วันเสาร์ที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2556

สรุปสถานการณ์อุทกภัยช่วงวันที่ 18-21 กันยายน 2556

ข้อมูล  21  กันยายน 2556  เวลา  09.30  น.

จังหวัดสุรินทร์ได้รับอิทธิจากพายุดีเปรสชั่นตั้งแต่วันที่ 18 กันยายน 2556 เวลา 20.30 น.เป็นต้นมา ทำให้เกิดฝนตกหนักต่อเนื่องมีผลทำให้หลายพื้นที่ได้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำไหลหลาก

พื้นที่ประสบอุทกภัย

1.  ราษฎรได้รับความเดือดร้อน จำนวน 15 อำเภอ 98 ตำบล 1,227 หมู่บ้าน ได้แก่ อ.เมืองสุรินทร์ สังขะ ศรีณรงค์ จอมพระ    เขวาสินรินทร์  ศีขรภูมิ  ท่าตูม  รัตนบุรี  สำโรงทาบ ลำดวน บัวเชด กาบเชิง สนม ปราสาท โนนนารายณ์  ยกเว้น อ.ชุมพลบุรี และพนมดงรัก  แต่ต้องเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด สำหรับจำนวนครัวเรือนและประชากรที่ประสบภัยอยู่ระหว่างตรวจสอบ

2.  เขตชุมชนเมืองที่มีน้ำท่วมสูง ได้แก่ เทศบาลเมืองสุรินทร์ทุกชุมชน  เทศบาลตำบลสังขะ  เทศบาลตำบลระแงง อ.ศีขรภูมิ  เทศบาลตำบลจอมพระ เขตเทศบาลตำบลลำดวนสุรพินท์ ระดับน้ำลดลง และทรงตัวบางแห่ง

3.  รพ.ที่เกิดน้ำท่วมขังในเขตเทศบาล ได้แก่ รพ.สุรินทร์ รพ.รวมแพทย์หมออนันต์ รพ.รวมแพทย์หน้าธ.ก.ส. ขณะนี้ระดับน้ำลดลงแล้ว และ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลน้ำท่วมหลายแห่ง  ได้แก่ อ.เมืองสุรินทร์ รพ.สต.บ้านโคกปลัด รพ.สต.แสลงพันธุ์  เขตอำเภอสำโรงทาบ 5 แห่ง ได้แก่ รพ.สต.ประดู่  รพ.สต.หนองฮะ รพ.สต.โคกสะอาด รพ.สต.สะโน  และ รพ.สต.เกาะแก้ว ทำให้การให้บริการด้านสุขภาพอนามัยของประชาชนไม่ได้รับความสะดวกเท่าที่ควร 




พื้นที่ที่มีระดับน้ำท่วมสูงและต้องเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด

-  เขตเทศบาลเมืองสุรินทร์ บริเวณหลังสถานีรถไฟ หน้าสถานีตำรวจภูธรจังหวัดสุรินทร์ ชุมชนดองกะเม็ด ชุมชนหมอกวน ตลาดสด ชุมชนวัดหนองบัว ชุมชนไตรรงค์ ชุมชนเทศบาลอนุสร ชุมชนทุ่งโพธิ์  ชุมชนศรีดอกจาน  ชุมชนศรีเทพ ชุมชนปัทมานนท์สำหรับถนนที่ยังมีน้ำท่วมสูง ถนนศิริรัฐ  หลักเมือง จิตรบำรุง  สุรินทร์ภักดี เทศบาล 2,3 ธนสาร จิตรอารี สนิทนิคมรัฐ สระโบราณ 1,2,3 จิตรประชา สี่แยกวงเวียนน้ำพุ

****  ขณะนี้ระดับน้ำในเขตเทศบาลได้ลดลงหลายแห่งแล้ว  แต่ยังมีระดับน้ำท่วมบริเวณริมคลองร้านอาหารกูดวิว ชุมชนดองกะเม็ด หนองบัว ปัทมานนท์ เกาะลอย ศรีดอกจาน และทุ่งโพธิ์

- รอบนอกเขตเทศบาลเขตตำบลนอกเมือง  บริเวณบริษัทโตโยต้าสุรินทร์ หมู่บ้านถาวรนิเวศ หมู่บ้านแสนสิริ-โคกปลัด  หมู่บ้านนีโอแลน แฮฟปี้แลน ซิตี้แลน บ้านสะโน ม.13, ม.21 บ้านเฉลิมพระเกียรติ

-  ต.แกใหญ่  หมู่บ้านจัดสรรหลังสถานีทดลองข้าว  และทุกพื้นที่มีปริมาณน้ำมากไหลเอ่อเข้าท่วมบ้านเรือน  ประชาชนอพยพบางส่วน

-  ถนนบายพาสสี่แยกหนองเต่า-สลักได ระดับน้ำประมาณ 30-70 ซม.

