วันนี้เวลา 06.10 น .(11 ก.ย. 56) นางกมลพร คำนึง ประชาสัมพันธ์จังหวัดร้อยเอ็ด พร้อมกับ
นายแพทย์ สุระ วิเศษศักดิ์ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด นายไพโรจน์ วะลัยใจ นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการแทนสาธารณสุขอำเภอหนองพอก นายศุภกรณ์ สมผล ปลัด อบต.บึงงาม อ.หนองพอก และนางคำภี กลางประพันธ์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านบึงงาม ร่วมจัด รายการทาง สวท.ร้อยเอ็ด เอฟ.เอ็ม 94.00 Mhz ระหว่างเวลา 06.10 - 07.00 น.นายแพทย์ สุระ วิเศษศักดิ์ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด เปิดเผยว่า สถานการณ์ไข้เลือดออกของประเทศไทยปี2556 ยังพบการระบาดอย่างรุนแรงข้อมูลตั้งแต่1 มกราคม 2556 - 27สิงหาคม 2556 พบผู้ป่วย 109,468 ราย 102 รายมากกว่าปีที่ผ่านมาช่วงเวลาเดียวกัน 3เท่า รัฐบาลจึงได้กำหนดยุทธศาสตร์"รวมพลังเอาชนะไข้เลือดออก" ด้วยการระดมทุกภาคส่วนต่อสู้กับปัญหาไข้เลือดออก โดยยึดอำเภอเป็นฐานดำเนินการจัดการลูกน้ำยุงลายและยุงตัวแก่กำจัดแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลายทุกสัปดาห์เป็นเวลาแปดสัปดาห์พร้อมกันทั่วประเทศเพื่อให้ผู้ป่วยใหม่ลดลงเริ่มตั้งแต่ 15สิงหาคม - 16 ตุลาคม 2556 สถานการณ์ไข้เลือดออกจังหวัดร้อยเอ็ด ตั้งแต่ 1 มกราคม 2556 - 27สิงหาคม 2556 พบผู้ป่วย จำนวน 3,408 ราย ไม่มีผู้เสียชีวิต อัตราป่วยเท่ากับ 261.14 ต่อแสนประชากรมีผู้ป่วยสูงอยู่ในอันดับ 6 ของประเทศ ลำดับที่ 2 ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ รองจากจังหวัดเลย มากกว่าค่ามาตรฐานช่วง 5 ปี ที่ผ่านมา 3.70 เท่า พบมากที่สุดในกลุ่มเด็กนักเรียนอายุ 5-14ปี อำเภอที่พบผู้ป่วยมากที่สุด 4 สัปดาห์ ที่ผ่านมา คือ อ.เมืองร้อยเอ็ด 110 ราย, อ.จตุรพัตรพิมาน 71 ราย อ.ธวัชบุรี 64 ราย อ.โพนทอง 60 ราย และ อ.เกษตรวิสัย 45 ราย ตำบลที่ไม่พบผู้ป่วยเลย คือ ตำบลกุดน้ำใสตำบลนานวลและตำบลชานุวรรณ อำเภอพนมไพรและตำบลบึงงาม อำเภอหนองพอก
ขณะนี้ มาตรการป้องกัน เร่งด่วน ได้ป้องกันโดยการพ่นสารเคมีทุกวันที่ 7 ของเดือน และการสะสางการทำลายขยะ ภาชนะ ที่เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายทั้งในบ้านรอบบ้าน โรงเรียน ศูนย์เด็กเล็ก โรงพยาบาล วัด ส่วนราชการรวมถึงพื้นที่สาธารณะ ให้ อสม.เยี่ยมบ้าน กำนัน/ผู้ใหญ่บ้าน กระชับเตือนชาวบ้านอย่างจริงจัง ดำเนินการตามมาตรการ 3 ร 5 ป 1 ข คือพื้นที่ เสียง 3 ร ได้แก่ โรงเรือน โรงเรียน โรงพยาบาล 5 ป ได้แก่ ปิด ปิดภาชนะน้ำกินน้ำใช้ให้มิดชิด เปลี่ยนน้ำในแจกัน ถังเก็บน้ำทุก 7 วัน ปล่อยปลากินลูกน้ำ ปรับปรุงสภาพแวดล้อม ปฏิบัติ ปิด เปลี่ยน ปล่อย ปรับปรุง ย่างต่อเนื่อง และ 1 ข คือ ขัดภาชนะที่เคยมีน้ำขัง เพื่อกำจัดไข่ยุง และลดจำนวนผู้ป่วยลงให้ได้
