คณะกรรมการจัดทำผลิตภัณฑ์มวลรวม(GPP) จังหวัดมหาสารคาม ร่วมพิจารณาผลการวิเคราะห์ GPP ทั้ง 16 สาขา ประจำปี 2554 และประมาณการปี 2555 เพื่อปรับปรุงให้มีความถูกต้อง สะท้อนภาวะที่เป็นจริงในพื้นที่ หลังคณะกรรมการรายสาขาร่วมกันวิเคราะห์ภาพรวม เพื่อเสนอต่อคณะกรรมการ
นายธวัช สุระบาล รองผู้ว่าราชการจังหวัดมหาสารคาม ซึ่งกำกับดูแลด้านเศรษฐกิจ เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการจัดทำผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัดมหาสารคาม (GPP) ซึ่งสำนักงานคลังจังหวัดมหาสารคาม ในฐานะคณะทำงานและเลขานุการ ได้มีการรวบรวมผลการวิเคราะห์แบบ Bottom up ปี 2554 ประมาณการปี 2555 ตามตัวชี้วัดที่ 1.2 ระดับความสำเร็จของการพัฒนาคุณภาพการจัดทำผลิตภัณฑ์มวลรวม แบบ Milestone 5 ขั้นตอน ซึ่งการประชุมครั้งนี้ เป็นขั้นตอนที่ 5 ที่จะได้ร่วมกันพิจารณาเพื่อปรับปรุงให้มีความถูกต้อง สะท้อนภาวะที่เป็นจริงในพื้นที่ และเผยแพร่ผลการวิเคราะห์ทั้ง 16 สาขา ประกอบด้วย สาขาเกษตรกรรม สาขาประมง สาขาการทำเหมืองแร่และเหมืองหิน สาขาอุตสาหกรรม สาขาไฟฟ้า ก๊าซ และการประปา สาขาการก่อสร้าง สาขาการขายส่ง การขายปลีก การซ่อมแซมยานยนต์ จักรยานยนต์ ของใช้ส่วนบุคคลและของใช้ในครัวเรือน สาขาโรงแรมและภัตตาคาร สาขาขนส่ง สถานที่เก็บสินค้า และการคมนาคม สาขาตัวกลางทางการเงิน สาขาบริการด้านอสังหาริมทรัพย์ การให้เช่า และบริการทางธุรกิจ สาขาการบริหารราชการและการป้องกันประเทศ รวมทั้งการประสังคมภาคบังคับ สาขาการศึกษา สาขาการบริการด้านสุขภาพ และงานสังคมสงเคราะห์ สาขาการให้บริการชุมชน สังคม และบริการส่วนบุคคลอื่น ๆ และสาขาลูกจ้างในครัวเรือนส่วนบุคล
ผลจากการวิเคราะห์พบว่า สาขาที่มีการผลิตขยายตัวสูงขึ้นจากปี พ.ศ.2553 คือสาขาการทำเหมืองแร่และเหมืองหิน ขยายตัวร้อยละ 9.93 สาขาไฟฟ้าฯ ร้อยละ 11.27 สาขาการขายส่งฯ ร้อยละ 4.81สาขาขนส่งฯ ร้อยละ 19.46 สาขาบริการด้านอสังหาริมทรัพย์ฯ ร้อยละ 7.02 สาขาบริหารราชการฯ ร้อยละ 5.53 และสาขาบริการด้านสุขภาพฯ ร้อยละ 8.97 ขณะเดียวกันสาขาที่มีการผลิตหดตัว คือ สาขาอุตสาหกรรม หดตัวร้อยละ 3.72 สาขาการก่อสร้าง ร้อยละ 3.74 และสาขาลูกจ้างส่วนบุคคลในครัวเรือน ร้อยละ 24.85 ด้านดัชนีราคาผลิตภัณฑ์มวลรวม ในปี พ.ศ.2554 ขยายตัวร้อยละ 4.37 จากที่ขยายตัวชะลอลง ร้อยละ 3.07 ในปี พ.ศ. 2553
ทั้งนี้ คณะกรรมการจัดทำผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัดมหาสารคาม (GPP) มีมติให้มีการอธิบายเหตุผลเพิ่มเติมในการขยายตัว ชะลดตัว และหดตัวของแต่ละสาขา พร้อมหาเหตุผลสนับสนุนการวิเคราะห์ให้สอดคล้องกับสภาวการณ์ของจังหวัด ก่อนมีการนำไปเผยแพร่ต่อไป
