เมื่อเวลา 10.00 น. วันที่ 21 พ.ย.2556 ที่ห้องประชุมเอราวัณ โรงแรมพูลแมนขอนแกน ราชา ออคิด นายสมศักดิ์ สุวรรณสุจริต เป็นประธานในการประชุมร่วมหัวหน้าส่วนราชการว่าด้วยผังเมืองรวม ด้านการจราจรและระบบขนส่งมวลชนร่วมกับผู้นำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและผู้บริหารจากมหาวิทยาลัยขอนแก่นและไอบีเอ็ม เพื่อกำหนดแผนการดำเนินงานร่วมกันว่าด้วยการผลักดันให้จังหวัดขอนแก่นเป็นหนึ่งใน 100 เมืองหลักของโลกของการเป็นเมืองอัจฉริยะ หลักได้รับการคัดเลือกจาก ไอ บี เอ็ม ให้จังหวัดขอนแกน เป็น จังหวัดเดียวของประเทศไทย และเป็น 1 ใน 100 เมืองหลักของโลกที่จะเข้าร่วมโครงการเมืองอัจฉริยะ
นายสมศักดิ์ สุวรรณสุจริต ผวจ.ขอนแก่น กล่าวว่า แผนการพัฒนาจังหวัดของการมุ่งสู่ความเป็นศูนย์กลางในทุกๆด้านเพื่อให้เกิดความหลากหลายและสนองต่อต่อความต้องการของประชาชนในพื้นที่และผู้ที่จะมาขอรับบริการจากภาคส่วนต่างๆซึ่งที่ผ่านมาการทำงานร่วมกันเป็นทีมของทุกภาคส่วนในระดับจังหวัดได้มีการผลักดันและทำงานกันแบบคู่ขนานจนมีการยกระดับของขอนแก่นให้เป็นศูนย์กลางในระดับภูมิภาคภาคอีสานไปแล้วและเตรียมที่จะยกระดับให้เป็นเมืองแห่งความเป็นศุนย์กลางของกลุ่มภูมิภาคอาเซียน ขณะเดียวกันการกำหนดทิศทางการดำเนินงานดังกล่าวยังคงต้องมองไปข้างหน้าซึ่งการหารือร่วมในแบบทวิภาคีร่วมระหว่าง เทศบาลนครขอนแก่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น และคณะทำงานตามโครงการ ไอบีเอ็ม สมาร์ทเตอร์ ซิตี้ส์ ชาเลนจ์ จนนำไปสู่การเสนอแผนยุทธศาสตร์ในระดับจังหวัดและได้บรรจุให้ขอนแกน เป็นหนึ่งใน 100 เมืองจากทั่วโลกในการเข้าร่วมโครงการดังกล่าวด้วยงบประมาณการลงทุน 50 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 1,500 ล้านบาท เพื่อที่จะพัฒนาให้ขอนแก่นเป็นเมืองที่มีการบริหารจัดการของภาครัฐได้อย่างมีประสิทธิภาพและเข้าสู่การเป็นศูนย์กลางด้านอุตสาหกรรมภาคต่างๆ การคมนาคมขนส่ง และเป็นพื้นที่เชื่อมต่อทางการค้าระหว่างตะวันออกและตะวันตก
" แผนการดำเนินงาน 10 ปีจากนี้ไปจะเริ่มจากการบริหารจัดการภาครัฐ ที่คณะทำงานร่วมจังหวัดและคณะทำงานตามโครงการที่ได้มีการแต่งตั้งขึ้นจะมาทำการส่งเสริมการประสานงานร่วมกันและบูรณาการในทุกองค์กรอย่างมีประสิทธิภาพ มีการจัดทำโครงการรณรงค์ให้ความรู้เกี่ยวกับกฎระเบียบจราจร และการเพิ่มการบังคับใช้กฎหมายจราจร สำหรับในด้านของการเพิ่มประสิทธิภาพเครือข่ายด้านการขนส่ง โครงการดังกล่าวนี้จะดำเนินการปรับปรุงระบบวิดีโอวงจรปิด ด้วยการนำระบบวิเคราะห์ข้อมูลแบบอัจฉริยะ รวมไปถึงการใช้ระบบการจัดการไฟจราจรอัตโนมัติ การใช้ระบบตรวจสอบป้ายทะเบียนรถยนต์ในกรณีที่มีการฝ่าฝืนกฎจราจร การนำระบบ GPS มาใช้เพื่อระบุตำแหน่งรถโดยสาร ขณะที่ในด้านการคมนาคมขนส่งแบบครบวงจร คณะทำงานมีการหารือในการใช้ระบบการจัดการค่าโดยสารแบบบัตรเดียวสำหรับทุกระบบ โดยครอบคลุมบริการขนส่งสาธารณะที่หลากหลายรูปแบบสร้างระบบเพื่อรายงานสภาพการจราจรให้แก่ผู้สัญจรบนท้องถนน”
