นายพิภพ ดำทองสุข รองผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์ ได้รับแจ้งจากกรมตุนิยมวิทยา
ว่าด้วยจังหวัดสุรินทร์ ติดตามตรวจสอบสภาวะอากาศกับกรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์คาดการณ์ อากาศประจำวันที่ 29 กันยายน 2556 พายุไต้ฝุ่น “หวู่ติ๊บ” (WUTIP) บริเวณทะเลจีนใต้ตอนกลาง มีศูนย์กลางอยู่ห่างประมาณ 550 กิโลเมตรทางตะวันออกของเมืองเว้ (HUE) ประเทศเวียดนาม คาดว่าจะขึ้นฝั่งที่ประเทศเวียดนามตอนบน ในวันที่ 1 ตุลาคม 2556 ซึ่งจะส่งผลกระทบทำให้ด้านตะวันออกของภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยมีฝนเพิ่มมากขึ้น และมีฝนตกหนักบางแห่ง อนึ่ง ร่องมรสุมยังคงพาดผ่านภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ทำให้บริเวณดังกล่าวมีฝนตกชุก และมีฝนตกหนักบางแห่ง โดยเฉพาะบริเวณจังหวัดอุทัยธานี ลพบุร สระบุรี นครราชสีมา บุรีรัมย์ และศรีสะเกษ จึงขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนตกหนักที่เกิดขึ้นในระยะนี้ไว้ด้วย
จังหวัดสุรินทร์ จึงขอแจ้งเตือนประชาชนและเกษตรกรในพื้นที่เสี่ยงภัยของ
จังหวัด ทราบเกี่ยวกับภัยอันเกิดจากสภาวะอากาศแปรปรวน ซึ่งเป็นลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโซกแรง และอาจมีลูกเห็บตกจะสร้างความเสียหายแก่ชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนและเกษตรกร บ้านเรือน โรงเรือนและพืชผลทางการเกษตร ให้เตรียมการป้องกันระมัดระวัง อันตรายจากภัยธรรมชาติ ในระยะ 2-3 วันนี้ (29 กันยายน – 1 ตุลาคม 2556) รวมถึงงดใช้เครื่องมือสื่อสาร โทรศัพท์มือถือในที่โล่งแจ้งขณะเกิดฝนฟ้าคะนอง
เกณฑ์ของพายุ
1. พายุใต้ฝุ่น มีความเร็วลม 118 กม./ชม. ขึ้นไป จะก่อให้เกิดลมพัดอย่างรุนแรง มีฝนตกหนักมาก มีคลื่นซัดชายฝั่ง ทำให้บ้านเรือน สิ่งก่อสร้าง ต้นไม้ เกิดความเสียหายในวงกว้าง ส่วนใหญ่จะเกิดบริเวณมหาสมุทรแปซิฟิก ประเทศฟิลิปปินส์ และ เวียดนาม
2. พายุโซนร้อน มีความเร็ว 63-117 กม./ชม. ก่อให้เกิดฝนตกหนัก ลมพัดรุนแรง บ้านเรือน สิ่งก่อสร้างเสียหาย ส่วนใหญ่เกิดบริเวณประเทศเวียดนาม และ ลาว
3. พายุดีเพรสชั่น มีความเร็วลมน้อยกว่า 63 กม./ชม. เกิดฝนตกหนักติดต่อกัน นาน 4-5 วัน เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก น้ำเอ่อล้นตลิ่ง บ้านเรือนที่ไม่แข็งแรงจะเสียหาย ส่วนใหญ่เกิดในประเทศไทย
หมายเหตุ : “ใต้ฝุ่น” จะเริ่มก่อตัวกลางหมาสมุทรแปซิฟิก แล้วเคลื่อนตัวสู่ฝั่งอ่อนแรงกลายเป็น “โซนร้อน” และอ่อนแรง เป็น “ดีเพรสชั่น” ตามลำดับ
(ผู้อำนวยการ สถานีอุตุนิยมวิทยา สุรินทร์ นายอำพร ศรีประจันทร์ โทรศัพท์ 086-8730721)
