วันอังคารที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2556

สรุปสถานการณ์อุทกภัยระหว่างวันที่ 18 กันยายน - 2 ตุลาคม 2556

ศูนย์อำนวยการเฉพาะกิจป้องกันและแก้ไขปัญหาอุทกภัย  และดินโคลนถล่ม จังหวัดสุรินทร์ ปี 2556

ณ ห้องประชุมสุรินทร์ภักดี  ชั้น 3 ศาลากลางจังหวัดสุรินทร์ โทร/โทรสาร 044-713004, 081-9219342


สรุปสถานการณ์อุทกภัยระหว่างวันที่ 18 กันยายน - 2 ตุลาคม 2556

ตามที่ จังหวัดสุรินทร์ได้รับอิทธิพลจากพายุดีเปรสชั่น ทำให้เกิดฝนตกหนักต่อเนื่องตั้งแต่วันที่ 18 กันยายน 2556   เวลา 20.30 น. เป็นต้นมามีผลทำให้หลายพื้นที่ได้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำไหลหลาก โดยปริมาณฝนตกในพื้นที่เริ่มลดลง ตั้งแต่วันที่ 21 กันยายน 2556 ดังนี้

1. พื้นที่ประสบภัย จำนวน 17 อำเภอ 139 ตำบล 1,497 หมู่บ้าน  ได้แก่
อำเภอเมืองสุรินทร์
สังขะ
ศรีณรงค์ จอมพระ
เขวาสินรินทร์
ศีขรภูมิ
ท่าตูม
รัตนบุรี
สำโรงทาบ
ลำดวน
บัวเชด
กาบเชิง
สนม
ปราสาท
โนนนารายณ์
ชุมพลบุรี
อำเภอพนมดงรัก


2. ความเสียหายในเบื้องต้น (อยู่ระหว่างสำรวจความเสียหาย)

- ด้านชีวิต  ราษฎรได้รับความเดือดร้อนจำนวน 776,903 คน 252,541 ครัวเรือน เสียชีวิต 10 ราย

- ด้านทรัพย์สิน บ้านเรือนเสียหายบางส่วน 3,290 หลังคาเรือน

- ด้านการเกษตร นาข้าวคาดว่าจะเสียหาย 489,791,พืชไร่/ พืชสวน คาดว่าจะเสียหาย 16,418ไร่

- ด้านปศุสัตว์/ประมง บ่อ/ปลากุ้ง คาดว่าจะเสียหาย 200 แห่ง, จำนวนสัตว์ที่ได้รับผลกระทบ 856,964 ตัว

- ด้านสิ่งสาธารณประโยชน์ ถนน 456 สาย, สะพาน 12 แห่ง, ท่อระบายน้ำ 97 แห่ง ,ฝาย 25 แห่ง,    

วัด 11 แห่ง,โรงเรียน 83 แห่ง, สถานที่ราชการ 25 แห่ง,คันดิน/คันคลอง 74 แห่ง


3. การให้ความช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย หน่วยงานราชการ/องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาครัฐ ภาคเอกชน มูลนิธิฯ องค์การการกุศล และหน่วยงานอื่นๆ ได้ระดมสรรพกำลัง เรือท้องแบน เครื่องสูบน้ำ เครื่องจักรกล รถบรรทุก เครื่องมือ-อุปกรณ์ สิ่งของบรรเทาทุกข์ เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยในพื้นที่ ดังนี้

1) ด้านสิ่งของบรรเทาทุกข์ ได้แก่ ถุงยังชีพ 46,579 ชุด,ข้าวกล่อง 44,630 กล่อง,น้ำดื่ม 7,210 แพ๊ก, ยาเวชภัณฑ์ 2,900 ชุด

2) ด้านปศุสัตว์  ได้แก่ หญ้าแห้ง 3,000 ก้อน,แร่ธาตุ 200 ก้อน

3) ด้านเครื่องมือ-อุปกรณ์  เครื่องจักรกล ได้แก่ เรือท้องแบน 50 ลำ,เครื่องยนต์เรือ 10 เครื่อง, รถบรรทุก 38 คัน,รถกู้ภัยเอนกประสงค์ 6 คัน,รถบรรทุกน้ำดื่ม 6 คัน,เครื่องสูบน้ำอัตโนมัติใต้ดิน 4 เครื่อง,เครื่องสูบน้ำ 8,10,12 นิ้ว 16 เครื่อง,กำลังพลทหาร 100 นาย,อส. 30 นาย ,อปพร. 1,500 นาย,กระสอบทราย 8,000 ใบ, ทราย 19 คันรถบรรทุก