ผวจ.ขอนแกน กล่าวเพิ่มเติมว่า โครงการดังกล่าวได้ดำเนินการไปแล้วในหลายเมือง ทั้งที่ ประเทศเกาหลีใต้ที่เมืองเชจู ประเทศญี่ปุ่นที่เมืองเกียวโต ประเทศออสเตเรียที่เมืองโตโคส และ แคนนาดาที่เมืองดิวเวสต์ ซึ่งการนำโครงการดังกล่าวมาใช้ที่ขอนแก่นจะถือเป็นการยกระดับเมืองให้สู่ความเป็นมหานครชั้นนำของอาเซียน ภายใต้แนวทางการจัดตั้งศูนย์ ข้อมูลอัจฉริยะ ARC ( Analytics Research Center ) ใน 3 ระยะ และจะสำเร็จตามโครงการดังกล่าวใน 10 ปี เริ่มทำงานตั้งแต่ปี 2556 เป็นต้นไป แบ่งเป็น 2 ปีแรกจะเน้นการสร้างทักษะและศักยภาพในการใช้เครื่องมือการวิเคราะห์ข้อมูล รวมไปถึงการจัดเตรียมบุคลากร โดยใช้ข้อมูลต่างๆและทรัพยากร สำหรับในระยะที่ 2 เริ่มตั้งแต่ปลายปีที่ 2 ถึงปีที่ 5 จะเป็นช่วงของการพัฒนาไปสู่ศูนย์ความเป็นเลิศทางด้านการวิเคราะห์ข้อมูล โดยจะระบุในแผนยุทธศาสตร์ที่เชื่อมต่อระหว่างหน่วยงานภาครัฐ ภาคธุรกิจและภาคการศึกษาทั้งในประเทศและระดับประเทศ ระยะที่ 3 จะเริ่มตั้งแต่ปีที่ 6 เป็นต้นไป ที่จะมีการนำวิวัฒนาการหรือศูนย์ที่สามารถสร้างนวัตรกรรมทางการวิเคราะห์ข้อมูล ที่ทุกหน่วยงานสามารถนำไปใช้งานได้ ผสมผสานกับการใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยมาประกอบการดำเนินธุรกิจของภาคการลงทุน การใช้ในชีวิตประจำวันของชาวขอนแก่นและผู้ที่เข้ามาในพื้นที่ ดังนั้นทั้งหมดที่กล่าวมาถือเป็นการเปลี่ยนแปลง ที่สำคัญที่จะส่งผลให้ขอนแกนเป็นเมืองแห่งอัจฉริยะที่สมบูรณ์แบบที่สุดในทุกๆ ด้าน
นายสมศักดิ์ สุวรรณสุจริต ผวจ.ขอนแก่น กล่าวว่า แผนการพัฒนาจังหวัดของการมุ่งสู่ความเป็นศูนย์กลางในทุกๆด้านเพื่อให้เกิดความหลากหลายและสนองต่อต่อความต้องการของประชาชนในพื้นที่และผู้ที่จะมาขอรับบริการจากภาคส่วนต่างๆซึ่งที่ผ่านมาการทำงานร่วมกันเป็นทีมของทุกภาคส่วนในระดับจังหวัดได้มีการผลักดันและทำงานกันแบบคู่ขนานจนมีการยกระดับของขอนแก่นให้เป็นศูนย์กลางในระดับภูมิภาคภาคอีสานไปแล้วและเตรียมที่จะยกระดับให้เป็นเมืองแห่งความเป็นศุนย์กลางของกลุ่มภูมิภาคอาเซียน ขณะเดียวกันการกำหนดทิศทางการดำเนินงานดังกล่าวยังคงต้องมองไปข้างหน้าซึ่งการหารือร่วมในแบบทวิภาคีร่วมระหว่าง เทศบาลนครขอนแก่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น และคณะทำงานตามโครงการ ไอบีเอ็ม สมาร์ทเตอร์ ซิตี้ส์ ชาเลนจ์ จนนำไปสู่การเสนอแผนยุทธศาสตร์ในระดับจังหวัดและได้บรรจุให้ขอนแกน เป็นหนึ่งใน 100 เมืองจากทั่วโลกในการเข้าร่วมโครงการดังกล่าวด้วยงบประมาณการลงทุน 50 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 1,500 ล้านบาท เพื่อที่จะพัฒนาให้ขอนแก่นเป็นเมืองที่มีการบริหารจัดการของภาครัฐได้อย่างมีประสิทธิภาพและเข้าสู่การเป็นศูนย์กลางด้านอุตสาหกรรมภาคต่างๆ การคมนาคมขนส่ง และเป็นพื้นที่เชื่อมต่อทางการค้าระหว่างตะวันออกและตะวันตก
