นายยุทธนา วิริยะกิตติ รองผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์ ในฐานะประธานคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัดสุรินทร์ เปิดเผยว่า การเตรียมการรับสมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฏร แบบแบ่งเขตในวันที่ 28 ธันวาคม 2556 ถึง 1 มกราคม 2557 นี้ จังหวัดสุรินทร์ได้มีการประชุมคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัดสุรินทร์ พร้อมเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องเรียบร้อยแล้ว ส่วนการเตรียมการด้านสถานที่ในการเปิดรับสมัคร ส.ส.สุรินทร์แบบแบ่งเขต จะใช้สถานที่หอประชุมจังหวัดสุรินทร์ ส่วนเจ้าหน้าที่รับสมัคร เจ้าหน้าที่ดูแลความสงบเรียบร้อย และวัสดุอุปกรณ์เครื่องใช้ในการรับสมัครก็ได้มีการเตรียมความพร้อมเรียบร้อยแล้ว โดยเฉพาะในวันที่ 28 ธันวาคม 2556 เป็นวันเปิดรับสมัครวันแรก ส่วนจะมีการเลื่อนหรือไม่เป็นอีกเรื่องหนึ่ง ณ วันนี้กฎหมายระบุไว้ว่าวันที่ 28 ธันวาคม 2556 เป็นวันรับสมัคร ส.ส.แบบแบ่งเขต ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฏรครั้งนี้ถือเป็นการเลือกตั้งแบบทั่วไป
จังหวัดสุรินทร์มี 17 อำเภอ แบ่งเขตเลือกตั้งเป็น 8 เขต มีผู้มีสิทธ์เลือกตั้งประมาณ 1,022,000 คน และจะมีการเพิ่มชื่อ ถอนชื่อ ต้องไปดูผู้มีสิทธิ์ครั้งสุดท้ายก่อนการเลือกตั้ง 7 วัน ก็จะได้ตัวเลขที่แน่นอน แต่ ณ เวลานี้ผู้มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งมีทั้งหมด 1,032,950 คน มีจำนวนหน่วยเลือกตั้งทั้งสิ้น 2,127 หน่วยเลือกตั้ง
ส่วนการรณรงค์การเลือกตั้ง ส.ส.โดยทั่วไปได้ใช้สื่อมวลชนในการช่วยประชาสัมพันธ์ข่าว และ กกต.สุรินทร์ ได้แจ้งเป็นหนังสือราชการไปยังทุกส่วนราชการที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วน ให้ได้รับทราบ โดยเฉพาะองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อให้ทราบกำหนดการเลือกตั้ง จำนวน ส.ส. และการเลือกตั้งล่วงหน้า ทั้งในราชอาณาจักรและนอกราชอาณาจักร มีการประชาสัมพันธ์และพูดคุยกันไว้หมดแล้ว
ส่วนกรณีที่ กลุ่ม กปปส. ในจังหวัดๆต่างจะมายื่นหนังสือคัดค้านมิให้ดำเนินการจัดสถานที่เลือกตั้ง ในส่วนทางจังหวัดสุรินทร์ยังไม่มีข่าวดังกล่าวแต่อย่างใด แต่ถ้ามี กกต.จังหวัดสุรินทร์ พร้อมรับฟัง และทาง กกต.จังหวัดสุรินทร์ ได้มีการพูดคุยและมีการเตรียมการวางแผนรับมือเรียบร้อยแล้ว แต่คงจะแจ้งไม่ได้ว่าแผนในการปฏิบัติจะเป็นอย่างไร เพราะเป็นความลับของทางราชการ อย้างไรก็ตาม กกต.จังหวัดสุรินทร์ ได้มีการพูดคุยกับประธาน กปปส.สุรินทร์ ให้ทราบบทบาทหน้าที่ของแต่ละฝ่าย ซึ่งต่างทำหน้าที่ของตนเอง โดย กปปส.ก็มีบทบาทหน้าที่ของกปปส. ในส่วนของ กกต.จังหวัดสุรินทร์ ก็ต้องทำหน้าที่จัดการเลือกตั้ง ส.ส. ตามกฎหมาย ส่วนการประท้วงหรือไม่เป็นสิทธิตามรัฐธรรมนูญ แต่ต้องอยู่ในพื้นฐานความสงบเรียบร้อย อย่างไรก็ตามต้องขอบคุณ กปปส.สุรินทร์ที่ประท้วงแบอารยะขัดขืน แต่ไม่ได้สร้างความวุ่นวาย และไม่กระทบต่อคนที่มีความคิดต่างทางการเมืองถือว่าเป็นเรื่องที่ดี
