ประมงจังหวัดสุรินทร์เดินทางไปตรวจสอบหลังทราบข่าว ชาวบ้านตะกอยอด อ.สังขะ จับปลาบึก ยาว 2.20 เมตร หนัก 180 กก.และอีกตัวมียาว 2 เมตร 150 กก. คาดว่าจะใหญ่ที่สุดในจังหวัดสุรินทร์
วานนี้ (10 ต.ค.56) ที่ ลำห้วยทำนบหนองตะกอยอด หมู่ที่ 6 บ้านตะกอยอด ต.บ้านซบ อ.สังขะ จ.สุรินทร์ นายณรงค์ ชัยพลรัตน์ หัวหน้าฝ่ายส่งเสริมและพัฒนาประมง พร้อมด้วยนายโชควัตร ภูมิรินทร์ณัฐภูมิ หัวหน้าฝ่ายบริหารจัดการการประมง สำนักงานประมงจังหวัดสุรินทร์ ได้เดินทางไปตรวจสอบปลาบึก หลังจากนางลำหวน จงหาญ ผู้ใหญ่บ้านตะกอยอด ได้แจ้งให้สำนักงานประมงจังหวัดสุรินทร์ ให้มาตรวจสอบหาที่มาที่ไปของปลาบึกสองตัวที่ชาวบ้านช่วยกันจับขึ้นมา พร้อมเล่าให้ฟังว่า เมื่อ 2-3 วันที่ผ่านมา มีชาวบ้านเห็นปลาขนาดใหญ่ว่ายน้ำไปมาข้าง หนองตะกอยอด ชาวบ้านเลยชวนกันมาจับ ซึ่งชาวบ้านรวมตัวกันกว่า 10 คน ได้ช่วยกันจับ โดยใช้อุปกรณ์ที่มีในหมู่บ้าน ทั้งอวน (มุ้งเขียว) และแห ลงจับตั้งแต่เช้ายันบ่าย จึงสามารถจับปลาได้ทั้ง 2 ตัว ตัวแรกมีขนาดความยาว 2.20 เมตร หนักถึง 180 กก. อีกตัวมีความยาว 2 เมตร หนัก 150 กก.
ทั้งนี้ นางลำหวน จงหาญ ผู้ใหญ่บ้านตะกอยอด เล่าให้ฟังอีกว่า หนองตะกอยอด มีพื้นที่ 50 ไร่ เคยทำหนังสือขอปลาบึกจากศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืดสุรินทร์ จำนวน 4 ตัว มาปล่อยไว้ เมื่อปี 2537 หรือ 19 ปีที่ผ่านมา ชาวบ้านก็เคยจับได้แต่ตัวไม่ใหญ่ขนาดนี้ และปลาบึกที่จับได้ในครั้งนี้สร้างความฮือฮาให้กับชาวในหมู่บ้าน และหมู่บ้านใกล้เคียง และในเวลาต่อมาปลาบึกตัวที่มีน้ำหนัก 180 กก. ก็ตายลง ส่วนปลาบึกที่จับได้อีกตัว ได้นำไปปล่อยคืนหนองน้ำตะกอยอดเพื่ออนุรักษ์และไว้เป็นพ่อแม่พันธุ์ ต่อไป
วานนี้ (10 ต.ค.56) ที่ ลำห้วยทำนบหนองตะกอยอด หมู่ที่ 6 บ้านตะกอยอด ต.บ้านซบ อ.สังขะ จ.สุรินทร์ นายณรงค์ ชัยพลรัตน์ หัวหน้าฝ่ายส่งเสริมและพัฒนาประมง พร้อมด้วยนายโชควัตร ภูมิรินทร์ณัฐภูมิ หัวหน้าฝ่ายบริหารจัดการการประมง สำนักงานประมงจังหวัดสุรินทร์ ได้เดินทางไปตรวจสอบปลาบึก หลังจากนางลำหวน จงหาญ ผู้ใหญ่บ้านตะกอยอด ได้แจ้งให้สำนักงานประมงจังหวัดสุรินทร์ ให้มาตรวจสอบหาที่มาที่ไปของปลาบึกสองตัวที่ชาวบ้านช่วยกันจับขึ้นมา พร้อมเล่าให้ฟังว่า เมื่อ 2-3 วันที่ผ่านมา มีชาวบ้านเห็นปลาขนาดใหญ่ว่ายน้ำไปมาข้าง หนองตะกอยอด ชาวบ้านเลยชวนกันมาจับ ซึ่งชาวบ้านรวมตัวกันกว่า 10 คน ได้ช่วยกันจับ โดยใช้อุปกรณ์ที่มีในหมู่บ้าน ทั้งอวน (มุ้งเขียว) และแห ลงจับตั้งแต่เช้ายันบ่าย จึงสามารถจับปลาได้ทั้ง 2 ตัว ตัวแรกมีขนาดความยาว 2.20 เมตร หนักถึง 180 กก. อีกตัวมีความยาว 2 เมตร หนัก 150 กก.
ทั้งนี้ นางลำหวน จงหาญ ผู้ใหญ่บ้านตะกอยอด เล่าให้ฟังอีกว่า หนองตะกอยอด มีพื้นที่ 50 ไร่ เคยทำหนังสือขอปลาบึกจากศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืดสุรินทร์ จำนวน 4 ตัว มาปล่อยไว้ เมื่อปี 2537 หรือ 19 ปีที่ผ่านมา ชาวบ้านก็เคยจับได้แต่ตัวไม่ใหญ่ขนาดนี้ และปลาบึกที่จับได้ในครั้งนี้สร้างความฮือฮาให้กับชาวในหมู่บ้าน และหมู่บ้านใกล้เคียง และในเวลาต่อมาปลาบึกตัวที่มีน้ำหนัก 180 กก. ก็ตายลง ส่วนปลาบึกที่จับได้อีกตัว ได้นำไปปล่อยคืนหนองน้ำตะกอยอดเพื่ออนุรักษ์และไว้เป็นพ่อแม่พันธุ์ ต่อไป
อุทัย มานาดี /ข่าว
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น