" แผนการดำเนินงาน 10 ปีจากนี้ไปจะเริ่มจากการบริหารจัดการภาครัฐ ที่คณะทำงานร่วมจังหวัดและคณะทำงานตามโครงการที่ได้มีการแต่งตั้งขึ้นจะมาทำการส่งเสริมการประสานงานร่วมกันและบูรณาการในทุกองค์กรอย่างมีประสิทธิภาพ มีการจัดทำโครงการรณรงค์ให้ความรู้เกี่ยวกับกฎระเบียบจราจร และการเพิ่มการบังคับใช้กฎหมายจราจร สำหรับในด้านของการเพิ่มประสิทธิภาพเครือข่ายด้านการขนส่ง โครงการดังกล่าวนี้จะดำเนินการปรับปรุงระบบวิดีโอวงจรปิด ด้วยการนำระบบวิเคราะห์ข้อมูลแบบอัจฉริยะ รวมไปถึงการใช้ระบบการจัดการไฟจราจรอัตโนมัติ การใช้ระบบตรวจสอบป้ายทะเบียนรถยนต์ในกรณีที่มีการฝ่าฝืนกฎจราจร การนำระบบ GPS มาใช้เพื่อระบุตำแหน่งรถโดยสาร ขณะที่ในด้านการคมนาคมขนส่งแบบครบวงจร คณะทำงานมีการหารือในการใช้ระบบการจัดการค่าโดยสารแบบบัตรเดียวสำหรับทุกระบบ โดยครอบคลุมบริการขนส่งสาธารณะที่หลากหลายรูปแบบสร้างระบบเพื่อรายงานสภาพการจราจรให้แก่ผู้สัญจรบนท้องถนน”
ผวจ.ขอนแกน กล่าวเพิ่มเติมว่า โครงการดังกล่าวได้ดำเนินการไปแล้วในหลายเมือง ทั้งที่ ประเทศเกาหลีใต้ที่เมืองเชจู ประเทศญี่ปุ่นที่เมืองเกียวโต ประเทศออสเตเรียที่เมืองโตโคส และ แคนนาดาที่เมืองดิวเวสต์ ซึ่งการนำโครงการดังกล่าวมาใช้ที่ขอนแก่นจะถือเป็นการยกระดับเมืองให้สู่ความเป็นมหานครชั้นนำของอาเซียน ภายใต้แนวทางการจัดตั้งศูนย์ ข้อมูลอัจฉริยะ ARC ( Analytics Research Center ) ใน 3 ระยะ และจะสำเร็จตามโครงการดังกล่าวใน 10 ปี เริ่มทำงานตั้งแต่ปี 2556 เป็นต้นไป แบ่งเป็น 2 ปีแรกจะเน้นการสร้างทักษะและศักยภาพในการใช้เครื่องมือการวิเคราะห์ข้อมูล รวมไปถึงการจัดเตรียมบุคลากร โดยใช้ข้อมูลต่างๆและทรัพยากร สำหรับในระยะที่ 2 เริ่มตั้งแต่ปลายปีที่ 2 ถึงปีที่ 5 จะเป็นช่วงของการพัฒนาไปสู่ศูนย์ความเป็นเลิศทางด้านการวิเคราะห์ข้อมูล โดยจะระบุในแผนยุทธศาสตร์ที่เชื่อมต่อระหว่างหน่วยงานภาครัฐ ภาคธุรกิจและภาคการศึกษาทั้งในประเทศและระดับประเทศ ระยะที่ 3 จะเริ่มตั้งแต่ปีที่ 6 เป็นต้นไป ที่จะมีการนำวิวัฒนาการหรือศูนย์ที่สามารถสร้างนวัตรกรรมทางการวิเคราะห์ข้อมูล ที่ทุกหน่วยงานสามารถนำไปใช้งานได้ ผสมผสานกับการใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยมาประกอบการดำเนินธุรกิจของภาคการลงทุน การใช้ในชีวิตประจำวันของชาวขอนแก่นและผู้ที่เข้ามาในพื้นที่ ดังนั้นทั้งหมดที่กล่าวมาถือเป็นการเปลี่ยนแปลง ที่สำคัญที่จะส่งผลให้ขอนแกนเป็นเมืองแห่งอัจฉริยะที่สมบูรณ์แบบที่สุดในทุกๆ ด้าน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น