นายนิรันดร์ กัลยาณมิตร ผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์ เปิดเผยว่า จังหวัดสุรินทร์มีสถานที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติและวัฒนธรรมที่สำคัญ ซึ่งผูกพันกับวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของคนพื้นเมืองมาอย่างยาวนานแห่งหนึ่ง คือ เขาสวาย หรือ พนมสวาย ตั้งอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติเขาสวาย ในพื้นที่ตำบลนาบัว อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ อยู่ห่างจากตัวเมืองสุรินทร์ประมาณ 20 กิโลเมตร มีลักษณะเป็นเนินเขาเตี้ยๆ ติดต่อกัน รอบๆ บริเวณมีเวิ้งน้ำใหญ่ มีทิวทัศน์สวยงาม พันธุ์ไม้หลากหลายชนิด และในช่วงเดือนกุมภาพันธ์-เมษายน ของทุกปี ต้นหมากหม้อหรือที่ชาวบ้านเรียกว่า ต้นอั๊ดจรู๊ก จะออกดอกบานสะพรั่งสวยงาม เขาสวายมียอดเขาที่สำคัญ 3 ยอด โดยยอดเขาที่ 1 พนมเปร๊าะ หรือเขาชาย สูงประมาณ 220 เมตร เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธสุรินทรมงคล, ปราสาทหินพนมสวายพร้อมบาราย 3 ลูก และเจดีย์ศิลาแลงโบราณ จำนวน 1 องค์ ยอดเขาที่ 2 พนมสรัย หรือเขาหญิง สูงประมาณ 210 เมตร ปัจจุบันเป็นที่ตั้งของวัดพนมศิลาราม และยังมีสระน้ำโบราณจำนวน 2 ลูกที่เชื่อว่าเป็นที่อยู่ของเต่าศักดิ์สิทธิ์จำนวน 2 ตัว ยอดเขาที่ 3 พนมกรอล หรือเขาคอก เป็นที่ตั้งศาลาอัฎฐมุข, ประดิษฐานรอยพระพุทธบาทจำลอง, สถูปบรรจุอัฐิหลวงปู่ดุล อตุโล และเป็นที่ตั้งศาลเจ้าแม่กวนอิม ส่วนชื่อเขาคอกนั้นได้มาจากอดีตบนเขาลูกนี้จะมีศิลาแลงวางเป็นชั้นๆ รูปทรงสี่เหลี่ยม สูงประมาณ 1 เมตร ลักษณะคล้ายคอก จึงเรียกกันว่า “เขาคอก”
เขาสวาย มีความสำคัญต่อชาวสุรินทร์มาตั้งแต่ครั้งโบราณกาล กล่าวคือ เมื่อถึงเดือนห้าของทุกปี บรรพบุรุษชาวสุรินทร์จะถือว่าเป็นงานประเพณีหยุดงาน ในภาษาเขมรเรียกว่า ตอม ภาษาลาวเรียกว่า ขลำ ภาษากวยเรียกว่า ตรัย ซึ่งการหยุดงานจะแบ่งออกเป็น 2 ช่วง คือ ช่วงที่ 1 ตอมตู๊จ ซึ่งหมายถึงวันหยุดงานเล็ก จะมีการหยุดงาน และทำงานเพียง 3 วัน นับตั้งแต่วันขึ้น 1 ค่ำ ถึงวันขึ้น 3 ค่ำ เดือน 5 ช่วงที่ 2 ช่วงตอมธม หมายถึง วันหยุดงานใหญ่ จะมีการหยุดทำงานทั้งหมด 7 วัน นับแต่วันแรม 1 ค่ำถึงแรม 7 ค่ำ เดือน 5 ซึ่งประเพณีการหยุดงานตามช่วงระยะเวลาดังกล่าว ชาวสุรินทร์มีความเชื่อว่าต้องหยุดการทำงานทั้งหมด หากใครไม่หยุดทำงานก็จะมีอันเป็นไป ประกอบกับในวันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 5 ของทุกปี ถือเป็นวันขึ้นปีใหม่ทางจันทรคติ ดังนั้น ชาวสุรินทร์จะหยุดงานและพากันเดินทางไปขึ้นเขาสวายเพื่อกราบไหว้สิ่งศักดิ์สิทธิ์เสริมสิริมงคลชีวิตต่อตนเองและครอบครัว