไซค์เคิล,ขยะทั่วไปและขยะอันตราย หลังเทศบาล ได้ให้ความรู้ ทั้ง 32 ชุมชน พร้อมแจกถังขยะทุกบ้านเพื่อคัดแยก แล้วนำไปขายและทำน้ำหนักชีวภาพ พร้อมทั้งนำมาแลกเงินและแลกแต้ม เริ่มเดือน มีนาคมนี้

นายอัครพนธ์ เกตุสังข์พันธ์ ปลัดเทศบาลเมืองสุรินทร์ ได้เปิดเผยกับทีมข่าว สวท.สุรินทร์ ว่า ปัจจุบันขยะเมืองสุรินทร์ มีวันละ59 ตัน มีภาระมากในด้านค่าใช้จ่าย ซึ่งขณะนี้ทางเทศบาลเมืองสุรินทร์ เสียค่าใช้จ่ายที่นำขณะเหล่านี้ไปกำจัดที่จังหวัดนครราชสีมา ทำให้เสียงบประมาณ ถึงปีละ 19 ล้านบาท ดังนั้นทางคณะผู้บริหารสำนักงานเทศบาลได้คิดวิธีการคัดแยกขยะ ซึ่งทางเทศบาลเมืองสุรินทร์ ได้ลงพื้นที่ในการออกไปให้ความรู้ ในเรื่องการคัดแยกขยะแก่ 32 ชุมชน เรียบร้อยแล้ว ซึ่งได้แบ่งประเภทขยะ ออกเป็น 4 ประเภท ได้แก่ขยะจากเศษอาหาร,ขยะขยะรีไซค์เคิล ,ขยะทั่วไป และขยะอันตราย โดยใน4 ประเภท ทางเทศบาลฯจะได้แยกขยะเศษอาหารไปทำปุ๋ยหมัก-น้ำหมักชีวภาพและแก๊สชีวภาพ ส่วนขยะรีไซค์เคิลจะให้พี่น้องประชาชนคัดเลือกนำไปทำขายยังร้านขายของเก่า หรือจะนำมาฝากขายที่ธนาคารขยะเทศบาลเมืองสุรินทร์ ในทุกวันจันทร์ เวลา 8 โมงเช้าถึงเที่ยงวัน ในส่วนขยะทั่วไป ท่านจะได้ลุ้นโชคมีกล่องลุ้นรับโชค โดยให้พี่น้องที่บริโภค ขนม บะหมี่ ซองเปล่าเขียนชื่อที่อยู่ ส่งไปชิงโชคได้ที่สำนักงานเทศบาลเมืองสุรินทร์ ซึ่งสิ้นปีจะได้ทำการแจกและมอบโชคมีรางวัลมากมาย ส่วนขยะอันตรายนั้นเราจะทำเป็นขยะแลกแต้ม อาจจะสะสมแต้ม อาทิ หลอดไฟฟ้าเสียแล้ว นำมาแลกแต้มได้ 4-5 หรือ10 แต้ม เมื่อถึงสิ้นปีอีกมากมาย รางวัล เป็นรถจักยาน เครื่องใช้ไฟฟ้า อาทิ หม้อหุงข้าว วิทยุ กระทะไฟฟ้า และอื่นๆ

นายอัครพนธ์ เกตุสังข์พันธ์ ปลัดเทศบาลเมืองสุรินทร์ กล่าวอีกว่า ในส่วนการดำเนินงานนั้น คาดว่าเดือนมีนาคม ที่จะถึงนี้เราจะไปเคาะประตูบ้านเพื่อแจกถังเก็บขยะรีไซค์เคิล สีเขียว ขนาดบรรจุ 15 ก.ก. พร้อมกับคู่มือในการคัดแยกขยะ,คู่มือการทำน้ำหมักชีวภาพ และคู่มือเรื่องราคาขยะรีไซค์เคิลเพื่อให้พี่น้องประชาชนได้คัดแยกขยะอย่างถูกวิธี พร้อมเป็นการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการทิ้งขยะ อีกด้วย



อุทัย  มานาดี / รายงาน

มารู้จักหลวงพ่อพวน วัดช้างหมอบ (วัดมงคลคชาราม) จังหวัดสุรินทร์

(ตอนที่ 1 ) ท่องเที่ยวนมัสการหลวงพ่อพวน วัดช้างหมอบ(วัดมงคลคชาราม) เกจิชื่อดังแห่งอีสานใต้

พระพิมลพัฒนาทร   (หลวงพ่อพวน วรมงฺคโล)  เจ้าคณะตำบลคอโคและเจ้าอาวาสวัดมงคลรัตน์ ตำบลคอโค อำเภอเมืองสุรินทร์ และเจ้าอาวาสวัดช้างหมอบ (วัดมงคลคชาราม) อำเภอกาบเชิง จังหวัดสุรินทร์เป็นพระสงฆ์ผู้มีพรหมวิหารธรรม เป็นพระสุปฏิปันโน เป็นผู้ทำคุณประโยชน์ต่อชาวจังหวัดสุรินทร์ พุทธศาสนิกชนทั่วไปนิยมไปกราบนมัสการ เพื่อความเป็นมงคลแก่ชีวิต โดยไปไถ่ชีวิตโคกระบือที่วัดและรับมอบวัตถุมงคลจากหลวงพ่อเนื่องในเทศกาลต่าง ๆ เป็นประจำ