-  อำเภอท้ายน้ำ ซึ่งขณะนี้น้ำปริมาณมากได้เข้าพื้นที่ อ.รัตนบุรี ท่าตูม และชุมพลบุรีต่อไป  ราษฎรได้รับความเดือดร้อนแล้ว

*** ขณะนี้โครงการชลประทานสุรินทร์ได้พร่องน้ำออกจากห้วยเสนง (ยกบานระบายน้ำ 3 เมตร) ทำให้เกิดน้ำไหลหลากเข้าท่วมบ้านเรือนของราษฎร ได้แก่

-  ม.2 บ้านทำเนียบ,ม.8 บ้านถนน,ม.13 หนองเต่า,ม.18 บ้านละเอาะ,บ้านโคกเพชร ม.19 และได้อพยพประชาชนจากบ้านละเอาะ บ้านหนองเต่า  ไปอยู่ที่สโมสรนายทหารจังหวัดทหารบกสุรินทร์แล้ว

- ถนนสายสุรินทร์-ช่องจอม ช่วงบริเวณบริษัทโกลบอลเฮาส์ หน้า สนง.ประกันสังคม จ.สุรินทร์

- ต.นอกเมืองที่อยู่บริเวณท้ายอ่างห้วยเสนง

- และขณะนี้ปริมาณน้ำมากกำลังไหลหลากเข้าสู่พื้นที่ ต.คอโค และ ต.ท่าสว่าง





ปริมาณน้ำฝนช่วงวันที่ 18-21 กันยายน 2556

มีฝนตกหนักมาตั้งแต่คืนวันที่ 18 กันยายน เวลา 20.30 เป็นต้นมาและฝนตกหนักมากอย่างต่อเนื่องจนถึงวันที่ 19 กันยายน 2556 สำหรับวันที่ 20-21 กันยายน 256 ปริมาณฝนลดลง ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยช่วงวันที่ 18-21 กันยายน ฝนเฉลี่ยทั้ง 3 วัน (17 อำเภอ 18 สถานี) วัดได้ 499.2 มม.


ปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำและฝายชลประทานขนาดกลางในเขต จ.สุรินทร์ ทั้ง ๑๘  แห่ง

ในภาพรวมขณะนี้มีปริมาณน้ำที่มีอยู่ปัจจุบันวัดได้ 212.74 ล้านลบ.ม. (146.64 %) (ความจุทั้งหมด ๑๔๕.๐๗๙ ล้าน ลบ.ม.)  อ่างฯ ที่ต้องเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิดโดยเฉพาะประชาชนที่อาศัยอยู่บริเวณท้ายอ่างฯ ในช่วงนี้ซึ่งได้ล้นตลิ่งแล้ว ได้แก่ อ่างฯห้วยเสนง , อ่างฯอำปึล อ่างฯ , ห้วยลำพอก , อ่างฯห้วยระหาร , อ่างฯห้วยตาเกาว์ , อ่างห้วยเชิง , อ่างฯ ห้วยบ้านจรัส , อ่างฯ บ้านทำนบ , อ่างฯบ้านเกาะแก้ว , อ่างฯ ห้วยขนาดมอญ , อ่างฯห้วยกะเลงเวก สำหรับปริมาณน้ำในแม่น้ำสายหลักเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง



การดำเนินการให้ความช่วยเหลือ

1.  จังหวัดสุรินทร์ได้ประชุมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อรับทราบสถานการณ์และให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ประสบภัยในวันที่ 20 กันยายน 2556 เวลา 10.30-12.00 น. ณ ศาลากลางจังหวัดสุรินทร์   และแจ้งให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องระดมสรรพกำลัง  เรือท้องแบน เครื่องสูบน้ำ เครื่องอุปโภค-บริโภค  เข้าให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยอย่างรวดเร็ว ทั่วถึง

2.  จังหวัดได้จัดตั้งศูนย์ประสานงานรับแจ้งสถานการณ์และการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัย  ณ ห้องสุรินทร์ภักดี ศาลากลางจังหวัดสุรินทร์   โดยมีเจ้าหน้าที่ สนง.ปภ.สุรินทร์ ประจำศูนย์

3.  จัดตั้งโรงครัวประกอบเลี้ยง  และแจกจ่ายให้ผู้ประสบภัยในเขตเทศบาลเมืองสุรินทร์ และตำบลนอกเมืองที่ได้รับความเดือดร้อน  จำนวน 4 จุด  ได้แก่

-  จุดที่ 1 สถานีกาชาดที่ 1 จังหวัดสุรินทร์

-  จุดที่ 2 อาคารงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย  สนง.เทศบาลเมืองสุรินทร์

-  จุดที่ 3 อบต.นอกเมือง

-  จุดที่ 4  มูลนิธิจิ้บเต็กเซี่ยงตึ้ง

4.  ขณะนี้ได้จัดตั้งศูนย์พักพิงเพื่อช่วยผู้ประสบภัยแล้ว  ดังนี้

-  ศูนย์พักพิงผู้ประสบภัยกรณีฉุกเฉิน (อุทกภัย) จังหวัดทหารบกสุรินทร์ 0-4451-1844 ต่อ 20043, 20044 โดยมีชาวบ้านจากบ้าน สะโน ต.นอกเมือง หมู่บ้านจัดสรรนีโอแลน แฮฟปี้แลน ซิตี้แลน ต.นอกเมือง  บ้านละเอาะ บ้านหนองเต่า ต.เฉนียงอพยพมาแล้ว    