4) จังหวัดสุรินทร์ได้จัดตั้งศูนย์รับบริจาคสิ่งของบรรเทาทุกข์เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย ณ บริเวณหน้าสำนักงานเหล่ากาชาดจังหวัดสุรินทร์ ตั้งแต่วันที่ 23 กันยายน-1 ตุลาคม 2556 มีผู้บริจาคเงินสด 311,831.50 บาท,ข้าวสาร 503 ถุงๆละ 5 กก.,น้ำดื่ม 291 แพ็ก,ถุงยังชีพ 617 ถุง และอื่นๆ 12 รายการ


4. การประกาศเขตการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน (อุทกภัย)

ขณะนี้จังหวัดสุรินทร์ได้ประกาศพื้นที่ประสบอุทกภัยแล้ว เมื่อวันที่ 24 กันยายน 2556 และวันที่ 30 กันยายน 2556 จำนวน 15 อำเภอ 124 ตำบล 1,388 หมู่บ้าน ได้แก่ อำเภอเมืองสุรินทร์ สังขะ จอมพระ เขวาสินรินทร์ สำโรงทาบ ศรีณรงค์ ปราสาท ท่าตูม ลำดวน โนนนารายณ์ บัวเชด ศีขรภูมิ สนม รัตนบุรี และอำเภอกาบเชิง สำหรับอำเภอที่ยังไม่ได้ประกาศ ฯ (อุทกภัย) ได้แก่ อำเภอพนมดงรัก และชุมพลบุรี  ซึ่งอยู่ระหว่างนำเรียนผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์พิจารณาประกาศภัยฯ



สถานการณ์อุทกภัยขณะนี้ (วันที่ 30 กันยายน – 2 ตุลาคม 2556 เวลา  07.00  น.)

-โครงการชลประทานสุรินทร์ได้เปิดบานประตูระบายน้ำ 1.70 เมตร เพื่อระบายน้ำออกจากอ่างเก็บน้ำห้วยเสนง เนื่องจากเมื่อวันที่ 27 กันยายน 2556 มีฝนตกหนักในบริเวณอ่างฯ และน้ำไหลหลากจากอำเภอปราสาทและอำเภอกาบเชิง (ขณะนี้ระดับน้ำในอ่างฯได้ลดลงต่อเนื่อง แต่ยังล้นสปริงเวย์ 3 ซม.)  ส่งผลให้หมู่บ้านที่อาศัยอยู่บริเวณท้ายอ่างฯ ตลอดแนวบริเวณสองฝั่งลำน้ำห้วยเสนงและลำน้ำชี ได้แก่ ตำบลเฉนียง นอกเมือง คอโค ท่าสว่าง จุดที่เคยเกิดน้ำท่วมขังมีระดับน้ำสูงขึ้น ประกอบกับช่วงนี้ต้องเฝ้าระวังน้ำในแม่น้ำมูลที่ไหลหลากมาจากจังหวัดนครราชสีมา ผ่านจังหวัดบุรีรัมย์ และจังหวัดสุรินทร์ บริเวณอำเภอชุมพลบุรี ท่าตูม และรัตนบุรี ซึ่งอาจมีมวลน้ำปริมาณมาก เอ่อล้นตลิ่งไหลท่วมพื้นที่การเกษตรและบ้านเรือนราษฎรบริเวณสองฝั่งแม่น้ำมูลในพื้นที่ดังกล่าว

พื้นที่เฝ้าระวังและจุดที่ยังมีน้ำท่วมมาก

บริเวณสองฝั่งแม่น้ำมูล อำเภอชุมพลบุรี ท่าตูม รัตนบุรี จำนวน 3 อำเภอ 9 ตำบล 60 หมู่บ้าน


1. อำเภอชุมพลบุรี ปริมาณน้ำจากแม่น้ำน้ำมูลได้เอ่อไหลเข้าท่วมพื้นที่การเกษตร

ตำบลหนองเรือหมู่ 2,3,4,7,8,ตำบลนาหนองไผ่ หมู่ 2,4,7,8,9,10,16,17 เป็นบริเวณกว้าง และบริเวณ หมู่ 8 ตำบลนาหนองไผ่ บ้านเรือนได้รับความเสียหายบางส่วน 2 หลัง ระดับน้ำทรงตัว

