จังหวัดสุรินทร์ได้จัดเวที “พูดจาหาทางออกประเทศไทย” 2 เวที ระหว่างวันที่ 22-23 มิถุนายน 2556 ที่ห้องประชุมโรงแรมเพชรเกษม อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ เพื่อเปิดโอกาสให้ทุกภาคส่วนของสังคมมีส่วนร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในประเด็นการแก้ไขปัญหาเพื่อหาทางออกประเทศไทย โดยมี ผศ.กฤษณา วงษาสันต์ อาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์เป็นหัวหน้าคณะวิทยากร พร้อมด้วยคณะวิทยากรกระบวนการจากจังหวัดบุรีรัมย์และศรีสะเกษ ร่วมดำเนินการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ซึ่งบรรยากาศการจัดเวทีทั้ง 2 เวที เป็นไปด้วยความคึกคัก มีประชาชนจากทุกภาคส่วนร่วมเวทีกว่า 1,600 คน
โดยคณะวิทยากรได้เปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมเวที “พูดจาหาทางออกประเทศไทย” ทั้ง 2 เวที ได้เสนอความคิดเห็น ส่วนใหญ่ลงความเห็นว่า ประชาชนสุรินทร์ไม่ใช่คู่ขัดแย้งแต่ได้รับผลกระทบจากความขัดแย้งโดยตรง เนื่องจากคู่ขัดแย้งมีการสร้างกลุ่มเพื่อรักษาอำนาจของกลุ่มตนเอง ในขณะที่สังคมมีความหลากหลายทางความคิด มีปัญหาความไม่เท่าเทียมกันของคนในสังคม การไม่ยอมรับกติกา ปัญหาระบบอุปถัมภ์ ความไม่เป็นธรรมทางกฎหมาย การไม่ยอมรับผลการเลือกตั้ง ไม่เคารพเสียงส่วนใหญ่ นอกจากนั้นยังมีปัญหาเศรษฐกิจ ปัญหาสื่อเลือกข้างและขาดการควบคุม การแอบอ้างสถาบันเพื่อผลประโยชน์ทางการเมือง เป็นต้น
ส่วนทางออกที่แต่ละกลุ่มนำเสนอ ได้แก่ นักการเมืองต้องมีคุณธรรม เคารพเสียงส่วนใหญ่ เคารพกติกา ยอมรับความเห็นของประชาชนและความคิดเห็นที่แตกต่าง ผู้นำชุมชนควรเป็นตัวอย่างในการใช้ชีวิตที่ถูกต้อง การดำเนินการของภาครัฐควรสอบถามความต้องการของประชาชน ประชาชนควรมีการรวมกลุ่มเพื่อให้มีอำนาจต่อรอง ส่วนการบัญญัติกฎหมายต้องมีความชัดเจน ไม่ต้องมีการตีความ ต้องตัดสินคดีด้วยความเป็นธรรม ควรมีการปฎิรูปสื่อให้มีความเป็นกลางในการนำเสนอข้อมูลข่าวสาร และย้ำว่าความเป็นธรรมทำให้สังคมเป็นสุข
โดยคณะวิทยากรได้เปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมเวที “พูดจาหาทางออกประเทศไทย” ทั้ง 2 เวที ได้เสนอความคิดเห็น ส่วนใหญ่ลงความเห็นว่า ประชาชนสุรินทร์ไม่ใช่คู่ขัดแย้งแต่ได้รับผลกระทบจากความขัดแย้งโดยตรง เนื่องจากคู่ขัดแย้งมีการสร้างกลุ่มเพื่อรักษาอำนาจของกลุ่มตนเอง ในขณะที่สังคมมีความหลากหลายทางความคิด มีปัญหาความไม่เท่าเทียมกันของคนในสังคม การไม่ยอมรับกติกา ปัญหาระบบอุปถัมภ์ ความไม่เป็นธรรมทางกฎหมาย การไม่ยอมรับผลการเลือกตั้ง ไม่เคารพเสียงส่วนใหญ่ นอกจากนั้นยังมีปัญหาเศรษฐกิจ ปัญหาสื่อเลือกข้างและขาดการควบคุม การแอบอ้างสถาบันเพื่อผลประโยชน์ทางการเมือง เป็นต้น
ส่วนทางออกที่แต่ละกลุ่มนำเสนอ ได้แก่ นักการเมืองต้องมีคุณธรรม เคารพเสียงส่วนใหญ่ เคารพกติกา ยอมรับความเห็นของประชาชนและความคิดเห็นที่แตกต่าง ผู้นำชุมชนควรเป็นตัวอย่างในการใช้ชีวิตที่ถูกต้อง การดำเนินการของภาครัฐควรสอบถามความต้องการของประชาชน ประชาชนควรมีการรวมกลุ่มเพื่อให้มีอำนาจต่อรอง ส่วนการบัญญัติกฎหมายต้องมีความชัดเจน ไม่ต้องมีการตีความ ต้องตัดสินคดีด้วยความเป็นธรรม ควรมีการปฎิรูปสื่อให้มีความเป็นกลางในการนำเสนอข้อมูลข่าวสาร และย้ำว่าความเป็นธรรมทำให้สังคมเป็นสุข
สมทรง เผือกผล ส.ปชส.สุรินทร์ /รายงาน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น