วันนี้ (4 ก.พ.57 ) เวลา 10.00 น. นายอภิชาติ งามกมล รองผู้ว่าราชการจังหวัดอำนาจเจริญ เป็นประธานการแถลงข่าวการเพราะปลูกพืชฤดูแล้ง ปี 2556/57 ที่ แปลงนาของนางนฤมล มุทุกันต์ บ้านโคกชาด หมู่ที่ 7 ตำบลคำพระ อำเภอหัวตะพาน จังหวัดอำนาจเจริญ โดย สำนักงานเกษตรจังหวัดอำนาจเจริญ ได้จัดขึ้น
นายอภิชาติ งามกมล รองผู้ว่าราชการจังหวัดอำนาจเจริญ การส่งเสริมการเพาะปลูกพืชฤดูแล้ง พืชฤดูแล้ง หมายถึง พืชที่ปลูกหลังจากการเก็บเกี่ยวข้าวนาปี โดยยึดช่วงเวลาทำการเพาะปลูกตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน ถึง สิ้นเดือนเมษายนของปีถัดไป โดยในช่วงฤดูแล้งของทุกๆปี น้ำในเขื่อนหรืออ่างเก็บน้ำต่างๆ จะมีปริมาณลดน้อยลง ส่งผลกระทบถึงเกษตรกรที่กำลังเพาะปลูกพืชผลทางการเกษตรในช่วงฤดูแล้งนี้อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เกษตรกรจึงควรหันมาปลูกพืชอายุเก็บเกี่ยวสั้น และใช้น้ำน้อยปริมาณ 400-600 ลบ.ม./ไร่/รอบการผลิตทดแทน เช่น ถั่วเขียว ถั่วลิสง ข้าวโพดฝักสด แตงโม และพืชผักต่างๆ ที่มีแนวโน้มราคาและช่องทางการตลาดอยู่ในเกณฑ์ดี เป็นการสร้างรายได้เสริมให้กับเกษตรกรอีกทางหนึ่ง นอกจากนี้ยังช่วยให้เกษตรกรได้พักดิน และช่วยปรับโครงสร้างดินให้สมบูรณ์ขึ้น รวมทั้งช่วยตัดวงจรปัญหาการระบาดของศัตรูพืชต่างๆด้วย การส่งเสริมการผลิตพืชตามระบบเกษตรกรดีที่เหมาะสม (GAP) ในการส่งเสริมการเพาะปลูกพืชฤดูแล้งนั้น เกษตรกรหลายรายได้เข้าสู่ระบบการผลิตแบบ GAP (Good Agricultural Practice) คือระบบการจัดการคุณภาพด้านการผลิตทางการเกษตรที่สามารถควบคุมระบบการผลิต ให้ผลผลิตมีความปลอดภัย ปราศจากการปนเปื้อนของสารเคมีกำจัดศัตรูพืช โดยเกษตรกรต้องปฏิบัติตามคำแนะนำที่ถูกต้องตั้งแต่การปลูก จนถึงการเก็บเกี่ยว การจัดการหลังการเก็บเกี่ยว การบรรจุหีบห่อ ซึ่งจะมีการตรวจประเมิน เมื่อผ่านการตรวจสอบจึงจะได้ใบรับรองแหล่งผลิตพืช (ใบ Q) ถือเป็นการผลิตอย่างเป็นระบบที่ก่อให้เกิดความปลอดภัยต่อเกษตรกรผู้ผลิต รวมถึงผู้บริโภค ภายใต้ความคุ้มทุน และมีการใช้ทรัพยากรที่เกิดประโยชน์สูงสุด
จากนั้น นายอภิชาติ งามกมล รองผู้ว่าราชการจังหวัดอำนาจเจริญ กล่าวให้กำลังใจพบปะเกษตรกร อำเภอหัวตะพานที่เพาะปลูกพืชฤดูแล้ง และปลูกข้าวโพดในแปลงปลูกเกษตรกรเพื่อเป็นศิริมงคล พร้อมชมการแข่งขันการกินข้าวโพดและมอบรางวัลให้กับผู้ที่ชนะการแข่งขัน
นายอภิชาติ งามกมล รองผู้ว่าราชการจังหวัดอำนาจเจริญ การส่งเสริมการเพาะปลูกพืชฤดูแล้ง พืชฤดูแล้ง หมายถึง พืชที่ปลูกหลังจากการเก็บเกี่ยวข้าวนาปี โดยยึดช่วงเวลาทำการเพาะปลูกตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน ถึง สิ้นเดือนเมษายนของปีถัดไป โดยในช่วงฤดูแล้งของทุกๆปี น้ำในเขื่อนหรืออ่างเก็บน้ำต่างๆ จะมีปริมาณลดน้อยลง ส่งผลกระทบถึงเกษตรกรที่กำลังเพาะปลูกพืชผลทางการเกษตรในช่วงฤดูแล้งนี้อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เกษตรกรจึงควรหันมาปลูกพืชอายุเก็บเกี่ยวสั้น และใช้น้ำน้อยปริมาณ 400-600 ลบ.ม./ไร่/รอบการผลิตทดแทน เช่น ถั่วเขียว ถั่วลิสง ข้าวโพดฝักสด แตงโม และพืชผักต่างๆ ที่มีแนวโน้มราคาและช่องทางการตลาดอยู่ในเกณฑ์ดี เป็นการสร้างรายได้เสริมให้กับเกษตรกรอีกทางหนึ่ง นอกจากนี้ยังช่วยให้เกษตรกรได้พักดิน และช่วยปรับโครงสร้างดินให้สมบูรณ์ขึ้น รวมทั้งช่วยตัดวงจรปัญหาการระบาดของศัตรูพืชต่างๆด้วย การส่งเสริมการผลิตพืชตามระบบเกษตรกรดีที่เหมาะสม (GAP) ในการส่งเสริมการเพาะปลูกพืชฤดูแล้งนั้น เกษตรกรหลายรายได้เข้าสู่ระบบการผลิตแบบ GAP (Good Agricultural Practice) คือระบบการจัดการคุณภาพด้านการผลิตทางการเกษตรที่สามารถควบคุมระบบการผลิต ให้ผลผลิตมีความปลอดภัย ปราศจากการปนเปื้อนของสารเคมีกำจัดศัตรูพืช โดยเกษตรกรต้องปฏิบัติตามคำแนะนำที่ถูกต้องตั้งแต่การปลูก จนถึงการเก็บเกี่ยว การจัดการหลังการเก็บเกี่ยว การบรรจุหีบห่อ ซึ่งจะมีการตรวจประเมิน เมื่อผ่านการตรวจสอบจึงจะได้ใบรับรองแหล่งผลิตพืช (ใบ Q) ถือเป็นการผลิตอย่างเป็นระบบที่ก่อให้เกิดความปลอดภัยต่อเกษตรกรผู้ผลิต รวมถึงผู้บริโภค ภายใต้ความคุ้มทุน และมีการใช้ทรัพยากรที่เกิดประโยชน์สูงสุด
จากนั้น นายอภิชาติ งามกมล รองผู้ว่าราชการจังหวัดอำนาจเจริญ กล่าวให้กำลังใจพบปะเกษตรกร อำเภอหัวตะพานที่เพาะปลูกพืชฤดูแล้ง และปลูกข้าวโพดในแปลงปลูกเกษตรกรเพื่อเป็นศิริมงคล พร้อมชมการแข่งขันการกินข้าวโพดและมอบรางวัลให้กับผู้ที่ชนะการแข่งขัน
ประกาศิต สุวะทอง/ข่าว/ภาพ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น