นายธวัช สุระบาล รองผู้ว่าราชการจังหวัดมหาสารคาม ซึ่งกำกับดูแลด้านเศรษฐกิจ เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการจัดทำผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัดมหาสารคาม (GPP) ซึ่งสำนักงานคลังจังหวัดมหาสารคาม ในฐานะคณะทำงานและเลขานุการ ได้มีการรวบรวมผลการวิเคราะห์แบบ Bottom up ปี 2554 ประมาณการปี 2555 ตามตัวชี้วัดที่ 1.2 ระดับความสำเร็จของการพัฒนาคุณภาพการจัดทำผลิตภัณฑ์มวลรวม แบบ Milestone 5 ขั้นตอน ซึ่งการประชุมครั้งนี้ เป็นขั้นตอนที่ 5 ที่จะได้ร่วมกันพิจารณาเพื่อปรับปรุงให้มีความถูกต้อง สะท้อนภาวะที่เป็นจริงในพื้นที่ และเผยแพร่ผลการวิเคราะห์ทั้ง 16 สาขา ประกอบด้วย สาขาเกษตรกรรม สาขาประมง สาขาการทำเหมืองแร่และเหมืองหิน สาขาอุตสาหกรรม สาขาไฟฟ้า ก๊าซ และการประปา สาขาการก่อสร้าง สาขาการขายส่ง การขายปลีก การซ่อมแซมยานยนต์ จักรยานยนต์ ของใช้ส่วนบุคคลและของใช้ในครัวเรือน สาขาโรงแรมและภัตตาคาร สาขาขนส่ง สถานที่เก็บสินค้า และการคมนาคม สาขาตัวกลางทางการเงิน สาขาบริการด้านอสังหาริมทรัพย์ การให้เช่า และบริการทางธุรกิจ สาขาการบริหารราชการและการป้องกันประเทศ รวมทั้งการประสังคมภาคบังคับ สาขาการศึกษา สาขาการบริการด้านสุขภาพ และงานสังคมสงเคราะห์ สาขาการให้บริการชุมชน สังคม และบริการส่วนบุคคลอื่น ๆ และสาขาลูกจ้างในครัวเรือนส่วนบุคล
ผลจากการวิเคราะห์พบว่า สาขาที่มีการผลิตขยายตัวสูงขึ้นจากปี พ.ศ.2553 คือสาขาการทำเหมืองแร่และเหมืองหิน ขยายตัวร้อยละ 9.93 สาขาไฟฟ้าฯ ร้อยละ 11.27 สาขาการขายส่งฯ ร้อยละ 4.81สาขาขนส่งฯ ร้อยละ 19.46 สาขาบริการด้านอสังหาริมทรัพย์ฯ ร้อยละ 7.02 สาขาบริหารราชการฯ ร้อยละ 5.53 และสาขาบริการด้านสุขภาพฯ ร้อยละ 8.97 ขณะเดียวกันสาขาที่มีการผลิตหดตัว คือ สาขาอุตสาหกรรม หดตัวร้อยละ 3.72 สาขาการก่อสร้าง ร้อยละ 3.74 และสาขาลูกจ้างส่วนบุคคลในครัวเรือน ร้อยละ 24.85 ด้านดัชนีราคาผลิตภัณฑ์มวลรวม ในปี พ.ศ.2554 ขยายตัวร้อยละ 4.37 จากที่ขยายตัวชะลอลง ร้อยละ 3.07 ในปี พ.ศ. 2553
ทั้งนี้ คณะกรรมการจัดทำผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัดมหาสารคาม (GPP) มีมติให้มีการอธิบายเหตุผลเพิ่มเติมในการขยายตัว ชะลดตัว และหดตัวของแต่ละสาขา พร้อมหาเหตุผลสนับสนุนการวิเคราะห์ให้สอดคล้องกับสภาวการณ์ของจังหวัด ก่อนมีการนำไปเผยแพร่ต่อไป
ส.ปชส.มหาสารคาม/ข่าว
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น