วันศุกร์ที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2556

นักวิจัยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี (มทส.) ประดิษฐ์เครื่องฆ่ามอดข้าวเป็นผลสำเร็จ

นักวิจัยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี (มทส.) ประดิษฐ์เครื่องฆ่ามอดข้าวเป็นผลสำเร็จ เผยเป็นเป็นวิธีการใหม่ที่ยังไม่เคยมีการออกแบบมาก่อน สามารถเดินเครื่องกำจัดมอดในข้าวได้ทั้งข้าวเปลือกและข้าวสารได้มากกว่า 50 ตันต่อวันเผยอุปกรณ์ทุกชิ้นสามารถผลิตได้ในประเทศและชื่อว่าเป็นช่องทางใหม่ในการใช้กำจัดมอดข้าวแทนการใช้สารเคมีเล็งต่อยอดในอุตสาหกรรมข้าวไทย

ศาสตราจารย์ ดร. ประสาท สืบค้า อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี เป็นประธานในการแถลงผลงานวิจัยเรื่อง "เครื่องฆ่ามอดข้าวด้วยคลื่นความถี่สูง”ณ ห้องสารนิเทศ อาคารบริหาร มทส. โดยผลงานดังกล่าวเป็นผลงานวิจัยของ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ดร. ชาญชัย ทองโสภา ผู้อำนวยการเทคโนธานี อาจารย์ประจำสาขาวิชาวิศวกรรมโทรคมนาคม สำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์ มทส. โดยได้รับทุนสนับสนุนจากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) และสำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (สวก.)อุปกรณ์ดังกล่าวได้นำวิธีการให้ความร้อนแบบไดอิเล็กตริกด้วยคลื่นความถี่วิทยุมาใช้ในการฆ่ามอดข้าวออกแบบให้สะดวกต่อการใช้งาน ซึ่งเป็นวิธีการใหม่ที่ยังไม่เคยมีการออกแบบมาก่อนและยังเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ปลอดการใช้สารเคมี100% ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ชาญชัยได้เปิดเผยเพิ่มเติมถึงความเป็นมาและหลักการทำงานของเครื่องฆ่ามอดข้าวด้วยคลื่นความถี่สูง ว่า"ในปัจจุบันวิธีการฆ่ามอดข้าวที่ใช้อยู่จะใช้สารเคมีในการรมเพื่อกำจัดโดยสารที่นิยมใช้มี 2 ชนิด คือ เมทิลโบรไมด์ (Methyl Bromide) และฟอสฟิน (Phosphine) ถึงแม้ว่าเมทิลโบรไมด์จะมีประสิทธิภาพในการฆ่ามอดข้าว แต่มีแนวโน้มถูกให้ยกเลิกจากหลายเหตุผล อาทิ การต้านทานยาของมอดข้าว การตกค้างของสารเคมี และความเป็นพิษของสารเคมีต่อผู้ใช้และผู้บริโภค อีกทั้งยังเป็นตัวการทำลายโอโซนในชั้นบรรยากาศโลกทำให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ปัจจุบันหลายประเทศได้มองหาทางเลือกทดแทนการใช้สารเคมี เช่น การใช้การควบคุมระดับออกซิเจนด้วยก๊าซอื่น ๆ อาทิ ก๊าซไนโตรเจน และก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ หรือการฉายรังสี เพื่อให้มอดข้าวขาดอากาศตายหรือใช้สมุนไพรอบเป็นต้นแต่การใช้คลื่นความถี่วิทยุที่ผ่านมาไม่ได้รับการพัฒนาเนื่องมากนักจากอุปกรณ์ทางอิเล็กทรอนิกส์มีราคาสูง