หลวงพ่อพวน เกิดเมื่อวันที่  15  เมษายน  พ.ศ. 2471  ตรงกับวันอาทิตย์ แรม 11 ค่ำ เดือน 5  ปีมะโรง อายุ 87 ปี  พรรษา  66   บวชเป็นสามเณรที่วัดคอโค (วัดสง่างาม) อำเภอเมือง ฯ จังหวัดสุรินทร์ เมื่อครบอายุบรรพชา ได้หลวงปู่อวง  วัดสง่างาม(วัดคอโค) อำเภอเมืองสุรินทร์  เป็นพระอุปัชฌาย์ และศึกษาปฏิบัติธรรมกับหลวงปู่ อวงและหลวงปู่มา นอกจากนี้ยังมีหน้าที่สอนหนังสือการปฏิบัติธรรมแก่พระภิกษุสงฆ์ในจังหวัดสุรินทร์มาโดยตลอด หลวงพ่อพวนท่านชอบธรรมชาติ จึงชอบธุดงค์ไปปฏิบัติธรรมตามสถานที่ต่าง  ๆ เป็นประจำ

ในสมัยก่อน ประมาณ ปี พ.ศ. 2517 พื้นที่ตามแนวชายแดน เป็นป่าทึบและยังเป็นดินแดนสีแดง หรือเรียกว่ากลุ่มคอมมิวนิสต์เข้ามาหลบอยู่ในป่า ทำให้ชาวบ้านไม่ค่อยกล้าเข้าในป่าลึก โดยเฉพาะตามแนวชายแดน  ท่านได้มาธุดงค์เข้าในในป่าบริเวณนี้ซึ่งอยู่บนเนินเขาพนมดงรัก ติดชายแดนไทย กัมพูชา ชอบความสงบตามธรรมชาติ ได้พำนักและมาปฏิบัติธรรมในถ้ำใกล้ ๆ บริเวณวัดช้างหมอบแห่งนี้ ในช่วงนั้น ได้เดินทาง  ไป ๆ  มา ระหว่างวัดคอโคและวัดแห่งนี้ มีความรู้สึกว่าเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์มาก หากชาวบ้านมาถางป่าทำไร่ก็น่าเสียดาย

ทุกวันนี้ หลวงพ่อพวน วรมังคโล เป็นเกจิอาจารย์ชื่อดังของอีสานใต้ เป็นพระที่มีเมตตาธรรมสูง ช่วยเหลือพี่น้องประชาชนมาโดยตลอด ใครที่เดือดร้อนมาขอให้ช่วยโดยหลวงพ่อจะสอนให้ยึดหลักธรรมะ ให้เก่งการทำงาน เก่งการประกอบอาชีพอย่างสุจริต ใช้อย่างประหยัดคุ้มค่าตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงแม้จะมีอายุมากถึง 87 พรรษาแล้วก็ตาม สังขารเริ่มเจ็บป่วยตามวัยและรับการรักษาอย่างต่อเนื่อง แต่หลวงพ่อพวนก็ยังสามารถปฏิบัติศาสนกิจเป็นประจำทุกวัน ญาติโยม ยังเลื่อมใส ในข้อวัตรปฏิบัติ ที่เคร่งครัดของหลวงพ่อ ได้เดินทางมากราบไหว้ ขอพร และขอบารมีคุ้มครองจากหลวงพ่อ และเป็นที่เชื่อกันว่า หากใครได้รับพร และน้ำมนต์จากหลวงพ่อ จะเป็นผู้โชคดี ได้สิ่งที่ปรารถนาดั่งใจ และหากญาติโยมท่านใดที่มีความประสงค์จะบริจาคทรัพย์เพื่อสร้างพระปรางค์กุญชรมณี ศรีไตรยอดเพชร เพื่อเก็บบรรจุ พระบรมสารีริกธาตุ ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ก็สามารถติดต่อได้ที่วัดช้างหมอบ(วัดมงคลคชาราม ) หมู่14 บ้านช้างหมอบ ต.แมงมุด     อ.กาบเชิง จังหวัดสุรินทร์ 32210  หรือโอนเงินเข้าบัญชีธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) สาขาสุรินทร์ ประเภทออมทรัพย์ ชื่อบัญชี ก่อสร้างพระปรางค์กุญชรมณีศรีไตรยอดเพชร เลขที่ บัญชี 310-0-69691-3 ได้ตลอดเวลา

(ตอนที่ 2 ) ค้นพบรอยพระพุทธบาท

ท่านเจ้าคุณ พระพิมลพัฒนาทร (หลวงพ่อพวน) แห่งวัดมงคลคชาราม (วัดช้างหมอบ) อำเภอกาบเชิง จังหวัดสุรินทร์ เกจิอาจารย์ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบของจังหวัดสุรินทร์ กล่าวว่า การเดินทางในช่วงแรกที่เดินทางเข้ามาถึงสถานที่แห่งนี้ ตั้งแต่ปี พ.ศ.2517 จนถึง ปี พ.ศ. 2527 จะเดินทางไปมาระหว่างวัดมงคลรัตน์กับวัดช้างหมอบ จนคิดว่าถึงเวลาสมควรแล้ว จึงได้พำนักโดยจะสร้างเป็นวัดในการปฏิบัติธรรม และจากการปฏิบัติธรรมพบว่ามีรอยพระพุทธบาทอยู่เหนือถ้ำ เนื่องจากมีแสงสว่างขึ้นมาในช่วงกลางคืน เป็นแสงหลายสี แต่ส่วนใหญ่จะเป็นสีขาว เขียว แดง เหลือง ลำแสงสว่างอยู่เหนือยอดไม้  1 – 2  เมตร จนชาวเขมรต่ำ (ฝั่งกัมพูชาจะอยู่ใต้ลงไปของเขาพนมดงรัก ชาวสุรินทร์จึงเรียกว่าชาวเขมรต่ำ) ได้ เห็นแสงสว่างและคิดว่าที่วัดช้างหมอบมีไฟฟ้าใช้ จึงได้พากันขึ้นมาขอไฟฟ้าใช้บ้าง แต่เมื่อมาถึง ก็เห็นเป็นวัดเล็ก ๆ ไม่มีไฟฟ้าแต่อย่างใด

