ที่ห้องประชุมชัยพฤกษ์ โรงพยาบาลอำนาจเจริญ นายอภิชาติ งามกมล รองผู้ว่าราชการจังหวัดอำนาจเจริญ เป็นประธานการประชุมโครงการจัดระบบการเรียนการสอนเพศศึกษาในโรงเรียน โดยมีรองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ และครูผู้สอนเพศศึกษา จากโรงเรียนมัธยมศึกษา โรงเรียนขยายโอกาส วิทยาลัยเทคนิค อำนาจเจริญ วิทยาลัยเทคนิคหัวตะพาน และโรงเรียนเอกชนทุกแห่ง ในจังหวัดอำนาจเจริญ เข้าร่วมประชุมจำนวน ๘๔ โรงเรียน รวม ๑๒๐ คน
จากการตรวจราชการของคณะสสค.โครงการป้องกันการตั้งครรภ์ไม่พร้อมในวัยรุ่น จังหวัดอำนาจเจริญ เมื่อปี ๒๕๕๔ พบว่า จังหวัดอำนาจเจริญมีร้อยละของการคลอดบุตรแม่อายุ ๑๐ - ๑๙ ปี ระหว่างปี ๒๕๕๒-๒๕๕๔ มีแนวโน้มสูงขึ้น โดยในปี ๒๕๕๔ มีแม่ที่มีอายุ ๑๐- ๑๙ ปี คลอดบุตรสูงถึงร้อยละ ๑๕.๒๗ ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์คือไม่เกินร้อยละ ๑๐ คือภาพรวมระดับประเทศ และจากผลการสำรวจพฤติกรรมที่สัมพันธ์กับการติดเชื้อ เอชไอวี จังหวัดอำนาจเจริญ ในกลุ่มนักเรียนชั้นม.๒ ,ม,๕ และ ปวช.๒ ปี ๒๕๕๔ พบว่า วัยรุ่นใช้ถุงยางอนามัยในการมีเพศสัมพันธ์ลดลง จากร้อยละ ๖๖.๖ ในปี ๒๕๕๓ เป็นร้อยละ ๖๐ และในปี ๒๕๕๔ วัยรุ่น มีความรู้เรื่องโรคเอดส์ถูกต้องเพียงร้อยละ ๑๖.๖ เท่านั้น จากสถานการณ์ดังกล่าว จะเห็นได้ว่าวัยรุ่นมีความเสี่ยงทางเพศและกำลังเผชิญกับปัญหา ซึ่งเป็นภาวะวิกฤติที่มีผลกระทบทั้งด้านสุขภาพ ร่างกาย จิตใจ การศึกษา เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมต่อตัววัยรุ่นและครอบครัว ซึ่งจากการจัดกระบวนการเรียนรู้เพศศึกษาแก่เยาวชนในสถานศึกษา ซึ่งเป็นกลยุทธ์หนึ่งในการป้องกันปัญหาการตั้งครรภ์ไม่พร้อมและลดการติดเชื้อโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ในวัยรุ่น สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอำนาจเจริญ จึงได้ร่วมกับ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต ๒๙ อุบลราชธานี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอำนาจเจริญ สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ ๗ อุบลราชธานีและภาคีเครือข่ายต่างๆ ภายใต้การสนับสนุนด้านวิชาการจากองค์การแพทย์ (PATH) จึงได้ดำเนินการจัดโครงการพัฒนาระบบการจัดกระบวนการเรียนการสอนเพศศึกษาในโรงเรียน จังหวัดอำนาจเจริญขึ้น โดยจัดประชุมชี้แจงผู้บริหารสถานศึกษา และจัดอบรมพัฒนาศักยภาพครูผู้สอนเพศศึกษา โดยเริ่มอบรมมาตั้งแต่ปี ๒๕๕๔ และครอบคลุมในทุกโรงเรียนทุกสังกัดจำนวน ๘๔ แห่ง โดยในปี ๒๕๕๖ ได้มอบหมายให้สถานศึกษาทุกแห่งมีการจัดการเรียนการสอนเพศศึกษารอบด้าน ๑๖ คาบ ต่อปี แต่จากการนิเทศ ติดตามผลการดำเนินงานหนุนเสริมการจัดการเรียนการสอนเพศศึกษาในโรงเรียนปี ๒๕๕๖ พบว่า โรงเรียนมีการจัดการเรียนการสอนเพศศึกษารอบด้านอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง ๑๖ คาบต่อปีการศึกษาทุกชั้นเรียนเพียง ร้อยละ ๑๐ เท่านั้น ซึ่งยังไม่ผ่านเกณฑ์ตัวชี้วัดคือ ร้อยละ ๕๐ โดยโรงเรียนส่วนใหญ่ยังไม่ได้สอนเพศศึกษาแบบเต็มรูปแบบ ๑๖ คาบต่อปีการศึกษา แต่เป็นการสอนโดยการสอดแทรกเนื้อหาลงในวิชาสุขศึกษา หรือแนะแนว ซึ่งยังไม่ได้บรรจุเพศศึกษาลงในหลักสูตรการเรียนการสอนอย่างเป็นรูปธรรม ดังนั้น จึงเป็นเรื่องสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่ง ที่สถานศึกษาทุกแห่งต้องเร่งรัดบูรณาการ "เพศศึกษา”เข้าสู่สถานศึกษาอย่างเป็นรูปธรรมให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์พัฒนาอนามัยเจริญพันธุ์แห่งชาติฉบับที่ ๑ พ.ศ. ๒๕๕๓ -๒๕๕๗ ที่กำหนดให้โรงเรียนต้องจัดให้มีการเรียนการสอนเพศศึกษา ซึ่งสอดรับกับนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ ที่ต้องการให้การศึกษาสามารถแก้ไขปัญหาเรื่องเพศในหมู่เยาวชนได้อย่างยั่งยืน
