วันนี้ (18 สิงหาคม 2556) เวลา 08.30 น. นายพงศธร สัจจชลพันธ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดบึงกาฬ ได้นำหัวหน้าส่วนราชการต่างๆ ออกบริการประชาชนตามโครงการ "หน่วยบำบัดทุกข์ บำรุงสุข สร้างรอยยิ้มให้ประชาชน” ณ โรงเรียนบ้านเหล่าทองหลาง ตำบลเหล่าทอง อำเภอโซ่พิสัย จังหวัดบึงกาฬ ทั้งนี้โดยมีนายชัยวัฒน์ โอชนานนท์ นายอำเภอโซ่พิสัย พร้อมหัวหน้าส่วนราชการในระดับอำเภอพรเจริญทุกหน่วยงาน และ พี่น้องประชาชนชาวตำบลเหล่าทอง อำเภอโซ่พิสัย จำนวนประมาณ1,000 คน มาร่วมต้อนรับและมารับบริการต่างๆ จากหน่วยงานของจังหวัดบึงกาฬ
นายอำเภอโซ่พิสัยได้รายงานข้อมูลของอำเภอโซ่พิสัยให้ผู้ว่าราชการจังหวัดบึงกาฬรับทราบว่า อำเภอโซ่พิสัยตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงไต้ของจังหวัดบึงกาฬ มีพื้นที่ประมาณ 98,5262ตารางกิโลเมตรอยู่ห่างจากจังหวัดบึงกาฬ 92 กิโลเมตร ประวัติความเป็นมาของอำเภอคำว่า "โซ่” หมายถึงชนเผ่าหนึ่งที่อพยพจากทางภาคเหนือของสปป.ลาว ได้เข้ามาอาศัยอยู่ในพื้นที่ปัจจุบัน ประมาณ 250 ปี โดยชนกลุ่มดังกล่าวเรียกตนเองว่าชาวโซ่หรือไทโซ่ เดิมบ้านโซ่ขึ้นตรงต่อเมืองโพนพิสัย จนสมัยรัชกาลที่ 5 บ้านโซ่ได้รับยกระดับฐานะเป็นตำบลและเป็นกิ่งอำเภอโซ่พิสัยจนปัจจุบันเป็นอำเภอโซ่พิสัย ตามลำดับ ประชากรทั้งหมดของอำเภอโซ่พิสัย 68,434 คน ชาย 36,625 คน หญิง 31,809 คน แบ่งเขตการปกครองออกเป็น 7 ตำบล 95 หมู่บ้าน ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมโดยมีพื้นที่ทำการเกษตรทั้งสิ้น 250,504 ไร่ แบ่งเป็นพื้นที่ทำนา 92,000 ไร่ พื้นที่ปลูกยางพารา 126,000 ไร่ พื้นที่เปิดกรีดแล้ว 85,000 ไร่ จากผลการทำ SWOT analysis อำเภอโซ่พิสัย มีจุดแข็งคือ มีการปลูกพืชเศรษฐกิจยางพาราจำนวนมาก มีเงินหมุนเวียนในชุมชนจำนวนมาก ประชาชนมีความรัก ความสามัคคี และขยันขันแข็ง มีสถาบันการศึกษาในพื้นที่อย่างทั่วถึง มีกลุ่มผลิตภัณฑ์ชุมชน(OTOP) มีจุดอ่อนคือ ระบบชลประทานไม่เพียงพอ มีการบุกรุกที่สาธารณะ ขาดที่ดินทำกิน/ไม่มีเอกสารสิทธิ การคมนาคม การเดินทางและการขนส่งไม่สะดวก เกษตรกรขาดความรู้ในการใช้สารเคมีเพื่อการเกษตรอย่างถูกวิธี คุณภาพและมาตรฐานการเกษตรยังต่ำ โอกาสในการพัฒนาคือ การส่งเสริมอุตสาหกรรมยางพารา นโยบายส่งเสริมพัฒนาอาชีพและผลิตภัณฑ์ชุมชน (OTOP) นโยบายส่งเสริมเศรษฐกิจพอเพียง ภัยคุกคามและอุปสรรคในการพัฒนาคือ ราคาสินค้าทางการเกษตรตกต่ำ ต้นทุนการผลิตสูง ภัยธรรมชาติ ค่านิยมในการบริโภค ปัญหาการติดยาเสพติด นอกจากนี้แล้วยังได้นำเสนอปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนคือ ขาดแหล่งน้ำเพื่อการเกษตรในฤดูแล้ง ถนนชำรุด การเดินทาง/ขนส่งสินค้าไม่สะดวก ขาดที่ดินทำกิน/ที่ไม่มีเอกสารสิทธิ์ การว่างงาน/การอพยพแรงงานในฤดูแล้ง ค่านิยมวัฒนธรรมประเพณี ขัดต่อหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
ผู้ว่าราชการจังหวัดบึงกาฬรับที่จะนำปัญหาความเดือนร้อนต่างๆ ของราษฎรไปแก้ไขกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้เร็วที่สุด ขณะเดียวกันผู้ว่าราชการจังหวัดบึงกาฬยังได้ฝากพี่น้องราษฎรให้ร่วมกันพัฒนาหมู่บ้าน โดยอาศัย "แผนชุมชน” ในการเข้าจัดการภายในหมู่บ้านแผนชุมชน คือ แผนที่รวบรวมข้อมูลความต้องการ ปัญหา ทางแก้ไขที่ประชาชนทุกคนจะต้องระดมสมองคิดขึ้นมา ทุกคนต้องยอมรับว่า ในหมู่บ้านมีปัญหา และต้องหาทางแก้ปัญหาร่วมกัน โดยการนำมาคุยกันในชุมชนว่า ตัวเราเองจะทำอะไรได้บ้างในการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น หากเกินกำลังจึงค่อยขอรับการสนับสนุนจากหน่วยงานต่างๆ ต่อไป ทั้งนี้โดยยึดหลักการประชาธิปไตยในการจัดทำ แผนชุมชน
