วันอังคารที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2556

สกู๊ปพิเศษประเพณีแซนโฏนตา บูชาบรรพบุรุษ ตำนานที่สืบทอดนานกว่า 1,000 ปี ของชาวเขมรพื้นเมืองสุรินทร์

ประเพณีแซนโฎนตา คืออีกประเพณีหนึ่งที่มีความสำคัญและปฏิบัติสืบทอดติดต่อกันมายาวนานนับพันปีของชาวเขมรพื้นเมืองสุรินทร์ ที่แสดงออกถึงความกตัญญูต่อผู้มีพระคุณ ความรัก ความผูกพันของสมาชิกในครอบครัว เครือญาติรวมถึงชุมชนต่างๆ โดยจะประกอบพิธีกรรมตรงกับวันแรม14 ค่ำเดือน10 ของทุกปีเมื่อถึงวันแรม 14 ค่ำเดือน 10 สายเลือดลูกหลานชาวพื้นเมืองเขมรสุรินทร์ที่ไปทำงานหรือตั้งถิ่นฐานที่อื่น ไม่ว่าจะใกล้หรือไกลหลายหมื่นหรือนับแสนคน ต่างพร้อมใจกันเดินทางกลับมารวมญาติเพื่อทำพิธีแซนโฎนตา อย่างพร้อมหน้าพร้อมตากันทุกหมู่บ้าน คำว่า"แซนโฏนตา"มาจากไหน แซน หมายถึงการเซ่นไหว้ การบวงสรวง โฎนตา หมายถึง การทำบุญให้ยาย และตา ปู่และย่าหรือบรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้ คำว่า "โฎน " เป็นภาษาเขมรใช้เรียกยายหรือย่า ส่วนตาใช้เรียนแทนตาและปู่ ว โดยทั่วไปแล้วมักเขียนว่า "โดนตา" ซึ่งถือว่าผิด เนื่องจากเป็นประเพณีเซ่นไหว้ผีบรรพบุรุษของชาวเขมร ที่ไม่มีตัวอักษร "ด" อยู่ในพยัญชนะ แต่ใช้ตัว "ฏ" สืบทอดมาเป็นระยะเวลานาน การเตรียมอุปกรณ์เครื่องเซ่นไหว้ การเซ่นไหว้ศาลปู่ตาประจำหมู่บ้าน การเซ่นไหว้ศาลพระภูมิประจำบ้าน การประกอบพิธีกรรมแซนโฎนตาที่บ้าน การประกอบพิธีกรรมบายเบ็ญ (เครื่องเซ่นไหว้) การประกอบพิธีกรรมที่วัด ประกอบด้วย อาหารคาว – หวาน ผลไม้ เครื่องดื่ม ได้แก่ ปลานึ่ง ปลาย่าง หมูย่าง ไก่ย่าง แกงวุ้นเส้น แกงกล้วย ต้มยำไก่ ลาบหมู ไก่นึ่ง ซึ่งต้องเป็นไก่ทั้งตัวเอาเครื่องในออก อาหารหวาน ได้แก่ ข้าวต้มมัดใบมะพร้าว ขนมเทียน ขนมนางเล็ด ขนมโชค(ขนมดอกบัว) ขนมโกรด ข้าวกระยาสารท ผลไม้ ได้แก่ มะพร้าวอ่อน กล้วย ส้ม ละมุด พุทรา องุ่น เป็นต้น เครื่องดื่ม ได้แก่ น้ำเปล่า เหล้าขาว น้ำอัดลม เหล้าสีต่างๆเป็นต้น อุปกรณ์ต่างๆ ได้แก่ เสื่อหวาย ที่นอนแบบพับ หมอน ผ้าขาว ผ้าไหม ผ้าโสร่ง อาภรณ์ต่าง ๆ พาน ธูป เทียน กรวย 5 ช่อ ที่ทำจากใบตองสดม้วนเป็นกรวย แล้วสอดด้วย ธูป และใบกรุยการจัดกรวย5ช่อคือ ขันธ์ 5 หมายถึง รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ประเพณีแซนโฎนตามีความเป็นมายาวนานนับพันปี ต้นกำเนิดของแนวความคิดประเพณี โดยชาวเขมรเห็นแนวทางในการที่จะอุทิศส่วนกุศลให้แก่ผีบรรพบุรุษ ปู่ย่า ตายาย พ่อแม่ ให้ได้รับผลบุญกุศลที่อุทิศไป ทำให้ทุกข์เวทนาจากบวงกรรมมีความบรรเทาเบาบางลง จึงให้มีการจัดพิธีแซนโฎนตาขึ้น และให้มีการสืบทอดต่อ ๆ กันมา ซึ่งเชื่อว่าถ้าในยุคของตนได้แซนโฎนตาให้แก่ ผีบรรพบุรุษ ปู่ย่า ตายาย พ่อแม่ ไปแล้ว รุ่นลูกจะต้องแซนโฎนตาให้ตนเหมือนกัน เพื่อให้ลูกหลานต้องปฏิบัติสืบทอดต่อ ๆ กันไปไม่สิ้นสุด เช่น ถ้าญาติหรือลูกหลานประกอบพิธีแซนโฎนตา และทำบุญอุทิศให้ ก็จะอวยพรให้ญาติหรือลูกหลานมีความสุขความเจริญ ประกอบอาชีพประสบผลสำเร็จมีเงินมีทองใช้ แต่ถ้าไม่ทำพิธีแซนโฎนตาก็จะโกรธและสาปแช่งญาติหรือลูกหลานไม่ให้มีความสุขความเจริญ ประกอบอาชีพฝืดเคือง ไม่ราบรื่น ดังนั้นลูกหลานของชาวไทยเขมรทุกรุ่นจึงต้องประกอบพิธีแซนโฎนตา หรือพิธีกราบไหว้ เซ่นไหว้บรรพบุรุษ มาตราบจนทุกวันนี้ โดยงานประเพณีแซนโฎนตา บูชาบรรพบุรุษ ของพี่น้องชาวเขมรพื้นเมืองสุรินทร์ร่วมไปถึงชนชาวกูยหรือส่วยอีกด้วย ซึ่งไม่เฉพาะชนชาวเขมรพื้นเมืองที่ จ.สุรินทร์ ที่จัดพิธี "สารทเล็ก " หรือ "เบ็ญตู๊จ" ในวันที่ 14 กันยายน หรือ ตรงกับขึ้น 15 ค่ำเดือน 10 และ "สารทใหญ่" หรือ "เบ็ญธม" ในวันที่ 29 กันยายน 2551 หรือ ตรงกับ แรม 15 ค่ำเดือน 10 ซึ่งถือเป็น วันแซนโฎนตาที่แท้จริง ส่วนการจูนโฎนตา เป็นการนำอาหารคาว หวาน ของสด ผลไม้ ไปไหว้ แก่ผู้อาวุโสในครอบครัว ซึ่งลูกหลานทุกคนจะเตรียมไปไหว้ขอพรจากผู้ใหญ่ การแซนโฎนตา เป็นการเตรียมสำรับอาหารคาว หวาน ขนม ข้าวต้มมัด กระยาสารท ฯลฯ นำมาจัดในกระเชอหรือกระด้ง หรือเรียกว่า "กระจือโฎนตา” ซึ่งเป็นการเตรียมไว้สำหรับการเซ่นไหว้บรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้ว และจะเตรียมอาหารคาว หวาน ของสด ผลไม้ไปวัดในเช้าของ วันแรม 15 เดือน 10 เพื่อเป็นการทำบุญให้แก่บรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้ว



ประนนท์ ไม้หอม / ส.ปชส. สุรินทร์/รายงาน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น