พระปรางค์ หรือ ปรางค์ เป็นสิ่งก่อสร้างประเภทหนึ่งในงานสถาปัตยกรรมไทย เป็นหลักประธานในวัดเช่นเดียวกับพระเจดีย์ แต่เดิมถือว่าเป็นงานสถาปัตยกรรมที่มีรูปแบบลักษณะเฉพาะของขอม โดยมีคติความเชื่อในศาสนาฮินดู ว่าเป็นสัญลักษณ์ของ เขาพระสุเมรุ
ท่านเจ้าคุณ พระพิมลพัฒนาทร (หลวงพ่อพวน) แห่งวัดมงคลคชาราม (วัดช้างหมอบ) อำเภอกาบเชิง จังหวัดสุรินทร์ เกจิอาจารย์ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบของจังหวัดสุรินทร์ กล่าวถึงการที่ได้ธุดงค์มาพำนักที่บนเนินเขาพนมดงรักแห่งนี้ ได้บำเพ็ญเพียรวิปัสสนากรรมฐาน นั่งสมาธินิมิตเห็นพระปรางค์รูปทรงตามที่ได้จัดสร้าง เป็นสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เพราะว่า สวรรค์ชั้นดาวดึงส์มีธรรมสภากว้างขวาง ใหญ่โตและเป็นสวรรค์ชั้นที่เทวดาในชั้นจาตุมหาราชิกาสามารถขึ้นไปฟังพระธรรมจากองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่เสด็จมาโปรดพระพุทธมารดาตลอดไตรมาส ให้เทพดาในโลกธาตุที่ประชุมฟังธรรมอยู่ในที่นั้น ได้บรรลุมรรคผลสุดที่จะประมาณ ในอวสานกาลเป็นที่จบคัมภีร์มหาปัฎฐาน ซึ่งเป็นคัมภีร์ที่ 7 พระมหามายาเทวี พระพุทธมารดาได้บรรลุพระโสดาปัตติผล สมพระประสงค์ของพระผู้มีพระภาคเจ้า ที่ได้ทรงตั้งพระทัยเสด็จขึ้นมาสนองคุณพระพุทธมารดา
จากนิมิตรดังกล่าวหลวงพ่อพวนไม่รู้ว่าจะจัดสร้างได้อย่างไร คิดว่าสถานที่แห่งนี้น่าจะเป็นดินแดนธรรมในอนาคต เทพ พรหมคงมากำหนดให้เห็นเป็นนิมิต จึงได้ทำพิธีบวงสรวงขอสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ให้มีคนมาช่วยให้การสร้างพระปรางค์ประสบผลสำเร็จเพื่อประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และพระสารีริกธาตุของพระอริยสงฆ์และพระธาตุที่เสด็จมาและเก็บไว้ที่วัดแห่งนี้เพื่อสืบทอดพระพุทธศาสนาและให้พุทธศาสนิกชนได้เคารพบูชาสักการะได้ตลอดไป
ต่อมาได้มีหญิงสาวผิวขาวร่างสันทัด อายุ 17 ปี มาพร้อมชายวัยกลางคน ประมาณ 50 ปี เศษ มาขอออกแบบพระปรางค์พร้อมแกะลายยอดพระปรางค์ให้ด้วย โดยอาตมาบอกเขาตามนิมิตที่เห็น เขาทำงานกันทั้งวันไม่พูดจากับใคร อาตมาก็ไม่กล้าเข้าไปซักถามจึงไม่ทราบว่ามาจากไหนโดยใช้เวลาเพียง 15 วัน ได้นำแบบทั้งหมดมาให้และบอกว่า ต่อไปจะมีคนมาสร้างให้ หลังจากนั้นเขาทั้ง 2 คนก็ออกจากวัดไป ไม่ได้เจอกันอีกเลยจนถึงปัจจุบันนี้
พระปรางค์กุญชรมณีศรีไตรยอดเพชร เริ่มสร้าง เมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2552 โดยจัดสร้างเป็นองค์ปรางค์ 3 ยอดอยู่ตรงกลาง และมีปรางค์บริวารโดยรอบทั้ง 8 ทิศ ตั้งอยู่บนยอดเขาเตี้ย ๆ ซึ่งได้ปรับปรุงพื้นที่โดยการถมดินเป็นฐานมีขนาดกว้าง 70 เมตร ยาว 100 เมตร สูงจากพื้นดินปกติ 5 เมตร มีความวิจิตรสวยงาม ตั้งอยู่ริมชายแดนไทย-กัมพูชา การดำเนินการได้จัดสร้างไปแล้วประมาณ 60 เปอร์เซ็นต์ สำหรับวัสดุ ที่เป็นทั้งหินศิลาแลง และปูนที่วางแบบเป็นรูปแบบสมัยประยุกต์ ทั้งลวดลาย ที่เป็นแบบลายไทย และลายผสม ไทยและอาณาจักรขอม
