วันนี้ (23 มิ.ย.2556) ที่โรงแรมเพชรเกษม อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ ได้จัดเวทีประชาเสวนาหาทางออกประเทศไทย เวทีที่ 2 โดยมี ผศ.กฤษณา วงษาสันต์ อาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์เป็นหัวหน้าคณะวิทยากร พร้อมด้วยคณะวิทยากรกระบวนการจากจังหวัดบุรีรัมย์และศรีสะเกษ ร่วมดำเนินการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ซึ่งบรรยากาศการจัดเวทีในวันนี้เป็นวันที่ 2 เป็นไปด้วยความคึกคัก เนื่องจากมีผู้เข้าร่วมเวทีซึ่งเป็นตัวแทนของภาคส่วนต่างๆ จากเขตเลือกตั้งที่ 5 - 8 จำนวนกว่า 1,000 คน โดยมี นายพิภพ ดำทองสุข รองผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมสังเกตการณ์
สำหรับการจัดเวทีประชาเสวนาหาทางออกประเทศไทยของจังหวัดสุรินทร์ กำหนดจัดขึ้น 2 เวที เพื่อพูดจาหาทางออกประเทศไทย ในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งที่สืบเนื่องจากเหตุการณ์ความไม่สงบและความรุนแรงในประเทศไทยตั้งแต่ช่วงปี พ.ศ. 2549 – 2553 นำมาซึ่งการเสียชีวิตและบาดเจ็บ ความสูญเสียทางวัตถุ ทรัพย์สิน สถานที่ต่างๆ อีกหลายแห่ง ประชาชนไม่สามารถพูดคุยเรื่องความคิดเห็นทางการเมืองการเมืองกันได้ทั่วไป
การเสวนาในครั้งนี้ เพื่อต้องการเปิดพื้นที่หรือสร้างช่องทางให้ประชนได้สื่อสาร ทำความเข้าใจแลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกัน ให้มีการอภิปรายอย่างกว้างขวางในประเด็นรากเหง้าปัญหาความขัดแย้งแสวงหาทางออกร่วมกัน การรับฟังความคิดเห็นที่แตกต่างอันเป็นช่องทางในการลดความไม่ไว้วางใจกัน สร้างความประนีประนอมต่อกัน นำไปสู่ความเข้าร่วมกันเพื่ออยู่ในสังคมเดียวกันได้อย่างสันติสุข เพื่อเปิดโอกาสให้ทุกภาคส่วนของสังคมมีส่วนร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในประเด็นการแก้ไขปัญหาเพื่อหาทางออกประเทศไทย สร้างความเข้าใจร่วมกันของสังคมต่อแนวทางหาทางออกประเทศไทย และหาข้อเสนอที่สร้างสรรค์ในการยุติความขัดแย้งในสังคม โดยมีการถ่ายทอดเสียงทาง สวท.สุรินทร์ ระบบ F.M.93.5 MHz. และวิทยุชุมชนให้ประชาชนได้รับฟังตลอดการจัดกิจกรรมด้วย
สำหรับการจัดเวทีประชาเสวนาหาทางออกประเทศไทยของจังหวัดสุรินทร์ กำหนดจัดขึ้น 2 เวที เพื่อพูดจาหาทางออกประเทศไทย ในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งที่สืบเนื่องจากเหตุการณ์ความไม่สงบและความรุนแรงในประเทศไทยตั้งแต่ช่วงปี พ.ศ. 2549 – 2553 นำมาซึ่งการเสียชีวิตและบาดเจ็บ ความสูญเสียทางวัตถุ ทรัพย์สิน สถานที่ต่างๆ อีกหลายแห่ง ประชาชนไม่สามารถพูดคุยเรื่องความคิดเห็นทางการเมืองการเมืองกันได้ทั่วไป
การเสวนาในครั้งนี้ เพื่อต้องการเปิดพื้นที่หรือสร้างช่องทางให้ประชนได้สื่อสาร ทำความเข้าใจแลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกัน ให้มีการอภิปรายอย่างกว้างขวางในประเด็นรากเหง้าปัญหาความขัดแย้งแสวงหาทางออกร่วมกัน การรับฟังความคิดเห็นที่แตกต่างอันเป็นช่องทางในการลดความไม่ไว้วางใจกัน สร้างความประนีประนอมต่อกัน นำไปสู่ความเข้าร่วมกันเพื่ออยู่ในสังคมเดียวกันได้อย่างสันติสุข เพื่อเปิดโอกาสให้ทุกภาคส่วนของสังคมมีส่วนร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในประเด็นการแก้ไขปัญหาเพื่อหาทางออกประเทศไทย สร้างความเข้าใจร่วมกันของสังคมต่อแนวทางหาทางออกประเทศไทย และหาข้อเสนอที่สร้างสรรค์ในการยุติความขัดแย้งในสังคม โดยมีการถ่ายทอดเสียงทาง สวท.สุรินทร์ ระบบ F.M.93.5 MHz. และวิทยุชุมชนให้ประชาชนได้รับฟังตลอดการจัดกิจกรรมด้วย
กัญญรัตน์ เกียรติสุภา ส.ปชส.สุรินทร์ /รายงาน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น