ส่วนงบประมาณจัดการเลือกตั้ง ส.ส. เมื่อปี พ.ศ.2554 ใช้งบประมาณจำนวน 31 ล้านบาท คาดว่าการจัดการเลือกตั้งครั้งนี้ จะใช้งบประมาณจัดการเลือกตั้งเท่าเดิม เพราะการเลือกตั้งแต่ละครั้งค่าใช้จ่ายตายตัว โดยการเลือกตั้ง ส.ส. จังหวัดสุรินทร์ จะใช้บุคลากรทั้งหมดประมาณ 23,000 คน งบประมาณจัดการเลือกตั้งจำนวน 31 ล้านบาท เป็นค่าตอบแทน ค่าเบี้ยเลี้ยง ค่าวัสดุอุปกรณ์ ค่าหีบบัตรเลือกตั้ง ทั้งนี้ กกต.สุรินทร์ตั้งเป้าผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้งไม่ต่ำกว่าร้อยละ 60
จังหวัดสุรินทร์มี 17 อำเภอ แบ่งเขตเลือกตั้งเป็น 8 เขต มีผู้มีสิทธ์เลือกตั้งประมาณ 1,022,000 คน และจะมีการเพิ่มชื่อ ถอนชื่อ ต้องไปดูผู้มีสิทธิ์ครั้งสุดท้ายก่อนการเลือกตั้ง 7 วัน ก็จะได้ตัวเลขที่แน่นอน แต่ ณ เวลานี้ผู้มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งมีทั้งหมด 1,032,950 คน มีจำนวนหน่วยเลือกตั้งทั้งสิ้น 2,127 หน่วยเลือกตั้ง
ส่วนการรณรงค์การเลือกตั้ง ส.ส.โดยทั่วไปได้ใช้สื่อมวลชนในการช่วยประชาสัมพันธ์ข่าว และ กกต.สุรินทร์ ได้แจ้งเป็นหนังสือราชการไปยังทุกส่วนราชการที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วน ให้ได้รับทราบ โดยเฉพาะองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อให้ทราบกำหนดการเลือกตั้ง จำนวน ส.ส. และการเลือกตั้งล่วงหน้า ทั้งในราชอาณาจักรและนอกราชอาณาจักร มีการประชาสัมพันธ์และพูดคุยกันไว้หมดแล้ว
ส่วนกรณีที่ กลุ่ม กปปส. ในจังหวัดๆต่างจะมายื่นหนังสือคัดค้านมิให้ดำเนินการจัดสถานที่เลือกตั้ง ในส่วนทางจังหวัดสุรินทร์ยังไม่มีข่าวดังกล่าวแต่อย่างใด แต่ถ้ามี กกต.จังหวัดสุรินทร์ พร้อมรับฟัง และทาง กกต.จังหวัดสุรินทร์ ได้มีการพูดคุยและมีการเตรียมการวางแผนรับมือเรียบร้อยแล้ว แต่คงจะแจ้งไม่ได้ว่าแผนในการปฏิบัติจะเป็นอย่างไร เพราะเป็นความลับของทางราชการ อย้างไรก็ตาม กกต.จังหวัดสุรินทร์ ได้มีการพูดคุยกับประธาน กปปส.สุรินทร์ ให้ทราบบทบาทหน้าที่ของแต่ละฝ่าย ซึ่งต่างทำหน้าที่ของตนเอง โดย กปปส.ก็มีบทบาทหน้าที่ของกปปส. ในส่วนของ กกต.จังหวัดสุรินทร์ ก็ต้องทำหน้าที่จัดการเลือกตั้ง ส.ส. ตามกฎหมาย ส่วนการประท้วงหรือไม่เป็นสิทธิตามรัฐธรรมนูญ แต่ต้องอยู่ในพื้นฐานความสงบเรียบร้อย อย่างไรก็ตามต้องขอบคุณ กปปส.สุรินทร์ที่ประท้วงแบอารยะขัดขืน แต่ไม่ได้สร้างความวุ่นวาย และไม่กระทบต่อคนที่มีความคิดต่างทางการเมืองถือว่าเป็นเรื่องที่ดี
ส่วนงบประมาณจัดการเลือกตั้ง ส.ส. เมื่อปี พ.ศ.2554 ใช้งบประมาณจำนวน 31 ล้านบาท คาดว่าการจัดการเลือกตั้งครั้งนี้ จะใช้งบประมาณจัดการเลือกตั้งเท่าเดิม เพราะการเลือกตั้งแต่ละครั้งค่าใช้จ่ายตายตัว โดยการเลือกตั้ง ส.ส. จังหวัดสุรินทร์ จะใช้บุคลากรทั้งหมดประมาณ 23,000 คน งบประมาณจัดการเลือกตั้งจำนวน 31 ล้านบาท เป็นค่าตอบแทน ค่าเบี้ยเลี้ยง ค่าวัสดุอุปกรณ์ ค่าหีบบัตรเลือกตั้ง ทั้งนี้ กกต.สุรินทร์ตั้งเป้าผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้งไม่ต่ำกว่าร้อยละ 60
สมทรง เผือกผล ส.ปชส.สุรินทร์ / ข่าว
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น