นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ขอแจ้งให้พี่น้องประชาชนทราบว่า จากการหารือ และรับฟังข้อคิดเห็นของทุกภาคส่วนแล้ว ดิฉันจึงได้ตัดสินใจขอพระราชทานทูลเกล้าฯ ถวาย ร่างพระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2556 เพื่อทรงมีพระบรมราชวินิจฉัย ด้วยเหตุผล ดังนี้
1. การยุบสภาผู้แทนราษฎร เป็นกระบวนการปกติของการปกครองในระบอบประชาธิปไตย โดยแบบรัฐสภา ดังที่ปรากฎอยู่ในหลายประเทศที่ใช้ระบอบนี้ ซึ่งประเทศไทยได้ยึดถือธรรมเนียมการปฏิบัติดังกล่าวมาโดยตลอด ดังจะเห็นได้จากการที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยทุกฉบับ บัญญัติรองรับการยุบสภาผู้แทนราษฎรไว้ และได้มีการยุบสภาผู้แทนราษฎรมาแล้วหลายครั้ง เช่น เมื่อ พ.ศ. 2519 พ.ศ. 2543 พ.ศ. 2549 และพ.ศ. 2554
2. ตามที่รัฐบาลได้เข้ารับหน้าที่ในการบริหารราชการแผ่นดิน โดยมีภารกิจสำคัญในการแก้ไขวิกฤติการณ์ภายในประทศหลายประการ ทั้งในเรื่องของมหาอุทกภัย ผลกระทบจากภาวะวิกฤติเศรษฐกิจโลกที่ผันผวน รวมทั้งการฟื้นฟูความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ เพื่อให้เกิดความั่นใจในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ซึ่งรัฐบาลก็ได้ดำเนินการอย่างสุดความสามารถ แก้ปัญหาต่างๆ จนลุล่วงไปได้ด้วยดี
3. เมื่อมีการยุบสภาผู้แทนราษฎรแล้ว รัฐมนตรีทั้งคณะย่อมพ้นจากตำแหน่งไปด้วยตามมาตรา 180(2) แต่ต้องอยู่ในตำแหน่งเพื่อปฏิบัติหน้าที่ต่อไปจนกว่าคณะรัฐมนตรีที่ตั้งขึ้นใหม่จะเข้ารับหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 181 ซึ่งกำหนดไว้ด้วยว่า คณะรัฐมนตรีและรัฐมนตรีจะปฏิบัติหน้าที่ได้เท่าที่จำเป็น ภายใต้เงื่อนไงที่กำหนดในมาตราดังกล่าว
4. ขอให้ประชาชนทั้งหลายให้ความสำคัญกับการเลือกตั้งที่จะมีขึ้น ซึ่งจะได้หารือกับคณะกรรมการการเลือกตั้งถึงการกำหนดวันเลือกตั้งโดยเร็วที่สุด ทั้งนี้ รัฐบาลขอให้ประชาชนทำหน้าที่ และใช้สิทธิเลือกตั้งด้วยความพร้อมเพรียงใส่ใจ และรอบคอบ เพื่อให้การเลือกตั้งครั้งนี้เป็นไปโดยสุจริต และเที่ยงธรรมที่สุด ซึ่งจะเป็นการแสดงเจตจำนงทางการเมือง โดยสันติตามวิถีทางรัฐธรรมนูญและการปกครองในระบอบประชาธิปไตย
1. การยุบสภาผู้แทนราษฎร เป็นกระบวนการปกติของการปกครองในระบอบประชาธิปไตย โดยแบบรัฐสภา ดังที่ปรากฎอยู่ในหลายประเทศที่ใช้ระบอบนี้ ซึ่งประเทศไทยได้ยึดถือธรรมเนียมการปฏิบัติดังกล่าวมาโดยตลอด ดังจะเห็นได้จากการที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยทุกฉบับ บัญญัติรองรับการยุบสภาผู้แทนราษฎรไว้ และได้มีการยุบสภาผู้แทนราษฎรมาแล้วหลายครั้ง เช่น เมื่อ พ.ศ. 2519 พ.ศ. 2543 พ.ศ. 2549 และพ.ศ. 2554
2. ตามที่รัฐบาลได้เข้ารับหน้าที่ในการบริหารราชการแผ่นดิน โดยมีภารกิจสำคัญในการแก้ไขวิกฤติการณ์ภายในประทศหลายประการ ทั้งในเรื่องของมหาอุทกภัย ผลกระทบจากภาวะวิกฤติเศรษฐกิจโลกที่ผันผวน รวมทั้งการฟื้นฟูความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ เพื่อให้เกิดความั่นใจในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ซึ่งรัฐบาลก็ได้ดำเนินการอย่างสุดความสามารถ แก้ปัญหาต่างๆ จนลุล่วงไปได้ด้วยดี
3. เมื่อมีการยุบสภาผู้แทนราษฎรแล้ว รัฐมนตรีทั้งคณะย่อมพ้นจากตำแหน่งไปด้วยตามมาตรา 180(2) แต่ต้องอยู่ในตำแหน่งเพื่อปฏิบัติหน้าที่ต่อไปจนกว่าคณะรัฐมนตรีที่ตั้งขึ้นใหม่จะเข้ารับหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 181 ซึ่งกำหนดไว้ด้วยว่า คณะรัฐมนตรีและรัฐมนตรีจะปฏิบัติหน้าที่ได้เท่าที่จำเป็น ภายใต้เงื่อนไงที่กำหนดในมาตราดังกล่าว
4. ขอให้ประชาชนทั้งหลายให้ความสำคัญกับการเลือกตั้งที่จะมีขึ้น ซึ่งจะได้หารือกับคณะกรรมการการเลือกตั้งถึงการกำหนดวันเลือกตั้งโดยเร็วที่สุด ทั้งนี้ รัฐบาลขอให้ประชาชนทำหน้าที่ และใช้สิทธิเลือกตั้งด้วยความพร้อมเพรียงใส่ใจ และรอบคอบ เพื่อให้การเลือกตั้งครั้งนี้เป็นไปโดยสุจริต และเที่ยงธรรมที่สุด ซึ่งจะเป็นการแสดงเจตจำนงทางการเมือง โดยสันติตามวิถีทางรัฐธรรมนูญและการปกครองในระบอบประชาธิปไตย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น