กิจกรรมงาน “มหัศจรรย์งานช้างสุรินทร์” ประจำปี 2556
จังหวัดสุรินทร์ได้กำหนดจัดงานมหัศจรรย์งานช้างสุรินทร์ ประจำปี ๒๕๕๖ ในระหว่างวันที่ ๘ – ๑๙ พฤศจิกายน ๒๕๕๖ ณ สนามกีฬาศรีณรงค์ โดยมีกิจกรรมที่สำคัญ ดังนี้
๑) การแสดงช้างจังหวัดสุรินทร์ ซึ่งถือเป็นไฮไลท์ของงาน นอกจากจะเป็นงานประจำปีของจังหวัดสุรินทร์แล้ว ยังเป็นงานประจำปีของชาติตามมติคณะรัฐมนตรีตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๐๕ โดยจัดติดต่อกันมาเป็นปีที่ ๕๓ แล้วปีนี้ การแสดงช้าง แสดงวันเสาร์ที่ ๑๖ และวันอาทิตย์ที่ ๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๖ ณ สนามแสดงช้าง ระหว่างเวลา ๐๙.๐๐ - ๑๒.๐๐ น. วันละ ๑ รอบ บัตรราคา ๑,๐๐๐ บาท, ๕๐๐ บาท, ๓๐๐ บาท (นั่งตามเลขที่นั่งตามบัตร) สอบถามรายละเอียดได้ที่ สำนักงานจังหวัดสุรินทร์ โทร. ๐-๔๔๕๑-๒๐๓๙ หรือ www.surin.go.th
๒) งานต้อนรับและเลี้ยงอาหารช้าง ได้แบ่งกิจกรรมออกเป็น ๒ กิจกรรม คือ
๒-๑) กิจกรรมการประกวดโต๊ะอาหารเลี้ยงช้าง ณ บริเวณอนุสาวรีย์พระยาสุรินทรภักดีศรีณรงค์จางวาง ในวันที่ 14 พฤศจิกายน ๒๕๕๖ เวลา ๑๗.๐๐ น. จะมีขบวนแห่รถอาหารช้างจากหน่วยงาน และสถาบันการศึกษาต่างๆ มาร่วมประกวดมากมาย
๒-๒) กิจกรรมการต้อนรับ และเลี้ยงอาหารช้างในวันที่ ๑๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๖ เวลา ๐๘.๐๐ น. มีการจัดโต๊ะอาหารเลี้ยงช้างความยาว ไม่ต่ำกว่า ๕๐๐ เมตร ใช้อาหารกว่า ๕๐ ตัน
๓) งานแสดง แสง สี เสียง “สืบสานตำนานพันปีปราสาทศีขรภูมิ” ชื่อชุด “ศิวนาฏยคีตาศรีศิขรินทราเทวาลัย” โดย โรงเรียนศีขรภูมิพิสัย ณ ปราสาทศีขรภูมิ อำเภอศีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์ ระหว่างวันที่ ๑๕ – ๑๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๖ เวลา ๑๙.๐๐ น. สอบถามรายละเอียดได้ที่สำนักงานเทศบาลตำบลศีขรภูมิ โทร. ๐-๔๔๕๖-๑๒๔๓ (วันที่ ๑๕ พ.ย. ๕๖ จำหน่ายบัตรที่นั่งชมการแสดง (เก้าอี้) ราคา ๑๐๐ บาท และวันที่ ๑๖ พ.ย. ๕๖ จำหน่ายบัตรนั่งชมการแสดงเป็นโต๊ะจีน ราคา ๒,๙๐๐ บาท มีอาหารรับประทาน (๘ ท่าน/โต๊ะ)
๔) การจัดนิทรรศการ ของส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ และภาคเอกชน
๕) กิจกรรมการแสดงและจำหน่ายผลิตผลของเกษตรกรและชุมชน สินค้าหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ ที่มีคุณภาพดี เช่น ข้าวหอมมะลิอินทรีย์ ผ้าไหมทอมือ เครื่องจักสาน สินค้าจากภูมิปัญญา และของที่ระลึกฯลฯ
๖) กิจกรรมการประกวดของดีเมืองสุรินทร์และผลิตผลทางการเกษตร เช่น มะพร้าวน้ำหอม กล้วยน้ำว้า ข้าวเปลือกเจ้าหอมมะลิ ผลิตภัณฑ์จากผ้าไหมสากล เป็นต้น เพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์และส่งเสริมพัฒนาผลิตภัณฑ์ซึ่งเป็นของดีประจำจังหวัดให้มีคุณภาพและเป็นการอนุรักษ์ศิลปหัตถกรรมพื้นเมืองสุรินทร์
