วันนี้ (10 กันยายน 2556) เวลา 13.00 น. ที่ห้องประชุมสุรินทร์ภักดี ศาลากลางจังหวัดสุรินทร์ นายนิรันดร์ พิทักษ์วัชระ กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ประธานคณะอนุกรรมการด้านสิทธิชุมชนพร้อมคณะ ได้เดินทางไปตรวจสอบเรื่องร้องเรียนการก่อสร้างศูนย์กำจัดขยะมูลฝอยแบบผสมผสาน ของเทศบาลตำบลศีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์ งบประมาณ 59 ล้านบาท ซึ่งก่อสร้างบริเวณที่ทิ้งขยะเดิม โดยมีการทำบันทึกข้อตกลง หรือ ทำ MOU ร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 24 แห่ง ในพื้นที่ 3 อำเภอ คือ อำเภอศีขรภูมิ 16 แห่ง อำเภอสำโรงทาบ 5 แห่ง และอำเภอศรีณรงค์ 3 แห่ง
ทั้งนี้ การก่อสร้างศูนย์กำจัดขยะมูลฝอยแบบผสมผสาน ของเทศบาลตำบลศีขรภูมิ จะมีการกำจัดขยะแบบผสมผสานโดยมีการระบบคัดแยกขยะเป็นขยะรีไซเคิลร้อยละ 20 ระบบการทำปุ๋ยหมักร้อยละ 60 ระบบการฝังกลบร้อยละ 20 ผลผลิตปุ๋ยจากขยะมูลฝอยคาดว่าจะมีมูลค่า 1,000 บาท ต่อตัน ตลอดโครงการ 20 ปี คาดว่าจะได้ผลผลิตประมาณ 70,166 ตัน คิดเป็นมูลค่าการขายปุ๋ยเป็นเงิน 70 ล้านบาท ภายหลังดำเนินการก่อสร้างแล้วเสร็จ จะมีมาตรการตรวจสอบปีละ 2 ครั้ง ในช่วง 3-5 ปี แรก และหลังจากนั้นจะมีมาตรการตรวจสอบอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง เป็นเวลา 10 -20 ปี
อย่างไรก็ตาม นายพิภพ สงครามพล กำนันตำบลยาง อำเภอศีขรภูมิ ได้ร้องเรียนให้เทศบาลศีขรภูมิ ยุติโครงการ และให้หาที่ทิ้งขยะใหม่ เพื่อลดความเดือดร้อนของประชาชน โดยอ้างว่าสถานที่ดังกล่าวใกล้ชุมชน สถานที่ราชการ วิทยาลัยการอาชีพศีขรภูมิ โรงเรียนศีขรภูมิพิสัย โรงพยาบาลศีขรภูมิ ปราสาทหินศีขรภูมิ สารพิษจากขยะมูลฝอยไหลซึมลงแหล่งน้ำอ่างเก็บน้ำลำพอก ซึ่งเป็นแหล่งน้ำที่ชุมชนใช้ในการอุปโภค - บริโภค เป็นแหล่งน้ำดิบในการผลิตน้ำประปา มีแมลงวันรบกวน และเป็นแหล่งพาหะโรค ก่อให้เกิดผลเสียต่อทัศนียภาพโดยรวมของชุมชน และการก่อสร้างศูนย์กำจัดขยะมูลฝอยดังกล่าวเป็นการนำขยะมูลฝอยจากแหล่งอื่นมาทิ้งในเขตเทศบาลตำบลศีขรภูมิ ทำให้ชุมชนได้รับผลกระระทบ จึงเสนอให้ย้ายสถานที่ก่อสร้าง และยกเลิกการทำบันทึกข้อตกลงกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 24 แห่ง ให้แต่ละองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจัดการขยะด้วยตนเอง ทั้งจากการหารือร่วมกัน ระหว่างส่วนราชการและผู้นำชุมชนในพื้นที่อำเภอศีขรภูมิ ที่ประชุมเห็นร่วมกันในการให้เทศบาลตำบลศีขรภูมิดำเนินการประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนทราบ ให้กำหนดเงื่อนไข กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั้ง 24 แห่ง รณรงค์การลดขยะโดยใช้หลัก 3 Rs ได้แก่ Reduce Reuse Recycle ส่งเสริมกิจกรรมประกวดสิ่งประดิษฐ์ จากวัสดุเหลือใช้ ธนาคารขยะ ชุมชนปลอดถังขยะ การทำน้ำหมัก และปุ๋ยชีวภาพ พร้อมทั้งแต่งตั้งคณะทำงานตรวจติดตามการดำเนินงาน โครงการเพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบต่อต่อชุมชน