ต่อมาบริเวณรอยพระพุทธบาท ที่มีลำแสงให้เห็นยามค่ำคืนเป็นประจำ โดยเฉพาะวันพระลำแสงจะสุกสว่างยาวนานจนถึงประมาณตี 1 นั้น มีต้นตะเคียนใหญ่อยู่ใกล้ ๆ ได้โค่นลงมาทับก้อนหินแตก ทำให้เห็นรอยพระพุทธบาทชัดเจนขึ้น และรอยหินได้แยกออกประมาณ 1 เมตรเศษ ทำให้เห็นเป็นรอยพระพุทธบาทหันพระบาทไปทางทิศตะวันออก มีขนาดกว้าง  33 นิ้ว ยาว 56 นิ้ว จากการนั่งสมาธิได้เห็นพระปัจเจกพุทธเจ้าเสด็จมาให้เห็นด้วยกายเนื้อทิพย์จีวรสีแดงเข้ม แล้วบอกหลวงพ่อพวนว่า รอยนั้นเป็นรอยพระพุทธบาทของพระปัจเจกพุทธเจ้า ด้านหน้าของรอยพระพุทธบาท มีช้างหินหันหน้ามาทางรอยพระพุทธบาท เหมือนคอยเฝ้ารอยพระพุทธบาทและมีถ้ำใต้รอยพระพุทธบาท ซึ่งเป็นถ้ำที่หลวงพ่อพวนนั่งสมาธิเป็นประจำ

สำหรับความศักดิ์สิทธิ์นั้น พระในวัดทราบดีแต่ก็มีบางรูปไม่เชื่อมาหลบหลู่ ปีนขึ้นไปนั่ง ก็มีอันเป็นไป แต่ส่วนใหญ่ชาวบ้านที่เดือดร้อนจะมาขอโชคลาภเป็นประจำ บางคนก็มาขอลูก ขอตำแหน่ง ขอให้หายจากการเจ็บป่วย บางคนได้โชคลาภก็มาทำบุญที่วัดเป็นจำนวนมาก สำหรับการสร้างวัดช้างหมอบหรือวัดมงคลคชาราม เริ่มสร้างโบสถ์ ปี พ.ศ. 2527  โดยมีสามี ภรรยา คู่หนึ่ง มีหนี้สินกว่า 2 ล้านบาทไม่รู้จะหันหน้าไม่พึ่งใครก็มาขอโชคลาภจากรอยพระพุทธบาท เช่นเดียวกัน ปรากฏว่ากลับไปร่ำรวยและหอบเงินมาขอสร้างโบสถ์ให้วัดช้างหมอบ ปัจจุบันได้รับการตั้งชื่อเป็นทางการว่าวัดมงคลคชาราม ตั้งอยู่หมู่ที่ 14 บ้านช้างหมอบ ตำบลแนงมุด อำเภอกาบเชิง จังหวัดสุรินทร์

(ตอนที่ 3 ) การก่อสร้างพระปรางค์กุญชรมณีศรีไตรยอดเพชร

พระปรางค์ หรือ ปรางค์ เป็นสิ่งก่อสร้างประเภทหนึ่งในงานสถาปัตยกรรมไทย เป็นหลักประธานในวัดเช่นเดียวกับพระเจดีย์ แต่เดิมถือว่าเป็นงานสถาปัตยกรรมที่มีรูปแบบลักษณะเฉพาะของขอม โดยมีคติความเชื่อในศาสนาฮินดู ว่าเป็นสัญลักษณ์ของ เขาพระสุเมรุ

ท่านเจ้าคุณ พระพิมลพัฒนาทร (หลวงพ่อพวน) แห่งวัดมงคลคชาราม (วัดช้างหมอบ) อำเภอกาบเชิง จังหวัดสุรินทร์ เกจิอาจารย์ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบของจังหวัดสุรินทร์ กล่าวถึงการที่ได้ธุดงค์มาพำนักที่บนเนินเขาพนมดงรักแห่งนี้  ได้บำเพ็ญเพียรวิปัสสนากรรมฐาน นั่งสมาธินิมิตเห็นพระปรางค์รูปทรงตามที่ได้จัดสร้าง เป็นสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เพราะว่า สวรรค์ชั้นดาวดึงส์มีธรรมสภากว้างขวาง ใหญ่โตและเป็นสวรรค์ชั้นที่เทวดาในชั้นจาตุมหาราชิกาสามารถขึ้นไปฟังพระธรรมจากองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่เสด็จมาโปรดพระพุทธมารดาตลอดไตรมาส ให้เทพดาในโลกธาตุที่ประชุมฟังธรรมอยู่ในที่นั้น ได้บรรลุมรรคผลสุดที่จะประมาณ ในอวสานกาลเป็นที่จบคัมภีร์มหาปัฎฐาน ซึ่งเป็นคัมภีร์ที่ 7 พระมหามายาเทวี พระพุทธมารดาได้บรรลุพระโสดาปัตติผล สมพระประสงค์ของพระผู้มีพระภาคเจ้า ที่ได้ทรงตั้งพระทัยเสด็จขึ้นมาสนองคุณพระพุทธมารดา