๗) การจัดกิจกรรมบนเวทีกลางณ บริเวณร้านธารากาชาด สนามกีฬาศรีณรงค์ เช่น การประกวดร้องเพลงของผู้บริหารและสมาชิก อบต. การเดินแบบผ้าไหมพื้นเมืองสุรินทร์ การแสดงของเยาวชนในจังหวัดสุรินทร์ และการแสดงศิลปวัฒนธรรมต่าง ๆ ของจังหวัดสุรินทร์ เป็นต้น
งานแสดงช้าง ประจำปี ๒๕๕๖
ประกอบด้วยฉากการแสดงต่างๆ จำนวน ๘ องก์ ได้แก่
องก์ที่ ๑ - “๒๕๐ ปี มหัศจรรย์สุรินทร์ถิ่นช้างใหญ่”
เป็นการแสดงให้เห็นถึงความอลังการของช้างจังหวัดสุรินทร์ โดยจะให้ช้างเดินวนอยู่ในสนาม จำนวน ๒๐๐ เชือก
องก์ที่ ๒ - “วิถีชาวกูย”
แสดงถึงวิถีชีวิตชาวกูย และพิธีเซ่นศาลประกำ ก่อนออกคล้องช้างป่า ซึ่งเป็นประเพณีที่ปฏิบัติกันมาตั้งแต่บรรพบุรุษนับหลายร้อยปี มีช้างร่วมแสดงประมาณ ๓๙ เชือก
องก์ที่ ๓ - “ช.ช้างแสนรู้”
การแสดงความสามารถของช้าง เช่น ช้างชุดแฟนซี ช้างสะพายซอกันตรึม ช้างถือไมค์ร้องคาราโอเกะยักษ์ ช้างวาดรูป ช้างปาลูกโป่ง ช้างโชว์ฮูลาฮูป ช้างแตะฟุตบอล ช้างชักคะเย่อ เป็นต้นมีช้างร่วมแสดงประมาณ ๓๙ เชือก
องก์ที่ ๔ - “วัฒนธรรมประจำถิ่น”
การแสดงศิลปวัฒนธรรม ประเพณี ของกลุ่มชาติพันธุ์คนสุรินทร์ (เขมร ลาว กูย) ผู้แสดง จำนวน ๓๐๐ คน เช่น รำเรือมอันเร หรือ รูดอันเร (รำสาก), เรือมจะกรับ (รำกรับ), รำกระโน้ปติงต็อง (รำตั๊กแตนตำข้าว), เรือมอายัย
องก์ที่ ๕ - “AEC ELEPHANT”
การแสดงให้เห็นถึงคติความเชื่อเกี่ยวกับเรื่องช้าง ของกลุ่มประเทศอาเซียน เป็นการเดินขบวนพาเหรดช้างโดยมีเครื่องแต่งกายช้างตามธงชาติของแต่ละประเทศ (๑๐ ประเทศ) พร้อมทั้งมีผู้แสดงตัวแทนของแต่ละประเทศทั้ง ๑๐ ประเทศ มีช้างร่วมแสดง ๑๐ เชือก ผู้แสดงประมาณ ๕๐ คน
องก์ที่ ๖ - “ไอยรา องค์บาก”
การแสดงความสามารถพิเศษระหว่างผู้แสดงกับช้าง โดยมีการกระโดดบนหลังช้างจากช้างเชือกหนึ่ง ไปยังช้างอีกเชือกหนึ่ง ต่อเนื่องกันเรื่อย ๆ และการแสดงโชว์มวยไทยบนหลังช้าง และโชว์การต่อสู้ศิลปะมวยไทย มีช้างร่วมแสดง จำนวน ๒๐ เชือก
องก์ที่ ๗ - “ยุทธหัตถี บารมีก้องหล้า”
การแสดงแสนยานุภาพ ความยิ่งใหญ่ของกองทัพไทยในอดีต (ทำยุทธหัตถี) ช้างร่วมแสดง จำนวน ๕๙ เชือก โดยเป็นช้างที่ถูกคชลักษณ์หรือช้างที่มีลักษะดี จำนวน ๓๖ เชือก พร้อมเครื่องทรงช้างที่อลังการ และมีช้างร่วมแสดงประกอบอื่นๆ อีกจำนวน ๒๓ เชือก รวมทั้งนักแสดงประกอบ จำนวน ๒๐๐ คน
องก์ที่ ๘ - “ช้างไทยหัวใจก้องโลก”
การแสดงอำลาผู้ชมในสนาม โดยมีช้างทั้งหมดที่อยู่ภายในสนามแสดง และนักแสดงทั้งหมดเข้ามายืนอำลาและมีช้างแสนรู้ ๒ เชือก เดินถือป้ายขอบคุณเป็นภาษาไทย และภาษาต่างชาติ
