นายประวัติ ถีถะแก้ว ผู้ว่าราชการจังหวัดยโสธร เปิดเผยว่า นโยบายเร่งด่วนของรัฐบาลในการส่งเสริมคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ และคนทุพพลภาพ เพื่อให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น และมีหลักประกันด้านรายได้ โดยจัดให้มีเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุแบบขั้นบันได ซึ่งเริ่มตั้งแต่เดือนตุลาคม 2556 เป็นต้นไป
ผู้สูงอายุ 60 – 69 ปี ให้ได้รับคนละ 600 บาท/เดือน
ผู้สูงอายุ 70 - 79 ปี ให้ได้รับคนละ 700 บาท/เดือน
ผู้สูงอายุ 80 – 89 ปี ให้ได้รับคนละ 800 บาท/เดือน
ผู้สูงอายุ 90 ปีขึ้นไป ให้ได้รับคนละ 1,000 บาท/เดือน
ผู้พิการหรือทุพพลภาพ ได้รับในอัตราคนละ 500 บาท/เดือน
ผู้ป่วยเอดส์ ได้รับในอัตราคนละ 500 บาท/เดือน (สามารถรับลงทะเบียนได้ตลอดเวลา)
สำหรับผู้มีสิทธิรับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุที่จะมีอายุครบหกสิบปีบริบูรณ์ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2558 (เกิดก่อน 1 ตุลาคม 2497) ให้ไปลงทะเบียน ระหว่างวันที่ 1-30 พฤศจิกายน 2556 ที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ตนเองมีภูมิลำเนาอยู่ โดยนำเอกสารหลักฐานประกอบด้วย บัตรประจำตัวประชาชนหรือบัตรอื่นที่ออกโดยหน่วยงานของรัฐที่มีรูปถ่ายพร้อมสำเนา,ทะเบียนบ้านพร้อมสำเนา และสมุดบัญชีฝากธนาคารพร้อมสำเนา สำหรับกรณีที่ผู้ขอรับเงินเบี้ยยังชีพประสงค์ขอรับเงินเบี้ยยังชีพผ่านธนาคาร
ผู้มีสิทธิรับเงินเบี้ยยังชีพคนพิการรายใหม่ที่ยังไม่เคยลงทะเบียนก่อน ซึ่งมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามข้อ 6 แห่งระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยหลักเกณฑ์การจ่ายเงินเบี้ยความพิการให้คนพิการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2553 รวมทั้งคนพิการที่ย้ายภูมิลำเนาเข้ามาใหม่ ให้ไปลงทะเบียน ระหว่างวันที่ 1-30 พฤศจิกายน 2556 ที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ตนเองมีภูมิลำเนาอยู่ โดยนำเอกสารหลักฐานประกอบด้วย บัตรประจำตัวคนพิการตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมคุณภาพชีวิตคนพิการ, ทะเบียนบ้านพร้อมสำเนา และสมุดบัญชีฝากธนาคารพร้อมสำเนา สำหรับกรณีที่ผู้ขอรับเงินเบี้ยยังชีพประสงค์ขอรับเงินเบี้ยยังชีพผ่านธนาคาร
ทั้งนี้ ปีงบประมาณ พ.ศ.2557 (1 ตุลาคม 2556 – 30 กันยายน 2557) จังหวัดยโสธร มีผู้สูงอายุที่มีสิทธิรับเบี้ยยังชีพ จำนวน 37,818 คน ผู้ทุพพลภาพที่มีสิทธิรับเบี้ยยังชีพ จำนวน 6,095 คน (ข้อมูล ณ 1 ตุลาคม 2556) โดยมีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นหน่วยงานรับผิดชอบในการเบิกจ่าย ภายในวันที่ 10 ของทุกเดือน หากไม่ได้รับความสะดวก หรือมีข้อสงสัย หรือต้องการสอบถามข้อมูลดังกล่าว สามารถติดต่อได้ที่ ท้องถิ่นจังหวัดยโสธร หมายเลขโทรศัพท์ 089-2802116 หรือสำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นจังหวัดยโสธร หมายเลขโทรศัพท์ 045-713035 ต่อ 16
