จากเอกสารรายงานของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดศรีสะเกษ ในที่ประชุมคณะกรมการจังหวัด ศรีสะเกษ ประจำเดือนมีนาคม 2557 เมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2557 รายงานว่า สถานการณ์โรคไข้เลือดออกจังหวัดศรีสะเกษ จากวันที่ 1 มกราคม- 24 กุมภาพันธ์ 2557 ว่า มีผู้ป่วย 33 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 2.26/แสนประชากร มีอัตราป่วยสูงเป็นลำดับที่ 64 ของประเทศไทย พื้นที่ที่มีอัตราป่วยสูงสุด 5 อันดับแรก ได้แก่ อำเภอราศีไศล 9.83 ต่อแสนประชากร อำเภอภูสิงห์ 9.53 ต่อแสนประชากร อำเภอเบญจลักษณ์ 5.46 ต่อแสนประชากร อำเภอศิลาลาด 4.89 ต่อแสนประชากร และอำเภอกันทรารมย์ 4 ต่อแสนประชากร
จากข้อมูลปี 2556 พบว่าจังหวัดศรีสะเกษ มีอัตราป่วยสูงกว่าค่ามัธยฐานย้อนหลัง 5 ปี ถึง 3 เท่า และมีรายงานผู้ป่วยต่อเนื่องมาถึงปัจจจุบันรวมทั้งพบการเกิดโรค 1,479 หมู่บ้าน จากทั้งหมด 2,635 หมู่บ้าน เป็นพื้นที่เกิดโคร้อยละ 56.12 แสดงว่ากว่าครึ่งของหมู่บ้านในจังหวัดศรีสะเกษ พบผู้ป่ายไข้เลือดออก และค่าดัชนีความชุกลูกน้ำยุงลายในหมู่บ้านส่วนใหญ่เกินเกณฑ์ที่กำหนด (HI>10) ประกอบกับสำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรคคาดการณ์ว่า ปี 2557 จังหวัดศรีสะเกษ จะมีการระบาดของโรคไข้เลือดออกอย่างรุนแรงกว่าทุกปีที่ผ่านมา ถ้าไม่มีการป้องกันอย่างเข้มแข็ง ดังนั้น เพื่อเป็นการยับยั้งการระบาดของโรคไข้เลือดออก สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดศรีสะเกษ จึงขอความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ร่วมกันดูแลอาคารบ้านเรือน วัด โรงเรียน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ไม่ให้มีลูกน้ำยุงลาย เพื่อลดจำนวนพาหะที่จะถ่ายทอดโรคจากผู้ป่วยติดต่อสู่คนอื่นได้และติดต่อไปอย่างรวดเร็ว ถ้ายังมียุงลายพาหะในพื้นที่
จากข้อมูลปี 2556 พบว่าจังหวัดศรีสะเกษ มีอัตราป่วยสูงกว่าค่ามัธยฐานย้อนหลัง 5 ปี ถึง 3 เท่า และมีรายงานผู้ป่วยต่อเนื่องมาถึงปัจจจุบันรวมทั้งพบการเกิดโรค 1,479 หมู่บ้าน จากทั้งหมด 2,635 หมู่บ้าน เป็นพื้นที่เกิดโคร้อยละ 56.12 แสดงว่ากว่าครึ่งของหมู่บ้านในจังหวัดศรีสะเกษ พบผู้ป่ายไข้เลือดออก และค่าดัชนีความชุกลูกน้ำยุงลายในหมู่บ้านส่วนใหญ่เกินเกณฑ์ที่กำหนด (HI>10) ประกอบกับสำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรคคาดการณ์ว่า ปี 2557 จังหวัดศรีสะเกษ จะมีการระบาดของโรคไข้เลือดออกอย่างรุนแรงกว่าทุกปีที่ผ่านมา ถ้าไม่มีการป้องกันอย่างเข้มแข็ง ดังนั้น เพื่อเป็นการยับยั้งการระบาดของโรคไข้เลือดออก สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดศรีสะเกษ จึงขอความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ร่วมกันดูแลอาคารบ้านเรือน วัด โรงเรียน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ไม่ให้มีลูกน้ำยุงลาย เพื่อลดจำนวนพาหะที่จะถ่ายทอดโรคจากผู้ป่วยติดต่อสู่คนอื่นได้และติดต่อไปอย่างรวดเร็ว ถ้ายังมียุงลายพาหะในพื้นที่
สมกมล คงอาชวะ/ข่าว/พิมพ์
สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดศรีสะเกษ
29 มีนาคม 2557
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น