จังหวัดสุรินทร์ได้กำหนดจัดงานมหัศจรรย์งานช้างสุรินทร์ ประจำปี ๒๕๕๖ ในระหว่างวันที่ ๘ – ๑๙ พฤศจิกายน ๒๕๕๖ ณ สนามกีฬาศรีณรงค์ โดยมีกิจกรรมที่สำคัญ ดังนี้
๑) การแสดงช้างจังหวัดสุรินทร์ ซึ่งถือเป็นไฮไลท์ของงาน นอกจากจะเป็นงานประจำปีของจังหวัดสุรินทร์แล้ว ยังเป็นงานประจำปีของชาติตามมติคณะรัฐมนตรีตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๐๕ โดยจัดติดต่อกันมาเป็นปีที่ ๕๓ แล้วปีนี้ การแสดงช้าง แสดงวันเสาร์ที่ ๑๖ และวันอาทิตย์ที่ ๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๖ ณ สนามแสดงช้าง ระหว่างเวลา ๐๙.๐๐ - ๑๒.๐๐ น. วันละ ๑ รอบ บัตรราคา ๑,๐๐๐ บาท, ๕๐๐ บาท, ๓๐๐ บาท (นั่งตามเลขที่นั่งตามบัตร) สอบถามรายละเอียดได้ที่ สำนักงานจังหวัดสุรินทร์ โทร. ๐-๔๔๕๑-๒๐๓๙ หรือ www.surin.go.th
๒) งานต้อนรับและเลี้ยงอาหารช้าง ได้แบ่งกิจกรรมออกเป็น ๒ กิจกรรม คือ
๒-๑) กิจกรรมการประกวดโต๊ะอาหารเลี้ยงช้าง ณ บริเวณอนุสาวรีย์พระยาสุรินทรภักดีศรีณรงค์จางวาง ในวันที่ 14 พฤศจิกายน ๒๕๕๖ เวลา ๑๗.๐๐ น. จะมีขบวนแห่รถอาหารช้างจากหน่วยงาน และสถาบันการศึกษาต่างๆ มาร่วมประกวดมากมาย
๒-๒) กิจกรรมการต้อนรับ และเลี้ยงอาหารช้างในวันที่ ๑๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๖ เวลา ๐๘.๐๐ น. มีการจัดโต๊ะอาหารเลี้ยงช้างความยาว ไม่ต่ำกว่า ๕๐๐ เมตร ใช้อาหารกว่า ๕๐ ตัน
๓) งานแสดง แสง สี เสียง “สืบสานตำนานพันปีปราสาทศีขรภูมิ” ชื่อชุด “ศิวนาฏยคีตาศรีศิขรินทราเทวาลัย” โดย โรงเรียนศีขรภูมิพิสัย ณ ปราสาทศีขรภูมิ อำเภอศีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์ ระหว่างวันที่ ๑๕ – ๑๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๖ เวลา ๑๙.๐๐ น. สอบถามรายละเอียดได้ที่สำนักงานเทศบาลตำบลศีขรภูมิ โทร. ๐-๔๔๕๖-๑๒๔๓ (วันที่ ๑๕ พ.ย. ๕๖ จำหน่ายบัตรที่นั่งชมการแสดง (เก้าอี้) ราคา ๑๐๐ บาท และวันที่ ๑๖ พ.ย. ๕๖ จำหน่ายบัตรนั่งชมการแสดงเป็นโต๊ะจีน ราคา ๒,๙๐๐ บาท มีอาหารรับประทาน (๘ ท่าน/โต๊ะ)
๔) การจัดนิทรรศการ ของส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ และภาคเอกชน
๕) กิจกรรมการแสดงและจำหน่ายผลิตผลของเกษตรกรและชุมชน สินค้าหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ ที่มีคุณภาพดี เช่น ข้าวหอมมะลิอินทรีย์ ผ้าไหมทอมือ เครื่องจักสาน สินค้าจากภูมิปัญญา และของที่ระลึกฯลฯ
๖) กิจกรรมการประกวดของดีเมืองสุรินทร์และผลิตผลทางการเกษตร เช่น มะพร้าวน้ำหอม กล้วยน้ำว้า ข้าวเปลือกเจ้าหอมมะลิ ผลิตภัณฑ์จากผ้าไหมสากล เป็นต้น เพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์และส่งเสริมพัฒนาผลิตภัณฑ์ซึ่งเป็นของดีประจำจังหวัดให้มีคุณภาพและเป็นการอนุรักษ์ศิลปหัตถกรรมพื้นเมืองสุรินทร์