กรรณิกา สำราญจริง/ส.ปชส.สุรินทร์/ข่าว
ว่าด้วยจังหวัดสุรินทร์ ติดตามตรวจสอบสภาวะอากาศกับกรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์คาดการณ์ อากาศประจำวันที่ 29 กันยายน 2556 พายุไต้ฝุ่น “หวู่ติ๊บ” (WUTIP) บริเวณทะเลจีนใต้ตอนกลาง มีศูนย์กลางอยู่ห่างประมาณ 550 กิโลเมตรทางตะวันออกของเมืองเว้ (HUE) ประเทศเวียดนาม คาดว่าจะขึ้นฝั่งที่ประเทศเวียดนามตอนบน ในวันที่ 1 ตุลาคม 2556 ซึ่งจะส่งผลกระทบทำให้ด้านตะวันออกของภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยมีฝนเพิ่มมากขึ้น และมีฝนตกหนักบางแห่ง อนึ่ง ร่องมรสุมยังคงพาดผ่านภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ทำให้บริเวณดังกล่าวมีฝนตกชุก และมีฝนตกหนักบางแห่ง โดยเฉพาะบริเวณจังหวัดอุทัยธานี ลพบุร สระบุรี นครราชสีมา บุรีรัมย์ และศรีสะเกษ จึงขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนตกหนักที่เกิดขึ้นในระยะนี้ไว้ด้วย
จังหวัดสุรินทร์ จึงขอแจ้งเตือนประชาชนและเกษตรกรในพื้นที่เสี่ยงภัยของ
จังหวัด ทราบเกี่ยวกับภัยอันเกิดจากสภาวะอากาศแปรปรวน ซึ่งเป็นลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโซกแรง และอาจมีลูกเห็บตกจะสร้างความเสียหายแก่ชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนและเกษตรกร บ้านเรือน โรงเรือนและพืชผลทางการเกษตร ให้เตรียมการป้องกันระมัดระวัง อันตรายจากภัยธรรมชาติ ในระยะ 2-3 วันนี้ (29 กันยายน – 1 ตุลาคม 2556) รวมถึงงดใช้เครื่องมือสื่อสาร โทรศัพท์มือถือในที่โล่งแจ้งขณะเกิดฝนฟ้าคะนอง
เกณฑ์ของพายุ
1. พายุใต้ฝุ่น มีความเร็วลม 118 กม./ชม. ขึ้นไป จะก่อให้เกิดลมพัดอย่างรุนแรง มีฝนตกหนักมาก มีคลื่นซัดชายฝั่ง ทำให้บ้านเรือน สิ่งก่อสร้าง ต้นไม้ เกิดความเสียหายในวงกว้าง ส่วนใหญ่จะเกิดบริเวณมหาสมุทรแปซิฟิก ประเทศฟิลิปปินส์ และ เวียดนาม
2. พายุโซนร้อน มีความเร็ว 63-117 กม./ชม. ก่อให้เกิดฝนตกหนัก ลมพัดรุนแรง บ้านเรือน สิ่งก่อสร้างเสียหาย ส่วนใหญ่เกิดบริเวณประเทศเวียดนาม และ ลาว
3. พายุดีเพรสชั่น มีความเร็วลมน้อยกว่า 63 กม./ชม. เกิดฝนตกหนักติดต่อกัน นาน 4-5 วัน เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก น้ำเอ่อล้นตลิ่ง บ้านเรือนที่ไม่แข็งแรงจะเสียหาย ส่วนใหญ่เกิดในประเทศไทย
หมายเหตุ : “ใต้ฝุ่น” จะเริ่มก่อตัวกลางหมาสมุทรแปซิฟิก แล้วเคลื่อนตัวสู่ฝั่งอ่อนแรงกลายเป็น “โซนร้อน” และอ่อนแรง เป็น “ดีเพรสชั่น” ตามลำดับ
(ผู้อำนวยการ สถานีอุตุนิยมวิทยา สุรินทร์ นายอำพร ศรีประจันทร์ โทรศัพท์ 086-8730721)
กรรณิกา สำราญจริง/ส.ปชส.สุรินทร์/ข่าว
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น