กระทรวงพลังงาน ร่วมถอนพิษวิกฤตราคาก๊าซหุงต้ม เดินหน้าโครงการรับมอบระบบผลิตก๊าซชีวภาพสำหรับครัวเรือนจากประเทศจีน ยันติดตั้งระบบผลิตก๊าซชีวภาพ 300 ระบบช่วยเกษตรกร 300 ครัวเรือน ในจังหวัดนครราชสีมาได้ใช้ผลิตพลังงานจากของเสีย มูลสัตว์ทดแทนการใช้ก๊าซหุงต้มได้สูงถึง 52,560 กิโลกรัมต่อปี ประหยัดเงินได้สูงถึง1.05 ล้านบาทต่อปี และลดการตัดไม้ได้ปีละ 157,600 กิโลกรัม
วันนี้ (11 กย 56 ) เวลา 11.30 น. ที่โรงเรียนป่าไม้อุทิศ 2 บ้านหนองปล้อง อ.ปกธงชัย จ.นครราชสีมา นายอำนวย ทองสถิต อธิบดีกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน กระทรวงพลังงาน พร้อมด้วย นาย Ning Fukui (นิง ฟุอุ้ย) เอกอัครราชฑูตสาธารณรัฐประชาชนจีน ประจำประเทศไทย และ ดร.วินัย บัวประดิษฐ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา ร่วมกันลงนามความร่วมมือในการส่งมอบระบบผลิตก๊าซชีวภาพสำหรับครัวเรือน จำนวน 300 ระบบ ให้แก่เกษตรกรในพื้นที่ 5 อำเภอ ในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา ประกอบด้วย อ.ปักธงชัย อ.บัวใหญ่ อ.โนนแดง อ.โชคชัย และ อ.เมือง
นายอำนวย ทองสถิตย์ อธิบดีกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน เปิดเผยว่า รูปแบบระบบบ่อก๊าซชีวภาพที่ฝ่ายจีนได้มอบให้แก่ฝ่ายไทยนั้น เป็นระบบผลิตก๊าซชีวภาพแบบ Fixed Dome สำเร็จรูป ซึ่งมีปริมาณสุทธิ 6 ลูกบาศก์เมตร ผลิตด้วยไฟร์เบอร์กลาส และพลาสติก เป็นแบบที่ผลิตในประเทศจีน ชิ้นส่วนอุปกรณ์จะแยกเป็น 3 ส่วน เพื่อง่ายต่อการเคลื่อนย้ายขนส่งไปประกอบและติดตั้ง มีอายุการใช้งานไม่น้อยกว่า 5 ปี โดยระบบบ่อก๊าซชีวภาพดังกล่าวนี้ จะใช้กับครัวเรือนที่มีสมาชิกประมาณ 4 – 5 คน มีหมู 2 – 4 ตัว มีปริมาณมูลหมู 4 – 8 กิโลกรัมต่อวัน ใช้ได้กับการหุงต้มจำนวน 3 มื้อ/วัน ซึ่งจะช่วยให้ครัวเรือนสามารถประหยัดค่าใช้จ่ายด้านพลังงาน โดยเฉพาะการใช้ทดแทนก๊าซหุงต้มสำหรับครัวเรือน ความร่วมมือที่ได้รับกับทางการจีนในครั้งนี้ มั่นใจว่า ในภาพรวม จะสามารถช่วยลดการนำเข้าและพึ่งพาก๊าซหุงต้มได้สูงถึง 52,560 กิโลกรัมต่อปี สามารถประหยัดเงินเป็นมูลค่าประมาณ 1,051,200 บาทต่อปี ลดการตัดไม้ทำลายป่าเพื่อนำมาเป็นเชื้อเพลิงประเภทถ่าน ได้สูงถึงปีละ 157,600 กิโลกรัม รวมทั้งแนวทางการนำของเสียมาผลิตพลังงาน ในระบบบ่อก๊าซชีวภาพดังกล่าว จะส่งผลให้เกิดสุขอนามัยในชุมชนที่ดีขึ้น เกษตรกรรู้จักและเข้าใจในการพึ่งพาตนเอง โดยนำของเสียมาผลิตเป็นพลังงาน และทำให้เกิดประโยชน์สูงสุด ตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียงอีกด้วย ในส่วนของการกำหนดพื้นที่เป้าหมายในการติดตั้งระบบทั้ง 300 ระบบ เพื่อส่งเสริมให้เกษตรผลิตก๊าซชีวภาพจากมูลสัตว์ ของเสียอาหารจากครัวเรือน หรือสิ่งปฏิกูลจากห้องสุขา เบื้องต้น ได้คัดเลือกครัวเรือนที่มีศักยภาพและเหมาะสมในจังหวัดนครราชสีมา โดยมีเกษตรกรที่ผ่านการพิจารณาจำนวน 300 ครัวเรือนที่ได้เข้าร่วมโครงการ ใน 5 พื้นที่ ได้แก่ เมืองนครราชสีมา 25 ระบบ อำเภอโชคชัย 15 ระบบ อำเภอปักธงชัย 128 ระบบ อำเภอโนนแดง 50 ระบบ และอำเภอบัวใหญ่ 82 ระบบ โดยเบื้องต้น คุณสมบัติของเกษตรกรหรือชุมชนที่จะเข้าร่วมโครงการ ฯ จะต้องมีความรู้ความเข้าใจถึงประโยชน์ของก๊าซชีวภาพ และสมัครใจที่จะใช้ รวมทั้งต้องมีสิ่งอำนวยความสะดวกในการติดตั้ง ได้แก่ พื้นที่เปล่าสำหรับการติดตั้งอย่างน้อย 5 x 10 เมตร มีพื้นที่เพาะปลูกไม่น้อยกว่า 1 ไร่ มีแหล่งน้ำเข้าถึงตลอดปี มีโรงเรือนสำหรับสัตว์และสุขาในครัวเรือนตั้งอยู่ในบริเวณใกล้เคียงเพื่อสะดวกในการรวบรวมของเสียแต่ละแหล่งมาลงระบบผลิตก๊าซชีวภาพ มีสัตว์ เช่นโดยมี สุกรขุน ขนาด 60 กิโลกรัมต่อตัว ไม่น้อยกว่า 3 ตัว หรือมีสัตว์อื่นที่ให้ของเสียได้ ซึ่งจังหวัดนครราชสีมาดังกล่าว ถือเป็นจังหวัดที่มีความพร้อมสูงสุด สำหรับผลการดำเนินงาน ขณะนี้ พพ. ได้คัดเลือกศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีวมวล มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี (มทส.) เป็นที่ปรึกษาโครงการ และได้เริ่มอบรมการใช้ผลิตก๊าซชีวภาพดังกล่าวให้แก่ครัวเรือนที่ได้รับ ซึ่งปัจจุบัน มีการทยอยติดตั้งให้แก่ครัวเรือนและเริ่มใช้งานระบบไปแล้ว จำนวน 80 ระบบได้แก่ เกษตรกรในอำเภอเมือง 21 ครัวเรือน อำเภอโชคชัย 4 ครัวเรือน อำเภอปักธงชัย 11 ครัวเรือน อำเภอโนนแดง 26 ครัวเรือน และอำเภอบัวใหญ่ 18 ครัวเรือน
รองศาสตราจารย์ ดร.สิทธิชัย แสงอาทิตย์ รักษาการแทนรองอธิการบดีฝ่ายพัฒนา ในนามมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี (มทส.) กล่าวว่า "มทส. โดย ศูนย์ความเป็นเลิศทางด้านชีวมวล ได้รับมอบหมายจากกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน ให้เป็นที่ปรึกษาและดำเนินโครงการศึกษาและติดตามประเมินผลระบบผลิตก๊าซชีวภาพสำหรับครัวเรือนภายใต้ความร่วมมือของรัฐบาลจีน ซึ่งสนับสนุนระบบผลิตก๊าซชีวภาพให้แก่ครัวเรือนในชนบทของไทย จำนวน 300 ระบบ รูปแบบ Fixed Dome สำเร็จรูป ผลิตด้วยไฟเบอร์กลาสและพลาสติก ปริมาตรสุทธิ 6 ลูกบาศก์เมตร ผลิตก๊าซชีวภาพสำหรับใช้หุงต้มได้ 3 มื้อต่อวัน เหมาะกับครัวเรือนที่มีสมาชิก 4-5 คน มีสุกร 2-20 ตัว ใช้ทดแทนก๊าซหุงต้ม ช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายด้านพลังงานของครัวเรือน ทั้งนี้ มทส. เป็นมหาวิทยาลัยด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มีความพร้อมด้านผู้เชี่ยวชาญ เทคโนโลยี และประสบการณ์ในการทำงานวิจัยด้านพลังงานทดแทน