จากนิมิตรดังกล่าวหลวงพ่อพวนไม่รู้ว่าจะจัดสร้างได้อย่างไร คิดว่าสถานที่แห่งนี้น่าจะเป็นดินแดนธรรมในอนาคต เทพ พรหมคงมากำหนดให้เห็นเป็นนิมิต จึงได้ทำพิธีบวงสรวงขอสิ่งศักดิ์สิทธิ์  ให้มีคนมาช่วยให้การสร้างพระปรางค์ประสบผลสำเร็จเพื่อประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และพระสารีริกธาตุของพระอริยสงฆ์และพระธาตุที่เสด็จมาและเก็บไว้ที่วัดแห่งนี้เพื่อสืบทอดพระพุทธศาสนาและให้พุทธศาสนิกชนได้เคารพบูชาสักการะได้ตลอดไป

ต่อมาได้มีหญิงสาวผิวขาวร่างสันทัด อายุ 17 ปี มาพร้อมชายวัยกลางคน ประมาณ 50 ปี เศษ มาขอออกแบบพระปรางค์พร้อมแกะลายยอดพระปรางค์ให้ด้วย  โดยอาตมาบอกเขาตามนิมิตที่เห็น เขาทำงานกันทั้งวันไม่พูดจากับใคร  อาตมาก็ไม่กล้าเข้าไปซักถามจึงไม่ทราบว่ามาจากไหนโดยใช้เวลาเพียง 15 วัน ได้นำแบบทั้งหมดมาให้และบอกว่า ต่อไปจะมีคนมาสร้างให้ หลังจากนั้นเขาทั้ง 2 คนก็ออกจากวัดไป ไม่ได้เจอกันอีกเลยจนถึงปัจจุบันนี้

พระปรางค์กุญชรมณีศรีไตรยอดเพชร  เริ่มสร้าง เมื่อวันที่ 9  มีนาคม 2552 โดยจัดสร้างเป็นองค์ปรางค์ 3 ยอดอยู่ตรงกลาง และมีปรางค์บริวารโดยรอบทั้ง 8 ทิศ ตั้งอยู่บนยอดเขาเตี้ย ๆ  ซึ่งได้ปรับปรุงพื้นที่โดยการถมดินเป็นฐานมีขนาดกว้าง 70 เมตร ยาว 100 เมตร  สูงจากพื้นดินปกติ  5 เมตร มีความวิจิตรสวยงาม ตั้งอยู่ริมชายแดนไทย-กัมพูชา การดำเนินการได้จัดสร้างไปแล้วประมาณ  60 เปอร์เซ็นต์  สำหรับวัสดุ ที่เป็นทั้งหินศิลาแลง และปูนที่วางแบบเป็นรูปแบบสมัยประยุกต์ ทั้งลวดลาย ที่เป็นแบบลายไทย และลายผสม ไทยและอาณาจักรขอม

จนกระทั่งเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 2555 นายนิรันดร์ กัลยาณมิตร ผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์ ได้นำพุทธศาสนิกชนทั่วทุกหมู่เหล่า ร่วมกันอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุ พร้อมด้วยพระพุทธรูปและพระไตรปิฎกฉบับภาษาลาว นั่งช้าง เวียนประทักษิณรอบพระปรางค์กุญชรมณีศรีไตรยอดเพชรเนื่องจากในปีนั้นเป็นปีพุทธชยันตี 2600 ปีแห่งการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า และเป็นการเฉลิมพระเกียรติถวายเป็นพระราชกุศล แด่องค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเจริญพระชนมพรรษา ครบ 85 พรรษา และสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ทรงเจริญพระชันษา 99 ปี จังหวัดสุรินทร์ จึงได้ขอประทานพระบรมสารีริกธาตุ จากพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ซึ่งพระองค์ทรงเมตตาประทาน พระบรมสารีริกธาตุ เพื่ออัญเชิญไปประดิษฐานไว้ ณ พระปรางค์กุญชรมณีศรีไตรยอดเพชร วัดช้างหมอบหรือวัดมงคลคชาราม ที่ บ้านช้างหมอบ ต.แนงมุด อ.กาบเชิง จ.สุรินทร์ เพื่อเป็นที่สักการะ บูชา เป็นที่ตั้งมั่นแห่งพระพุทธศาสนาเพื่อความเป็นสิริมงคล และเป็นกำลังใจแก่คณะสงฆ์ และพุทธศาสนิกชนตามแนวชายแดนไทย – กัมพูชา

สำหรับในครั้งนี้  นายนิรันดร์ กัลยาณมิตร ผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์ ในฐานะประธานฝ่ายฆราวาส ได้กล่าวว่าจังหวัดสุรินทร์ ร่วมกับส่วนราชการจังหวัดสุรินทร์ ภาคเอกชน พ่อค้า ประชาชนชาวจังหวัดสุรินทร์ กำหนดจัดงานทอดผ้าป่าสามัคคี ในวันที่ 14 ก.พ. 2557 ซึ่งเป็นวันแห่งความรักและวันมาฆบูชา  ณ วัดมงคลคชาราม (วัดช้างหมอบ ) หมู่ที่ 14 บ้านช้างหมอบ ต. แนงมุด จ. สุรินทร์ เพื่อสมทบทุนในการก่อสร้างพระปรางค์กุญชรมณีศรีไตรยอดเพชร เพื่อประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ให้พุทธศาสนิกชนได้สักการะ และเพื่อสืบทอดพระพุทธศาสนาและเพื่อพัฒนาเป็นสถานที่ท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของจังหวัดสุรินทร์อีกแห่งหนึ่ง จึงขอเชิญชวนพุทธศาสนิกชนชาวจังหวัดสุรินทร์ร่วมเป็นเจ้าภาพในการทอดผ้าป่าสามัคคีดังกล่าวโดยพร้อมเพรียงกัน

