
นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว รมช.สาธารณสุข กล่าวว่า
การจัดงานนี้เพื่อพัฒนางานการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
โดยใช้ชื่องานว่า "การแพทย์พื้นบ้านอีสาน สืบสานสมุนไพร
สร้างรายได้สู่อาเซียน”
วัตถุประสงค์ของการจัดงานเพื่อมุ่งเน้นการพัฒนาศักยภาพเครือข่ายภาคตะวันออก
เฉียงเหนือ และเครือข่ายบุคลากรด้านการแพทย์แผนไทย
เพื่อเป็นเวทีนำเสนอผลงานวิชาการและบุคคลที่มีภูมิปัญญาดีเด่นของแต่ละ
จังหวัด รวมทั้ง การแสดงนิทรรศการการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้าน
การเสวนาร่วมกับผู้ทรงคุณวุฒิด้านการแพทย์แผนไทย
การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของเครือข่ายบุคลากรด้านการแพทย์แผนไทย
เพื่อการพัฒนาให้ยั่งยืน และเป็นการสร้างกระแส การดูแลสุขภาพ
ด้วยการแพทย์แผนไทย
และการใช้สมุนไพรในประชาชนทั่วไปภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้าน
การใช้สมุนไพร ในแต่ละท้องถิ่น
ล้วนมีคุณค่าแสดงถึงเอกลักษณ์ความเป็นชาติไทย
โดยเฉพาะวิถีวัฒนธรรมท้องถิ่นของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ซึ่งเป็นการดูแลสุขภาพ แบบองค์รวม ครอบคลุมทั้งร่างกายและจิตใจ
การใช้ศาสตร์แพทย์แผนไทยและการใช้สมุนไพรในการดูแลสุขภาพนั้น
ยั่งยืนและสืบเนื่องมานานนับพันปี แสดงว่าเป็น แนวทางการรักษาที่ถูกต้อง
และมีประสิทธิภาพ
อันเป็นความภาคภูมิใจของคนไทยที่ยังคงรักษาศาสตร์การแพทย์ของชาติไว้ได้
ท่ามกลางการแสวงหาทางเลือกในการดูแลรักษาสุขภาพ
และกระแสการเข้ามาของศาสตร์การแพทย์ทางเลือกต่างๆ
ซึ่งกิจกรรมในงานประกอบด้วย ต้นแบบคลินิกเวชกรรมไทย
บริการตรวจรักษาและให้ความรู้กับประชาชนนิทรรศการแพทย์แผนไทย
และศูนย์เรียนรู้การดูแลตนเอง จากเครือข่าย ๒๐ จังหวัด
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ การนวดเพื่อสุขภาพปาฐกถาพิเศษ ในหัวข้อ
"เภสัชกรยิปซีกับการช่วยชีวิตเพื่อนมนุษย์” โดย ศ.ดร.ภญ.กฤษณา ไกรสินธุ์
บรรยายพิเศษ ในหัวข้อ "สุขภาพกับดวงดาว” โดย นพ.ทีปทัศน์ ชุนหสวัสดิกุล
ฤาษีดัดตนภาวนา/โยคะภาวนา โดย อ.ธนวัชร์ เกตน์วิมุต
การแสดงผลงานวิชาการทางด้านแพทย์แผนไทย การแสดงศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้าน
นิทรรศการจากหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน ด้านการส่งเสริมการแพทย์แผนไทย
การสาธิตให้ความรู้ในการผลิตยาสมุนไพร,
ผลงานด้านการสนับสนุนตลาดกลางสมุนไพร, งานวิจัยสมุนไพรต่างๆ
ผลิตภัณฑ์จากสมุนไพร อาหารและเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ
รมช.สาธารณสุข กล่าวต่อว่า การจัดงานรวมพลังการแพทย์แผนไทยในครั้งนี้
นอกจากบุคลากรด้านการแพทย์แผนไทยจะได้มีเวทีนำเสนอผลงาน
ได้แลกเปลี่ยนความรู้ และประสบการณ์
ซึ่งแต่ละจังหวัดต่างก็มีภูมิปัญญาการแพทย์พื้นบ้านมานำเสนอ
ยังเป็นการสืบสาน ค้นหา และขยายเครือข่ายภูมิปัญญาฯ
และบุคลากรด้านการแพทย์แผนไทย อีกด้วย
ซึ่งการรวมกลุ่มเครือข่ายในระดับจังหวัด/ระดับภาคครั้งนี้
จะทำให้เกิดความต่อเนื่องในการประสานงาน และพัฒนางานด้านการแพทย์
แผนไทยอย่างยั่งยืน
และทุกกิจกรรมในงานนี้นับว่าครอบคลุมและตอบโจทย์ของชื่องาน คือ
"การแพทย์พื้นบ้านอีสาน สืบสานสมุนไพร สร้างรายได้สู่อาเซียน”
ได้อย่างชัดเจน
ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายของกระรวงสาธารณสุขในด้านการส่งเสริมการแพทย์แผนไทย
เพื่อเข้าถึงประชาชนทุกชุมชน และขยายบริการด้านการแพทย์แผนไทย
ในสถานบริการสาธารณสุขทุกระดับ คาดว่าเมื่อไทยเข้าสู่ประชาคมอาเซียน
ยาสมุนไพรจะดึงเงินเข้าประเทศไม่ต่ำกว่า 30,000 ล้านบาท "อีกทั้ง
การรวมกลุ่มเครือข่ายในระดับจังหวัด ระดับภาค
จะทำให้เกิดความต่อเนื่องในการประสานงาน ในส่วนของกระทรวงสาธารณสุข
โดยกรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
จัดเป็นหน่วยงานกลางที่จะให้การสนับสนุนจังหวัดในเรื่องขององค์ความรู้
การสร้างกระแสการแพทย์แผนไทย การสนับสนุนงบประมาณ
รวมทั้งการผลักดันเชิงนโยบายให้มีแพทย์แผนไทยในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ
ระดับตำบลครอบคลุมทุกแห่งทั่วประเทศ
และเป็นที่น่ายินดีว่าหลายจังหวัดในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ได้ดำเนินการสอดรับกับนโยบายดังกล่าวแล้ว” นพ.ชลน่านกล่าว
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น