2. อำเภอท่าตูม บริเวณสองฝั่งแม่น้ำมูลระดับน้ำเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องได้ไหลเอ่อท่วมพื้นที่การเกษตรบริเวณหมู่บ้านที่อาศัยอยู่บริเวณสองฝั่งแม่น้ำมูล สำหรับหมู่บ้านที่ยังมีน้ำท่วมขังบริเวณถนนทางเข้าหมู่บ้าน จำนวน 2 หมู่บ้าน ได้แก่ บ้านยางเก่า หมู่ 13 ตำบลบะ และบ้านหนองเรือ หมู่ 12 ตำบลโพนครก

3. อำเภอรัตนบุรี ระดับน้ำในแม่น้ำมูลเพิ่มขึ้นเล็กน้อย จุดที่ยังมีน้ำมากท่วมพื้นที่การเกษตรเป็นบริเวณกว้างและบ้านเรือนบางส่วนที่อาศัยอยู่ใกล้แม่น้ำมูล ได้แก่ ตำบลดอนแรด หมู่ 6,7  สำหรับหมู่บ้านที่มีน้ำท่วมพื้นที่การเกษตรปานกลาง ได้แก่ ตำบลน้ำเขียว ได้แก่ หมู่ 5,11 ,ตำบลแก หมู่ 4,9,7,11, ตำบลกุดขาคีม หมู่ 1,2,6 ,ตำบลทับใหญ่ หมู่ 1,2,3,6,7,8,9,10 ,ตำบลหนองบัวทอง หมู่ 1,2,7,4 , ตำบลดอนแรด หมู่1,2,3,8,11,12



2) บริเวณสองฝั่งลำน้ำชีที่ยังมีปริมาณน้ำมาก แต่ระดับน้ำลดลงต่อเนื่องกำลังเข้าสู่ภาวะปกติ จำนวน 2 อำเภอ 5 ตำบล 18 หมู่บ้าน ได้แก่

อำเภอเมืองสุรินทร์  จำนวน 4 ตำบล 15 หมู่บ้าน ได้แก่

- ตำบลเฉนียง ได้แก่ หมู่ 3 บ้านทำเนียบ,หมู่ 4 บ้านปราสาท,หมู่ 13 บ้านหนองเต่า,หมู่18 บ้านละเอาะ

- ตำบลนอกเมือง ได้แก่ หมู่ 21 บ้านเฉลิมพระเกียรติ

- ตำบลคอโค ได้แก่ หมู่ 1 บ้านแสงตะวัน,หมู่ 6 บ้านฉางข้าว,หมู่ 9 บ้านลำชี

- ตำบลท่าสว่าง ได้แก่ หมู่ 17 บ้านกะเพอสก็วม,หมู่ 13 บ้านอาม็อง

อำเภอจอมพระ จำนวน 1 ตำบล 3 หมู่บ้าน  ได้แก่ ตำบลเมืองลีง บ้านทุ่งนาค หมู่ 7 , บ้านหลุมดิน หมู่ 9 และบ้านหนองซำ หมู่ 6



3) บริเวณสองฝั่งลำห้วยทับทันที่ยังมีน้ำท่วมพื้นที่การเกษตร และท่วมบ้านเรือนบางส่วน ขณะนี้ระดับน้ำลดลง บางจุดเริ่มเข้าสู่ภาวะปกติ จำนวน 2 ตำบล 10 หมู่บ้าน ได้แก่

- ตำบลเบิด ได้แก่ หมู่ 1, 4, 8, 9, 12

- ตำบลยางสว่าง ได้แก่ หมู่ 3, 4, 6, 8, 11

๒. อำเภอที่มีระดับน้ำลดลงกำลังจะเข้าสู่ภาวะปกติ บางพื้นที่มีน้ำท่วมขังพื้นที่การเกษตร จำนวน  14 อำเภอ 121 ตำบล 1,307 หมู่บ้าน  ได้แก่  อำเภอเมืองสุรินทร์ สังขะ จอมพระ เขวาสินรินทร์  สำโรงทาบ ศรีณรงค์ ปราสาท ลำดวน ศีขรภูมิ กาบเชิง บัวเชด พนมดงรัก โนนนารายณ์ และอำเภอสนม



3.  ถนนสายหลักที่ยังมีน้ำท่วมไหลพาดทางจำนวน 2 แห่ง ได้แก่

1) ทางหลวงหมายเลข 226 ตอนลำชี-สุรินทร์ กม.163-165 น้ำสูงประมาณ 5 เซนติเมตร การจราจรผ่านได้

