สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติสัมมนาการรับฟังความคิดเห็นต่อร่างกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองการดำเนินงาน องค์การสนธิสัญญาว่าด้วยการห้ามทดลองนิวเคลียร์
ที่โรงแรมตักสิลา จังหวัดมหาสารคาม สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติได้จัดโครงการสัมมนา การรับฟังความคิดเห็นต่อร่างกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองการดำเนินงาน องค์การสนธิสัญญาว่าด้วยการห้ามทดลองนิวเคลียร์โดยสมบูรณ์ ร่างกฎหมายว่าด้วยการปราบปรามการก่อการร้ายโดยใช้นิวเคลียร์ และกฎกระทรวงและระเบียบซึ่งออกตามความในพระราชบัญญัติ พลังงานปรมาณูเพื่อสันติ พ.ศ.2504 โดยมีนายสุพรรณ แสงทอง เลขาธิการสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ เป็นประธานในพิธีเปิดการสัมมนา โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อให้สอดคล้องกับมาตรา 57 วรรคสอง คือ การวางนโยบาย หรือการออกกฎที่มีผลกระทบต่อประชาชนต้องจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นอย่างทั่วถึง และมาตรา 130 คือ การทำหนังสือสัญญา หรือข้อตกลงระหว่างประเทศก่อนนำเข้าสู่การพิจารณาของรัฐสภา คณะรัฐมนตรีต้องแจ้งข้อมูลข่าวสารแก่ประชาชน และให้ประชาชนเข้าถึงข้อมูลอย่างทั่วถึง ถึงผลกระทบที่เกิดขึ้น
การสัมมนาครั้งนี้ มีระยะเวลาจำนวน 1 วัน ซึ่งผู้เข้าร่วมสัมมนาประกอบด้วยผู้รับใบอนุญาต ผลิต ครอบครอง หรือใช้วัสดุกัมมันตรังสี เครื่องกำเนิดรังสี วัสดุนิวเคลียร์ และพลังงานปรมาณูจากเครื่องกำเนิดรังสี ข้าราชการ/เจ้าหน้าที่/คณาจารย์ของสถาบันการศึกษา หน่วยงานราชการ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข ผู้ปฎิบัติงานทางรังสี นิสิต นักศึกษา และประชาชนทั่วไป รวมทั้งสิ้น 500 คน
ที่โรงแรมตักสิลา จังหวัดมหาสารคาม สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติได้จัดโครงการสัมมนา การรับฟังความคิดเห็นต่อร่างกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองการดำเนินงาน องค์การสนธิสัญญาว่าด้วยการห้ามทดลองนิวเคลียร์โดยสมบูรณ์ ร่างกฎหมายว่าด้วยการปราบปรามการก่อการร้ายโดยใช้นิวเคลียร์ และกฎกระทรวงและระเบียบซึ่งออกตามความในพระราชบัญญัติ พลังงานปรมาณูเพื่อสันติ พ.ศ.2504 โดยมีนายสุพรรณ แสงทอง เลขาธิการสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ เป็นประธานในพิธีเปิดการสัมมนา โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อให้สอดคล้องกับมาตรา 57 วรรคสอง คือ การวางนโยบาย หรือการออกกฎที่มีผลกระทบต่อประชาชนต้องจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นอย่างทั่วถึง และมาตรา 130 คือ การทำหนังสือสัญญา หรือข้อตกลงระหว่างประเทศก่อนนำเข้าสู่การพิจารณาของรัฐสภา คณะรัฐมนตรีต้องแจ้งข้อมูลข่าวสารแก่ประชาชน และให้ประชาชนเข้าถึงข้อมูลอย่างทั่วถึง ถึงผลกระทบที่เกิดขึ้น
การสัมมนาครั้งนี้ มีระยะเวลาจำนวน 1 วัน ซึ่งผู้เข้าร่วมสัมมนาประกอบด้วยผู้รับใบอนุญาต ผลิต ครอบครอง หรือใช้วัสดุกัมมันตรังสี เครื่องกำเนิดรังสี วัสดุนิวเคลียร์ และพลังงานปรมาณูจากเครื่องกำเนิดรังสี ข้าราชการ/เจ้าหน้าที่/คณาจารย์ของสถาบันการศึกษา หน่วยงานราชการ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข ผู้ปฎิบัติงานทางรังสี นิสิต นักศึกษา และประชาชนทั่วไป รวมทั้งสิ้น 500 คน
ภาณุวัชร คนเชี่ยว ข่าว/ส.ปชส.มค.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น