จนกระทั่งเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 2555 นายนิรันดร์ กัลยาณมิตร ผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์ ได้นำพุทธศาสนิกชนทั่วทุกหมู่เหล่า ร่วมกันอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุ พร้อมด้วยพระพุทธรูปและพระไตรปิฎกฉบับภาษาลาว นั่งช้าง เวียนประทักษิณรอบพระปรางค์กุญชรมณีศรีไตรยอดเพชรเนื่องจากในปีนั้นเป็นปีพุทธชยันตี 2600 ปีแห่งการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า และเป็นการเฉลิมพระเกียรติถวายเป็นพระราชกุศล แด่องค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเจริญพระชนมพรรษา ครบ 85 พรรษา และสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ทรงเจริญพระชันษา 99 ปี จังหวัดสุรินทร์ จึงได้ขอประทานพระบรมสารีริกธาตุ จากพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ซึ่งพระองค์ทรงเมตตาประทาน พระบรมสารีริกธาตุ เพื่ออัญเชิญไปประดิษฐานไว้ ณ พระปรางค์กุญชรมณีศรีไตรยอดเพชร วัดช้างหมอบหรือวัดมงคลคชาราม ที่ บ้านช้างหมอบ ต.แนงมุด อ.กาบเชิง จ.สุรินทร์ เพื่อเป็นที่สักการะ บูชา เป็นที่ตั้งมั่นแห่งพระพุทธศาสนาเพื่อความเป็นสิริมงคล และเป็นกำลังใจแก่คณะสงฆ์ และพุทธศาสนิกชนตามแนวชายแดนไทย – กัมพูชา
สำหรับในครั้งนี้ นายนิรันดร์ กัลยาณมิตร ผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์ ในฐานะประธานฝ่ายฆราวาส ได้กล่าวว่าจังหวัดสุรินทร์ ร่วมกับส่วนราชการจังหวัดสุรินทร์ ภาคเอกชน พ่อค้า ประชาชนชาวจังหวัดสุรินทร์ กำหนดจัดงานทอดผ้าป่าสามัคคี ในวันที่ 14 ก.พ. 2557 ซึ่งเป็นวันแห่งความรักและวันมาฆบูชา ณ วัดมงคลคชาราม (วัดช้างหมอบ ) หมู่ที่ 14 บ้านช้างหมอบ ต. แนงมุด จ. สุรินทร์ เพื่อสมทบทุนในการก่อสร้างพระปรางค์กุญชรมณีศรีไตรยอดเพชร เพื่อประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ให้พุทธศาสนิกชนได้สักการะ และเพื่อสืบทอดพระพุทธศาสนาและเพื่อพัฒนาเป็นสถานที่ท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของจังหวัดสุรินทร์อีกแห่งหนึ่ง จึงขอเชิญชวนพุทธศาสนิกชนชาวจังหวัดสุรินทร์ร่วมเป็นเจ้าภาพในการทอดผ้าป่าสามัคคีดังกล่าวโดยพร้อมเพรียงกัน
จังหวัดสุรินทร์จึงขอเชิญชวนผู้มีจิตศรัทธาทุกท่าน ได้ร่วมเป็นเจ้าภาพทอดผ้าป่าสามัคคีในครั้งนี้ โดยประสานรายละเอียดและส่งปัจจัยได้ที่ สำนักงานจังหวัดสุรินทร์ กลุ่มงานอำนวยการ โทร 044-512039 (นายสันทัด แสนทอง หัวหน้ากลุ่มงานอำนวยการ โทร 086-7215312 ) ที่ทำการปกครองจังหวัดสุรินทร์ กลุ่มงานการเงินและบัญชี โทร 044-511891 (นางสาวรัชนีภรณ์ สุยะ เสมียนตราจังหวัดสุรินทร์ โทร081-7534853 ) หรือโอนเงินเข้าบัญชีธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) สาขาสุรินทร์ ประเภทออมทรัพย์ ชื่อบัญชี ก่อสร้างพระปรางค์กุญชรมณีศรีไตรยอดเพชร เลขที่ บัญชี 310-0-69691-3 และขอความกรุณาแฟกซ์ใบโอนให้ทราบด้วย