ภายหลังจากรับฟังความคิดเห็นแล้ว นายนิรันดร์ พิทักษ์วัชระ กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ประธานคณะอนุกรรมการด้านสิทธิชุมชนพร้อมคณะ ได้สรุปผลการตรวจติดตาม โดยให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดส่งเอกสารเพิ่มเติมให้คณะอนุกรรมการด้านสิทธิชุมชนพิจารณาเพิ่มเติม และให้เทศบาลตำบลศีขรภูมิ ชลอโครงการก่อสร้างศูนย์กำจัดขยะมูลฝอยแบบผสมผสาน ไว้ก่อน
ทั้งนี้ การก่อสร้างศูนย์กำจัดขยะมูลฝอยแบบผสมผสาน ของเทศบาลตำบลศีขรภูมิ จะมีการกำจัดขยะแบบผสมผสานโดยมีการระบบคัดแยกขยะเป็นขยะรีไซเคิลร้อยละ 20 ระบบการทำปุ๋ยหมักร้อยละ 60 ระบบการฝังกลบร้อยละ 20 ผลผลิตปุ๋ยจากขยะมูลฝอยคาดว่าจะมีมูลค่า 1,000 บาท ต่อตัน ตลอดโครงการ 20 ปี คาดว่าจะได้ผลผลิตประมาณ 70,166 ตัน คิดเป็นมูลค่าการขายปุ๋ยเป็นเงิน 70 ล้านบาท ภายหลังดำเนินการก่อสร้างแล้วเสร็จ จะมีมาตรการตรวจสอบปีละ 2 ครั้ง ในช่วง 3-5 ปี แรก และหลังจากนั้นจะมีมาตรการตรวจสอบอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง เป็นเวลา 10 -20 ปี
อย่างไรก็ตาม นายพิภพ สงครามพล กำนันตำบลยาง อำเภอศีขรภูมิ ได้ร้องเรียนให้เทศบาลศีขรภูมิ ยุติโครงการ และให้หาที่ทิ้งขยะใหม่ เพื่อลดความเดือดร้อนของประชาชน โดยอ้างว่าสถานที่ดังกล่าวใกล้ชุมชน สถานที่ราชการ วิทยาลัยการอาชีพศีขรภูมิ โรงเรียนศีขรภูมิพิสัย โรงพยาบาลศีขรภูมิ ปราสาทหินศีขรภูมิ สารพิษจากขยะมูลฝอยไหลซึมลงแหล่งน้ำอ่างเก็บน้ำลำพอก ซึ่งเป็นแหล่งน้ำที่ชุมชนใช้ในการอุปโภค - บริโภค เป็นแหล่งน้ำดิบในการผลิตน้ำประปา มีแมลงวันรบกวน และเป็นแหล่งพาหะโรค ก่อให้เกิดผลเสียต่อทัศนียภาพโดยรวมของชุมชน และการก่อสร้างศูนย์กำจัดขยะมูลฝอยดังกล่าวเป็นการนำขยะมูลฝอยจากแหล่งอื่นมาทิ้งในเขตเทศบาลตำบลศีขรภูมิ ทำให้ชุมชนได้รับผลกระระทบ จึงเสนอให้ย้ายสถานที่ก่อสร้าง และยกเลิกการทำบันทึกข้อตกลงกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 24 แห่ง ให้แต่ละองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจัดการขยะด้วยตนเอง ทั้งจากการหารือร่วมกัน ระหว่างส่วนราชการและผู้นำชุมชนในพื้นที่อำเภอศีขรภูมิ ที่ประชุมเห็นร่วมกันในการให้เทศบาลตำบลศีขรภูมิดำเนินการประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนทราบ ให้กำหนดเงื่อนไข กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั้ง 24 แห่ง รณรงค์การลดขยะโดยใช้หลัก 3 Rs ได้แก่ Reduce Reuse Recycle ส่งเสริมกิจกรรมประกวดสิ่งประดิษฐ์ จากวัสดุเหลือใช้ ธนาคารขยะ ชุมชนปลอดถังขยะ การทำน้ำหมัก และปุ๋ยชีวภาพ พร้อมทั้งแต่งตั้งคณะทำงานตรวจติดตามการดำเนินงาน โครงการเพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบต่อต่อชุมชน
ภายหลังจากรับฟังความคิดเห็นแล้ว นายนิรันดร์ พิทักษ์วัชระ กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ประธานคณะอนุกรรมการด้านสิทธิชุมชนพร้อมคณะ ได้สรุปผลการตรวจติดตาม โดยให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดส่งเอกสารเพิ่มเติมให้คณะอนุกรรมการด้านสิทธิชุมชนพิจารณาเพิ่มเติม และให้เทศบาลตำบลศีขรภูมิ ชลอโครงการก่อสร้างศูนย์กำจัดขยะมูลฝอยแบบผสมผสาน ไว้ก่อน
สมทรง เผือกผล ส.ปชส.สุรินทร์ / ข่าว
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น