สถาบันการออกแบบและนวัตกรรมเพื่อการค้า อบรมเข้มผู้ประกอบการผ้าพื้นที่เมืองภาคอีสาน หวังยกระดับผลิตภัณฑ์ผ้าไทยสู่ตลาดแฟชั่นระดับนานาชาติ
ม.ล.คฑาทอง ทองใหญ่ ผู้อำนวยการสถาบันการออกแบบและนวัตกรรมเพื่อการค้า กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ เป็นประธานเปิดการอบรมออกแบบสินค้าแฟชั่นในกลุ่มภูมิภาคภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งสถาบันส่งเสริมการออกแบบและนวัตกรรมเพื่อการค้า ร่วมกับสำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กระทรวงพาณิชย์ จัดขึ้น โดยมีผู้ประกอบการผ้าพื้นเมืองจาก 20 จังหวัดในภูมิภาค รวมถึงผู้ที่สนใจเข้าร่วมรับการอบรมกว่า 100 คน ณ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ม.ล.คฑาทอง กล่าวถึงผ้าพื้นเมืองของไทยว่า ยังเป็นที่ต้องการของตลาดต่างประเทศ ด้วยเสน่ห์เฉพาะทาง และการใช้วัตถุดิบจากธรรมชาติ โดยขณะนี้ตลาดผ้าที่เป็นวัตถุดิบ และผ้าที่ผ่านการแปรรูปนั้นกลุ่มผู้ค้าต้องการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ของไทยส่งจำหน่ายในต่างประเทศจำนวนมาก ขณะเดียวกัน ผลิตภัณฑ์ของกลุ่มจังหวัดภาคอีสานนั้น ต้องยอมรับว่าผ้าไหม ผ้าฝ้าย รวมไปถึงผ้าทอมือก็เป็นที่ต้องการจำนวนมากเช่นกัน แต่ปัญหาคือ ผ้าพื้นเมืองของไทยยังขาดการออกแบบที่ทันสมัย หลากหลาย จึงต้องยกระดับผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นให้เป็นสินค้าที่เป็นได้มาตรฐานสากล เพื่อที่จะได้ทำตลาดในวงกว้างได้มากขึ้น ดังนั้น การออกแบบ หรือการดีไซน์จึงเป็นประเด็นสำคัญที่กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ได้กำหนดแผนพัฒนาขึ้นอย่างเร่งด่วน เพื่อที่จะยกระดับ และผลักดันให้วัตถุดิบ และสินค้าที่มีอยู่ในประเทศขยายขอบเขตทางการค้า ตรงตามกับความต้องการของลูกค้าให้มากที่สุด โดยเฉพาะในกลุ่มจังหวัดภาคอีสาน ต้องได้รับการอบรมให้รู้จักคิด และพลิกวิกฤตให้เป็นโอกาสให้มากขึ้น ด้วยการคิดต่าง และผลิตงานที่ตรงกับความต้องการของตลาด เพื่อต่อยอดมูลค่าการค้าให้แก่ชุมชนได้เพิ่มขึ้นมีผู้ประกอบการผ้าพื้นเมืองรายใหญ่ของภาคอีสาน ที่เข้าร่วมโครงการในครั้งนี้รวมกว่า 30 ผลิตภัณฑ์
ม.ล.คฑาทอง ทองใหญ่ ผู้อำนวยการสถาบันการออกแบบและนวัตกรรมเพื่อการค้า กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ เป็นประธานเปิดการอบรมออกแบบสินค้าแฟชั่นในกลุ่มภูมิภาคภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งสถาบันส่งเสริมการออกแบบและนวัตกรรมเพื่อการค้า ร่วมกับสำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กระทรวงพาณิชย์ จัดขึ้น โดยมีผู้ประกอบการผ้าพื้นเมืองจาก 20 จังหวัดในภูมิภาค รวมถึงผู้ที่สนใจเข้าร่วมรับการอบรมกว่า 100 คน ณ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ม.ล.คฑาทอง กล่าวถึงผ้าพื้นเมืองของไทยว่า ยังเป็นที่ต้องการของตลาดต่างประเทศ ด้วยเสน่ห์เฉพาะทาง และการใช้วัตถุดิบจากธรรมชาติ โดยขณะนี้ตลาดผ้าที่เป็นวัตถุดิบ และผ้าที่ผ่านการแปรรูปนั้นกลุ่มผู้ค้าต้องการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ของไทยส่งจำหน่ายในต่างประเทศจำนวนมาก ขณะเดียวกัน ผลิตภัณฑ์ของกลุ่มจังหวัดภาคอีสานนั้น ต้องยอมรับว่าผ้าไหม ผ้าฝ้าย รวมไปถึงผ้าทอมือก็เป็นที่ต้องการจำนวนมากเช่นกัน แต่ปัญหาคือ ผ้าพื้นเมืองของไทยยังขาดการออกแบบที่ทันสมัย หลากหลาย จึงต้องยกระดับผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นให้เป็นสินค้าที่เป็นได้มาตรฐานสากล เพื่อที่จะได้ทำตลาดในวงกว้างได้มากขึ้น ดังนั้น การออกแบบ หรือการดีไซน์จึงเป็นประเด็นสำคัญที่กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ได้กำหนดแผนพัฒนาขึ้นอย่างเร่งด่วน เพื่อที่จะยกระดับ และผลักดันให้วัตถุดิบ และสินค้าที่มีอยู่ในประเทศขยายขอบเขตทางการค้า ตรงตามกับความต้องการของลูกค้าให้มากที่สุด โดยเฉพาะในกลุ่มจังหวัดภาคอีสาน ต้องได้รับการอบรมให้รู้จักคิด และพลิกวิกฤตให้เป็นโอกาสให้มากขึ้น ด้วยการคิดต่าง และผลิตงานที่ตรงกับความต้องการของตลาด เพื่อต่อยอดมูลค่าการค้าให้แก่ชุมชนได้เพิ่มขึ้นมีผู้ประกอบการผ้าพื้นเมืองรายใหญ่ของภาคอีสาน ที่เข้าร่วมโครงการในครั้งนี้รวมกว่า 30 ผลิตภัณฑ์
ข่าว/พิมพ์ นายคันฉัตร เพียรวิจัยธรณี ส.ปชส.ขอนแก่น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น