2) ทางหลวงหมายเลข 2077 ตอนสังขะ-บัวเชด กม.49-50 น้ำสูงประมาณ 5 เซนติเมตร การจราจรผ่านได้



4. การดำเนินการตั้งแต่วันที่ 18 กันยายน - 2 ตุลาคม 2556

1)  จังหวัดจัดตั้งศูนย์ประสานงานรับแจ้งสถานการณ์และการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัย ณ ห้องประชุมสุรินทร์ภักดี ชั้น 3 ศาลากลางจังหวัดสุรินทร์ โดยมีเจ้าหน้าที่ สนง.ปภ.สุรินทร์ ประจำศูนย์ และดำเนินการประชุมหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องเพื่อรับทราบสถานการณ์และการให้ความช่วยเหลือ เวลา 09.30 น เป็นประจำทุกวันจนกว่าสถานการณ์จะยุติ  หมายเลขโทรศัพท์/โทรสาร 044-713004, 081-9219342

2)  จัดตั้งโรงครัวประกอบเลี้ยง  จำนวน 5 จุด  ได้แก่

-  จุดที่ 1 สถานีกาชาดที่ 1 จังหวัดสุรินทร์ (ปิดโรงครัวเนื่องจากสถานการณ์คลี่คลายแล้ว)

-  จุดที่  2 อาคารงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย สนง.เทศบาลเมืองสุรินทร์ (ปิดโรงครัวเนื่องจากสถานการณ์คลี่คลายแล้ว)

-  จุดที่ 3  มูลนิธิจิ้บเต็กเซี่ยงตึ้ง   (ปิดโรงครัวเนื่องจากสถานการณ์คลี่คลายแล้ว)

-  จุดที่ 4  อบต.นอกเมือง   (ปิดโรงครัวเนื่องจากสถานการณ์คลี่คลายแล้ว)

-  จุดที่ 5  อบต.เฉนียง บริเวณเกาะลางถนน สี่แยกหนองเต่า (ปิดโรงครัวเนื่องจากสถานการณ์คลี่คลายแล้ว)

3)  จัดตั้งศูนย์พักพิงเพื่อช่วยผู้ประสบภัย

-  ศูนย์พักพิงผู้ประสบภัยกรณีฉุกเฉิน (อุทกภัย) จังหวัดทหารบกสุรินทร์ (อาคารสโมสรนายทหาร)        

0-4451-1844 ต่อ 20043, 20044 (ปิดศูนย์ฯเนื่องจากสถานการณ์คลี่คลายแล้ว)

-  ตชด.21  (ปิดศูนย์ฯเนื่องจากสถานการณ์คลี่คลายแล้ว)

-  ที่ว่าการอำเภอที่ประสบอุทกภัย   (ปิดศูนย์ฯเนื่องจากสถานการณ์คลี่คลายแล้ว)

-  อาจารจอมสุรินทร์  มหาราชภัฏสุรินทร์  (ปิดศูนย์ฯเนื่องจากสถานการณ์คลี่คลายแล้ว)

- บ้านพัก ผู้อำนวยการวิทยาลัยอาชีวะศึกษาสุรินทร์  (ปิดศูนย์ฯเนื่องจากสถานการณ์คลี่คลายแล้ว)

4) จัดตั้งศูนย์รับบริจาคสิ่งของบรรเทาทุกข์เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัย

-  บริเวณหน้าสำนักงานเหล่ากาชาดจังหวัดสุรินทร์

-  บริเวณอนุสาวรีย์พระยาสุรินทร์ภักดีศรีณรงค์จางวาง (ปิดรับบริจาคแล้ว)

5) การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจังหวัดสุรินทร์ แจ้งจุดการดับไฟฟ้าในพื้นที่น้ำท่วมสูง(ไฟฟ้าเพื่อการเกษตร) ในเขตอำเภอสำโรงทาบ ได้แก่ บ้านแซม หมู่ 6 ตำบลสะโน และบ้านโนนสำราญ ตำบลประดู่ จำนวน 70 ราย




---------------------------------------------------------------------------

 (นายนิรันดร์ บุญสิงห์)
หัวหน้าสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดสุรินทร์
 เลขานุการศูนย์อำนวยการเฉพาะกิจป้องกันและแก้ไขปัญหาอุทกภัยและดินโคลนถล่ม ปี 2556 จังหวัดสุรินทร์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น