โดยเป็นที่ปรึกษาในการติดตั้งระบบให้กับเกษตรกรอย่างเหมาะสม มี 5 อำเภอ ของจังหวัดนครราชสีมาเป็นพื้นที่ดำเนินโครงการ ได้แก่ ปักธงชัย 128 ระบบ บัวใหญ่ 82 ระบบ โนนแดง 50 ระบบ โชคชัย 15 ระบบ และอำเภอเมือง 25 ระบบ ทั้งนี้ ได้ดำเนินการเตรียมพื้นที่ร่วมกับเกษตรกร จัดอบรมเชิงปฏิบัติการให้แก่ครัวเรือนที่ได้รับการคัดเลือกเข้าร่วมโครงการ ควบคุมการก่อสร้างและติดตั้งระบบให้ถูกต้องตามแบบมาตรฐานของจีน แนวทางการกำหนดความปลอดภัยในการผลิตและใช้ก๊าซชีวภาพของ พพ. สาธิตการเดินระบบผลิตก๊าซชีวภาพให้กับครัวเรือน การบำรุงรักษา และการนำก๊าซชีวภาพไปใช้ประโยชน์ในครัวเรือน ตรวจวัดประสิทธิภาพในการผลิตก๊าซชีวภาพของระบบ ซึ่งขณะนี้ได้ดำเนินการติดตั้งระบบและเริ่มใช้งานระบบไปแล้ว 80 ระบบ ได้แก่ ปักธงชัย 11 ระบบ บัวใหญ่ 18 ระบบ โนนแดง 26 ระบบ โชคชัย 4 ระบบ และอำเภอเมือง 21 ระบบ สำหรับการดำเนินงานในระยะต่อไป จะได้นำข้อมูลจากการตรวจวัดมาประเมินประสิทธิภาพระบบ วิเคราะห์ความเหมาะสมทางด้านเทคนิค เศรษฐศาสตร์ สังคมและสิ่งแวดล้อม นำเสนอแนวทางพัฒนาปรับปรุงทางด้านเทคนิคและรูปแบบเพื่อใช้ขยายผลต่อไป ตลอดจน เผยแพร่การดำเนินงานให้กับหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง นักวิชาการ สถาบันการศึกษา ประชาชน และผู้สนใจ เพื่อส่งเสริมการผลิตก๊าซชีวภาพและใช้เป็นพลังงานทดแทนในครัวเรือน การใช้ประโยชน์ให้เหมาะสมกับวิถีชีวิตเกษตรกรไทย พึ่งพาตนเองตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง”
วันนี้ (11 กย 56 ) เวลา 11.30 น. ที่โรงเรียนป่าไม้อุทิศ 2 บ้านหนองปล้อง อ.ปกธงชัย จ.นครราชสีมา นายอำนวย ทองสถิต อธิบดีกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน กระทรวงพลังงาน พร้อมด้วย นาย Ning Fukui (นิง ฟุอุ้ย) เอกอัครราชฑูตสาธารณรัฐประชาชนจีน ประจำประเทศไทย และ ดร.วินัย บัวประดิษฐ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา ร่วมกันลงนามความร่วมมือในการส่งมอบระบบผลิตก๊าซชีวภาพสำหรับครัวเรือน จำนวน 300 ระบบ ให้แก่เกษตรกรในพื้นที่ 5 อำเภอ ในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา ประกอบด้วย อ.ปักธงชัย อ.บัวใหญ่ อ.โนนแดง อ.โชคชัย และ อ.เมือง
นายอำนวย ทองสถิตย์ อธิบดีกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน เปิดเผยว่า รูปแบบระบบบ่อก๊าซชีวภาพที่ฝ่ายจีนได้มอบให้แก่ฝ่ายไทยนั้น เป็นระบบผลิตก๊าซชีวภาพแบบ Fixed Dome สำเร็จรูป ซึ่งมีปริมาณสุทธิ 6 ลูกบาศก์เมตร ผลิตด้วยไฟร์เบอร์กลาส และพลาสติก เป็นแบบที่ผลิตในประเทศจีน ชิ้นส่วนอุปกรณ์จะแยกเป็น 3 ส่วน เพื่อง่ายต่อการเคลื่อนย้ายขนส่งไปประกอบและติดตั้ง มีอายุการใช้งานไม่น้อยกว่า 