จากการตรวจราชการของคณะสสค.โครงการป้องกันการตั้งครรภ์ไม่พร้อมในวัยรุ่น จังหวัดอำนาจเจริญ เมื่อปี ๒๕๕๔ พบว่า จังหวัดอำนาจเจริญมีร้อยละของการคลอดบุตรแม่อายุ ๑๐ - ๑๙ ปี ระหว่างปี ๒๕๕๒-๒๕๕๔ มีแนวโน้มสูงขึ้น โดยในปี ๒๕๕๔ มีแม่ที่มีอายุ ๑๐- ๑๙ ปี คลอดบุตรสูงถึงร้อยละ ๑๕.๒๗ ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์คือไม่เกินร้อยละ ๑๐ คือภาพรวมระดับประเทศ และจากผลการสำรวจพฤติกรรมที่สัมพันธ์กับการติดเชื้อ เอชไอวี จังหวัดอำนาจเจริญ ในกลุ่มนักเรียนชั้นม.๒ ,ม,๕ และ ปวช.๒ ปี ๒๕๕๔ พบว่า วัยรุ่นใช้ถุงยางอนามัยในการมีเพศสัมพันธ์ลดลง จากร้อยละ ๖๖.๖ ในปี ๒๕๕๓ เป็นร้อยละ ๖๐ และในปี ๒๕๕๔ วัยรุ่น มีความรู้เรื่องโรคเอดส์ถูกต้องเพียงร้อยละ ๑๖.๖ เท่านั้น จากสถานการณ์ดังกล่าว จะเห็นได้ว่าวัยรุ่นมีความเสี่ยงทางเพศและกำลังเผชิญกับปัญหา ซึ่งเป็นภาวะวิกฤติที่มีผลกระทบทั้งด้านสุขภาพ ร่างกาย จิตใจ การศึกษา เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมต่อตัววัยรุ่นและครอบครัว ซึ่งจากการจัดกระบวนการเรียนรู้เพศศึกษาแก่เยาวชนในสถานศึกษา ซึ่งเป็นกลยุทธ์หนึ่งในการป้องกันปัญหาการตั้งครรภ์ไม่พร้อมและลดการติดเชื้อโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ในวัยรุ่น สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอำนาจเจริญ จึงได้ร่วมกับ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต ๒๙ อุบลราชธานี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอำนาจเจริญ สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ ๗ อุบลราชธานีและภาคีเครือข่ายต่างๆ ภายใต้การสนับสนุนด้านวิชาการจากองค์การแพทย์ (PATH) จึงได้ดำเนินการจัดโครงการพัฒนาระบบการจัดกระบวนการเรียนการสอนเพศศึกษาในโรงเรียน จังหวัดอำนาจเจริญขึ้น โดยจัดประชุมชี้แจงผู้บริหารสถานศึกษา และจัดอบรมพัฒนาศักยภาพครูผู้สอนเพศศึกษา โดยเริ่มอบรมมาตั้งแต่ปี ๒๕๕๔ และครอบคลุมในทุกโรงเรียนทุกสังกัดจำนวน ๘๔ แห่ง โดยในปี ๒๕๕๖ ได้มอบหมายให้สถานศึกษาทุกแห่งมีการจัดการเรียนการสอนเพศศึกษารอบด้าน ๑๖ คาบ ต่อปี แต่จากการนิเทศ ติดตามผลการดำเนินงานหนุนเสริมการจัดการเรียนการสอนเพศศึกษาในโรงเรียนปี ๒๕๕๖ พบว่า โรงเรียนมีการจัดการเรียนการสอนเพศศึกษารอบด้านอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง ๑๖ คาบต่อปีการศึกษาทุกชั้นเรียนเพียง ร้อยละ ๑๐ เท่านั้น ซึ่งยังไม่ผ่านเกณฑ์ตัวชี้วัดคือ ร้อยละ ๕๐ โดยโรงเรียนส่วนใหญ่ยังไม่ได้สอนเพศศึกษาแบบเต็มรูปแบบ ๑๖ คาบต่อปีการศึกษา แต่เป็นการสอนโดยการสอดแทรกเนื้อหาลงในวิชาสุขศึกษา หรือแนะแนว ซึ่งยังไม่ได้บรรจุเพศศึกษาลงในหลักสูตรการเรียนการสอนอย่างเป็นรูปธรรม ดังนั้น จึงเป็นเรื่องสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่ง ที่สถานศึกษาทุกแห่งต้องเร่งรัดบูรณาการ "เพศศึกษา”เข้าสู่สถานศึกษาอย่างเป็นรูปธรรมให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์พัฒนาอนามัยเจริญพันธุ์แห่งชาติฉบับที่ ๑ พ.ศ. ๒๕๕๓ -๒๕๕๗ ที่กำหนดให้โรงเรียนต้องจัดให้มีการเรียนการสอนเพศศึกษา ซึ่งสอดรับกับนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ ที่ต้องการให้การศึกษาสามารถแก้ไขปัญหาเรื่องเพศในหมู่เยาวชนได้อย่างยั่งยืน
จรูญ พิตะพันธ์/ข่าว
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น