ที่ห้องประชุมศูนย์การกีฬาแห่งประเทศไทยจังหวัด
นครราชสีมา ภายในสนามกีฬาเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา นายชยาวุธ จันทร
รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา
เป็นประธานในการประชุมการประกวดภาพสัญลักษณ์ในการแข่งขันกีฬาแห่งชาติ
ครั้งที่ 43 นครราชสีมาเกมส์ และกีฬาคนพิการแห่งชาติ ครั้งที่ 33
โคราชเกมส์
ท่ามกลางคณะกรรมการที่ประกอบไปด้วยผู้เชี่ยวชาญด้านศิลปะและการออกแบบจาก
สถานศึกษาหลายแห่ง และผู้เกี่ยวข้องจากหลายภาคส่วนเข้าร่วม
เพื่อทำการพิจารณาผลงานที่มีผู้ส่งเข้าประกวดจากทั่วประเทศ
ตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ตั้งแต่ต้น โดยหลังการใช้เวลาพิจารณาและคัดเลือกร่วม 4
ชั่วโมง ผลการคัดเลือกในเบื้องต้นปรากฏว่า ในรายการกีฬาแห่งชาติ
สัญลักษณ์การแข่งขันหรือออฟฟิเชียลโลโก้ ที่มีผู้ส่งประกวดจำนวน 14 ชิ้น
คณะกรรมการเลือกผลงานของนายธัญกมล แพเกาะ ที่มีรูปย่าโมเด่นสง่า
และมีแบ็คกราวด์เป็นปราสาทหินพิมาย ได้รับรางวัลชนะเลิศ
แต่ที่ประชุมเสนอให้มีการปรับแก้ตัวเลขจำนวนครั้งที่ 43
ให้เป็นเลขไทยแทนเลขอารบิค
,ปรับเปลี่ยนลายปราสาทหินพิมายให้มีความชัดเจนในการสื่อความหมาย
และปรับฟอนท์ตัวหนังสือชื่อการแข่งขันให้มีความเป็นไทยมากยิ่งขึ้น
ส่วนแมสคอตหรือสัตว์นำโชค มีผู้ส่งประกวด 8 ชิ้น น้องสาธร
ผลงานของนายนิพิฐพล อุดดง ที่ใช้แมวสีสวาทในการออกแบบ
ด้วยการถือคบเพลิงมีเหรียญรางวัลห้อยคอ ในอาการร่าเริงดีใจ
ได้รับรางวัลชนะเลิศ โดยที่ประชุมเสนอให้ปรับแก้ให้สวมเสื้อผ้าในโทนแสดฟ้า
และเพิ่มรายละเอียดเช่น สัญยลักษณ์การแข่งขันเข้าไปในเสื้อและเหรียญรางวัล
และสุดท้ายคำขวัญ หรือสโลแกน มีผู้ส่งเข้าประกวด 9ชิ้น
คณะกรรมการเลือกผลงานของนายศุภชัย วงษ์บุตร ที่ใช้คำว่า กีฬาดี มีสามัคคี
มีมิตรไมตรี มีพลัง และใช้ภาษาอังกฤษว่า เกรทออฟเดอะสปิริตเกมส์
ได้รับรางวัลชนะเลิศ แต่ให้ปรับแก้เป็น กีฬา สามัคคี มิตรไมตรี มีพลัง
พร้อมให้ดำเนินการตรวจสอบกับผู้เชี่ยวชาญด้านภาษาอีกครั้ง
ว่าภาษาไทยกับอังกฤษเหมาะสมกันหรือไม่
ส่วนรางวัลรองชนะเลิศเป็นผลงานของนายธัญกมล แพเกาะ ที่ใช้คำว่า
มิตรภาพสู่ความสำเร็จ เฟรนด์ชิพรีเลย์ชั่นซัคเซส
ขณะที่ในรายการกีฬาคนพิการแห่งชาติ สัญลักษณ์การแข่งขันหรือออฟฟิเชียลโลโก้
ที่มีผู้ส่งประกวดจำนวน 20 ชิ้น คณะกรรมการเลือกผลงานของนายพิษณุ
พัฒนสุทธิชลกุล ชนะเลิศ ซึ่งมีย่าโมเป็นจุดเด่น
พร้อมทั้งริ้วเส้นด้านล่างที่เป็นลายผ้าไหม
และมีลายเส้นพริ้วไหวเป็นเลขสามสิบสามที่หมายถึงจำนวนครั้งของการแข่งขัน
และมีลักษณะเป็นนักกีฬาอยู่บนวีลแชร์
โดยที่ประชุมได้เสนอให้ปรับแก้ฟอนท์ให้มีความเป็นไทยมากขึ้น
ปรับสีให้เข้ากับสีจังหวัดและสีของการแข่งขัน
รวมทั้งนำภาพริ้วสีที่ประกอบเป็นนักกีฬาบนวีลแชร์
มาใส่เพิ่มเติมลงในเลขสามสิบสามให้กลมกลืนกัน ด้านแมสคอตมีผู้ส่งเข้าประกวด
4 ชิ้น ผลงานชนะเลิศชื่อ เจ้าคารม เป็นของนายนิพิฐพล อุดดง ที่นำนกเขาคารม
นกเขาที่มีถิ่นกำเนิดจากนครราชสีมา มาใช้ออกแบบ ในท่าทางดีใจ
มีเหรียญรางวัลห้อยที่คอ แต่ยังต้องปรับแก้ให้สามารถถือคบเพลิงไว้ในมือได้
เพื่อให้สื่อถึงเกมการแข่งขันมากขึ้น
และปรับลักษณะท่าทางให้เหมาสะมต่อการนำไปใช้งานจริงมากกว่านี้
และสุดท้ายคำขวัญประจำการแข่งขัน มีผู้ส่งประกวด 4 ชิ้น ชนะเลิศเป็นของ
นายธัญกมล แพเกาะ ใช้คำว่า แรงกาย แรงใจ แรงศรัทธา และภาษาอังกฤษว่า
เวย์ทูเดอะเฟธฟูล
ซึ่งคณะกรรมการกำชับให้ดำเนินการตรวจสอบกับผู้เชี่ยวชาญทางภาษาอีกครั้งว่า
ทั้งสองภาษาเหมาะสมกันหรือไม่ ส่วนรางวัลรองชนะเลิศไม่มีผู้ได้รับเลือก
เนื่องจากยังไม่ผ่านเกณฑ์ของคระกรรมการ
โดยหลังจากนี้จะได้มีการเชิญเจ้าของผลงานที่ได้รับเลือกมารับทราบผลการ
ตัดสิน และแนวทางการปรับแก้ให้เป็นไปตามมติที่ประชุม
พร้อมนำเรื่องรายงานต่อที่ประชุมคระกรรมการกีฬาจังหวัด
เพื่อดำเนินการตามขั้นตอน ก่อนจะประกาศผลการตัดสิน
และรูปแบบของภาพสัญลักษณ์ทั้งหมดที่สมบูรณ์อย่างเป็นทางการอีกครั้ง
จากนั้นจึงจะสามารถนำเสนอเพื่อประชาสัมพันธ์ได้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น