นางอรุณรัตน์ ชิงชนะ หัวหน้ากลุ่มงานสารสนเทศการพัฒนาชุมชน สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดสุรินทร์ กล่าวว่า จังหวัดสุรินทร์ได้วางระบบมาตรฐานงานชุมชน เพื่อเป็นเครื่องมือส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้และการพัฒนาตนเองของกลไกการพัฒนาชุมชน เพื่อพัฒนาไปสู่ความเป็นมาตรฐานการพัฒนาชุมชน และเป็นเครื่องมือในการประเมินความก้าวหน้าของการพัฒนาไปสู่ความเข้มแข็ง พึ่งตนเองได้อย่างยั่งยืน โดยมีหลักการทำงานคือการมีส่วนร่วมของชุมชน ชุมชนเป็นเจ้าของ ประชาชนเป็นผู้รับประโยชน์ และชุมชนมีความสมัครใจในการพัฒนาตนเอง
ทั้งนี้ จังหวัดสุรินทร์ได้ดำเนินงานระบบมาตรฐานงานชุมชนตั้งแต่ปี 2548 โดยมีกลุ่มเป้าหมายผ่านเข้าสู่ระบบมาตรฐานงานชุมชนตั้งแต่ปี 2548-2556 รวม 1,609 ราย ประกอบด้วย ประเภทผู้นำชุมชน 1,158 ราย ประเภทกลุ่มองค์กร 192 กลุ่ม ประเภทเครือข่าย 95 เครือข่าย และประเภทชุมชน 164 ชุมชน โดยมีหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบปี 2552-2556 ผ่านสู่ระบบมาตรฐานงานชุมชน 65 หมู่บ้าน จากทั้งหมด 89 หมู่บ้าน
สำหรับอำเภอที่มีกลุ่มเป้าหมายผ่านเข้าสู่ระบบมาตรฐานงานชุมชนมากที่สุดเรียงตามลำดับ ดังนี้ อำเภอปราสาท 142 ราย ศีขรภูมิ 138 ราย เมืองสุรินทร์ 132 ราย รัตนบุรี 123 ราย ชุมพลบุรี 119 ราย สังขะ 111 ราย ท่าตูม 101 ราย จอมพระ 98 ราย บัวเชด 80 ราย พนมดงรัก 78 ราย สนม 75 ราย กาบเชิง 75 ราย เขวาสินรินทร์ 72 ราย สำโรงทาบ 70 ราย ศรีณรงค์ 70 ราย โนนนารายณ์ 63 ราย และอำเภอลำดวน 62 ราย
ทั้งนี้ จังหวัดสุรินทร์ได้ดำเนินงานระบบมาตรฐานงานชุมชนตั้งแต่ปี 2548 โดยมีกลุ่มเป้าหมายผ่านเข้าสู่ระบบมาตรฐานงานชุมชนตั้งแต่ปี 2548-2556 รวม 1,609 ราย ประกอบด้วย ประเภทผู้นำชุมชน 1,158 ราย ประเภทกลุ่มองค์กร 192 กลุ่ม ประเภทเครือข่าย 95 เครือข่าย และประเภทชุมชน 164 ชุมชน โดยมีหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบปี 2552-2556 ผ่านสู่ระบบมาตรฐานงานชุมชน 65 หมู่บ้าน จากทั้งหมด 89 หมู่บ้าน
สำหรับอำเภอที่มีกลุ่มเป้าหมายผ่านเข้าสู่ระบบมาตรฐานงานชุมชนมากที่สุดเรียงตามลำดับ ดังนี้ อำเภอปราสาท 142 ราย ศีขรภูมิ 138 ราย เมืองสุรินทร์ 132 ราย รัตนบุรี 123 ราย ชุมพลบุรี 119 ราย สังขะ 111 ราย ท่าตูม 101 ราย จอมพระ 98 ราย บัวเชด 80 ราย พนมดงรัก 78 ราย สนม 75 ราย กาบเชิง 75 ราย เขวาสินรินทร์ 72 ราย สำโรงทาบ 70 ราย ศรีณรงค์ 70 ราย โนนนารายณ์ 63 ราย และอำเภอลำดวน 62 ราย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น