กรมชลประทานเดินหน้า สร้างความเข้าใจภาคประชาชนที่อาจยังไม่เข้าใจการทำงานภาครัฐและผู้ที่จะได้รับผลกระทบจากการสร้างเขื่อนทั้งหมด หลังผ่านขั้นตอนนี้ คาดว่าจะสามารถเดินหน้าก่อสร้างได้
นายพรศักดิ์ เจียรณัย ผู้ว่าราชการจ.ชัยภูมิ เปิดโครงการอบรมหลักสูตรการฝึกปฏิบัติการการมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาแหล่งน้ำลุ่มน้ำชีบนตอนบน จ.ชัยภูมิ สำหรับอาสาสมัครชลประทาน เป็นรุ่นที่ 1 จำนวน 100 คน ณ โรงแรมทรัพย์มณีรีสอร์ท อ.เมืองชัยภูมิ ระหว่างวันที่ 9- 11 กันยายน 2556 ซึ่งนายมณชัย สวัสดิวารี ผู้จัดการโครงการชลประทานจ.ชัยภูมิ ร่วมกับชลประทาน เขต6 จัดขึ้น เพื่อสร้างความเข้าใจ แก่ประชาชนที่จะได้รับผลกระทบในพื้นที่จากการสร้างเขื่อน หลังรัฐบาลเห็นชอบในหลักการ และอนุมัติงบประมาณ ผ่าน กบอ. ดำเนินการก่อสร้างอ่างเก็บน้ำในพื้นที่จังหวัดชัยภูมิ 4 แห่ง ได้แก่ โปร่งขุนเพชร ในเขตอ.หนองบัวระเหว และอ.เทพสถิต มูลค่าการก่อสร้าง รวมค่าชดเชยที่ดิน 2 พัน 200 ล้านบาท, เขื่อนยางนาดี เขตรอยต่ออำเภอหนองบัวระเหว และอ.บ้านเขว้า มูลค่า 2 พัน700 ล้านบาท, เขื่อนลำสะพุงเหนือ ในเขตอ.หนองบัวแดง มูลค่า 2 พัน 700 ล้านบาท และที่เขื่อนชีบน อ.หนองบัวแดง อีกกว่า 5 พันล้านบาท
นายมณชัย สวัสดิวารี ผู้จัดการโครงการชลประทานจ.ชัยภูมิ เปิดเผยว่า ข้อมูลล่าสุดขณะนี้ ทราบว่า กบอ.ได้ถอน โครงการโปร่งขุนเพชร และโครงการลำสะพุง ออกไปแล้ว เหลือเฉพาะ โครงการยางนาดี กับโครงการชีบน กรมชลประทานจึงรับโครงการโปร่งขุนเพชร เข้ามาดำเนินการต่อ โดยใช้งบประมาณของกรมชลประทานเอง สรุปแล้ว ยังอยู่ ใน ความรับผิดชอบ ของ กบอ. จำนวน 2 โครงการ คือโครงการยางนาดี กับโครงการชีบน ขณะนี้ อยู่ระหว่างสร้างความเข้าใจกับราษฎรในพื้นที่ ในส่วนของการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม กรมชลประทานได้ดำเนินการศึกษาแล้วเสร็จ รวม 3 แห่ง คือ โปร่งขุนเพชร ยางนาดี และชีบน ส่วนลำสะพุง ก็กำลังศึกษาเพิ่มเติม เชื่อว่าไม่น่ามีปัญหา เนื่องจากมีพื้นที่น้ำท่วม ในเขตป่าอนุรักษ์ 1,100 ไร่ และในเขตป่าเศรษฐกิจ 1,000 ไร่ ถ้ากรมป่าไม้อนุญาต ให้กรมชลประทานใช้พื้นที่ ก็สามารถดำเนินการก่อสร้างได้เลย
ด้านนายพรศักดิ์ เจียรณัย ผู้ว่าราชการจ.ชัยภูมิ กล่าวว่า ที่ผ่านมาชัยภูมิเสียโอกาสไปมากพอแล้ว มีงบประมาณแต่ไม่สามารถดำเนินการสร้างอ่างเก็บน้ำได้ ทำให้ชัยภูมิซึ่งเป็นพื้นที่ต้นน้ำชี ประสบปัญหาขาดแคลนน้ำในหน้าแล้ง และน้ำท่วมในช่วงน้ำหลาก พืชผลทางการเกษตร ได้ผลไม่เต็มเม็ด เต็มหน่วย ประชากรซึ่งหลักๆ มีอาชีพทำนา ทำไร่อ้อย มันสำปะหลัง พริก ยางพารา มีรายได้ตกต่ำ เมื่อเทียบกับจังหวัดใกล้เคียง ถึงเวลาแล้ว ที่ชาวชัยภูมิมุกภาคส่วน จะต้องรวมพลัง รวมจิตใจ ผลักดันให้เกิดการก่อสร้างอ่างเก็บน้ำ ให้ได้ พบเห็นการฉวยโอกาส หรือทำให้เราเสียโอกาส ต้องช่วยกันต่อต้าน แก้ไข ไม่ใช่นิ่งดูดาย ปล่อยให้คนอื่น เข้าแสวงหาผลประโยชน์ โดยมิชอบ แล้ทิ้งความยาก ลำบากให้กับคนชัยภูมิ เจ้าของพื้นที่ เช่น กรณีการสร้างหมู่บ้านผี เป็นต้น หากมีเจตนาแอบบแฝงเรายอมไม่ได้
