วันนี้ (31 ธ.ค.56) เวลา 10.00 น. นายชยาวุธ จันทร รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา เป็นประธานการประชุมปรับยุทธศาสตร์ประจำวันช่วงเทศกาลปีใหม่ 2557 ณ ศูนย์ปฏิบัติการร่วมป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลปีใหม่ พ.ศ.2557 (ห้องประชุมมูลนิธิท้าวสุรนารี) ศาลากลางจังหวัดนครราชสีมา ชั้น 1 เพื่อรับทราบผลการดำเนินงานป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลปีใหม่ 2557 จากทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ การด้านการบังคับใช้กฎหมาย ด้านวิศวกรรมจราจร การแพทย์ฉุกเฉิน พร้อมประเมินสถานการณ์ เพื่อปรับยุทธศาสตร์การปฏิบัติงานประจำวัน เพื่ออำนวยความสะดวกและรักษาชีวิต ทรัพย์สินของประชาชน
นายกฤชเพชร เพชระบูรณิน หัวหน้าสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดนครราชสีมา ได้รายงานการเกิดอุบัติเหตุประจำวันที่ 30 ธันวาคม 2556 มีอุบัติเหตุเกิดขึ้น 14 ครั้ง เป็นอุบัติเหตุย่อย 13 ครั้ง อุบัติเหตุใหญ่ 1 ครั้ง มีผู้บาดเจ็บ 19 คน เสียชีวิต 1คน รวม 4 วัน (27-30 ธ.ค.56) มีอุบัติเหตุเกิดขึ้น รวม 65 ครั้ง มีผู้เสียชีวิตรวม 13 คน เป็นชาย 11 คน หญิง 2 คน มีผู้บาดเจ็บ รวม 80 คน เป็นชาย 59 คน หญิง 21 คน ด้านการปฏิบัติการเรียกตรวจ ตามมาตรการเพื่อดำเนินคดี ได้แก่ ไม่สวมหมวกนิรภัย จักรยานไม่ปลอดภัย เมาสุรา ไม่คาดเข็มขัดนิรภัย ไม่มีใบอนุญาตขับขี่ ความเร็วเกินกำหนด ฝ่าฝืนสัญญาณไฟจราจร ขับรถย้อนศร แซงในที่คับขัน ใช้โทรศัพท์ขณะขับรถ รวมผู้กระทำผิด จำนวน 24,783 คัน สำหรับอุบัติเหตุจราจรที่เกิดขึ้นมีพฤติกรรมเสี่ยง เมาสุรา ขับรถเร็ว ตัดหน้ากระชั้นชิด มีสิ่งกีดขวาง ชนิดยานพาหนะที่เกิดเหตุส่วนใหญ่เป็นรถจักรยานยนต์ เกิดขึ้นบนถนนสายตรง รองลงมาเป็นเส้นทางหลวง ทางอบต.ในหมู่บ้าน ส่วนช่วงเวลาที่เกิดอุบัติเหตุ ส่วนใหญ่ระหว่างเวลา 12.00 – 16.00 นาฬิกา
นายชยาวุธ จันทร รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา ประธานการประชุม รับทราบรายงานอุบัติเหตุจราจรช่วงเทศกาลปีใหม่ 2557 พร้อมกำชับให้อำเภอ ตำรวจ และสาธารณสุข ร่วมกันตรวจสอบร้านค้าในสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงให้ปฏิบัติตาม พ.ร.บ. ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2551 และแก้ไขเพิ่มเติมเป็นพิเศษ ให้ทุกอำเภอประชุมคณะกรรมการศูนย์ระดับอำเภอเพื่อเตรียมความพร้อมอำนวยการจราจรในช่วงขากลับ โดยประสานงานกับตำรวจภูธร ตำรวจทางหลวง และหมวดการทางในพื้นที่ ตลอดจนอาสาสมัคร และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รวมทั้งเตรียมกำลังพล วัสดุอุปกรณ์ เพื่อสนับสนุนการระบายการจราจรขาล่อง จุดตรวจ/จุดบริการประชาชนขาขึ้น ควรปรับเปลี่ยนมาตั้งในเส้นทางขาล่อง ตามความเหมาะสมกับสภาพพื้นที่ ให้อำเภอเน้นย้ำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กำนัน ผู้ใหญ่บ้านและผู้นำชุมชน เข้มงวดการตั้งจุดตรวจ จุดสกัดประจำชุมชนหมู่บ้าน โดยเฉพาะเส้นทางออกจากชุมชนสู่ถนนหลัก เพื่อกวดขันดูแลเยาวชนกลุ่มเสี่ยงในพื้นที่ให้ขับขี่ยานพาหนะด้วยความระมัดระวัง โดยเฉพาะผู้ที่มีพฤติกรรมขับขี่ด้วยความคึกคะนอง ไม่สวมหมวกนิรภัย เมาไม่ขับ
