สำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 10 ตรวจสอบคุณภาพน้ำแหล่งน้ำผิวดินพื้นที่จังหวัดขอนแก่นพื้นที่ลุ่มน้ำชีตอนบน 5 จังหวัด
นายธวัปทุมพงษ์ ผู้อำนวยการสำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 10 เปิดเผยว่า สำนักงานสิ่งแวดล้อมภาค 10 ได้ทำการตรวจสอบการเปลี่ยนแปลงคุณภาพน้ำพื้นที่ลุ่มน้ำชีตอนบน 5 จังหวัด ประจำปี 2556 คือแม่น้ำเชิญ พรม ลำพะเนียง พอง ลำปาว ชี และแม่น้ำเสียว มาอย่างต่อเนื่องโดยได้ตรวจสอบครั้งที่ 3 ในพื้นที่จังหวัดขอนแก่นในวันที่ 24 พฤษภาคม 2556-7 มิถุนายน 2556 ผลการตรวจสอบปรากฏว่า แม่น้ำสายหลักคือแม่น้ำเชิญ ชี พอง ที่กรวดน้ำรวม 34 พื้นที่ พบว่าส่วนใหญ่มีคุณภาพน้ำอยู่ในเกณฑ์พอใช้ร้อยละ 50 เสื่อมโทรมร้อยละ 41.7 เนื่องจากการตรวจพบปริมาณออกซิเจนละลายในน้ำต่ำและปริมาณสารแอมโมเนียไนโตรเจนมีค่าสูง โดยผลตรวจแม่น้ำเชิญพบว่าเสื่อมโทรมร้อยละ 100 แม่น้ำชีพบคุณภาพน้ำพอใช้ร้อยละ 100 แต่พบว่ามีตะกอนมาก 3 แม่น้ำพอง พบว่าในตอนบนก่อนไหลลงสู่เขื่อนอุบลรัตน์ มีคุณภาพน้ำอยู่ในเกณฑ์เสื่อมโทรม ร้อยละ 100 โดยพบตะกอน ปริมาณฟอสฟอรัสปริมาณไนเตรทมีค่าสูง และพบปริมาณแบคทีเรียทั้งหมดในรูปโคลิฟอร์ม รวมทั้งฟีโคลิฟอร์มมีค่าสูง ส่วนแม่น้ำพองตอนล่างตั้งแต่ท้ายเขื่อนอุบลรัตน์ลงไปส่วนใหญ่มีคุณภาพน้ำอยู่ในเกณฑ์พอใช้ ร้อยละ 55.6 และเสื่อมโทรมร้อยละ 33.3 และ 4 ลำห้วยสาขาแม่น้ำพองตอนล่าง ส่วนใหญ่คุณภาพน้ำเสื่อมโทรมร้อยละ 60 ผู้อำนวยการสิ่งแวดล้อมภาคที่ 10 กล่าวอีกว่าข้อเสนให้ทุกภาคส่วน ป้องกันและจัดการแก้ปัญหา จากพื้นที่เกษตรโดยเร่งลดการชะล้างตะกอนดิน ซึ่งมีไนโตเจน ฟอสฟอรัสลงสู่แม่น้ำเช่นปลูกพืชคลุมดิน ดูดซับสาร ลดการใช้สารเคมีอันตราย และจากแหล่งกำเนิดมลพิษด้วยการให้ผู้ประกอบการ จัดการบำบัดน้ำเสียของตนเองที่ดี นำไปใช้ประโยชน์ที่เหมาะสม ผู้ประกอบการดูดส้วม ไม่นำสิ่งปฏิกูลไปทิ้งหรือใส่เป็นปุ๋ยในไร่นา โดยไม่ถูกสุขลักษณะ และให้ท้องถิ่นสร้างระบบบำบัดที่เหมาะสมกับสภาพท้องถิ่น รวมทั้งจัดการขยะที่ถูกหลักเพื่อลดผลกระทบ