ผู้สูงอายุ 60 – 69 ปี ให้ได้รับคนละ 600 บาท/เดือน
ผู้สูงอายุ 70 - 79 ปี ให้ได้รับคนละ 700 บาท/เดือน
ผู้สูงอายุ 80 – 89 ปี ให้ได้รับคนละ 800 บาท/เดือน
ผู้สูงอายุ 90 ปีขึ้นไป ให้ได้รับคนละ 1,000 บาท/เดือน
ผู้พิการหรือทุพพลภาพ ได้รับในอัตราคนละ 500 บาท/เดือน
ผู้ป่วยเอดส์ ได้รับในอัตราคนละ 500 บาท/เดือน (สามารถรับลงทะเบียนได้ตลอดเวลา)
สำหรับผู้มีสิทธิรับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุที่จะมีอายุครบหกสิบปีบริบูรณ์ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2558 (เกิดก่อน 1 ตุลาคม 2497) ให้ไปลงทะเบียน ระหว่างวันที่ 1-30 พฤศจิกายน 2556 ที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ตนเองมีภูมิลำเนาอยู่ โดยนำเอกสารหลักฐานประกอบด้วย บัตรประจำตัวประชาชนหรือบัตรอื่นที่ออกโดยหน่วยงานของรัฐที่มีรูปถ่ายพร้อมสำเนา,ทะเบียนบ้านพร้อมสำเนา และสมุดบัญชีฝากธนาคารพร้อมสำเนา สำหรับกรณีที่ผู้ขอรับเงินเบี้ยยังชีพประสงค์ขอรับเงินเบี้ยยังชีพผ่านธนาคาร
ผู้มีสิทธิรับเงินเบี้ยยังชีพคนพิการรายใหม่ที่ยังไม่เคยลงทะเบียนก่อน ซึ่งมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามข้อ 6 แห่งระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยหลักเกณฑ์การจ่ายเงินเบี้ยความพิการให้คนพิการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2553 รวมทั้งคนพิการที่ย้ายภูมิลำเนาเข้ามาใหม่ ให้ไปลงทะเบียน ระหว่างวันที่ 1-30 พฤศจิกายน 2556 ที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ตนเองมีภูมิลำเนาอยู่ โดยนำเอกสารหลักฐานประกอบด้วย บัตรประจำตัวคนพิการตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมคุณภาพชีวิตคนพิการ, ทะเบียนบ้านพร้อมสำเนา และสมุดบัญชีฝากธนาคารพร้อมสำเนา สำหรับกรณีที่ผู้ขอรับเงินเบี้ยยังชีพประสงค์ขอรับเงินเบี้ยยังชีพผ่านธนาคาร
ทั้งนี้ ปีงบประมาณ พ.ศ.2557 (1 ตุลาคม 2556 – 30 กันยายน 2557) จังหวัดยโสธร มีผู้สูงอายุที่มีสิทธิรับเบี้ยยังชีพ จำนวน 37,818 คน ผู้ทุพพลภาพที่มีสิทธิรับเบี้ยยังชีพ จำนวน 6,095 คน (ข้อมูล ณ 1 ตุลาคม 2556) โดยมีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นหน่วยงานรับผิดชอบในการเบิกจ่าย ภายในวันที่ 10 ของทุกเดือน หากไม่ได้รับความสะดวก หรือมีข้อสงสัย หรือต้องการสอบถามข้อมูลดังกล่าว สามารถติดต่อได้ที่ ท้องถิ่นจังหวัดยโสธร หมายเลขโทรศัพท์ 089-2802116 หรือสำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นจังหวัดยโสธร หมายเลขโทรศัพท์ 045-713035 ต่อ 16
ส.ปชส.ยโสธร/ปิยะนุช 25 ตุลาคม 2556
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น