นายกสิณ นวลโคกสูง พัฒนาการจังหวัดสุรินทร์ เปิดเผยว่า จังหวัดสุรินทร์มีหวายที่พบในจังหวัดสุรินทร์และตามแนวชายแดนประเทศกัมพูชา เช่น หวายหางหนูซึ่งเป็นหวายที่มีความเหนียว เส้นเล็กมีผิวมันในตัว และหวายน้ำลำต้นใหญ่เท่านิ้วก้อย ชอบขึ้นริมน้ำ ชาวบ้านนำมาจักสานเช่นกัน โดยเฉพาะชาวบ้านบุทม จังหวัดสุรินทร์ นำหวายหางหนูและหวายน้ำ มาทำจักสานตะกร้าชนิดต่าง ๆ เนื่องจากหวายมีคุณสมบัติพิเศษ คือ สามารถดัดได้ มีความเหนียวเป็นลักษณะเฉพาะ มีลำต้นขนาดเท่ากันตามชนิด มีความมันในระดับผิว จึงเหมาะต่อการจักสาน ทำเฟอร์นิเจอร์ รูปแบบต่างๆ
โดยจังหวัดสุรินทร์มีการจักสานหวายครั้งแรก ที่บ้านบุทม ตำบลเมืองที อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ ซึ่งได้ยึดเป็นอาชีพเสริมหลังการทำนา มาตั้งแต่ปี 2473 ประมาณ 80 ปี โดยชาวบ้านได้เรียนรู้การจักสานหวายจากเรือนจำสุรินทร์ และถ่ายทอดความรู้ให้กับคนในหมู่บ้านได้ยึดเป็นอาชีพ ที่สามารถทำได้ตลอดฤดูกาล ซึ่งในปัจจุบันมีครัวเรือนที่ผลิตจักสานหวาย จำนวน 510 ราย ผลิตได้ 3,000 ชิ้น ต่อเดือน
งานจักสานหวาย ชาวบ้านได้ผลิตตะกร้าหวาย ด้วยลวดลายแบบดั้งเดิม ซึ่งหวายหางหนูมีความเหนียว แข็งแรงเป็นเงาตามธรรมชาติ ชาวบ้านจะผลิตตะกร้าหลายบ้าน ทุกครัวเรือนหลายรูปแบบ เช่น ตะกร้าไปจ่ายตลาด ไปวัด ตะกร้าทรงเหลี่ยม ทรงกลม ทรงรี ทรงรูปไข่ ตะกร้าผัก ตะกร้าหมาก ตะกร้าใส่เสื้อผ้า โตกผลไม้ กระเช้าของขวัญ งานจักสานทุกชิ้นทำด้วยมือ ยึดความคงทนประณีต และใน ปี 2527 สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ ได้ริเริ่มฟื้นฟูหมู่บ้านพัฒนาอาชีพ ชาวบ้านบุทมจึงได้รับการส่งเสริมจักสานหวายเป็นอุตสาหกรรมในครัวเรือน เพื่อเสริมรายได้ให้กับครอบครัว โดยการถ่ายทอดความรู้จาก 3 ครอบครัว ขยายสู่ครอบครัวในชุมชนทุกหลังคาเรือน
ปัจจุบัน "กลุ่มหัตถกรรมหวายบ้านบุทม" มีสมาชิกเพิ่มขึ้นไม่เพียงเฉพาะบ้านบุทมเท่านั้น แต่ยังมีเครือข่ายอีก 3 ตำบล ในจังหวัดสุรินทร์ หลังจากทำเสร็จแล้วก็จะนำมาฝากขายที่กลุ่ม โดยปัจจุบันมีผู้ประกอบการ OTOP ผลิตสินค้าจักสานหวายจำนวน 6 กลุ่ม รวม 510 คน มีความสามารถในการผลิตจำนวน 3,000 ชิ้น/เดือน และ 36,000 ชื้น/ปี มีการผลิตสม่ำเสมอตลอดทั้งปี ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2538 เป็นต้นมา
โดยจังหวัดสุรินทร์มีการจักสานหวายครั้งแรก ที่บ้านบุทม ตำบลเมืองที อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ ซึ่งได้ยึดเป็นอาชีพเสริมหลังการทำนา มาตั้งแต่ปี 2473 ประมาณ 80 ปี โดยชาวบ้านได้เรียนรู้การจักสานหวายจากเรือนจำสุรินทร์ และถ่ายทอดความรู้ให้กับคนในหมู่บ้านได้ยึดเป็นอาชีพ ที่สามารถทำได้ตลอดฤดูกาล ซึ่งในปัจจุบันมีครัวเรือนที่ผลิตจักสานหวาย จำนวน 510 ราย ผลิตได้ 3,000 ชิ้น ต่อเดือน
งานจักสานหวาย ชาวบ้านได้ผลิตตะกร้าหวาย ด้วยลวดลายแบบดั้งเดิม ซึ่งหวายหางหนูมีความเหนียว แข็งแรงเป็นเงาตามธรรมชาติ ชาวบ้านจะผลิตตะกร้าหลายบ้าน ทุกครัวเรือนหลายรูปแบบ เช่น ตะกร้าไปจ่ายตลาด ไปวัด ตะกร้าทรงเหลี่ยม ทรงกลม ทรงรี ทรงรูปไข่ ตะกร้าผัก ตะกร้าหมาก ตะกร้าใส่เสื้อผ้า โตกผลไม้ กระเช้าของขวัญ งานจักสานทุกชิ้นทำด้วยมือ ยึดความคงทนประณีต และใน ปี 2527 สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ ได้ริเริ่มฟื้นฟูหมู่บ้านพัฒนาอาชีพ ชาวบ้านบุทมจึงได้รับการส่งเสริมจักสานหวายเป็นอุตสาหกรรมในครัวเรือน เพื่อเสริมรายได้ให้กับครอบครัว โดยการถ่ายทอดความรู้จาก 3 ครอบครัว ขยายสู่ครอบครัวในชุมชนทุกหลังคาเรือน
ปัจจุบัน "กลุ่มหัตถกรรมหวายบ้านบุทม" มีสมาชิกเพิ่มขึ้นไม่เพียงเฉพาะบ้านบุทมเท่านั้น แต่ยังมีเครือข่ายอีก 3 ตำบล ในจังหวัดสุรินทร์ หลังจากทำเสร็จแล้วก็จะนำมาฝากขายที่กลุ่ม โดยปัจจุบันมีผู้ประกอบการ OTOP ผลิตสินค้าจักสานหวายจำนวน 6 กลุ่ม รวม 510 คน มีความสามารถในการผลิตจำนวน 3,000 ชิ้น/เดือน และ 36,000 ชื้น/ปี มีการผลิตสม่ำเสมอตลอดทั้งปี ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2538 เป็นต้นมา
สมทรง เผือกผล ส.ปชส.สุรินทร์ /รายงาน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น