5 ปี โดยระบบบ่อก๊าซชีวภาพดังกล่าวนี้ จะใช้กับครัวเรือนที่มีสมาชิกประมาณ 4 – 5 คน มีหมู 2 – 4 ตัว มีปริมาณมูลหมู 4 – 8 กิโลกรัมต่อวัน ใช้ได้กับการหุงต้มจำนวน 3 มื้อ/วัน ซึ่งจะช่วยให้ครัวเรือนสามารถประหยัดค่าใช้จ่ายด้านพลังงาน โดยเฉพาะการใช้ทดแทนก๊าซหุงต้มสำหรับครัวเรือน ความร่วมมือที่ได้รับกับทางการจีนในครั้งนี้ มั่นใจว่า ในภาพรวม จะสามารถช่วยลดการนำเข้าและพึ่งพาก๊าซหุงต้มได้สูงถึง 52,560 กิโลกรัมต่อปี สามารถประหยัดเงินเป็นมูลค่าประมาณ 1,051,200 บาทต่อปี ลดการตัดไม้ทำลายป่าเพื่อนำมาเป็นเชื้อเพลิงประเภทถ่าน ได้สูงถึงปีละ 157,600 กิโลกรัม รวมทั้งแนวทางการนำของเสียมาผลิตพลังงาน ในระบบบ่อก๊าซชีวภาพดังกล่าว จะส่งผลให้เกิดสุขอนามัยในชุมชนที่ดีขึ้น เกษตรกรรู้จักและเข้าใจในการพึ่งพาตนเอง โดยนำของเสียมาผลิตเป็นพลังงาน และทำให้เกิดประโยชน์สูงสุด ตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียงอีกด้วย ในส่วนของการกำหนดพื้นที่เป้าหมายในการติดตั้งระบบทั้ง 300 ระบบ เพื่อส่งเสริมให้เกษตรผลิตก๊าซชีวภาพจากมูลสัตว์ ของเสียอาหารจากครัวเรือน หรือสิ่งปฏิกูลจากห้องสุขา เบื้องต้น ได้คัดเลือกครัวเรือนที่มีศักยภาพและเหมาะสมในจังหวัดนครราชสีมา โดยมีเกษตรกรที่ผ่านการพิจารณาจำนวน 300 ครัวเรือนที่ได้เข้าร่วมโครงการ ใน 5 พื้นที่ ได้แก่ เมืองนครราชสีมา 25 ระบบ อำเภอโชคชัย 15 ระบบ อำเภอปักธงชัย 128 ระบบ อำเภอโนนแดง 50 ระบบ และอำเภอบัวใหญ่ 82 ระบบ โดยเบื้องต้น คุณสมบัติของเกษตรกรหรือชุมชนที่จะเข้าร่วมโครงการ ฯ จะต้องมีความรู้ความเข้าใจถึงประโยชน์ของก๊าซชีวภาพ และสมัครใจที่จะใช้ รวมทั้งต้องมีสิ่งอำนวยความสะดวกในการติดตั้ง ได้แก่ พื้นที่เปล่าสำหรับการติดตั้งอย่างน้อย 5 x 10 เมตร มีพื้นที่เพาะปลูกไม่น้อยกว่า 1 ไร่ มีแหล่งน้ำเข้าถึงตลอดปี มีโรงเรือนสำหรับสัตว์และสุขาในครัวเรือนตั้งอยู่ในบริเวณใกล้เคียงเพื่อสะดวกในการรวบรวมของเสียแต่ละแหล่งมาลงระบบผลิตก๊าซชีวภาพ มีสัตว์ เช่นโดยมี สุกรขุน ขนาด 60 กิโลกรัมต่อตัว ไม่น้อยกว่า 3 ตัว หรือมีสัตว์อื่นที่ให้ของเสียได้ ซึ่งจังหวัดนครราชสีมาดังกล่าว ถือเป็นจังหวัดที่มีความพร้อมสูงสุด สำหรับผลการดำเนินงาน ขณะนี้ พพ. ได้คัดเลือกศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีวมวล มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี (มทส.) เป็นที่ปรึกษาโครงการ และได้เริ่มอบรมการใช้ผลิตก๊าซชีวภาพดังกล่าวให้แก่ครัวเรือนที่ได้รับ ซึ่งปัจจุบัน มีการทยอยติดตั้งให้แก่ครัวเรือนและเริ่มใช้งานระบบไปแล้ว จำนวน 80 ระบบได้แก่ เกษตรกรในอำเภอเมือง 21 ครัวเรือน อำเภอโชคชัย 4 ครัวเรือน อำเภอปักธงชัย 11 ครัวเรือน อำเภอโนนแดง 26 ครัวเรือน และอำเภอบัวใหญ่ 18 ครัวเรือน