-  อ.สังขะ   ณ ที่ว่าการอำเภอสังขะ   มีผู้อพยพประมาณ 40 คน

-  อ.ศรีณรงค์  อพยพประชาชนประมาณ 150 คน

5.  เครื่องมือ-อุปกรณ์  เครื่องอุปโภค-บริโภค ในการช่วยเหลือผู้ประสบภัย

-  สนง.ปภ.จ.สร  ได้นำเรือท้องแบนเข้าช่วยเหลือผู้ประสบภัยประจำจุดต่างๆ ได้แก่ อบต.คอโค 1 ลำ,อบต.นอกเมือง 2 ลำ ,ทต.ลำดวนสุรพินท์ 1 ลำ,ทต.ระแงง 1 ลำ,บ้านหนองเต่า 1 คัน,ตชด.21

- จังหวัดทหารบกนำรถบรรทุกเพื่อขนย้ายผู้ประสบภัยในเขตเทศบาลจำนวน 8 คัน พร้อมกำลังพล 100 นาย

- ตชด.21,214,นพค.54,กรมทหารราบที่ 23 กองพันหารราบที่ 3 ได้นำเรือท้องแบนไปช่วยเหลือราษฎรในพื้นที่ อ.สังขะ

- เทศบาลเมืองสุรินทร์ได้นำเครื่องสูบน้ำอัตโนมัติใต้ดิน 4 เครื่อง เครื่องสูบน้ำขนาด 8 ,10,12 นิ้ว 5 เครื่อง เร่งระบายน้ำในเขตเทศบาล รถบรรทุก 6 ล้อ 7 คัน รถบรรทุก 4 ล้อ 14 คัน รถบรรทุกน้ำดื่ม 3 คัน พร้อมกำลังพล 200 คน และตั้งจุดบริการน้ำและอาหารให้แก่ผู้ประสบภัย  และจัดกระสอบทรายเพื่อช่วยเหลือประชาชนจำนวน 3 คัน โดยประชาชนสามารถไปขอรับได้ที่ ณ สำนักงานเทศบาลเมืองสุรินทร์ 

-  องค์การบริหารส่วนจังหวัดสุรินทร์   ได้นำเครื่องสูบน้ำประจุดโรงพยาบาลในเขตเทศบาล 3 เครื่อง และนำถุงยังชีพไปช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วมที่ชุมชนไตรรงค์สุรินทร์  บ้านโสน หมู่ 13 ต นอกเมือง และหมู่บ้านถาวรนิเวศน์   พร้อมทั้งได้จัดกระสอบทรายเพื่อช่วยเหลือประชาชนโดยประชาชนสามารถไปขอรับได้ที่องค์การบริหารส่วนจังหวัดสุรินทร์ 

- มูลนิธิอาสาเพื่อนพึ่ง(ภาฯ)ยามยาก สภากาชาดไทย  จะนำถุงยังชีพพระราชทานเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยในพื้นที่ อ.สังขะ จำนวน 2,000 ชุด ในวันที่ 22 กันยายน 2556 ณ ที่ว่าการอำเภอสังขะ

6. แขวงการทางจังหวัดสุรินทร์ได้จัดตั้งศูนย์ป้องกันและแก้ไขภัยพิบัติโดยมีศูนย์บัญชาการอยู่ที่สำนักงานแขวงการ                ทางสุรินทร์  และศูนย์ย่อยประจำหมวดการทางทุกหมวด  โดยจัดส่งเจ้าหน้าที่ติดตั้งป้ายอำนวยความปลอดภัยบริเวณที่เกิดน้ำท่วม  พร้อมกับให้ความช่วยเหลือแนะนำเส้นทางที่วิกฤติแก่ผู้ใช้ทาง   สำหรับประชาชนที่มีปัญหาการใช้เส้นทาง  ติดต่อได้ที่ผู้อำนวยการแขวงการทางสุรินทร์ หมายเลขโทรศัพท์ 083-288599,044-511381  ถนนที่ต้องปิดเส้นทางการจราจร ดังนี้

-  ทางหลวงหมายเลข 2077 ตอนสังขะ- บัวเชต กิโลเมตรที่ 49 -50 ระดับน้ำสูง 120  เซนติเมตร การจราจรผ่านไม่ได้ 

-  ทางหลวงหมายเลข 226 ตอนสุรินทร์-ศีขรภูมิ กิโลเมตรที่ 2-4 ระดับน้ำสูง 60  เซนติเมตร  การจราจรผ่านไม่ได้  และ กิโลเมตรที่16 คอสะพานขาดการจราจรผ่านไม่ได้

-  ทางหลวงหมายเลข 277 ตอนสุรินทร์-สังขะ กิโลเมตรที่ 5-6 ระดับน้ำสูง 40 เซนติเมตร  การจราจรผ่านได้ 1 ช่องจราจร 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น