จังหวัดสุรินทร์จึงขอเชิญชวนผู้มีจิตศรัทธาทุกท่าน ได้ร่วมเป็นเจ้าภาพทอดผ้าป่าสามัคคีในครั้งนี้ โดยประสานรายละเอียดและส่งปัจจัยได้ที่ สำนักงานจังหวัดสุรินทร์ กลุ่มงานอำนวยการ โทร 044-512039  (นายสันทัด แสนทอง หัวหน้ากลุ่มงานอำนวยการ โทร 086-7215312 ) ที่ทำการปกครองจังหวัดสุรินทร์ กลุ่มงานการเงินและบัญชี โทร 044-511891 (นางสาวรัชนีภรณ์ สุยะ เสมียนตราจังหวัดสุรินทร์ โทร081-7534853 ) หรือโอนเงินเข้าบัญชีธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) สาขาสุรินทร์ ประเภทออมทรัพย์ ชื่อบัญชี ก่อสร้างพระปรางค์กุญชรมณีศรีไตรยอดเพชร เลขที่ บัญชี 310-0-69691-3 และขอความกรุณาแฟกซ์ใบโอนให้ทราบด้วย



กัญญรัตน์  เกียรติสุภา ประชาสัมพันธ์จังหวัดสุรินทร์ รวบรวม / เรียบเรียง โทร 092 2468 343







กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบุรีรัมย์ทำขนมทองม้วนขายเป็นรายได้เสริมหลังทำนาทั้งสร้างความสามัคคีในชุมชน

กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบุรีรัมย์ทำขนมทองม้วนขายเป็นรายได้เสริมหลังทำนาทั้งสร้างความสามัคคีในชุมชน กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านยาง จ.บุรีรัมย์ พลิกฟื้นภูมิปัญญาและนำวัตถุดิบที่หาได้จากท้องถิ่น ทำขนมทองม้วน ส่งขายตามร้านและหน่วยงาน สร้างรายได้เสริมช่วงว่างเว้นจากการทำนา มีรายได้เข้ากลุ่มเดือนละ 7 – 80,000 บาท ทั้งยังเป็นการเสริมสร้างความเข้มแข็งและความสามัคคีในชุมชน ( 9 ก.พ.57) กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านยาง หมู่ 2 ต.บ้านยาง อ.เมือง จ.บุรีรัมย์ ร่วมกันพลิกฟื้นภูมิปัญญาชาวบ้าน โดยการนำวัตถุดิบที่หาได้จากท้องถิ่นและต้นทุนต่ำมาประยุกต์ ทำเป็นขนมทองม้วนสูตรโบราณ อาทิ ขนมทองม้วนใบหม่อน ขนมทองม้วนใบมะรุม ขนมทองม้วนดอกอัญชัน ขนมทองม้วนพริกไทยดำ ขนมทองม้วนอบเทียน และขนมทองม้วนสอดไส้ฝอยทอง รวมถึงกล้วยเบรกแตก ส่งขายตามร้านค้า รวมถึงส่วนราชการ และตามหน่วยงานต่างๆ ที่มีการจัดประชุมสัมมนา สามารถสร้างรายได้เข้ากลุ่มเฉลี่ยเดือนละ 70,000 – 80,000 บาท ซึ่งการรวมกลุ่มของแม่บ้านเกษตรกรบ้านยางทำขนมทองม้วน และกล้วยเบรกแตกขาย นอกจากเป็นการสร้างรายได้เสริมหลังว่างเว้นจากการทำนาแล้ว ยังเป็นการเสริมสร้างความเข้มแข็ง และความรักความสามัคคีให้กับชาวบ้านในชุมชนอีกด้วย นางศรีทอง รัตนะ ประธานกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านยาง กล่าวว่า ปัจจุบันมีแม่บ้านเกษตรกรในหมู่บ้าน ซึ่งส่วนใหญ่จะมีอายุ 50 ปีขึ้นไป เข้ามาเป็นสมาชิกกลุ่มแล้วกว่า 50 คน เฉลี่ยมีรายได้คนละ 5 – 6,000 บาทต่อเดือน ซึ่งถึงแม้จะเป็นรายได้ที่ไม่มากนัก แต่ก็สามารถแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายในครอบครัว และไม่ต้องละทิ้งครอบครัวไปหาทำงานรับจ้างยังต่างถิ่นได้ในอีกทางหนึ่ง ทั้งนี้ทางกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรฯ ยังได้มีการพัฒนาผลิตและบรรจุภัณฑ์ ให้ตรงตามความต้องการของตลาดและกลุ่มผู้บริโภค จนได้รับรางวัลดีเด่น จากกรมส่งเสริมธุรกิจสหกรณ์อีกด้วย 


สุรชัย พิรักษา สวท. บุรีรัมย์

ศพ ตร.กล้าเสียชีวิตจากเหตุโจรใต้กราดยิงรถขณะลาดตระเวนถูกส่งกลับบ้านเกิดที่บุรีรัมย์ท่ามกลางความอาลัยของครอบครัว