ท่านเจ้าคุณ พระพิมลพัฒนาทร (หลวงพ่อพวน) แห่งวัดมงคลคชาราม (วัดช้างหมอบ) อำเภอกาบเชิง จังหวัดสุรินทร์ เกจิอาจารย์ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบของจังหวัดสุรินทร์ กล่าวถึงการที่ได้ธุดงค์มาพำนักที่บนเนินเขาพนมดงรักแห่งนี้ ได้บำเพ็ญเพียรวิปัสสนากรรมฐาน นั่งสมาธินิมิตเห็นพระปรางค์รูปทรงตามที่ได้จัดสร้าง เป็นสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เพราะว่า สวรรค์ชั้นดาวดึงส์มีธรรมสภากว้างขวาง ใหญ่โตและเป็นสวรรค์ชั้นที่เทวดาในชั้นจาตุมหาราชิกาสามารถขึ้นไปฟังพระธรรมจากองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่เสด็จมาโปรดพระพุทธมารดาตลอดไตรมาส ให้เทพดาในโลกธาตุที่ประชุมฟังธรรมอยู่ในที่นั้น ได้บรรลุมรรคผลสุดที่จะประมาณ ในอวสานกาลเป็นที่จบคัมภีร์มหาปัฎฐาน ซึ่งเป็นคัมภีร์ที่ 7 พระมหามายาเทวี พระพุทธมารดาได้บรรลุพระโสดาปัตติผล สมพระประสงค์ของพระผู้มีพระภาคเจ้า ที่ได้ทรงตั้งพระทัยเสด็จขึ้นมาสนองคุณพระพุทธมารดา
จากนิมิตรดังกล่าวหลวงพ่อพวนไม่รู้ว่าจะจัดสร้างได้อย่างไร คิดว่าสถานที่แห่งนี้น่าจะเป็นดินแดนธรรมในอนาคต เทพ พรหมคงมากำหนดให้เห็นเป็นนิมิต จึงได้ทำพิธีบวงสรวงขอสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ให้มีคนมาช่วยให้การสร้างพระปรางค์ประสบผลสำเร็จเพื่อประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และพระสารีริกธาตุของพระอริยสงฆ์และพระธาตุที่เสด็จมาและเก็บไว้ที่วัดแห่งนี้เพื่อสืบทอดพระพุทธศาสนาและให้พุทธศาสนิกชนได้เคารพบูชาสักการะได้ตลอดไป
ต่อมาได้มีหญิงสาวผิวขาวร่างสันทัด อายุ 17 ปี มาพร้อมชายวัยกลางคน ประมาณ 50 ปี เศษ มาขอออกแบบพระปรางค์พร้อมแกะลายยอดพระปรางค์ให้ด้วย โดยอาตมาบอกเขาตามนิมิตที่เห็น เขาทำงานกันทั้งวันไม่พูดจากับใคร อาตมาก็ไม่กล้าเข้าไปซักถามจึงไม่ทราบว่ามาจากไหนโดยใช้เวลาเพียง 15 วัน ได้นำแบบทั้งหมดมาให้และบอกว่า ต่อไปจะมีคนมาสร้างให้ หลังจากนั้นเขาทั้ง 2 คนก็ออกจากวัดไป ไม่ได้เจอกันอีกเลยจนถึงปัจจุบันนี้
พระปรางค์กุญชรมณีศรีไตรยอดเพชร เริ่มสร้าง เมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2552 โดยจัดสร้างเป็นองค์ปรางค์ 3 ยอดอยู่ตรงกลาง และมีปรางค์บริวารโดยรอบทั้ง 8 ทิศ ตั้งอยู่บนยอดเขาเตี้ย ๆ ซึ่งได้ปรับปรุงพื้นที่โดยการถมดินเป็นฐานมีขนาดกว้าง 70 เมตร ยาว 100 เมตร สูงจากพื้นดินปกติ 5 เมตร มีความวิจิตรสวยงาม ตั้งอยู่ริมชายแดนไทย-กัมพูชา การดำเนินการได้จัดสร้างไปแล้วประมาณ 60 เปอร์เซ็นต์ สำหรับวัสดุ ที่เป็นทั้งหินศิลาแลง และปูนที่วางแบบเป็นรูปแบบสมัยประยุกต์ ทั้งลวดลาย ที่เป็นแบบลายไทย และลายผสม ไทยและอาณาจักรขอม