และในปี 2549 การจัดงานประเพณีขึ้นเขาสวายได้เพิ่มกิจกรรมการสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ชาวสุรินทร์เคารพนับถือ เพื่อความเป็นสิริมงคล 9 สิ่ง ประกอบด้วย พระใหญ่หรือพระพุทธสุรินทรมงคล, รอยพระพุทธบาทจำลอง, อัฐิหลวงปู่ดุลย์ อตุโล, พระพุทธรูปองค์ดำ, หลวงปู่สวน, ปราสาทหินพนมสวาย, ศาลเจ้าแม่กวนอิม, เต่าหินศักดิ์สิทธิ์ และสระน้ำศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งหากกราบไหว้ครบทั้ง 9 สิ่งจะเป็นการเสริมสิริมงคลชีวิตได้เป็นอย่างดี
และทุกปีจังหวัดสุรินทร์ องค์การบริหารส่วนจังหวัดสุรินทร์ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ร่วมกันจัดงานประเพณีขึ้นเขาสวาย เพื่ออนุรักษ์ ฟื้นฟูวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณีอันดีงามของท้องถิ่น ซึ่งจะส่งเสริมงานประเพณีขึ้นเขาสวายให้เป็นงานประเพณีที่สำคัญและส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมที่จะสามารถท่องเที่ยวได้ตลอดทั้งปี อีกทั้งยังเป็นการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ประเพณีขึ้นเขาสวายให้เป็นที่รู้จักโดยทั่วไป และในปีนี้กำหนดจัดงาน ในวันที่ 31 มีนาคม 2557 (วันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 5 ของทุกปี) โดยมีกิจกรรมการสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจำเขาพนมสวายเพื่อความเป็นสิริมงคล 9 สิ่ง พร้อมชมขบวนแห่ที่สวยงามตระการตาจากชุมชนในเขตพื้นที่ตำบลนาบัวและพื้นที่ใกล้เคียงรวม 4 ตำบล ได้แก่ ตำบลนาบัว, ตำบลสวาย, ตำบลไพล, ตำบลประทัดบุ และการแสดงศิลปวัฒนธรรมพื้นเมืองสุรินทร์
จังหวัดสุรินทร์จึงขอเชิญชวนชาวสุรินทร์และนักท่องเที่ยวทุกท่านได้มาเที่ยวชมงานประเพณีขึ้นเขาสวาย ประจำปี 2557 และร่วมเคาะระฆัง 1,080 ใบ บนเขาสวายเพื่อความเป็นสิริมงคลแก่ตนเองและครอบครัว ในวันที่ 31 มีนาคม 2557 ตั้งแต่เวลา 08.30 น. เป็นต้นไป ณ บริเวณวนอุทยานพนมสวาย ตำบลนาบัว อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์
เขาสวาย มีความสำคัญต่อชาวสุรินทร์มาตั้งแต่ครั้งโบราณกาล กล่าวคือ เมื่อถึงเดือนห้าของทุกปี บรรพบุรุษชาวสุรินทร์จะถือว่าเป็นงานประเพณีหยุดงาน ในภาษาเขมรเรียกว่า ตอม ภาษาลาวเรียกว่า ขลำ ภาษากวยเรียกว่า ตรัย ซึ่งการหยุดงานจะแบ่งออกเป็น 2 ช่วง คือ ช่วงที่ 1 ตอมตู๊จ ซึ่งหมายถึงวันหยุดงานเล็ก จะมีการหยุดงาน และทำงานเพียง 3 วัน นับตั้งแต่วันขึ้น 1 ค่ำ ถึงวันขึ้น 3 ค่ำ เดือน 5 ช่วงที่ 2 ช่วงตอมธม หมายถึง วันหยุดงานใหญ่ จะมีการหยุดทำงานทั้งหมด 7 วัน