ศพ ตร.กล้าเสียชีวิตจากเหตุโจรใต้กราดยิงรถขณะลาดตระเวนถูกส่งกลับบ้านเกิดที่บุรีรัมย์ท่ามกลางความอาลัยของครอบครัว ศพ "ด.ต.นิพนธ์” ตำรวจกล้าที่เสียชีวิตจากเหตุคนร้ายลอบยิงรถขณะลาดตระเวนถนนสายบุรี – ปะนาเระ จ.ปัตตานี ถูกส่งกลับบ้านเกิดที่จ.บุรีรัมย์ เพื่อประกอบพิธีบำเพ็ญกุศลตามประเพณีแล้ว โดยมีกองเกียรติยศ พร้อมส่วนราชการรอรับศพอย่างสมเกียรติ ท่ามกลางความโศกเศร้าอาลัยของครอบครัว เมื่อเวลา 14.00 น. (9 ก.พ.57) นายธงชัย ลืออดุลย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดบุรีรัมย์ พร้อมด้วย พล.ต.ต.ชัยเดช ปานรักษา ผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดบุรีรัมย์ หัวหน้าส่วนราชการ รวมทั้งครอบครัว และญาติพี่น้องได้มาตั้งแถวรอรับศพ ด.ต.นิพนธ์ เนื่องโคตะ อายุ 43 ปี เจ้าหน้าที่สังกัดชุดปฏิบัติการ มวลชนเฉพาะกิจ ตำรวจตระเวนชายแดน ( ชป.มว.ฉก.ตชด.) 4201 ที่ท่าอากาศยานบุรีรัมย์ อ.สตึก จ.บุรีรัมย์ ซึ่งเป็นตำรวจกล้า 1 ใน 2 นาย ที่เสียชีวิตจากเหตุคนร้ายลอบใช้อาวุธสงครามกราดยิงรถยนต์ของเจ้าหน้าที่ ขณะออกลาดตระเวนบริเวณถนนสายบุรี – ปะนาเระ หมู่ 3 ต.ปะเสยะวอ อ.สายบุรี จ.ปัตตานี เมื่อช่วงเช้าวันที่ 8 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา โดยหีบศพของ ด.ต.นิพนธ์ เนื่องโคตะ ถูกคลุมด้วยธงชาติไทย ลำเลียงมาโดยเครื่องของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ซึ่งทันทีที่ศพมาถึงท่าอากาศยาน กองเกียรติยศได้ทำพิธีต้อนรับอย่างสมเกียรติ ท่ามกลางความโศกเศร้าอาลัยของนายอนันต์ เนื่องโคตะ พาชาย และญาติที่มารอรับศพ จากนั้นกองเกียรติยศได้เคลื่อนศพของ ด.ต.นิพนธ์ ขึ้นรถที่จอดรอรับ ก่อนเคลื่อนขบวนไปยัง ต.บึงเจริญ อ.บ้านกรวด จ.บุรีรัมย์ ซึ่งเป็นบ้านเกิดของ ด.ต.นิพนธ์ เพื่อประกอบพิธีบำเพ็ญกุศลตามประเพณีต่อไป ส่วนศพของ ด.ต.พงษ์ศักดิ์ ศรีศิรินทร์ อายุ 44 ปี เจ้าหน้าที่สังกัดชุดปฏิบัติการ มวลชนเฉพาะกิจ ตำรวจตระเวนชายแดน 4201 ตำรวจกล้าอีกนายที่เสียชีวิตจากเหตุการณ์เดียวกัน ก็ได้นางเพ็ญศรี สำราญสุข ป้า และ ด.ญ.พรมเลขา ศรีศิรินทร์ ลูกสาว มารอรับศพที่ท่าอากาศยานบุรีรัมย์ ก่อนเจ้าหน้าที่จะนำขึ้นเครื่องบินของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ส่งกลับบ้านเกิดที่ จ.กาฬสินธุ์ เพื่อประกอบพิธีบำเพ็ญกุศลตามประเพณีเช่นกัน 


สุรชัย พิรักษา สวท. บุรีรัมย์

มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี ร่วมหนุนกิจกรรมชุมชนเข้มแข็ง

มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี  โดยสำนักบริการวิชาการชุมชน  นำคณะผู้บริหาร  คณาจารย์ 
บุคลากรและนักศึกษา  ร่วมกิจกรรม "บุญกุ้มข้าวใหญ่”  ณ  วัดบ้านโนนมะเขือ  ต.กาบิน  อ.กุดข้าวปุ้น จ.อุบลราชธานี  ซึ่งได้รับเกียรติจาก  ผศ.ดร.สมพร   ดวนใหญ่  รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและพัฒนาท้องถิ่น,นายวิโรฒ  มีแก้ว  อดีตรองผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานีและกรรมการบริหารสำนักบริการวิชาการชุมชน,ผศ.สนธยา  เกาะสมบัติ  ผู้อำนวยการสำนักบริการวิชาการชุมชน,นายบุญเหล็ง  สายแววเครือข่ายภูมิปัญญาท้องถิ่น พร้อมด้วยนักศึกษากว่า  40 คนเข้าร่วมกิจกรรมในครั้งนี้

พระครูสุภกิจมงคล  เจ้าอาวาสวัดโนนมะเขือ  กล่าวว่า  การจัดงานบุญคูนลานหรือ "บุญกุ้มข้าวใหญ่” เป็นประเพณีของชุมชนที่จัดขึ้นเป็นประจำทุกปี  ซึ่งจะจัดในช่วงเดือนยี่ (ประมาณมกราคม-กุมภาพันธ์) เพื่อเป็นอนุรักษ์ประเพณีของชุมชนและการระลึกถึงบุญคุณของข้าวที่หล่อเลี้ยงชาวนามาเมื่อเก็บเกี่ยวผลผลิตเสร็จชาวบ้านก็จัดงานบุญฉลองรวมศรัทธากันที่วัดหรือศาลากลางบ้านโดยจะนำข้าวเปลือกมากองรวมกัน  จัดพิธีบายศรีสู่ขวัญและนิมนต์พระสงฆ์มาเจริญพระพุทธมมนต์และฉันภัตตาหาร  ซึ่งจะนำข้าวเปลือกนั้นถวายแด่พระสงฆ์ต่อไป  ชาวบ้านจึงเรียกว่า "บุญกุ้มข้าวใหญ่” ซึ่งในปีนี้ได้จัดขึ้นพิเศษกว่าทุกปีร่วมกับงานพิธียกช่อฟ้าพระอุโบสถและทอดผ้าป่าขยะด้วย  โดยมีชาวบ้านทั้งในและนอกหมู่บ้านมาร่วมงานกว่า  1,000 คน