จนกระทั่งเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 2555 นายนิรันดร์ กัลยาณมิตร ผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์ ได้นำพุทธศาสนิกชนทั่วทุกหมู่เหล่า ร่วมกันอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุ พร้อมด้วยพระพุทธรูปและพระไตรปิฎกฉบับภาษาลาว นั่งช้าง เวียนประทักษิณรอบพระปรางค์กุญชรมณีศรีไตรยอดเพชรเนื่องจากในปีนั้นเป็นปีพุทธชยันตี 2600 ปีแห่งการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า และเป็นการเฉลิมพระเกียรติถวายเป็นพระราชกุศล แด่องค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเจริญพระชนมพรรษา ครบ 85 พรรษา และสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ทรงเจริญพระชันษา 99 ปี จังหวัดสุรินทร์ จึงได้ขอประทานพระบรมสารีริกธาตุ จากพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ซึ่งพระองค์ทรงเมตตาประทาน พระบรมสารีริกธาตุ เพื่ออัญเชิญไปประดิษฐานไว้ ณ พระปรางค์กุญชรมณีศรีไตรยอดเพชร วัดช้างหมอบหรือวัดมงคลคชาราม ที่ บ้านช้างหมอบ ต.แนงมุด อ.กาบเชิง จ.สุรินทร์ เพื่อเป็นที่สักการะ บูชา เป็นที่ตั้งมั่นแห่งพระพุทธศาสนาเพื่อความเป็นสิริมงคล และเป็นกำลังใจแก่คณะสงฆ์ และพุทธศาสนิกชนตามแนวชายแดนไทย – กัมพูชา
สำหรับในครั้งนี้ นายนิรันดร์ กัลยาณมิตร ผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์ ในฐานะประธานฝ่ายฆราวาส ได้กล่าวว่าจังหวัดสุรินทร์ ร่วมกับส่วนราชการจังหวัดสุรินทร์ ภาคเอกชน พ่อค้า ประชาชนชาวจังหวัดสุรินทร์ กำหนดจัดงานทอดผ้าป่าสามัคคี ในวันที่ 14 ก.พ. 2557 ซึ่งเป็นวันแห่งความรักและวันมาฆบูชา ณ วัดมงคลคชาราม (วัดช้างหมอบ ) หมู่ที่ 14 บ้านช้างหมอบ ต. แนงมุด จ. สุรินทร์ เพื่อสมทบทุนในการก่อสร้างพระปรางค์กุญชรมณีศรีไตรยอดเพชร เพื่อประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ให้พุทธศาสนิกชนได้สักการะ และเพื่อสืบทอดพระพุทธศาสนาและเพื่อพัฒนาเป็นสถานที่ท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของจังหวัดสุรินทร์อีกแห่งหนึ่ง จึงขอเชิญชวนพุทธศาสนิกชนชาวจังหวัดสุรินทร์ร่วมเป็นเจ้าภาพในการทอดผ้าป่าสามัคคีดังกล่าวโดยพร้อมเพรียงกัน
จังหวัดสุรินทร์จึงขอเชิญชวนผู้มีจิตศรัทธาทุกท่าน ได้ร่วมเป็นเจ้าภาพทอดผ้าป่าสามัคคีในครั้งนี้ โดยประสานรายละเอียดและส่งปัจจัยได้ที่ สำนักงานจังหวัดสุรินทร์ กลุ่มงานอำนวยการ โทร 044-512039 (นายสันทัด แสนทอง หัวหน้ากลุ่มงานอำนวยการ โทร 086-7215312 ) ที่ทำการปกครองจังหวัดสุรินทร์ กลุ่มงานการเงินและบัญชี โทร 044-511891 (นางสาวรัชนีภรณ์ สุยะ เสมียนตราจังหวัดสุรินทร์ โทร081-7534853 ) หรือโอนเงินเข้าบัญชีธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) สาขาสุรินทร์ ประเภทออมทรัพย์ ชื่อบัญชี ก่อสร้างพระปรางค์กุญชรมณีศรีไตรยอดเพชร เลขที่ บัญชี 310-0-69691-3 และขอความกรุณาแฟกซ์ใบโอนให้ทราบด้วย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น