เตรียมเปิดเวที ‘พูดจาหาทางออกประเทศไทย’ 108 เวทีทุกจังหวัด
มิ.ย.-ก.ค. 56 หวังถกปัญหาลดขัดแย้งชาติ ‘ปลัดสำนักนายกฯ’
ไม่หวั่นฝ่ายการเมืองจะนำไปหาประโยชน์ ย้ำมีสิทธิสานต่อโครงการทุกกลุ่ม
ศ.พิเศษ ธงทอง จันทรางศุ ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี
ในฐานะกรรมการและเลขานุการคณะกรรมการประสานงานและติดตามผลฯ ปคอป. กล่าวว่า
การจัดเวที ‘พูดจาหาทางออกประเทศไทย’
เพื่อจุดมุ่งหมายในการหาแนวทางที่สร้างสรรค์ในการลดความขัดแย้งในไทยที่เกิด
ขึ้นอย่างต่อเนื่องและมีความซับซ้อนอย่างสันติวิธี ซึ่งจะดำเนินการ 108
เวทีทั่วประเทศ ใน 76 จังหวัด จังหวัดละ 1-3 เวที ตามขนาดของพื้นที่ รวม
105 เวที และกทม. อีก 3 เวที ตั้งแต่เดือนมิ.ย.-ก.ค. 56
โดยคาดว่าจะมีผู้เข้าร่วมราว 80,000-100,000 คน
ซึ่งเป็นตัวแทนจากภาคส่วนต่าง ๆ ได้แก่ ภาคเกษตร ภาคแรงงาน ภาคอุตสาหกรรม
การบริการและการค้า เจ้าหน้าที่ของรัฐ แพทย์ พยาบาล นักเรียน นักศึกษา
นักวิชาการ ผู้นำชุมชน องค์กรภาคประชาชน ภาคการเมือง ผู้นำศาสนา สื่อมวลชน
ตามสัดส่วนที่เหมาะสม คิดเป็นร้อยละ 75 สำหรับอีกร้อยละ 25
จะมาจากการสมัครเข้าร่วมเวทีของประชาชนที่สนใจจะเข้ามามีส่วนร่วมแสดงความ
คิดเห็น แต่หากมีผู้สมัครเกินจำนวนจะใช้วิธีจับสลาก
ทั้งนี้ได้รับความร่วมมือจากนักวิชาการในสถาบันอุดมศึกษาต่าง ๆ
เป็นที่ปรึกษา
ปลัดสำนักนายกฯ กล่าวต่อว่า หลังจากดำเนินโครงการฯ
เสร็จสิ้น จะใช้ระยะเวลาในการรวบรวมข้อคิดเห็นทั้งหมดราว 1 เดือน
ก่อนจะนำเสนอรายงานต่อปคอป.และสาธารณะต่อไป
เพื่อสังคมจะได้นำไปตกผลึกเป็นแนวทางแก้ไขปัญหา อย่างไรก็ตาม
ไม่คิดว่าข้อคิดเห็นจาก 108 เวทีจะเป็นคำตอบสุดท้ายที่ทุกคนต้องเห็นด้วย
แต่หากมองในแง่บวกผลจากเวทีนี้จะไม่สูญเปล่า
เพราะถือเป็นโอกาสที่ประชาชนจะได้เข้ามาเรียนรู้กระบวนการแก้ไขปัญหาบนพื้น
ฐานสันติวิธี
สำหรับโอกาสที่จะนำความคิดเห็นทั้งหมดดำเนินการให้เป็นรูปธรรมนั้น
ผมจะต้องรายงานให้ปคอป.ทราบว่าประชาชนมีความเห็นอย่างไร
แต่จะปฏิบัติได้หรือไม่ ตอนนี้อาจจะเร็วเกินไปที่จะตอบ
เพราะยังไม่ทราบว่าข้อเสนอจะมีลักษณะอย่างไร ศ.พิเศษ ธงทอง กล่าวอีกว่า
ส่วนข้อกังวลว่าฝ่ายการเมืองจะนำความคิดเห็นของประชาชนไปใช้ประโยชน์เพื่อ
หวังผลทางการเมืองนั้น คงไม่เฉพาะฝ่ายการเมือง
แต่หวังว่าทุกฝ่ายจะหยิบยกไปใช้ประโยชน์ในเมืองไทย
โดยจะไปหวงห้ามว่าไม่ให้นำไปใช้ จะทำไม่ได้
ที่สำคัญการทำรายงานแล้วขึ้นหิ้งไว้คงไม่คุ้มประโยชน์ที่จะจัดเวทีนี้
นอกจากนี้ยังกล่าวถึงข้อกังวลการจัดเวทีครั้งนี้กำลังสวนทางกับการเดินเกม
ผลักดันพ.ร.บ.นิรโทษกรรม และพ.ร.บ.ปรองดองแห่งชาติของฝ่ายการเมืองว่า
การจัดทำเวทีไม่มีคำตอบสุดท้ายว่าใช่หรือไม่ใช่
และไม่มีสิทธิห้ามใครเคลื่อนไหวทางการเมือง
เพราะทุกคนอยู่ในระบอบประชาธิปไตย ดังนั้นจึงมีกลไก
ความรับผิดชอบตามสิทธิและหน้าที่ ซึ่งเป็นสิ่งที่ทุกคนต้องเคารพ
อย่างไรก็ตาม
เชื่อว่าผลการศึกษาที่ได้จากเวทีนี้จะสร้างประโยชน์กับประเทศในระยะยาว
เวทีพูดจาหาทางออกประเทศไทย เป็นกิจกรรมที่เปลี่ยนชื่อจาก
เวทีเสวนาหาทางออกประเทศไทย โดยได้รับงบประมาณตามมติคณะรัฐมนตรี (ครม.)
เมื่อ 19 มี.ค. 56 จำนวน 77.9 ล้านบาท
ซึ่งมีคณะที่ปรึกษาทางวิชาการเพื่อการจัดทำเวทีประชาเสวนา ได้แก่
1.รศ.อัษฎางค์ ปาณิกบุตร อดีตคณบดีคณะรัฐศาสตร์ ม.รามคำแหง, ศ.ดร.นันทวัฒน์
บรมานันท์ คณะนิติศาสตร์ จุลาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, รศ.ดร.สุขุม เฉลยทรัพย์
มรภ.สวนดุสิต, รศ.ยุทธพร อิสรชัย สาขาวิชารัฐศาสตร์ ม.สุโขทัยธรรมาธิราช,
รศ.ภาณินี กิจพ่อค้า สาขาวิชานิติศาสตร์ ม.สุโขทัยธรรมาธิราช, ดร.วรรณภา
ติระสังขะ คณะรัฐศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์, อาจารย์พงศ์จิรา เชิดชู
สาขาวิชานิติศาสตร์ ม.สุโขทัยธรรมาธิราช และผศ.ดร.ชลวิทย์ เจียรจิตต์
คณะสังคมศาสตร์ มศว.ประสานมิตร ทั้งนี้
สำหรับผู้สนใจเข้าร่วมเเสดงความคิดเห็นต่อเเนวทางสร้างความปรองดองเเละเเก้ป
ัญหาประเทศ สามารถเข้าดูรายละเอียดได้ที่ www.tangork-thailand.com
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น