เกษตรกร ปราชญ์ชาวบ้าน นักเรียน นักศึกษา และส่วนราชการที่เกี่ยวข้องในจังหวัดมหาสารคาม ร่วมสัมมนาเตรียมความพร้อมภาคการเกษตรสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC)
(11-10-56) ในการจัดสัมมนาเตรียมความพร้อมภาคการเกษตรสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ที่จังหวัดมหาสารคาม จัดขึ้นในวันนี้ มีบุคลากรภาคการเกษตร ปราชญ์ชาวบ้าน นักเรียน นักศึกษา และส่วนราชการที่เกี่ยวข้องในจังหวัดมหาสารคาม กว่า 500 คน เข้าร่วมรับฟัง โดยมี ดร.สุเมธ แสงนิ่มนวล เป็นวิทยากรในการสัมมนา พร้อมทั้งนำเสนอประเด็นเกี่ยวกับประชาคมอาเซียน ที่ประกอบด้วย 3 เสาหลัก คือ ประชาคมการเมืองและความมั่นคง ประชาคมเศรษฐกิจ และประชาคมสังคมและวัฒนธรรม ที่ทั้งหมดจะเข้าสู่ประชาคมอาเซียนร่วมกัน ภายในวันที่ 31 ธันวาคม 2558 หรือภายในอีก 2 ปี 2 เดือน ข้างหน้า
นายนพวัชร สิงห์ศักดา ผู้ว่าราชการจังหวัดมหาสารคาม กล่าวว่า ภาคการเกษตร ซึ่งถือเป็นจุดแข็งของจังหวัดมหาสารคาม ที่มีผลผลิตทางการเกษตรที่เป็นพืชเศรษฐกิจ เช่น ข้าวหอมมะลิ และอ้อยโรงงาน หากมีการรวมกลุ่มกันเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนของประเทศในกลุ่มสมาชิกอาเซียนแล้ว ย่อมส่งผลกระทบต่อความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ดังนั้นหากเกษตรกร บุคลากรของจังหวัดมหาสารคามทุกภาคส่วน ได้มีความตระหนักถึงความร่วมมือในระดับภูมิภาค ย่อมเป็นการสร้างโอกาสและเพิ่มความสามารถในการแข่งขันด้านเศรษฐกิจ อันจะนำไปสู่การพัฒนามาตรฐานการครองชีพและความกินดีอยู่ดีของประชาชน
ทั้งนี้ ภาคการเกษตรของจังหวัดมหาสารคาม นับเป็นภาคการผลิตที่เป็นอาชีพหลัก ซึ่งหากเกิดการรวมกลุ่มเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนแล้ว ย่อมส่งผลกระทบต่อความเปลี่ยนแปลงทั้งในทางตรงและทางอ้อม ดังนั้นการเตรียมความพร้อมบุคลากรที่เกี่ยวข้องดังกล่าวจึงเป็นเรื่องสำคัญ
(11-10-56) ในการจัดสัมมนาเตรียมความพร้อมภาคการเกษตรสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ที่จังหวัดมหาสารคาม จัดขึ้นในวันนี้ มีบุคลากรภาคการเกษตร ปราชญ์ชาวบ้าน นักเรียน นักศึกษา และส่วนราชการที่เกี่ยวข้องในจังหวัดมหาสารคาม กว่า 500 คน เข้าร่วมรับฟัง โดยมี ดร.สุเมธ แสงนิ่มนวล เป็นวิทยากรในการสัมมนา พร้อมทั้งนำเสนอประเด็นเกี่ยวกับประชาคมอาเซียน ที่ประกอบด้วย 3 เสาหลัก คือ ประชาคมการเมืองและความมั่นคง ประชาคมเศรษฐกิจ และประชาคมสังคมและวัฒนธรรม ที่ทั้งหมดจะเข้าสู่ประชาคมอาเซียนร่วมกัน ภายในวันที่ 31 ธันวาคม 2558 หรือภายในอีก 2 ปี 2 เดือน ข้างหน้า
นายนพวัชร สิงห์ศักดา ผู้ว่าราชการจังหวัดมหาสารคาม กล่าวว่า ภาคการเกษตร ซึ่งถือเป็นจุดแข็งของจังหวัดมหาสารคาม ที่มีผลผลิตทางการเกษตรที่เป็นพืชเศรษฐกิจ เช่น ข้าวหอมมะลิ และอ้อยโรงงาน หากมีการรวมกลุ่มกันเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนของประเทศในกลุ่มสมาชิกอาเซียนแล้ว ย่อมส่งผลกระทบต่อความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ดังนั้นหากเกษตรกร บุคลากรของจังหวัดมหาสารคามทุกภาคส่วน ได้มีความตระหนักถึงความร่วมมือในระดับภูมิภาค ย่อมเป็นการสร้างโอกาสและเพิ่มความสามารถในการแข่งขันด้านเศรษฐกิจ อันจะนำไปสู่การพัฒนามาตรฐานการครองชีพและความกินดีอยู่ดีของประชาชน
ทั้งนี้ ภาคการเกษตรของจังหวัดมหาสารคาม นับเป็นภาคการผลิตที่เป็นอาชีพหลัก ซึ่งหากเกิดการรวมกลุ่มเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนแล้ว ย่อมส่งผลกระทบต่อความเปลี่ยนแปลงทั้งในทางตรงและทางอ้อม ดังนั้นการเตรียมความพร้อมบุคลากรที่เกี่ยวข้องดังกล่าวจึงเป็นเรื่องสำคัญ
ส.ปชส.มหาสารคาม/ข่าว
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น