นับแต่วันแรม 1 ค่ำถึงแรม 7 ค่ำ เดือน 5 ซึ่งประเพณีการหยุดงานตามช่วงระยะเวลาดังกล่าว ชาวสุรินทร์มีความเชื่อว่าต้องหยุดการทำงานทั้งหมด หากใครไม่หยุดทำงานก็จะมีอันเป็นไป ประกอบกับในวันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 5 ของทุกปี ถือเป็นวันขึ้นปีใหม่ทางจันทรคติ ดังนั้น ชาวสุรินทร์จะหยุดงานและพากันเดินทางไปขึ้นเขาสวายเพื่อกราบไหว้สิ่งศักดิ์สิทธิ์เสริมสิริมงคลชีวิตต่อตนเองและครอบครัว และในปี 2549 การจัดงานประเพณีขึ้นเขาสวายได้เพิ่มกิจกรรมการสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ชาวสุรินทร์เคารพนับถือ เพื่อความเป็นสิริมงคล 9 สิ่ง ประกอบด้วย พระใหญ่หรือพระพุทธสุรินทรมงคล, รอยพระพุทธบาทจำลอง, อัฐิหลวงปู่ดุลย์ อตุโล, พระพุทธรูปองค์ดำ, หลวงปู่สวน, ปราสาทหินพนมสวาย, ศาลเจ้าแม่กวนอิม, เต่าหินศักดิ์สิทธิ์ และสระน้ำศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งหากกราบไหว้ครบทั้ง 9 สิ่งจะเป็นการเสริมสิริมงคลชีวิตได้เป็นอย่างดี
และทุกปีจังหวัดสุรินทร์ องค์การบริหารส่วนจังหวัดสุรินทร์ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ร่วมกันจัดงานประเพณีขึ้นเขาสวาย เพื่ออนุรักษ์ ฟื้นฟูวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณีอันดีงามของท้องถิ่น ซึ่งจะส่งเสริมงานประเพณีขึ้นเขาสวายให้เป็นงานประเพณีที่สำคัญและส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมที่จะสามารถท่องเที่ยวได้ตลอดทั้งปี อีกทั้งยังเป็นการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ประเพณีขึ้นเขาสวายให้เป็นที่รู้จักโดยทั่วไป และในปีนี้กำหนดจัดงาน ในวันที่ 31 มีนาคม 2557 (วันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 5 ของทุกปี) โดยมีกิจกรรมการสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจำเขาพนมสวายเพื่อความเป็นสิริมงคล 9 สิ่ง พร้อมชมขบวนแห่ที่สวยงามตระการตาจากชุมชนในเขตพื้นที่ตำบลนาบัวและพื้นที่ใกล้เคียงรวม 4 ตำบล ได้แก่ ตำบลนาบัว, ตำบลสวาย, ตำบลไพล, ตำบลประทัดบุ และการแสดงศิลปวัฒนธรรมพื้นเมืองสุรินทร์
จังหวัดสุรินทร์จึงขอเชิญชวนชาวสุรินทร์และนักท่องเที่ยวทุกท่านได้มาเที่ยวชมงานประเพณีขึ้นเขาสวาย ประจำปี 2557 และร่วมเคาะระฆัง 1,080 ใบ บนเขาสวายเพื่อความเป็นสิริมงคลแก่ตนเองและครอบครัว ในวันที่ 31 มีนาคม 2557 ตั้งแต่เวลา 08.30 น. เป็นต้นไป ณ บริเวณวนอุทยานพนมสวาย ตำบลนาบัว อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์
สมทรง เผือกผล ส.ปชส.สุรินทร์ /ข่าว
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น