๗) การจัดกิจกรรมบนเวทีกลางณ บริเวณร้านธารากาชาด สนามกีฬาศรีณรงค์ เช่น การประกวดร้องเพลงของผู้บริหารและสมาชิก อบต. การเดินแบบผ้าไหมพื้นเมืองสุรินทร์ การแสดงของเยาวชนในจังหวัดสุรินทร์ และการแสดงศิลปวัฒนธรรมต่าง ๆ ของจังหวัดสุรินทร์ เป็นต้น
งานแสดงช้าง ประจำปี ๒๕๕๖
ประกอบด้วยฉากการแสดงต่างๆ จำนวน ๘ องก์ ได้แก่
องก์ที่ ๑ - “๒๕๐ ปี มหัศจรรย์สุรินทร์ถิ่นช้างใหญ่”
เป็นการแสดงให้เห็นถึงความอลังการของช้างจังหวัดสุรินทร์ โดยจะให้ช้างเดินวนอยู่ในสนาม จำนวน ๒๐๐ เชือก
องก์ที่ ๒ - “วิถีชาวกูย”
แสดงถึงวิถีชีวิตชาวกูย และพิธีเซ่นศาลประกำ ก่อนออกคล้องช้างป่า ซึ่งเป็นประเพณีที่ปฏิบัติกันมาตั้งแต่บรรพบุรุษนับหลายร้อยปี มีช้างร่วมแสดงประมาณ ๓๙ เชือก
องก์ที่ ๓ - “ช.ช้างแสนรู้”
การแสดงความสามารถของช้าง เช่น ช้างชุดแฟนซี ช้างสะพายซอกันตรึม ช้างถือไมค์ร้องคาราโอเกะยักษ์ ช้างวาดรูป ช้างปาลูกโป่ง ช้างโชว์ฮูลาฮูป ช้างแตะฟุตบอล ช้างชักคะเย่อ เป็นต้นมีช้างร่วมแสดงประมาณ ๓๙ เชือก
องก์ที่ ๔ - “วัฒนธรรมประจำถิ่น”
การแสดงศิลปวัฒนธรรม ประเพณี ของกลุ่มชาติพันธุ์คนสุรินทร์ (เขมร ลาว กูย) ผู้แสดง จำนวน ๓๐๐ คน เช่น รำเรือมอันเร หรือ รูดอันเร (รำสาก), เรือมจะกรับ (รำกรับ), รำกระโน้ปติงต็อง (รำตั๊กแตนตำข้าว), เรือมอายัย
องก์ที่ ๕ - “AEC ELEPHANT”
การแสดงให้เห็นถึงคติความเชื่อเกี่ยวกับเรื่องช้าง ของกลุ่มประเทศอาเซียน เป็นการเดินขบวนพาเหรดช้างโดยมีเครื่องแต่งกายช้างตามธงชาติของแต่ละประเทศ (๑๐ ประเทศ) พร้อมทั้งมีผู้แสดงตัวแทนของแต่ละประเทศทั้ง ๑๐ ประเทศ มีช้างร่วมแสดง ๑๐ เชือก ผู้แสดงประมาณ ๕๐ คน
องก์ที่ ๖ - “ไอยรา องค์บาก”
การแสดงความสามารถพิเศษระหว่างผู้แสดงกับช้าง โดยมีการกระโดดบนหลังช้างจากช้างเชือกหนึ่ง ไปยังช้างอีกเชือกหนึ่ง ต่อเนื่องกันเรื่อย ๆ และการแสดงโชว์มวยไทยบนหลังช้าง และโชว์การต่อสู้ศิลปะมวยไทย มีช้างร่วมแสดง จำนวน ๒๐ เชือก
องก์ที่ ๗ - “ยุทธหัตถี บารมีก้องหล้า”
การแสดงแสนยานุภาพ ความยิ่งใหญ่ของกองทัพไทยในอดีต (ทำยุทธหัตถี) ช้างร่วมแสดง จำนวน ๕๙ เชือก โดยเป็นช้างที่ถูกคชลักษณ์หรือช้างที่มีลักษะดี จำนวน ๓๖ เชือก พร้อมเครื่องทรงช้างที่อลังการ และมีช้างร่วมแสดงประกอบอื่นๆ อีกจำนวน ๒๓ เชือก รวมทั้งนักแสดงประกอบ จำนวน ๒๐๐ คน
องก์ที่ ๘ - “ช้างไทยหัวใจก้องโลก”
การแสดงอำลาผู้ชมในสนาม โดยมีช้างทั้งหมดที่อยู่ภายในสนามแสดง และนักแสดงทั้งหมดเข้ามายืนอำลาและมีช้างแสนรู้ ๒ เชือก เดินถือป้ายขอบคุณเป็นภาษาไทย และภาษาต่างชาติ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น