รองศาสตราจารย์ ดร.สิทธิชัย แสงอาทิตย์ รักษาการแทนรองอธิการบดีฝ่ายพัฒนา ในนามมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี (มทส.) กล่าวว่า "มทส. โดย ศูนย์ความเป็นเลิศทางด้านชีวมวล ได้รับมอบหมายจากกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน ให้เป็นที่ปรึกษาและดำเนินโครงการศึกษาและติดตามประเมินผลระบบผลิตก๊าซชีวภาพสำหรับครัวเรือนภายใต้ความร่วมมือของรัฐบาลจีน ซึ่งสนับสนุนระบบผลิตก๊าซชีวภาพให้แก่ครัวเรือนในชนบทของไทย จำนวน 300 ระบบ รูปแบบ Fixed Dome สำเร็จรูป ผลิตด้วยไฟเบอร์กลาสและพลาสติก ปริมาตรสุทธิ 6 ลูกบาศก์เมตร ผลิตก๊าซชีวภาพสำหรับใช้หุงต้มได้ 3 มื้อต่อวัน เหมาะกับครัวเรือนที่มีสมาชิก 4-5 คน มีสุกร 2-20 ตัว ใช้ทดแทนก๊าซหุงต้ม ช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายด้านพลังงานของครัวเรือน ทั้งนี้ มทส. เป็นมหาวิทยาลัยด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มีความพร้อมด้านผู้เชี่ยวชาญ เทคโนโลยี และประสบการณ์ในการทำงานวิจัยด้านพลังงานทดแทน โดยเป็นที่ปรึกษาในการติดตั้งระบบให้กับเกษตรกรอย่างเหมาะสม มี 5 อำเภอ ของจังหวัดนครราชสีมาเป็นพื้นที่ดำเนินโครงการ ได้แก่ ปักธงชัย 128 ระบบ บัวใหญ่ 82 ระบบ โนนแดง 50 ระบบ โชคชัย 15 ระบบ และอำเภอเมือง 25 ระบบ ทั้งนี้ ได้ดำเนินการเตรียมพื้นที่ร่วมกับเกษตรกร จัดอบรมเชิงปฏิบัติการให้แก่ครัวเรือนที่ได้รับการคัดเลือกเข้าร่วมโครงการ ควบคุมการก่อสร้างและติดตั้งระบบให้ถูกต้องตามแบบมาตรฐานของจีน แนวทางการกำหนดความปลอดภัยในการผลิตและใช้ก๊าซชีวภาพของ พพ. สาธิตการเดินระบบผลิตก๊าซชีวภาพให้กับครัวเรือน การบำรุงรักษา และการนำก๊าซชีวภาพไปใช้ประโยชน์ในครัวเรือน ตรวจวัดประสิทธิภาพในการผลิตก๊าซชีวภาพของระบบ ซึ่งขณะนี้ได้ดำเนินการติดตั้งระบบและเริ่มใช้งานระบบไปแล้ว 80 ระบบ ได้แก่ ปักธงชัย 11 ระบบ บัวใหญ่ 18 ระบบ โนนแดง 26 ระบบ โชคชัย 4 ระบบ และอำเภอเมือง 21 ระบบ สำหรับการดำเนินงานในระยะต่อไป จะได้นำข้อมูลจากการตรวจวัดมาประเมินประสิทธิภาพระบบ วิเคราะห์ความเหมาะสมทางด้านเทคนิค เศรษฐศาสตร์ สังคมและสิ่งแวดล้อม นำเสนอแนวทางพัฒนาปรับปรุงทางด้านเทคนิคและรูปแบบเพื่อใช้ขยายผลต่อไป ตลอดจน เผยแพร่การดำเนินงานให้กับหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง นักวิชาการ สถาบันการศึกษา ประชาชน และผู้สนใจ เพื่อส่งเสริมการผลิตก๊าซชีวภาพและใช้เป็นพลังงานทดแทนในครัวเรือน การใช้ประโยชน์ให้เหมาะสมกับวิถีชีวิตเกษตรกรไทย พึ่งพาตนเองตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง”
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น