ด้าน ผศ.ดร.สมพร  ดวนใหญ่กล่าวว่า  ทางมหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานีได้ประสานการทำงานร่วมกับบ้านโนนมะเขือมาในระยะหนึ่งแล้ว  ซึ่งได้ทราบว่ามีกระบวนการพัฒนาชุมชนอย่างเข้มแข็งมาอย่างต่อเนื่อง  ซึ่งมีกิจกรรมขับเคลื่อนในชุมชนที่สำคัญ เช่น  การจัดการหมู่บ้านปลอดเหล้าอย่างถาวร,การมีจัดตั้งกองทุนกลุ่มสัจจะสะสมทรัพย์  โดยจัดสวัสดิการให้กับคนในหมู่บ้านได้ทุกๆคน,การมีกองทุนขยะเพื่อสวัสดิการชุมชน  เป็นต้น  ซึ่งมีพระครูสุภกิจมงคลเป็นผู้นำทางด้านจิตใจในการพัฒนาชุมชน  ตลอดจนผู้นำชุมชนที่ทุ่มเทเสียสละต่อชุมชนมาอย่างเข้มแข็งและต่อเนื่องเช่นกัน  ทั้งนี้ทางมหาวิทยาลัยเองพร้อมที่จะนำนักศึกษา  คณาจารย์มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้และพัฒนาร่วมกับชุมชนอย่างเต็มที่  ซึ่งกิจกรรมแรกจะมีการออกค่ายอาสาฯในระหว่างวันที่  1-2  มีนาคมที่จะถึงนี้  โดยจะมีคณาจารย์และนักศึกษาจากคณะต่างๆในมหาวิทยาลัยเข้าร่วมกิจกกรมในครั้งนี้ด้วย


กรกช  ภูมี / รายงาน 



ขุนหาญ จัดงานเทศกาลดอกฝ้ายบาน สืบสานวัฒนธรรมประเพณีท้องถิ่น

วันที่ (7 กุมภาพันธ์ 57) ที่บริเวณลานหน้าภูฝ้าย บ้านภูฝ้าย หมู่ที่ 1 ตำบลภูฝ้าย อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ นายสนิท ขาวสอาด รองผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ เป็นประธานในพิธีเปิดงาน "เทศกาลดอกฝ้ายบาน สืบสานวัฒนธรรม ประเพณี ของดีปราสาทภูฝ้าย ครั้งที่ 2" โดยมีนายฉลอง เทอดวี-ระพงศ์ นายอำเภอขุนหาญ นายพูลสุข ติงสะ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลภูฝ้าย พร้อมหัวหน้าส่วนราชการ คณะผู้บริหาร ประธานสภาและสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลภูฝ้าย ตลอดจนประชาชนในพื้นที่ให้การต้อนรับและร่วมพิธี

นายฉลอง เทอดวีระพงศ์ นายอำเภอขุนหาญ ในนามคณะกรรมการดำเนินงาน "เทศกาลดอกฝ้ายบาน สืบสานวัฒนธรรม ประเพณี ของดีปราสาทภูฝ้าย" กล่าวรายงานต่อประธานในพิธีว่า อำเภอขุนหาญได้ดำเนินการจัดงาน "เทศกาลดอกฝ้ายบาน สืบสานวัฒนธรรม ประเพณี ของดีปราสาทภูฝ้าย" ขึ้นเป็นครั้งที่ 2 ครั้งแรกจัดเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2556 มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการอนุรักษ์ ฟื้นฟู สืบสานศิลปวัฒนธรรมประเพณีของท้องถิ่นให้ดำรงอยู่ในชุมชน เพื่อเป็นแหล่งศึกษาเรียนรู้ ตลอดจนเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมชุมชน โดยในปีนี้กำหนดจัดวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2557
ภายหลังจากที่นายอำเภอขุนหาญกล่าวรายงานแล้ว นายสนิท ขาวสะอาด รองผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ ประธานในพิธีได้ลั่นฆ้องเพื่อทำพิธีเปิดงาน จากนั้นเป็นการแสดงศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น เช่น รำอัปสรานารีศรีภูฝ้าย เป็นต้น

"ภูฝ้าย หรือภูเขาฝ้าย" เป็นที่ตั้งปราสาทขอมโบราณอายุมากกว่า 1,000 ปี มีลักษณะเป็นปราสาทอิฐสามหลัง เรียงกันในแนวทิศเหนือ - ใต้ ตั้งอยู่บนฐานเดียวกัน ล้อมรอบด้วยกำแพงแก้ว องค์ปราสาทถูกลักลอบขุดหาโบราณวัตถุ กรมศิลปากรขึ้นไปสำรวจพบทับหลังนารายณ์บรรทมสินธุ์ ตกอยู่บนพื้นดิน จึงได้นำไปเก็บรักษาไว้ที่วัดสุพรรณรัตน์ บ้านพราน ตำบลพราน อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ
ทั้งนี้ ปราสาทภูฝ้ายเป็นโบราณสถานที่สำคัญอย่างยิ่งแห่งหนึ่งของจังหวัดศรีสะเกษ

                                                         