นายพรศักดิ์ เจียรณัย ผู้ว่าราชการจ.ชัยภูมิ เปิดโครงการอบรมหลักสูตรการฝึกปฏิบัติการการมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาแหล่งน้ำลุ่มน้ำชีบนตอนบน จ.ชัยภูมิ สำหรับอาสาสมัครชลประทาน เป็นรุ่นที่ 1 จำนวน 100 คน ณ โรงแรมทรัพย์มณีรีสอร์ท อ.เมืองชัยภูมิ ระหว่างวันที่ 9- 11 กันยายน 2556 ซึ่งนายมณชัย สวัสดิวารี ผู้จัดการโครงการชลประทานจ.ชัยภูมิ ร่วมกับชลประทาน เขต6 จัดขึ้น เพื่อสร้างความเข้าใจ แก่ประชาชนที่จะได้รับผลกระทบในพื้นที่จากการสร้างเขื่อน หลังรัฐบาลเห็นชอบในหลักการ และอนุมัติงบประมาณ ผ่าน กบอ. ดำเนินการก่อสร้างอ่างเก็บน้ำในพื้นที่จังหวัดชัยภูมิ 4 แห่ง ได้แก่ โปร่งขุนเพชร ในเขตอ.หนองบัวระเหว และอ.เทพสถิต มูลค่าการก่อสร้าง รวมค่าชดเชยที่ดิน 2 พัน 200 ล้านบาท, เขื่อนยางนาดี เขตรอยต่ออำเภอหนองบัวระเหว และอ.บ้านเขว้า มูลค่า 2 พัน700 ล้านบาท, เขื่อนลำสะพุงเหนือ ในเขตอ.หนองบัวแดง มูลค่า 2 พัน 700 ล้านบาท และที่เขื่อนชีบน อ.หนองบัวแดง อีกกว่า 5 พันล้านบาท
นายมณชัย สวัสดิวารี ผู้จัดการโครงการชลประทานจ.ชัยภูมิ เปิดเผยว่า ข้อมูลล่าสุดขณะนี้ ทราบว่า กบอ.ได้ถอน โครงการโปร่งขุนเพชร และโครงการลำสะพุง ออกไปแล้ว เหลือเฉพาะ โครงการยางนาดี กับโครงการชีบน กรมชลประทานจึงรับโครงการโปร่งขุนเพชร เข้ามาดำเนินการต่อ โดยใช้งบประมาณของกรมชลประทานเอง สรุปแล้ว ยังอยู่ ใน ความรับผิดชอบ ของ กบอ. จำนวน 2 โครงการ คือโครงการยางนาดี กับโครงการชีบน ขณะนี้ อยู่ระหว่างสร้างความเข้าใจกับราษฎรในพื้นที่ ในส่วนของการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม กรมชลประทานได้ดำเนินการศึกษาแล้วเสร็จ รวม 3 แห่ง คือ โปร่งขุนเพชร ยางนาดี และชีบน ส่วนลำสะพุง ก็กำลังศึกษาเพิ่มเติม เชื่อว่าไม่น่ามีปัญหา เนื่องจากมีพื้นที่น้ำท่วม ในเขตป่าอนุรักษ์ 1,100 ไร่ และในเขตป่าเศรษฐกิจ 1,000 ไร่ ถ้ากรมป่าไม้อนุญาต ให้กรมชลประทานใช้พื้นที่ ก็สามารถดำเนินการก่อสร้างได้เลย
ด้านนายพรศักดิ์ เจียรณัย ผู้ว่าราชการจ.ชัยภูมิ กล่าวว่า ที่ผ่านมาชัยภูมิเสียโอกาสไปมากพอแล้ว มีงบประมาณแต่ไม่สามารถดำเนินการสร้างอ่างเก็บน้ำได้ ทำให้ชัยภูมิซึ่งเป็นพื้นที่ต้นน้ำชี ประสบปัญหาขาดแคลนน้ำในหน้าแล้ง และน้ำท่วมในช่วงน้ำหลาก พืชผลทางการเกษตร ได้ผลไม่เต็มเม็ด เต็มหน่วย ประชากรซึ่งหลักๆ มีอาชีพทำนา ทำไร่อ้อย มันสำปะหลัง พริก ยางพารา มีรายได้ตกต่ำ เมื่อเทียบกับจังหวัดใกล้เคียง ถึงเวลาแล้ว ที่ชาวชัยภูมิมุกภาคส่วน จะต้องรวมพลัง รวมจิตใจ ผลักดันให้เกิดการก่อสร้างอ่างเก็บน้ำ ให้ได้ พบเห็นการฉวยโอกาส หรือทำให้เราเสียโอกาส ต้องช่วยกันต่อต้าน แก้ไข ไม่ใช่นิ่งดูดาย ปล่อยให้คนอื่น เข้าแสวงหาผลประโยชน์ โดยมิชอบ แล้ทิ้งความยาก ลำบากให้กับคนชัยภูมิ เจ้าของพื้นที่ เช่น กรณีการสร้างหมู่บ้านผี เป็นต้น หากมีเจตนาแอบบแฝงเรายอมไม่ได้
สุระพงค์ สวัสดิ์ผล /ข่าว
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น