นายอำเภอโซ่พิสัยได้รายงานข้อมูลของอำเภอโซ่พิสัยให้ผู้ว่าราชการจังหวัดบึงกาฬรับทราบว่า อำเภอโซ่พิสัยตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงไต้ของจังหวัดบึงกาฬ มีพื้นที่ประมาณ 98,5262ตารางกิโลเมตรอยู่ห่างจากจังหวัดบึงกาฬ 92 กิโลเมตร ประวัติความเป็นมาของอำเภอคำว่า "โซ่” หมายถึงชนเผ่าหนึ่งที่อพยพจากทางภาคเหนือของสปป.ลาว ได้เข้ามาอาศัยอยู่ในพื้นที่ปัจจุบัน ประมาณ 250 ปี โดยชนกลุ่มดังกล่าวเรียกตนเองว่าชาวโซ่หรือไทโซ่ เดิมบ้านโซ่ขึ้นตรงต่อเมืองโพนพิสัย จนสมัยรัชกาลที่ 5 บ้านโซ่ได้รับยกระดับฐานะเป็นตำบลและเป็นกิ่งอำเภอโซ่พิสัยจนปัจจุบันเป็นอำเภอโซ่พิสัย ตามลำดับ ประชากรทั้งหมดของอำเภอโซ่พิสัย 68,434 คน ชาย 36,625 คน หญิง 31,809 คน แบ่งเขตการปกครองออกเป็น 7 ตำบล 95 หมู่บ้าน ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมโดยมีพื้นที่ทำการเกษตรทั้งสิ้น 250,504 ไร่ แบ่งเป็นพื้นที่ทำนา 92,000 ไร่ พื้นที่ปลูกยางพารา 126,000 ไร่ พื้นที่เปิดกรีดแล้ว 85,000 ไร่ จากผลการทำ SWOT analysis อำเภอโซ่พิสัย มีจุดแข็งคือ มีการปลูกพืชเศรษฐกิจยางพาราจำนวนมาก มีเงินหมุนเวียนในชุมชนจำนวนมาก ประชาชนมีความรัก ความสามัคคี และขยันขันแข็ง มีสถาบันการศึกษาในพื้นที่อย่างทั่วถึง มีกลุ่มผลิตภัณฑ์ชุมชน(OTOP) มีจุดอ่อนคือ ระบบชลประทานไม่เพียงพอ มีการบุกรุกที่สาธารณะ ขาดที่ดินทำกิน/ไม่มีเอกสารสิทธิ การคมนาคม การเดินทางและการขนส่งไม่สะดวก เกษตรกรขาดความรู้ในการใช้สารเคมีเพื่อการเกษตรอย่างถูกวิธี คุณภาพและมาตรฐานการเกษตรยังต่ำ โอกาสในการพัฒนาคือ การส่งเสริมอุตสาหกรรมยางพารา นโยบายส่งเสริมพัฒนาอาชีพและผลิตภัณฑ์ชุมชน (OTOP) นโยบายส่งเสริมเศรษฐกิจพอเพียง ภัยคุกคามและอุปสรรคในการพัฒนาคือ ราคาสินค้าทางการเกษตรตกต่ำ ต้นทุนการผลิตสูง ภัยธรรมชาติ ค่านิยมในการบริโภค ปัญหาการติดยาเสพติด นอกจากนี้แล้วยังได้นำเสนอปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนคือ ขาดแหล่งน้ำเพื่อการเกษตรในฤดูแล้ง ถนนชำรุด การเดินทาง/ขนส่งสินค้าไม่สะดวก ขาดที่ดินทำกิน/ที่ไม่มีเอกสารสิทธิ์ การว่างงาน/การอพยพแรงงานในฤดูแล้ง ค่านิยมวัฒนธรรมประเพณี ขัดต่อหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
ผู้ว่าราชการจังหวัดบึงกาฬรับที่จะนำปัญหาความเดือนร้อนต่างๆ ของราษฎรไปแก้ไขกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้เร็วที่สุด ขณะเดียวกันผู้ว่าราชการจังหวัดบึงกาฬยังได้ฝากพี่น้องราษฎรให้ร่วมกันพัฒนาหมู่บ้าน โดยอาศัย "แผนชุมชน” ในการเข้าจัดการภายในหมู่บ้านแผนชุมชน คือ แผนที่รวบรวมข้อมูลความต้องการ ปัญหา ทางแก้ไขที่ประชาชนทุกคนจะต้องระดมสมองคิดขึ้นมา ทุกคนต้องยอมรับว่า ในหมู่บ้านมีปัญหา และต้องหาทางแก้ปัญหาร่วมกัน โดยการนำมาคุยกันในชุมชนว่า ตัวเราเองจะทำอะไรได้บ้างในการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น หากเกินกำลังจึงค่อยขอรับการสนับสนุนจากหน่วยงานต่างๆ ต่อไป ทั้งนี้โดยยึดหลักการประชาธิปไตยในการจัดทำ แผนชุมชน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น