เมื่อเวลา 10.00 น. วันที่ 10 ก.ย. 56 ผู้สื่อข่าวรายงานจากจังหวัดศรีสะเกษ ว่า จากกรณีที่ ก๊าซหุงต้ม (แอลพีจี) ภาคครัวเรือน ปรับขึ้นราคาอีกกิโลกรัมละ 50 สตางค์ ต่อเดือน และจะทยอยปรับขึ้นเช่นนี้ไป 12 เดือน รวมแล้วขึ้นราคาเป็น 6 บาท จากเดิม ราคา 18.13 บาท/กิโลกรัม เป็น 24.82 บาท และการปรับขึ้นค่าไฟฟ้าอัตโนมัติ หรือค่าเอฟที อีก 7 สตางค์ต่อหน่วย ในงวดเดือนกันยายน-ธันวาคม 2556 ซึ่งจากเหตุการณ์ดังกล่าว ส่งผลกระทบให้มีการปรับตัวขึ้นของสินค้าหลายประเภท และค่าครองชีพที่สูงขึ้นของประชาชน นายสิริพงษ์ อังคสกุลเกียรติ ประธานหอการค้าจังหวัดศรีสะเกษ เปิดเผยถึงเรื่องนี้ว่า ในช่วงที่ผ่านมา ทางรัฐบาล ได้ช่วยพยุงราคาของก๊าซหุงต้ม มาโดยตลอด แต่อย่างไรก็ตาม รัฐบาลก็ควรสร้างความกระจ่างและสะท้อนถึงราคาต้นทุนของก๊าซหุงต้มที่แท้จริงให้ประชาชนได้รับทราบ อีกทั้งการปรับตัวขึ้นของราคาก๊าซหุงต้มนั้น ควรเลือกระยะเวลาที่เหมาะสม เพราะตลอดปี 2556 ที่ผ่านมา ประชาชนชาวไทย ถือว่าต้องรับภาระหนักมาตลอดทั้งปี แม้จะมีการปรับขึ้นของค่าแรงขั้นต่ำเป็น 300 บาท แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าประชาชนจะมีรายได้เพิ่มมากขึ้น เพราะต้องต่อสู้กับภาระของค่าครองชีพ ที่สูงขึ้นเช่นกัน เพราะฉะนั้นการจะปรับตัวขึ้นราคาของสินค้าประเภทใดก็ตาม รัฐบาลควรเลือกระยะเวลาที่เหมาะสม เพื่อให้ส่งผลกระทบต่อประชาชนน้อยที่สุด
ทั้งนี้ ส่วนของเรื่องค่าไฟฟ้านั้น ในปัจจุบันนี้ รัฐบาลยังสามารถจำหน่ายไฟฟ้าให้กับประเทศกัมพูชา ซึ่งเป็นประเทศเพื่อนบ้านได้ในราคาถูก ซึ่งแพงกว่าค่าไฟฟ้าที่จำหน่ายภายในประเทศไทยเพียงไม่กี่หน่วยเท่านั้น ซึ่งถ้าหากว่ารัฐบาลสามารถช่วยพยุงราคาค่าไฟฟ้าก่อนได้ จะเป็นเรื่องที่ดีอย่างยิ่ง เพราะจะเป็นการลดภาระของประชาชนได้เป็นอย่างมาก นายสิริพงษ์ กล่าว
ทั้งนี้ ส่วนของเรื่องค่าไฟฟ้านั้น ในปัจจุบันนี้ รัฐบาลยังสามารถจำหน่ายไฟฟ้าให้กับประเทศกัมพูชา ซึ่งเป็นประเทศเพื่อนบ้านได้ในราคาถูก ซึ่งแพงกว่าค่าไฟฟ้าที่จำหน่ายภายในประเทศไทยเพียงไม่กี่หน่วยเท่านั้น ซึ่งถ้าหากว่ารัฐบาลสามารถช่วยพยุงราคาค่าไฟฟ้าก่อนได้ จะเป็นเรื่องที่ดีอย่างยิ่ง เพราะจะเป็นการลดภาระของประชาชนได้เป็นอย่างมาก นายสิริพงษ์ กล่าว
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น