ที่ศูนย์ข้าวชุมชนบ้านอุ่มแสง ตำบลดู่
อำเภอราษีไศล จังหวัดศรีสะเกษ นางปัจฉิมา ธนสันติ
อธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญา
เป็นประธานเปิดงานวันประชาสัมพันธ์ข้าวสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ ( GI )
หอมทะลิทุ่งกุลาร้องไห้ พื้นที่ 5 จังหวัด ประกอบด้วย ประกอบด้วย
จังหวัดสุรินทร์ จังหวัดร้อยเอ็ด จังหวัดมหาสารคาม และจังหวัดศรีสะเกษ
ซึ่งการจัดงานในครั้งนี้ กรมการข้าวโดยสำนักงานพัฒนาผลิตภัณฑ์ข้าว
ศูนย์เมล็ดพันธ์ข้าวสุรินทร์และศูนย์วิจัยข้าวสุรินทร์
ร่วมกับกรมทรัพย์สินทางปัญญา ร่วมกันจัดขึ้น เพื่อประชาสัมพันธ์ข้าว GI
ทุ่งกุลาร้องไห้
ซึ่งเป็นข้าวที่ได้รับการจดทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ไทย
และสหภาพยุโรปให้เป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย
ตลอดจนให้ผู้ที่ส่วนเกี่ยวข้องมีโอกาสพบปะสังสรรค์
และแลกเปลี่ยนข้อมูลเพื่อร่วมกันพัฒนาข้าวหอมมะลิไทย
ให้ยกระดับเป็นสินค้าที่มีคุณภาพสูงสู่ระดับสากล โดยมีนายประทีป กีรติเรขา
ผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ พร้อมด้วยหัวหน้าส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง
และประชาชน ให้การต้อนรับ และร่วมกิจกรรมในครั้งนี้
นางปัจฉิมา กล่าวว่า กรมทรัพย์ทางปัญญา
นอกจากสนับสนุนและส่งเสริมสินค้าข้าว GI ในท้องถิ่นและชุมชน
ยังทำให้คนในท้องถิ่นมีรายได้ และรักถิ่นฐานของตนเอง ซึ่งในขณะนี้มีประมาณ
50 จังหวัด ที่ยื่นคำขอข้าว GI ไปที่กรมทรัพย์สินทางปัญญาแล้ว
และยังมีอีกหลายจังหวัดที่ยังไม่ได้ยื่นคำขอ
ซึ่งทางกรมทรัพย์สินทางปัญญาก็ได้มีประชาสัมพันธ์รณรงค์
ให้ในหลายจังหวัดที่ยังไม่ทราบ มายื่นคำขอข้าว GI อีกทั้ง
กรมทรัพย์สินทางปัญญา
ยังได้มีการจัดกิจกรรมเผยแพร่ความรู้เรื่องทรัพย์สินทางปัญญาไปสู่ระดับท้อง
ถิ่น
เพื่อกระจายความรู้ให้กับเกษตรกรไทยตั้งแต่ระดับอำเภอจนถึงระดับท้องถิ่น
ตอลดจนสร้างเครือข่าย อาสาสมัครทรัพย์สินทางปัญญาไทย
เพื่อให้ความรู้กับเกษตรกรไทย และเป็นกลุ่มผู้เฝ้าระวังปัญหา
เรื่องทรัพย์สินทางปัญญา ทั้งนี้
นอกจากผู้ร่วมงานจะได้รู้ถึงสิทธิของการคุ้มครองข้าว GI ทุ่งกุลาร้องไห้
ซึ่งจะออกสู่ตลาดในต้นฤดูกาลนี้
มาตรฐานของข้าวที่ออกสู่ตลาด ต้องสามารถตรวจสอบคุณภาพข้าวย้อนหลังได้
โดยมีการร่วมกลุ่มการดำเนินการตามมาตรฐานที่ได้มีการยื่นคำขอจดทะเบียนที่
สหภาพยุโรป
นางปัจฉิมา กล่าวต่อไปว่า กรมทรัพย์สินทางปัญญา
ได้วางแผนถึงการกระจายตลาดข้าว GI ทุ่งกุลาร้องไห้ ให้ขยายออกสู่ตลาดโลก
โดยขยายจากตลาดฮินดู สู่ตลาดประเทศจีน ซึ่งข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้
จะได้ติดตราประชาคมยุโรป และนำออกสู่ตลาดโลก เพื่อให้ประชากรทั่วโลก
ได้ลิ้มลองข้าวหอมมะลิ GI ทุ่งกุลาร้องไห้ จากภูมิปัญญาชาวไทย
นายประทีป กล่าวว่า การจัดงาน
สำหรับกิจกรรมภายในงานวันประชาสัมพันธ์ข้าวสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ ( GI )
หอมทะลิทุ่งกุลาร้องไห้ ในครั้งนี้ มีเกษตรกรจาก 5 จังหวัด ประกอบด้วย
จังหวัดสุรินทร์ จังหวัดร้อยเอ็ด จังหวัดมหาสารคาม และจังหวัดศรีสะเกษ
เข้าร่วมงาน โดยภายในงานมีการจัดนิทรรศกาล
วิชาการความรู้ที่เกี่ยวกับการปลูก
การผลิตและการจัดการผลิตข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้
ตลอดจนการออกร้านค้าจำหน่ายสินค้าข้ามหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้
จากกลุ่มผู้เกษตรกรผู้ผลิตและผู้ประกอบการต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน
การเสวนาในหัวข้อเรื่อง แนวทางพัฒนาข้าวหอมมะลิในพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้
โดยประธานศูนย์ข้าวชุมชนในพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้
และตัวแทนกลุ่มเกษตรกรบ้านอุ่มแสง จังหวัดศรีสะเกษ
เพื่อหารือถึงแนวทางการพัฒนาข้าว
และยกระดับคุณภาพข้าวไทยให้มีคุณภาพสูงยิ่งขึ้นไป
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น