นายธวัปทุมพงษ์ ผู้อำนวยการสำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 10 เปิดเผยว่า สำนักงานสิ่งแวดล้อมภาค 10 ได้ทำการตรวจสอบการเปลี่ยนแปลงคุณภาพน้ำพื้นที่ลุ่มน้ำชีตอนบน 5 จังหวัด ประจำปี 2556 คือแม่น้ำเชิญ พรม ลำพะเนียง พอง ลำปาว ชี และแม่น้ำเสียว มาอย่างต่อเนื่องโดยได้ตรวจสอบครั้งที่ 3 ในพื้นที่จังหวัดขอนแก่นในวันที่ 24 พฤษภาคม 2556-7 มิถุนายน 2556 ผลการตรวจสอบปรากฏว่า แม่น้ำสายหลักคือแม่น้ำเชิญ ชี พอง ที่กรวดน้ำรวม 34 พื้นที่ พบว่าส่วนใหญ่มีคุณภาพน้ำอยู่ในเกณฑ์พอใช้ร้อยละ 50 เสื่อมโทรมร้อยละ 41.7 เนื่องจากการตรวจพบปริมาณออกซิเจนละลายในน้ำต่ำและปริมาณสารแอมโมเนียไนโตรเจนมีค่าสูง โดยผลตรวจแม่น้ำเชิญพบว่าเสื่อมโทรมร้อยละ 100 แม่น้ำชีพบคุณภาพน้ำพอใช้ร้อยละ 100 แต่พบว่ามีตะกอนมาก 3 แม่น้ำพอง พบว่าในตอนบนก่อนไหลลงสู่เขื่อนอุบลรัตน์ มีคุณภาพน้ำอยู่ในเกณฑ์เสื่อมโทรม ร้อยละ 100 โดยพบตะกอน ปริมาณฟอสฟอรัสปริมาณไนเตรทมีค่าสูง และพบปริมาณแบคทีเรียทั้งหมดในรูปโคลิฟอร์ม รวมทั้งฟีโคลิฟอร์มมีค่าสูง ส่วนแม่น้ำพองตอนล่างตั้งแต่ท้ายเขื่อนอุบลรัตน์ลงไปส่วนใหญ่มีคุณภาพน้ำอยู่ในเกณฑ์พอใช้ ร้อยละ 55.6 และเสื่อมโทรมร้อยละ 33.3 และ 4 ลำห้วยสาขาแม่น้ำพองตอนล่าง ส่วนใหญ่คุณภาพน้ำเสื่อมโทรมร้อยละ 60 ผู้อำนวยการสิ่งแวดล้อมภาคที่ 10 กล่าวอีกว่าข้อเสนให้ทุกภาคส่วน ป้องกันและจัดการแก้ปัญหา จากพื้นที่เกษตรโดยเร่งลดการชะล้างตะกอนดิน ซึ่งมีไนโตเจน ฟอสฟอรัสลงสู่แม่น้ำเช่นปลูกพืชคลุมดิน ดูดซับสาร ลดการใช้สารเคมีอันตราย และจากแหล่งกำเนิดมลพิษด้วยการให้ผู้ประกอบการ จัดการบำบัดน้ำเสียของตนเองที่ดี นำไปใช้ประโยชน์ที่เหมาะสม ผู้ประกอบการดูดส้วม ไม่นำสิ่งปฏิกูลไปทิ้งหรือใส่เป็นปุ๋ยในไร่นา โดยไม่ถูกสุขลักษณะ และให้ท้องถิ่นสร้างระบบบำบัดที่เหมาะสมกับสภาพท้องถิ่น รวมทั้งจัดการขยะที่ถูกหลักเพื่อลดผลกระทบ
ข่าว/พิมพ์ นายคันฉัตร เพียรวิจัยธรณี
ส.ปชส.ขอนแก่น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น