ฉัตรชัย พรหมมาศ/ข่าว/ภาพ



จังหวัดศรีสะเกษ เปิดงานเทศกาลหอมแดงอำเภอยางชุมน้อย

วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2557 ณ สนามหน้าที่ว่าการอำเภอยางชุมน้อย จังหวัดศรีสะเกษ นายวิศิษฐ คูรัตนเวช รองผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ เป็นประธานเปิดงานเทศกาลหอมแดงอำเภอยางชุมน้อย โดยมีนายสุรชาติ แก้วศิลา นายอำเภอยางชุมน้อยและนายนวลใจ บุษบงค์ นายกเทศมนตรีเทศบาลตำบลยางชุมน้อย นำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคส่วนราชการและเอกชน จัดนิทรรศการหอมแดง จำนวน 15 คูหา มีกิจกรรมที่สำคัญประกอบด้วยการประกวดผลผลิตทางการเกษตร การประกวดซุ้มหอมแดง การประกวดธิดาหอมแดง การออกร้านของส่วนราชการและเอกชน การจัดงานในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์ผลผลิตหอมแดงและสร้างการตลาดหอมแดงของอำเภอยางชุมน้อยให้เป็นที่รู้จักของพ่อค้าคนกลาง และเพื่อเป็นการส่งเสริมความสามัคคีในหมู่คณะเกษตรกรผู้ปลูกหอมแดงของอำเภอยางชุมน้อย

                                                               
ฉัตรชัย พรหมมาศ/ข่าว/ภาพ

อำเภอสุวรรณภูมิจัดงาน “มาเป็นทองแผ่นเดียวกันที่สุวรรณภูมิ” จดทะเบียนสมรสกรณีพิเศษ ในวันแห่งความรักมาฆบูชาและวาเลนไทน์

นายปณิธาน สุนารัตน์ นายอำเภอสุวรรณภูมิ เปิดเผยว่า อำเภอสุวรรณภูมิ กำหนดจัดงาน "มาเป็นทองแผ่นเดียวกันที่สุวรรณภูมิ” ขึ้นในวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2557 ตั้งแต่เวลา 08.00 น. เป็นต้นไป ณ หอประชุมอำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด ทั้งนี้ เพื่อเป็นการส่งเสริมความมันคงของสถาบันครอบครัวและประชาสัมพันธ์กิจกรรมที่ประสบความสำเร็จของอำเภอสุวรรณภูมิ รวมทั้งให้ความสำคัญกับทะเบียนครอบครัว ด้วยการจัดจดทะเบียนสมรสเป็นกรณีพิเศษ เนื่องในวันแห่งความรัก หรือ วันวาเลนไทน์ ที่ตรงกับวันมาฆบูชา 14 กุมภาพันธ์ 2557 กิจกรรมภายในงานจะมีการจดทะเบียนคู่สมรส จำนวน 19 คู่ การตรวจสุขภาพของคู่สมรสและผู้ร่วมงาน การส่งเสริมการสร้างงาน สร้างอาชีพ การออมทรัพย์ การลงทุน การนำหลักธรรมะ ใช้ในชีวิตคู่สมรส ผ่านห้องแสดงนิทรรศการของส่วนราชการต่างๆ ของอำเภอสุวรรณภูมิ

นายอำเภอสุวรรณภูมิ เปิดเผยด้วยว่า อำเภอสุวรรณภูมิ ได้เปิดรับสมัครผู้ประสงค์ที่จะจดทะเบียนสมรสในงาน "มาเป็นทองแผ่นเดียวกันที่สุวรรณภูมิ” ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป จนถึงวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2557 ณ สำนักทะเบียนอำเภอสุวรรณ และขอเชิญประชาชนทั่วไปร่วมงานดังกล่าว

                                 

วิมล เร่งศึก/ข่าว

จังหวัดร้อยเอ็ด กำหนดจัดงานวันคล้ายวันสถาปนากองอาสารักษาดินดินแดน

 นายสมศักดิ์ ขำทวีพรหม ผู้ว่าราชการจังหวัดร้อยเอ็ด เปิดเผยว่า จังหวัดร้อยเอ็ดโดยกองบังคับการกองอาสารักษาดินแดนจังหวัดร้อยเอ็ด กำหนดจัดกิจกรรมเนื่องในวันคล้ายวันสถาปนากองอาสารักษาดินแดน ในวันจันทร์ที่ 10 กุมภาพันธ์ 2557 เวลา 08.45 น. เป็นต้นไป ณ บริเวณสนามหน้าศาลากลางจังหวัดร้อยเอ็ด เพื่อเชิดชูเกียรติและระลึกถึงคุณงามความดี การเสียสละเลือดเนื้อ ชีวิต เพื่อปกป้องและประชาชนของสมาชิกกองอาสารักษาดินแดนจังหวัดร้อยเอ็ด

กิจกรรมประกอบด้วย การชุมนุมของผู้บังคับบัญชา เจ้าหน้าที่ และสมาชิกกองอาสารักษาดินแดนจังหวัดร้อยเอ็ด การมอบทุนการศึกษามูลนิธิอาสารักษาดินแดนในพระบรมราชินูปถัมภ์และทุนการศึกษาของสมาคมแม่บ้านมหาดไทย การมอบสิ่งของบำรุงขวัญแก่สมาชิกอาสารักษาดินแดนจังหวัดร้อยเอ็ด การอ่านสารของผู้บัญชาการกองอาสารักษาดินแดน การมอบเครื่องหมาย "รักษาดินแดนยิ่งชีพ” แก่อาสารักษาดินแดนจังหวัดร้อยเอ็ด

                                   

  วิมล เร่งศึก/ข่าว