สิ้นเปลืองพลังงานมากและการออกแบบที่ยุ่งยากซับซ้อนปัจจุบันอุปกรณ์ทางอิเล็กทรอนิกส์ได้มีการพัฒนาไปอย่างมากทำให้มีความคุ้มค่าทางด้านการลงทุนจากการศึกษาพบว่าการให้ความร้อนแบบไดอิเล็กตริกด้วยคลื่นความถี่วิทยุนั้นในอดีตเป็นการให้ความร้อนแก่สารอโลหะต่างๆและจะใช้หลอดกำเนิดคลื่นความถี่ ( Electron Tube ) เป็นตัวสร้างสัญญาณความถี่วิทยุซึ่งหลอดกำเนิดคลื่นความถี่นี้มีข้อเสียในหลายด้านทั้งอายุการใช้งานที่ต่ำ สูญเสียกำลังไฟฟ้ามาก มีราคาแพงยุ่งยากในการใช้งานแตกหักได้ง่าย ในการประดิษฐ์เครื่องฆ่ามอดข้าวดังกล่าวนี้ได้นำวิธีการให้ความร้อนแบบไดอิเล็กตริกด้วยคลื่นความถี่วิทยุมาใช้ในการออกแบบวงจรสร้างคลื่นความถี่โดยใช้อุปกรณ์เซมิคอนดักเตอร์แทนการใช้หลอดกำเนิดคลื่นความถี่ในการสร้างเครื่องฆ่ามอดข้าวที่ประหยัดกำลังไฟ ออกแบบได้ง่าย อายุการใช้งานยาวนานกว่าหลอดกำเนิดคลื่นความถี่ ขนาดเล็กกะทัดรัด ซึ่งเป็นวิธีการใหม่ที่ยังไม่มีการออกแบบด้วยวิธีการนี้ ทั้งสามารถนำมาทดแทนการใช้สารเคมีในการฆ่ามอดข้าวเหมาะกับอุตสาหกรรมข้าวไทย เป็นทางเลือกในการลดการใช้สารเคมี เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมสามารถนำไปขยายผลต่อยอดในอุตสาหกรรมข้าวไทยได้เป็นอย่างดี การเดินเครื่องฆ่ามอดข้าวด้วยคลื่นความถี่สูงสามารถใช้ได้ทั้งข้าวเปลือกและข้าวสารโดยสามารถทำงานได้มากกว่า 50 ตัน ต่อวันทั้งนี้มีการออกแบบระบบไซโลการไหลของข้าวร่วมกับ ผศ.ดร.วีรชัย อาจหาญ รองผู้อำนวยการเทคโนธานี อาจารย์ประจำสาขาวิชาวิศวกรรมเกษตร สำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์ทั้งนี้ชุดอุปกรณ์ดังกล่าวสามารถผลิตได้เองในประเทศทุกชิ้น โดยได้ทำการออกแบบวงจรให้สามารถปรับเปลี่ยนค่าความถี่และกำลังงานให้เหมาะสมกับคุณลักษณะของมอดข้าวและปริมาณของข้าวที่ไหลผ่านระบบโดยใช้เวลาเพียง 2 วินาทีในการให้ข้าวที่มีมอดข้าวไหลผ่านส่วนของวงจรสร้างสนามคลื่นความถี่สูงของเครื่องฆ่ามอดข้าวสามารถฆ่ามอดข้าวได้อย่างมีประสิทธิภาพไม่ทำให้ข้าวเสียหายรวมถึงเป็นการอบไล่ความชื้นและฆ่าเชื้อราได้อีกด้วย นอกจากนี้เทคนิควิธีการให้ความร้อนแบบไดอิเล็กตริกนั้นสามารถนำมาประยุกต์ใช้งานให้เกิดประโยชน์ได้ในหลากหลายด้านเช่นการอบไล่ความชื้นของเนื้อไม้ การอบเพิ่มอุณหภูมิสารอโลหะต่างๆเช่นพลาสติกเป็นต้น ซึ่งถือว่าเป็นผลงานในครั้งนี้เป็นผลงานที่ผลิตโดยฝีมือคนไทยเพื่อแก้ปัญหาภาคเกษตรกรรมโดยเฉพาะอาชีพการปลูกข้าวและการส่งออกซึ่งถือว่าเป็นอาชีพหลักของประเทศอย่างแท้จริง 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น