นายแพทย์ สุระ วิเศษศักดิ์ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด นายไพโรจน์ วะลัยใจ นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการแทนสาธารณสุขอำเภอหนองพอก นายศุภกรณ์ สมผล ปลัด อบต.บึงงาม อ.หนองพอก และนางคำภี กลางประพันธ์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านบึงงาม ร่วมจัด รายการทาง สวท.ร้อยเอ็ด เอฟ.เอ็ม 94.00 Mhz ระหว่างเวลา 06.10 - 07.00 น.นายแพทย์ สุระ วิเศษศักดิ์ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด เปิดเผยว่า สถานการณ์ไข้เลือดออกของประเทศไทยปี2556 ยังพบการระบาดอย่างรุนแรงข้อมูลตั้งแต่1 มกราคม 2556 - 27สิงหาคม 2556 พบผู้ป่วย 109,468 ราย 102 รายมากกว่าปีที่ผ่านมาช่วงเวลาเดียวกัน 3เท่า รัฐบาลจึงได้กำหนดยุทธศาสตร์"รวมพลังเอาชนะไข้เลือดออก" ด้วยการระดมทุกภาคส่วนต่อสู้กับปัญหาไข้เลือดออก โดยยึดอำเภอเป็นฐานดำเนินการจัดการลูกน้ำยุงลายและยุงตัวแก่กำจัดแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลายทุกสัปดาห์เป็นเวลาแปดสัปดาห์พร้อมกันทั่วประเทศเพื่อให้ผู้ป่วยใหม่ลดลงเริ่มตั้งแต่ 15สิงหาคม - 16 ตุลาคม 2556 สถานการณ์ไข้เลือดออกจังหวัดร้อยเอ็ด ตั้งแต่ 1 มกราคม 2556 - 27สิงหาคม 2556 พบผู้ป่วย จำนวน 3,408 ราย ไม่มีผู้เสียชีวิต อัตราป่วยเท่ากับ 261.14 ต่อแสนประชากรมีผู้ป่วยสูงอยู่ในอันดับ 6 ของประเทศ ลำดับที่ 2 ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ รองจากจังหวัดเลย มากกว่าค่ามาตรฐานช่วง 5 ปี ที่ผ่านมา 3.70 เท่า พบมากที่สุดในกลุ่มเด็กนักเรียนอายุ 5-14ปี อำเภอที่พบผู้ป่วยมากที่สุด 4 สัปดาห์ ที่ผ่านมา คือ อ.เมืองร้อยเอ็ด 110 ราย, อ.จตุรพัตรพิมาน 71 ราย อ.ธวัชบุรี 64 ราย อ.โพนทอง 60 ราย และ อ.เกษตรวิสัย 45 ราย ตำบลที่ไม่พบผู้ป่วยเลย คือ ตำบลกุดน้ำใสตำบลนานวลและตำบลชานุวรรณ อำเภอพนมไพรและตำบลบึงงาม อำเภอหนองพอก
ขณะนี้ มาตรการป้องกัน เร่งด่วน ได้ป้องกันโดยการพ่นสารเคมีทุกวันที่ 7 ของเดือน และการสะสางการทำลายขยะ ภาชนะ ที่เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายทั้งในบ้านรอบบ้าน โรงเรียน ศูนย์เด็กเล็ก โรงพยาบาล วัด ส่วนราชการรวมถึงพื้นที่สาธารณะ ให้ อสม.เยี่ยมบ้าน กำนัน/ผู้ใหญ่บ้าน กระชับเตือนชาวบ้านอย่างจริงจัง ดำเนินการตามมาตรการ 3 ร 5 ป 1 ข คือพื้นที่ เสียง 3 ร ได้แก่ โรงเรือน โรงเรียน โรงพยาบาล 5 ป ได้แก่ ปิด ปิดภาชนะน้ำกินน้ำใช้ให้มิดชิด เปลี่ยนน้ำในแจกัน ถังเก็บน้ำทุก 7 วัน ปล่อยปลากินลูกน้ำ ปรับปรุงสภาพแวดล้อม ปฏิบัติ ปิด เปลี่ยน ปล่อย ปรับปรุง ย่างต่อเนื่อง และ 1 ข คือ ขัดภาชนะที่เคยมีน้ำขัง เพื่อกำจัดไข่ยุง และลดจำนวนผู้ป่วยลงให้ได้
คมกฤช พวงศรีเคน ข่าว/ภาพ
กมลพร คำนึง / บก.ข่าว
สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดร้อยเอ็ด
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น