นายยุทธนา วิริยะกิตติ รองผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์ กล่าวว่า จังหวัดสุรินทร์ ได้จัดประชุมคณะทำงานป้องกันและปราบปรามการบุกรุกทำลายทรัพยากรป่าไม้จังหวัดสุรินทร์ วันนี้ (26 สิงหาคม 2556 ) ที่ห้องประชุมสุรินทร์ภักดี ศาลากลางจังหวัดสุรินทร์ โดยที่ประชุมได้สรุปปัญหาการบุกรุกตัดไม้ทำลายป่าเปรียบเทียบ ปี พ.ศ. 2555 – 2556 พบว่า ในปี 2556 สถานการณ์การบุกรุกตัดไม้ทำลายป่า รอบ 10 เดือน มีการจับกุมผู้กระทำผิดสูงกว่ารอบ 12 เดือนของปี 2555 จากปัญหาดังกล่าวจังหวัดสุรินทร์จึงได้จัดทำแผนป้องกันและปราบปรามการบุกรุกทำลายทรัพยากรป่าไม้จังหวัดสุรินทร์เพื่อดำเนินการป้องกันแก้ไขปัญหา โดยเฉพาะพื้นที่ตามแนวชายแดนไทย – กัมพูชา ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีป่าไม้อุดมสมบูรณ์ และมีปัญหาการบุกรุกตัดไม้มากกว่าพื้นที่อื่น รวม 4 อำเภอ ได้แก่ อำเภอกาบเชิง อำเภอบัวเชด อำเภอสังขะ และอำเภอพนมดงรัก
รองผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์ กล่าวว่า ในการป้องกันแก้ไขปัญหาการบุกรุกตัดไม้ทำลายป่าไม่สามารถดำเนินการได้โดยลำพัง แต่ต้องได้รับการสนับสนุนจากประชาชนนำพื้นที่ โดยกำหนดให้การปฏิบัติภารกิจป้องกันการบุกรุกทรัพยากรป่าไม้เป็นตัวชี้วัดของข้าราชการประจำอำเภอ โดยแบ่งการดำเนินงานเป็น 2 กลุ่ม คือ อำเภอตามแนวชายแดนและอำเภอตอนใน และสั่งการให้ท้องถิ่นจังหวัดสุรินทร์ประสานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตั้งงบประมาณด้านการป้องกันการบุกรุกทรัพยากรป่าไม้ นอกจากนั้นยังได้นัดหมายหัวหน้าส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ทหาร ตำรวจ ป่าไม้ และอัยการจังหวัด ร่วมประชุมหารือ เพื่อกำหนดทิศทางการดำเนินงาน เพื่อให้การป้องกันและปราบปรามการบุกรุกทรัพยากรป่าไม้ได้ผลเป็นรูปธรรมมากขึ้น
สำหรับจังหวัดสุรินทร์เป็นหนึ่งใน 30 จังหวัดที่มีปัญหาวิกฤติด้านทรัพยากรป้าไม้ สาเหตุมาจากการลักลอบตัดไม้ โดยปัจจุบันจังหวัดสุรินทร์ มีพื้นที่ที่ไดรับการประกาศเป็นเขตป่าจำนวน 1,115,284 ไร่ แต่มีพื้นที่ป่าเหลือเพรียงร้อยละ 11.50 หรือ 583,906 ไร่
รองผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์ กล่าวว่า ในการป้องกันแก้ไขปัญหาการบุกรุกตัดไม้ทำลายป่าไม่สามารถดำเนินการได้โดยลำพัง แต่ต้องได้รับการสนับสนุนจากประชาชนนำพื้นที่ โดยกำหนดให้การปฏิบัติภารกิจป้องกันการบุกรุกทรัพยากรป่าไม้เป็นตัวชี้วัดของข้าราชการประจำอำเภอ โดยแบ่งการดำเนินงานเป็น 2 กลุ่ม คือ อำเภอตามแนวชายแดนและอำเภอตอนใน และสั่งการให้ท้องถิ่นจังหวัดสุรินทร์ประสานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตั้งงบประมาณด้านการป้องกันการบุกรุกทรัพยากรป่าไม้ นอกจากนั้นยังได้นัดหมายหัวหน้าส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ทหาร ตำรวจ ป่าไม้ และอัยการจังหวัด ร่วมประชุมหารือ เพื่อกำหนดทิศทางการดำเนินงาน เพื่อให้การป้องกันและปราบปรามการบุกรุกทรัพยากรป่าไม้ได้ผลเป็นรูปธรรมมากขึ้น
สำหรับจังหวัดสุรินทร์เป็นหนึ่งใน 30 จังหวัดที่มีปัญหาวิกฤติด้านทรัพยากรป้าไม้ สาเหตุมาจากการลักลอบตัดไม้ โดยปัจจุบันจังหวัดสุรินทร์ มีพื้นที่ที่ไดรับการประกาศเป็นเขตป่าจำนวน 1,115,284 ไร่ แต่มีพื้นที่ป่าเหลือเพรียงร้อยละ 11.50 หรือ 583,906 ไร่
สมทรง เผือกผล ส.ปชส.สุรินทร์ / ข่าว
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น