นายกฤชเพชร เพชระบูรณิน หัวหน้าสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดนครราชสีมา ได้รายงานการเกิดอุบัติเหตุประจำวันที่ 30 ธันวาคม 2556 มีอุบัติเหตุเกิดขึ้น 14 ครั้ง เป็นอุบัติเหตุย่อย 13 ครั้ง อุบัติเหตุใหญ่ 1 ครั้ง มีผู้บาดเจ็บ 19 คน เสียชีวิต 1คน รวม 4 วัน (27-30 ธ.ค.56) มีอุบัติเหตุเกิดขึ้น รวม 65 ครั้ง มีผู้เสียชีวิตรวม 13 คน เป็นชาย 11 คน หญิง 2 คน มีผู้บาดเจ็บ รวม 80 คน เป็นชาย 59 คน หญิง 21 คน ด้านการปฏิบัติการเรียกตรวจ ตามมาตรการเพื่อดำเนินคดี ได้แก่ ไม่สวมหมวกนิรภัย จักรยานไม่ปลอดภัย เมาสุรา ไม่คาดเข็มขัดนิรภัย ไม่มีใบอนุญาตขับขี่ ความเร็วเกินกำหนด ฝ่าฝืนสัญญาณไฟจราจร ขับรถย้อนศร แซงในที่คับขัน ใช้โทรศัพท์ขณะขับรถ รวมผู้กระทำผิด จำนวน 24,783 คัน สำหรับอุบัติเหตุจราจรที่เกิดขึ้นมีพฤติกรรมเสี่ยง เมาสุรา ขับรถเร็ว ตัดหน้ากระชั้นชิด มีสิ่งกีดขวาง ชนิดยานพาหนะที่เกิดเหตุส่วนใหญ่เป็นรถจักรยานยนต์ เกิดขึ้นบนถนนสายตรง รองลงมาเป็นเส้นทางหลวง ทางอบต.ในหมู่บ้าน ส่วนช่วงเวลาที่เกิดอุบัติเหตุ ส่วนใหญ่ระหว่างเวลา 12.00 – 16.00 นาฬิกา
นายชยาวุธ จันทร รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา ประธานการประชุม รับทราบรายงานอุบัติเหตุจราจรช่วงเทศกาลปีใหม่ 2557 พร้อมกำชับให้อำเภอ ตำรวจ และสาธารณสุข ร่วมกันตรวจสอบร้านค้าในสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงให้ปฏิบัติตาม พ.ร.บ. ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2551 และแก้ไขเพิ่มเติมเป็นพิเศษ ให้ทุกอำเภอประชุมคณะกรรมการศูนย์ระดับอำเภอเพื่อเตรียมความพร้อมอำนวยการจราจรในช่วงขากลับ โดยประสานงานกับตำรวจภูธร ตำรวจทางหลวง และหมวดการทางในพื้นที่ ตลอดจนอาสาสมัคร และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รวมทั้งเตรียมกำลังพล วัสดุอุปกรณ์ เพื่อสนับสนุนการระบายการจราจรขาล่อง จุดตรวจ/จุดบริการประชาชนขาขึ้น ควรปรับเปลี่ยนมาตั้งในเส้นทางขาล่อง ตามความเหมาะสมกับสภาพพื้นที่ ให้อำเภอเน้นย้ำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กำนัน ผู้ใหญ่บ้านและผู้นำชุมชน เข้มงวดการตั้งจุดตรวจ จุดสกัดประจำชุมชนหมู่บ้าน โดยเฉพาะเส้นทางออกจากชุมชนสู่ถนนหลัก เพื่อกวดขันดูแลเยาวชนกลุ่มเสี่ยงในพื้นที่ให้ขับขี่ยานพาหนะด้วยความระมัดระวัง โดยเฉพาะผู้ที่มีพฤติกรรมขับขี่ด้วยความคึกคะนอง ไม่สวมหมวกนิรภัย เมาไม่ขับ
สุวาพร เสภาศีราภรณ์/เรียบเรียง
31 ธ.ค. 56 Com2
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น